โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทุหศาสันและมหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ทุหศาสันและมหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)

ทุหศาสัน vs. มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)

ทุหศาสัน เป็นโอรสองค์ที่สองของท้าวธฤตราษฎร์กับพระนางคานธารีแห่งกรุงหัสตินาปุระ และเป็นน้องชายของทุรโยธน์ ครั้งหนึ่งทุรโยธน์เชิญยุธิษฐิระมาเล่นสกา การแข่งขันดำเนินไปอย่างยาวนาน ยุธิษฐิระเริ่มแพ้พนันสกาไปเรื่อย ๆ ทรัพย์สินและบ้านเมืองที่ใช้เดิมพันถูกทุรโยธน์ยึดไว้ทั้งหมด ยุธิษฐิระหน้ามืดตามัวเดิมพันตัวเองและน้อง ๆ ทั้งสี่ (คือ ภีมะ อรชุน นกุลและสหเทพ) แต่ก็แพ้ตกเป็นทาสของทุรโยธน์ ในที่สุดก็นำพระนางเทราปตี พระชายามาเดิมพัน ก็แพ้พนันอีก ทุรโยธน์จึงให้ทุหศาสันลากตัวพระนางเทราปทีมาประจานที่กลางสภาเพื่อให้ทุกคนรับรู้ ทุหศาสันจิกผมนางและลากนางมาที่สภา ทุรโยธน์ออกคำสั่งให้ทุหศาสันเปลื้องผ้านางออก นางจึงขอให้พระกฤษณะ (ซึ่งเป็นพระนารายณ์อวตารปางที่ 8) ช่วยนาง พระองค์จึงเนรมิตผ้าสาหรี่ให้มีความยาวไม่มีที่สิ้นสุด ทุหศาสันดึงผ้านางอยู่นานก็ไม่มีทีท่าที่จะหมดไปจากกายนาง จนกระทั่งทุหศาสันหมดแรงไปเอง จากการกระทำอันชั่วช้าในครั้งนี้ ภีมะประกาศกร้าวที่จะฉีกอกทุหศาสันเอาเลือดจากอกมาดื่มกิน และเอาเลือดมาล้างผมพระนางเทราปทีเป็นการลบล้างมลทิน ต่อมาเมื่อเกิดศึกมหาภารตะที่ทุ่งราบกุรุเกษตร ระหว่างฝ่ายเการพของทุรโยธน์กับฝ่ายปาณฑพของยุธิษฐิระ ในวันที่ 16 ของสงครามทุ่งราบกุรุเกษตรนี้ ภีมะมีโอกาสได้สู้กับทุหศาสัน ภีมะฟาดกระะบองใส่ทุหศาสันจนล้มฟุบ แล้วตามไปกระชากแขนทั้งสองข้างจนขาดออกมาอย่างโหดเหี้ยม จากนั้นก็ฉีกอกทุหศาสันล้วงเอาเลือดออกมาดื่ม ตามคำสาบานที่เขาประกาศไว้ หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ. มหาภารตะ (Mahabharat) เป็นละครโทรทัศน์ที่กล่าวถึงสงครามมหาภารตะ ระหว่างราชวงศ์เการพ กับราชวงศ์ปาณฑพ ละครเรื่องสร้างขึ้นโดยรีเมคจากละครเรื่อง มหาภารตะ ที่ออกอากาศในปี พ.ศ. 2531 นำแสดงโดย ซอรับห์ ราจ เจน, ชาเฮียร์ ชีคห์, พูจา ชาร์มา, อฮัม ชาร์มา ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5เป็นตอนแรกในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2558.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ทุหศาสันและมหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)

ทุหศาสันและมหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556) มี 10 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พระกฤษณะพระนางคานธารีพระนางเทราปตีภีมะมหาภารตะยุธิษฐิระสงครามทุ่งกุรุเกษตรอรชุนทุรโยธน์ท้าวธฤตราษฎร์

พระกฤษณะ

ลปะโจฬะที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินิวเดลี ประเทศอินเดีย วัดพระศรีมหามาริอัมมันที่ประเทศสิงคโปร์ทั้งองค์ พระกฤษณะ (कृष्णLord Krishna) เป็นเทวะองค์หนึ่งในศาสนาพราหมณ์-ศาสนาฮินดูโดยถือว่ารูปแบบอวตารของพระวิษณุ และเป็นตัวดำเนินเรื่องสำคัญในมหากาพย์เรื่อง "มหาภารตะ" มหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่ของประเทศอินเดียและยังทรงเป็นต้นกำเนิดของคัมภีร์ภควัทคีตาหนึ่งในคัมภีร์สำคัญของคัมภีร์พระเวททั้งเป็นพระเจ้าสูงสุดของนิกายฮเรกฤษณ.

ทุหศาสันและพระกฤษณะ · พระกฤษณะและมหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556) · ดูเพิ่มเติม »

พระนางคานธารี

คานธารี เป็นธิดาของท้าวสุพล แห่งนครคันธาระ มีพี่ชายชื่อศกุนิผู้เลวทราม เมื่อพระนางคานธารี รู้ว่าต้องอภิเษกกับท้าวธฤตราษฎร์ สามีตาบอด นางได้ตั้งสัตย์ปฏิญาณถวายความภักดี โดยใช้ผ้าผูกตาให้มืดมิดเหมือนสวามีชั่วชีวิต พระนางมีโอรส 100 คนและธิดาอีก 1 พระองค์ โดยมีทุรโยธน์ เป็นพี่ใหญ่ มีนิสัยอันธพาลชาติชั่ว เหมือนศกุนิผู้เป็นลุง พระนางคานธารี เป็นผู้ยึดมั่นในคุณธรรมมาโดยตลอด แต่ไม่ทัดทานนิสัยของลูกๆ และพี่ชายได้เลย จึงปล่อยไปตามยถากรรม จึงเกิดศึกมหาภารตะของปาณฑพ และเการพขึ้น เนื่องจากศึกมหาภารตะ ทำให้ลูกของนางและพี่ชายตายจนหมด นางแค้นใจพระกฤษณะผู้ชี้ทางแก่ปาณฑพ จนสังหารลูกของนางตายจนเกลี้ยง จึงสาปแช่งพระกฤษณะ และวงศาคณาญาติให้รบราฆ่าฟันสังหารกันเอง หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ทุหศาสันและพระนางคานธารี · พระนางคานธารีและมหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556) · ดูเพิ่มเติม »

พระนางเทราปตี

ระนางเทราปที (द्रौपदी) (อ่านว่า ทะเรา-ปะ-ที พยางค์หน้าออกเสียง/อะ/ กึ่งมาตรา) เป็นบุตรของท้าวทรุปัทและเป็นน้องสาวของธฤษฏัทยุมนะ มีต้นกำเนิดมาจากกองไฟยัญญะ ที่ฤๅษีได้ทำพิธีขึ้นมา เนื่องจากท้าวทรุปัทมีความแค้นโทรณาจารย์ที่ได้ให้ลูกศิษย์คือ อรชุน มาแก้แค้นและแพ้สงครามแก่อรชุน จึงแค้นใจตนเองว่าเหตุใดจึงไม่มีบุตรที่เก่งกาจดังเช่นอรชุน จึงให้ฤๅษีกระทำพิธีขอบุตรชายที่รบและเก่งในการทำสงครามและบุตรสาวที่รูปงามเพื่อที่จะมาเป็นภรรยาของอรชุนในภายภาคหน้า ต่อมาท้าวทรุปัทได้ให้ทำพิธีสยุมพรแก่พระนางเทราปที ปรากฏว่าอรชุนได้รับเลือกเป็นสามี แต่ต่อมาอรชุนได้ยกพระนางเทราปทีแก่เหล่าพี่น้องได้แก่ 1.ยุธิษฐิระ 2.ภีมะ 3.นกุล 4.สหเทพ ให้มาเป็นสามีร่วมกัน เนื่องจากพระนางกุนตีผู้เป็นพระมารดาของปาณฑพได้กล่าวให้แบ่งกันอย่างเท่าเทียมกันด้วยความไม่ได้ตั้งใจ และพวกปาณฑพเองต่างได้ถือคำพูดของมารดาเป็นวาจาสิทธิ์ นอกจากนั้นพระนางเทราปทียังเป็นชนวนเหตุของสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตรอีกด้วย เพราะพระนางเทราปทีได้ถูกทุหศาสันลากมากระทำอนาจารที่กลางสถา ทำให้ฝ่ายปาณฑพแค้นมากจึงประกาศสงครามขึ้น นางเทราปทีได้ให้กำเนิดพระโอรสแก่พี่น้องปาณฑพทั้งห้า ดังนี้.

ทุหศาสันและพระนางเทราปตี · พระนางเทราปตีและมหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556) · ดูเพิ่มเติม »

ภีมะ

ีมะ (สันสกฤต: भीम) เป็นโอรสที่เกิดจากพรของพระพายและเป็นน้องชายต่างมารดาของหนุมาน ซึ่งเกิดวัน เดือน และปีเดียวกับทุรโยธน์ เป็นศิษย์ของพระพลรามผู้เป็นพี่ชายของพระกฤษณะ วันสุดท้ายของสงครามได้ตีหน้าตักของทุรโยธน์แหลกเป็นเสี่ยงตามคำสาบานของภีมะเอง และที่ฤๅษีไมเตรยะเคยสาปไว้ด้ว.

ทุหศาสันและภีมะ · ภีมะและมหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556) · ดูเพิ่มเติม »

มหาภารตะ

ียนการรบในมหาภารตะ จากต้นฉบับภาษาสันสกฤต รูปอรชุนทรงราชรถออกศึก มีพระกฤษณะเป็นนายสารถี (ศิลปะอินเดีย สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 - 19) มหาภารตะ (publisher ด้วยมีจำนวนคำ 1.8 ล้านคำ นับว่ายาวกว่ามหากาพย์อีเลียด หรือมหากาพย์โอดิสซี ของกรีกโบราณจุดประกาย 4 บันเทิง, Ranclamoozhan จากบทกวีสู่หนังอินเดียที่ 'แพง' ที่สุด. "โลกนี้มีมายา" โดย ลีนาร์. กรุงเทพธุรกิจปีที่ 29 ฉบับที่ 10441: วันจันทร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2560 มีเนื้อหาซับซ้อน เล่าเรื่องอันยืดยาวที่เกี่ยวข้องกับเทพปกรณัม การสงคราม และหลักปรัชญาของอินเดีย ทั้งนี้ยังมีเรื่องย่อย ๆ แทรกอยู่มากมาย ซี่งหลายเรื่องก็เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในเมืองไทย เช่น ภควัทคีตา ศกุนตลา สาวิตรี พระนล กฤษณาสอนน้อง อนิรุทธ์ เป็นต้น ทั้งนี้ ยังถือว่าเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญของศาสนาฮินดูด้วย นอกจากนี้ มหาภารตะนี้ยังสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิต ศาสนา การเมือง ศิลปะหลายแขนง ประวัติความเป็นมาของวงศ์ตระกูลต่าง ๆ ในเรื่อง และธรรมเนียมประเพณีการรบการสงครามของอินเดียยุคโบราณด้วย มหาภารตะ เป็น เรื่องราวความขัดแย้ง ของ พี่น้องสองตระกูล ระหว่าง ตระกูลเการพ และตระกูลปาณฑพ ซึ่งทั้งสองตระกูลต่างก็สืบเชื้อสายมาจากท้าวภรต แห่ง กรุงหัสตินาปุระ จนบานปลายไปสู่ มหาสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร ซึ่งมีพันธมิตร ของแต่ละฝ่ายเข้าร่วมรบด้วยเป็นจำนวนมาก กล่าวกันว่านี่คือการต่อสู้ระหว่าง ฝ่ายธรรมะ และฝ่ายอธรรม ความดี และความชั่ว ซึ่งในที่สุดแล้ว ฝ่ายปาณฑพก็เป็นผู้ชนะในสงครามครั้งนี้.

ทุหศาสันและมหาภารตะ · มหาภารตะและมหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556) · ดูเพิ่มเติม »

ยุธิษฐิระ

ยุธิษฐิระ (สันสกฤต:युधिष्ठिर) เป็นพี่ชายคนโตของตระกูลปาณฑพ โดยถือว่าเป็นพระโอรสของท้าวปาณฑุ กับ พระนางกุนตี แต่จริง ๆ แล้วเป็นพระโอรสของพระนางกุนตีและพระธรรมเทพ (พระยม) มีลักษณะโดดเด่นคือเป็นผู้มีความยุติธรรม ตั้งอยู่บนหลักธรรมเคร่งครัดตลอดมา พี่น้องปาณฑพจึงยึดเอาการตัดสินใจของพี่คนโตคนนี้เป็นหลัก ยุธิษฐิระ แปลว่า ผู้มีความมั่นคงในการสงคราม และยังมีชื่ออื่นๆอีก เช่น ภารตะวงศี อชาตศัตรู ธรรมนันทัน ธรรมราช ยุธิษฐิระมีพระมเหสีคือพระนางเทราปตี (ซึ่งเป็นพระมเหสีของปาณฑพทั้งห้า) มีพระโอรสด้วยกัน 1 พระองค์คือ ประติวินธยะ ครั้งหนึ่งทุรโยธน์อิจฉาพวกปานฑพมาก จึงขอให้ท้าวธฤตราษฎร์แบ่งกรุงหัสตินาปุระออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกคือกรุงหัสตินาปุระที่รุ่งเรืองให้กับทุรโยธน์ครอบครองและดินแดนขาณฑวปรัสถ์ที่แห้งแล้ง ไม่มีความอุดมสมบูรณ์ซึ่งคิดเป็นประมาณครึ่งหนึ่งของกรุงหัสตินาปุระ ให้พวกปาณฑพครอบครอง ยุธิษฐิระซึ่งเป็นพี่คนโตและมีหลักธรรมประจำใจว่าจะไม่ปฏิเสธคำของผู้ใหญ่จึงรับดินแดนส่วนนี้ไว้ พระกฤษณะ (นารายณ์อวตาร) ทราบจึงมาช่วยพวกปาณฑพพลิกฟื้นดินแดนส่วนนี้ขึ้นมาใหม่ โดยให้พระวิษณุกรรม (พระวิสสุกรรม พระเวสสุกรรม หรือ พระเพชฉลูกรรม) ซึ่งเป็นสถาปนิกของพระอินทร์มาช่วยสร้างพระราชวังใหญ่โตให้กับพวกปาณฑพ โดยยุธิษฐิระเป็นกษัตริย์และตั้งชื่อว่ากรุงอินทรปรัสถ์ จากนั้นเมื่อมีผู้ทราบว่าพวกปาณฑพมาเป็นกษัตริย์ที่เมืองนี้ ก็เริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่อินทรปรัสถ์บ้าง ทำให้กรุงอินทรปรัสถ์รุ่งเรืองขึ้นมาอย่างรวดเร็วจากที่ไม่มีอะไรเลย มีอยู่วันหนึ่งพระกฤษณะและอรชุนได้ช่วยยักษ์ที่ชื่อมายาสูร (เป็นผู้ช่วยพระวิษณุกรรมด้วย) ไม่ให้พระอัคนีที่กำลังเผาป่าขาณฑวะกินเป็นอาหาร เผายักษ์ตนนี้ด้วย ยักษ์มายาจึงสำนึกในบุญคุณของอรชุนและพระกฤษณะมากจึงดำเนินการสร้างสภาอันยิ่งใหญ่ตระการตาให้กับพวกปาณฑพ โดยตั้งชื่อว่า มายาสภา หลังจากสร้างมายาสภาได้ไม่นาน เทพฤๅษีนารัทมุนี ก็แนะนำให้ยุธิษฐิระทำพิธีราชสูยะ (เป็นพิธีที่ประกาศความยิ่งใหญ่ของกรุงอินทรปรัสถ์ โดยส่งสาส์นออกไปให้พระราชาแคว้นต่าง ๆ ยอมรับ หากไม่ยอมรับก็ทำสงครามกัน) อรชุนไปทางทิศเหนือ ภีมะไปทางทิศตะวันออก นกุลเลือกทิศตะวันตก ส่วนสหเทพเลือกทิศใต้ โดยทำได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ด้วยเหตุนี้ทำให้พวกทุรโยธน์อิจฉาขึ้นมาอีก จึงสร้างสภาขึ้นมาบ้างและเชิญพวกปาณฑพมาเล่นสกากัน จุดมุ่งหมายคือ จะเล่นสกาพนันเอาบ้านเอาเมืองกัน ยุธิษฐิระเมื่อเห็นว่าท้าวธฤตราษฎร์เป็นผู้กล่าวชักชวน จึงไม่ปฏิเสธ โดยทุรโยธน์ให้ศกุนิผู้เป็นลุงและชำนาญในการเล่นสกามาก เป็นผู้เล่นแทนและชนะทุกครั้ง ผลคือพวกปาณฑพแพ้และไม่เหลืออะไรสักอย่าง ยุธิษฐิระจึงเริ่มจากการพนันน้องชาย นกุล สหเทพ อรชุน และภีมะตามลำดับ จากนั้นจึงเอาตัวเองเป็นพนันและเล่นสกาต่อไปโดยใช้พระนางเทราปตีพนัน แต่ก็แพ้จนหมด ทุรโยธน์สั่งให้ทุหศาสันนำตัวพระนางเทราปตีมายังสภาและย่ำยีเกียรติของนางโดยบอกให้นางมานั่งตัก ภีมะทนไม่ไหวจึงลั่นคำสาบานออกมาว่าจะใช้คทาของภีมะเองทุบหน้าขาของทุรโยธน์ให้แหลก จากนั้นกรรณะหรือราธียะก็ให้ทุหศาสันดึงผ้าส่าหรีของพระนางเทราปตีออกมา แต่พระนางได้ขอให้พระกฤษณะช่วยไว้ พระกฤษณะจึงประทานผ้าส่าหรีให้นางไม่มีวันหมดสิ้นจนในที่สุดทุหศาสันก็หมดแรง ภีมะลั่นคำสาบานออกมาอีกเป็นรอบที่สองคือ จะฉีกอกทุหศาสันเพื่อดื่มเลือดให้หายแค้น นอกจากนี้ภีมะยังบอกอีกว่า ตนจะเป็นคนฆ่าทุรโยธน์ ทุหศาสันและ อรชุนจะฆ่ากรรณะ สหเทพจะฆ่าศกุนิ ส่วนนกุลก็สาบานว่าจะฆ่าลูกของศกุนิ เช่น อูลูกะ เรื่องราวเลยเถิดออกมามากจนในที่สุดท้าวธฤตราษฎร์ก็ขอให้พระนางเทราปตีให้อภัยและแลกกับให้นางขออะไรก็ได้ นางจึงขอให้คืนทุกอย่างกลับสู่สภาพเดิม ท้าวธฤตราษฎร์จึงตกลงตามที่ว่า แต่ทุรโยธน์ไม่จบแค่นั้น ยังให้ท้าวธฤตราษฎร์ชักชวนให้พวกปาณฑพมาเล่นสกาอีกครั้งหนึ่ง โดยผู้แพ้ต้องออกป่าเป็นเวลา 13 ปี และในปีที่ 13 ห้ามให้ใครจำได้ ถ้าใครจำได้ต้องเดินป่าอีก 13 ปี ยุธิษฐิระทราบชะตากรรมดี แต่ก็ยอมเล่นสกา ระหว่างที่เดินป่าฤๅษีวยาสก็สอนมนต์เพื่อขออาวุธวิเศษจากพระศิวะแก่ยุธิษฐิระเพื่อถ่ายทอดให้กับอรชุนต่อไปด้วย อรชุนจึงได้อาวุธวิเศษกลับมาพร้อมทั้งได้รับการสอนการร่ายรำ นาฏศิลป์ต่าง ๆ จากท้าวจิตรเสนและรับการสอนการใช้อาวุธจากอินทรเทพผู้เป็นพระบิดาอีกด้วย ระหว่างนั้น นางอัปสรอุรวศีก็พอใจอรชุนมาก แต่อรชุนเห็นว่านางเป็นแม่เท่านั้น นางโกรธมากจึงสาปให้อรชุนเป็นกะเทยตลอดไป แต่พระอินทร์ก็เกลี้ยกล่อมให้นางลดคำสาปเหลือ 1 ปี ให้เป็นในปีที่ 13 ที่พวกปาณฑพต้องเดินป่า จะได้เป็นประโยชน์ในการอำพรางตัว ในปีที่ 13 ที่พวกปาณฑพต้องไม่ให้ใครจำได้นั้น ยุธิษฐิระได้ขอพรจากพระธรรมเทพผู้เป็นบิดาว่าในปีที่ 13 นี้ขอให้ไม่มีใครจำได้ เนื่องจากพระธรรมเทพมาพิสูจน์ความตั้งมั่นอยู่บนหลักธรรมของยุธิษฐิระ โดยการทำให้น้องชายทั้งสี่คนตายไปและแปลงกายเป็นยักษ์ ผู้เฝ้าธารน้ำที่พี่น้องปาณฑพสี่คนลงไปดื่ม แล้วถามว่ายุธิษฐิระจะเลือกใครให้ฟื้นขึ้นมา จึงเลือกนกุล เพราะตนเป็นบุตรพระมารดากุนตี ส่วนบุตรของพระมารดามาทรีหรือมัทรีได้ตายไปหมดแล้ว จึงเลือกนกุลให้ฟื้นขึ้นมาอีกครั้ง พระธรรมเทพพอใจมากจึงคืนชีวิตให้กับทุกคนและปรากฏร่างเป็นพระธรรมเทพดังเดิม จากนั้นปาณฑพตกลงว่าจะแฝงตัวไปทำงานในวังของท้าววิราฎ แคว้นมัตสยะ โดยยุธิษฐิระได้ใช้ชื่อว่า กังกะ เข้ามาทำงานเป็นมหามนตรีและสอนสกาแก่ท้าววิราฏ, ภีมะใช้ชื่อว่าวัลลภ เข้ามาทำงานเป็นพ่อครัวหลวง, อรชุน ใช้ชื่อว่าพฤหันนลา(ในขณะนั้นเป็นกะเทย) เข้ามาทำงานสอนนาฏศิลป์แก่เจ้าหญิงอุตตรา พระธิดาของท้าววิราฏ,นกุล ใช้ชื่อว่า ครันถิกะ เข้ามาทำงานดูแลม้า, สหเทพ ใช้ชื่อว่า ตันติบาล เข้ามาทำงานดูแลปศุสัตว์ ส่วนพระนางเทราปตีใช้ชื่อว่า ไศรันทรี เข้ามาทำงานดูแลความงามให้กับพระนางสุเทศนา พระมเหสีของท้าววิราฎ เมื่อสงครามบนทุ่งกุรุเกษตรเกิดขึ้น ยุธิษฐิระก็ได้เข้าร่วมการรบด้วย แต่ไม่ได้ตายในสงคราม เมื่อสงครามสิ้นสุด ก็ได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระจักรพรรดิกรุงหัสตินาปุระ แต่หลังจากนั้นปาณฑพเกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตเพราะเห็นผลของสงคราม จึงยกบัลลังก์ให้ปรีกษิต หลานชายของอรชุน และพี่น้องปาณฑพกับนางเทราปตีก็ออกเดินป่า พร้อมกับสุนัขอีก 1 ตัว สุดท้ายพี่น้องปาณฑพทั้งสี่และนางเทราปตีก็สิ้นชีวิตลงและขึ้นสวรรค์บนยอดเขาหิมาลัย จากนั้นสุนัขที่ติดตามมาด้วยก็กลับกลายเป็นพระธรรมเทพ และพายุธิษฐิระขึ้นไปบนสวรรค์ (แต่ตอนนั้นยุธิษฐิระยังไม่ตาย และมีผู้กล่าวว่ายุธิษฐิระเป็นคนคนเดียวในโลกที่สามารถขึ้นไปยังยอดเขาหิมาลัยได้ทั้งเป็น) แต่กลับพบว่าทุรโยธน์นั่งครองบัลลังก์อยู่ แต่ปาณฑพและนางเทราปตีต้องตกนรกเพราะฆ่าพี่น้องของตน ยุธิษฐิระจึงตัดสินใจตกนรกด้วย จากนั้นพระธรรมเทพจึงบอกว่าทั้งหมดเป็นภาพลวงตา จริง ๆ แล้วเการพต้องตกนรก แต่ปาณฑพอยู่บนสวรรค์ ทั้งหมดที่ทำมาคือการทดสอบจิตใจของยุธิษฐิระ ยุธิษฐิระ พี่น้องปาณฑพและนางเทราปตีก็ได้อยู่บนสวรรค์ด้วยกันอย่างมีความสุขตลอดมา หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ทุหศาสันและยุธิษฐิระ · มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และยุธิษฐิระ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามทุ่งกุรุเกษตร

ีษมะนอนบนเตียงธนู สงครามทุ่งกุรุเกษตร เป็นเหตุการณ์ในมหาภารตะ ทุ่งกุรุเกษตร เป็นที่ราบที่อยู่ใกล้ ๆ กับกรุงหัสตินาปุระ ที่ทั้งสองตระกูลคือปาณฑพและเการพใช้เป็นสมรภูมิรบ มีทหาร เจ้าชายและกษัตริย์จากแคว้นเมืองต่าง ๆ ล้มตายเป็นจำนวนมาก ที่สมรภูมิรบแห่งนี้ ฝ่ายปาณฑพมีกำลังพลและหน่วยรบรวมกันทั้งหมด 7 อักเษาหิณี (ประมาณ 2 ล้านคน) และฝ่ายเการพ 11 อักเษาหิณี (ประมาณ 3 ล้านคน) ในสงครามหนนี้ มีผู้คนล้มตายไปราว ๆ 5 ล้านคน ที่รอดจากสงครามมาได้ก็มีเพียงฝ่ายปาณฑ.

ทุหศาสันและสงครามทุ่งกุรุเกษตร · มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และสงครามทุ่งกุรุเกษตร · ดูเพิ่มเติม »

อรชุน

อรชุน (เทวนาครี: अर्जुन, อังกฤษ: Arjuna) เป็นหนึ่งในตัวละครเอกในมหากาพย์มหาภารตะ ชื่อนี้หมายถึง สว่าง ส่องแสง ขาว หรือ เงิน อรชุนเป็นนักยิงธนูที่มีฝีมือสูงส่ง ไม่มีใครเทียบได้ เป็นพี่น้องคนที่สามในบรรดาปาณฑพทั้งห้า เป็นลูกของนางกุนตี ภรรยาคนแรกของปาณฑุ และเป็นคนเดียวในพี่น้องปาณฑพที่ได้รับพรและอาวุธวิเศษจากเทพเจ้ามากที่สุดด้ว.

ทุหศาสันและอรชุน · มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)และอรชุน · ดูเพิ่มเติม »

ทุรโยธน์

ทุรโยธน์ หัวหน้าตัวละครฝ่ายเการพในมหากาพย์เรื่อง มหาภารตะ เป็นลูกของท้าวธฤตราษฎร์กับพระนางคานธารี ในขณะที่พระนางคานธารีทรงตั้งครรภ์อยู่ 2 ปีนั้น พระนางคานธารีก็เลยได้รับสั่งให้นางข้าหลวงเอาฆ้อนเหล็กทุบไปที่ท้องพร้อมกับบอกว่านี่เป็นวิธีช่วยให้ประสูติการ นางข้าหลวงจึงตีไปที่ครรภ์ของพระนางคานธารี ครั้งแรกยังไม่ออก จึงตีไปอีกสองครั้ง จนในที่สุดพระนางคานธารีก็คลอดออกมาเป็นก้อนเนื้อใหญ่และเย็นเฉียบ เมื่อพระนางคานธารีทราบดังนั้น พระนางคานธารีจึงรับสั่งให้เอาก้อนเนื้อนั้นไปทิ้งสระ ครั้นเมื่อนางข้าหลวงจะเอาก้อนเนื้อไปทิ้งสระก็ได้มีฤๅษีเข้ามาขวางแล้วบอกว่า ให้เอาก้อนเนื้อนั้นเอามาแล่เป็นชิ้น ๆ 100 ชิ้น เอาชิ้นแต่ละชิ้นไปใส่หม้อดินแล้วเอาน้ำบริสุทธิ์พรมลงไป ก้อนเนื้อทั้งร้อยชิ้นก็จะกลายเป็นกุมาร ลูกคนแรกที่คลอดนั้นพอเกิดมา หมาหอนทั้งเมืองแร้งการ้องลั่นพระนคร กุมารองค์โตนี้ ชื่อ ทุรโยธน์ แปลว่า ผู้ซึ่งยากที่ใครจะเอาชนะได้ ท้าวธฤตราษฎร์ได้ยินเสียงนกกาแร้งหมาร้องลั่นระงมทั้งเมืองก็ตกใจวิ่งไปถามท้าวภีษมะผู้เป็นลุงว่า เกิดอะไรขึ้น ท้าวภีษมะก็บอกว่านี่เป็นเหตุอุบาทว์ของลูกชายเจ้าซึ่งเกิดมาพร้อมกับความจัญไร นำมาซึ่งเสนียดแก่หัสตินปุระ ภีษมะจึงบอกให้ท้าวธฤตราษฎร์เอาลูกไปฆ่าทิ้งเสียทั้งหมด แต่ท้าวธฤตราษฎร์กับพระนางคานธารีไม่ยอมจึงฝืนเลี้ยงโอรสทั้ง 100 คนเรื่อยมา พร้อมกับพระธิดาอีก 1 คนซึ่งพี่น้องทั้ง 101 คนนั้นก็คือ พี่น้องตระกูลเการพ ทุรโยธน์ได้พรให้เป็นผู้ที่มีเสน่ห์ในการใช้วาจา เกลี้ยกล่อมคนได้ง่าย แต่ก็เป็นผู้ที่มีความอิจฉาริษยากับปาณฑพอย่างแรงกล้า จึงก่อให้เกิดสงครามบนทุ่งกุรุเกษตรขึ้นมา แต่ตอนสุดท้ายทุรโยธน์ก็ต้องถูกภีมะใช้กระบองฟาดต้นขาตาย ไปพร้อมกับพี่น้องตระกูลเการพทั้งหมด ยกเว้นแต่นางทุหศาลา(พระธิดาองค์เดียวของท้าวธฤตราษฎร์).

ทุรโยธน์และทุหศาสัน · ทุรโยธน์และมหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556) · ดูเพิ่มเติม »

ท้าวธฤตราษฎร์

ท้าวธฤตราษฎร์ เป็นโอรสในนามของวิจิตรวีรยะและอัมพิกา แต่ที่จริงเป็นบุตรของฤๅษีวยาส กับการนิโยคกับอัมพิกา จึงได้บุตรชายชื่อ ท้าวธฤตราษฎร์ ผู้มีนัยน์ตาบอด พระองค์มีมเหสีชื่อ พระนางคานธารีและมีบุตร 100 คนและธิดา 1 องค์ เรียกว่า เการพ และมีบุตรกับนางสนม 1 คนคือ ยุยุตสุ ท้าวธฤตราษฎร์ เป็นผู้สำเร็จราชการแห่งกรุงหัสตินาปุระ เป็นคนอ่อนไหว ใจโลเล และลำเอียง ไม่อบรมสอนสั่งลูก จึงเป็นเหตุให้ทุรโยธน์มีใจชั่วร้าย กระทำเลวร้ายต่อฝ่ายปาณฑพ และเป็นเหตุให้เกิดสงครามมหาภารตะขึ้น หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.

ทุหศาสันและท้าวธฤตราษฎร์ · ท้าวธฤตราษฎร์และมหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556) · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ทุหศาสันและมหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556)

ทุหศาสัน มี 10 ความสัมพันธ์ขณะที่ มหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556) มี 49 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 10, ดัชนี Jaccard คือ 16.95% = 10 / (10 + 49)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ทุหศาสันและมหาภารตะ (ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2556) หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »