ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ทุรโยธน์และมหาภารตะ
ทุรโยธน์และมหาภารตะ มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ภีษมะมหากาพย์ราชวงศ์เการพทุหศาลาทุหศาสัน
ภีษมะ
"คำปฏิญาณของภีษมะ" ผลงานของ ราชา รวิ วรรมา "มรณกรรมของภีษมะ" ภีษมะนอนบนเตียงลูกศร รายล้อมด้วยเหล่ากษัตริย์ที่เข้าร่วมในสงครามทุ่งกุรุเกษตรทั้งฝ่ายปาณฑพและฝ่ายเการพ (ศิลปะอินเดียสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 สมบัติของพิพิธภัณฑ์สมิธโซเนียน สหรัฐอเมริกา) ภีษมะ หรือ เจ้าชายเทวพรต เป็นพระโอรสของพระราชาศานตนุแห่งกรุงหัสตินาปุระ แคว้นกุรุ กับพระแม่คงคา เป็นบุคคลสำคัญในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ เพราะถือเป็นปู่คนหนึ่งของทั้งฝ่ายเการพและฝ่ายปาณฑพ ภายหลังจากที่เจ้าชายเทวพรตได้ให้สัตย์สาบานแก่ฟ้าดินว่าจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับบัลลังก์กษัตริย์และจะไม่แต่งงานมีลูกกับหญิงคนใดแล้วนั้น ก็ได้ชื่อใหม่คือ ท้าวภีษมะ พระบิดาคือท้าวศานตนุก็ซาบซึ้งพระทัยมากจึงให้พรกับภีษมะว่าจะให้ภีษมะมีอายุยืนยาวเท่าไรก็ได้ ไม่มีวันตาย นอกเสียจากว่าภีษมะจะต้องการตายเองจริง ๆ ภีษมะนั้น ต้องทนทุกข์ทรมานแสนสาหัสเพราะเป็นผู้เห็นเรื่องราวทุกอย่าง ความพินาศของราชวงศ์กุรุ การรบพุ่งกันบนสงครามกุรุเกษตร และผลพวงของสงคราม ที่เป็นเช่นนี้เพราะชาติก่อนท้าวภีษมะเคยเกิดเป็น หนึ่งในคณะเทพวสุ ก็คือคณะเทพที่มี 8 องค์ด้วยกัน และมีภรรยาครบทุกองค์ เมื่อจะไปที่ใดก็ต้องเสด็จไปทั้ง 16 องค์ มีอยู่วันหนึ่ง ภรรยาของเทพทยุ ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะเทพวสุ อยากได้แม่โคนันทินีของฤๅษีวสิษฐ์ซึ่งเป็นฤๅษีคนสำคัญ เทพทยุรู้ว่าผิดแต่ก็ช่วยกันกับเทพอีก 7 องค์ในการโขมยวัวในระหว่างที่ฤๅษีวสิษฐ์ออกไปเก็บผลไม้ในป่า แต่ฤๅษีวสิษฐ์ก็จับได้เข้า จึงสาปให้เทพทั้ง 8 องค์ไปเกิดรับความทรมานบนโลกมนุษย์ แต่เทพ 7 องค์นั้นเป็นเพียงตัวประกอบในการช่วยกันโขมยวัวเท่านั้น ตัวตั้งตัวตีนั้นคือเทพทยุ จึงถูกสาปให้ไปเกิดบนโลกมนุษย์รับความทรมานแสนสาหัสหนักกว่าใครเพื่อน ด้วยเหตุนี้พระแม่คงคาจึงรับหน้าที่เป็นพระมารดาของเทพ 8 องค์ นี้ และโยนเทพทั้ง 7 องค์ที่มาเกิดบนโลกมนุษย์นี้ลงแม่น้ำทันทีจะได้ไม่ต้องมารับกรรมมาก ส่วนเทพทยุที่ทำผิดหนักกว่าใครเพื่อนก็ได้มาเกิดนานกว่าคนอื่นก็คือ ท้าวภีษมะ นั่นเอง โดยพระแม่คงคาได้นำตัวท้าวภีษมะไปร่ำเรียนวิชาพระเวทและคัมภีร์เวทานตะโดยฤๅษีวสิษฐ์ซึ่งเป็นคนเดียวกันกับที่สาปให้ภีษมะมาเกิดบนโลกนานกว่าใคร,วิชารัฐศาสตร์โดยพระพฤหัสบดี และวิชายิงธนูโดยภควาจารย์หรือฤๅษีปรศุราม(ที่เกลียดพวกวรรณะกษัตริย์แต่คราวนี้ยอมสอนให้) ท้าวภีษมะนั่นไม่ได้แต่งงานแต่มีอยู่ครั้งหนึ่ง ได้ไปชิงตัวเจ้าหญิงแห่งแคว้นกาสี 3 พระองค์ก็คือ เจ้าหญิงอัมพา เจ้าหญิงอัมพิกา และเจ้าหญิงอัมพาลิกา มาเป็นมเหสีของวิจิตรวีรยะผู้เป็นน้องต่างมารดา (ตอนนั้นจิตรางคทะเสียชีวิตไปแล้วและโดยปกติมีข้อตกลงกันมานานแล้วว่า หากแคว้นกาสีมีพระธิดาจะต้องยกให้กับเจ้าชายแคว้นหัสตินาปุระก่อน แต่คราวนี้กลับทำพิธีสยุมพรแต่ไม่ได้เชิญเจ้าชายแคว้นหัสตินาปุระไปร่วมด้วย) แต่เมื่อชิงตัวทั้งสามมายังกรุงหัสตินาปุระเรียบร้อย เจ้าหญิงอัมพาเกิดบอกกับภีษมะว่าตอนที่ภีษมะกำลังจะไปชิงตัวนางนั้น นางกำลังจะทำพิธีสยุมพรกับท้าวศัลวะ ซึ่งเป็นคู่รักของนาง ทุกคนคือท้าวภีษมะ พระนางสัตยวดีและวิจิตรวีรยะตกใจมากกับเรื่องที่เกิดขึ้น จึงส่งตัวเจ้าหญิงอัมพาให้ท้าวศัลวะ แต่ท้าวศัลวะไม่ยอมรับตัวเจ้าหญิงอีกต่อไป เจ้าหญิงอัมพาเสียใจมาก เมื่อกลับมาหาท้าวภีษมะและขอร้องให้แต่งงานกับตน แต่ท้าวภีษมะทำไม่ได้เพราะเคยให้สัตย์สาบานกับฟ้าดินไว้ นางอัมพาโกรธแค้นท้าวภีษมะมากจึงขอให้ฤๅษีปรศุรามผู้เป็นอาจารย์ของท้าวภีษมะมาขอร้องแทนแต่ก็ไม่เป็นผลและยังต้องต่อสู้กับท้าวภีษมะอีกด้วย แต่ผลก็ไม่รู้แพ้รู้ชนะเพราะภีษมะกำลังจะตัดสินการสู้กันโดยใช้วิชาอัสตระชื่อวิชาปรัสวาปะ ซึ่งเป็นวิชาทำลายล้างโลก แต่ก็ถูกพระนารายณ์และพระศิวะห้ามไว้ก่อน เจ้าหญิงอัมพาจึงไม่สมหวังและขอพรกับเทพบุตรสันมุข พระองค์จึงให้พวงมาลัยที่ไม่มีวันเหี่ยวเฉากับนาง เพื่อเอาไปคล้องคอกับผู้ที่จะฆ่าท้าวภีษมะให้ แต่ไม่มีกษัตริย์คนใดยอมรับ มาถึงคนสุดท้ายคือท้าวทรุปัท พระองค์ก็ไม่ยอมเช่นกัน เจ้าหญิงจึงแขวนพวงมาลัยในที่เสาในท้องพระโรงและได้พรจากพระศิวะให้นางเป็นคนฆ่าภีษมะด้วยตนเอง นางทนรอชาติหน้าไม่ไหวจึงเผาตนเองในกองไฟไปเกิดใหม่เป็นพระธิดาของท้าวทรุปัทชื่อ ศิขัณทิน (แต่ภายหลังได้แลกเพศกับยักษ์ตนหนึ่ง) ส่วนในสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตรนั้น ท้าวภีษมะต้องเข้าร่วมกับพวกเการพ และเป็นแม่ทัพให้กับทุรโยธน์ ท้าวภีษมะไม่เต็มใจนักเพราะแต่ละฝ่ายต่างก็เป็นหลานของตน จึงเข้าร่วมกับฝ่ายเการพและบอกว่าจะไม่สังหารพี่น้องปาณฑพอย่างเด็ดขาด แต่ในที่สุดแล้ว ภีษมะก็ตายด้วยน้ำมือของอรชุนซึ่งเป็นหลาน ไม่ใช่ศิขัณทิน ในสงครามบนทุ่งกุรุเกษตร โดยอรชุนระดมยิงธนูใส่ภีษมะเป็นจำนวนมาก แต่ภีษมะยังไม่ตาย โดยสอนวิธีการปกครองให้กับพวกปาณฑพก่อนที่ตนเองจะตั้งใจตาย เมื่อสอนหลาน ๆ ฝ่ายปาณฑพจบภีษมะก็ได้ตายจากไปและขึ้นไปอยู่บนสวรรค์ดังเดิม.
ทุรโยธน์และภีษมะ · ภีษมะและมหาภารตะ ·
มหากาพย์
มหากาพย์ (Epic poetry) คือ วรรณคดีที่เล่าเรื่องราวของวีรบุรุษหรือวัฒนธรรม มักเป็นเรื่องที่เก่าแก่ มีโครงเรื่องซับซ้อนและยาว ตัวละครมากมาย และได้รับการยกย่อง มหากาพย์โดยมากในเอเชีย จะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเชื่อหรือศาสนาของชาตินั้น.
ทุรโยธน์และมหากาพย์ · มหากาพย์และมหาภารตะ ·
ราชวงศ์เการพ
ทุรโยธน์ ผู้นำแห่งเการพ ในเรื่องมหาภารตะ เการพ เป็นกลุ่มพี่น้อง 101 คน ที่สืบเชื้อสายจากท้าวธฤตราษฎร์ ประสูติจากพระนางคานธารีธิดาของแห่งนครคันธาร.
ทุรโยธน์และราชวงศ์เการพ · มหาภารตะและราชวงศ์เการพ ·
ทุหศาลา
ทุหศาลา เป็นธิดาคนสุดท้องของท้าวธฤตราษฎร์และพระนางคานธารี ในบรรดาพี่น้องเการพทั้งหมด และเป็นชายาของชัยทรัถ ซึ่งไม่มีบทบาทอะไรมากนักในเรื่อง หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.
ทุรโยธน์และทุหศาลา · ทุหศาลาและมหาภารตะ ·
ทุหศาสัน
ทุหศาสัน เป็นโอรสองค์ที่สองของท้าวธฤตราษฎร์กับพระนางคานธารีแห่งกรุงหัสตินาปุระ และเป็นน้องชายของทุรโยธน์ ครั้งหนึ่งทุรโยธน์เชิญยุธิษฐิระมาเล่นสกา การแข่งขันดำเนินไปอย่างยาวนาน ยุธิษฐิระเริ่มแพ้พนันสกาไปเรื่อย ๆ ทรัพย์สินและบ้านเมืองที่ใช้เดิมพันถูกทุรโยธน์ยึดไว้ทั้งหมด ยุธิษฐิระหน้ามืดตามัวเดิมพันตัวเองและน้อง ๆ ทั้งสี่ (คือ ภีมะ อรชุน นกุลและสหเทพ) แต่ก็แพ้ตกเป็นทาสของทุรโยธน์ ในที่สุดก็นำพระนางเทราปตี พระชายามาเดิมพัน ก็แพ้พนันอีก ทุรโยธน์จึงให้ทุหศาสันลากตัวพระนางเทราปทีมาประจานที่กลางสภาเพื่อให้ทุกคนรับรู้ ทุหศาสันจิกผมนางและลากนางมาที่สภา ทุรโยธน์ออกคำสั่งให้ทุหศาสันเปลื้องผ้านางออก นางจึงขอให้พระกฤษณะ (ซึ่งเป็นพระนารายณ์อวตารปางที่ 8) ช่วยนาง พระองค์จึงเนรมิตผ้าสาหรี่ให้มีความยาวไม่มีที่สิ้นสุด ทุหศาสันดึงผ้านางอยู่นานก็ไม่มีทีท่าที่จะหมดไปจากกายนาง จนกระทั่งทุหศาสันหมดแรงไปเอง จากการกระทำอันชั่วช้าในครั้งนี้ ภีมะประกาศกร้าวที่จะฉีกอกทุหศาสันเอาเลือดจากอกมาดื่มกิน และเอาเลือดมาล้างผมพระนางเทราปทีเป็นการลบล้างมลทิน ต่อมาเมื่อเกิดศึกมหาภารตะที่ทุ่งราบกุรุเกษตร ระหว่างฝ่ายเการพของทุรโยธน์กับฝ่ายปาณฑพของยุธิษฐิระ ในวันที่ 16 ของสงครามทุ่งราบกุรุเกษตรนี้ ภีมะมีโอกาสได้สู้กับทุหศาสัน ภีมะฟาดกระะบองใส่ทุหศาสันจนล้มฟุบ แล้วตามไปกระชากแขนทั้งสองข้างจนขาดออกมาอย่างโหดเหี้ยม จากนั้นก็ฉีกอกทุหศาสันล้วงเอาเลือดออกมาดื่ม ตามคำสาบานที่เขาประกาศไว้ หมวดหมู่:ตัวละครในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ.
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ ทุรโยธน์และมหาภารตะ มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง ทุรโยธน์และมหาภารตะ
การเปรียบเทียบระหว่าง ทุรโยธน์และมหาภารตะ
ทุรโยธน์ มี 11 ความสัมพันธ์ขณะที่ มหาภารตะ มี 47 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 8.62% = 5 / (11 + 47)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ทุรโยธน์และมหาภารตะ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: