ทุพโภชนาการและโลกที่สาม
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง ทุพโภชนาการและโลกที่สาม
ทุพโภชนาการ vs. โลกที่สาม
ทุพโภชนาการ (malnutrition) เป็นภาวะซึ่งเกิดขึ้นจากการรับประทานอาหารไม่สมดุลกัน โดยอาจมีสารอาหารบางอย่างได้รับไม่เพียงพอ เกิน หรือผิดสัดส่วน ผลอาจทำให้เกิดความผิดปกติทางโภชนาการต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับว่าสารอาหารที่ได้รับนั้นขาดหรือเกิน องค์การอนามัยโลกกล่าวถึงทุพโภชนาการว่าเป็นภัยคุกคามร้ายแรงที่สุดต่อสาธารณสุขของโลก การปรับปรุงสารอาหารถูกมองอย่างกว้างขวางว่าเป็นรูปแบบการช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพสูงสุด มาตรการฉุกเฉินมีทั้งการจัดสารอาหารรองที่ขาดโดยใช้ผงกระแจะ (sachet powder) เสริมอาหาร เช่น เนยถั่ว หรือผ่านผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโดยตรง แบบจำลองการบรรเทาทุพภิกขภัยได้มีการใช้เพิ่มขึ้นโดยกลุ่มช่วยเหลือ ที่เรียกร้องให้ส่งเงินหรือคูปองเงินสดแก่ผู้หิวโหยเพื่อจ่ายชาวนาท้องถิ่น แทนที่จะซื้ออาหารจากประเทศผู้บริจาค ซึ่งมักกำหนดโดยกฎหมาย เพราะจะเสียเงินไปกับค่าขนส่ง มาตรการระยะยาวรวมถึงการลงทุนในเกษตรกรรมสมัยใหม่ในที่ซึ่งขาดแคลน เช่น ปุ๋ยและชลประทาน ซึ่งกำจัดความหิวโหยได้อย่างใหญ่หลวงในประเทศพัฒนาแล้ว อย่างไรก็ดี ธนาคารโลกตำหนิหน่วยงานของรัฐที่จำกัดชาวนาอย่างรุนแรง และการขยายการใช้ปุ๋ยถูกขัดขวางโดยกลุ่มสิ่งแวดล้อมบางกลุ่ม. คำว่า "โลกที่สาม" กำเนิดระหว่างสงครามเย็น นิยามประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ทั้งนาโตหรือกลุ่มคอมมิวนิสต์ สหรัฐ แคนาดา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ชาติยุโรปตะวันตกและพันธมิตรเป็นโลกที่หนึ่ง ส่วนสหภาพโซเวียต จีน คิวบาและพันธมิตรเป็นโลกที่สอง คำนี้เป็นวิธีจำแนกประเทษในโลกออกเป็นสามกลุ่มใหญ่ ๆ โดยยึดการแบ่งแยกทางการเมืองและเศรษฐกิจ ปกติโลกที่สามถูกมองว่ารวมหลายประเทศอดีตอาณานิคมในทวีปแอฟริกา ละตินอเมริกา โอเชียเนียและเอเชีย บางครั้งถือเอาสมนัยกับประเทศในขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ในทฤษฎีพึ่งพาของนักคิดอย่างราอูล พรีบิช (Raúl Prebisch), วัลเทอร์ รอดนีย์ (Walter Rodney), ทีโอโตนีโอ ดอส ซานโตส (Theotonio dos Santos) และอังเดร กุนเดอร์ แฟรงค์ โลกที่สามเชื่อมกับการแบ่งเศรษฐกิจเป็นประเทศ "ขอบนอก" ในระบบโลกที่มีประเทศ "แกน" ครอบงำ เนื่องจากประวัติศาสตร์ความหมายและบริบทที่วิวัฒนาอย่างซับซ้อน จึงไม่มีบทนิยามของ "โลกที่สาม" อย่างชัดเจนหรือเป็นที่ยอมรับ บางประเทศในกลุ่มคอมมิวนิสต์ เช่น คิวบา ถือว่าเป็น "โลกที่สาม" ่บ่อยครั้ง เพราะประเทศโลกที่สามยากจนทางเศรษฐกิจ ไม่เป็นอุตสาหกรรม จึงเป็นคำเหมาเรียกประเทศยากจนว่า "ประเทศโลกที่สาม" กระนั้น คำว่า "โลกที่สาม" ยังมักใช้รวมประเทศอุตสาหกรรมใหม่อย่างบราซิล อินเดียและจีนซึ่งปัจจุบันเรียกเป็นส่วนหนึ่งของ BRIC ในอดีต ประเทศยุโรปบางประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดและประเทศเหล่านี้ส่วนน้อยที่ร่ำรวยมาก ได้แก่ ไอร์แลนด์ ออสเตรีย สวีเดน ฟินแลนด์และสวิสเซอร์แลนด์ ในช่วงทศวรรษหลังนับแต่การล่มสลายของสหภาพโซเวียตและการสิ้นสุดของสงครามเย็น มีการใช้คำว่า "โลกที่สาม" แทนประเทศด้อยพัฒนา โกลบอลเซาท์ และประเทศกำลังพัฒนา แต่มโนทัศน์ดังกล่าวล้าสมัยแล้วในปีล่าสุดเพราะไม่เป็นตัวแทนของสถานภาพการเมืองหรือเศรษฐกิจของโลกอีกต่อไป หมวดหมู่:อภิธานศัพท์การเมือง หมวดหมู่:การจำแนกหมวดหมู่ประเทศ หมวดหมู่:การเมืองแบ่งตามภูมิภาค หมวดหมู่:อภิธานศัพท์สงครามเย็น.
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ทุพโภชนาการและโลกที่สาม
ทุพโภชนาการและโลกที่สาม มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ ทุพโภชนาการและโลกที่สาม มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง ทุพโภชนาการและโลกที่สาม
การเปรียบเทียบระหว่าง ทุพโภชนาการและโลกที่สาม
ทุพโภชนาการ มี 10 ความสัมพันธ์ขณะที่ โลกที่สาม มี 8 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (10 + 8)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ทุพโภชนาการและโลกที่สาม หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: