โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทิเชียนและศิลปะตะวันตก

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ทิเชียนและศิลปะตะวันตก

ทิเชียน vs. ศิลปะตะวันตก

ความแตกต่างระหว่าง ทิเชียนและศิลปะตะวันตก ไม่สามารถใช้ได้

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ทิเชียนและศิลปะตะวันตก

ทิเชียนและศิลปะตะวันตก มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): บารอกภาพเหมือนศิลปะคริสเตียนสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาจิตรกรรมฝาผนังจิตรกรรมภูมิทัศน์จิตรกรรมสีน้ำมัน

บารอก

“การแต่งงานของนักบุญแคทเธอรินแห่งอเล็กซานเดรีย” (The Mystic Marriage of St. Catherine) โดย อันโตนิโอ ดา คอร์เรจจิโอ บารอก (Baroque) หรือบาโรก เป็นสมัยหนึ่งของศิลปะตะวันตกซึ่งเริ่มประมาณต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี บาโรกจะเน้นความเป็นนาฏกรรม ศิลปะจะแสดงความขัดแย้ง (tension) และความหรูหรา โอ่อ่า บาโรกเป็นลักษณะของ ประติมากรรม จิตรกรรม วรรณกรรม นาฏศิลป์ และดนตรี ถ้ากล่าวถึงดนตรีแบบบารอกก็จะหมายถึงสมัยสุดท้ายของเคาน์เตอร์พ็อยต์ (Counterpoint) ที่กล่างวถึงความสัมพันธ์ของการเล่นระหว่างเสียงหรือเครื่องดนตรีมากกว่าสองชนิดที่อาจจะสะท้อนกันและกัน แต่คนละระดับเสียง หรือบางครั้งก็อาจจะสลับเสียงสะท้อน หรือไม่อีกทีก็อาจจะย้อนแก่นสาร (reversing theme) ของดนตรีชิ้นนั้นไปเลย ยุคบารอกรุ่งเรืองขึ้นมาด้วยการสนับสนุนจากคริสตจักรโรมันคาทอลิก ระหว่างการประชุมสภาสังคายนาแห่งเทรนต์ เมื่อปี..

ทิเชียนและบารอก · บารอกและศิลปะตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

ภาพเหมือน

หมือนเด็กชายชาวโรมัน-อียิปต์เป็นภาพเหมือนที่ใช้ปิดหน้าศพของผู้ตาย “ภาพเหมือนตนเอง” โดย ฟินเซนต์ ฟัน โคค ภาพถ่ายภาพเหมือนของทอมัส ดิลวาร์ด โดยแม็ทธิว เบรดี ภาพเหมือน (ภาษาอังกฤษ: portrait) เป็นจิตรกรรม, ภาพถ่าย, ประติมากรรม หรือสื่ออื่นๆ ที่เป็นรูปของผู้เป็นแบบ ซึ่งส่วนที่สำคัญที่สุดจะเป็นหน้าและการแสดงออกทางความรู้สึกของผู้เป็นแบบ จุดประสงค์ในการสร้างภาพเหมือนก็เพื่อแสดงความละม้าย, บุคลิก, หรือแม้แต่อารมณ์ของผู้เป็นแบบ ฉะนั้นภาพถ่ายที่เป็นภาพเหมือนจึงมิใช่ภาพถ่ายแบบชั่ววินาที แต่เป็นภาพถ่ายที่ช่างถ่ายจะพยายามจัดท่าหรือองค์ประกอบของภาพที่ให้ผู้เป็นแบบนั่งนิ่ง ภาพเหมือนมักจะแสดงผู้เป็นแบบมองตรงมายังจิตรกรหรือช่างภาพ เพื่อแสดงให้เห็นว่ามีความสัมพันธ์โดยตรงกับผู้ที่ดูรูปในภายหลัง.

ทิเชียนและภาพเหมือน · ภาพเหมือนและศิลปะตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะคริสเตียน

"พระแม่มารีและพระบุตร" โดยทิเชียน (ราว ค.ศ. 1512) พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ศิลปะ, เวียนนา, ประเทศออสเตรีย ศิลปะคริสเตียน (Christian art) เป็นคำที่หมายถึงจักษุศิลป์ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นสื่อแสดงความหมาย, ขยายความ และแสดงเรื่องราวที่เกี่ยวกับหลักของศาสนาคริสต์ นิกายของศาสนาคริสต์เกือบทุกนิกายใช้ศิลปะคริสเตียนแต่จะมากบ้างน้อยบ้างก็แล้วแต่กฎบัตรของแต่ละนิกาย แต่โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นสื่อชนิดใดหัวเรื่องการสร้างก็จะคล้ายคลึงกันคือจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชีวประวัติของพระเยซูจากพันธสัญญาใหม่ หรือบางครั้งก็รวมเรื่องราวจากพันธสัญญาเดิม นอกนั้นการเขียนเรื่องนักบุญหรือผู้มีความสำคัญต่อศาสนาก็เป็นที่นิยมกันโดยเฉพาะในนิกายโรมันคาทอลิก, นิกายแองกลิคัน และนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ.

ทิเชียนและศิลปะคริสเตียน · ศิลปะคริสเตียนและศิลปะตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

รูปสลักเดวิด เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี หนึ่งในประติมากรรมชิ้นเอกของยุคนี้ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance; Rinascimento; แปลว่า เกิดใหม่ หรือคืนชีพ) หรือ เรอแนซ็องส์ เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่กินเวลาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 17 ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงทางวรรณกรรม วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ศาสนาและการเมือง การฟื้นฟูการศึกษาโดยอาศัยผลงานคลาสสิก การพัฒนาจิตรกรรม และการปฏิรูปการศึกษาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อาศัยพลังของนักมนุษยนิยมและปัจเจกชนนิยมเป็นเครื่องจูงใจ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเกิดขึ้นในฟลอเรนซ์ แคว้นทัสกานี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14.

ทิเชียนและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · ศิลปะตะวันตกและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมฝาผนัง

วาติกัน, โรม ประเทศอิตาลี จิตรกรรมฝาผนังโดยดิโอนิเซียส (Dionisius) เล่าเรื่องนักบุญนิโคลัส จิตรกรรมฝาผนัง จากมหากาพย์ “ไตรภูมิดานเต” ของดานเตโดยโดเมนิโค ดิ มิเคลลิโน (Domenico di Michelino) ที่มหาวิหารฟลอเรนซ์ จิตรกรรมฝาผนังจากบาวาเรียประเทศเยอรมนี “ที่ฝังศพของนักดำน้ำ” พบเมื่อปีค.ศ. 1968 (470 ปีก่อนคริสต์ศักราช) จิตรกรรมฝาผนังจากอจันตา (Ajanta) คริสต์ศตวรรษที่ 6 จิตรกรรมฝาผนังโคลาของนักรำที่ Brihadisvara Temple ประมาณ ค.ศ. 1100 จิตรกรรมฝาผนัง (ภาษาอังกฤษ: Mural painting) คือภาพเขียนหลายชนิดที่เขียนบนปูนบนผนังหรือเพดาน เทคนิคที่นิยมกัน คือ การวาดภาพบนผนังปูนปลาสเตอร์เปียก (fresco) โดยที่คำว่า “fresco” มาจากภาษาอิตาลี “affresco” ซึ่งมาจากคำว่า “fresco” หรือ “สด” รากศัพท์มาจากภาษาเยอรมัน.

จิตรกรรมฝาผนังและทิเชียน · จิตรกรรมฝาผนังและศิลปะตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมภูมิทัศน์

“เดินเล่นในฤดูใบไม้ผลิ” (Strolling About in Spring) ราว ค.ศ. 600 คนเกี่ยวข้าว” (The Harvesters) โดย ปิเอเตอร์ บรูเกล ค.ศ. 1565 “ร้อนผิดฤดูที่เวอร์มอนท์” (Indian Summer) โดยวิลลาร์ด ลีรอย เมทคาลฟ ซึ่งเป็นภาพเขียนนอกสถานที่ จิตรกรรมภูมิทัศน์ (ภาษาอังกฤษ: Landscape art) เป็นจิตรกรรม ที่แสดงทิวทัศน์เช่นภูเขา, หุบเขา, ต้นไม้, แม่น้ำ, และป่า และมักจะรวมท้องฟ้า นอกจากนั้นสภาวะอากาศก็อาจจะมีส่วนสำคัญในการวางองค์ประกอบของภาพด้วย ในคริสต์ศตวรรษที่ 1 ชาวโรมันตกแต่งห้องด้วยจิตรกรรมฝาผนังที่เป็นภาพภูมิทัศน์ซึ่งพบที่ปอมเปอีและเฮอร์คิวเลเนียม คำว่า “landscape” มาจากภาษาดัทช์ landscape “landschap” ซึ่งหมายถึงบริเวณที่เก็บเกี่ยวแล้ว และนำเข้ามาใช้ในภาษาอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อต้น คริสต์ศตวรรษที่ 15 การเขียนภาพภูมิทัศน์เป็นศิลปะการเขียนแบบหนึ่งในยุโรป ซึ่งใช้เป็นฉากหลังของกิจการต่างๆ ส่วนใหญ่จะเป็นศิลปะคริสต์ศาสนา เช่น ภาพในหัวเรื่อง “พระเยซูหนีไปอียิปต์”, หรือฉากการเดินทางของแมไจเพื่อนำของขวัญมาให้พระเยซู หรือ ภาพเขียนเกี่ยวกับนักบุญเจอโรมเมื่อไปจำศีลอยู่ในทะเลทราย การเขียนภาพภูมิทัศน์ของจีนจะเป็นภูมิทัศน์ล้วนๆ ถ้ามีคนอยู่ในรูปก็จะเป็นส่วนประกอบที่ไม่สำคัญหรือเพียงเป็นสิ่งเทียบถึงขนาดของธรรมชาติ และเป็นการเชิญชวนให้ผู้ชมภาพมีความรู้สึกว่ามีส่วนร่วมในภาพเขียน การเขียนภาพลักษณะนี้มีลักษณะสมบูรณ์แบบมาตั้งแต่การเขียนภาพด้วยหมึก ในยุโรปจอห์น รัสคิน และ เซอร์เค็นเน็ธ คลาคกล่าวว่าการเขียนภาพภูมิทัศน์เป็นศิลปะที่สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้คนเกิดความซาบซึ้งในความสวยงามของธรรมชาติ คลาคกล่าวว่าในการเขียนภาพภูมิทัศน์ตั้งอยู่บนพื้นฐานสี่อย่าง: การยอมรับในสัญลักษณ์ที่เห็น, ความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับธรรมชาติ, การสร้างจินตนิยมที่มึพี้นฐานมาจากความกลัวธรรมชาติ และ ความเชื่อที่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะลงเอยด้วยดีที่เป็นสิ่งที่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ ในสหรัฐอเมริกาช่างเขียนภาพสกุลศิลปะลุ่มแม่น้ำฮัดสันที่รุ่งเรื่องราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีชื่อเสียงในการวิวัฒนาการเขียนภาพภูมิทัศน์ นักเขียนภาพกลุ่มนี้สร้างภาพเขียนขนาดยักษ์เพื่อจะสามารถพยายามแสดงความยิ่งใหญ่ของภูมิทัศน์ตามที่เห็น ปรัชญาของงานของทอมัส โคลซึ่งถือกันว่าเป็นผู้ก่อตั้งตระกูลการเขียนนี้ก็เช่นเดียวกับปรัชญาการเขียนภาพภูมิทัศน์ในยุโรป — เป็นความศรัทธาของมนุษย์ที่ทำให้มีความรู้สึกดีขึ้นจากการซาบซึ้งในคุณค่าของความสวยงามและความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ งานของศิลปินตระกูลแม่น้ำฮัดสันรุ่นหลังเช่นงานของ แอลเบิร์ต เบียร์สตัดท์จะสร้างงานที่สร้างความน่ากลัวขึ้นโดยการเน้นอำนาจของธรรมชาติ นักสำรวจ, นักธรรมชาติวิทยา, ชาวทะเล, พ่อค้า, หรือผู้ตั้งถิ่นฐานที่มาถึงแผ่นดินแคนาดาเมื่อสมัยแรกๆ ในการสำรวจต้องเผชิญกับธรรมชาติที่ค่อนข้างจะอันตรายจากทะเล นักสำรวจเหล่านี้พยายามปรับปรุงสถานการณ์โดยการทำแผนที่, บันทึก, และตั้งหลักแหล่ง ความเข้าใจธรรมชาติจากการสังเกตของแต่ละคนก็ต่างกันไป บันทึกจากความรู้สึกเหล่านี้มีตั้งแต่ถูกต้องตามความเป็นจริงไปจนการจินตนาการที่เกินความจริงเอามากๆ และการสังเกตเหล่านี้ก็ถูกบันทึกในรูปของภาพภูมิทัศน์ ภาพเขียนที่เป็นตัวอย่างที่ดีของการเขียนภาพภูมิทัศน์คานาดาคือภาพจากจิตรกรใน “กลุ่มเจ็ดคน” (Group of Seven) ที่มีชื่อเสียงในคริสต์ทศศตวรรษ.

จิตรกรรมภูมิทัศน์และทิเชียน · จิตรกรรมภูมิทัศน์และศิลปะตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมสีน้ำมัน

"โมนาลิซา" โดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ราว ค.ศ. 1503-1506 จิตรกรรมสีน้ำมัน หรือ ภาพเขียนสีน้ำมัน (oil painting) คือการเขียนภาพโดยใช้สีฝุ่นที่ผสมกับน้ำมันแห้ง (drying oil) — โดยเฉพาะในตอนต้นของยุโรปสมัยใหม่, น้ำมันลินสีด (linseed oil) ตามปกติแล้วก็จะต้มน้ำมันเช่นลินสีดกับยางสนหรือยางสนหอม (frankincense) ส่วนผสมนี้เรียกว่า "น้ำมันเคลือบ" (varnish) ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ภาพเขียนมีความหนาและเป็นเงา น้ำมันอื่นที่ใช้ก็มีน้ำมันเม็ดฝิ่น, น้ำมันวอลนัต, และน้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันแต่ละอย่างก็มีคุณภาพต่าง ๆ กัน เช่นอาจจะทำให้สืเหลืองน้อยลง หรือใช้เวลาแห้งไม่เท่ากัน บางครั้งก็จะเห็นความแตกต่างจากเงาของภาพเขียนแล้วแต่ชนิดของน้ำมัน จิตรกรจะใช้น้ำมันหลายชนิดในภาพเขียนเดียวกันเพื่อให้ได้ลักษณะของภาพเขียนออกมาตามที่ต้องการ การแสดงออกของสีก็จะต่างกันตามแต่วัสดุที่ใช้เขียน.

จิตรกรรมสีน้ำมันและทิเชียน · จิตรกรรมสีน้ำมันและศิลปะตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ทิเชียนและศิลปะตะวันตก

ทิเชียน มี 95 ความสัมพันธ์ขณะที่ ศิลปะตะวันตก มี 89 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 3.80% = 7 / (95 + 89)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ทิเชียนและศิลปะตะวันตก หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »