เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ทิวเขาผีปันน้ำและภูมิศาสตร์ไทย

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ทิวเขาผีปันน้ำและภูมิศาสตร์ไทย

ทิวเขาผีปันน้ำ vs. ภูมิศาสตร์ไทย

แผนที่แสดงอาณาเขตของทิวเขาผีปันน้ำ ทิวเขาผีปันน้ำ เป็นแนวทิวเขาขนาดใหญ่และสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย เป็นสันปันน้ำที่แบ่งน้ำไหลแยกกันไปสองทาง ทางหนึ่งไปสู่อ่าวเจ้าพระยาอีกทางหนึ่งไปสู่อ่าวแม่โขง เขาย่อย ๆ หลายทิวประกอบขึ้นเป็นทิวเขาผีปันน้ำของแม่น้ำปิง, วัง, ยม และน่าน ซึ่งเป็นแควของแม่น้ำเจ้าพระยา ทิวเขาทั้งทิวครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งหมดของตอนกลางของภาคเหนือในทิศทางตะวันออกเฉียงเหนือ ทางตะวันตกของทิวเขานี้เป็นทิวเขา ซึ่งเรียงตัวกันตามแนวเส้นแวง ยอดเขาที่สำคัญคือ ดอยขุนออน, ดอยผาโจ้, ดอยผีปันน้ำ, ภูชี้ฟ้า และดอยขุนตาล เป็นภูเขาหินแกรนิต ซึ่งตั้งขวางเส้นทางรถไฟสายเหนือ ทำให้ต้องเจาะลอดสันเขาทางใต้ของทิวเขานี้ เป็นอุโมงค์ขุนตาล ในปี.. แผนที่ประเทศไทย ประเทศไทยมีพื้นที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ใจกลางคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตำแหน่งที่ตั้งของประเทศได้มีอิทธิพลต่อสังคมและวัฒนธรรมไทย ประเทศไทยยังเป็นเส้นทางทางบกเพียงทางเดียวจากทวีปเอเชียไปยังประเทศมาเลเซียและประเทศสิงคโปร.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ทิวเขาผีปันน้ำและภูมิศาสตร์ไทย

ทิวเขาผีปันน้ำและภูมิศาสตร์ไทย มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): จังหวัดเชียงรายทิวเขาแดนลาวแม่น้ำยมแม่น้ำวังแม่น้ำปิงแม่น้ำน่านแม่น้ำเจ้าพระยา

จังหวัดเชียงราย

ังหวัดเชียงราย (55px เจียงฮาย; 50px) เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย มีภูมิศาสตร์อยู่ทางเหนือสุดของประเทศ ที่ตั้งของเมืองมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคก่อตั้งอาณาจักรล้านนา เช่น เมืองเงินยาง เมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย เมืองเชียงรายเป็นพื้นที่ดั้งเดิมของชาวไทยวน ปัจจุบันจังหวัดเชียงรายแบ่งการปกครองออกเป็น 18 อำเภอ มีน้ำแม่กก น้ำแม่อิง แม่น้ำรวก และแม่น้ำโขง เป็นแม่น้ำสายสำคัญ ทำเลที่ตั้งของจังหวัดเชียงรายอยู่บริเวณรอยต่อระหว่าง 3 ประเทศ คือ ประเทศไทย ประเทศพม่า และประเทศลาว หรือรู้จักกันในนามของดินแดนสามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งอดีตเป็นแหล่งผลิตฝิ่นที่สำคัญของโลก ปัจจุบัน จังหวัดเชียงรายได้รับความสนใจในฐานะประตูสู่พม่า ลาว และจีนตอนใต้ ผ่านทางหลวงเอเชียสาย 2 และทางหลวงเอเชียสาย 3 เมืองเชียงรายมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เป็นที่ตั้งของหิรัญนครเงินยางเชียงแสน ซึ่งเป็นนครหลวงก่อนการกำเนิดอาณาจักรล้านนา มี "คำเมือง" เป็นภาษาท้องถิ่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งด้านศิลปะ ประเพณีวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในรูปแบบล้านนา ไทใหญ่ ไทเขิน และไทลื้อจากสิบสองปันนาผสมผสานกัน.

จังหวัดเชียงรายและทิวเขาผีปันน้ำ · จังหวัดเชียงรายและภูมิศาสตร์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

ทิวเขาแดนลาว

ทิวเขาแดนลาว เป็นเป็นชื่อไทยของทิวเขาที่อยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งวางตัวตามแนวพรมแดนไทย-พม่า ทิวเขาแดนลาวนั้นไม่ได้วางตัวแนวตะวันออก-ตะวันตกอย่างที่เข้าใจ เพราะอันที่จริงแล้ว ทิวเขาแดนลาววางตัวในแนวเฉียงตะวันตกเฉียงใต้-ตะวันออกเฉียงเหนือ ลึกเข้าไปในเขตรัฐฉาน เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาฉานโยมา เช่นเดียวกับทิวเขาอินทนนท์ และทิวเขาขุนตานด้ว.

ทิวเขาผีปันน้ำและทิวเขาแดนลาว · ทิวเขาแดนลาวและภูมิศาสตร์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำยม

แม่น้ำยมในจังหวัดแพร่ แม่น้ำยม (20px) เป็นแม่น้ำที่มีต้นกำเนิดอยู่ในป่าดงดิบสูงชันสลับซับซ้อนบนเทือกเขาผีปันน้ำและเทือกเขาแดนลาว ซึ่งอยู่ในเขต พะเยา และแพร่ โดยมีแม่น้ำงิม และ แม่น้ำควร ไหลมาบรรจบกันที่บ้านบุญยืน ตำบลนาปรัง อำเภอปง จังหวัดพะเยา มีความยาวประมาณ 735 กิโลเมตร กระแสน้ำไหลผ่านที่ราบสูงของอำเภอปง อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ผ่านจังหวัดแพร่ สุโขทัย พิษณุโลก และพิจิตร ไปบรรจบกับแม่น้ำน่านที่ตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ ก่อนแม่น้ำน่านจะไปรวมกับแม่น้ำปิง ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เกิดเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำสายสำคัญของพื้นที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทย สภาพโครงสร้างทางน้ำของแม่น้ำยมมีลักษณะแบบกิ่งไม้ ประกอบด้วยลำน้ำสาขา 77 สาย ระดับน้ำสูงสุดในฤดูฝน ลดลงเมื่อถึงฤดูหนาว และต่ำสุดในฤดูร้อน ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงตามอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ.

ทิวเขาผีปันน้ำและแม่น้ำยม · ภูมิศาสตร์ไทยและแม่น้ำยม · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำวัง

แม่น้ำวัง (ᨶᩣᩴ᩶ᩅᩢ᩠ᨦ) เป็นแม่น้ำอยู่ในภาคเหนือของไทย เกิดในเทือกเขาผีปันน้ำในเขตจังหวัดเชียงราย มีความยาว 382 กิโลเมตร ไหลไปรวมกับแม่น้ำปิง ที่อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ก่อนจะไหลไปที่แม่น้ำเจ้าพร.

ทิวเขาผีปันน้ำและแม่น้ำวัง · ภูมิศาสตร์ไทยและแม่น้ำวัง · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำปิง

แม่น้ำปิง (50px) เป็นแม่น้ำสายสำคัญของประเทศไทย และเป็นหนึ่งในสองของแม่น้ำที่บรรจบมาเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำปิงไหลอยู่ในหุบเขาระหว่างทิวเขาถนนธงชัยกลางกับทิวเขาผีปันน้ำตะวันตก มีต้นน้ำอยู่ที่ดอยเชียงดาวในอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ไหลลงทางใต้ผ่านจังหวัดลำพูน รวมกับแม่น้ำวังที่อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ไหลลงใต้ผ่านจังหวัดกำแพงเพชร แล้วบรรจบกับแม่น้ำน่านที่ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ และจากจุดนี้ไปเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำปิงมีความยาวทั้งสิ้น 658 กิโลเมตร แม่น้ำปิงมีแม่น้ำสาขาที่สำคัญอยู่ 6 สาย ได้แก่ น้ำแม่งัด น้ำแม่แตง น้ำแม่กวง น้ำแม่ลี้ น้ำแม่กลาง และน้ำแม่แจ่ม ในบริเวณแม่น้ำปิงตอนบนเป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติแม่ปิง มีเนื้อที่ 627,346 ไร่ (1,003.75 ตร.กม.).

ทิวเขาผีปันน้ำและแม่น้ำปิง · ภูมิศาสตร์ไทยและแม่น้ำปิง · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำน่าน

แม่น้ำน่าน (30px) มีต้นกำเนิดอยู่ในเทือกเขาหลวงพระบาง จังหวัดน่าน มีความยาวตลอดลำน้ำ 740 กิโลเมตร ซึ่งยาวที่สุด ในบรรดาแควต้นน้ำเจ้าพระยาด้วยกัน นับเป็นหนึ่งในแม่น้ำสายหลักในภาคเหนือและภาคกลางของไทย โดยได้ไหลย้อนขึ้นไปท่วมจังหวัดเชียงใหม่อยู่เสมอ.

ทิวเขาผีปันน้ำและแม่น้ำน่าน · ภูมิศาสตร์ไทยและแม่น้ำน่าน · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเจ้าพระยา

แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสายหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นไหลลงไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างเขตตำบลท้ายบ้าน ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ.

ทิวเขาผีปันน้ำและแม่น้ำเจ้าพระยา · ภูมิศาสตร์ไทยและแม่น้ำเจ้าพระยา · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ทิวเขาผีปันน้ำและภูมิศาสตร์ไทย

ทิวเขาผีปันน้ำ มี 15 ความสัมพันธ์ขณะที่ ภูมิศาสตร์ไทย มี 143 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 4.43% = 7 / (15 + 143)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ทิวเขาผีปันน้ำและภูมิศาสตร์ไทย หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: