ทิวซิดิดีสและมนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง ทิวซิดิดีสและมนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา
ทิวซิดิดีส vs. มนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา
ทิวซิดิดีส (Thucydides; Θουκυδίδης,; ช่วง 460 – 395 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นนักประวัติศาสตร์ชาวกรีก และเป็นผู้เขียนเรื่องประวัติศาสตร์ของสงครามเพโลพอนนีเซียน (History of the Peloponnesian War) ซึ่งบรรยายถึงเหตุการณ์ และชนวนสาเหตุของมหาสงครามเพโลพอนนีเซียน ซึ่งเป็นความขัดแย้งทางทหารระหว่างสปาร์ตากับเอเธนส์ในช่วงระหว่าง ปี 500 ถึง 411 ก่อนคริสต์ศักราช ตัวทิวซีดิดีสเองก็มีความเกี่ยวข้องกับสงครามนี้ในฐานะนักการทหารระดับแม่ทัพของเอเธนส์ และเคยนำทัพเอเธนส์รบในต่างแดนหลายครั้ง แต่ความล้มเหลวในสมรภูมิที่แอมฟิโปลิส ทำให้ท่านถูกเนรเทศตามกฎหมายของเอเธนส์ ทิวซิดิดีสได้รับการขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์เชิงวิทยาศาสตร์ เนื่องจากมาตรฐานที่เข้มงวดในเรื่องของการรวบรวมพยานหลักฐาน และการวิเคราะห์ในด้านเหตุและผล โดยปราศจากการอ้างอิงถึงความเกี่ยวข้อง หรือการแทรกแทรงจากเทพเจ้า ซึ่งจะพบได้จากสรุปใจความสำคัญในบทคำนำในงานเขียนของท่าน ทิวซิดิดีสได้รับสมญานามว่า เป็นบิดาแห่งสำนักความคิดสัจนิยมทางการเมือง ซึ่งมองเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างชาติว่า เป็นเรื่องที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของอำนาจมากกว่าความชอบธรรม นอกจากนี้ทิวซิดิดีสยังแสดงความสนใจในเรื่องการใช้ประวัติศาสตร์ศึกษาเพื่อเพิ่มพูนความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ เพื่ออธิบายถึงพฤติกรรมในวิกฤตการณ์ดังเช่น การเกิดโรคระบาด การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (ดังเช่นกรณีของชาวเมเลียน) และสงครามกลางเมือง งานเขียนสำคัญจากยุคสมัยกรีกโบราณของท่าน ยังคงได้รับการศึกษาอย่างแพร่หลายในสถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง และบทสนทนาโบราณระหว่างทหารเอเธนส์กับผู้ปกครองชาวเมเลียน (The Melian Dialogue) ที่บันทึกไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์ของสงครามเพโลพอนนีเซียน ก็ยังทรงอิทธิพลต่องานเขียนในด้านทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมาจนปัจจุบัน. นักมนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเดสิเดอริอัส อีราสมัส ราว ค.ศ. 1523 เขียนโดยฮันส์ โฮลไบน์ (ผู้ลูก) มนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance humanism) คือขบวนการทางปัญญาของยุโรปซึ่งเป็นตัวจักรสำคัญตัวหนึ่งของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ที่เริ่มขึ้นที่ฟลอเรนซ์ในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 14 ขบวนการมนุษยนิยมเริ่มขึ้นเมื่อผู้คงแก่เรียนชาวยุโรปเริ่มพบวรรณกรรมภาษาลาตินและกรีกกันขึ้นมาใหม่ ในระยะแรกนักมนุษยนิยมก็เพียงแต่เป็นปัญญาชนหรือครูที่สองวรรณกรรมภาษาลาติน แต่เมื่อมาถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 มนุษยนิยมก็พัฒนาขึ้นมาเป็นหลักสูตรการศึกษา — “หลักสูตรการศึกษามนุษยนิยม” (studia humanitatis) — ที่ประกอบด้วยการศึกษาไวยากรณ์, วาทศาสตร์, ปรัชญาจริยธรรม, กวีนิพนธ์ และประวัติศาสตร์ จากงานที่เขียนโดยผู้ประพันธ์เป็นภาษาลาตินและกรีก นักมนุษยนิยมมักจะเป็นปฏิปักษ์ต่อขบวนการปรัชญาที่นิยมกันก่อนหน้านั้นที่เรียกว่าอัสสมาจารย์นิยม (Scholasticism) ซึ่งเป็น “ผู้ร่ำเรียน” (schoolmen) ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ในอิตาลี, ปารีส, อ๊อกซฟอร์ด และอื่นๆ การศึกษาของกลุ่มอัสสมาจารย์นิยมพัฒนามาจากความสัมพันธ์กับวิทยาศาสตร์และปรัชญาของกรีกโบราณและอาหรับยุคกลาง ตัวอย่างของผู้นำในกลุ่มนี้ก็ได้แก่ทอมัส อควีนาสผู้ที่พยายามสังเคราะห์ปรัชญาของอริสโตเติลในบริบทของลัทธิคาทอลิก แต่แตกต่างจากหลักของมนุษยนิยมเรอเนสซองซ์ก็ตรงที่นักอัสสมาจารย์นิยมมิได้พึ่งวรรณกรรม หรือ ตำราประวัติศาสตร์จากสมัยกรีกโรมันเท่ากันกับเมื่อมาถึงสมัยมนุษยนิยมเรอเนสซองซ์ การกลับมาพบและกลับมาให้ความสนใจกับวรรณกรรม และ ตำราประวัติศาสตร์, วาทศิลป์ และ เทวปรัชญาที่ยังไม่ได้รับการศึกษาโดยนักปรัชญาอัสสมาจารย์นิยม ทำให้มนุษยนิยมเรอเนสซองซ์เปลี่ยนแนวทางทางวัฒนธรรมและทางปรัชญาของยุโรปอย่างสิ้นเชิง ทางด้านปรัชญานักมนุษยนิยมเรอเนสซองซ์มักจะเน้นบทเขียนของเพลโต ที่บางชิ้นนำกลับมาจากจักรวรรดิไบแซนไทน์ที่เริ่มเสื่อมโทรมลงเป็นครั้งแรก และให้ความสนใจน้อยกว่าในปรัชญาของอริสโตเติลที่ได้รับการศึกษาอย่างลึกซึ้งแล้วโดยนักอัสสมาจารย์นิยมในระหว่างยุคกลางตอนกลางแล้ว.
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ทิวซิดิดีสและมนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา
ทิวซิดิดีสและมนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ ทิวซิดิดีสและมนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง ทิวซิดิดีสและมนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา
การเปรียบเทียบระหว่าง ทิวซิดิดีสและมนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา
ทิวซิดิดีส มี 17 ความสัมพันธ์ขณะที่ มนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา มี 13 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (17 + 13)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ทิวซิดิดีสและมนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: