เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ทางหลวงเอเชียสาย 13

ดัชนี ทางหลวงเอเชียสาย 13

ทางหลวงเอเชียสาย 13 (AH13) เป็นถนนเครือข่ายทางหลวงสายเอเชียประเภทสายรอง ระยะทางรวม 760 กิโลเมตร เส้นทางแยกมาจากทางหลวงเอเชียสาย 12 ในประเทศลาว เชื่อมต่อกับทางหลวงเอเชียสาย 2 ในประเทศไท.

สารบัญ

  1. 37 ความสัมพันธ์: อำเภอบรรพตพิสัยอำเภอบางระกำอำเภอบึงนารางอำเภอพรหมพิรามอำเภอพิชัยอำเภอวชิรบารมีอำเภอวัดโบสถ์อำเภอสามง่ามอำเภอตรอนอำเภอโพธิ์ประทับช้างอำเภอโพทะเลอำเภอเก้าเลี้ยวอำเภอเมืองพิษณุโลกอำเภอเมืองอุตรดิตถ์อำเภอเมืองนครสวรรค์อำเภอเด่นชัยอำเภอเฉลิมพระเกียรติ (จังหวัดน่าน)จังหวัดพิษณุโลกจังหวัดพิจิตรจังหวัดอุตรดิตถ์จังหวัดนครสวรรค์จังหวัดน่านจังหวัดแพร่จุดผ่านแดนถาวรบ้านห้วยโก๋นถนนพหลโยธินทางหลวงสายเอเชียทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12ทางหลวงเอเชียสาย 12ทางหลวงเอเชียสาย 2ตำบลห้วยโก๋นประเทศลาวประเทศไทยแขวงอุดมไซเมืองไซ

  2. ถนนในประเทศลาว
  3. ทางหลวงแผ่นดิน

อำเภอบรรพตพิสัย

รรพตพิสัย เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครสวรร.

ดู ทางหลวงเอเชียสาย 13และอำเภอบรรพตพิสัย

อำเภอบางระกำ

อำเภอบางระกำ เป็น 1 ใน 9 อำเภอของจังหวัดพิษณุโลก เดิมชื่อ อำเภอชุมแสง ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นชื่ออำเภอดังเช่นปัจจุบัน.

ดู ทางหลวงเอเชียสาย 13และอำเภอบางระกำ

อำเภอบึงนาราง

อำเภอบึงนาราง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดพิจิตร.

ดู ทางหลวงเอเชียสาย 13และอำเภอบึงนาราง

อำเภอพรหมพิราม

อำเภอพรหมพิราม เป็น 1 ใน 9 อำเภอของจังหวัดพิษณุโลก.

ดู ทางหลวงเอเชียสาย 13และอำเภอพรหมพิราม

อำเภอพิชัย

อำเภอพิชัย เป็นอำเภอหนึ่งในจำนวน 9 อำเภอ ของจังหวัดอุตรดิตถ์ พิชัยเป็นเมืองสำคัญมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เคยเป็นเมืองลูกหลวงของกรุงสุโขทัย เมืองหน้าด่านในสมัยกรุงศรีอยุธยา และเคยเป็นตัวจังหวัดเก่าอีกด้ว.

ดู ทางหลวงเอเชียสาย 13และอำเภอพิชัย

อำเภอวชิรบารมี

อำเภอวชิรบารมี เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดพิจิตร จัดตั้งขึ้นเป็นอำเภอในปี พ.ศ. 2541.

ดู ทางหลวงเอเชียสาย 13และอำเภอวชิรบารมี

อำเภอวัดโบสถ์

อำเภอวัดโบสถ์ เป็นอำเภอหนึ่ง 9 อำเภอของจังหวัดพิษณุโลก เดิมเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอพรหมพิราม และวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.

ดู ทางหลวงเอเชียสาย 13และอำเภอวัดโบสถ์

อำเภอสามง่าม

อำเภอสามง่าม เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดพิจิตร.

ดู ทางหลวงเอเชียสาย 13และอำเภอสามง่าม

อำเภอตรอน

ตรอน เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดอุตรดิต.

ดู ทางหลวงเอเชียสาย 13และอำเภอตรอน

อำเภอโพธิ์ประทับช้าง

อำเภอโพธิ์ประทับช้าง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดพิจิตร.

ดู ทางหลวงเอเชียสาย 13และอำเภอโพธิ์ประทับช้าง

อำเภอโพทะเล

ำหรับโพทะเลที่เป็นต้นไม้ ดูที่: โพทะเล อำเภอโพทะเล เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดพิจิตร.

ดู ทางหลวงเอเชียสาย 13และอำเภอโพทะเล

อำเภอเก้าเลี้ยว

ก้าเลี้ยว เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครสวรร.

ดู ทางหลวงเอเชียสาย 13และอำเภอเก้าเลี้ยว

อำเภอเมืองพิษณุโลก

ระพุทธชินราช อำเภอเมืองพิษณุโลก เป็น 1 ใน 9 อำเภอของจังหวัดพิษณุโลก.

ดู ทางหลวงเอเชียสาย 13และอำเภอเมืองพิษณุโลก

อำเภอเมืองอุตรดิตถ์

อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ชื่อเดิม อำเภอบางโพ ขึ้นอยู่กับเมืองพิชัย มาตั้งแต่สมัยอยุธยา ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดอุตรดิตถ์ จึงใช้ชื่ออำเภอบางโพเป็นอำเภอเมืองของจังหวัดอุตรดิตถ์ และเปลี่ยนชื่อมาเป็นอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ปัจจุบันตัวอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ที่ตั้งของอำเภอเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการ ธุรกิจ เศรษฐกิจของจังหวัดอุตรดิตถ์ และมีอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหักวีรบุรุษของชาวอุตรดิตถ์ประดิษฐานอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิต.

ดู ทางหลวงเอเชียสาย 13และอำเภอเมืองอุตรดิตถ์

อำเภอเมืองนครสวรรค์

มืองนครสวรรค์ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครสวรร.

ดู ทางหลวงเอเชียสาย 13และอำเภอเมืองนครสวรรค์

อำเภอเด่นชัย

อำเภอเด่นชัย (38px) เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดแพร่ เป็นศูนย์กลางการคมนาคมของจังหวัดแพร่ ทั้งทางถนน และ ทางรถไฟ มีสถานีรถไฟเด่นชัยเป็นสถานีประจำจังหวัดแพร่ และ ถนนที่เชื่อมไปยังจังหวัดต่างๆ ทั้งทางภาคเหนือตอนบนและกรุงเทพมหานคร.

ดู ทางหลวงเอเชียสาย 13และอำเภอเด่นชัย

อำเภอเฉลิมพระเกียรติ (จังหวัดน่าน)

ฉลิมพระเกียรติ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดน่าน.

ดู ทางหลวงเอเชียสาย 13และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ (จังหวัดน่าน)

จังหวัดพิษณุโลก

ังหวัดพิษณุโลก เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางตอนบนของประเทศไทย มีประชากรในปี..

ดู ทางหลวงเอเชียสาย 13และจังหวัดพิษณุโลก

จังหวัดพิจิตร

ังหวัดพิจิตร เป็นจังหวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางภาคกลางตอนบนระหว่างจังหวัดนครสวรรค์กับจังหวัดพิษณุโลก มีพื้นที่ประมาณ 4,531 ตารางกิโลเมตร มีประชากรในปี..

ดู ทางหลวงเอเชียสาย 13และจังหวัดพิจิตร

จังหวัดอุตรดิตถ์

ังหวัดอุตรดิตถ์ เดิมสะกดว่า อุตรดิฐ เป็นจังหวัดหนึ่งตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้ชื่อว่าเมืองท่าแห่งทิศเหนือ ตำนานอันลึกลับของเมืองลับแล ดินแดนแห่งลางสาดหวานหอม อุตรดิตถ์เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มายาวนาน โดยมีการค้นพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เดิมทีตัวเมืองอุตรดิตถ์ในปัจจุบันนี้เป็นเพียงตำบลชื่อ "บางโพธิ์ท่าอิฐ" แต่เพราะบางโพธิ์ท่าอิฐซึ่งอยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำน่านมีความเจริญรวดเร็ว เพราะเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้าสำคัญในหัวเมืองฝ่ายเหนือ ดังนั้นในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ย้ายเมืองหลักมาจากเมืองพิชัยมายังตำบลบางโพธิ์ท่าอิฐ และยกฐานะขึ้นเป็นเมือง "อุตรดิตถ์" ซึ่งมีความหมายว่า ท่าน้ำแห่งทิศเหนือของสยามประเทศ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 เมืองอุตรดิตถ์มีความเจริญขึ้น เมืองอุตรดิตถ์จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด จังหวัดอุตรดิตถ์ตั้งอยู่ทางใต้สุดของภาคเหนือตอนล่าง โดยสภาพภูมิศาสตร์จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นจังหวัดที่มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่สูงสลับซับซ้อน ซึ่งจะอยู่ทางตอนเหนือและทางตะวันออกของจังหวัด เนื่องจากทำเลที่ตั้งดังกล่าวจึงทำให้จังหวัดอุตรดิตถ์มีอากาศค่อนข้างร้อนอบอ้าวในฤดูร้อน มีอากาศฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดูฝน และมีช่วงฤดูแล้งคั่นอยู่อย่างชัดเจนตั้งแต่ประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤษภาคม เดือนที่ร้อนที่สุดคือเดือนเมษายน จังหวัดอุตรดิตถ์ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงใต้เป็นส่วนใหญ่ มรสุมตะวันออกเฉียงใต้ปกติจะมีแหล่งกำเนิดบริเวณทะเลอันดามัน ทำให้จังหวัดอุตรดิตถ์มีช่วงฤดูฝนกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกันยายน โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสูงที่สุด ประชากรส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 99.66 นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท โดยประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยใช้พื้นที่ในการทำการเกษตรประมาณร้อยละ 26.70 ของพื้นที่ทั้งหมด นอกจากนี้ ยังประกอบอาชีพทางด้านปศุสัตว์ รวมทั้งมีการทำพืชไร่ปลูกผลไม้นานาชนิด โดยผลไม้ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดอุตรดิตถ์คือลางสาด ส่วนการเดินทางมายังจังหวัดอุตรดิตถ์สามารถใช้เส้นทางได้หลายเส้นทาง ทั้งทางรถไฟ ทางรถโดยสารประจำทาง และทางรถยนต์ส่วนบุคคล สำหรับการเดินทางโดยเครื่องบิน จังหวัดอุตรดิตถ์เคยมีท่าอากาศยาน 1 แห่ง สำหรับการเดินทางพาณิชย์ แต่ปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว สถานที่สำคัญภายในจังหวัดนั้น มีทั้งแหล่งโบราณสถาน เช่น วัดพระแท่นศิลาอาสน์ วัดพระฝางสว่างคบุรีมุนีนาถ วัดพระยืนพุทธบาทยุคล วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ซากเมืองโบราณสมัยอาณาจักรสุโขทัย แหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว อุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่ อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน และแหล่งท่องเที่ยวอีกมากมาย ทั้งน้ำตก เขื่อนสิริกิติ์ วัด พระพุทธรูปสำคัญของจังหวัด เป็นต้น.

ดู ทางหลวงเอเชียสาย 13และจังหวัดอุตรดิตถ์

จังหวัดนครสวรรค์

ังหวัดนครสวรรค์ เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ระหว่างตอนบนของภาคกลาง มีพื้นที่ประมาณ 9,597 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์อีกจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย มีพื้นที่ติดต่อกับหลายจังหวัด ได้แก่ ด้านเหนือ ติดต่อกับจังหวัดพิจิตรและกำแพงเพชร ทางตะวันออกติดกับจังหวัดเพชรบูรณ์และลพบุรี ด้านใต้ติดกับจังหวัดสิงห์บุรี ชัยนาท และอุทัยธานี ส่วนด้านตะวันตกติดกับจังหวัดตาก.

ดู ทางหลวงเอเชียสาย 13และจังหวัดนครสวรรค์

จังหวัดน่าน

ังหวัดน่าน (15px) เป็นจังหวัดหนึ่งในประเทศไทย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกสุดของภาคเหนือ เป็นที่ตั้งของเมืองที่สำคัญในอดีต อาทิ เมืองวรนคร เวียงศีรษะเกษ อีกทั้งยังเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำที่สำคัญของแม่น้ำน่าน.

ดู ทางหลวงเอเชียสาย 13และจังหวัดน่าน

จังหวัดแพร่

ังหวัดแพร่ (25px) เป็นจังหวัดในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย อดีตนครรัฐอิสระขนาดเล็ก มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบระหว่างภูเขา โดยมีทิวเขาล้อมรอบ และมีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่านคือแม่น้ำยม.

ดู ทางหลวงเอเชียสาย 13และจังหวัดแพร่

จุดผ่านแดนถาวรบ้านห้วยโก๋น

ผ่านแดนถาวรบ้านห้วยโก๋น หรือ ด่านพรมแดนห้วยโก๋น–น้ำเงิน เป็นจุดผ่านแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศลาว ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1 ตำบลห้วยโก๋น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน ห่างจากตัวจังหวัดน่านประมาณ 140 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101.

ดู ทางหลวงเอเชียสาย 13และจุดผ่านแดนถาวรบ้านห้วยโก๋น

ถนนพหลโยธิน

นนพหลโยธิน (Thanon Phahon Yothin) ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 สายกรุงเทพมหานคร−แม่สาย (เขตแดน) เป็นถนนสายหลักในกรุงเทพมหานคร และเป็นหนึ่งในทางหลวงสายประธานทั้งสี่ของประเทศไทย (ประกอบด้วยถนนพหลโยธิน ถนนมิตรภาพ ถนนสุขุมวิท และถนนเพชรเกษม) สายทางเริ่มต้นที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ผ่านภาคกลาง และมุ่งเข้าสู่ภาคเหนือของประเทศไทย สิ้นสุดที่ด่านพรมแดนแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย บริเวณชายแดนประเทศพม่า รวมระยะทางยาว 994.749 กิโลเมตร บางช่วงของถนนพหลโยธินอยู่ในโครงข่ายทางหลวงเอเชีย ได้แก่ ช่วงบ้านหินกองถึงอำเภอบางปะอินเป็นทางหลวงเอเชียสาย 1, ช่วงแยกหลวงพ่อโอ (เส้นแบ่งเขตจังหวัดชัยนาทกับจังหวัดนครสวรรค์) ถึงอำเภอเมืองตาก เป็นทั้งทางหลวงเอเชียสาย 1 และสาย 2 และช่วงอำเภอเมืองสระบุรีถึงบ้านหินกองเป็นทางหลวงเอเชียสาย 12 นอกจากนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงคุนหมิง–กรุงเทพ ถนนพหลโยธินช่วงตั้งแต่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เส้นทางของถนนจะเบี่ยงไปทิศตะวันออก ผ่านจังหวัดสระบุรีและจังหวัดลพบุรี แล้ววกกลับมายังจังหวัดชัยนาท เนื่องจากในสมัยก่อนต้องการให้ทางหลวงสายหลักผ่านที่ตั้งของกองทหารสำคัญของประเท.

ดู ทางหลวงเอเชียสาย 13และถนนพหลโยธิน

ทางหลวงสายเอเชีย

แผนที่ทางหลวงสายเอเชีย ป้ายทางหลวงเอเชียสาย 2 ที่จังหวัดราชบุรี ประเทศไทย ป้ายทางหลวงสายเอเชีย ป้ายนี้ใช้ในทางหลวงเอเชียสาย 18 ทางหลวงสายเอเชีย หรือย่อเป็น AH เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศในทวีปเอเชียและยุโรป และคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (เอสแคป) สหประชาชาติ เพื่อปรับปรุงระบบทางหลวงในเอเชีย เป็นหนึ่งในสามเสาหลักของโครงการการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งทางบกของทวีปเอเชีย อนุมัติโดยคณะกรรมการเอสแคป ในการประชุมครั้งที่ 48 ในปี..

ดู ทางหลวงเอเชียสาย 13และทางหลวงสายเอเชีย

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 สายกำแพงเพชร–จุดผ่านแดนถาวรห้วยโก๋น/น้ำเงิน (เขตแดนไทย/ลาว) เป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อระหว่างจังหวัดในภาคกลางกับจังหวัดในภาคเหนือด้านตะวันออก มีปลายทางทิศใต้บนถนนพหลโยธิน ในตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร และมีปลายทางทิศเหนือที่จุดผ่านแดนถาวรบ้านห้วยโก๋น ในตำบลห้วยโก๋น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน เชื่อมต่อกับบ้านน้ำเงิน เมืองเงิน แขวงไชยบุรี ประเทศลาว ระยะทางรวม 505.853 กิโลเมตร และในช่วงเด่นชัย ถึงจุดผ่านแดนถาวรบ้านห้วยโก๋น เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 13.

ดู ทางหลวงเอเชียสาย 13และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 สายอินทร์บุรี–เชียงใหม่ เป็นทางหลวงแผ่นดินสายประธานแนวเหนือ–ใต้ เชื่อมการคมนาคมระหว่างจังหวัดในภาคกลางกับจังหวัดในภาคเหนือของประเทศไทย มีระยะทาง 545.779 กิโลเมตร ปลายทางทิศใต้ของทางหลวงสายนี้อยู่ที่ทางแยกต่างระดับอินทร์บุรี ที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 ในอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ส่วนปลายทางทิศเหนืออยู่ที่ถนนสุเทพ ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม.

ดู ทางหลวงเอเชียสาย 13และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117 สายนครสวรรค์ – บ้านม่วงเจ็ดต้น (รวมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1325, 1104 และ 1047 สายคลองเมม – ม่วงเจ็ดต้น) เป็นทางหลวงแผ่นดินสายหลักที่เชื่อมการขนส่งจราจรระหว่างจังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพิจิตร และจังหวัดพิษณุโลก และเป็นทางหลวงสายรองในช่วงจังหวัดพิษณุโลกถึงจังหวัดอุตรดิตถ์ รวมระยะทางตลอดทั้งสาย 396.784 กิโลเมตร.

ดู ทางหลวงเอเชียสาย 13และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 117

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 สายแม่สอด (เขตแดน)–มุกดาหาร เป็นทางหลวงแผ่นดินสายรองประธานที่เป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญที่เชื่อมระหว่างภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย สายทางเริ่มต้นที่สะพานมิตรภาพไทย-พม่า อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และสิ้นสุดที่อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร มีระยะทางตลอดทั้งสายรวม 793.391 กิโลเมตร อีกทั้งรัฐบาลยังวางแผนให้เป็นหนึ่งในถนนสายเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก ที่เชื่อมระหว่างเมืองเมาะลำเลิง ประเทศพม่า และเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม นอกจากนี้เส้นทางหลวงแผ่นดินสายนี้ยังถือเป็นทางหลวงสายเอเชีย ได้แก่ ทางหลวงเอเชียสาย 1 และทางหลวงเอเชียสาย 16 อีกด้ว.

ดู ทางหลวงเอเชียสาย 13และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12

ทางหลวงเอเชียสาย 12

ทางหลวงเอเชียสาย 12 ถนนเครือข่ายทางหลวงสายเอเชีย ประเภทสายประธาน มีระยะทางรวม 1,195 กิโลเมตร เริ่มต้นจากทางหลวงเอเชียสาย 3 ในบ้านนาเตย ประเทศลาว ผ่านเมืองไชย, หลวงพระบาง, วังเวียง, เวียงจันทน์, หนองคาย, อุดรธานี, ขอนแก่น, นครราชสีมา และสระบุรี จนสิ้นสุดที่ ทางหลวงเอเชียสาย 1 ในเทศบาลตำบลหินกอง อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี ทางหลวงเอเชียสาย 12 ในประเทศไทยเริ่มต้นที่ทางแยกต่างระดับหินกอง ตำบลโคกแย้ อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 1 ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ถึงทางแยกต่างระดับมิตรภาพ (แยกปากเพรียว) ตำบลปากเพรียว อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี แยกขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ผ่านจังหวัดนครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี สิ้นสุดที่สะพานมิตรภาพไทย-ลาว อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย ระยะทาง 520 กิโลเมตร.

ดู ทางหลวงเอเชียสาย 13และทางหลวงเอเชียสาย 12

ทางหลวงเอเชียสาย 2

ทางหลวงเอเชียสาย 2 (AH2) เป็นเครือข่ายทางหลวงสายเอเชีย ระยะทาง 8,230 ไมล์ (13,177 กม.) จากเดนพาซาร์, อินโดนีเซีย ถึง โคสราวี, อิหร่าน โดยช่วงที่ผ่านประเทศไทย เริ่มจากพรมแดนพม่าที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ลงมาจนจรดชายแดนบ้านจังโหลน จังหวัดสงขลา เป็นระยะทาง 2,254 กิโลเมตร.

ดู ทางหลวงเอเชียสาย 13และทางหลวงเอเชียสาย 2

ตำบลห้วยโก๋น

ตำบลห้วยโก๋น เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน ตั้งอยู่บริเวณทิศตะวันตกของตัวอำเภอ เป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอเฉลิมพระเกียรต.

ดู ทางหลวงเอเชียสาย 13และตำบลห้วยโก๋น

ประเทศลาว

ลาว (ລາວ) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ສາທາລະນະລັດ ປະຊາທິປະໄຕ ປະຊາຊົນລາວ, อักษรย่อ: ປປ.ລາວ) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนติดต่อกับจีน ทางทิศเหนือ ติดต่อกับพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้ และติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก กั้นด้วยแม่น้ำโขงเป็นบางช่วง.

ดู ทางหลวงเอเชียสาย 13และประเทศลาว

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ดู ทางหลวงเอเชียสาย 13และประเทศไทย

แขวงอุดมไซ

อุดมไซ (ອຸດົມໄຊ) เป็นหนึ่งในแขวงของประเทศลาว ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเท.

ดู ทางหลวงเอเชียสาย 13และแขวงอุดมไซ

เมืองไซ

เมืองไซ (ເມືອງໄຊ) บ้างเรียก อุดมไซ เป็นเมืองเอกของแขวงอุดมไซ ประเทศลาว อันเป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานอุดมไซ หมวดหมู่:เมืองในแขวงอุดมไซ.

ดู ทางหลวงเอเชียสาย 13และเมืองไซ

ดูเพิ่มเติม

ถนนในประเทศลาว

ทางหลวงแผ่นดิน