โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทะเลแคริบเบียนและมหาสมุทรแปซิฟิก

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ทะเลแคริบเบียนและมหาสมุทรแปซิฟิก

ทะเลแคริบเบียน vs. มหาสมุทรแปซิฟิก

แผนทีภูมิภาคอเมริกากลางและทะเลแคริบเบียน ทะเลแคริบเบียนมองจากอวกาศ (ด้านบนซ้าย) ทะเลแคริบเบียน (Caribbean Sea, หรือ; Mar Caribe) เป็นทะเลเขตร้อนในซีกโลกตะวันตก ส่วนหนึ่งของมหาสมุทรแอตแลนติก ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอ่าวเม็กซิโก ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของแผ่นเปลือกโลกแคริบเบียน โดยทางทิศใต้จดทวีปอเมริกาใต้ ทางทิศตะวันตกและทิศใต้จดประเทศเม็กซิโกและอเมริกากลาง และทางทิศเหนือและทิศตะวันออกจดหมู่เกาะแอนทิลลีส ได้แก่ เกาะคิวบา เกาะฮิสปันโยลา เกาะจาเมกา และเกาะเปอร์โตริโกในหมู่เกาะเกรตเตอร์แอนทิลลีสทางทิศเหนือ ส่วนหมู่เกาะเลสเซอร์แอนทิลลีส (เช่น เกาะแองกวิลลา เกาะดอมินีกา เกาะเซนต์ลูเซีย) อยู่ทางทิศตะวันออก พื้นที่ทั้งหมดของทะเลแคริบเบียน หมู่เกาะต่าง ๆ ในทะเลนี้ และชายฝั่งที่ติดต่อกัน รวมเรียกกันในชื่อภูมิภาคแคริบเบียน ทะเลแคริบเบียนเป็นหนึ่งในทะเลที่ใหญ่ที่สุด มีเนื้อที่ประมาณ 2,754,000 ตารางกิโลเมตร (1,063,000 ตารางไมล์) จุดที่ลึกที่สุดของทะเลนี้คือ Cayman Trough อยู่ระหว่างคิวบากับจาเมกา ที่ความลึก 7,686 เมตร (25,220 ฟุต) ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ชายฝั่งแคริบเบียนมีอ่าวอยู่หลายแห่ง เช่น อ่าวเวเนซุเอลา อ่าวดาริเอน อ่าวโมสกิโตส และอ่าวฮอนดูรั. มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ทะเลแคริบเบียนและมหาสมุทรแปซิฟิก

ทะเลแคริบเบียนและมหาสมุทรแปซิฟิก มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): มหาสมุทรแอตแลนติกซีกโลกตะวันตก

มหาสมุทรแอตแลนติก

มหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ชื่อของมหาสมุทรมาจากนิยายปรัมปรากรีก หมายถึง "ทะเลของแอตลาส" มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นแอ่งที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอส (S) ติดกับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ทางตะวันตก ส่วนทางตะวันออกติดกับ ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ปัจจุบันมีการแบ่งมหาสมุทรแอตแลนติกเป็น 2 ส่วน คือ แอตแลนติกเหนือและแอตแลนติกใต้ โดยใช้บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนทิศของกระแสน้ำที่ละติจูด 8° เหนือเป็นแนวแบ่ง มหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางมหาสมุทรอาร์กติกซึ่งอยู่ทางเหนือ ส่วนทางใต้เชื่อมทางช่องแคบเดรก จุดเชื่อมต่ออีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ คือ คลองปานามา เส้นแบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรอินเดีย คือ เส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรอาร์กติกด้วยเส้นที่ลากจากกรีนแลนด์ ผ่านตอนใต้สุดของสฟาลบาร์ (Svalbard) ไปยังตอนเหนือของนอร์เวย์ มหาสมุทรแอตแลนติกมีพื้นน้ำประมาณ 106,460,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรของมหาสมุทรเมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกันมีค่า 310,410,900 ลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,646 เมตร จุดที่ลึกที่สุดคือปวยร์โตรีโกเทรนช์มีความลึก 8,486 เมตร (27,840 ฟุต).

ทะเลแคริบเบียนและมหาสมุทรแอตแลนติก · มหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก · ดูเพิ่มเติม »

ซีกโลกตะวันตก

ซีกโลกตะวันตก ซีกโลกตะวันตกเป็นคำทางภูมิศาสตร์หมายถึง ครึ่งหนึ่งของโลกที่อยู่ทางตะวันตกของเส้นเมริเดียนแรก (ลากผ่านกรีนิช สหราชอาณาจักร) และทางตะวันออกของเส้นเมริเดียนที่ 180 องศา (แอนติเมอริเดียน) ส่วนอีกครึ่งหนึ่งเรียก ซีกโลกตะวันออก ในความหมายนี้ ซีกโลกตะวันตกประกอบด้วยทวีปอเมริกา ส่วนตะวันตกของทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ปลายสุดฝั่งตะวันออกของประเทศรัสเซีย ดินแดนต่าง ๆ ในโอเชียเนียและบางส่วนของแอนตาร์กติกา แต่ไม่รวมบางส่วนของหมู่เกาะอะลูเชียนที่อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐอะแลสกา ในความพยายามนิยามซีกโลกตะวันตกว่าเป็นส่วนของโลกซึ่งมิใช่ส่วนหนึ่งของโลกเก่า ยังมีการใช้เส้นเมอริเดียนที่ 20 องศาตะวันตก และเส้นเมอริเดียนที่ 160 องศาตะวันออกซึ่งอยู่ตรงข้ามนิยามซีกโลกตะวันตก.

ซีกโลกตะวันตกและทะเลแคริบเบียน · ซีกโลกตะวันตกและมหาสมุทรแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ทะเลแคริบเบียนและมหาสมุทรแปซิฟิก

ทะเลแคริบเบียน มี 21 ความสัมพันธ์ขณะที่ มหาสมุทรแปซิฟิก มี 97 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 1.69% = 2 / (21 + 97)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ทะเลแคริบเบียนและมหาสมุทรแปซิฟิก หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »