เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ทะเลสาบแทนกันยีกาและหุบเขาทรุด

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ทะเลสาบแทนกันยีกาและหุบเขาทรุด

ทะเลสาบแทนกันยีกา vs. หุบเขาทรุด

ทะเลสาบแทนกันยีกา (Lake Tanganyika) เป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในเขตรอยต่อ 4 ประเทศด้วยกัน ได้แก่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ซาอีร์เดิม), แทนซาเนีย, แซมเบีย และบุรุนดี เป็นแหล่งน้ำจืดที่สำคัญเป็นอันดับที่สองในแอฟริการองจากทะเลสาบวิกตอเรีย นอกจากนั้นยังเป็นทะเลสาบที่ใหญ่เป็นอันดับสองในทวีปแอฟริกาและลึกที่สุดในทวีปแอฟริกาอีกด้วย จุดที่มีความลึกที่สุดลึกกว่า 1,470 เมตร ทะเลสาบแทนกันยีกาเกิดจากการทรุดตัวของแผ่นเปลือกโลกและภูเขาไฟระเบิด เมื่อราว 20 ล้านปีมาแล้ว นับเป็นทะเลสาบแห่งหนึ่งที่มีอายุเก่าแก่ในทวีปแอฟริกา ซึ่งตั้งอยู่ในแนวเกรตริฟต์แวลลีย์ โดยคำว่า "แทนกันยีกา" นั้นมาจากภาษาสวาฮิลีสองคำ คือ "tangan" หมายถึง "เรือใบ" และ "nyika" หมายถึง "ป่า" หรือ "ไม่มีที่อยู่" โดยรวมอาจหมายความว่า "เรือใบที่แล่นในถิ่นทุรกันดาร" ก็ได้ ทะเลสาบแทนกันยีกา มีความยาวจัดจากเหนือจรดใต้ได้ถึง 673 กิโลเมตร แต่มีความกว้างโดยเฉลี่ยประมาณ 50 กิโลเมตร มีพื้นที่โดยรวมประมาณ 3,2892 ตารางกิโลเมตร ความยาวรอบชายฝั่งวัดรวมกันได้ 1,828 กิโลเมตร และยังเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่มีความลึกเป็นอันดับสองของโลกรองจากทะเลสาบไบคาล ในไซบีเรีย มีดินแดนติดกับคองโกราวร้อยละ 45 และติดกับแทนซาเนียร้อยละ 41 โดยประมาณ น้ำในทะเลสาบไหลสู่แม่น้ำคองโกในตอนกลางของทวีป และจะไหลไปลงทะเลที่ตอนแอฟริกาตะวันตกที่มหาสมุทรแอตแลนติก ทะเลสาบแห่งนี้มีความโดดเด่นเรื่องของอุณหภูมิที่ค่อนข้างเสถียร เรื่องจากข้างล่างทะเลสาบยังคงมีภูเขาไฟ น้ำมีการเปลี่ยนแปลงในแนวตั้งน้อยมาก ในความลึกเกิน 300 เมตร ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำค่อนข้างน้อย จึงมักไม่ค่อยมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ อุณหภูมิโดยเฉลี่ยมีความเปลี่ยนแปลงต่างกันไม่เกิน 5 ฟาเรนไฮต์ โดยบริเวณผิวน้ำจะมีอุณหภูมิประมาณ 73-88 ฟาเรนไฮต์ ค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำอยู่ที่ประมาณ 7.5-9.3 (pH) ระบบนิเวศของทะเลสาบแทนกันยีกา แบ่งออกได้เป็นสองส่วนหลัก คือ ระบบชายฝั่งและพื้นที่นอกชายฝั่ง ซึ่งสามารถแบ่งระบบนิเวศตามสภาพแวดล้อมที่ต่างกันได้ ดังนี้. หุบเขาทรุดในทวีปทวีปแอฟริกาอยู่ทางตะวันออกของทวีป เกิดจากการแยกของแผ่นทวีปแอฟริกา หุบเขาทรุด (Rift valley) เป็นพื้นที่ราบต่ำลักษณะเป็นเส้นยาว ขนาบข้างด้วยพื้นที่ราบสูง หรือแนวเทือกเขา เกิดขึ้นจาก แผ่นเปลือกโลกขยายตัวอันเนื่องจากแรงดึงทางกระบวนการธรณีแปลสัณฐาน ส่งผลให้เกิดรอบแตกที่ผิวเปลือกโลก จนกระทั่งแรงดึงมีปริมาณมากพอ แผ่นเปลือกโลกจะแยกตัวออกจากกัน ส่วนที่อยู่ตรงกลางจะยุบตัวลง เกิดเป็น “กราเบน” มีลักษณะเป็นที่ราบต่ำขนาบข้างด้วยหน้าผามุมสูง หากกการขยายตัวของแผ่นเปลือกโลกยังมีต่อไป ที่ราบต่ำนี้จะมีขนาดใหญ่ขึ้น โดยบล็อกที่สูงด้านข้างแตกออกแล้วยุบตัวลง ต่อเนื่องกลายเป็นแอ่งขนาดใหญ่ การเกิดหุบเขาทรุดเกิดได้ทั้งบนแผ่นทวีป และแผ่นมหาสมุทร หุบเขาทรุดที่มีการพัฒนาไปมากแล้ว สามารถพบได้กับบริเวณที่มีกระบวนการเกิด แนวสันเขากลางมหาสมุทร ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของพื้นมหาสมุทร ยกตัวอย่างเช่น มหาสมุทร แอตแลนติก เป็นต้น หมวดหมู่:หุบเขา.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ทะเลสาบแทนกันยีกาและหุบเขาทรุด

ทะเลสาบแทนกันยีกาและหุบเขาทรุด มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ทะเลสาบแทนกันยีกาและหุบเขาทรุด

ทะเลสาบแทนกันยีกา มี 59 ความสัมพันธ์ขณะที่ หุบเขาทรุด มี 0 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (59 + 0)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ทะเลสาบแทนกันยีกาและหุบเขาทรุด หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: