โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทะเลบาหลี

ดัชนี ทะเลบาหลี

ทะเลบาหลีครอบคลุมบริเวณพื้นที่สีน้ำเงิน ทะเลบาหลี (Laut Bali; Bali Sea) ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 45,000 ตารางกิโลเมตร ทิศตะวันตกติดกับทะเลชว.

13 ความสัมพันธ์: ช่องแคบลอมบอกมหาวิทยาลัยเทกซัสเอแอนด์เอ็มมหาสมุทรอินเดียมหาสมุทรแปซิฟิกจังหวัดบาหลีทะเลชวาทะเลฟลอเรสคลื่นสึนามิประเทศอินโดนีเซียเกาะชวาเกาะลมบกเกาะซุมบาวาเกาะนูซาเปอนีดา

ช่องแคบลอมบอก

องแคบลอมบอก เป็นช่องแคบที่เชื่อมระหว่างทะเลชวากับมหาสมุทรอินเดีย อยู่ระหว่างเกาะบาหลีกับเกาะลอมบอก ประเทศอินโดนีเซี.

ใหม่!!: ทะเลบาหลีและช่องแคบลอมบอก · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเทกซัสเอแอนด์เอ็ม

นามออกกำลังกายของมหาวิทยาลัยเทกซัสเอแอนด์เอ็ม มหาวิทยาลัยเทกซัสเอแอนด์เอ็ม (Texas A&M University) หรือย่อว่า TAMU เป็นมหาวิทยาลัยรัฐบาลตั้งอยู่ในเมือง คอลเลจสเตชัน ในรัฐเทกซัส ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2419 (ค.ศ. 1876) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยรัฐบาลแห่งแรกของรัฐเทกซัส ในปัจจุบัน (พ.ศ. 2548) มีนักศึกษาประมาณ 44,000 คน.

ใหม่!!: ทะเลบาหลีและมหาวิทยาลัยเทกซัสเอแอนด์เอ็ม · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรอินเดีย

มหาสมุทรอินเดีย เป็นผืนน้ำที่มีขนาดกว้างใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก กินพื้นที่ประมาณ 20% ของพื้นน้ำบนโลก ทางเหนือติดกับตอนใต้ของทวีปเอเชีย (อนุทวีปอินเดีย) ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรอาหรับและทวีปแอฟริกา ทางตะวันออกติดกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แถบทะเลอันดามัน และประเทศออสเตรเลีย ทางใต้ติดกับมหาสมุทรใต้ แยกจากมหาสมุทรแอตแลนติกที่บริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกาบนเส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรแปซิฟิกที่เส้นเมริเดียน 147° ตะวันออก ตอนเหนือสุดของมหาสมุทรอินเดียอยู่ในอ่าวเปอร์เซีย ที่บริเวณละติจูด 30° เหนือ มหาสมุทรมีความกว้างมากที่สุดอยู่ระหว่างจุดใต้สุดของแอฟริกาและออสเตรเลีย ด้วยระยะทางเกือบ 10,000 กิโลเมตร มีพื้นน้ำ 70,560,000 ตารางกิโลเมตร รวมทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย แต่ไม่รวมมหาสมุทรใต้หรือ 19.5% ของมหาสมุทรโลก มหาสมุทรอินเดียมีปริมาตรประมาณ 264,000,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร หรือ 19.8% ของปริมาณมหาสมุทรโลก มีความลึกเฉลี่ย 3,741 เมตร และมีความลึกสูงสุด 7,906 เมตร.

ใหม่!!: ทะเลบาหลีและมหาสมุทรอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ใหม่!!: ทะเลบาหลีและมหาสมุทรแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดบาหลี

หลี (Bali) เป็น 1 ใน 34 จังหวัดของประเทศอินโดนีเซีย เมืองสำคัญคือเดินปาซาร์ พื้นที่ทั้งหมด 5,634.40 ตารางกิโลเมตร มีประชากรทั้งสิ้น 3,422,600 คน ความหนาแน่นของประชากร 607 คน/ตารางกิโลเมตร ภาษาที่ใช้คือภาษาอินโดนีเซียและภาษาบาหลี.

ใหม่!!: ทะเลบาหลีและจังหวัดบาหลี · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลชวา

right ทะเลชวา (Laut Jawa) ตั้งอยู่ระหว่างเกาะชวากับเกาะบอร์เนียว (กาลีมันตัน) ในประเทศอินโดนีเซีย ครอบคลุมเนื้อที่ประมาณ 310,000 ตารางกิโลเมตร โดยเชื่อมต่อกับทะเลจีนใต้ การประมงเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งในทะเลชวา มีสัตว์น้ำในพื้นที่เหล่านี้มากกว่า 3,000 ชนิด มีอุทยานแห่งชาติจำนวนหนึ่งในพื้นที่ดังกล่าว เช่น การีมุนชวา และมีเกาะนับพันเกาะทางตอนเหนือของแผ่นดินใหญ่จาการ์ตา พื้นที่รอบทะเลชวาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญและเป็นแหล่งดำน้ำเพื่อชมและถ่ายภาพใต้น้ำ เช่น สัตว์ทะเล ฟองน้ำ ปะการัง ซากเรืออับปาง หรือถ้ำใต้น้ำ เป็นต้น การรบในทะเลชวาในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม..

ใหม่!!: ทะเลบาหลีและทะเลชวา · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลฟลอเรส

ตำแหน่งของทะเลฟลอเรสในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทะเลฟลอเรส (Laut Flores; Flores Sea) ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเกาะฟลอเรส ประเทศอินโดนีเซีย ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 240,000 ตารางกิโลเมตร หมวดหมู่:ทะเลในประเทศอินโดนีเซีย ฟลอเรส.

ใหม่!!: ทะเลบาหลีและทะเลฟลอเรส · ดูเพิ่มเติม »

คลื่นสึนามิ

แสดงคลื่นสึนามิพัดขึ้นฝั่ง คลื่นสึนามิ เป็นกลุ่มคลื่นน้ำที่เกิดขึ้นจากการย้ายที่ของปริมาตรน้ำก้อนใหญ่ คือ มหาสมุทรหรือทะเลสาบขนาดใหญ่ แผ่นดินไหว การปะทุของภูเขาไฟและการระเบิดใต้น้ำอื่นๆ (รวมทั้งการจุดวัตถุระเบิดหรือวัตถุระเบิดนิวเคลียร์ใต้น้ำ) ดินถล่ม ธารน้ำแข็งไถล อุกกาบาตตกและการรบกวนอื่น ไม่ว่าเหนือหรือใต้น้ำ ล้วนอาจก่อให้เกิดเป็นคลื่นสึนามิได้ทั้งสิ้น คลื่นสึนามิไม่เหมือนกับคลื่นทะเล(tidal wave)ตามปกติ เพราะมีความยาวคลื่นยาวกว่ามาก แทนที่จะเป็นคลื่นหัวแตก (breaking wave) ตามปกติ คลื่นสึนามิเริ่มแรกอาจดูเหมือนกับว่าคลื่นน้ำเพิ่มระดับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และด้วยเหตุนี้ คลื่นสึนามิจึงมักเรียกว่าเป็นคลื่นยักษ์ โดยทั่วไป คลื่นสึนามิประกอบด้วยกลุ่มคลื่นซึ่งมีคาบเป็นนาทีหรืออาจมากถึงชั่วโมง มากันเรียกว่าเป็น "คลื่นขบวน" (wave train) ความสูงของคลื่นหลายสิบเมตรนั้นอาจเกิดขึ้นได้จากเหตุการณ์ขนาดใหญ่ แม้ผลกระทบของคลื่นสึนามินั้นจะจำกัดอยู่แค่พื้นที่ชายฝั่ง แต่อำนาจทำลายล้างของมันสามารถมีได้ใหญ่หลวงและสามารถมีผลกระทบต่อทั้งแอ่งมหาสมุทร คลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 เป็นหนึ่งในภัยธรรมชาติครั้งที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ โดยมีผู้เสียชีวิตกว่า 230,000 คน ใน 14 ประเทศที่ติดกับมหาสมุทรอินเดีย ธูซิดดิดีส นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก เสนอเมื่อ 426 ปีก่อนคริสตกาล ว่า คลื่นสึนามิเกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหวใต้ทะเลThucydides: แต่ความเข้าใจในธรรมชาติของคลื่นสึนามิยังมีเพียงเล็กน้อยกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 และยังมีอีกมากที่ยังไม่ทราบในปัจจุบัน ขณะที่แผ่นดินไหวที่รุนแรงน้อยกว่ามากกลับก่อให้เกิดคลื่น พยายามพยากรณ์เส้นทางของคลื่นสึนามิข้ามมหาสมุทรอย่างแม่นยำ และยังพยากรณ์ว่าคลื่นสึนามิจะมีปฏิสัมพันธ์กับชายฝั่งแห่งหนึ่ง ๆ อย่างไร.

ใหม่!!: ทะเลบาหลีและคลื่นสึนามิ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย (Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republik Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนกับทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียวหรือกาลีมันตัน (Kalimantan), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินีหรืออีเรียน (Irian) และประเทศติมอร์-เลสเตบนเกาะติมอร์ (Timor).

ใหม่!!: ทะเลบาหลีและประเทศอินโดนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

เกาะชวา

กาะชวา (อินโดนีเซีย: Pulau Jawa, ชวา: Pulo Jawa) เป็นชื่อเดิมของหมู่เกาะที่ตั้งอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันคือประเทศอินโดนีเซีย และเป็นที่ตั้งของเมืองหลวง จาการ์ตา เป็นเกาะที่มีประชากรมากที่สุดในโลก และมีประชากรมากกว่าทวีปออสเตรเลียและแอนตาร์กติกา (รายชื่อเกาะตามจำนวนประชากร) มีเนื้อที่ 132,000 ตารางกิโลเมตร ประชากร 127 ล้านคน และมีความหนาแน่นประชากร 864 คนต่อกม.² ซึ่งถ้าเกาะชวาเป็นประเทศแล้วจะมี ความหนาแน่นประชากรเป็นปันดับ 2 รองจากประเทศบังคลาเทศ ยกเว้นนครรัฐที่มีขนาดเล็ก หมวดหมู่:เกาะในประเทศอินโดนีเซีย หมวดหมู่:เกาะในมหาสมุทรอินเดีย.

ใหม่!!: ทะเลบาหลีและเกาะชวา · ดูเพิ่มเติม »

เกาะลมบก

ลมบก (Lombok) เป็นเกาะที่อยู่ทางตะวันออกของเกาะบาหลี คำว่า "ลมบก" ในภาษาชวาหมายถึงพริกขี้หนู ตั้งอยู่ในจังหวัดนูซาเติงการาตะวันตก ประเทศอินโดนีเซี.

ใหม่!!: ทะเลบาหลีและเกาะลมบก · ดูเพิ่มเติม »

เกาะซุมบาวา

ซุมบาวา (Sumbawa) เป็นเกาะในประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ในหมู่เกาะซุนดาน้อย ทางตะวันออกของเกาะลมบกและตะวันตกของเกาะโฟลเร็ซ เกาะซุมบาวามีพื้นที่ 5,448 ตารางกิโลเมตร หรือ 5,965 ตารางไมล์ (ขนาดเป็น 3 เท่าของเกาะลมบก) มีประชากรราว 1.33 ล้านคน เกาะเต็มไปด้วยภูเขา ยอดสูงสุดเป็นภูเขาไฟชื่อ กูนุงตัมโบรา อยู่ที่ปลายสุดของคาบสมุทรทางตอนเหนือ มีดินอุดมสมบูรณ์สามารถปลูกพืชเมืองร้อนได้ดีหลายชนิด เดิมเกาะนี้เป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรมัชปาหิต ต่อมา แตกออกเป็นรัฐขนาดเล็กหลายแห่ง เริ่มติดต่อกับฮอลันดาในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อ..

ใหม่!!: ทะเลบาหลีและเกาะซุมบาวา · ดูเพิ่มเติม »

เกาะนูซาเปอนีดา

กาะบาหลีและเกาะนูซาเปอนีดา เกาะนูซาเปอนีดา เป็นเกาะที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย มีเกาะขนาดเล็กอยู่ใกล้ ๆ คือ เกาะนูซาเลิมโบงัน และเกาะนูซาเจอนีงัน แยกจากเกาะบาหลีด้วยช่องแคบบาดุง ภายในเกาะเป็นเนินเขาที่มีระดับความสูงสูงสุด 524 เมตร อากาศแห้งกว่าเกาะบาหลี บนเกาะมีนกชุกชุมและเป็นแหล่งอนุรักษ์พันธุ์นกทั้งเกาะด้วยวิถีชุมชนแบบบาหลี นอกจากนั้น ยังเป็นแหล่งดำน้ำที่มีชื่อเสียงและมีพื้นที่สำหรับดำน้ำได้กว้าง ชาวเกาะนี้ส่วนใหญ่มีอาชีพประมง และเลี้ยงสาหร่ายทะเล ในอดีต เคยเป็นที่จองจำนักโทษของอาณาจักรคลุงคุงในบาหลี ชาวบาหลีเชื่อว่าเกาะนี้เป็นดินแดนแห่งเวทมนตร์และเป็นที่อยู่ของพ่อมดในตำนาน เจอโร เกอเด เมอจาลิง.

ใหม่!!: ทะเลบาหลีและเกาะนูซาเปอนีดา · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »