โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทอร์และลัทธินอกศาสนา

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ทอร์และลัทธินอกศาสนา

ทอร์ vs. ลัทธินอกศาสนา

ทอร์ ในเทพปกรณัมนอร์ส ธอร์ (Thor, จากภาษานอร์สโบราณ Þórr) เป็นเทพถือค้อนซึ่งเกี่ยวข้องกับสายฟ้า ฟ้าร้อง พายุ ต้นโอ๊ก พละกำลัง การคุ้มครองมนุษยชาติ และตลอดจนการทำให้ศักดิ์สิทธิ์ การรักษาและความอุดมสมบูรณ์ เทพที่มาจากกำเนิดเดียวกันในเทพปกรณัมเยอรมันและเพเกินที่กว้างกว่า เป็นที่รูจักกันในภาษาอังกฤษเก่าว่า Þunor และภาษาเยอรมันโบราณเขตเหนือว่า Donar (อักษรรูน þonar ᚦᛟᚾᚨᚱ) ซึ่งกำเนิดจากภาษาโปรโตเยอรมัน *Þunraz (หมายถึง "สายฟ้า") ธอร์เป็นเทพที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างสำคัญตลอดประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกของชาวเยอรมัน จากการยึดครองดินแดนเยอรมาเนียของโรมัน ไปจนถึงการขยายชนเผ่าในสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน ไปจนถึงการได้รับความนิยมอย่างสูงในยุคไวกิ้ง เมื่อ ในการเผชิญกับกระบวนการเผยแผ่ศาสนาคริสต์เข้าไปในสแกนดิเนเวีย สัญลักษณ์ค้อนมจอลนีร์ (Mjölnir) ของพระองค์ ถูกสวมใส่เป็นการท้าทายและชื่อตัวของนอร์สเพเกินซึ่งมีชื่อของเทพเจ้าเป็นพยานต่อความนิยมของเขา เมื่อย่างเข้าสู่สมัยใหม่ ธอร์ยังได้การยอมรับต่อไปในตำนานพื้นบ้านชนบททั่วภูมิภาคเยอรมนี ธอร์มักอ้างถึงบ่อยครั้งในชื่อสถานที่ ในวันประจำสัปดาห์ วันพฤหัสบดี (Thursday ("วันของธอร์") ปรากฏนามของพระองค์ และชื่อซึ่งมาจากยุคเพเกินที่มีนามพระองค์นั้นยังมีใช้กันอยู่จวบจนปัจจุบัน ตลอดจนยังเป็นที่มาของคำว่า "ฟ้าร้อง" หรือ "ฟ้าผ่า" ในภาษาอังกฤษ (Thunder) อีกด้วย นอกจากนี้แล้วนักวิชาการชาวอังกฤษผู้หนึ่งยังเชื่อว่า ค้อนมจอลนีร์ที่มีลักษณะขว้างไปแล้วสามารถวนกลับมาสู่มือของทอร์ได้เหมือนบูมเมอแรง เป็นที่มาของสัญลักษณ์สวัสดิกะ ที่แพร่หลายต่อมาในอารยธรรมของชาวอารยันอีกด้วย ธอร์เป็นหนึ่งในสิบสองสำคัญของเทพเจ้าสแกนดิเนเวีย เป็นเทพแห่งสายฟ้า ทอร์เป็นบุตรของเทพเจ้าโอดิน และจอร์ดน่ง (Fjörgyn) ยักษ์แห่งแผ่นดินหน้า 3, เทพสายฟ้า ผู้พิชิต. "ชักธงรบ" โดย กิเลน ประลองเชิง. ไทยรัฐปีที่ 67 ฉบับที่ 21303: วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก. ้อน Mjölnir ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญของลัทธิเพกันใหม่เยอรมัน ลัทธินอกศาสนา หรือ เพเกิน หรือ เพแกน (Paganism มาจากภาษาPaganus แปลว่า “ผู้ที่อยู่ในชนบท”) เป็นคำที่มีความหมายกว้างที่ใช้บรรยายศาสนาหรือการปฏิบัติของหมู่ชนสมัยก่อนมีการนับถือคริสต์ศาสนาในยุโรป หรือถ้าขยายความขึ้นไปอีกก็จะหมายถึงผู้ที่มีธรรมเนียมการนับถือพระเจ้าหลายองค์ (polytheistic) หรือศาสนาพื้นบ้าน (folk religion) โดยทั่วไปในโลกจากมุมมองของผู้ที่นับถือคริสต์ศาสนาในโลกตะวันตก คำนี้มีความหมายหลายอย่างแต่จากทัศนคติตะวันตกในนัยยะของความหมายในปัจจุบันหมายถึงความศรัทธาที่เป็นพหุเทวนิยมของผู้ที่ปฏิบัติตามแบบเจตนิยม (spiritualism) วิญญาณนิยม (animism) หรือลัทธิเชมัน เช่นในศาสนาพื้นบ้าน ในลัทธิการนับถือพระเจ้าหลายองค์ หรือในลัทธินอกศาสนาใหม่ คำว่า “ลัทธินอกศาสนา” ได้รับการตีความหมายอย่างกว้างที่รวมถึงศาสนาทุกศาสนาที่อยู่นอกกลุ่มศาสนาอับราฮัมของผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยม (monotheism) ที่รวมทั้งศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม กลุ่มที่ว่านี้รวมทั้งศาสนาตะวันออก (Eastern religions) ปรัมปราวิทยาอเมริกันพื้นเมือง (Native American mythology) และศาสนาพื้นบ้านโดยทั่วไปที่ไม่ใช่คริสต์ศาสนา ในความหมายที่แคบลง "ลัทธินอกศาสนา" จะไม่รวมศาสนาของโลก (world religions) ที่เป็นศาสนาที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างเป็นทางการแต่จะจำกัดอยู่ในศาสนาท้องถิ่นที่ยังไม่ได้จัดอยู่ในระบบศาสนาของโลก ลักษณะการปฏิบัติของลัทธิเพกันคือความขาดสาวก (proselytism) และการความนิยมในการนับถือปรัมปราวิทยาต่าง ๆ (mythology) คำว่า “ลัทธินอกศาสนา” เป็นคำที่ผู้นับถือคริสต์ศาสนานำมาใช้สำหรับ “เจนไทล์” (gentile) ของศาสนายูดาห์หรือชาวยิว ที่เป็นการใช้คำที่ออกไปทางเหยียดหยามโดยหมู่ผู้นับถือลัทธิเอกเทวนิยมของโลกตะวันตก เทียบเท่ากับการใช้คำว่า “heathen” (ฮีทเธน) หรือ “อินฟิเดล” (infidel) หรือ “กาฟิร” (kafir หรือ كافر) และ “มุชริก” (mushrik หรือ مشرك ผู้เคารพรูปปั้น) ในการเรียกผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ด้วยเหตุผลต่างๆ เหล่านี้นักชาติพันธุ์วิทยาจึงเลี่ยงใช้คำว่า "ลัทธินอกศาสนา" เพราะความหมายอันแตกต่างกันและไม่แน่นอน ในการกล่าวถึงความศรัทธาตามที่มีกันมาหรือในประวัติศาสตร์ และมักจะใช้คำที่มีความหมายเฉพาะเจาะจงมากกว่า เช่น เจตนิยม, วิญญาณนิยม, ลัทธิชามัน หรือสรรพเทวนิยม (pantheism) แต่ก็มีผู้วิจารณ์การใช้คำเหล่านี้ที่อ้างว่าเป็นคำที่ให้ความหมายของศรัทธาในมุมมองหนึ่งและมิได้กล่าวถึงตัวความเชื่อของศาสนาที่กล่าว ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 คำว่า "ลัทธินอกศาสนา" ก็กลายมาเป็นที่นิยมใช้กันสำหรับผู้นับถือลัทธินอกศาสนาใหม่ ฉะนั้นนักวิชาการหลายแขนงในปัจจุบันจึงต้องใช้คำนี้ในความหมายที่แบ่งเป็นสามกลุ่ม: พหุเทวนิยมในประวัติศาสตร์ (เช่นลัทธินอกศาสนาเซลต์ (Celtic paganism) หรือลัทธินอกศาสนานอร์ส (Norse paganism)), ศาสนาพื้นบ้าน/ศาสนาเผ่าพันธุ์/ศาสนาท้องถิ่น (เช่น ศาสนาพื้นบ้านของชาวจีนหรือ ศาสนาพื้นบ้านของชาวแอฟริกา) และลัทธินอกศาสนาใหม่ (เช่นวิคคา (Wicca) และ ลัทธินอกศาสนาใหม่เยอรมัน (Germanic Neopaganism)).

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ทอร์และลัทธินอกศาสนา

ทอร์และลัทธินอกศาสนา มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ทอร์และลัทธินอกศาสนา

ทอร์ มี 12 ความสัมพันธ์ขณะที่ ลัทธินอกศาสนา มี 13 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (12 + 13)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ทอร์และลัทธินอกศาสนา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »