โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทอมัส อไควนัสและโทษประหารชีวิต

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ทอมัส อไควนัสและโทษประหารชีวิต

ทอมัส อไควนัส vs. โทษประหารชีวิต

นักบุญทอมัส อไควนัส (Thomas Aquinas (ค.ศ. 1225-1274) เป็นบาทหลวงโรมันคาทอลิกสังกัดคณะดอมินิกัน เกิดในตระกูลขุนนางชาวอิตาลี สนใจศึกษาสิ่งต่าง ๆ อย่างละเอียดลึกซึ้ง อไควนัสได้พัฒนาแนวความคิดของเขาโดยได้รับอิทธิพลจากอาริสโตเติล ในขณะที่นักคิดคนอื่นมีความเห็นตรงกันข้าม อควีนาสได้ดำเนินการศึกษา สรุปผลที่เป็นแบบตรรกศาสตร์ที่สมบูรณ์ โดยไม่มีข้อสงสัยหรือข้อขัดแย้ง ตามแนวความคิดของอไควนัส ระเบียบวิธีดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่ออควีนาสเริ่มหันมาสนใจศึกษาค้นคว้าแนวความคิดของอาริสโตเติล และได้มีอิทธิพลตลอดชีวิตการทำงานของอไควนัส จุดมุ่งหมายอีกประการหนึ่งของอไควนัสคือ การผสมผสานเทววิทยาศาสนาคริสต์ให้เข้ากับตรรกศาสตร์ของอาริสโตเติล ในที่สุดแนวความคิดของอาริสโตเติลก็กลับมามีชื่อเสียงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง นักคิดชาวตะวันตกก็เริ่มหันมาศึกษางานของอริสโตเติลกันมากขึ้น มีผู้กล่าวว่าอาริสโตเติลเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปราชญ์ที่มีความรอบรู้ พระเจ้าพึงพอใจยอมอนุญาตให้เป็นผู้สรุปความรู้ทุกสาขาวิชา เท่ากับยอมรับว่าอาริสโตเติลเป็นเหมือนคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ เป็นนักบวชของศาสนา เป็นตัวบทกฎหมาย และเป็นนักวินัยทางศาสนา เปรียบเสมือนเป็นผู้ที่มีอำนาจหน้าที่กำหนดความสัมพันธ์ของมนุษย์ กำหนดความรู้ทุกสาขาวิชา งานเขียนของอไควนัส ในระยะนี้พยายามอธิบายสังคมที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนา และพระผู้เป็นเจ้า อไควนัสพยายามกำหนดความสำคัญและหน้าที่ใหม่ของศาสนาที่มีต่อสังคม โดยให้ศาสนายังคงมีอำนาจทางธรรมตามคำสอนของศาสนา อไควนัสก็เหมือนกับนักปราชญ์คนอื่น คือมีความเชื่อว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคมมีจุดมุ่งหมายเพื่อดำรงชีวิตอยู่ในสังคม มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่มีความสามารถกำหนดควบคุมการกระทำของตนเองได้ด้วยสติปัญญา มนุษย์จะตกอยู่ในอันตราย ถ้าไม่ยอมรับระบบสังคม อไควนัสจึงเน้นเอกภาพในสังคมมนุษย์ที่มีพลังอำนาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอกภาพทางการเมืองเป็นสิ่งสำคัญ จุดมุ่งหมายก็เพื่อให้สังคมมีเอกภาพอย่างสันติไม่มีความขัดแย้งเกิดขึ้น วิธีการดังกล่าวเปรียบเสมือนมนุษย์ได้รับการอบรมทางจิต จิตที่อบรมแล้ว จะสั่งการให้ร่างกายกระทำสิ่งต่าง ๆ ตามหน้าที่ในสังคม ดังนั้น การปกครองโดยรัฐบาลที่มีผู้นำเพียงคนเดียวจึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุด กษัตริย์อันเป็นราชาแห่งปราชญ์คนเดียวจะปกครองประชาชนอย่างยุติธรรม โครงสร้างทางสังคมก็เหมือนกับธรรมชาติที่พระเจ้าปกครอง คนในสังคมจะทำหน้าที่ได้ดีที่สุด ถ้าสัมคมมีเอกภาพโดยมีผู้นำเพียงคนเดียว. ประเทศที่เลิกใช้โทษประหารชีวิต: 103 ประเทศ โทษประหารชีวิต หรือ อุกฤษฏ์โทษ (capital punishment, death penalty) เป็นกระบวนการทางกฎหมายซึ่งรัฐลงโทษอาชญากรรมของบุคคลด้วยการทำให้ตาย คำสั่งของศาลที่ให้ลงโทษบุคคลในลักษณะนี้ เรียก การลงโทษประหารชีวิต ขณะที่การบังคับใช้โทษนี้ เรียก การประหารชีวิต อาชญากรรมที่มีโทษประหารชีวิต เรียก "ความผิดอาญาขั้นอุกฤษฏ์โทษ" คำว่า capital มาจากคำภาษาละตินว่า capitalis ความหมายตามตัวอักษร คือ "เกี่ยวกับหัว" (หมายถึงการประหารชีวิตโดยการตัดหัว) สังคมอดีตส่วนมากนั้นมีโทษประหารชีวิตโดยเป็นการลงโทษอาชญากร และผู้ไม่เห็นด้วยทางการเมืองหรือศาสนา ในประวัติศาสตร์ การลงโทษประหารชีวิตมักสัมพันธ์กับการทรมาน และมักประหารชีวิตในที่สาธารณะ ปัจจุบันมีประเทศที่ยังคงโทษประหารชีวิต 58 ประเทศ ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตสำหรับอาชญากรรมทุกรูปแบบโดยนิตินัย 98 ประเทศ ประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตเฉพาะอาชญากรรมปรกติ 7 ประเทศ (โดยคงไว้สำหรับพฤติการณ์พิเศษ เช่น อาชญากรรมสงคราม) และประเทศที่ยกเลิกโทษประหารชีวิตโดยพฤตินัย (คือ ไม่ได้ใช้โทษประหารชีวิตอย่างน้อยสิบปี และอยู่ระหว่างงดใช้โทษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง) องค์การนิรโทษกรรมสากลมองว่าประเทศส่วนใหญ่เป็นผู้ยกเลิก (abolitionist) โดยองค์การฯ พิจารณาว่า 140 ประเทศเป็นผู้ยกเลิกในทางกฎหมายหรือทางปฏิบัติ การประหารชีวิตเกือบ 90% ทั่วโลกเกิดในทวีปเอเชีย แทบทุกประเทศในโลกห้ามการประหารชีวิตบุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปีขณะก่อเหตุ นับแต่ปี 2552 มีเพียงประเทศอิหร่าน ซาอุดิอาระเบียและซูดานที่ยังประหารชีวิตลักษณะนี้ กฎหมายระหว่างประเทศห้ามการประหารชีวิตประเภทนี้ โทษประหารชีวิตกำลังเป็นประเด็นการถกเถียงอยู่ในหลายประเทศ และจุดยืนอาจมีได้หลากหลายในอุดมการณ์ทางการเมืองหรือภูมิภาคทางวัฒนธรรมหนึ่ง ๆ ในรัฐสมาชิกสหภาพยุโรป ข้อ 2 แห่งกฎบัตรสิทธิมูลฐานแห่งสหภาพยุโรปห้ามการใช้โทษประหารชีวิต สภายุโรปซึ่งมีรัฐสมาชิก 47 ประเทศ ยังห้ามสมาชิกใช้โทษประหารชีวิต สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติลงมติรับข้อมติไม่ผูกพันในปี 2550, 2551 และ 2553 เรียกร้องให้มีการผ่อนเวลาการประหารชีวิตทั่วโลก ซึ่งมุ่งให้ยกเลิกในที่สุด แม้หลายชาติยกเลิกโทษประหารชีวิตแล้ว แต่ประชากรโลกกว่า 60% อาศัยอยู่ในประเทศซึ่งเกิดการประหารชีวิต เช่น สี่ประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก คือ จีน อินเดีย สหรัฐอเมริกาและอินโดนีเซีย ซึ่งยังใช้บังคับโทษประหารชีวิต ทั้งสี่ประเทศออกเสียงคัดค้านข้อมติสมัชชาใหญ่ดังกล่าว.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ทอมัส อไควนัสและโทษประหารชีวิต

ทอมัส อไควนัสและโทษประหารชีวิต มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ทอมัส อไควนัสและโทษประหารชีวิต

ทอมัส อไควนัส มี 47 ความสัมพันธ์ขณะที่ โทษประหารชีวิต มี 28 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (47 + 28)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ทอมัส อไควนัสและโทษประหารชีวิต หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »