เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ทอมัส อไควนัสและอาริสโตเติล

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ทอมัส อไควนัสและอาริสโตเติล

ทอมัส อไควนัส vs. อาริสโตเติล

นักบุญทอมัส อไควนัส (Thomas Aquinas (ค.ศ. 1225-1274) เป็นบาทหลวงโรมันคาทอลิกสังกัดคณะดอมินิกัน เกิดในตระกูลขุนนางชาวอิตาลี สนใจศึกษาสิ่งต่าง ๆ อย่างละเอียดลึกซึ้ง อไควนัสได้พัฒนาแนวความคิดของเขาโดยได้รับอิทธิพลจากอาริสโตเติล ในขณะที่นักคิดคนอื่นมีความเห็นตรงกันข้าม อควีนาสได้ดำเนินการศึกษา สรุปผลที่เป็นแบบตรรกศาสตร์ที่สมบูรณ์ โดยไม่มีข้อสงสัยหรือข้อขัดแย้ง ตามแนวความคิดของอไควนัส ระเบียบวิธีดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่ออควีนาสเริ่มหันมาสนใจศึกษาค้นคว้าแนวความคิดของอาริสโตเติล และได้มีอิทธิพลตลอดชีวิตการทำงานของอไควนัส จุดมุ่งหมายอีกประการหนึ่งของอไควนัสคือ การผสมผสานเทววิทยาศาสนาคริสต์ให้เข้ากับตรรกศาสตร์ของอาริสโตเติล ในที่สุดแนวความคิดของอาริสโตเติลก็กลับมามีชื่อเสียงขึ้นอีกครั้งหนึ่ง นักคิดชาวตะวันตกก็เริ่มหันมาศึกษางานของอริสโตเติลกันมากขึ้น มีผู้กล่าวว่าอาริสโตเติลเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักปราชญ์ที่มีความรอบรู้ พระเจ้าพึงพอใจยอมอนุญาตให้เป็นผู้สรุปความรู้ทุกสาขาวิชา เท่ากับยอมรับว่าอาริสโตเติลเป็นเหมือนคัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์ เป็นนักบวชของศาสนา เป็นตัวบทกฎหมาย และเป็นนักวินัยทางศาสนา เปรียบเสมือนเป็นผู้ที่มีอำนาจหน้าที่กำหนดความสัมพันธ์ของมนุษย์ กำหนดความรู้ทุกสาขาวิชา งานเขียนของอไควนัส ในระยะนี้พยายามอธิบายสังคมที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนา และพระผู้เป็นเจ้า อไควนัสพยายามกำหนดความสำคัญและหน้าที่ใหม่ของศาสนาที่มีต่อสังคม โดยให้ศาสนายังคงมีอำนาจทางธรรมตามคำสอนของศาสนา อไควนัสก็เหมือนกับนักปราชญ์คนอื่น คือมีความเชื่อว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคมมีจุดมุ่งหมายเพื่อดำรงชีวิตอยู่ในสังคม มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่มีความสามารถกำหนดควบคุมการกระทำของตนเองได้ด้วยสติปัญญา มนุษย์จะตกอยู่ในอันตราย ถ้าไม่ยอมรับระบบสังคม อไควนัสจึงเน้นเอกภาพในสังคมมนุษย์ที่มีพลังอำนาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอกภาพทางการเมืองเป็นสิ่งสำคัญ จุดมุ่งหมายก็เพื่อให้สังคมมีเอกภาพอย่างสันติไม่มีความขัดแย้งเกิดขึ้น วิธีการดังกล่าวเปรียบเสมือนมนุษย์ได้รับการอบรมทางจิต จิตที่อบรมแล้ว จะสั่งการให้ร่างกายกระทำสิ่งต่าง ๆ ตามหน้าที่ในสังคม ดังนั้น การปกครองโดยรัฐบาลที่มีผู้นำเพียงคนเดียวจึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุด กษัตริย์อันเป็นราชาแห่งปราชญ์คนเดียวจะปกครองประชาชนอย่างยุติธรรม โครงสร้างทางสังคมก็เหมือนกับธรรมชาติที่พระเจ้าปกครอง คนในสังคมจะทำหน้าที่ได้ดีที่สุด ถ้าสัมคมมีเอกภาพโดยมีผู้นำเพียงคนเดียว. อาริสโตเติล หรือ แอริสตอเติล (Αριστοτέλης; Aristotle) (384 ปีก่อนคริสตกาล – 7 มีนาคม 322 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักปรัชญากรีกโบราณ เป็นลูกศิษย์ของเพลโต และเป็นอาจารย์ของอเล็กซานเดอร์มหาราช ท่านและเพลโตได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักปรัชญาที่มีอิทธิพลสูงที่สุดท่านหนึ่ง ในโลกตะวันตก ด้วยผลงานเขียนหนังสือเกี่ยวกับฟิสิกส์ กวีนิพนธ์ สัตววิทยา การเมือง การปกครอง จริยศาสตร์ และชีววิทยา นักปรัชญากรีกโบราณที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคืออาริสโตเติล เพลโต (อาจารย์ของอาริสโตเติล) และโสกราตีส (ที่แนวคิดของเขานั้นมีอิทธิพลอย่างสูงกับเพลโต) พวกเขาได้เปลี่ยนโฉมหน้าของปรัชญากรีก สมัยก่อนโสกราตีส จนกลายเป็นรากฐานสำคัญของปรัชญาตะวันตกในลักษณะปัจจุบัน โสกราตีสนั้นไม่ได้เขียนอะไรทิ้งไว้เลย ทั้งนี้เนื่องจากผลของแนวคิดปรากฏในบทสนทนาของเพลโตชื่อ เฟดรัส เราได้ศึกษาแนวคิดของเขาผ่านทางงานเขียนของเพลโตและนักเขียนคนอื่นๆ ผลงานของเพลโตและอริสโตเติลเป็นแก่นของปรัชญาโบราณ อริสโตเติลเป็นหนึ่งในไม่กี่บุคคลในประวัติศาสตร์ที่ได้ศึกษาแทบทุกสาขาวิชาที่มีในช่วงเวลาของเขา ในสาขาวิทยาศาสตร์ อริสโตเติลได้ศึกษา กายวิภาคศาสตร์, ดาราศาสตร์, วิทยาเอ็มบริโอ, ภูมิศาสตร์, ธรณีวิทยา, อุตุนิยมวิทยา, ฟิสิกส์,และ สัตววิทยา ในด้านปรัชญา อริสโตเติลเขียนเกี่ยวกับ สุนทรียศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, จริยศาสตร์, การปกครอง, อภิปรัชญา, การเมือง, จิตวิทยา, วาทศิลป์ และ เทววิทยา เขายังสนใจเกี่ยวกับ ศึกษาศาสตร์, ประเพณีต่างถิ่น, วรรณกรรม และ กวีนิพนธ์ ผลงานของเขาเมื่อรวบรวมเข้าด้วยกันแล้ว สามารถจัดว่าเป็นสารานุกรมของความรู้สมัยกรีก.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ทอมัส อไควนัสและอาริสโตเติล

ทอมัส อไควนัสและอาริสโตเติล มี 6 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): อภิปรัชญาจริยธรรมจักรวาลปรัชญาปรัชญาตะวันตกเทววิทยา

อภิปรัชญา

อภิปรัชญา (Metaphysics) ซึ่งเป็นศาสตร์สาขาหนึ่งของ ปรัชญา ที่ว่าด้วยความแท้จริงหรือสารัตถะ (Reality Essence) ซึ่งรวมทั้ง ชีวิต โลก และ ภาวะเหนือธรรมชาติ เช่น พระเจ้าอดิศักดิ์ ทองบุญ, คู่มืออภิปรัชญา, ราชบัณฑิตยสถาน ISBN 974-575-939-2 มีปรัชญาอีกสาขาหนึ่งที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ อภิปรัชญาคือ Ontology แปลว่า ภววิทยา ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยความมี (being) ศาสตร์ทั้งสองนี้มีความเกี่ยวข้องกันเพราะว่า Metaphysics คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยความแท้จริงหรือสารัตถะว่ามีจริงหรือไม่ Ontology ก็ศึกษาเรื่องความมีอยู่ของความแท้จริง หรือสารัตถะนั้นเป็นจริงอย่างไรโดยทั่วไปถือว่าศาสตร์ทั้งสองนี้ศึกษาเรื่องเดียวกัน คือ ความมีอยู่ของความแท้จริง หรือความแท้จริงที่มีอยู่ เพราะฉะนั้นจึงถือว่าศาสตร์ทั้งสองเป็นเรื่องเดียวกัน.

ทอมัส อไควนัสและอภิปรัชญา · อภิปรัชญาและอาริสโตเติล · ดูเพิ่มเติม »

จริยธรรม

ริยธรรม หรือ จริยศาสตร์ เป็นหนึ่งในวิชาหลักของวิชาปรัชญา ซึ่งศึกษาเกี่ยวกับความดีงามทางสังคมมนุษย์ จำแนกแยกแยะว่าสิ่งไหนถูกและสิ่งไหนผิด หากจะอธิบายอย่างง่ายๆ แล้ว จริยธรรม หมายถึง การแยกสิ่งถูกจากผิด ดีจากเลว มาจากคำ 2 คำคือ จริย กับธรรม ซึ่งแปลตามศัพท์ คือ จริยะ แปลว่า ความประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ คำว่า ธรรม แปลว่า คุณความดี คำสั่งสอนในศาสนา หลักปฏิบัติในทางศาสนา ความจริง ความยุติธรรม ความถูกต้อง กฎเกณฑ์ เมื่อเอาคำ จริยะ มาต่อกับคำว่า ธรรม เป็นจริยธรรม แปลเอาความหมายว่า กฎเกณฑ์แห่งความประพฤติ หรือหลักความจริงที่เป็นแนวทางแห่งความประพฤติปฏิบัติ ความหมายตามพจนานุกรมในภาษาไทย จริยธรรม หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติ ศีลธรรมอันดี ตามธรรมเนียมยุโรป อาจเรียก จริยธรรมว่า Moral philosophy (หลักจริยธรรม) จริยธรรม น. ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม.

จริยธรรมและทอมัส อไควนัส · จริยธรรมและอาริสโตเติล · ดูเพิ่มเติม »

จักรวาล

การแกะลายแบบ Flammarion, กรุงปารีส ค.ศ. 1888 จักรวาล (cosmos) คือ เอกภพซึ่งอยู่ในรูปแบบที่ซับซ้อนและเป็นระบบระเบียบ เป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับความยุ่งเหยิง (chaos) นักปรัชญา พีทาโกรัส ใช้คำว่า จักรวาล (cosmos) เพื่อกล่าวถึงความเป็นระเบียบของเอกภพ ทว่าคำนี้ไม่ถูกใช้ในภาษาสมัยใหม่จนคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อนักภูมิศาสตร์ อเล็กซันเดอร์ ฟอน ฮุมโบลท์ ได้นำคำนี้จากกรีกโบราณกลับมาใช้อีกครั้ง ในชุดหนังสือของเขา Kosmos ซึ่งส่งผลกระทบต่อมุมมองสมัยใหม่องค์รวม ที่มองเอกภพเป็นสิ่งสิ่งเดียวซึ่งปฏิสัมพันธ์กัน.

จักรวาลและทอมัส อไควนัส · จักรวาลและอาริสโตเติล · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญา

มัยคลาสสิกไว้ในภาพเดียวกัน คำว่า ปรัชญา มีที่มามาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงความรู้อันประเสริฐ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า ปฺร ที่แปลว่าประเสริฐ กับ คำว่า ชฺญา ที่แปลว่ารู้ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ แทนคำว่า philosophy ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำΦιλοσοφία ซึ่งไพธากอรัสเป็นผู้บัญญัติไว้ เมื่อราวศตวรรษที่ 6 ก่อน..

ทอมัส อไควนัสและปรัชญา · ปรัชญาและอาริสโตเติล · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญาตะวันตก

ปรัชญาตะวันตก ถือกำเนิดโดยเธลีสแห่งมิเลทัส เมื่อ 585 ปีก่อนคริสต์ศักราช วิธีการของเธลีสแตกต่างกับปรัชญาตะวันออกอย่างมาก คือ ปรับคำถามที่สลับซับซ้อนให้เป็นคำถามง่าย ๆ เป็นคำถามที่มีรากฐาน เธลีสเป็นบุคคลที่รักการขบคิดอย่างมาก ปัจจุบันมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเธลีสหลงเหลืออยู่ไม่มากนัก.

ทอมัส อไควนัสและปรัชญาตะวันตก · ปรัชญาตะวันตกและอาริสโตเติล · ดูเพิ่มเติม »

เทววิทยา

ทววิทยา (theology) ในความหมายอย่างแคบคือวิชาว่าด้วยพระเจ้าและความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ ความหมายอย่างกว้างคือการศึกษาเรื่องศาสนา อิทธิพลของศาสนา ธรรมชาติของความจริงทางศาสนา อย่างเป็นระบบและมีเหตุผล หรือหมายถึงวิชาชีพที่มาจากการฝึกฝนเรียนรู้ทางด้านศาสนศึกษาที่มหาวิทยาลัย สำนักเทวศาสตร์ หรือเซมินารี.

ทอมัส อไควนัสและเทววิทยา · อาริสโตเติลและเทววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ทอมัส อไควนัสและอาริสโตเติล

ทอมัส อไควนัส มี 47 ความสัมพันธ์ขณะที่ อาริสโตเติล มี 41 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 6, ดัชนี Jaccard คือ 6.82% = 6 / (47 + 41)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ทอมัส อไควนัสและอาริสโตเติล หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: