ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ทวีปแอฟริกาและแหลมอะกะลัส
ทวีปแอฟริกาและแหลมอะกะลัส มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): มหาสมุทรอินเดียมหาสมุทรแอตแลนติกเคปทาวน์
มหาสมุทรอินเดีย
มหาสมุทรอินเดีย เป็นผืนน้ำที่มีขนาดกว้างใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก กินพื้นที่ประมาณ 20% ของพื้นน้ำบนโลก ทางเหนือติดกับตอนใต้ของทวีปเอเชีย (อนุทวีปอินเดีย) ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรอาหรับและทวีปแอฟริกา ทางตะวันออกติดกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แถบทะเลอันดามัน และประเทศออสเตรเลีย ทางใต้ติดกับมหาสมุทรใต้ แยกจากมหาสมุทรแอตแลนติกที่บริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกาบนเส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรแปซิฟิกที่เส้นเมริเดียน 147° ตะวันออก ตอนเหนือสุดของมหาสมุทรอินเดียอยู่ในอ่าวเปอร์เซีย ที่บริเวณละติจูด 30° เหนือ มหาสมุทรมีความกว้างมากที่สุดอยู่ระหว่างจุดใต้สุดของแอฟริกาและออสเตรเลีย ด้วยระยะทางเกือบ 10,000 กิโลเมตร มีพื้นน้ำ 70,560,000 ตารางกิโลเมตร รวมทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย แต่ไม่รวมมหาสมุทรใต้หรือ 19.5% ของมหาสมุทรโลก มหาสมุทรอินเดียมีปริมาตรประมาณ 264,000,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร หรือ 19.8% ของปริมาณมหาสมุทรโลก มีความลึกเฉลี่ย 3,741 เมตร และมีความลึกสูงสุด 7,906 เมตร.
ทวีปแอฟริกาและมหาสมุทรอินเดีย · มหาสมุทรอินเดียและแหลมอะกะลัส ·
มหาสมุทรแอตแลนติก
มหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ชื่อของมหาสมุทรมาจากนิยายปรัมปรากรีก หมายถึง "ทะเลของแอตลาส" มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นแอ่งที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอส (S) ติดกับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ทางตะวันตก ส่วนทางตะวันออกติดกับ ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ปัจจุบันมีการแบ่งมหาสมุทรแอตแลนติกเป็น 2 ส่วน คือ แอตแลนติกเหนือและแอตแลนติกใต้ โดยใช้บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนทิศของกระแสน้ำที่ละติจูด 8° เหนือเป็นแนวแบ่ง มหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางมหาสมุทรอาร์กติกซึ่งอยู่ทางเหนือ ส่วนทางใต้เชื่อมทางช่องแคบเดรก จุดเชื่อมต่ออีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ คือ คลองปานามา เส้นแบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรอินเดีย คือ เส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรอาร์กติกด้วยเส้นที่ลากจากกรีนแลนด์ ผ่านตอนใต้สุดของสฟาลบาร์ (Svalbard) ไปยังตอนเหนือของนอร์เวย์ มหาสมุทรแอตแลนติกมีพื้นน้ำประมาณ 106,460,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรของมหาสมุทรเมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกันมีค่า 310,410,900 ลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,646 เมตร จุดที่ลึกที่สุดคือปวยร์โตรีโกเทรนช์มีความลึก 8,486 เมตร (27,840 ฟุต).
ทวีปแอฟริกาและมหาสมุทรแอตแลนติก · มหาสมุทรแอตแลนติกและแหลมอะกะลัส ·
เคปทาวน์
เคปทาวน์ (Cape Town; Kaapstad) เป็นเมืองใหญ่อันดับสามและเป็นเมืองหลวงศูนย์กลางของฝ่ายนิติบัญญัติของประเทศแอฟริกาใต้ มีพื้นที่ 2,455 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 3,497,097 คน (พ.ศ. 2550) เมืองเก่าแก่ที่มีอายุกว่า 300 ปี ได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่สวยที่สุดและมีเสน่ห์ที่สุดเมืองหนึ่งในโลก เป็นเมืองเล็กๆที่มีชื่อเสียงที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศแอฟริกาใต้ ตรงแหลมกู๊ดโฮป ที่ยื่นออกไปทางระหว่างสองมหาสมุทร คือ มหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแอตแลนติก จึงมีสภาพภูมิอากาศอบอุ่นแบบเมดิเตอร์เรเนียน จุดเด่นของเมืองอยู่ที่ภูเขาลูกใหญ่กลางเมืองที่สามารถมองเห็นได้จากทุกสารทิศ รูปทรงแปลกตาคือ มีลักษณะเสมือนโต๊ะที่ตั้งอยู่บนแผ่นดินอย่างไรอย่างนั้น จึงทำให้ภูเขาลูกนี้ได้รับการตั้งชื่อว่า ภูเขาโต๊ะ หรือ Table Mountain มีความสูง 1,086 เมตร หรือ 3,563 ฟุต นอกจากเมืองเคปทาวน์ เมืองหลวงอีกสองแห่งของประเทศแอฟริกาใต้ได้แก่ กรุงพริทอเรีย เป็นเมืองศูนย์กลางการบริหารประเทศ และบลูมฟอนเทน ซึ่งเป็นเมืองหลวงศูนย์กลางทางฝ่ายตุลาการ ในปี 2010 สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก สนามกีฬาเคปทาวน์เป็นหนึ่งในบรรดาสนามแข่งขันฟุตบอลโลกในปี 2010 ได้รับสมญานามว่า เป็นดินแดนแห่งการท่องเที่ยวติดอันดับหนึ่งในห้าของโลก เมืองเคปทาวน์ ตั้งอยู่ในแผ่นดินที่มีลักษณะคล้ายอ่าง (City Bowl) มีภูเขาล้อมรอบ อยู่ทางตอนเหนือของแหมลเพนนินซูลา ภูมิอากาศแบบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ลมแรงตลอดทั้งปี ทำให้พัดมลพิษทางอากาศไปจากเมืองอากาศจึงบริสุทธิ์ หมวดหมู่:เมืองในประเทศแอฟริกาใต้ หมวดหมู่:เมืองหลวง.
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ ทวีปแอฟริกาและแหลมอะกะลัส มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง ทวีปแอฟริกาและแหลมอะกะลัส
การเปรียบเทียบระหว่าง ทวีปแอฟริกาและแหลมอะกะลัส
ทวีปแอฟริกา มี 129 ความสัมพันธ์ขณะที่ แหลมอะกะลัส มี 11 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 2.14% = 3 / (129 + 11)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ทวีปแอฟริกาและแหลมอะกะลัส หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: