เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ทวีปอเมริกาใต้และปลาออสการ์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ทวีปอเมริกาใต้และปลาออสการ์

ทวีปอเมริกาใต้ vs. ปลาออสการ์

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาใต้ แผนที่ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปอเมริกาใต้ เป็นทวีปที่เส้นศูนย์สูตรโลกพาดผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในซีกโลกใต้ ขนาบข้างด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก ในทางภูมิศาสตร์ ทวีปอเมริกาใต้เพิ่งจะเคลื่อนมาบรรจบกับทวีปอเมริกาเหนือเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้เกิดคอคอดปานามา เทือกเขาแอนดีสที่มีอายุน้อยและไม่หยุดนิ่งพาดผ่านเขตด้านตะวันตกของทวีป ดินแดนทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส คือ แอ่งแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขตป่าดิบชื้น ทวีปอเมริกาใต้มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 4 รองจากเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือตามลำดับ ส่วนจำนวนประชากรเป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ. ปลาออสการ์ (Oscar fish, Red belvet, Velvet cichlid, Marbled cichlid, Peacock-eyed cichilld, Tiger oscar, Peacock cichilld) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) เป็นปลาพันธุ์พื้นเมืองของลุ่มแม่น้ำโอริโนโก, แม่น้ำอะเมซอน และแม่น้ำลา พลาตา ในทวีปอเมริกาใต้อย่างกว้างขวาง เช่น ประเทศบราซิล, โคลอมเบีย, เปรู, เฟรนช์เกียนา, อุรุกวัย, เวเนซุเอลา และอาร์เจนตินา เป็นปลาที่หากินในบริเวณแหล่งน้ำที่เป็นน้ำตื้นทีมีพื้นท้องน้ำเป็นโคลนปนทรายหรือกรวดทราย ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 45.7 เซนติเมตร คุณภาพของน้ำในแหล่งที่พบอาศัยมีอุณหภูมิระหว่าง 22-25 องศาเซลเซียส ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ประมาณ 6.0-8.0 มีรูปร่างแบนข้างและลำตัวป้อม ส่วนหัวค่อนข้างใหญ่ ตาโต ปากกว้าง ริมฝีปากหนา ลำตัวมีสีน้ำตาลอมเขียว ที่ขอบของแผ่นกระดูกปิดเหงือกและด้านล่างของลำตัวมีสีส้มอมแดงหรือส้มจาง ๆ ที่ด้านบนของคอดหางมีจุดกลมสีดำคล้ายลูกตาดำและมีวงสีส้มอมแดงล้อมรอบ เป็นปลาที่ว่ายน้ำช้า กินสัตว์อื่นเป็นอาหารได้หลากหลาย ทั้งสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ และแมลงด้วย ปลาออสการ์ เป็นปลาที่ใช้บริโภคกันในพื้นถิ่น โดยจะพบวางขายกันในตลาดสด มีชื่อเรียกในภาษาถิ่นว่า Acará-acu และเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะการเป็นปลาสวยงาม ซึ่งนิยมเลี้ยงกันมาอย่างยาวนาน จัดเป็นปลาที่มีนิสัยดุร้ายก้าวร้าวชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่เลี้ยงดูลูกอ่อน ทั้งเพศผู้และเพศเมีย ในราวต้นพุทธทศวรรษ 2500 ถือเป็นปลาหมอสีชนิดแรก ๆ ที่นำเข้ามาสู่ประเทศไทย ในฐานะปลาสวยงาม ซึ่งมีราคาซื้อขายแพงมาก โดยตกคู่ละ 500 บาท (ราคาทองคำแท่งในขณะนั้นบาทละ 400 บาท) ปัจจุบัน มีการเพาะเลี้ยงกันจนมีสีสันที่สวยงามกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมมาก เช่น ปลาเผือก, สีเหลืองสดหรือสีทองหรือสีแดงสดทั้งตัว รวมทั้งมีแบบที่มีครีบยาวกว่าปกติด้วย โดยชื่อ "ออสการ์" นั้นมาจากชื่อกลางของนักมีนวิทยาชาวสวีเดน สเวน ออสการ์ คูลเลนเดอร์ ที่ศึกษาโดยเฉพาะกับปลาในวงศ์ปลาหมอสี.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ทวีปอเมริกาใต้และปลาออสการ์

ทวีปอเมริกาใต้และปลาออสการ์ มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): แม่น้ำแอมะซอน

แม่น้ำแอมะซอน

แม่น้ำแอมะซอน แม่น้ำแอมะซอน (Amazon River; Rio Amazonas; Río Amazonas) เป็นแม่น้ำในทวีปอเมริกาใต้ มีต้นกำเนิดอยู่ที่ประเทศเปรู และไหลออกมหาสมุทรที่ประเทศบราซิล มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 6,992 กิโลเมตร เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดของโลก (รองลงมาคือแม่น้ำไนล์) และยังเป็นแม่น้ำที่มีปากแม่น้ำกว้างที่สุดในโลก ซึ่งอยู่บริเวณทางเหนือของบราซิล แม่น้ำแอมะซอนเป็นแม่น้ำสายที่มีปริมาณน้ำมากที่สุด ปริมาณน้ำที่ไหลออกยังมหาสมุทรแอตแลนติกมากถึง 45 ล้านแกลลอนต่อวินาทีในฤดูฝน ฝนที่ตกในลุ่มแม่น้ำแอมะซอนเฉลี่ยปีละ 3 เมตร (สูงสุด 6 เมตร) แต่ฝนจะตกเพียงไม่กี่เดือน ต่างกันไปตามแต่ละสถานที่ ในช่วงฤดูแล้งราวเดือนตุลาคม น้ำจะลดปริมาณลงจนเห็นสันทรายและเกิดเป็นทะเลสาบต่าง ๆ บางแห่งตัดขาดจากกัน ในฤดูน้ำหลากน้ำจะท่วมป่าทุกปี ในเนื้อที่ประมาณ 90,000 ตารางกิโลเมตร ขนาดเท่าประเทศอังกฤษ และยังถือเป็นแม่น้ำที่มีปริมาณน้ำมากถึง 1 ใน 5 ส่วนของโลก มีแม่น้ำสาขาที่แยกออกจากแอมะซอนมากกว่า 1,100 สาขา อีกทั้งยังถือเป็นแม่น้ำที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดในโลก เป็นแม่น้ำที่มีความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ปลามากที่สุดในโลก กว่า 3,000 ชนิด ซึ่งนับว่ามากกว่ามหาสมุทรแอตแลนติกเสียอีก.

ทวีปอเมริกาใต้และแม่น้ำแอมะซอน · ปลาออสการ์และแม่น้ำแอมะซอน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ทวีปอเมริกาใต้และปลาออสการ์

ทวีปอเมริกาใต้ มี 54 ความสัมพันธ์ขณะที่ ปลาออสการ์ มี 51 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 0.95% = 1 / (54 + 51)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ทวีปอเมริกาใต้และปลาออสการ์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: