ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้าและระบบไฟฟ้า 3 เฟส
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้าและระบบไฟฟ้า 3 เฟส
ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า vs. ระบบไฟฟ้า 3 เฟส
ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetism) เป็นสาขาหนึ่งของวิชาฟิสิกส์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา แรงแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเป็นปฏิสัมพันธ์ทางกายภาพชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นระหว่างอนุภาคใดๆที่มีประจุไฟฟ้า แรงแม่เหล็กไฟฟ้ามักจะแสดงสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเช่นสนามไฟฟ้า, สนามแม่เหล็ก, และแสง แรงแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นหนึ่งในสี่ปฏิสัมพันธ์พื้นฐานในธรรมชาติ อีกสามแรงพื้นฐานได้แก่ อันตรกิริยาอย่างเข้ม, อันตรกิริยาอย่างอ่อน และแรงโน้มถ่วง ฟ้าผ่าเป็นการระบายออกของไฟฟ้าสถิตแบบหนึ่งที่ไฟฟ้าสถิตจะเดินทางระหว่างสองภูมิภาคที่มีประจุไฟฟ้า แม่เหล็กไฟฟ้ามาจากภาษาอังกฤษ electromagnet คำนี้ป็นรูปแบบผสมของคำภาษากรีกสองคำได้แก่ ἤλεκτρον หมายถึง อิเล็กตรอน และ μαγνῆτιςλίθος (Magnetis Lithos) ซึ่งหมายถึง "หินแม่เหล็ก" ซึ่งเป็นแร่เหล็กชนิดหนึ่ง วิทยาศาสตร์ของปรากฏการณ์แม่เหล็กไฟฟ้าถูกกำหนดไว้ในความหมายของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า บางครั้งถูกเรียกว่าแรงลอเรนซ์ (Lorentz force) ซึ่งประกอบด้วยทั้งไฟฟ้าและแม่เหล็กในฐานะที่เป็นสององค์ประกอบของปรากฏการณ์ แรงแม่เหล็กไฟฟ้ามีบทบาทสำคัญในการกำหนดคุณสมบัติภายในของวัตถุส่วนใหญ่ที่พบในชีวิตประจำวัน สสารทั่วไปจะได้รูปแบบของมันจากผลของแรงระหว่างโมเลกุลของโมเลกุลแต่ละตัวในสสาร อิเล็กตรอนจะถูกยึดเหนี่ยวตามกลไกคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเข้ากับวงโคจรรอบนิวเคลียสเพื่อก่อตัวขึ้นเป็นอะตอมซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของโมเลกุล กระบวนการนี้จะควบคุมกระบวนการที่เกี่ยวข้องทั้งหลายในทางเคมีซึ่งเกิดขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอิเล็กตรอนในวงโคจรของอะตอมหนึ่งกับอิเล็กตรอนอื่นในวงโคจรของอะตอมที่อยู่ใกล้เคียงซึ่งจะถูกกำหนดโดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างแรงแม่เหล็กไฟฟ้ากับโมเมนตัมของอิเล็กตรอนเหล่านั้น มีคำอธิบายของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าทางคณิตศาสตร์จำนวนมาก ในไฟฟ้าพลศาสตร์แบบคลาสสิก (classical electrodynamics) สนามไฟฟ้าจะอธิบายถึงศักย์ไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้า ในกฎของฟาราเดย์ สนามแม่เหล็กจะมาพร้อมกับการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าและแม่เหล็ก, และสมการของแมกซ์เวลจะอธิบายว่า สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กถูกสร้างขึ้นได้อย่างไร มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งกันและกันอย่างไร และมีการเปลี่ยนแปลงโดยประจุและกระแสได้อย่างไร การแสดงเจตนาเป็นนัยในทางทฤษฎีของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า โดยเฉพาะในการจัดตั้งของความเร็วของแสงที่ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของ "ตัวกลาง" ของการกระจายคลื่น (ความสามารถในการซึมผ่าน (permeability) และแรงต้านสนามไฟฟ้า (permittivity)) นำไปสู่การพัฒนาทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษโดย อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ในปี 1905 แม้ว่าแรงแม่เหล็กไฟฟ้าถือเป็นหนึ่งในสี่แรงพื้นฐาน แต่ที่ระดับพลังงานสูงอันตรกิริยาอย่างอ่อนและแรงแม่เหล็กไฟฟ้าถูกรวมเป็นสิ่งเดียวกัน ในประวัติศาสตร์ของจักรวาล ในช่วงยุคควาร์ก แรงไฟฟ้าอ่อน (electroweak) จะหมายถึงแรง(แม่เหล็ก)ไฟฟ้า + (อันตรกิริยาอย่าง)อ่อน. ระบบไฟฟ้า 3 เฟส เป็นวิธีการจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับและพลังงานผ่านระบบกริดไฟฟ้าที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในโลก ระบบนี้เป็นหนึ่งในระบบหลายเฟสที่ใช้บ่อยในการให้พลังงานแก่มอเตอร์ไฟฟ้าและโหลดต่าง ๆ ที่ต้องใช้กำลังไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก ระบบ 3 เฟสมีประสิทธิภาพมากกว่าระบบ 2 เฟสเนื่องจากระบบ 3 เฟสสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้มากกว่าเมื่อทั้งคู่มีจำนวนวัสดุตัวนำไฟฟ้าเท่ากัน ระบบ 2 เฟสคิดค้นโดย กาลิเลโอ เฟอร์ราริส, มีฮาอิล โดลิโว-โดโบรโวลสกี, โยนาส เวนสตรอม, จอห์น ฮอปกินสัน, และ นิโคลา เทสลา ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19.
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้าและระบบไฟฟ้า 3 เฟส
ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้าและระบบไฟฟ้า 3 เฟส มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): มอเตอร์
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้าและระบบไฟฟ้า 3 เฟส มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้าและระบบไฟฟ้า 3 เฟส
การเปรียบเทียบระหว่าง ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้าและระบบไฟฟ้า 3 เฟส
ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า มี 57 ความสัมพันธ์ขณะที่ ระบบไฟฟ้า 3 เฟส มี 4 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 1.64% = 1 / (57 + 4)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้าและระบบไฟฟ้า 3 เฟส หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: