โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทฤษฎีเอ็นโดซิมไบโอติกและแพลงก์ตอนพืช

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ทฤษฎีเอ็นโดซิมไบโอติกและแพลงก์ตอนพืช

ทฤษฎีเอ็นโดซิมไบโอติก vs. แพลงก์ตอนพืช

Electron micrograph of a mitochondrion showing its mitochondrial matrix and membranes ทฤษฎีเอนโดซิมไบโอติก (endosymbiotic theory) หรือซิมไบโอเจเนซิส (symbiogenesis) เป็นทฤษฎีทางวิวัฒนาการทฤษฎีหนึ่งที่อธิบายที่มาของเซลล์ยูคาริโอตว่ามาจากเซลล์โปรคาริโอต ทฤษฎีนี้เสนอว่า ออร์กาเนลล์สำคัญๆ ในเซลล์ยูคาริโอต มาจากซิมไบโอซิสของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่เคยแยกกันอยู่มาก่อน ตามทฤษฎีนี้ ไมโตคอนเดรีย, พลาสทิด (เช่น คลอโรพลาสท์) และอาจรวมถึงออร์กาเนลล์อื่นๆ ล้วนเคยเป็นแบคทีเรียที่มีชีวิตเป็นอิสระ และถูกควบรวมเข้ามาในเซลล์ใหญ่ในฐานะเอนโดซิมไบออนท์ เมื่อราวหนึ่งพันห้าร้อยล้านปีก่อน มีหลักฐานทางโมเลกุลและชีวเคมีที่ชี้นำว่าไมโตคอนเดรียนั้นเคยเป็นโปรตีโอแบคทีเรีย และคลอโรพลาสท์เคยเป็นไซยาโนแบคทีเรีย หมวดหมู่:ชีววิทยาวิวัฒนาการ. แพลงก์ตอนพืชชนิดและรูปร่างต่าง ๆ ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กไม่ถึงมิลลิเมตร ไดอะตอม สิ่งมีชีวิตหลักกลุ่มหนึ่งในแพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนพืช หรือ ไฟโทแพลงก์ตอน (Phytoplankton) มีรากศัพท์จากภาษากรีกว่า φυτόν (ฟิตอน) หมายถึง "พืช" และ πλαγκτός (พลังค์ตอส) หมายถึง "ผู้เดินทาง" หรือ "ผู้เร่ร่อน" คือแพลงก์ตอนที่สามารถสังเคราะห์แสงและสร้างอาหารเองได้ สิ่งมีชีวิตกลุ่มหลักของแพลงก์ตอนพืชประกอบด้วย ไดอะตอม สาหร่ายสีเขียว สาหร่ายสีทอง ไดโนแฟลกเจลเลต และไซยาโนแบคทีเรีย (สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน) ถือเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบนิเวศ เนื่องจากเป็นผู้ผลิตปฐมภูมิของห่วงโซ่และสายใยอาหาร พบได้ทั้งในระบบนิเวศน้ำจืด ระบบนิเวศน้ำเค็ม ตลอดจนในระบบนิเวศน้ำกร่อย แพลงก์ตอนพืชส่วนใหญ่จะเป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกสาหร่าย ทั้งที่เป็นโพรแคริโอตและยูแคริโอต โดยในแหล่งน้ำจืดจะพบสาหร่ายสีเขียว โดยเฉพาะในอันดับเดสมิด เป็นกลุ่มหลัก ส่วนในแหล่งน้ำเค็มอย่างทะเลและทะเลสาบ พบว่าแพลงก์ตอนพืชกลุ่มหลักคือกลุ่มไดอะตอมและไดโนแฟลกเจลเลต ในทางชีววิทยา แพลงก์ตอนพืชบางสปีชี่ส์จัดอยู่ในอาณาจักรพืช เช่น สาหร่ายสีเขียว บางชนิดอยู่ในอาณาจักรโพรทิสตา เช่น ไดอะตอม สาหร่ายสีทอง บางชนิดอยู่ในกลุ่มเฮเทอโรคอนท์ ซึ่งไม่ได้จัดอันดับไว้ (จำพวกไดโนแฟลกเจลเลต) และบางชนิดถูกจัดอยู่ในอาณาจักรยูแบคทีเรีย เช่น ไซยาโนแบคทีเรีย แพลงก์ตอนพืชยังเป็นอาหารของแพลงก์ตอนสัตว์และสัตว์หลายชนิดที่อาศัยอยู่ตามพื้นน้ำหรือท้องทะเล สัตว์บางชนิดมีอวัยวะคล้ายตาข่ายเพื่อดักจับแพลงก์ตอนพืชโดยเฉพาะ เช่น กุ้งเคย ห่วงโซ่อาหารหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดคือ แพลงก์ตอนพืช → กุ้งเคย → วาฬ มนุษย์นำแพลงก์ตอนพืชมาใช้ประโยชน์ในหลายทาง แพลงก์ตอนบางชนิดมีคุณค่าทางอาหารสูง จึงถูกนำไปใช้เป็นอาหารเสริมหรือเป็นส่วนประกอบของอาหารเสริม บางชนิดถูกนำไปใช้เป็นอาหารให้แก่สัตว์น้ำวัยอ่อนที่ต้องการเพาะพันธุ์ แพลงก์ตอนพืชที่มีปริมาณมากและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในแหล่งน้ำใด ๆ อาจเป็นสาเหตุให้เกิดปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ ทำให้น้ำเปลี่ยนสีเป็นสีเขียว แดง น้ำตาล หรือเหลือง ขึ้นอยู่กับชนิดของแพลงก์ตอนพืช เช่น ไดโนแฟลกเจลเลตอย่าง Noctiluca scintillans ทำให้น้ำเป็นสีเขียว Ceratium furca ทำให้น้ำเป็นสีน้ำตาล เป็นต้น แพลงก์ตอนพืชปริมาณมากอาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น เนื่องจากทำให้น้ำขาดออกซิเจนหรือลดลงอย่างมาก หรือทำให้เกิดภาวะสะสมของสารพิษที่มาจากตัวแพลงก์ตอน แพลงก์ตอนพืชมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการผลิตออกซิเจน นักชีววิทยาคาดการณ์ว่าปริมาณออกซิเจนถึงร้อยละ 50–80 ในชั้นบรรยากาศโลกผลิตขึ้นจากแพลงก์ตอนพืช ปัจจุบันแพลงก์ตอนพืชมีจำนวนลดลงอย่างมาก ซึ่งปัจจัยสำคัญคือน้ำทะเลมีอุณหภูมิสูงขึ้น ตั้งแต..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ทฤษฎีเอ็นโดซิมไบโอติกและแพลงก์ตอนพืช

ทฤษฎีเอ็นโดซิมไบโอติกและแพลงก์ตอนพืช มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ยูแคริโอตแบคทีเรียโพรแคริโอตไซยาโนแบคทีเรีย

ยูแคริโอต

ูแคริโอต (eukaryote) คือ สิ่งมีชีวิตที่เซลล์มีนิวเคลียสและโครงสร้างอื่น (ออร์แกเนลล์) อยู่ภายในเยื่อหุ้มเซลล์ ยูแคริโอตเป็นหน่วยอนุกรมวิธาน ยูคาร์ยาหรือยูแคริโอตา อย่างเป็นทางการ เยื่อหุ้มนิวเคลียสเป็นโครงสร้างที่นิยามเซลล์ยูแคริโอตแยกจากเซลล์โปรแคริโอต โดยภายในเยื่อหุ้มนิวเคลียสมีสารพันธุกรรม การมีนิวเคลียสเป็นที่มาของชื่อยูแคริโอต ซึ่งมาจากภาษากรีก ευ (eu, "ดี") และ κάρυον (karyon, "ผลมีเมล็ดเดียว" หรือ "เมล็ด") เซลล์ยูแคริโอตส่วนใหญ่ยังมีออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้มอื่นด้วย เช่น ไมโทคอนเดรียหรือกอลจิแอพพาราตัส นอกเหนือจากนี้ พืชและสาหร่ายยังมีคลอโรพลาสต์ สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวหลายชนิดเป็นยูแคริโอต เช่น โปรโตซัว แต่สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ทุกชนิดเป็นยูแคริโอต ซึ่งได้แก่ สัตว์ พืชและเห็ดรา การแบ่งเซลล์ในยูแคริโอตแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตที่ไม่มีนิวเคลียส (โปรแคริโอต) มีกระบวนการแบ่งตัวสองประเภท คือ ไมโทซิสและไมโอซิส ไมโทซิสเป็นการที่เซลล์หนึ่งแบ่งตัวได้เซลล์ที่มีพันธุกรรมเหมือนกันสองเซลล์ ในไมโอซิสซึ่งจำเป็นในการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เซลล์ดิพลอยด์หนึ่ง (ซึ่งมีโครโมโซมสองชุด ชุดหนึ่งมาจากพ่อ อีกชุดหนึ่งมาจากแม่) มีการจับคู่โครโมโซมจากพ่อแม่แต่ละคู่ใหม่ แล้วผ่านการแบ่งเซลล์อีกสองขั้นตอน จนได้เซลล์แฮพลอยด์สี่เซลล์ (เซลล์สืบพันธุ์) เซลล์สืบพันธุ์แต่ละเซลล์มีโครโมโซมชุดเดียว ซึ่งเป็นการผสมโครโมโซมจากพ่อแม่คู่เดียวกัน โดเมนยูแคริโอตาดูเหมือนมาจากชาติพันธุ์เดียว (monophyletic) จึงเป็นหนึ่งในสามโดเมนของสิ่งมีชีวิต อีกสองโดเมน ได้แก่ แบคทีเรียและอาร์เคีย เป็นโปรแคริโอตและไม่มีคุณสมบัติที่กล่าวมาข้างต้น ยูแคริโอตเป็นสิ่งมีชีวิตส่วนน้อยมาก อย่างไรก็ดี เนื่องจากยูแคริโอตมีขนาดใหญ่กว่ามาก มวลชีวภาพรวมทั่วโลกจึงประมาณว่าเท่ากับมวลชีวภาพของโปรแคริโอตWhitman, Coleman, and Wiebe,, Proc.

ทฤษฎีเอ็นโดซิมไบโอติกและยูแคริโอต · ยูแคริโอตและแพลงก์ตอนพืช · ดูเพิ่มเติม »

แบคทีเรีย

แบคทีเรีย หรือ บัคเตรี เป็นประเภทของสิ่งมีชีวิตประเภทใหญ่ประเภทหนึ่ง มีขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ส่วนใหญ่มีเซลล์เดียว และมีโครงสร้างเซลล์ที่ไม่ซับซ้อนมาก และโดยทั่วไปแบคทีเรียแบ่งได้หลายรูปแ.

ทฤษฎีเอ็นโดซิมไบโอติกและแบคทีเรีย · แบคทีเรียและแพลงก์ตอนพืช · ดูเพิ่มเติม »

โพรแคริโอต

รงสร้างของเซลล์แบคทีเรีย โพรแคริโอต (prokaryote) เป็นสิ่งมีชีวิตที่ประกอบด้วยออร์แกเนลที่ไม่มีเยื่อหุ้ม ไม่มีนิวเคลียส มักเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว คำว่า prokaryotes มาจาก ภาษากรีกโบราณ pro- ก่อน + karyon เมล็ด ซึ่งหมายถึงนิวเคลียส + ปัจจัย -otos, พหูพจน์ -otesCampbell, N. "Biology:Concepts & Connections".

ทฤษฎีเอ็นโดซิมไบโอติกและโพรแคริโอต · แพลงก์ตอนพืชและโพรแคริโอต · ดูเพิ่มเติม »

ไซยาโนแบคทีเรีย

ซยาโนแบคทีเรีย หรือ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (blue-green algae หรือ cynobacteria) จัดอยู่ในไฟลัม Cynobacteria ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่สังเคราะห์ด้วยแสงได้ สาหร่ายชนิดนี้มีโครงสร้างของนิวเคลียสคล้ายคลึงกับนิวเคลียสของแบคทีเรีย และบางชนิดยังมีคุณสมบัติตรึงไนโตรเจนในอากาศได้ นอกจากนั้นยังมีคุณสมบัติทางชีวเคมีคล้ายแบคทีเรียด้วย แต่ต่างจากแบคทีเรีย เพราะสาหร่ายชนิดนี้มีคลอโรฟิลล์เอ และมีการปล่อยออกซิเจนออกสู่สิ่งแวดล้อมจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ซึ่งไม่พบในแบคทีเรีย ไซยาโนแบคทีเรีย เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว รูปแบบโครงสร้างเซลล์มีสารพันธุกรรมทั้งตัวและไม่มีเยื่อหุ้มนิวนิวเคลียส (โพรแคริโอต) ทำให้สามารถเจริญแบบเพิ่มจำนวนได้โดยการแบ่งตัว เนื่องจากโลกยังร้อนจัด ไม่ออกซิเจน มีแต่คาร์บอนไดออกไซด์ สารประกอบจำพวก ไนโตเจน มีเทน แอมโมเนีย ไซยาโนแบคทีเรีย สามารถปรับตัวได้สูงมากโดยการ สร้างเมือกห่อหุ้มเซลล์ และในเซลล์จะมีถุงลมเพือเพิ่มการพยุงตัว หาสภาวะที่เหมาะสมในการสังเคราะห์แสง มีเม็ดสีช่วยในการต่อต้านแสงอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ และเริ่มสังเคราะห์ด้วยแสง เกาะอาศํยอยู่บนสโตรมาโตไลต์ ทั่วไปบริเวณชายฝั่งทะเลสมัยพัฒนาเป็นสิ่งมีชีวิต.

ทฤษฎีเอ็นโดซิมไบโอติกและไซยาโนแบคทีเรีย · แพลงก์ตอนพืชและไซยาโนแบคทีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ทฤษฎีเอ็นโดซิมไบโอติกและแพลงก์ตอนพืช

ทฤษฎีเอ็นโดซิมไบโอติก มี 10 ความสัมพันธ์ขณะที่ แพลงก์ตอนพืช มี 30 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 10.00% = 4 / (10 + 30)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ทฤษฎีเอ็นโดซิมไบโอติกและแพลงก์ตอนพืช หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »