โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทฤษฎีอติชนและอุตมรัฐ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ทฤษฎีอติชนและอุตมรัฐ

ทฤษฎีอติชน vs. อุตมรัฐ

ในสาขารัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ทฤษฎีอติชน หรือ ทฤษฎีอภิชน (elite theory) เป็นทฤษฎีที่มุ่งหมายจะพรรณนาและอธิบายความสัมพันธ์ของกลุ่มอำนาจต่าง ๆ ในสังคมปัจจุบัน โดยอ้างว่า ชนกลุ่มน้อยที่เป็นสมาชิกของอภิสิทธิชนทางเศรษฐกิจหรือของเครือข่ายการกำหนดนโยบาย จะมีอำนาจมากที่สุดในสังคม โดยอำนาจนี้จะเป็นอิสระจากกระบวนการเลือกตั้งของประชาธิปไตย คืออาศัยตำแหน่งในบรรษัทหรือการเป็นสมาชิกคณะกรรมการบริษัท หรืออาศัยตำแหน่งในสถาบันนโยบายหรือกลุ่มอภิปรายนโยบาย หรืออาศัยอิทธิพลเหนือเครือข่ายบุคคลที่วางนโยบายโดยให้การสนับสนุนทางการเงินแก่มูลนิธิ/องค์กรต่าง ๆ สมาชิกของกลุ่มอภิสิทธิชนจะมีอำนาจสำคัญในการตัดสินนโยบายของบริษัทหรือของรัฐบาล ตัวอย่างที่เห็นได้ก็คือ บทความในนิตยสารฟอบส์ ชื่อว่า "ผู้มีอำนาจมากที่สุดในโลก (The World's Most Powerful People)" ที่แสดงรายการบุคคลที่นิตยสารอ้างว่ามีอำนาจมากที่สุดในโลก (โดยแต่ละคนเทียบเท่ากับคน 100,000,000 คนอื่น) ลักษณะทางสังคมที่เข้าข่ายทฤษฎีโดยพื้นฐานก็คือ อำนาจมีการรวมศูนย์ อภิสิทธิชนพร้อมเพรียงกัน คนที่ไม่ใช่อภิสิทธิชนมีหลากหลายและไร้อำนาจ เทียบกับผลประโยชน์/สิ่งที่อภิสิทธิชนสนใจที่มีเอกภาพเนื่องจากมีพื้นเพหรือตำแหน่งที่คล้ายคลึงกัน โดยลักษณะเฉพาะของการมีอำนาจก็คือการมีตำแหน่งในสถาบัน แม้กลุ่มอาจจะไม่ได้อยู่ในเครือข่ายอำนาจธรรมดาของรัฐ (เช่นในประวัติศาสตร์ อาจจะเป็นเพราะเกณฑ์ต่าง ๆ รวมทั้งความป็นขุนนาง เชื้อชาติ เพศ หรือศาสนา) ทฤษฎีก็ยังแสดงว่า "กลุ่มต้านอภิสิทธิชน" (counter-elites) บ่อยครั้งก็จะเกิดภายในกลุ่มที่ถูกยกเว้นเช่นนี้ ดังนั้น การเจรจาต่อรองระหว่างกลุ่มเช่นนี้กับรัฐ จึงมองได้ว่าเป็นการต่อรองระหว่างกลุ่มต่อต้านอภิสิทธิชนกับกลุ่มอภิสิทธิชน ซึ่งก็จะทำให้เห็นปัญหาสำคัญอีกอย่างว่า อภิสิทธิชนสามารถรวบผู้ต่อต้านให้เป็นพวกได้ ทฤษฎีอภิสิทธิชนเป็นเรื่องตรงข้ามกับทฤษฎีพหุนิยมทางการเมือง ซึ่งสมมุติว่า ทุก ๆ คน หรืออย่างน้อยก็กลุ่มสังคมต่าง ๆ จะมีอำนาจเท่ากันและจะถ่วงดุลกันเอง ทำให้ได้ผลลัพธ์ทางการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย และที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ของคนทั้งหมดในสังคม เทียบกับทฤษฎีนี้ที่อ้างว่า ประชาธิปไตยเป็นเรื่องเหลวไหลแบบอุตมรัฐ หรือไม่ก็เป็นไม่ไปได้ในกรอบของทุนนิยม ซึ่งเป็นมุมมองปัจจุบันที่เข้ากับลัทธิมากซ์ได้. อุตมรัฐ (Πολιτεία, มีความหมายว่า "การปกครองที่ดีที่สุด"; Res Publica, มีความหมายว่า "กิจการสาธารณะ"; The Republic) เป็นบทสนทนาของโสกราตีสที่เขียนโดยเพลโต ประมาณ 360 ปีก่อนคริสตกาล เป็นหนึ่งในบรรดางานเขียนที่มีอิทธิพลต่อทฤษฎีทางด้านปรัชญาและการปกครองอย่างมากที่สุด และเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของเพลโต เนื้อหาในเรื่องเป็นการสนทนาระหว่างโสกราตีสกับชาวกรุงเอเธนส์ และชาวต่างชาติอีกจำนวนหนึ่ง ที่ถกเถียงกันเกี่ยวกับเรื่องความยุติธรรม และข้อสงสัยว่าผู้มีใจเป็นธรรมจะมีความสุขมากกว่าผู้มีใจคดหรือไม่หากมีนครในอุดมคติ โดยที่นครแห่งนี้ปกครองโดยกษัตริย์ผู้เป็นปราชญ์ บทสนทนาแสดงให้เห็นถึงลักษณะของนักปรัชญา รูปแบบและความขัดแย้งระหว่างแนวคิดทางปรัชญากับงานกวีนิพนธ์ รวมถึงสื่อให้เห็นจิตวิญญาณอันเป็นอมต.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ทฤษฎีอติชนและอุตมรัฐ

ทฤษฎีอติชนและอุตมรัฐ มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ทฤษฎีอติชนและอุตมรัฐ

ทฤษฎีอติชน มี 37 ความสัมพันธ์ขณะที่ อุตมรัฐ มี 8 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (37 + 8)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ทฤษฎีอติชนและอุตมรัฐ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »