โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทรอมโบนและเอ็งกะ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ทรอมโบนและเอ็งกะ

ทรอมโบน vs. เอ็งกะ

ทรอมโบน (Trombone) เป็นเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องเป่าทองเหลือง มีคันชักใช้สำหรับเปลี่ยนระดับเสียง โดยมากจะใช้ในวงโยธวาทิต วงดนตรีลูกทุ่ง รวมทั้งวงซิมโฟนีออร์เคสตรา และแตรวง ในวงดนตรี ทรอมโบนจะทำหน้าที่ประสานเสียงในกลุ่มแตรด้วยกัน ทรอมโบน เป็นแตรซึ่งใช้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ในพิธีศาสนาและพิธียุรยาตราร่วมกับแตรโบราณ ทรอมโบนประกอบด้วยท่อลมสวมซ้อนเลื่อนเข้า – ออกได้ (Telescopic slide) ขนาดยาวโค้งได้สองทบ สองในสามของท่อลมนี้เป็นท่อทรงกระบอกเช่นเดียวกับ ทรัมเปตส่วนที่เหลือค่อย ๆ บานออกเป็นปากลำโพง ส่วนที่เป็นท่อลมทรงกระบอกจะเป็นท่อสองชั้นสวมกันไว้ในลักษณะรูปตัว U เลื่อนเข้าออกเพื่อปรับระดับเสียง เมื่อเลื่อนออกจะยาวประมาณ 9 ฟุต แต่เมื่อเลื่อนเข้า จะเหลือเพียง 3 ฟุตเศษ ทรอมโบนเป็นเครื่องดนตรีประเภทท่อทรงกระบอก (Cylindrical Bore) กล่าวคือมีท่อลมที่ขนาดคงที่เกือบทั้งเครื่อง ทำให้มีเสียงที่แข็งและกระด้าง ไม่นิ่มนวลเหมือนฮอร์นหรือยูโฟเนียม แต่ในบางรุ่นอาจมีการขยายขาหนึ่งของ Slide ให้ใหญ่กว่าอีกขาหนึ่ง ทำให้เสมือนหนึ่งเป็นเครื่องดนตรีทรงกรวย (Conical Bore) และให้เสียงที่นุ่มขึ้น. อ็งกะ (演 (เอ็ง) แปลว่า การแสดง ความบันเทิง / 歌 (คะ) แปลว่า เพลง) คือ รูปแบบดนตรีที่มีการผสมผสานกันระหว่างแนวดนตรีสองแนวที่แตกต่างกัน แนวแรกคือแนวดนตรีแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นในช่วงยุคเมจิ (พ.ศ. 2411 – 2455) กับยุคไทโช (พ.ศ. 2455 – 2469) ส่วนแนวที่สองคือแนวเพลงประโลมโลกแบบป็อปของญี่ปุ่นที่มีกลิ่นอายของเพลงสไตล์คันทรีแบบอเมริกันผสมอยูด้วย โดยเอ็งกะในปัจจุบันนั้น จะหนักไปทางแนวที่สองมากกว่า เอ็งกะกำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่น สมัยยุคเมจิ โดยได้รับอิทธิพลหรือมีรากฐานมาจากเพลงทางเกาหลีหรือจีน ในช่วงแรก เพลงแนวนี้ถูกนำมาใช้ในด้านการเมืองอยู่บ่อย ๆ อย่างเช่นนำมาใช้แปลงบทแถลงการณ์ต่าง ๆ ให้เป็นทำนองเพลงเพื่อง่ายต่อการเผยแพร่ เป็นต้น แต่ในเวลาต่อมา การใช้ประโยชน์ในด้านนี้ก็ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว แนวเพลงเอ็งกะนี้ ถือได้ว่าเป็นแนวเพลงแรกที่สังเคราะห์เอาสเกลโน้ตเพ็นทาโกนิคของเพลงญี่ปุ่นรวมเข้ากับท่วงทำนองของดนตรีสไตล์ตะวันตกได้เป็นอย่างดี เนื้อร้องของเพลงแนวนี้ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่เรื่องความรักและการสูญเสีย ความเหงา ความรันทด ความทุกข์ยากลำบาก ไปจนถึงความตายและการฆ่าตัวตาย เอ็งกะจะสะท้อนให้เห็นถึงประเพณี อุดมการณ์ หรือความเย้ายวนใจในมุมมองของวัฒนธรรมหรือทัศนคติในแบบของญี่ปุ่น คล้ายกับแนวเพลงคันทรีของอเมริกันและเพลงสไตล์ตะวันตก นักร้องเพลงแนวเอ็งกะที่โด่งดังและเป็นที่รักมากที่สุดคือ ฮิบาริ มิโซระ (พ.ศ. 2469 – 2532) เธอได้รับการขนานนามว่าเป็น "ราชินีเพลงเอ็งกะ" และ "ราชินีแห่งโชวะ" ในช่วงที่เธอยังมีชีวิตอยู่และได้รับความนิยมมากที่สุด เอ็งกะได้รับความนิยมมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงช่วงทศวรรษล่าสุดนี้เองที่เพลงเอ็งกะได้เสื่อมความนิยมลงทั้งทางด้านยอดขายและการยอมรับ ประจวบกับการที่เพลงแนวเจ-ป็อปแบบอเมริกันโด่งดังขึ้นมาแทนที่พอดี เหตุหนึ่งที่เอ็งกะเดินทางมาถึงช่วงขาลงตรงจุดนี้ก็เพราะว่านักฟังชาวญี่ปุ่นรุ่นใหม่ ๆ ไม่ประทับใจแนวเพลงดั้งเดิม แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีชาวญี่ปุ่นอีกหลาย ๆ คนที่ยังหลงใหลกับเพลงแนวเอ็งกะนี้อยู่ จนกระทั่งต่อมา เมื่อนักร้องขวัญใจวันรุ่นของญี่ปุ่นในช่วงนั้นอย่างคิโยชิ ฮิกาวะ และยูโกะ นากาซาวะ (สมาชิกรุ่นก่อตั้งของกลุ่มมอร์นิงมุซุเมะ) หันมาร้องเพลงแนวเอ็งกะบ้าง ก็ทำให้แฟนเพลงหนุ่มสาวของญี่ปุ่นหันมานิยมเพลงแนวนี้ได้พอสมควร การแต่งกายของนักร้องเอ็งกะเวลาขึ้นแสดงส่วนใหญ่ ถ้าหากว่าเป็นผู้หญิงพวกเธอจะใส่ชุดกิโมโนหรือไม่ก็ชุดราตรีในการแสดง และถ้าหากว่าเป็นผู้ชายพวกเขาจะใส่ชุดที่เป็นทางการหรือไม่ก็ชุดญี่ปุ่นที่ถูกต้องตามประเพณี เครื่องดนตรีที่ใช้ในเพลงแนวเอ็งกะก็จะเหมือนกันกับที่ใช้ในเพลงดั้งเดิมของญี่ปุ่นทั่วไป อย่างเช่น ชิโนบูเอะ และชามิเซ็ง เป็นต้น ส่วนแหล่งที่จะสามารถฟังเพลงเหล่านี้ได้ในญี่ปุ่น นอกจากจะในรายการโทรทัศน์และวิทยุแล้ว ก็คือที่ร้านอาหาร ร้านสุรา คาเฟ่ และสถานที่ให้บริการคาราโอเกะ ในสหรัฐอเมริกา เอ็งกะก็ยังได้รับความนิยมอยู่ในกลุ่มคนที่มีเชื้อสายญี่ปุ่น-อเมริกัน (โดยเฉพาะที่สูงอายุแล้ว) แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีแฟนเพลงเอ็งกะที่ไม่ใช่ชาวญี่ปุ่นอยู่ด้วย นอกจากนั้นแล้ว ในอเมริกาก็ยังมีวงดนตรีและนักร้องแนวเอ็งกะอยู่ด้วยเหมือนกัน อย่างเช่นวง ซานโฮเซ จิโดริ ที่เปิดการแสดงในเทศกาลโอบงในช่วงฤดูร้อนอยู่เป็นครั้งคราว เป็นต้น.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ทรอมโบนและเอ็งกะ

ทรอมโบนและเอ็งกะ มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ทรัมเป็ต

ทรัมเป็ต

ทรัมเป็ต (trumpet) เป็นเครื่องดนตรีสากลในกลุ่มเครื่องลมทองเหลือง (แตร) ประเภทเสียงสูง (high brass) เช่นเดียวกับเฟรนช์ฮอร์น กำเนิดเสียงโดยอาศัยลมจากการเป่าของผู้เล่นทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของริมฝีปาก โดยทั่วไปมีปุ่มกด (valve) 3 อัน เรียงอยู่ในระนาบเดียวกัน มีทั้งที่เคลือบผิวด้วยทอง, เงิน, นิกเกิล, และแลกเกอร์ ทรัมเป็ตมีวิวัฒนาการมายาวนานตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเริ่มจากแตรสัญญาณที่ใช้ในการล่าสัตว์หรือในทางทหาร แต่แตรลักษณะนั้นโดยมากจะไม่มีปุ่มกดเพื่อเปลี่ยนระดับเสียง ทำให้ไม่สามารถสร้างระดับเสียงที่แตกต่างกันได้มากนัก จนกระทั่งมีการคิดประดิษฐ์ปุ่มกดและกลไกต่างๆเข้าไปภายหลังในสมัยยุคกลาง โดยเป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมในวงกว้าง สามารถพบเห็นได้ในวงหลากหลายรูปแบบตั้งแต่วงพื้นบ้านของเม็กซิกัน (mariachi) วงแจ๊ซ วงโยธวาทิต วงดนตรีลูกทุ่ง จนถึงวงออเคสตรา และแตรวงขนาดใหญ่ หรือแม้แต่วงดนตรีป๊อป-ร็อคสมัยใหม่ ระดับเสียงของทรัมเป็ตมีช่วงเสียงประมาณ 2-3 ออกเตฟ ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้เล่น ตั้งแต่ F# ต่ำกว่า middle C จนถึง E สูงเหนือบรรทัด 5 เส้นหรือสูงกว่านั้น เสียงของทรัมเป็ตโดยธรรมชาติมีลักษณะดังกังวาน สดใส และเข้มแข็ง แต่ขณะเดียวกันก็สามารถใช้สร้างเสียงที่แสดงออกถึงอารมณ์หม่นเศร้าได้เช่นกัน ที่นิยมใช้กันทั่วไปคือทรัมเป็ตในคีย์ Bb และคีย์ C อาจพบเห็นทรัมเป็ตที่มีขนาดและระดับเสียงแตกต่างกันได้อีกหลายชนิดตั้งแต่ "เบส-ทรัมเป็ต" จนถึง "พิคโคโลทรัมเป็ต" โดยเฉพาะในบทเพลงคลาสสิก ในประเทศไทยมีผู้เล่นทรัมเป็ตที่มีชื่อเสียงหลายคน เช่น อ.วานิช โปตะวณิช, อ.เลิศเกียรติ จงจิรจิต เป็นต้น หมวดหมู่:เครื่องลมทองเหลือง หมวดหมู่:เครื่องดนตรีออร์เคสตรา หมวดหมู่:ดนตรีของกองทัพเรือ.

ทรอมโบนและทรัมเป็ต · ทรัมเป็ตและเอ็งกะ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ทรอมโบนและเอ็งกะ

ทรอมโบน มี 11 ความสัมพันธ์ขณะที่ เอ็งกะ มี 45 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 1.79% = 1 / (11 + 45)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ทรอมโบนและเอ็งกะ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »