โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ถุงยางอนามัยและห่วงอนามัยคุมกำเนิด

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ถุงยางอนามัยและห่วงอนามัยคุมกำเนิด

ถุงยางอนามัย vs. ห่วงอนามัยคุมกำเนิด

งยางอนามัย (อังกฤษ: condom) เป็นอุปกรณ์ประเภทสิ่งกีดขวางที่ใช้ระหว่างร่วมเพศเพื่อลดโอกาสการตั้งครรภ์หรือการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีทั้งสำหรับเพศหญิงและเพศชาย เมื่อใช้อย่างถูกต้องทุกครั้งที่ร่วมเพศ ผู้หญิงที่คู่นอนใช้ถุงยางอนามัยชายมีอัตราการตั้งครรภ์อยู่ที่ 2% ต่อปี โดยมีอัตราการตั้งครรภ์เมื่อใช้แบบทั่วไปอยู่ที่ 18% ต่อปี การใช้ถุงยางอนามัยลดโอกาสการติดโรคหนองในแท้, โรคหนองในเทียม, เชื้อทริโคโมแนส, เชื้อไวรัสตับอักเสบ บี, โรคเอดส์ และซิฟิลิส ถุงยางอนามัยชายควรใส่ขณะองคชาตแข็งตัวก่อนการร่วมเพศ โดยใช้เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำอสุจิเข้าไปในร่างกายของคู่นอน ถุงยางอนามัยชายมักทำจากยางพารา หรืออาจทำจากโพลียูรีเทนหรือลำไส้แกะ ถุงยางอนามัยชายมีข้อดีตรงที่ใช้ง่าย พกพาสะดวก และมีผลข้างเคียงน้อย สำหรับผู้แพ้ยางพารา ควรใช้แบบที่ผลิตจากโพลียูเทนหรือวัสดุสังเคราห์อื่นแทน ถุงยางอนามัยสตรีมักทำจากโพลียูรีเทนและสามารถใช้ซ้ำได้หลายครั้ง การใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ถูกใช้มาอย่างน้อยตั้งแต.. ห่วงอนามัยคุมกำเนิด หรือ ไอยูดี (Intrauterine device, IUD, intrauterine contraceptive device, IUCD, ICD, coil) เป็นอุปกรณ์คุมกำเนิดขนาดเล็ก มักมีรูปร่างคล้ายตัว T ใช้โดยการใส่เข้าไปในมดลูกเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ การใช้ห่วงอนามัยเป็นหนึ่งในวิธีคุมกำเนิดระยะยาวที่ย้อนกลับได้ ผู้ใช้ห่วงอนามัยและยาคุมกำเนิดแบบฝังมีความพึงพอใจสูงสุดเมื่อเทียบกับผู้ใช้การคุมกำเนิดวิธีอื่น หลักฐานทางงานวิจัยสนับสนุนทั้งประสิทธิผลและความปลอดภัยของห่วงอนามัย เมื่อใช้กับวัยรุ่นและคนที่ไม่เคยมีลูก เมื่อถอดห่วงอนามัยออกความเจริญพันธุ์ของผู้ใช้จะกลับมาอย่างรวดเร็วแม้จะใช้มาเป็นเวลานาน โอกาสล้มเหลวของห่วงอนามัยชนิดเคลือบทองแดงอยู่ที่ประมาณ 0.8% ส่วนแบบหลั่งฮอร์โมนอยู่ที่ประมาณ 0.2% ในการใช้ปีแรกCS1 maint: Extra text: authors list Category:CS1 maint: Extra text: authors list ห่วงอนามัยหุ้มทองแดงอาจเพิ่มปริมาณของประจำเดือนและอาจทำให้ปวดท้องมากขึ้น ส่วนห่วงอนามัยแบบหลั่งฮอร์โมนอาจทำให้ประจำเดือนมาน้อยลงหรือไม่มาเลย อาการปวดประจำเดือนสามารถบรรเทาด้วยยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAID) ผลกระทบที่อาจตามมาได้แก่ expulsion (2-5%) และมดลูกฉีกขาดที่เกิดขึ้นไม่บ่อยนัก (น้อยกว่า 0.7%) ห่วงอนามัยไม่ส่งผลกรทบต่อการให้นมบุตร และสามารถติดตั้งทันทีหลังคลอดลูก นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทันทีหลังการทำแท้ง การใช้ห่วงอนามัยเพื่อคุมกำเนิดเริ่มขึ้นในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 แบบจำลองก่อนหน้านี้ถูกเรียกว่า Dalkon shield ซึ่งถูกพบว่าเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน (pelvic inflammatory disease) อย่างไรก็ตาม ห่วงอนามัยรุ่นปัจจุบันไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงนี้หากผู้ใช้ไม่มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ตอนช่วงเวลาติดตั้ง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ถุงยางอนามัยและห่วงอนามัยคุมกำเนิด

ถุงยางอนามัยและห่วงอนามัยคุมกำเนิด มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

รคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือ โรคส่งผ่านทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted disease; STD) หรือ กามโรค (Venereal disease; เรียกย่อว่า วีดี) เป็นความเจ็บป่วยซึ่งมีแนวโน้มติดต่อหรือส่งผ่านระหว่างมนุษย์หรือสัตว์โดยการสัมผัสทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นการร่วมเพศทางช่องคลอด ทางปาก หรือทางทวารหนัก ในปัจจุบันมีการใช้คำว่า การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted infection; STI) ซึ่งมีความหมายกว้างกว่าเดิมมากขึ้น เพราะผู้ป่วยอาจมีการติดเชื้อและมีความสามารถในการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้โดยไม่มีอาการแสดงของโรค การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์อาจติดต่อได้จากการใช้เข็มฉีดยาเสพติดเข้าหลอดเลือดดำต่อจากผู้ป่วย รวมถึงผ่านการคลอดหรือการเลี้ยงลูกด้วยนมแม.

ถุงยางอนามัยและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ · ห่วงอนามัยคุมกำเนิดและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ถุงยางอนามัยและห่วงอนามัยคุมกำเนิด

ถุงยางอนามัย มี 27 ความสัมพันธ์ขณะที่ ห่วงอนามัยคุมกำเนิด มี 11 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 2.63% = 1 / (27 + 11)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ถุงยางอนามัยและห่วงอนามัยคุมกำเนิด หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »