โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ถนนเยาวราชและรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ถนนเยาวราชและรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร

ถนนเยาวราช vs. รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร

รรยายกาศของเยาวราชยามค่ำคืนและร้านอาหารริมทาง ถนนเยาวราช (Thanon Yaowarat; 耀華力路) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ระยะทางความยาวตลอดเส้นทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร ได้รับการกล่าวขานและขนานนามว่าเป็น "ถนนมังกร" โดยมีจุดเริ่มต้นของหัวมังกรที่ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษาบริเวณวงเวียนโอเดียน ท้องมังกรอยู่ที่บริเวณตลาดเก่าเยาวราชและสิ้นสุดปลายหางมังกรที่บริเวณปลายสุดของถนน สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้ระยะเวลาในการตัดถนน 8 ปี ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2434 - พ.ศ. 2443 เพื่อให้เยาวราชกลายเป็นสถานที่สำหรับส่งเสริมการค้าขาย เดิมทีชื่อ "ถนนยุพราช" และได้โปรดเกล้าพระราชทานนามใหม่ว่า "ถนนเยาวราช" ถนนเยาวราชประกอบไปด้วยจุดสำคัญหลายจุดเช่น วงเวียนโอเดียน, ถนนเจริญกรุง ซึ่งอยู่ในท้องที่แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของถนนเยาวราชตัดกับถนนทรงสวัสดิ์ (สี่แยกเฉลิมบุรี), ถนนราชวงศ์ (สี่แยกราชวงศ์) และถนนจักรวรรดิ (สี่แยกวัดตึก) ข้ามคลองรอบกรุง (สะพานภาณุพันธุ์) เข้าสู่ท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร สิ้นสุดที่แยกถนนพีระพงษ์ตัดกับถนนมหาไชยและถนนจักรเพชร บริเวณถนนเยาวราชเป็นแหล่งชุมชนชาวจีนและชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นจำนวนมาก จัดเป็นย่านธุรกิจการค้า, การเงิน การธนาคาร, ร้านทอง, ภัตตาคาร ร้านอาหาร, ร้านค้า ฯลฯ รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานครโดยได้รับการขนานนามว่าเป็น "ไชนาทาวน์แห่งกรุงเทพมหานคร" จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และถือว่าเป็นไชนาทาวน์หรือชุมชนชาวจีนที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก. รายชื่อและระยะทางของถนนในเขตกรุงเทพมหานคร เฉพาะถนนสาธารณะที่อยู่ในความดูแลของหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท รวมทั้งเส้นทางที่ตัดผ่านที่ดินของหน่วยงานราชการอื่นและเส้นทางของเอกชนที่ได้รับการกำหนดให้เป็น "ถนน" อย่างเป็นทางการจากกรุงเทพมหานครแล้ว ทั้งนี้ ไม่รวมเส้นทางที่ใช้สัญจรเฉพาะภายในพื้นที่หน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา บ้านจัดสรร และสถานที่เอกชนซึ่งมักมีการปิดกั้นหรือควบคุมทางเข้าออก.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ถนนเยาวราชและรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร

ถนนเยาวราชและรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร มี 11 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กรุงเทพมหานครวงเวียนโอเดียนถนนมหาไชยถนนราชวงศ์ถนนสาทรถนนจักรวรรดิ์ถนนจักรเพชรถนนข้าวสารถนนเจริญกรุงเขตพระนครเขตสัมพันธวงศ์

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

กรุงเทพมหานครและถนนเยาวราช · กรุงเทพมหานครและรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

วงเวียนโอเดียน

วงเวียนโอเดียน เป็นวงเวียนตั้งอยู่บริเวณหัวถนนเยาวราช เป็นจุดตัดของถนนเจริญกรุง, ถนนเยาวราช และถนนมิตรภาพไทย-จีน อยู่ในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นวงเวียนที่มีประวัติความเป็นมาคู่กับถนนเยาวราช เคยเป็นศูนย์รวมสถานบันเทิง เดิมเป็นวงเวียนน้ำพุ เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน ปัจจุบันปรับปรุงเป็นที่ตั้งของ ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบพระชนมพรรษา ร้านค้าในย่านนี้ เรียกว่า ร้านค้าย่านโอเดียน เป็นย่านเก่าแก่เป็นที่มาของชื่อ เซียงกง แหล่งเครื่องยนต์มือสอง และอะไหล่มือสองจากญี่ปุ่นยุคแรก ปัจจุบัน ยังมีร้านค้าเหล่านี้อยู่บ้าง เช่น ร้านค้าอะไหล่รถยนต์ อะไหล่แทรกเตอร์ ร้านค้าโลหะ และร้านค้าเครื่องเรือ.

ถนนเยาวราชและวงเวียนโอเดียน · รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและวงเวียนโอเดียน · ดูเพิ่มเติม »

ถนนมหาไชย

นนมหาไชยช่วงใกล้กับสามแยกเรือนจำ ถนนมหาไชย (Thanon Maha Chai) เป็นถนนสายหนึ่งในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากถนนราชดำเนินกลางที่สี่แยกป้อมมหากาฬ ในท้องที่แขวงวัดบวรนิเวศ ไปทางทิศใต้ ข้ามคลองหลอดวัดราชนัดดาเข้าสู่ท้องที่แขวงสำราญราษฎร์ ผ่านวัดเทพธิดาราม ตัดกับถนนบำรุงเมือง (สี่แยกสำราญราษฎร์) และถนนหลวง (สามแยกเรือนจำ) ข้ามคลองหลอดวัดราชบพิธเข้าสู่ท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ ตัดกับถนนเจริญกรุง (สี่แยกสามยอด) จนกระทั่งไปบรรจบกับถนนพีระพงษ์ ถนนเยาวราช และถนนจักรเพชร (สี่แยกวังบูรพา) ถนนมหาไชยเป็นถนนที่ได้นามมาจากชื่อป้อมปราการที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อทรงสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานี นับเป็น 1 ใน 14 ป้อมปราการที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ต่อมาเมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้นความจำเป็นในการมีป้อมปราการไว้ป้องกันพระนครก็หมดไป ป้อมมหาไชยจึงถูกรื้อถอน และปัจจุบันชื่อป้อมมหาไชยได้กลายมาเป็นชื่อถนนมหาไชย เนื่องจากเป็นถนนที่ตัดผ่านบริเวณที่เป็นป้อมมห.

ถนนมหาไชยและถนนเยาวราช · ถนนมหาไชยและรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

ถนนราชวงศ์

นนราชวงศ์ช่วงมาจากท่าน้ำราชวงศ์ (หน้าตลาดสำเพ็ง) ถนนราชวงศ์ช่วงจากแยกเสือป่ามุ่งหน้าแยกราชวงศ์ ถนนราชวงศ์ (Thanon Ratchawong) เป็นถนนในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร มีระยะทางต่อมาจากถนนเสือป่าในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย โดยเริ่มต้นตั้งแต่ถนนเจริญกรุงที่สี่แยกเสือป่า ท้องที่แขวงสัมพันธวงศ์ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตัดถนนเยาวราชที่สี่แยกราชวงศ์ เข้าสู่ท้องที่แขวงจักรวรรดิ์ จากนั้นหักลงทิศใต้เล็กน้อย และตรงไปจนสิ้นสุดถนนที่ท่าราชวงศ์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีความยาวประมาณ 600 เมตร ถนนราชวงศ์ เป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตัดขึ้น นับเป็นถนนที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการค้า เนื่องจากสมัยนั้นท่าราชวงศ์เป็นท่าเรือสินค้าภายในประเทศ มีเรือบรรทุกคนโดยสารและสินค้าไปจันทบุรี, ชลบุรี และบ้านดอน (สุราษฎร์ธานี) ถนนราชวงศ์จึงมีสำนักงานร้านค้าของพ่อค้าจีน, แขก และฝรั่งตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ถนนราชวงศ์ และย่านสี่แยกราชวงศ์ในปลายพุทธทศวรรษ 2450 ต่อต้นพุทธทศวรรษ 2460 และจนถึงพุทธทศวรรษ 2470 เป็นแหล่งที่ตั้งของร้านอาหารหรือภัตตาคารระดับสูงจำนวนมากหลายแห่ง เพื่อรองรับพระบรมวงศานุวงศ์, ชนชั้นสูงหรือชนชั้นกลางระดับสูงสำหรับการรับประทานอาหารนอกบ้านหรือสังสรรค์กันในช่วงมื้อค่ำ เช่นเดียวกับแหล่งการค้ากับชาวต่างชาติอื่น ๆ เช่น สี่กั๊กพระยาศรี ในย่านถนนเจริญกรุง, ถนนสี่พระยา, ถนนสุรวงศ์ ในย่านบางรัก เป็นต้น ในช่วงต้นปี..

ถนนราชวงศ์และถนนเยาวราช · ถนนราชวงศ์และรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

ถนนสาทร

นนสาทร ถนนสาทร (Thanon Sathon) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ในพื้นที่เขตสาทรและเขตบางรัก.

ถนนสาทรและถนนเยาวราช · ถนนสาทรและรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

ถนนจักรวรรดิ์

นนจักรวรรดิ์ช่วงแยกวัดตึก ถนนจักรวรรดิ์ (Thanon Chakkrawat) เป็นถนนสายหนึ่งในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เริ่มจากถนนเจริญกรุงที่สี่แยกเอส. เอ. บี. (ตรงข้ามถนนวรจักรในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย) ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านท้องที่แขวงสัมพันธวงศ์ จากนั้นตัดผ่านถนนเยาวราชที่สี่แยกวัดตึก เข้าสู่ท้องที่แขวงจักรวรรดิ สิ้นสุดที่ถนนจักรเพชร สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใน พ.ศ. 2436 เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมืองและเป็นประโยชน์แก่ราษฎร จะได้ใช้เดินทางไปมาค้าขายและใช้รถม้าได้โดยสะดวก และพระราชทานชื่อถนนตามชื่อวัดจักรวรรดิราชาวาสวรมหาวิหาร (วัดสามปลื้ม) ซึ่งถนนนี้ตัดผ่าน ปรากฏในเอกสารการก่อสร้างถนนจักรวรรดิ์ว่า แต่เดิมนั้นกำหนดให้ตัดถนนจักรวรรดิ์ไปจดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งบ้านเรือนของพระยาอนุชิตชาญไชย แต่ครั้งแรกพระอนุชิตชาญไชยไม่เต็มใจ และได้กราบบังคมทูลไม่ตกลงใจเด็ดขาด โดยขออย่าให้ถนนตัดผ่านบ้านเรือนที่อยู่อาศัย กระทรวงนครบาลจึงแก้ไขแนวถนน ให้ตัดผ่านบ้านของหลวงไมตรีวานิชและบ้านของพระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง ซึ่งทำให้แนวถนนต้องอ้อมมาก ต่อมาพระยาอนุชิตชาญไชยได้กราบบังคมทูลว่า ยินดีให้ตัดถนนผ่านที่ดินได้ แต่พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงนเรศร์วรฤทธิ์กราบบังคมทูลว่า การแก้แนวถนนจักรวรรดิ์ให้ไปลงในที่ดินของพระอินทราธิบดีนั้น เจ้าของเต็มใจออกเงินค่าทำถนน และยังซื้อที่ดินผู้อื่นที่ถนนต้องตัดผ่านทั้งหมดถวายด้วย รัฐบาลไม่ต้องเสียเงินค่าทำถนนอีก นอกจากนี้ กรมหลวงนเรศร์วรฤทธิ์ทรงไม่แน่พระทัยว่า พระยาอนุชิตชาญไชยซึ่งไม่เต็มใจแต่แรกนั้นจะยอมเสียเงินค่าทำถนนด้วยหรือไม่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า ให้สร้างถนนจักรวรรดิ์ตามแนวที่แก้ไขใหม่ เพราะเป็นทางที่รัฐบาลได้ประโยชน์ แนวถนนจักรวรรดิ์จึงไปสุดริมแม่น้ำเจ้าพระยาในที่ดินที่เป็นที่ตั้งบ้านเรือนของพระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมือง.

ถนนจักรวรรดิ์และถนนเยาวราช · ถนนจักรวรรดิ์และรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

ถนนจักรเพชร

นนจักรเพชร (Thanon Chak Phet) เป็นถนนในท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เริ่มจากถนนเยาวราชตรงข้ามกับถนนมหาไชย ตามแนวขนานคลองรอบกรุง (คลองโอ่งอ่าง) แยกเลี้ยวตรงไปปากคลองตลาด ช่วงหัวเลี้ยวเป็นเชิงสะพานพระปกเกล้า ตัดผ่านถนนตรีเพชร ผ่านปลายถนนบ้านหม้อถึงเชิงสะพานเจริญรัช 31 มีความยาวทั้งสิ้น 1,120 เมตร ถนนจักรเพชรสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2441 โปรดเกล้าฯ ให้กรมโยธาธิการก่อสร้างถนนมีทางเดินสองข้างจากป้อมจักรเพชร หน้าวัดราชบุรณราชวรวิหาร (วัดเลียบ) ไปถึงปากคลองตลาด ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนต่ออีกช่วงหนึ่ง จากถนนเยาวราชมาตามแนวถนนกับกำแพงพระนครจนถึงป้อมจักรเพชร แล้วพระราชทานชื่อว่า "ถนนจักรเพชร" ตามชื่อป้อมจักรเพชรที่ถนนสายนี้ตัดผ่าน ทั้งนี้บริเวณรอบ ๆ ถนนจักรเพชรยังมีสิ่งก่อสร้างที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และมีความเก่าแก่สวยงามหลายแห่ง เช่น พระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ณ เชิงสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ หรือสะพานพุทธ, อาคารพาณิชย์ตามแนวปากคลองตลาด เป็นต้น.

ถนนจักรเพชรและถนนเยาวราช · ถนนจักรเพชรและรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

ถนนข้าวสาร

นนข้าวสาร ถนนข้าวสาร (Thanon Khao San) เป็นถนนในท้องที่แขวงตลาดยอด เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีระยะทางเริ่มตั้งแต่ถนนจักรพงษ์หน้าวัดชนะสงคราม ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงถนนตะนาวใกล้สี่แยกคอกวัว.

ถนนข้าวสารและถนนเยาวราช · ถนนข้าวสารและรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเจริญกรุง

นนเจริญกรุงในสมัยรัชกาลที่ 5 ถนนเจริญกรุงในกลางปี พ.ศ. 2559 ช่วงเชิงสะพานพิทยเสถียร (สะพานเหล็กล่าง) ย่านตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ ถนนเจริญกรุง (Thanon Charoen Krung) ถนนสายสำคัญสายหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นตั้งแต่ถนนสนามไชยบริเวณวงเวียน รด. หน้าหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน สิ้นสุดที่แม่น้ำเจ้าพระยาที่ถนนตก บริเวณโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ และการไฟฟ้านครหลวง เขตยานวานา เป็นถนนรุ่นแรกที่ใช้เทคนิคการสร้างแบบตะวันตก ผ่านพื้นที่เขตพระนคร, เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย, เขตสัมพันธวงศ์, เขตบางรัก, เขตสาทร และเขตบางคอแหลม และเป็นเส้นแบ่งของเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย (ด้านซ้าย) กับเขตสัมพันธวงศ์ (ด้านขวา) ตั้งแต่ช่วงคลองถมไปจนถึงบริเวณแยกหมอมี ถนนเจริญกรุงเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2405 แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2407 มีความยาวจากถนนสนามไชยถึงดาวคะนอง 8,575 เมตร การก่อสร้างถนนเจริญกรุงนั้นเนื่องจากในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีชาวต่างประเทศเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ มากขึ้น และมีพวกกงสุลได้เข้าชื่อกันขอให้สร้างถนนสายยาวสำหรับขี่ม้าหรือนั่งรถม้าตากอากาศและอ้างว่า “เข้ามาอยู่ที่กรุงเทพมหานครไม่มีถนนหนทางที่จะขี่รถม้าไปเที่ยว พากันเจ็บไข้เนือง ๆ” ในปีระกา พ.ศ. 2404 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค ต่อมาคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ที่สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กอง พระยาอินทราธิบดีสีหราชรองเมืองเป็นนายงาน รับผิดชอบในการก่อสร้างถนนช่วงตั้งแต่คูเมืองชั้นในถึงถนนตกริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตำบลบางคอแหลม เรียกว่าถนนเจริญกรุงตอนใต้ (แต่ชาวบ้านมักเรียกว่าเจริญกรุงตอนล่าง) กว้าง 5 วา 4 ศอก (ประมาณ 10 เมตร หรือเทียบได้กับถนน 4 เลน) โดยมีนายเฮนรี อาลาบาศเตอร์ (ต้นสกุลเศวตศิลา) เป็นผู้สำรวจแนวถนนและเขียนแผนผังถนน และในปีจอ พ.ศ. 2405 โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยายมราช (ครุฑ) เป็นแม่กอง พระยาบรรหารบริรักษ์ (สุ่น) เป็นนายงาน รับผิดชอบการก่อสร้างถนนเจริญกรุงตอนใน คือช่วงระยะทางตั้งแต่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) ถึงสะพานดำรงสถิต (สะพานเหล็กบน) กว้าง 4 วา โดยสร้างเป็นถนนดินอัด เอาอิฐเรียงตะแคงปูให้ชิดกัน ตรงกลางนูนสูง เมื่อถูกฝนไม่กี่ปีก็ชำรุด การก่อสร้างถนนเจริญกรุงตอนในนี้เดิมกำหนดให้ตัดตรงจากสะพานดำรงสถิต ถึงกำแพงเมืองด้านถนนสนามไชย แต่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทักท้วงว่าการสร้างถนนตรงมาสู่พระบรมมหาราชวังอาจเป็นชัยภูมิให้ข้าศึกใช้ตั้งปืนใหญ่ยิงทำลายกำแพงเมืองได้ จึงต้องเปลี่ยนแนวถนนมาหักมุมเลี้ยวตรงเชิงสะพานดำรงสถิต เมื่อสร้างถนนเจริญกรุงเสร็จใหม่ ๆ นั้น ยังไม่ได้พระราชทานนาม จึงเรียกกันทั่วไปว่า ถนนใหม่ และชาวยุโรปเรียกว่า นิวโรด (New Road) ชาวจีนเรียกตามสำเนียงแต้จิ๋วว่า ซิงพะโล่ว (新打路) แปลว่าถนนตัดใหม่ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามถนนว่า "ถนนเจริญกรุง" ซึ่งมีความหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง เช่นเดียวกับชื่อถนนบำรุงเมืองและถนนเฟื่องนคร ที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในคราวเดียวกัน.

ถนนเจริญกรุงและถนนเยาวราช · ถนนเจริญกรุงและรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

เขตพระนคร

ตพระนคร เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งพระนคร เนื่องจากมีสถานที่สำคัญทั้งทางด้านวัฒนธรรมและด้านการเมืองการปกครองตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเขตพระนครเป็นที่ตั้งของเกาะรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน.

ถนนเยาวราชและเขตพระนคร · รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตพระนคร · ดูเพิ่มเติม »

เขตสัมพันธวงศ์

ตสัมพันธวงศ์ เป็นเขตที่เล็กที่สุดของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง สภาพพื้นที่ประกอบไปด้วยแหล่งการค้าหนาแน่นและแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม.

ถนนเยาวราชและเขตสัมพันธวงศ์ · รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานครและเขตสัมพันธวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ถนนเยาวราชและรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร

ถนนเยาวราช มี 122 ความสัมพันธ์ขณะที่ รายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร มี 317 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 11, ดัชนี Jaccard คือ 2.51% = 11 / (122 + 317)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ถนนเยาวราชและรายชื่อถนนในกรุงเทพมหานคร หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »