โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ถนนเพชรเกษมและอำเภอเมืองเพชรบุรี

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ถนนเพชรเกษมและอำเภอเมืองเพชรบุรี

ถนนเพชรเกษม vs. อำเภอเมืองเพชรบุรี

นนเพชรเกษม (Thanon Phet Kasem) ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 สายกรุงเทพมหานคร–จุดผ่านแดนถาวรสะเดา (เขตแดนไทย/มาเลเซีย) เป็นทางหลวงแผ่นดินสายประธานของประเทศไทย ที่มีเส้นทางมุ่งสู่ภาคใต้ของประเทศไทย มีระยะทาง 1277.512 กิโลเมตร นับเป็นทางหลวงหรือถนนสายที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ถนนเพชรเกษมมีเส้นทางเริ่มต้นที่สะพานเนาวจำเนียร (ข้ามคลองบางกอกใหญ่) ตั้งอยู่บนเส้นแบ่งการปกครองระหว่างเขตบางกอกใหญ่กับเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร สิ้นสุดที่จุดผ่านแดนถาวรสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา บริเวณเขตแดนประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย เชื่อมต่อกับทางด่วนเหนือ–ใต้ สายเหนือ ที่เมืองบูกิตกายูฮีตัม รัฐเกดะห์ ประเทศมาเลเซีย บางช่วงของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 2 และทางหลวงเอเชียสาย 123. อำเภอเมืองเพชรบุรี เป็นอำเภอศูนย์กลางการปกครองการบริหาร เศรษฐกิจ และการศึกษาของจังหวัดเพชรบุรี มีอาณาบริเวณเป็นที่ราบ มีภูเขาหินปูนโดดบ้างเล็กน้อย มีชายหาดที่ขึ้นชื่อคือ "หาดเจ้าสำราญ" มีแม่น้ำซึ่งเป็นที่ตั้งของชุมชนคนเมืองเพชรบุรีมาแต่สมัยโบราณไหลผ่านกลางอำเภอ นั่นคือ "แม่น้ำเพชร" และหากมองจากเขตเทศบาล จะปรากฏ "เขาวัง" หรือ "พระนครคีรี" ตั้งตระหง่านบนยอดเขาสามลูก อีกทั้งยังมีพระปรางค์ 5 ยอด อันเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองในสมัยโบราณด้ว.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ถนนเพชรเกษมและอำเภอเมืองเพชรบุรี

ถนนเพชรเกษมและอำเภอเมืองเพชรบุรี มี 6 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): หาดเจ้าสำราญอำเภอบ้านลาดอำเภอท่ายางอุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรีจังหวัดเพชรบุรีแม่น้ำเพชรบุรี

หาดเจ้าสำราญ

หาดเจ้าสำราญ ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองเพชรบุรี ประมาณ 15 กิโลเมตร เป็นชายหาด ที่เคยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ มาแต่สมัยโบราณ มีประวัติเล่ากันมาว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เคยเสด็จมาที่นี่ พร้อมด้วยสมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงพอพระราชหฤทัย ในความงามของหาดนี้มาก ทรงประทับแรมอยู่หลายวัน จน ชาวบ้าน เรียกหาดนี้ว่า หาดเจ้าสำราญ จากหาดเจ้าสำราญ ไปทางใต้ประมาณ 7 กิโลเมตร เป็นชายหาดปึกเตียน ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยว อีกแห่งของจังหวัดเพชรบุรี หาดเจ้าสำราญเจริญถึงขีดสุดในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ซึ่งเป็นหาดที่มีชื่อเสียงมากกว่าหาดอื่นๆในสมัยนั้น โดยโปรดเกล้าให้สร้างค่ายหลวงขึ้นเรียกว่า "ค่ายหลวงบางทะลุ" ตามชื่อของตำบลบางทะลุ ที่เป็นที่ตั้งโดยมี "พระตำหนักบริเวณริมหาดแห่งนี้เรียกว่า “พระตำหนักหาดเจ้าสำราญ” ภายหลังทรงหายจากพระประชวร ทรงได้เปลี่ยนชื่อตำบลเสียใหม่ ด้วยชื่อเดิมเห็นว่าไม่เป็นมงคล เป็น ตำบลหาดเจ้าสำราญ ตามชื่อของหาดแต่ต่อมาทรงได้ย้ายพระตำหนักไปยังจุดที่เป็น พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ในปัจจุบันเพราะหาดเจ้า สำราญมีแมลงวันชุมเนื่องจากพระตำหนักแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้หมู่บ้านชาวประมงทำให้พระตำหนักแห่งนี้มีแมลงวันชุมจนพระองค์แอบได้ยินข้าราชบริพารในพระองค์ บ่นว่า "หาดเจ้าสำราญแต่ข้าราชบริพารเบื่อ" และหาดแห่งนี้ขาดแคลนน้ำจืดจึงโปรดให้ย้ายไปในที่สุด หาดเจ้าสำราญ ตั้งอยู่ในตำบลหาดเจ้าสำราญ อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ชายหาดแห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าไปพักผ่อนแห่งหนึ่ง มีบรรยากาศที่เงียบสงบ อากาศเย็นสบาย มีสัตว์ทะเลที่อุดมสมบูรณ์ ทั้ง ปูเสฉวน หอย แมงกะพรุน มีที่พักพร้อม มีร้านสะดวกซื้ออยู่ใกล้เคียง สามารถลงเล่นน้ำได้ ในบริเวณใกล้เคียงมีหมู่บ้านชาวประมง ชายหาดแห่งนี้ทรายถูกพัดถมขึ้นมามากขึ้นเรื่อยๆ จึงมีทรายที่ละเอียดมากในส่วนของต้นหาด ที่นี่จึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ไม่ต้องไปไกลมาก และมีความสวยงามมากแห่งหนึ่ง.

ถนนเพชรเกษมและหาดเจ้าสำราญ · หาดเจ้าสำราญและอำเภอเมืองเพชรบุรี · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอบ้านลาด

อำเภอบ้านลาด เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเพชรบุรี ในอดีตเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอเมืองเพชรบุรี ภายหลังได้แยกท้องที่ตั่งเป็นอำเภอ ชื่อ อำเภอท่าช้าง ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น อำเภอบ้านล.

ถนนเพชรเกษมและอำเภอบ้านลาด · อำเภอบ้านลาดและอำเภอเมืองเพชรบุรี · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอท่ายาง

ท่ายาง เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเพชรบุรี ประชากรประมาณร้อยละ 80 เป็นเกษตรกร มีอาชีพปลูกพืช ผลผลิตหลักได้แก่ ข้าว กล้วยหอมทอง กล้วยไข่ กล้วยน้ำว้า มะนาว ชมพู่ อ้อย มะม่วง ถั่ว และมะพร้าว.

ถนนเพชรเกษมและอำเภอท่ายาง · อำเภอท่ายางและอำเภอเมืองเพชรบุรี · ดูเพิ่มเติม »

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี เป็นพระราชวังฤดูร้อนที่สร้างขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี.

ถนนเพชรเกษมและอุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี · อำเภอเมืองเพชรบุรีและอุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดเพชรบุรี

ังหวัดเพชรบุรี (/เพ็ดชะบุรี/; เดิมสะกดว่า เพ็ชร์บุรี) เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคตะวันตก (บ้างก็จัดอยู่ในภาคกลางตอนล่าง ด้านของการพยากรณ์อากาศจัดอยู่ภาคใต้ตอนบน) มีภูมิประเทศทั้งเป็นที่สูงติดเทือกเขาและที่ราบชายฝั่งทะเล มักเรียกชื่อสั้น ๆ ว่า เมืองเพชร เดิมเรียก พริบพรี และจากหลักฐานในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ปรากฏชื่อว่า ศรีชัยวัชรปุระ จังหวัดเพชรบุรีมีชื่อเสียงในฐานะแหล่งผลิตน้ำตาล เนื่องจากมีต้นตาลหนาแน่น เป็นเมืองเก่าแก่ มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เพชรบุรีเป็นเมืองที่เคยรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยโบราณและเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญของไทยในกลุ่มหัวเมืองฝ่ายตะวันตก ปัจจุบันมีวัดเก่าแก่และบ้านเรือนทรงไทยจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีคำพูดติดปากว่า นักเลงเมืองเพชร ปัจจุบันเพชรบุรีเป็นเมืองด่านสำคัญระหว่างภาคกลางและภาคใต้ และยังเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น หาดชะอำ หาดปึกเตียน หาดเจ้าสำราญ แหลมหลวง แหลมเหลว และเขื่อนแก่งกระจาน.

จังหวัดเพชรบุรีและถนนเพชรเกษม · จังหวัดเพชรบุรีและอำเภอเมืองเพชรบุรี · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเพชรบุรี

แม่น้ำเพชรบุรี ต้นน้ำจากเทือกเขาสูงชันทางด้านตะวันตกของจังหวัดเพชรบุรี ไหลผ่านอำเภอแก่งกระจาน อำเภอท่ายาง อำเภอบ้านลาด อำเภอเมือง ลงสู่อ่าวไทย ที่อำเภอบ้านแหลม มีความยาว 210 กิโลเมตร เป็นแม่น้ำที่มีความสำคัญของจังหวัด ซึ่งเมื่อมาถึงอำเภอบ้านแหลม แม่น้ำจะแยกออกเป็นสองสาย สายหนึ่งออกสู่อ่าวไทยที่ตำบลบ้านแหลม อีกสายไหลไปทางทิศเหนืออกสู่อ่าวไทยที่ตำบลบางตะบูน เรียกว่า แม่น้ำบางตะบูน เพชรบุรีตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน พื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่ของจังหวัดเพชรบุรีจะอยู่ตามบริเวณสองฟากฝั่งของแม่น้ำนี้ แม่น้ำเพชรบุรีส่งตะกอนมาตกสะสมเกิดเป็นที่งอกและดินดอนชายฝั่ง มีปริมาณตะกอน 46 ตัน/ตารางกิโลเมตร.

ถนนเพชรเกษมและแม่น้ำเพชรบุรี · อำเภอเมืองเพชรบุรีและแม่น้ำเพชรบุรี · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ถนนเพชรเกษมและอำเภอเมืองเพชรบุรี

ถนนเพชรเกษม มี 168 ความสัมพันธ์ขณะที่ อำเภอเมืองเพชรบุรี มี 20 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 6, ดัชนี Jaccard คือ 3.19% = 6 / (168 + 20)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ถนนเพชรเกษมและอำเภอเมืองเพชรบุรี หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »