โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ถนนอรุณอมรินทร์

ดัชนี ถนนอรุณอมรินทร์

นนอรุณอมรินทร์ ถนนอรุณอมรินทร์ (Thanon Arun Ammarin) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งในฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร.

51 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2472พ.ศ. 2473พ.ศ. 2509พ.ศ. 2536พ.ศ. 2541พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชวังเดิมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธีกรมอู่ทหารเรือกรุงเทพมหานครกองทัพเรือราชนาวิกสภารายชื่อเขตของกรุงเทพมหานครวัดพิชยญาติการามวรวิหารวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหารวัดอมรินทรารามวรวิหารวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารวัดเครือวัลย์วรวิหารวงเวียนเล็กสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค)สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค)สะพานพระพุทธยอดฟ้าสะพานพระราม 8สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าหอประชุมกองทัพเรือจังหวัดพระนครจังหวัดธนบุรีถนนลาดหญ้าถนนวังหลังถนนวังเดิมถนนวิสุทธิกษัตริย์ถนนสมเด็จเจ้าพระยาถนนประชาธิปกทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนีคลองบางกอกน้อยคลองบางกอกใหญ่คลองมอญแม่น้ำเจ้าพระยาแยกบ้านขมิ้นแยกศิริราชแขวงอรุณอมรินทร์โรงพยาบาลศิริราชโรงเรียนศึกษานารีเขตบางพลัดเขตบางกอกน้อยเขตบางกอกใหญ่เขตธนบุรี...เขตคลองสาน ขยายดัชนี (1 มากกว่า) »

พ.ศ. 2472

ทธศักราช 2472 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1929 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคาร ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และพ.ศ. 2472 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2473

ทธศักราช 2473 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1930 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และพ.ศ. 2473 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2509

ทธศักราช 2509 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1966 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และพ.ศ. 2509 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2536

ทธศักราช 2536 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1993 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และพ.ศ. 2536 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2541

ทธศักราช 2541 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1998 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และพ.ศ. 2541 · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

ระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พระราชสมภพ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 — สวรรคต 7 กันยายน พ.ศ. 2352) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 1 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ เดือน 4 แรม 5 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา 3 ยาม ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม..

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 — 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 7 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง เวลา 12.25 น. หรือตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังเดิม

ท้องพระโรง พระราชวังกรุงธนบุรี (วังเดิม) พระราชวังกรุงธนบุรี หรือ พระราชวังเดิม เป็นพระราชวังหลวงในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ ในเขตที่เคยเป็นที่ตั้งของป้อมวิไชยเยนทร์ ที่สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตำแหน่งของพระราชวังเดิมเป็นจุดสำคัญทางยุทธศาสตร์ สามารถสังเกตการณ์ได้ในระยะไกล อีกทั้งยังใกล้กับเส้นทางคมนาคม และเส้นทางการเดินทัพที่สำคัญ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทรงโปรดให้สร้างพระราชวังนี้ขึ้นในปี พ.ศ. 2310 ภายหลังจากที่ทรงกอบกู้เอกราชให้ชาติไทย เพื่อใช้เป็นที่ประทับและว่าราชการ เมื่อทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี พร้อมกับปรับปรุงป้อมวิไชยเยนทร์ และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นป้อมวิไชยประสิทธิ์ เดิมพระราชวังแห่งนี้มีอาณาเขต ตั้งแต่ป้อมวิไชยประสิทธิ์ขึ้นมาจนถึงคลองเหนือวัดอรุณราชวราราม (คลองนครบาล) โดยรวมวัดแจ้ง (วัดอรุณราชวราราม) และวัดท้ายตลาด (วัดโมลีโลกยาราม) เข้าไปในเขตพระราชวังเดิม ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติ ได้ทรงย้ายราชธานีมาอยู่ฝั่งพระนคร โดยสร้างพระบรมมหาราชวังขึ้นเป็นที่ประทับ พระราชวังกรุงธนบุรี (พระราชวังเดิม) จึงได้ชื่อว่า "พระราชวังเดิม" ตั้งแต่บัดนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงกำหนดเขตวังให้แคบกว่าเดิม โดยให้วัดทั้งสองที่กล่าวแล้วคือ วัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) และวัดโมลีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) อยู่ภายนอกพระราชวัง และ นอกจากนี้ทรงแต่งตั้งพระราชวงศ์ชั้นสูงที่ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยมาประทับที่นี่ อันเนื่องจากเห็นว่าพระราชวังนี้มีความสำคัญทางด้านทำเลที่ตั้ง ได้แก.

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และพระราชวังเดิม · ดูเพิ่มเติม »

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี

้านหน้า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ตั้งอยู่บริเวณปากคลองบางกอกน้อย เขตบางกอกน้อย ภายในพิพิธภัณฑ์ฯ จัดแสดงเรือพระราชพิธีสำคัญ 8 ลำ ได้แก่ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เรือครุฑเหินเห็จ เรือกระบี่ปราบเมืองมาร เรืออสุรวายุภักษ์ และเรือเอกไชยเหินหาว นอกจากเรือพระที่นั่งและเรือต่าง ๆ ที่ใช้ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคที่จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ฯ แล้ว ยังมีเครื่องประกอบและสิ่งของเครื่องใช้ในพระราชพิธีต่าง ๆ จัดแสดงอยู่ด้วย เช่น บัลลังก์บุษบก บัลลังก์กัญญา พายชนิดต่าง ๆ และเครื่องแต่งกายของเหล่าฝีพาย เดิมเป็นอู่หรือโรงเก็บเรือพระราชพิธี โดยมีสำนักพระราชวังและกองทัพเรือควบคุมดูแล เมื่อคราวสงครามโลกครั้งที่ 2 อู่และเรือพระราชพิธีบางส่วนถูกระเบิดได้รับความเสียหาย และอยู่ในสภาพทรุดโทรมต่อมาอีกหลายปี ในปี พ.ศ. 2490 สำนักพระราชวังและกองทัพเรือได้มอบหมายให้กรมศิลปากรบูรณะซ่อมแซมเรือพระที่นั่งและเรือเก่าที่ใช้ในพระราชพิธี ซึ่งล้วนแต่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ความงดงามทางศิลปกรรม ในปี พ.ศ. 2517 กรมศิลปากรได้ขอขึ้นทะเบียนเรือพระที่นั่งต่าง ๆ ให้เป็นมรดกของชาติ พร้อมกับยกฐานะของอู่เรือหลวงขึ้นเป็น “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี”.

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี · ดูเพิ่มเติม »

กรมอู่ทหารเรือ

ตราราขการกรมอู่ทหารเรือ กรมอู่ทหารเรือ ภาพกรมอู่ทหารเรือจากแม่น้ำเจ้าพระยา กรมอู่ทหารเรือ เดิมชื่อ "อู่เรือหลวง" มีหน้าที่ซ่อมสร้างเรือมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นได้เริ่มมีเรือกลไฟใช้แล้ว ต่อมามีเรือมากขึ้นและเรือมีขนาดใหญ่ขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดฯ ให้สร้างอู่ไม้ขนาดใหญ่ เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2433 ซึ่งถือเป็นวันสถาปนากรมอู่ทหารเรือ นับได้ว่าเป็นหน่วยงานทางช่างลำดับต้น ๆ ของประเทศ กรมอู่ทหารเรือซึ่งเดิมตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามพระบรมมหาราชวัง เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันได้ย้ายที่ตั้งกองบังคับการ กรมอู่ทหารเรือ ไปอยู่ในพื้นที่อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช สัตหีบ ชลบุรี เจ้ากรมอู่ทหารเรือคนปัจจุบันได้แก่ พล.ร.ท.มิ่ง อิ่มวิท.

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และกรมอู่ทหารเรือ · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพเรือ

กองทัพเรือ หมายถึง กองกำลังทางทหารที่ปฏิบัติการทางน้ำ และมีหน้าที่ป้องกันประเทศทั้งในลำน้ำและในท้องทะเลหลวง กิจการของกองทัพเรือนั้นได้รวมเอาทั้งกิจการนาวิกโยธินซึ่งเป็นทหารเรือฝ่ายบก และกิจการการป้องกันชายฝั่งด้วย ในประเทศที่มีขนาดใหญ่มาก เช่น สหรัฐอเมริกา จะแยกกิจการเหล่านี้เป็นเหล่าทัพย่อยต่างหากเพื่อให้เกิดความสะดวกในการบริหารจัดการองค์กร.

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และกองทัพเรือ · ดูเพิ่มเติม »

ราชนาวิกสภา

รื่องหมายราชการของราชนาวิกสภา ราชนาวิกสภาเป็นหน่วยขึ้นตรงกองบัญชาการกรมยุทธศึกษาทหารเรือ มีหน้าที่อยู่ 2 ประการ คือ กิจการ และ สำหรับการบริหารงานของราชนาวิกสภานั้น กองทัพเรือได้แต่งตั้ง โดยคณะกรรมการนี้ประกอบด้วยนายกกรรมการ 1 ท่าน รองกรรมการ 1 ท่าน และกรรมการอีก 7 ท่าน.

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และราชนาวิกสภา · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อเขตของกรุงเทพมหานคร

ต (district หรือ khet) เป็นชื่อเรียกหน่วยการปกครองทางมหาดไทย อยู่ระดับเดียวกับอำเภอซึ่งอยู่รองจากจังหวัด แต่ใช้เฉพาะในกรุงเทพมหานครซึ่งไม่มีสถานะเป็นจังหวัด ในแต่ละเขตแบ่งออกเป็นแขวง.

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และรายชื่อเขตของกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

วัดพิชยญาติการามวรวิหาร

ระปรางค์วัดพิชยญาติการามวรวิหาร ภายในพระอุโบสถ วัดพิชัยญาติการามวรวิหาร รอยพระบาท 4 พระองค์ วัดพิชัยญาติการาม หรือ วัดพิชัยญาติ เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่เชิงสะพานพุทธ บริเวณที่เดิมเรียกว่าวงเวียนเล็ก ในแขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน ตั้งอยู่ริมคลองบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน เดิมเป็นวัดร้าง แต่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) ครั้งมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาศรีพิพัฒน์ราชโกษา ได้ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ประมาณ..

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และวัดพิชยญาติการามวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร

วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร หรือ วัดระฆัง, วัดหลวงพ่อโต ตั้งอยู่เลขที่ 250 แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรมหาวิหาร อยู่ในเขตการปกครองคณะสงฆ์มหานิกายภาค 1 วัดแห่งนี้เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา เดิมชื่อ วัดบางว้าใหญ่ (หรือบางหว้าใหญ่) ในสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสร้างพระราชวังใกล้วัดบางว้าใหญ่ โปรดเกล้าฯ ให้ยกเป็นพระอารามหลวงและเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช วัดบางว้าใหญ่อยู่ในพระอุปถัมภ์ของเจ้านายวังหลัง คือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี (สา) พระเชษฐภคินีของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและเป็นพระชนนีของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ทรงมีตำหนักที่ประทับอยู่ติดกับวัด ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดร่วมกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และได้ขุดพบระฆังลูกหนึ่ง ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้นำไปไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยทรงสร้างระฆังชดเชยให้วัดบางว้าใหญ่ 5 ลูก จากนั้นได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดระฆังโฆสิตาราม” นอกจากเป็นเพราะขุดพบระฆังที่วัดนี้และเพื่อฟื้นฟูแบบแผนครั้งกรุงศรีอยุธยาที่มีวัดชื่อวัดระฆังเช่นกัน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อ “วัดระฆังโฆสิตาราม” เป็น “วัดราชคัณฑิยาราม” (คัณฑิ แปลว่าระฆัง) แต่ไม่มีคนนิยมเรียกชื่อนี้ ยังคงเรียกว่าวัดระฆังต่อมา วัดระฆังโฆสิตารามมีหอพระไตรปิฎกซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่สวยงามมาก เคยเป็นพระตำหนักและหอประทับนั่งของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชขณะทรงรับราชการในสมัยธนบุรี และโปรดเกล้าฯ ให้รื้อมาถวายวัด เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว มีพระราชประสงค์จะบูรณปฏิสังขรณ์ให้สวยงามเพื่อเป็นหอพระไตรปิฎก.

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดอมรินทรารามวรวิหาร

วัดอมรินทรารามวรวิหาร หรือชื่อเดิมว่า วัดบางหว้าน้อย ตั้งอยู่เลขที่ 566 แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดราชวรวิหาร ต่อมาถูกจัดเป็นชั้นตรีชนิดวรวิหาร ตามประกาศลงวันที่ 30 กันยายน..

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และวัดอมรินทรารามวรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

วัดอรุณราชวราราม หรือที่นิยมเรียกกันในภาษาพูดว่า วัดแจ้ง หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า วัดอรุณ เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา ที่ชื่อวัดแจ้ง เพราะ พระเจ้าตากฯ ทำศึกเสร็จ แล้วยกทัพกลับมาเป็นเวลาเช้าพอดี ว่ากันว่าเดิมเรียกว่า วัดมะกอก และกลายเป็นวัดมะกอกนอกในเวลาต่อมา เพราะได้มีการสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งในตำบลเดียวกัน แต่อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ชาวบ้านเรียกวัดที่สร้างใหม่ว่า วัดมะกอกใน (วัดนวลนรดิศ) แล้วจึงเรียกวัดมะกอกซึ่งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ว่า วัดมะกอกนอก ส่วนเหตุที่มีการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดแจ้งนั้น เชื่อกันว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีใน พ.ศ. 2310 ได้เสด็จมาถึงหน้าวัดนี้ตอนรุ่งแจ้ง จึงพระราชทานชื่อใหม่ว่าวัดแจ้ง แต่ความเชื่อนี้ไม่ถูกต้อง เพราะเพลงยาวหม่อมภิมเสน วรรณกรรมสมัยอยุธยาที่บรรยายการเดินทางจากอยุธยาไปยังเพชรบุรี ได้ระบุชื่อวัดนี้ไว้ว่าชื่อวัดแจ้งตั้งแต่เวลานั้นแล้ว เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชวังที่ประทับนั้น ทรงเอาป้อมวิชัยประสิทธิ์ข้างฝั่งตะวันตกเป็นที่ตั้งตัวพระราชวัง แล้วขยายเขตพระราชฐานจนวัดแจ้งเป็นวัดภายในพระราชวัง เช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์สมัยอยุธยา และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรที่อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ใน พ.ศ. 2322 ก่อนที่จะย้ายมาประดิษฐานที่วัดพระศรีรัตนศาสดารามในปี พ.ศ. 2327 ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ได้เสด็จมาประทับที่พระราชวังเดิม และได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดแจ้งใหม่ทั้งวัด แต่ยังไม่ทันสำเร็จก็สิ้นรัชกาลที่ 1 สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระองค์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดแจ้งต่อมา และพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดอรุณราชธาราม” ต่อมามีพระราชดำริที่จะเสริมสร้างพระปรางค์หน้าวัดให้สูงขึ้น แต่สิ้นรัชกาลเสียก่อน จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เสริมพระปรางค์ขึ้นและให้ยืมมงกุฎที่หล่อสำหรับพระพุทธรูปทรงเครื่องที่จะเป็นพระประธานวัดนางนองมาติดต่อบนยอดนภศูล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดอรุณราชธารามหลายรายการ และให้อัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาบรรจุไว้ที่พระพุทธอาสน์ของพระประธานในพระอุโบสถด้วย เมื่อการปฏิสังขรณ์เสร็จสิ้นลง พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดอรุณราชวราราม”.

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วัดเครือวัลย์วรวิหาร

วัดเครือวัลย์ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ในสังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ตั้งอยู่ที่ 36 ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร เป็นวัดโบราณที่สร้างมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา พระอุโบสถและพระวิหารของวัดนี้หันหน้าเข้าสู่คลองมอญ และระหว่างพระอุโบสถกับพระวิหาร มีพระเจดีย์ใหญ่ทรงลังกา 3 องค์ตั้งอยู่ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดย เจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย บุณยรัตพันธุ์) และธิดาคือ เจ้าจอมเครือวัลย์ ได้รับพระราชทานนามว่า วัดเครือวัลย์วรวิหาร ตามชื่อของเจ้าจอมเครือวัลย์ ธิดาเจ้าพระยาอภัยภูธร (น้อย บุณยรัตพันธุ์) เจ้าจอมของพระองค์ และเป็นวัดประจำตระกูลบุณยรัตพัน.

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และวัดเครือวัลย์วรวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วงเวียนเล็ก

แยกวงเวียนเล็ก (Wongwian Lek Intersection) ปัจจุบันเป็นสี่แยกจุดบรรจบถนนอรุณอมรินทร์ตัดใหม่และถนนสมเด็จเจ้าพระยา กับถนนประชาธิปก ในพื้นที่เขตธนบุรี และคลองสาน กรุงเทพมหานคร บริเวณหน้าโรงเรียนศึกษานารี ในอดีตเคยเป็นวงเวียนหอนาฬิกาที่รับการจราจรจากสะพานพุทธ และวงเวียนสมเด็จพระเจ้าตากสิน หรือวงเวียนใหญ่ มีทางแยกถนนสมเด็จเจ้าพระยาไปยังท่าดินแดงและคลองสาน และมีทางแยกถนนเทศบาลสาย 3 เลียบคลองบางไส้ไก่ไปยังชุมชนย่านบุปผารามและวัดกัลยาณมิตร วงเวียนนี้จึงเรียกชื่อว่า "วงเวียนเล็ก" คู่กับ "วงเวียนใหญ่" ที่อยู่ใกล้เคียงกัน ในภายหลังมีการก่อสร้างสะพานพระปกเกล้า ซึ่งมีเชิงลาดขึ้นสะพานใกล้วงเวียนเล็กมาก จึงได้รื้อวงเวียนเล็กและหอนาฬิกาเดิมทิ้ง และปรับให้เป็นแยกวงเวียนเล็กในช่วงที่สะพานพระปกเกล้ายังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ หลังจากสะพานพระปกเกล้าแล้วเสร็จ เพื่อไม่ให้เป็นการตัดกระแสการจราจรหลักบนถนนประชาธิปกทั้งขาขึ้นและขาลงสะพานพระปกเกล้า จึงได้ยกเลิกการเป็นแยกวงเวียนเล็กทำเกาะกลางถนนปิดกั้นตามแนวถนนประชาธิปก ทำให้กายภาพปัจจุบันไม่มีสภาพการเป็นวงเวียนหรือสี่แยกอีกต่อไป โดยแยกวงเวียนเล็กแต่ละฝั่งจะไม่สามารถสัญจรถึงกันได้ ต้องไปกลับรถที่แยกบ้านแขกหรือใต้สะพานพุทธแทน นอกจากนี้ จุดบรรจบถนนเทศบาลสาย 3 บริเวณหน้าโรงเรียนศึกษานารียังได้มีการตัดถนนอรุณอมรินทร์มาเชื่อมต่อในภายหลัง ทำให้ช่องทางสัญจรจากย่านวัดกัลยาณ์ขยายใหญ่ขึ้น และสามารถใช้เป็นเส้นทางลัดออกจากวงเวียนเล็กไปยังแยกวังเดิมและแยกศิริราชได้สะดวกยิ่งขึ้น แต่รถที่มาจากถนนอรุณอมรินทร์เข้าสู่แยกวงเวียนเล็กจะถูกบังคับให้เลี้ยวซ้ายเพื่อขึ้นสะพานพระปกเกล้า ไม่สามารถตัดกระแสการจราจรไปใช้สะพานพุทธได้ ปัจจุบัน บริเวณแยกวงเวียนเล็กมีการก่อสร้างหอนาฬิกาขึ้น บริเวณริมคลองสมเด็จเจ้าพระยา ฝั่งเขตคลองสาน เพื่อฟื้นฟูประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของวงเวียนเล็กอีกครั้งหนึ่ง.

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และวงเวียนเล็ก · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

นายพลเอก มหาอำมาตย์เอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (21 มิถุนายน พ.ศ. 2405 - 1 ธันวาคม พ.ศ. 2486) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 57 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาชุ่ม พระองค์ยังทรงเป็นต้นราชสกุลดิศกุล.

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค)

มเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) หรือ สมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย ที่พระคลังสินค้าในรัชกาลที่ 4.

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)

มเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ นามเดิม ช่วง บุนนาค (พ.ศ. 2351 – พ.ศ. 2425) เป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ของสยามในสมัยรัตนโกสินทร์ ผู้มีบทบาทสำคัญในการเมืองการปกครองของสยาม โดยเริ่มเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งนับเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่ง "สมเด็จเจ้าพระยา" เป็นคนสุดท้าย นอกจากนี้ ท่านยังมีบทบาทในการอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองสิริราชสมบัติและได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411 - พ.ศ. 2416 ด้วย นอกจากด้านการปกครองแล้ว ท่านยังมีบทบาทสำคัญในด้านวรรณกรรม การละคร และดนตรี รวมถึงเป็นแม่กองในการก่อสร้าง บูรณะ ซ่อมแซม สถานที่ต่าง ๆ มากมาย เช่น พระนครคีรี พระอภิเนาว์นิเวศน์ คลองผดุงกรุงเกษม เป็นต้น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์มีชีวิตยืนยาวถึง 5 รัชกาล ตั้งแต่เกิดในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และถึงแก่พิราลัยด้วยโรคลมขณะที่กำลังเดินทางกลับจากราชบุรี เมื่อ พ.ศ. 2425 ในสมัยต้นรัชกาลที่ 5 โดยมีอายุยืนยาวถึง 74 ปี.

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค)

มเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) หรือ สมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นบิดาของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) และเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค).

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) · ดูเพิ่มเติม »

สะพานพระพุทธยอดฟ้า

มุมสูงของสะพานพระพุทธยอดฟ้าและสะพานพระปกเกล้า สะพานพระพุทธยอดฟ้า หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (Phra Phuttha Yodfa Bridge, Memorial Bridge) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่เชื่อมการคมนาคมติดต่อระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรีของกรุงเทพมหานคร ที่ปลายถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กับปลายถนนประชาธิปก แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี ปัจจุบันสะพานแห่งนี้อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท.

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และสะพานพระพุทธยอดฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

สะพานพระราม 8

นพระราม 8 (Rama VIII Bridge) เป็นสะพานขึงแบบอสมมาตรเสาเดี่ยว ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งที่ 13 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีแนวสายทางเชื่อมต่อกับทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณโรงงานสุราบางยี่ขัน (สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และมูลนิธิชัยพัฒนาในปัจจุบัน) เขตบางพลัด บรรจบกับปลายถนนวิสุทธิกษัตริย์ ใกล้กับธนาคารแห่งประเทศไทย เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และสะพานพระราม 8 · ดูเพิ่มเติม »

สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า

มุมมองแม่น้ำเจ้าพระยาจากสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า (Somdet Phra Pinklao Bridge) หรือที่นิยมเรียกกันว่า สะพานปิ่นเกล้า เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้าระหว่างเขตพระนคร (ฝั่งพระนคร) กับเขตบางกอกน้อย (ฝั่งธนบุรี) กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท สะพานพระปิ่นเกล้าเป็นสะพานแบบคอนกรีตอัดแรงชนิดต่อเนื่อง มีจำนวนช่องทางรถวิ่ง 6 ช่องทางจราจร ความกว้างของสะพาน 26.60 เมตร ความยาว 622 เมตร สร้างขึ้นเพื่อผ่อนคลายความคับคั่งของการจราจร โดยได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลประเทศญี่ปุ่น ในการสำรวจออกแบบสะพาน และให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่รัฐบาลไทย โดยให้เงินกู้สมทบกับเงินงบประมาณของรัฐบาลไทย เริ่มลงมือก่อสร้างเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2514 และสร้างเสร็จทำพิธีเปิดการจราจรเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2516 โดยได้รับพระราชทานนามว่า "สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า" เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพื้นที่ของสะพานทางฝั่งพระนครนั้นเคยเป็นเขตของพระราชวังบวรสถานมงคล.

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า · ดูเพิ่มเติม »

หอประชุมกองทัพเรือ

หอประชุมกองทัพเรือ (Royal Thai Navy Convention Center) เป็นหอประชุมที่ตั้งอยู่ภายในพื้นที่กรมสารวัตรทหารเรือ และปรับปรุงต่อเติมอาคารราชนาวิกสภา ติดแม่น้ำเจ้าพระยา แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และหอประชุมกองทัพเรือ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดพระนคร

รถรางในจังหวัดพระนครก่อนที่จะถูกยกเลิกไป อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในอดีต ตราประจำจังหวัดพระนคร จังหวัดพระนคร เป็นจังหวัดในอดีตของประเทศไทย ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีขึ้นในช่วง..

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และจังหวัดพระนคร · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดธนบุรี

ตราประจำจังหวัดธนบุรี จังหวัดธนบุรี เป็นจังหวัดในอดีตที่อยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับจังหวัดพระนคร ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี จนกระทั่ง พ.ศ. 2514 ได้มีการรวมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนคร เป็น นครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเปลี่ยนชื่อเป็นกรุงเทพมหานครเมื่อปี..

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และจังหวัดธนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

ถนนลาดหญ้า

นนลาดหญ้า ถนนลาดหญ้า (Thanon Lat Ya) เป็นถนนสำคัญสายหนึ่งในพื้นที่เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร มีลักษณะเป็นถนนขนาด 6 ช่องทางจราจร มีเกาะกลาง เขตถนนกว้าง 28 เมตร ระยะทางยาว 1,650 เมตร มีจุดเริ่มต้นจากวงเวียนใหญ่ซึ่งเป็นที่ตั้งพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านสามเหลี่ยมลาดหญ้า (จุดตัดกับถนนอิสรภาพและถนนท่าดินแดง) ข้ามคลองสมเด็จเจ้าพระยา ผ่านทางแยกคลองสาน (จุดตัดกับถนนสมเด็จเจ้าพระยาและถนนเจริญนคร) ไปสิ้นสุดที่หน้าสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร บริเวณปากคลองสาน ถนนลาดหญ้าเป็น "ถนนสายที่ 4" ในโครงการตัดและขยายถนน 11 สายในจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนครเพื่อรองรับการก่อสร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า) เมื่อปี พ.ศ. 2472 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อตัดและขยายถนนฝั่งจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร พ.ศ. 2473 ได้กำหนดแนวเส้นทางถนนสายที่ 4 ไว้ตั้งแต่ท่าสินค้าริมแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านถนนสายที่ 2 (ปัจจุบันคือถนนสมเด็จเจ้าพระยา) ถนนสายที่ 3 (ปัจจุบันคือถนนอิสรภาพ) และผ่านถนนสายที่ 1 (ปัจจุบันคือถนนประชาธิปกและถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน) ที่วงเวียน ไปสิ้นสุดที่ท่าสินค้าริมคลองบางกอกใหญ่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงตั้งชื่อถนนสายต่าง ๆ ในโครงการดังกล่าวถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยใช้เกณฑ์ "มหาชัย" ที่ไทยรบชนะพม่าในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สำหรับถนนสายที่ 4 ทรงตั้งชื่อว่า ถนนลาดหญ้า เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงคราวสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาททรงยกทัพรบชนะกองทัพพม่าที่ทุ่งลาดหญ้า แขวงเมืองกาญจนบุรี ในปี พ.ศ. 2328กนกวลี ชูชั.

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และถนนลาดหญ้า · ดูเพิ่มเติม »

ถนนวังหลัง

นนวังหลัง (Thanon Wang Lang) เป็นถนนสายสำคัญในพื้นที่เขตบางกอกน้อย ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร เป็นถนนแอสฟัลต์ 4 ช่องจราจร ไม่มีเกาะกลาง ความยาวประมาณ 950 เมตร เขตถนนกว้าง 14.50 เมตร ผิวจราจรกว้าง 11.40 เมตร เริ่มต้นจากท่าเรือพรานนกและท่าเรือวังหลัง (ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามท่าพระจันทร์) ตรงไปทางทิศตะวันตกในท้องที่แขวงศิริราช ตัดกับถนนอรุณอมรินทร์ที่ทางแยกศิริราช จากนั้นข้ามคลองบ้านขมิ้น ตั้งแต่จุดนี้ถือเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงศิริราชทางฟากเหนือกับแขวงบ้านช่างหล่อทางฟากใต้ของถนน ตรงไปทางทิศเดิมจนกระทั่งสิ้นสุดถนนที่ทางแยกพรานนก โดยมีแนวถนนตรงต่อเนื่องไปเป็นถนนพรานนก.

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และถนนวังหลัง · ดูเพิ่มเติม »

ถนนวังเดิม

นนวังเดิม (Thanon Wang Doem) เป็นถนนสายหนึ่งในพื้นที่แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร มีระยะทางยาว 837 เมตร มีจุดเริ่มต้นจากทางแยกโพธิ์สามต้นซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนอิสรภาพ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านแนวคูข้างกรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ (เดิม) ตัดกับถนนอรุณอมรินทร์ที่ทางแยกวังเดิม ข้ามคลองบ้านหม้อ (คลองวัดท้ายตลาด) จากนั้นโค้งไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านกองบัญชาการกองทัพเรือ เลียบกำแพงวัดอรุณราชวราราม ข้ามคลองวัดอรุณ โค้งไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือและทิศตะวันตกเฉียงใต้ ไปสิ้นสุดที่ถนนอรุณอมรินทร์บริเวณคลองบ้านหม้อ ถนนวังเดิมเป็น "ถนนสายที่ 6" ในโครงการตัดและขยายถนน 11 สายในจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนครเพื่อรองรับการก่อสร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า) เมื่อปี พ.ศ. 2472 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยถนนสายนี้เป็นหนึ่งในถนนซอย 6 สายที่ตัดจากริมแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อเชื่อมต่อกับถนนหลัก 4 สายแรก มีแนวเส้นทางเริ่มตั้งแต่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านเหนือของกำแพงพระราชวังเดิม ไปผ่านถนนสายที่ 2 (ปัจจุบันคือถนนอรุณอมรินทร์) ไปออกถนนสายที่ 3 (ปัจจุบันคือถนนอิสรภาพ) กว้าง 16 เมตร ยาวประมาณ 830 เมตร ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อตัดและขยายถนนฝั่งจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร พ.ศ. 2473 ถนนสายที่ 6 เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2474กนกวลี ชูชั.

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และถนนวังเดิม · ดูเพิ่มเติม »

ถนนวิสุทธิกษัตริย์

นนวิสุทธิกษัตริย์ (Thanon Wisut Kasat) เริ่มต้นตั้งแต่ถนนราชดำเนินนอก (สี่แยก จ.ป.ร.) ในท้องที่แขวงบางขุนพรหมและแขวงบ้านพานถม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนประชาธิปไตย (สี่แยกวิสุทธิกษัตริย์) และถนนสามเสน (สี่แยกบางขุนพรหม) จนถึงท่าเรือสะพานพระราม 8 (บางขุนพรหม) ในท้องที่แขวงวัดสามพระยา ถนนวิสุทธิกษัตริย์เป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ สร้างขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศล พระราชทานสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล กรมหลวงวิสุทธิกษัตริย์ พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี และเป็นพระขนิษฐาร่วมพระชนนีเดียวกับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งสิ้นพระชนม์ขณะพระชันษา 9 ปี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อถนนว่า ถนนวิสุทธิกษัตริย์ การตัดถนนวิสุทธิกษัตริย์นี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า แต่เดิมการสร้างถนนต้องใช้พระราชทรัพย์ในการก่อสร้าง รวมทั้งการดูแลรักษา การตัดถนนในกรุงเทพฯ มักผ่านไปในเขตที่มีเจ้าของถือที่ดินอยู่ ถนนผ่านไปในที่ใดเจ้าของที่ดินย่อมได้รับประโยชน์เรื่องราคาที่ดินที่เพิ่มสูงขึ้น จึงสมควรให้เจ้าของที่ดิน ซึ่งถือครองที่ดินอยู่ตามแนวถนนซึ่งจะตัดผ่านช่วยกันออกทุนในการทำถนน เว้นแต่ผู้ที่ต้องเสียที่ดินทั้งหมดจนไม่ได้รับประโยชน์ในการตัดถนน ควรได้รับประโยชน์ราคาที่ดินของตนเป็นค่าเสียหาย โดยโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติสร้างถนนหลวงภายในบริเวณกรุงเทพฯ ขึ้นใน พ.ศ. 2447 (ร.ศ. 123) สำหรับการสร้างถนนวิสุทธิกษัตริย์ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ “ประกาศการสร้างถนนวิสุทธิ์กระษัตริย์” ว่า ที่ดินตำบลบางขุนพรหมและหลังวัดมกุฏกษัตริย์ สมควรจะตัดเป็นถนนใหญ่ให้เดินไปมาติดต่อกันได้ ตั้งแต่วงเวียนบางขุนพรหม ตัดตรงไปทางหลังวัดมกุฏกษัตริยาราม ออกถนนราชดำเนินนอก ต่อมาใน พ.ศ. 2471 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนจากวิสุทธิกษัตริย์ต่อจากที่ตัดไว้แต่เดิม ตั้งแต่แม่น้ำเจ้าพระยา มาบรรจบถนนสามเสน ตำบลบางขุนพรหม โดยตัดผ่านเข้าไปในตำบลบางขุนพรหม บริเวณถนนวิสุทธิ์กษัตริย์จนถึงสี่แยกวิสุทธิ์กษัตริย์ถือได้ว่าเป็นย่านที่ขึ้นชื่ออย่างมากในการประกวดนางงามในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี ที่รู้จักกันดีในชื่อ "เทพีสงกรานต์วิสุทธิ์กษัตริย์" ซึ่งจัดโดยชาวชุมชนท้องถิ่นและใกล้เคียง โดยจัดมาตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และถนนวิสุทธิกษัตริย์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนสมเด็จเจ้าพระยา

นนสมเด็จเจ้าพระยา ถนนสมเด็จเจ้าพระยา (Thanon Somdet Chao Phraya) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งในเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร มีเส้นทางเริ่มต้นจากวงเวียนเล็ก ถนนประชาธิปก ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ในพื้นที่แขวงสมเด็จเจ้าพระยา ตัดกับถนนท่าดินแดงและเข้าพื้นที่แขวงคลองสานที่สี่แยกท่าดินแดง จากนั้นยังคงตรงไปในทิศเดิม จนกระทั่งสิ้นสุดที่สี่แยกคลองสานซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนลาดหญ้า ระยะทางรวม 1.440 กิโลเมตร มีความกว้าง 19.50 เมตร ถนนสมเด็จเจ้าพระยาเป็น "ถนนสายที่ 2" ในโครงการตัดและขยายถนน 11 สายในจังหวัดธนบุรี ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการก่อสร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า) เมื่อปี พ.ศ. 2472 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยกำหนดแนวเส้นทางไว้ตั้งแต่วัดอมรินทราราม มาทางถนนบ้านขมิ้น ข้ามคลองบางกอกใหญ่ ผ่านถนนสายที่ 1 (ปัจจุบันคือถนนประชาธิปก) แล้วตรงไปตามแนวถนนคลองสานซึ่งมีอยู่แล้ว ไปบรรจบกับถนนสายที่ 4 (ปัจจุบันคือถนนลาดหญ้า) ที่ปากคลองสาน ยาวประมาณ 4,900 เมตร กว้าง 23 เมตร ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อตัดและขยายถนนฝั่งจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร ถนนสายที่ 2 สร้างและขยายใหม่ตามแนวถนนที่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ได้สร้างไว้ รวมทั้งยังเป็นที่ตั้งจวน (บ้าน) ของสมเด็จเจ้าพระยาถึง 4 ท่านอีกด้วย ได้แก่ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ดังนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพจึงทรงตั้งชื่อถนนถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า ถนนสมเด็จเจ้าพระยา อย่างไรก็ตาม ถนนสายนี้ตัดสำเร็จเฉพาะส่วนปลาย โดยแยกออกเป็นสองด้านและมีเส้นทางไม่ต่อเนื่องกัน กล่าวคือ ส่วนปลายด้านหนึ่งเริ่มต้นจากวงเวียนเล็ก ใกล้วัดพิชยญาติการามไปจนถึงปากคลองสานซึ่งยังคงใช้ชื่อว่า "ถนนสมเด็จเจ้าพระยา" ตามเดิม และส่วนปลายอีกด้านมีระยะทางเริ่มต้นจากวัดอรุณราชวรารามจนถึงวัดอมรินทรารามจึงเรียกชื่อถนนส่วนนี้ใหม่ว่า "ถนนอรุณอมรินทร์" ส่วนถนนตอนกลางที่เชื่อมระหว่างสองส่วนดังกล่าวเพิ่งสร้างสำเร็จตลอดสายเมื่อไม่นานมานี้ โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของถนนอรุณอมรินทร.

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และถนนสมเด็จเจ้าพระยา · ดูเพิ่มเติม »

ถนนประชาธิปก

นนประชาธิปก ถนนประชาธิปก (Thanon Prajadhipok) เป็นถนนสายสำคัญในพื้นที่เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร โดยมีจุดเริ่มต้นจากวงเวียนใหญ่ ตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือในพื้นที่แขวงหิรัญรูจี ผ่านทางแยกบ้านแขก (ตัดกับถนนอิสรภาพ) และเข้าพื้นที่แขวงวัดกัลยาณ์ ข้ามคลองสมเด็จเจ้าพระยา ผ่านวงเวียนเล็ก (ตัดกับถนนอรุณอมรินทร์และถนนสมเด็จเจ้าพระยา) หลังจากนั้นถนนจะแยกออกเป็นสามทาง ทางแรกมุ่งหน้าข้ามสะพานพระปกเกล้า เชื่อมกับถนนจักรเพชรในพื้นที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร และทางที่สองมุ่งหน้าข้ามสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ เชื่อมกับถนนตรีเพชรในพื้นที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร และทางที่สามมุ่งวัดประยุรวงศาวาส ไปสิ้นสุดที่ใต้สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ โดยมีแนวถนนที่ต่อเนื่องไปคือถนนพญาไม้ในพื้นที่แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน ระยะทางจากวงเวียนใหญ่ถึงสะพานพระปกเกล้ายาวประมาณ 900 เมตร และยังเป็นเส้นแบ่งระหว่างเขตธนบุรี (ฝั่งขาเข้าเมือง) กับเขตคลองสาน (ฝั่งขาออกเมือง) อีกด้วย ถนนประชาธิปกเป็น "ถนนสายที่ 1" ในโครงการตัดและขยายถนน 11 สายในจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนครเพื่อรองรับการก่อสร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า) เมื่อปี พ.ศ. 2472 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อตัดและขยายถนนฝั่งจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร พ.ศ. 2473 ได้กำหนดแนวเส้นทางถนนสายที่ 1 ไว้ตั้งแต่เชิงสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ ตัดกับถนนสายที่ 2 (ปัจจุบันคือถนนอรุณอมรินทร์และถนนสมเด็จเจ้าพระยา) ถนนสายที่ 3 (ปัจจุบันคือถนนอิสรภาพ) และถนนสายที่ 4 (ปัจจุบันคือถนนอินทรพิทักษ์และถนนลาดหญ้า) ไปจนถึงคลองดาวคะนอง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเสนอชื่อถนนสายที่ 1 ของโครงการนี้ถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "ถนนพระปกเกล้า" และ "ถนนประชาธิปก" เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระนามเดิมคือสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์) ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาและสร้างถนนเชื่อมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนคร เมื่อพระองค์มีพระบรมราชวินิจฉัยแล้วได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อถนนสายนี้ว่า ถนนประชาธิปกกนกวลี ชูชั.

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และถนนประชาธิปก · ดูเพิ่มเติม »

ทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี

รงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี เป็นทางยกระดับ กว้าง 4-5 ช่องจราจร ระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตร คร่อมและคู่ขนานไปกับถนนบรมราชชนนี จากทางแยกอรุณอมรินทร์ถึงย่านพุทธมณฑล สาย 2 สร้างขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี · ดูเพิ่มเติม »

คลองบางกอกน้อย

ลองบางกอกน้อยช่วงที่ไหลผ่านวัดศรีสุดาราม มองไปทางด้านทิศตะวันตก คลองบางกอกน้อยเกิดจากการขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงที่๑ ซึ่งทำให้แม่น้ำไหลเปลี่ยนทิศทางไปเป็นอย่างที่เห็นทุกวันนี้ คลองบางกอกน้อย ตั้งอยู่ในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยา จนกระทั่งรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 2077 - 2089) ได้โปรดฯ ให้ขุดคลองลัดแม่น้ำขึ้นจากปากคลองบางกอกน้อยไปยังปากคลองบางกอกใหญ่ ซึ่งกล่าวกันว่าช่วยย่นระยะทางได้ถึง 1 วัน ต่อมากระแสน้ำส่วนใหญ่ได้ไหลเข้าสู่คองลัดทำให้คลองกว้างขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาสายใหม่ ส่วนแม่น้ำสายเดิมแคบลงกลายเป็นคลองบางกอกน้อย คลองชักพระ และคลองบางกอกใหญ่แทน คลองบางกอกน้อยเริ่มต้นตั้งแต่แม่น้ำเจ้าพระยาทางเหนือของสถานีรถไฟธนบุรี ไหลขึ้นไปบรรจบคลองชักพระ (คลองบางขุนศรี) และคลองลัดบางกรวย ตรงข้ามวัดสุวรรณคีรี มีความกว้างมากถึง 40 เมตร และยาว 3.3 กิโลเมตร คณะรัฐมนตรีมีมติให้คลองบางกอกน้อยเป็นคลองสำคัญซึ่งจะต้องอนุรักษ์ไว้ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2510 ในปัจจุบันช่วง คลองลัดบางกรวย (หมายเลข ๒ ในภาพ) ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งคลองบางกอกน้อยไปด้วย รวมถึงคลองอ้อม หรือคลองอ้อมนนท์ ก็เรียกกันทั่วไปว่าคลองบางกอกน้อยเช่นกัน ปัจจุบัน คลองบางกอกน้อยใช้ในการคมนาคม สัญจร ทัศนาจร ท่องเที่ยว ใช้ขนส่งสินค้า ใช้เล่นกีฬาทางน้ำ ใช้อาบน้ำ ใช้ล้างภาชนะ ใช้ระบายน้ำ และยังเป็นเส้นทางชักพระของวัดนางชี ซึ่งมีขึ้นในวันแรม 2 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี โดยชักแห่ไปทางน้ำ ผ่านคลองชักพระ คลองบางกอกน้อย แล้ววกลงมาตามแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าคลองบางกอกใหญ่ กลับไปยังวัดนางชีตามเดิม ไหลผ่าน เขตบางกอกน้อย เขตตลิ่งชัน อ.บางกรวย อ.บางใหญ่ อ.เมืองนนทบุรี.

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และคลองบางกอกน้อย · ดูเพิ่มเติม »

คลองบางกอกใหญ่

ปากคลองบางกอกใหญ่ บรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกใหญ่ช่วงที่ผ่านวัดอินทารามวรวิหาร (วัดบางยี่เรือนอก) การขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงที่ ๑ ซึ่งทำให้แม่น้ำสายเดิมกลายเป็นคลองบางกอกใหญ่ในปัจจุบัน คลองบางกอกใหญ่ หรือชื่อในอดีตว่า คลองบางหลวง เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของแม่น้ำเจ้าพระยามาก่อน กล่าวคือบริเวณตั้งแต่ปากคลองบางกอกน้อย ตรงข้ามมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปจนถึงปากคลองบางกอกใหญ่ในปัจจุบันนั้น ยังเป็นแผ่นดินอยู่ แม่น้ำเจ้าพระยาเดิมจะอ้อมเลี้ยวจากหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นคุ้งกว้างมาทะลุออกข้างวัดท้ายตลาด ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช (พ.ศ. 2077 - 2089) โปรดเกล้าให้ขุดคลองลัดระหว่างคุ้งแม่น้ำทั้งสอง เพื่อย่นระยะทางและอำนวยความสะดวกให้กับบรรดาพ่อค้าทูตานุทูตชาวตะวันตกที่เริ่มเข้ามาติดต่อค้าขายและเจริญสัมพันธไมตรีกับอาณาจักรเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในสมัยนั้น ต่อมาคลองลัดเริ่มกว้างใหญ่ขึ้นกลายเป็นแม่น้ำ ส่วนแม่น้ำเจ้าพระยาเดิมก็เล็กลงกลายเป็นคลองบางกอกน้อยและคลองบางกอกใหญ่ ถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน ราชสำนักย้ายมาอยู่ที่กรุงธนบุรี คลองบางกอกใหญ่กลายมาเป็นชุมชนของข้าหลวง และโปรดเกล้าให้บรรดาชาวจีนซึ่งได้เคยช่วยเหลือพระองค์มาตั้งบ้านเรือนอยู่ริมคลองบางกอกใหญ่ ผู้คนจึงนิยมเรียกกันติดปากว่า "คลองบางข้าหลวง" หรือ "คลองบางหลวง" สืบมาถึงในปัจจุบัน รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร กำหนดให้คลองบางกอกใหญ่เป็นคลองสำคัญซึ่งจะต้องอนุรักษ์ไว้ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2510 ปากคลองบางกอกใหญ่แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาทางฝั่งขวาของป้อมวิไชยประสิทธิ์ ไปสิ้นสุดที่คลองมอญ ตรงข้ามปากคลองชักพระ มีความยาวประมาณ 6 กิโลเมตร คลองบางกอกใหญ่ในปัจจุบันนั้นถือเป็นเส้นทางสัญจรและระบายน้ำ และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่สำคัญอย่างมาก มีศาสนสถานตั้งอยู่อย่างหนาแน่นทั้งสองฝั่ง วัดและมัสยิดริมคลองบางกอกใหญ่ได้แก.

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และคลองบางกอกใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

คลองมอญ

ลองมอญ คลองมอญ เป็นคลองธรรมชาติคลองหนึ่งที่ตั้งอยู่ระหว่างเขตบางกอกใหญ่กับเขตบางกอกน้อย ที่มาของชื่อคลองมาจากที่ริมสองฝั่งคลองเป็นชุมชนชาวมอญเรียงรายกันไปตลอดแนว คลองมอญแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก พาดผ่านเป็นแนวแบ่งเขตแดนระหว่างเขตบางกอกน้อย และบางกอกใหญ่ ไปออกยังบริเวณที่คลองบางน้อยและคลองบางเชือกหนังไหลมาบรรจบกัน ในรอยต่อเขตภาษีเจริญและเขตตลิ่งชัน คลองมอญมีความยาวประมาณ 3 กิโลเมตร มีศาสนสถานและวัดสำคัญ ๆ มากมาย เช่น วัดเครือวัลย์ วัดนาคกลาง วัดพระยาทำ วัดครุฑ วัดโพธิ์เรียง วัดบางเสาธง วัดปากน้ำฝั่งใต้ วัดเกาะ คลองมอญจึงมีความสำคัญต่อการระบายน้ำและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตกรุงเทพมหานครชั้นในเป็นอย่างมาก ชื่ออื่นๆ ของคลองมอญที่นิยมเรียกกัน ก็คือคลองบางเสาธง ซึ่งเรียกกันในช่วงที่มารวมกับคลองบางน้อย และบางเชือกหนัง หรือบางครั้งก็ถือว่าคลองช่วงนี้เป็นส่วนหนึ่งของคลองบางน้อ.

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และคลองมอญ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเจ้าพระยา

แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสายหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นไหลลงไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างเขตตำบลท้ายบ้าน ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ.

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และแม่น้ำเจ้าพระยา · ดูเพิ่มเติม »

แยกบ้านขมิ้น

แยกบ้านขมิ้น (Ban Khamin Junction) เป็นสามแยกจุดตัดซอยอิสรภาพ 44 (ซอยแสงศึกษา) และถนนอรุณอมรินทร์ บริเวณเยื้องกับซอยวัดระฆังโฆสิตาราม ถัดจากจุดบรรจบระหว่างคลองวัดระฆังกับคลองบ้านขมิ้น (แนวคูเมืองกรุงธนบุรี) มาทางทิศเหนือ ในพื้นที่แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และแยกบ้านขมิ้น · ดูเพิ่มเติม »

แยกศิริราช

แยกศิริราช (Siriraj Intersection) เป็นสี่แยกจุดตัดระหว่างถนนวังหลังกับถนนอรุณอมรินทร์ ในย่านตลาดวังหลังและท่าพรานนก ในพื้นที่เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เป็นที่ตั้งของโรงพยาบาลศิริร.

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และแยกศิริราช · ดูเพิ่มเติม »

แขวงอรุณอมรินทร์

อรุณอมรินทร์ เป็นแขวงแขวงหนึ่งในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร สภาพทั่วไปเป็นย่านการค้าและเขตที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางถึงหนาแน่นมาก ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร..

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และแขวงอรุณอมรินทร์ · ดูเพิ่มเติม »

โรงพยาบาลศิริราช

รงพยาบาลศิริราช เป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย สังกัดคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกของ ประเทศไทย ตั้งอยู่เลขที่ 2 ถนนวังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ริมฝั่ง แม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) เคยเป็นที่ประทับรักษาพระประชวรของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ เช่น พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร.

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และโรงพยาบาลศิริราช · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนศึกษานารี

รงเรียนศึกษานารี (Suksanari School) (อักษรย่อ: ศ.น., S.N.R) เป็นโรงเรียนสตรีล้วนในกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ที่ ถนนประชาธิปก แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี มีการเรียนการสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6.

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และโรงเรียนศึกษานารี · ดูเพิ่มเติม »

เขตบางพลัด

ตบางพลัด เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนเหนือ เดิมถือเป็นพื้นที่รอบนอก แต่ปัจจุบันมีความเจริญเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สภาพทั่วไปเป็นแหล่งการค้าและแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก แต่ก็มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมตั้งอยู่ด้วยเช่นกัน.

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และเขตบางพลัด · ดูเพิ่มเติม »

เขตบางกอกน้อย

ตบางกอกน้อย เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนเหนือ ซึ่งถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี โดยมีคำขวัญประจำเขตว่า "สมเด็จโตวัดระฆัง วังหลังตั้งอยู่ อู่เรือพระราชพิธี สถานีรถไฟ คลองใหญ่มีชื่อ เลื่องลือเครื่องลงหิน นามระบิลช่างหล่อ งามลออวัดวา".

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และเขตบางกอกน้อย · ดูเพิ่มเติม »

เขตบางกอกใหญ่

ตบางกอกใหญ่ เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนบุรี ซึ่งถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี.

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และเขตบางกอกใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

เขตธนบุรี

ตธนบุรี เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนเหนือ ซึ่งถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี.

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และเขตธนบุรี · ดูเพิ่มเติม »

เขตคลองสาน

ตคลองสาน เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนบุรี ซึ่งถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี.

ใหม่!!: ถนนอรุณอมรินทร์และเขตคลองสาน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ถนนอรุณอัมรินทร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »