โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ถนนสมเด็จเจ้าพระยาและสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ถนนสมเด็จเจ้าพระยาและสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)

ถนนสมเด็จเจ้าพระยา vs. สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)

นนสมเด็จเจ้าพระยา ถนนสมเด็จเจ้าพระยา (Thanon Somdet Chao Phraya) เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งในเขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร มีเส้นทางเริ่มต้นจากวงเวียนเล็ก ถนนประชาธิปก ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ในพื้นที่แขวงสมเด็จเจ้าพระยา ตัดกับถนนท่าดินแดงและเข้าพื้นที่แขวงคลองสานที่สี่แยกท่าดินแดง จากนั้นยังคงตรงไปในทิศเดิม จนกระทั่งสิ้นสุดที่สี่แยกคลองสานซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนลาดหญ้า ระยะทางรวม 1.440 กิโลเมตร มีความกว้าง 19.50 เมตร ถนนสมเด็จเจ้าพระยาเป็น "ถนนสายที่ 2" ในโครงการตัดและขยายถนน 11 สายในจังหวัดธนบุรี ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการก่อสร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า) เมื่อปี พ.ศ. 2472 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยกำหนดแนวเส้นทางไว้ตั้งแต่วัดอมรินทราราม มาทางถนนบ้านขมิ้น ข้ามคลองบางกอกใหญ่ ผ่านถนนสายที่ 1 (ปัจจุบันคือถนนประชาธิปก) แล้วตรงไปตามแนวถนนคลองสานซึ่งมีอยู่แล้ว ไปบรรจบกับถนนสายที่ 4 (ปัจจุบันคือถนนลาดหญ้า) ที่ปากคลองสาน ยาวประมาณ 4,900 เมตร กว้าง 23 เมตร ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่น เพื่อตัดและขยายถนนฝั่งจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร ถนนสายที่ 2 สร้างและขยายใหม่ตามแนวถนนที่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ได้สร้างไว้ รวมทั้งยังเป็นที่ตั้งจวน (บ้าน) ของสมเด็จเจ้าพระยาถึง 4 ท่านอีกด้วย ได้แก่ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ดังนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพจึงทรงตั้งชื่อถนนถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า ถนนสมเด็จเจ้าพระยา อย่างไรก็ตาม ถนนสายนี้ตัดสำเร็จเฉพาะส่วนปลาย โดยแยกออกเป็นสองด้านและมีเส้นทางไม่ต่อเนื่องกัน กล่าวคือ ส่วนปลายด้านหนึ่งเริ่มต้นจากวงเวียนเล็ก ใกล้วัดพิชยญาติการามไปจนถึงปากคลองสานซึ่งยังคงใช้ชื่อว่า "ถนนสมเด็จเจ้าพระยา" ตามเดิม และส่วนปลายอีกด้านมีระยะทางเริ่มต้นจากวัดอรุณราชวรารามจนถึงวัดอมรินทรารามจึงเรียกชื่อถนนส่วนนี้ใหม่ว่า "ถนนอรุณอมรินทร์" ส่วนถนนตอนกลางที่เชื่อมระหว่างสองส่วนดังกล่าวเพิ่งสร้างสำเร็จตลอดสายเมื่อไม่นานมานี้ โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของถนนอรุณอมรินทร. มเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ นามเดิม ช่วง บุนนาค (พ.ศ. 2351 – พ.ศ. 2425) เป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ของสยามในสมัยรัตนโกสินทร์ ผู้มีบทบาทสำคัญในการเมืองการปกครองของสยาม โดยเริ่มเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งนับเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่ง "สมเด็จเจ้าพระยา" เป็นคนสุดท้าย นอกจากนี้ ท่านยังมีบทบาทในการอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองสิริราชสมบัติและได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2411 - พ.ศ. 2416 ด้วย นอกจากด้านการปกครองแล้ว ท่านยังมีบทบาทสำคัญในด้านวรรณกรรม การละคร และดนตรี รวมถึงเป็นแม่กองในการก่อสร้าง บูรณะ ซ่อมแซม สถานที่ต่าง ๆ มากมาย เช่น พระนครคีรี พระอภิเนาว์นิเวศน์ คลองผดุงกรุงเกษม เป็นต้น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์มีชีวิตยืนยาวถึง 5 รัชกาล ตั้งแต่เกิดในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และถึงแก่พิราลัยด้วยโรคลมขณะที่กำลังเดินทางกลับจากราชบุรี เมื่อ พ.ศ. 2425 ในสมัยต้นรัชกาลที่ 5 โดยมีอายุยืนยาวถึง 74 ปี.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ถนนสมเด็จเจ้าพระยาและสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)

ถนนสมเด็จเจ้าพระยาและสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พ.ศ. 2472พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค)สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค)

พ.ศ. 2472

ทธศักราช 2472 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1929 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคาร ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ถนนสมเด็จเจ้าพระยาและพ.ศ. 2472 · พ.ศ. 2472และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

ระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พระราชสมภพ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 — สวรรคต 7 กันยายน พ.ศ. 2352) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 1 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ เดือน 4 แรม 5 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา 3 ยาม ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม..

ถนนสมเด็จเจ้าพระยาและพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช · พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

นายพลเอก มหาอำมาตย์เอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (21 มิถุนายน พ.ศ. 2405 - 1 ธันวาคม พ.ศ. 2486) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 57 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาชุ่ม พระองค์ยังทรงเป็นต้นราชสกุลดิศกุล.

ถนนสมเด็จเจ้าพระยาและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ · สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพและสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค)

มเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) หรือ สมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อย ที่พระคลังสินค้าในรัชกาลที่ 4.

ถนนสมเด็จเจ้าพระยาและสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) · สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค)และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค)

มเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) หรือ สมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นบิดาของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) และเจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค).

ถนนสมเด็จเจ้าพระยาและสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) · สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค)และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ถนนสมเด็จเจ้าพระยาและสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)

ถนนสมเด็จเจ้าพระยา มี 24 ความสัมพันธ์ขณะที่ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) มี 139 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 3.07% = 5 / (24 + 139)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ถนนสมเด็จเจ้าพระยาและสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »