โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ถนนพระจันทร์และเขตพระนคร

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ถนนพระจันทร์และเขตพระนคร

ถนนพระจันทร์ vs. เขตพระนคร

นนพระจันทร์ ถนนพระจันทร์ (Thanon Phra Chan) เป็นถนนสายหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในแขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นตั้งต้นจากถนนหน้าพระธาตุไปสิ้นสุดลงที่ท่าพระจันทร์ ถนนพระจันทร์เป็นถนนที่มีมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แต่มีลักษณะเป็นถนนพูนดินให้สูงขึ้นยังไม่เป็นลักษณะของการปูอิฐหรือมีทางระบายน้ำ ซึ่งลักษณะเช่นนี้เริ่มสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถนนพระจันทร์เป็นถนนเลียบกำแพงพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้าด้านทิศใต้ เริ่มต้นจากปลายถนนหน้าวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์บริเวณหน้าพระราชวังบวรสถานมงคลเลียบพระราชวังไปสู่แม่น้ำเจ้าพระยาด้านป้อมพระจันทร์ ชื่อถนนพระจันทร์มาจากชื่อป้อมพระจันทร์บนกำแพงเมืองด้านริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งต่อมาได้ถูกรื้อไป ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ขยายถนนเดิมให้กว้างขึ้น ทรงเริ่มสร้างถนนใหม่รอบพระบรมมหาราชวัง และถนนเลียบกำแพงพระนครด้านในจนเชื่อมถึงกัน เริ่มจากถนนเดิมคือ ถนนพระจันทร์ไปถนนพระอาทิตย์ ถนนพระสุเมรุ ถนนมหาไชย ถนนจักรเพชร และถนนมหาราช ซึ่งชื่อถนนเหล่านี้มาจากชื่อป้อมบนกำแพงพระนครทั้งสิ้น ถนนพระจันทร์ เป็นถนนสายเล็ก ๆ ขนาบไปกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้านท้องสนามหลวงกับกำแพงวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ริมสองฟากถนนเป็นแหล่งรวมของการเช่าขายพระเครื่อง และวัตถุมงคลต่าง ๆ ในแบบแบกะดิน รวมถึงหมอดูด้ว. ตพระนคร เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง ถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งพระนคร เนื่องจากมีสถานที่สำคัญทั้งทางด้านวัฒนธรรมและด้านการเมืองการปกครองตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเขตพระนครเป็นที่ตั้งของเกาะรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ถนนพระจันทร์และเขตพระนคร

ถนนพระจันทร์และเขตพระนคร มี 14 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พระบรมมหาราชวังพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระราชวังบวรสถานมงคลกรุงเทพมหานครมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหารถนนพระสุเมรุถนนพระอาทิตย์ถนนมหาราชถนนมหาไชยถนนหน้าพระธาตุถนนจักรเพชรท้องสนามหลวงแม่น้ำเจ้าพระยา

พระบรมมหาราชวัง

ระบรมมหาราชวัง หรือพระราชวังพระนคร เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่ที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ปัจจุบัน พระบรมมหาราชวังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากเป็นอันดับที่ 16 ของโลก โดยมีผู้เข้าเยี่ยมชมในปี พ.ศ. 2549 เป็นจำนวนถึง 8,995,000 คน.

ถนนพระจันทร์และพระบรมมหาราชวัง · พระบรมมหาราชวังและเขตพระนคร · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

ระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พระราชสมภพ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 — สวรรคต 7 กันยายน พ.ศ. 2352) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 1 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ เดือน 4 แรม 5 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา 3 ยาม ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม..

ถนนพระจันทร์และพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช · พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและเขตพระนคร · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังบวรสถานมงคล

ระราชวังบวรสถานมงคล หรือ พระบวรราชวัง ตั้งอยู่ที่เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นพระราชวังที่ประทับของกรมพระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้า สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทซึ่งทรงดำรงพระอิสริยยศกรมพระราชวังบวรสถานมงคลพระองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์โปรดให้สร้างขึ้น โดยเริ่มสร้างพร้อม ๆ กับพระบรมมหาราชวังใน พ.ศ. 2325 การก่อสร้างพระราชวังแห่งนี้ใช้พื้นที่ตั้งแต่ทิศเหนือของวัดสลัก (ปัจจุบันคือวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร) ขึ้นไปจรดคลองคูเมืองเดิม และได้ทำผาติกรรมที่ดินส่วนหนึ่งทางด้านเหนือของวัดสลัก เข้ามาเป็นเขตพระราชวังบวรสถานมงคลด้วย อาณาเขตของพระราชวังบวรสถานมงคลเดิมกว้างขวางมาก แต่ปัจจุบันได้ดัดแปลงส่วนหนึ่งเป็นสนามหลวง และถนน และเป็นที่ตั้งของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ โรงละครแห่งชาติ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

ถนนพระจันทร์และพระราชวังบวรสถานมงคล · พระราชวังบวรสถานมงคลและเขตพระนคร · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

กรุงเทพมหานครและถนนพระจันทร์ · กรุงเทพมหานครและเขตพระนคร · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat University) หรือเรียกโดยย่อว่า ม. (TU) เป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่สองของประเทศไทย ก่อตั้งในชื่อ "มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง" หรือ "ม..ก." (The University of Moral and Political Sciences หรือ UMPS) เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน..

ถนนพระจันทร์และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ · มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และเขตพระนคร · ดูเพิ่มเติม »

วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร

วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร เดิมเป็นวัดราษฎร์ชื่อวัดสลัก สร้างในสมัยอยุธยา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี และทรงสร้างพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับและสร้างพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นที่ประทับสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท กรมพระราชวังบวรสถานมงคล นั้น วัดสลักเป็นวัดที่อยู่กึ่งกลางระหว่างพระบรมมหาราชวังกับพระราชวังบวรสถานมงคล สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทโปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดสลักเมื่อ พ.ศ. 2326 พร้อมกับการก่อสร้างพระราชวังบวรสถานมงคล จากนั้นทรงเปลี่ยนชื่อวัดจากวัดสลักเป็นวัดนิพพานาราม เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ใช้วัดนิพพานารามเป็นสถานที่ทำสังคายนาในปี พ.ศ. 2331 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดพระศรีสรรเพชญ” และใน พ.ศ. 2346 พระราชทานนามใหม่ว่าวัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรมหาวิหาร ตามชื่อวัดในกรุงศรีอยุธยาที่เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช วัดมหาธาตุเป็นสถานที่ที่ใช้เป็นที่พระราชทานเพลิงพระบุพโพเจ้านายซึ่งดำรงพระเกียรติยศสูง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ใช้พื้นที่ของวัดเป็นที่สร้างเมรุพระราชทานเพลิงพระศพพระบรมวงศ์ชั้นสูง ในปลาย พ.ศ. 2432 โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งบาลีวิทยาลัยที่วัดมหาธาตุ เรียกว่ามหาธาตุวิทยาลัย และย้ายการบอกพระปริยัติธรรมมาจากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ต่อมา ใน พ.ศ. 2437 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างอาคารถาวรวัตถุ เรียกว่า สังฆิกเสนาสน์ราชวิทยาลัย เพื่อใช้ในงานพระศพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร หลังจากนั้น จะทรงอุทิศถวายแก่มหาธาตุวิทยาลัย เพื่อเป็นที่เรียนพระปริยัติธรรมชั้นสูง ซึ่งจะได้พระราชทานนามว่า “มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” แต่อาคารหลังนี้มาสร้างเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และงานพระศพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงจัดที่วัดบวรสถานสุทธาวาส ใน พ.ศ. 2439 โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในการบูรณะวัดมหาธาตุและพระราชทานนามว่า “วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์”.

ถนนพระจันทร์และวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร · วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหารและเขตพระนคร · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพระสุเมรุ

ป้ายชื่อถนนบริเวณป้อมพระสุเมรุ ถนนพระสุเมรุ (Thanon Phra Sumen) เป็นถนนสายหนึ่งในพื้นที่แขวงชนะสงคราม และแขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร โดยชื่อถนนมาจากป้อมพระสุเมรุ ป้อมปราการป้องกันพระนครป้อมแรกรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น เป็นถนนสายสั้น ๆ ที่มีจุดเริ่มต้นที่บริเวณข้างป้อมพระสุเมรุ ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของถนนพระอาทิตย์ ในย่านบางลำพู ทอดผ่านแยกบางลำพู ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนจักรพงษ์และถนนสามเสน จากนั้นทอดผ่านวงเวียนสิบสามห้างเลียบไปกับวัดบวรนิเวศวิหาร ไปยังแยกสะพานวันชาติ อันเป็นจุดตัดกับถนนดินสอและถนนประชาธิปไตย จากนั้นเป็นเส้นทางโค้งไปสิ้นสุดลงที่แยกป้อมมหากาฬ อันเป็นจุดตัดกับถนนราชดำเนินกลาง บริเวณป้อมมหากาฬ และเชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ บริเวณถนนพระสุเมรุ เป็นที่ตั้งของร้านอาหาร, ร้านกาแฟ และร้านหนังสือต่าง ๆ เหมือนกับถนนพระอาทิตย์ที่อยู่ใกล้กัน โดยร้านค้าและอาคารบ้านเรือนบางส่วนยังคงเป็นอาคารเก่าแก่ที่สร้างด้วยสถาปัยกรรมแบบโคโลเนียล รวมถึงยังคงเหลือซากกำแพงพระนครและป้อมปราการรอบพระนคร อันได้แก่ วังริมป้อมพระสุเมรุ และป้อมยุคนธร ป้อมสุดท้ายของเกาะรัตนโกสินทร.

ถนนพระจันทร์และถนนพระสุเมรุ · ถนนพระสุเมรุและเขตพระนคร · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพระอาทิตย์

ป้ายชื่อถนนพระอาทิตย์บริเวณป้อมพระสุเมรุ ถนนพระอาทิตย์ (Thanon Phra Athit) เป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจร ในท้องที่แขวงพระบรมมหาราชวังและแขวงชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ มีระยะทางระหว่างประตูมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เลียบฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จนถึงบริเวณป้อมพระสุเมรุ ถนนพระสุเมรุ ชื่อของถนนพระอาทิตย์นำมาจากป้อมพระอาทิตย์ซึ่งเป็นป้อมปราการ 1 ใน 14 ป้อม ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อสถาปนากรุงเทพฯ เป็นราชธานี ปัจจุบันป้อมพระอาทิตย์ถูกรื้อไปแล้ว.

ถนนพระจันทร์และถนนพระอาทิตย์ · ถนนพระอาทิตย์และเขตพระนคร · ดูเพิ่มเติม »

ถนนมหาราช

รถตุ๊กตุ๊กจอดอยู่บริเวณหน้าตลาดท่าเตียน ริมถนนมหาราช ถนนมหาราช (Thanon Maha Rat) เป็นถนนรอบพระนครด้านริมแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ต่อจากถนนจักรเพชรที่สะพานเจริญรัชในย่านปากคลองตลาด ไปจดถนนพระจันทร์ที่ย่านท่าพระจันทร์ ในท้องที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ถนนมหาราช เป็นถนนดั้งเดิมที่มีมาตั้งแต่แรกสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เดิมเป็นถนนข้างกำแพงพระราชวังหลวงด้านตะวันตก เป็นถนนที่ตัดล้อมพระราชวังเช่นเดียวกับถนนหน้าพระลาน, ถนนท้ายวัง และถนนสนามไชย เดิมเป็นทางเดินแคบ ๆ ที่ปูด้วยอิฐรูแผ่นใหญ่ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนในแนวดังกล่าว เป็นถนนเลียบกำแพงพระบรมมหาราชวังด้านทิศตะวันตก เริ่มตั้งแต่ปากคลองตลาดเป็นจุดบรรจบของถนน 3 สาย คือ ถนนมหาราช, ถนนราชินี และถนนมหาไชย แล้วพระราชทานนามว่า "ถนนมหาราช" โดยชื่อถนนนั้นมีผู้สันนิษฐานว่ามาจากส่วนหนึ่งของคำว่าพระบรมมหาราชวัง.

ถนนพระจันทร์และถนนมหาราช · ถนนมหาราชและเขตพระนคร · ดูเพิ่มเติม »

ถนนมหาไชย

นนมหาไชยช่วงใกล้กับสามแยกเรือนจำ ถนนมหาไชย (Thanon Maha Chai) เป็นถนนสายหนึ่งในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากถนนราชดำเนินกลางที่สี่แยกป้อมมหากาฬ ในท้องที่แขวงวัดบวรนิเวศ ไปทางทิศใต้ ข้ามคลองหลอดวัดราชนัดดาเข้าสู่ท้องที่แขวงสำราญราษฎร์ ผ่านวัดเทพธิดาราม ตัดกับถนนบำรุงเมือง (สี่แยกสำราญราษฎร์) และถนนหลวง (สามแยกเรือนจำ) ข้ามคลองหลอดวัดราชบพิธเข้าสู่ท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ ตัดกับถนนเจริญกรุง (สี่แยกสามยอด) จนกระทั่งไปบรรจบกับถนนพีระพงษ์ ถนนเยาวราช และถนนจักรเพชร (สี่แยกวังบูรพา) ถนนมหาไชยเป็นถนนที่ได้นามมาจากชื่อป้อมปราการที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อทรงสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานี นับเป็น 1 ใน 14 ป้อมปราการที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น ต่อมาเมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้นความจำเป็นในการมีป้อมปราการไว้ป้องกันพระนครก็หมดไป ป้อมมหาไชยจึงถูกรื้อถอน และปัจจุบันชื่อป้อมมหาไชยได้กลายมาเป็นชื่อถนนมหาไชย เนื่องจากเป็นถนนที่ตัดผ่านบริเวณที่เป็นป้อมมห.

ถนนพระจันทร์และถนนมหาไชย · ถนนมหาไชยและเขตพระนคร · ดูเพิ่มเติม »

ถนนหน้าพระธาตุ

นนหน้าพระธาตุ ถนนหน้าพระธาตุ (Thanon Na Phra That) เป็นถนนในท้องที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ตั้งต้นจากถนนหน้าพระลาน เลียบสนามหลวงด้านตะวันตก ไปทางทิศเหนือจนถึงถนนราชินี มีความยาวทั้งสิ้น 750 เมตร ถนนหน้าพระธาตุเป็นถนนที่มีมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แต่เป็นถนนในลักษณะพูนดินให้สูง เป็นถนนเชื่อมระหว่างพระราชวังหลวงกับพระราชวังหน้า ใช้เป็นเส้นทางเสด็จของกรมพระราชวังบวรสถานมงคลไปยังพระบรมมหาราชวัง ผ่านวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ จึงได้ชื่อว่าถนนหน้าพระธาตุ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการปรับปรุงให้กว้างขวางขึ้นกว่าเดิม สถานที่สำคัญที่ตั้วอยู่ถนนหน้าพระธาตุ ได้แก่ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์, กรมศิลปากร, หอสมุดพระวชิรญาน, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นต้น.

ถนนพระจันทร์และถนนหน้าพระธาตุ · ถนนหน้าพระธาตุและเขตพระนคร · ดูเพิ่มเติม »

ถนนจักรเพชร

นนจักรเพชร (Thanon Chak Phet) เป็นถนนในท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เริ่มจากถนนเยาวราชตรงข้ามกับถนนมหาไชย ตามแนวขนานคลองรอบกรุง (คลองโอ่งอ่าง) แยกเลี้ยวตรงไปปากคลองตลาด ช่วงหัวเลี้ยวเป็นเชิงสะพานพระปกเกล้า ตัดผ่านถนนตรีเพชร ผ่านปลายถนนบ้านหม้อถึงเชิงสะพานเจริญรัช 31 มีความยาวทั้งสิ้น 1,120 เมตร ถนนจักรเพชรสร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2441 โปรดเกล้าฯ ให้กรมโยธาธิการก่อสร้างถนนมีทางเดินสองข้างจากป้อมจักรเพชร หน้าวัดราชบุรณราชวรวิหาร (วัดเลียบ) ไปถึงปากคลองตลาด ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนต่ออีกช่วงหนึ่ง จากถนนเยาวราชมาตามแนวถนนกับกำแพงพระนครจนถึงป้อมจักรเพชร แล้วพระราชทานชื่อว่า "ถนนจักรเพชร" ตามชื่อป้อมจักรเพชรที่ถนนสายนี้ตัดผ่าน ทั้งนี้บริเวณรอบ ๆ ถนนจักรเพชรยังมีสิ่งก่อสร้างที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และมีความเก่าแก่สวยงามหลายแห่ง เช่น พระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ณ เชิงสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ หรือสะพานพุทธ, อาคารพาณิชย์ตามแนวปากคลองตลาด เป็นต้น.

ถนนจักรเพชรและถนนพระจันทร์ · ถนนจักรเพชรและเขตพระนคร · ดูเพิ่มเติม »

ท้องสนามหลวง

ท้องสนามหลวง ท้องสนามหลวง หรือ สนามหลวง เป็นสนามขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ด้านหน้าวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ระหว่างพระบรมมหาราชวังกับพระราชวังบวรสถานมงคล เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ 74 ไร่ 63 ตารางวา ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 94 ตอนที่ 126 ลงวันที่ 13 ธันวาคม..

ถนนพระจันทร์และท้องสนามหลวง · ท้องสนามหลวงและเขตพระนคร · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเจ้าพระยา

แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสายหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นไหลลงไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างเขตตำบลท้ายบ้าน ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ.

ถนนพระจันทร์และแม่น้ำเจ้าพระยา · เขตพระนครและแม่น้ำเจ้าพระยา · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ถนนพระจันทร์และเขตพระนคร

ถนนพระจันทร์ มี 21 ความสัมพันธ์ขณะที่ เขตพระนคร มี 163 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 14, ดัชนี Jaccard คือ 7.61% = 14 / (21 + 163)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ถนนพระจันทร์และเขตพระนคร หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »