เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ถนนประดิษฐ์มนูธรรมและถนนประเสริฐมนูกิจ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ถนนประดิษฐ์มนูธรรมและถนนประเสริฐมนูกิจ

ถนนประดิษฐ์มนูธรรม vs. ถนนประเสริฐมนูกิจ

นนประดิษฐ์มนูธรรม (Thanon Pradit Manutham) เป็นถนนเลียบทางพิเศษฉลองรัช (ทางด่วนสายรามอินทรา-อาจณรงค์หรือทางด่วนหมายเลข 3) เป็นถนนสายหลักสายหนึ่งที่เชื่อมระหว่างในเมืองกับชานเมืองด้านตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเทพมหานคร ชื่อถนน "ประดิษฐ์มนูธรรม" ตั้งตามราชทินนามของ "หลวงประดิษฐ์มนูธรรม" (ปรีดี พนมยงค์) รัฐบุรุษอาวุโส ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในรัชกาลที่ 8 นายกรัฐมนตรีคนที่ 7 หัวหน้าขบวนการเสรีไทย และผู้นำพลเรือนในคณะราษฎร เพื่อสดุดีเกียรติคุณของท่านในฐานะบุคคลสำคัญของชาติและในวาระที่องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก ประกาศให้ท่านเป็นบุคคลสำคัญของโลกในปี พ.ศ. 2543 ซึ่งเป็นปีครบรอบ 100 ปี ชาตกาลของท่าน โดยกรุงเทพมหานครเป็นผู้จัดสร้างและดูแลรักษาถนนสายนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2546 กรุงเทพมหานครได้ให้ทางเขตวังทองหลางและเขตห้วยขวางเปลี่ยนชื่อถนนประดิษฐ์มนูธรรมเฉพาะช่วงถนนพระราม 9 ถึงถนนลาดพร้าวเป็นชื่อ "ถนนประเสริฐมนูกิจ" โดยให้เหตุผลว่าถนนสายนี้มีความยาวมาก ทำให้การระบุที่อยู่และชื่อผู้รับทางไปรษณีย์ทำได้ไม่สะดวก อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนชื่อถนนประดิษฐ์มนูธรรมช่วงดังกล่าวได้ก่อให้เกิดเสียงคัดค้านขึ้นทั่วไป ทางคณะกรรมการกลางตั้งชื่อถนน ตรอก ซอย วงเวียน ทางแยก คลอง สะพาน และสถานที่สำคัญในเขตกรุงเทพมหานครจึงได้พิจารณาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2547 และให้เปลี่ยนชื่อถนนประเสริฐมนูกิจกลับมาเป็นถนนประดิษฐ์มนูธรรมตามเดิม ถนนประดิษฐ์มนูธรรมมีความยาว 12 กิโลเมตร เริ่มต้นจากปลายซอยสุขุมวิท 63 (เอกมัย) ในพื้นที่เขตห้วยขวาง มุ่งเหนือค่อนตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดผ่านถนนพระราม 9 ข้ามคลองลาดพร้าวเข้าสู่พื้นที่เขตวังทองหลาง ตัดกับถนนประชาอุทิศและถนนลาดพร้าว ข้ามคลองทรงกระเทียมเข้าสู่เขตลาดพร้าว (ฟากตะวันออกของถนนกลายเป็นเส้นแบ่งเขตปกครองระหว่างเขตลาดพร้าวกับเขตวังทองหลาง เขตบางกะปิ และเขตบึงกุ่มตั้งแต่จุดนี้) จากนั้นตัดกับถนนประเสริฐมนูกิจ (เกษตร-นวมินทร์) ข้ามคลองโคกครามเข้าสู่พื้นที่เขตบางเขน และไปสิ้นสุดเส้นทางที่ถนนรามอินทราบริเวณกิโลเมตรที่ 5.5 ถนนมีความกว้าง 6 ช่องจราจร (ขาเข้าและขาออกอย่างละ 3 ช่องจราจร) มีเกาะกลางถนน โดยมีทางด่วนยกระดับอยู่บนเกาะกลางถนนช่วงตั้งแต่ถนนพระราม 9 ถึงถนนรามอินทรา กล่าวได้ว่าถนนสายนี้ขนานขนาบทางด่วน ชาวบ้านจึงมักเรียกว่า "ถนนเลียบทางด่วนรามอินทรา" มีสะพานลอยรถข้ามทางแยกบริเวณจุดตัดถนนลาดพร้าวและถนนประเสริฐมนูกิจด้วย ถนนสายนี้ยังมีทางจักรยานขนานไปกับทางเท้าริมถนน เป็นตัวอย่างที่ดีของการออกแบบถนนสายใหม่ในกรุงเทพฯ และเมืองต่าง ๆ สองข้างทางปลูกต้นไม้หลายชนิดให้ความสวยงามร่มรื่น เช่น ต้นปาล์มน้ำมันที่ปลูกเป็นทิวแถวเรียงรายไปตามทางเท้าริมถนน ถัดจากแถวต้นปาล์มก็จะมีแนวต้นประดู่บ้านอยู่ริมทางจักรยานอีกด้วย ปัจจุบันมีร้านอาหารแบบสวนอาหารตั้งอยู่เรียงรายตลอดแนวถนน โดยเฉพาะบริเวณใกล้จุดตัดถนนประเสริฐมนูกิจซึ่งมีบรรยากาศแบบชายทุ่งชานเมือง นอกจากนี้ยังมีโครงการพัฒนาหมู่บ้านจัดสรรราคาสูงหลายโครงการบนถนนเส้นนี้บนพื้นที่ซึ่งเดิมเป็นพื้นที่ตาบอด แต่ปัจจุบันกลายเป็นทำเลทองที่ไม่ไกลจากใจกลางเมือง. นนประเสริฐมนูกิจ หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 351 สายมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์–คันนายาว หรือที่นิยมเรียกกันว่า ถนนเกษตร-นวมินทร์ เป็นเส้นทางจราจรระหว่างท้องที่เขตจตุจักร เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม และเขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร มีระยะทาง 11.656 กิโลเมตร เริ่มจากบริเวณถนนงามวงศ์วานตัดกับถนนพหลโยธินที่สี่แยกเกษตร เขตจตุจักร เป็นถนนขนาด 8 ช่องทางจราจร มุ่งไปทางทิศตะวันออกในพื้นที่แขวงเสนานิคม ข้ามคลองบางบัวเข้าสู่พื้นที่เขตลาดพร้าวในแขวงจรเข้บัว ตัดกับถนนลาดปลาเค้า จากนั้นมุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เข้าสู่แขวงลาดพร้าว ตัดกับถนนสุคนธสวัสดิ์และถนนประดิษฐ์มนูธรรม เข้าสู่พื้นที่แขวงนวมินทร์ เขตบึงกุ่ม ข้ามคลองลำเจียก ตัดกับถนนรัชดา-รามอินทรา ซ้อนกับแนวปากทางถนนนวลจันทร์และข้ามคลองบางขวดก่อนตัดกับถนนนวมินทร์ เข้าพื้นที่แขวงคลองกุ่ม ตรงไปทางทิศเดิม วกขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามคลองบวบขม ข้ามคลองลำปลาดุกเข้าสู่พื้นที่แขวงรามอินทรา เขตคันนายาว และข้ามคลองครุก่อนไปสิ้นสุดที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3902 (ถนนคู่ขนานกาญจนาภิเษกด้านใน) ซึ่งในอนาคตอาจมีการก่อสร้างเป็นทางแยกต่างระดับด้ว.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ถนนประดิษฐ์มนูธรรมและถนนประเสริฐมนูกิจ

ถนนประดิษฐ์มนูธรรมและถนนประเสริฐมนูกิจ มี 12 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กรุงเทพมหานครถนนพระราม 9ถนนลาดพร้าวทางพิเศษฉลองรัชทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304ปรีดี พนมยงค์เขตบางกะปิเขตบางเขนเขตบึงกุ่มเขตลาดพร้าวเขตวังทองหลางเขตห้วยขวาง

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

กรุงเทพมหานครและถนนประดิษฐ์มนูธรรม · กรุงเทพมหานครและถนนประเสริฐมนูกิจ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพระราม 9

นนพระราม 9 ในเขตสวนหลวง ถนนพระราม 9 (Thanon Rama IX) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีความยาวประมาณ 9 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นที่ทางแยกพระราม 9 ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนรัชดาภิเษกและถนนอโศก-ดินแดงในพื้นที่เขตดินแดง มุ่งหน้าไปทางตะวันออก เข้าพื้นที่เขตห้วยขวาง ผ่านแยกถนนวัฒนธรรม ผ่านจุดตัดกับถนนประดิษฐ์มนูธรรม และตัดกับถนนรามคำแหงในพื้นที่เขตบางกะปิ ไปสิ้นสุดที่ทางแยกต่างระดับศรีนครินทร์ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนศรีนครินทร์ในพื้นที่เขตสวนหลวง โดยมีถนนมอเตอร์เวย์เป็นเส้นทางต่อเนื่อง ซึ่งถนนพระราม 9 ช่วงตั้งแต่ทางแยกรามคำแหงถึงทางแยกต่างระดับถนนศรีนครินทร์ เคยมีฐานะเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร เหตุที่ถนนพระราม 9 ไม่มีคำว่า "ที่" ต่อท้ายนั้น ปรากฏชัดเจนจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่พระราชทานแก่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและปลัดกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 19 กันยายน..

ถนนประดิษฐ์มนูธรรมและถนนพระราม 9 · ถนนประเสริฐมนูกิจและถนนพระราม 9 · ดูเพิ่มเติม »

ถนนลาดพร้าว

นนลาดพร้าว (Thanon Lat Phrao) เป็นถนนสายหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นที่ห้าแยกลาดพร้าว (หรือที่นิยมเรียกว่า "ปากทางลาดพร้าว") ในพื้นที่เขตจตุจักร ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนพหลโยธินและถนนวิภาวดีรังสิต มีทิศทางมุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านจุดตัดกับถนนรัชดาภิเษก ผ่านพื้นที่เขตห้วยขวางในระยะสั้น ๆ เข้าพื้นที่เขตวังทองหลาง ผ่านแยกถนนโชคชัย 4 (ลาดพร้าว 53) ซอยลาดพร้าว 71 และถนนประดิษฐ์มนูธรรม เข้าพื้นที่ระหว่างเขตวังทองหลางกับเขตบางกะปิ ผ่านแยกถนนลาดพร้าว 101 (วัดบึงทองหลาง) เข้าพื้นที่เขตบางกะปิ ผ่านสามแยกบางกะปิ ซึ่งเป็นจุดตัดกับถนนศรีนครินทร์ ไปสิ้นสุดที่สี่แยกบางกะปิตัดกับถนนนวมินทร์และถนนพ่วงศิริ โดยจากแยกนี้ไปจะเป็นถนนเสรีไทย ในปี..

ถนนประดิษฐ์มนูธรรมและถนนลาดพร้าว · ถนนประเสริฐมนูกิจและถนนลาดพร้าว · ดูเพิ่มเติม »

ทางพิเศษฉลองรัช

ทางพิเศษฉลองรัช เป็นทางพิเศษในกรุงเทพมหานคร ก่อสร้างและเปิดให้บริการตลอดสาย เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม..

ถนนประดิษฐ์มนูธรรมและทางพิเศษฉลองรัช · ถนนประเสริฐมนูกิจและทางพิเศษฉลองรัช · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 สายปากเกร็ด–สะพานต่างระดับนครราชสีมา เป็นทางหลวงแผ่นดินสายรองประธานที่เชื่อมระหว่างจังหวัดนนทบุรี กรุงเทพมหานคร จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดนครราชสีมา มีจุดเริ่มต้นบนถนนติวานนท์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 306) ที่ห้าแยกปากเกร็ด ในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และสิ้นสุดบนถนนมิตรภาพ กับทางเลี่ยงเมืองนครราชสีมาด้านตะวันตก (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 204) ที่ทางแยกต่างระดับนครราชสีมา ในอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ระยะทางทั้งสิ้น 298.515 กิโลเมตร อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง 296.707 กิโลเมตร.

ถนนประดิษฐ์มนูธรรมและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 · ถนนประเสริฐมนูกิจและทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 · ดูเพิ่มเติม »

ปรีดี พนมยงค์

ตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ หรือ อำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 – 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526) เป็นรัฐบุรุษอาวุโส ผู้นำคณะราษฎรสายพลเรือน ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของสยามจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน..

ถนนประดิษฐ์มนูธรรมและปรีดี พนมยงค์ · ถนนประเสริฐมนูกิจและปรีดี พนมยงค์ · ดูเพิ่มเติม »

เขตบางกะปิ

ตบางกะปิ เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก ซึ่งถือเป็นเขตที่อยู่อาศัยรองรับการขยายตัวของเมือง ทางทิศตะวันออก (ตอนใต้).

ถนนประดิษฐ์มนูธรรมและเขตบางกะปิ · ถนนประเสริฐมนูกิจและเขตบางกะปิ · ดูเพิ่มเติม »

เขตบางเขน

ตบางเขน เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ ซึ่งถือเป็นเขตที่อยู่อาศัยรองรับการขยายตัวของเมือง ทางทิศตะวันออก (ตอนเหนือ) ของกรุงเทพมหานคร และเป็นเขตที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 4 ในกรุงเทพมหานครรองจากเขตบางแ.

ถนนประดิษฐ์มนูธรรมและเขตบางเขน · ถนนประเสริฐมนูกิจและเขตบางเขน · ดูเพิ่มเติม »

เขตบึงกุ่ม

ตบึงกุ่ม เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย โดยมีย่านการค้าหนาแน่นทางตอนกลางของพื้นที.

ถนนประดิษฐ์มนูธรรมและเขตบึงกุ่ม · ถนนประเสริฐมนูกิจและเขตบึงกุ่ม · ดูเพิ่มเติม »

เขตลาดพร้าว

ตลาดพร้าว เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ ซึ่งถือเป็นเขตที่อยู่อาศัยรองรับการขยายตัวของเมือง ทางทิศตะวันออก (ตอนเหนือ).

ถนนประดิษฐ์มนูธรรมและเขตลาดพร้าว · ถนนประเสริฐมนูกิจและเขตลาดพร้าว · ดูเพิ่มเติม »

เขตวังทองหลาง

ตวังทองหลาง เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง สภาพโดยทั่วไปเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางและหนาแน่นน้อย โดยมีย่านการค้าหนาแน่นทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของพื้นที.

ถนนประดิษฐ์มนูธรรมและเขตวังทองหลาง · ถนนประเสริฐมนูกิจและเขตวังทองหลาง · ดูเพิ่มเติม »

เขตห้วยขวาง

ตห้วยขวาง เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงเทพกลาง ถือเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก.

ถนนประดิษฐ์มนูธรรมและเขตห้วยขวาง · ถนนประเสริฐมนูกิจและเขตห้วยขวาง · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ถนนประดิษฐ์มนูธรรมและถนนประเสริฐมนูกิจ

ถนนประดิษฐ์มนูธรรม มี 28 ความสัมพันธ์ขณะที่ ถนนประเสริฐมนูกิจ มี 30 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 12, ดัชนี Jaccard คือ 20.69% = 12 / (28 + 30)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ถนนประดิษฐ์มนูธรรมและถนนประเสริฐมนูกิจ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: