โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ถนนบรมราชชนนีและแยกบรมราชชนนี

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ถนนบรมราชชนนีและแยกบรมราชชนนี

ถนนบรมราชชนนี vs. แยกบรมราชชนนี

นนบรมราชชนนี (Thanon Borommaratchachonnani) เป็นเส้นทางคมนาคมในพื้นที่ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร ระหว่างเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร และอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ระยะทางรวม 33.984 กิโลเมตร เฉพาะส่วนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงมีฐานะเป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338 สายอรุณอมรินทร์–นครชัยศรี และมีระยะทาง 31.265 กิโลเมตร. แยกบรมราชชนนี (Borommaratchachonnani Intersection) เป็นสี่แยกจุดตัดถนนจรัญสนิทวงศ์ ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า และเป็นจุดเริ่มต้นของถนนบรมราชชนนี ในพื้นที่เขตบางกอกน้อยและบางพลัด กรุงเทพมหานคร ในอดีตมีชื่อเรียกว่า "แยกปิ่นเกล้า" หรือ "แยก 35 โบวล์" เนื่องจากเคยเป็นที่ตั้งของสถานบริการโบว์ลิ่งแห่งหนึ่ง ชื่อ "35 โบวล์" ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นแยกบรมราชชนนี ตามชื่อถนนพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันแยกนี้มีอุโมงค์ลอดทางแยกตามแนวถนนจรัญสนิทวงศ์และมีสะพานข้ามแยกบนถนนบรมราชชนนีและถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ถนนบรมราชชนนีและแยกบรมราชชนนี

ถนนบรมราชชนนีและแยกบรมราชชนนี มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กรุงเทพมหานครสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าถนนจรัญสนิทวงศ์เขตบางพลัดเขตบางกอกน้อย

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

กรุงเทพมหานครและถนนบรมราชชนนี · กรุงเทพมหานครและแยกบรมราชชนนี · ดูเพิ่มเติม »

สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า

มุมมองแม่น้ำเจ้าพระยาจากสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า (Somdet Phra Pinklao Bridge) หรือที่นิยมเรียกกันว่า สะพานปิ่นเกล้า เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เชื่อมถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้าระหว่างเขตพระนคร (ฝั่งพระนคร) กับเขตบางกอกน้อย (ฝั่งธนบุรี) กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงชนบท สะพานพระปิ่นเกล้าเป็นสะพานแบบคอนกรีตอัดแรงชนิดต่อเนื่อง มีจำนวนช่องทางรถวิ่ง 6 ช่องทางจราจร ความกว้างของสะพาน 26.60 เมตร ความยาว 622 เมตร สร้างขึ้นเพื่อผ่อนคลายความคับคั่งของการจราจร โดยได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลประเทศญี่ปุ่น ในการสำรวจออกแบบสะพาน และให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่รัฐบาลไทย โดยให้เงินกู้สมทบกับเงินงบประมาณของรัฐบาลไทย เริ่มลงมือก่อสร้างเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2514 และสร้างเสร็จทำพิธีเปิดการจราจรเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2516 โดยได้รับพระราชทานนามว่า "สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า" เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพื้นที่ของสะพานทางฝั่งพระนครนั้นเคยเป็นเขตของพระราชวังบวรสถานมงคล.

ถนนบรมราชชนนีและสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า · สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าและแยกบรมราชชนนี · ดูเพิ่มเติม »

ถนนจรัญสนิทวงศ์

นนจรัญสนิทวงศ์ (Thanon Charan Sanit Wong) เป็นถนนในฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร เริ่มต้นจากถนนเพชรเกษม ที่สี่แยกท่าพระ ในแขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ ตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนพาณิชยการธนบุรี (จรัญสนิทวงศ์ 13) ที่สามแยกพาณิชยการธนบุรี จากนั้นข้ามคลองมอญ เข้าสู่พื้นที่แขวงบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย ตรงไปทางทิศเหนือ ตัดกับถนนพรานนกที่สามแยกไฟฉาย จากนั้นโค้งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับทางรถไฟสายใต้ (จากสถานีรถไฟธนบุรี) เข้าแขวงบางขุนนนท์ ตัดกับถนนบางขุนนนท์ที่สามแยกบางขุนนนท์ จากนั้นข้ามคลองบางกอกน้อยเข้าสู่แขวงอรุณอมรินทร์ ตัดกับถนนบรมราชชนนีที่สี่แยกบรมราชชนนีเข้าสู่พื้นที่เขตบางพลัด โดยเป็นเส้นแบ่งเขตการปกครองระหว่างแขวงบางบำหรุกับแขวงบางยี่ขันไปจนตัดกับถนนสิรินธรและถนนราชวิถีที่สี่แยกบางพลัด จากนั้นจึงเข้าสู่แขวงบางพลัด มุ่งตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ข้ามคลองบางพลัดเข้าสู่พื้นที่แขวงบางอ้อ และไปสิ้นสุดที่เชิงสะพานพระราม 7 ในพื้นที่ตำบลบางกรวย อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ชื่อถนนจรัญสนิทวงศ์ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่หลวงจรัญสนิทวงศ์ (ม.ล.จรัญ สนิทวงศ์) อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม เดิมกรุงเทพมหานครติดป้ายชื่อถนนว่า "ถนนจรัลสนิทวงศ์" ต่อมาได้แก้ไขเป็น "จรัญสนิทวงศ์" ตามนามของหลวงจรัญสนิทวงศ์ ปัจจุบันถนนสายนี้เป็นถนนสายสำคัญสายหนึ่งของกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันถนนจรัญสนิทวงศ์ตลอดทั้งสายกำลังมีการก่อสร้างรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ส่วนต่อขยายสัญญาที่ 3 ช่วงสถานีเตาปูนถึงสี่แยกท่าพระ เป็นลักษณะรถไฟฟ้าแบบลอยฟ้าเช่นเดียวกับรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (เชื่อมต่อกับสายฉลองรัชธรรมที่สถานีเตาปูน) เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อปี..

ถนนจรัญสนิทวงศ์และถนนบรมราชชนนี · ถนนจรัญสนิทวงศ์และแยกบรมราชชนนี · ดูเพิ่มเติม »

เขตบางพลัด

ตบางพลัด เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนเหนือ เดิมถือเป็นพื้นที่รอบนอก แต่ปัจจุบันมีความเจริญเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สภาพทั่วไปเป็นแหล่งการค้าและแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก แต่ก็มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมตั้งอยู่ด้วยเช่นกัน.

ถนนบรมราชชนนีและเขตบางพลัด · เขตบางพลัดและแยกบรมราชชนนี · ดูเพิ่มเติม »

เขตบางกอกน้อย

ตบางกอกน้อย เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนเหนือ ซึ่งถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี โดยมีคำขวัญประจำเขตว่า "สมเด็จโตวัดระฆัง วังหลังตั้งอยู่ อู่เรือพระราชพิธี สถานีรถไฟ คลองใหญ่มีชื่อ เลื่องลือเครื่องลงหิน นามระบิลช่างหล่อ งามลออวัดวา".

ถนนบรมราชชนนีและเขตบางกอกน้อย · เขตบางกอกน้อยและแยกบรมราชชนนี · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ถนนบรมราชชนนีและแยกบรมราชชนนี

ถนนบรมราชชนนี มี 75 ความสัมพันธ์ขณะที่ แยกบรมราชชนนี มี 11 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 5.81% = 5 / (75 + 11)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ถนนบรมราชชนนีและแยกบรมราชชนนี หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »