ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ถนนบรมราชชนนีและถนนพุทธมณฑล สาย 3
ถนนบรมราชชนนีและถนนพุทธมณฑล สาย 3 มี 6 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กรุงเทพมหานครถนนอุทยานถนนเพชรเกษมเขตบางแคเขตหนองแขมเขตทวีวัฒนา
กรุงเทพมหานคร
กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.
กรุงเทพมหานครและถนนบรมราชชนนี · กรุงเทพมหานครและถนนพุทธมณฑล สาย 3 ·
ถนนอุทยาน
นนอุทยาน ในปี พ.ศ. 2549 ถนนอุทยาน (Thanon Utthayan) หรือที่นิยมเรียกในชื่อเดิมว่า ถนนอักษะ เป็นถนนเชื่อมระหว่างถนนพุทธมณฑลสาย 3 ในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร ถึงถนนพุทธมณฑลสาย 4 ในอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม มีระยะทาง 3.98 กิโลเมตร ความกว้าง 90 เมตร พร้อมด้วยทัศนียภาพที่สวยงาม มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น คือ เสาโคมไฟรูปหงส์เรียงราง 2 ข้างทาง ที่มากถึง 979 ต้น และคูน้ำคั่นกลางความกว้าง 30 เมตร ที่มีน้ำพุเล่นระดับ 3 แห่ง จนได้ชื่อว่าเป็นถนนที่สวยที่สุดในประเทศไทย ถนนอุทยานหรือเดิมชื่อถนนอักษะ เป็นถนนที่สร้างมุ่งไปพุทธมณฑลซึ่งได้เริ่มก่อสร้างใน พ.ศ. 2498 สมัยที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีเพื่อเฉลิมฉลอง 25 พุทธศตวรรษ (พ.ศ. 2500) โดยเริ่มดำเนินการเวนคืนที่ดินของราษฎรเพื่อสร้างถนนตั้งแต่ พ.ศ. 2494 แต่การก่อสร้างพุทธมณฑลและถนนอักษะได้หยุดชะงักไปเมื่อจอมพล ป.พิบูลสงคราม ถูกจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก่อรัฐประหารยึดอำนาจใน พ.ศ. 2500 ต่อมาในสมัยพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เริ่มรื้อฟื้นโครการพุทธมณฑลขึ้นเนื่องจากใกล้การเฉลิมฉลองโอกาสที่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปีใน พ.ศ. 2525 และเสร็จสมบูรณ์ในสมัยที่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ส่วนถนนอักษะได้รับอนุมัติให้ลงมือก่อสร้างในสมัยที่นายบรรหาร ศิลปอาชา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โครงการก่อสร้างถนนอักษะเป็นโครงการหนึ่งที่กรุงเทพมหานครดำเนินการเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ใน พ.ศ. 2539 เพื่อเป็นการเสริมสร้างความสง่างามแก่พุทธมณฑลซึ่งเป็นสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ และอำนวยความสะดวกในพระราชพิธีที่พุทธมณฑล ใช้งบประมาณการก่อสร้าง 1,068,987,571 บาท (ถือเป็นถนนที่ใช้งบประมาณในการสร้างสูงที่สุดในประเทศไทยด้วยกรุงเทพมหานคร, แฟนพันธุ์แท้. เกมโชว์ทางช่อง 5: ศุกร์ที่ 5 เมษายน 2545) และเสร็จสมบูรณ์เปิดให้ประชาชนใช้ได้ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 สำหรับชื่อถนนอักษะซึ่งมาจากภาษาอังกฤษว่า "Axis" แปลว่า "แกนกลาง" นั้นเป็นคำที่ใช้เรียกหมายถึงประเทศฝ่ายอักษะ คือ เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น ซึ่งทำสงครามกับฝ่ายพันธมิตร คือ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส ในสงครามโลกครั้งที่ 2 และรัฐบาลในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ประกาศเข้าร่วมสงครามกับฝ่ายอักษะ เมื่อสร้างถนนเสร็จแล้ว กรุงเทพมหานครได้ประสานงานกับกรมศิลปากรในเรื่องชื่อถนนอักษะ ซึ่งกรมศิลปากรได้แนะนำให้ใช้ชื่อว่า ถนนอักษะ ซึ่งแปลว่าแกนกลาง เนื่องจากเป็นถนนเชื่อมระหว่างถนนพุทธมณฑลสาย 3 กับถนนพุทธมณฑลสาย 4 ต่อมากรุงเทพมหานครได้ประสานงานกับกรมศิลปากรเพื่อขอพระราชทานชื่อถนนจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อถนนว่า "ถนนอุทยาน" ซึ่งเป็นชื่อที่สัมพันธ์กับพุทธมณฑล ในเทศกาลสงกรานต์สมัยปัจจุบัน ถนนอุทยานรวมถึงถนนเลียบคลองทวีวัฒนาที่อยู่ใกล้เคียงกัน นิยมใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมและเล่นสาดน้ำเช่นเดียวกับถนนข้าวสารในเขตพระนครและถนนสีลมในเขตบางรัก แต่ในปี..
ถนนบรมราชชนนีและถนนอุทยาน · ถนนพุทธมณฑล สาย 3และถนนอุทยาน ·
ถนนเพชรเกษม
นนเพชรเกษม (Thanon Phet Kasem) ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 สายกรุงเทพมหานคร–จุดผ่านแดนถาวรสะเดา (เขตแดนไทย/มาเลเซีย) เป็นทางหลวงแผ่นดินสายประธานของประเทศไทย ที่มีเส้นทางมุ่งสู่ภาคใต้ของประเทศไทย มีระยะทาง 1277.512 กิโลเมตร นับเป็นทางหลวงหรือถนนสายที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ถนนเพชรเกษมมีเส้นทางเริ่มต้นที่สะพานเนาวจำเนียร (ข้ามคลองบางกอกใหญ่) ตั้งอยู่บนเส้นแบ่งการปกครองระหว่างเขตบางกอกใหญ่กับเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร สิ้นสุดที่จุดผ่านแดนถาวรสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา บริเวณเขตแดนประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย เชื่อมต่อกับทางด่วนเหนือ–ใต้ สายเหนือ ที่เมืองบูกิตกายูฮีตัม รัฐเกดะห์ ประเทศมาเลเซีย บางช่วงของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 2 และทางหลวงเอเชียสาย 123.
ถนนบรมราชชนนีและถนนเพชรเกษม · ถนนพุทธมณฑล สาย 3และถนนเพชรเกษม ·
เขตบางแค
ตบางแค เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนใต้ ซึ่งถือเป็นเขตเกษตรกรรมผสมผสานแหล่งที่อยู่อาศัยสภาพแวดล้อมดีทางฝั่งธนบุรี ปัจจุบันเขตบางแคเป็นเขตที่มีจำนวนประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ในกรุงเทพมหานครรองจากเขตคลองสามว.
ถนนบรมราชชนนีและเขตบางแค · ถนนพุทธมณฑล สาย 3และเขตบางแค ·
เขตหนองแขม
ตหนองแขม เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนใต้ สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม สภาพเศรษฐกิจดั้งเดิมขึ้นอยู่กับการเกษตรกรรม แต่ปัจจุบันสภาพพื้นที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากชุมชนเมืองขยายตัวจากพื้นที่ชั้นใน มีผู้ย้ายถิ่นเข้ามาอยู่อาศัยและประกอบอาชีพมากขึ้น พื้นที่การเกษตรจึงเริ่มถูกเปลี่ยนแปลงเป็นสถานที่ราชการ สถานศึกษา โรงพยาบาล สาธารณสุข สถานีโทรทัศน์ โรงงานอุตสาหกรรม อาคารพาณิชย์ และหมู่บ้านจัดสรร.
ถนนบรมราชชนนีและเขตหนองแขม · ถนนพุทธมณฑล สาย 3และเขตหนองแขม ·
เขตทวีวัฒนา
ตทวีวัฒนา เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนเหนือ ปัจจุบันพื้นที่ส่วนใหญ่ของเขตเป็นพื้นที่เกษตรกรรม มีลำคลองหลายสายที่สามารถนำน้ำไปใช้ในการทำสวนผลไม้ อย่างไรก็ตาม พื้นที่เกษตรเหล่านั้นกำลังถูกแทนที่ทีละน้อยด้วยโครงการหมู่บ้านจัดสรรซึ่งเรียงรายอยู่ตามถนนสายหลักในพื้นที.
ถนนบรมราชชนนีและเขตทวีวัฒนา · ถนนพุทธมณฑล สาย 3และเขตทวีวัฒนา ·
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ ถนนบรมราชชนนีและถนนพุทธมณฑล สาย 3 มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง ถนนบรมราชชนนีและถนนพุทธมณฑล สาย 3
การเปรียบเทียบระหว่าง ถนนบรมราชชนนีและถนนพุทธมณฑล สาย 3
ถนนบรมราชชนนี มี 75 ความสัมพันธ์ขณะที่ ถนนพุทธมณฑล สาย 3 มี 9 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 6, ดัชนี Jaccard คือ 7.14% = 6 / (75 + 9)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ถนนบรมราชชนนีและถนนพุทธมณฑล สาย 3 หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: