โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ถนนทวีวัฒนา

ดัชนี ถนนทวีวัฒนา

นนทวีวัฒนา (Thanon Thawi Watthana) เป็นเส้นทางการคมนาคมระหว่างเขตหนองแขมกับเขตทวีวัฒนา ทางทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานคร แยกจากถนนเพชรเกษมในพื้นที่แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม เลียบฝั่งตะวันตกของคลองทวีวัฒนาเป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านใต้สะพานถนนพุทธมณฑล สาย 3 จากนั้นข้ามคลองบางไผ่เข้าพื้นที่แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา ตัดกับถนนบางแวก ตัดกับถนนเลียบคลองปทุม ตัดกับถนนทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษกและถนนทวีวัฒนา-พุทธมณฑล สาย 4 จากนั้นข้ามคลองบางกระทึกเข้าพื้นที่แขวงศาลาธรรมสพน์ ตัดกับถนนอุทยาน ถนนบรมราชชนนี และถนนศาลาธรรมสพน์ ก่อนจะไปสิ้นสุดที่ทางรถไฟสายใต้ ถนนทวีวัฒนาเป็นถนนขนาด 2 ช่องทางจราจร ไม่มีเกาะกลาง ระยะทางรวม 10.8 กิโลเมตร เดิมมีลักษณะเป็นคันทางริมคลองทวีวัฒนาซึ่งกรมชลประทานใช้เป็นเส้นทางในการดูแลบำรุงรักษาคลอง แต่ให้ประชาชนได้ใช้สัญจรด้วย กรุงเทพมหานครได้รับมอบเส้นทางสายนี้จากกรมชลประทานเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2520กนกวลี ชูชั.

21 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2520พ.ศ. 2545พ.ศ. 2546กรมชลประทาน (ประเทศไทย)กรุงเทพมหานครสงกรานต์ถนนบรมราชชนนีถนนพุทธมณฑล สาย 2ถนนพุทธมณฑล สาย 3ถนนกาญจนาภิเษกถนนสีลมถนนอุทยานถนนทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษกถนนข้าวสารถนนเพชรเกษมทางรถไฟสายใต้คลองทวีวัฒนาเขตหนองแขมเขตทวีวัฒนาเขตตลิ่งชัน25 กรกฎาคม

พ.ศ. 2520

ทธศักราช 2520 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1977 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ถนนทวีวัฒนาและพ.ศ. 2520 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2545

ทธศักราช 2545 V 2002 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2002 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ถนนทวีวัฒนาและพ.ศ. 2545 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2546

ทธศักราช 2546 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2003 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน และกำหนดให้เป็น.

ใหม่!!: ถนนทวีวัฒนาและพ.ศ. 2546 · ดูเพิ่มเติม »

กรมชลประทาน (ประเทศไทย)

กรมชลประทาน เป็นหน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีหน้าที่จัดให้ได้มาซึ่งน้ำเพื่อกักเก็บรักษา ควบคุม ส่ง ระบาย หรือ แบ่งน้ำเพื่อการเกษตร การพลังงาน การสาธารณูปโภค หรือการอุตสาหกรรม และหมายรวมถึงการป้องกันความเสียหายอันเกิดจากน้ำ กับการคมนาคมทางน้ำซึ่งอยู่ในเขตชลประทาน.

ใหม่!!: ถนนทวีวัฒนาและกรมชลประทาน (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: ถนนทวีวัฒนาและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

สงกรานต์

ำหรับ สงกรานต์ ความหมายอื่น ดูที่: สงกรานต์ (แก้ความกำกวม) สงกรานต์ (សង្រ្កាន្ត; သင်္ကြန်; ສົງການ; 泼水节) เป็นประเพณีของประเทศไทย กัมพูชา ลาว พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไทแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สันนิษฐานว่า สงกรานต์ได้รับอิทธิพลมาจากเทศกาลโฮลี (होली) ในอินเดีย แต่เทศกาลโฮลีจะใช้การสาดสีแทน เริ่มในทุกวันแรม 1 ค่ำเดือน 4 คือ ในเดือนมีนาคม สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึง "การเคลื่อนย้าย" ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี คือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สงกรานต์สืบทอดมาแต่โบราณคู่กับตรุษ จึงเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึง ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เดิมวันที่จัดเทศกาลกำหนดโดยการคำนวณทางดาราศาสตร์ แต่ปัจจุบันระบุแน่นอนว่า 13 ถึง 15 เมษายน วันขึ้นปีใหม่ไทยเป็นวันเริ่มปีปฏิทินของไทยจนถึง..

ใหม่!!: ถนนทวีวัฒนาและสงกรานต์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนบรมราชชนนี

นนบรมราชชนนี (Thanon Borommaratchachonnani) เป็นเส้นทางคมนาคมในพื้นที่ฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานคร ระหว่างเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร และอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ระยะทางรวม 33.984 กิโลเมตร เฉพาะส่วนที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทางหลวงมีฐานะเป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338 สายอรุณอมรินทร์–นครชัยศรี และมีระยะทาง 31.265 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ถนนทวีวัฒนาและถนนบรมราชชนนี · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพุทธมณฑล สาย 2

นนพุทธมณฑล สาย 2 (Thanon Phutthamonthon Sai 2) เป็นถนนสายสำคัญในท้องที่เขตบางแค และเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ถนนเพชรเกษม มุ่งตรงไปทางทิศเหนือ ตัดกับซอยพุทธมณฑล สาย 2 ซอย 7 และซอยพุทธมณฑล สาย 2 ซอย 10, ถนนบางแวก, ถนนทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษก, ถนนสุขาภิบาลบางระมาด, ซอยพุทธมณฑล สาย 2 ซอย 21/1 และซอยพุทธมณฑล สาย 2 ซอย 24, ถนนบรมราชชนนี และถนนศาลาธรรมสพน์ ไปสิ้นสุดที่ทางรถไฟสายใต้ บริเวณป้ายหยุดรถไฟพุทธมณฑลสาย 2 เดิมถนนพุทธมณฑล สาย 2 เป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจร มีคูน้ำสองข้างถนนตลอดแนว ปัจจุบันคูน้ำถูกถมเพื่อขยายถนนเป็น 6 ช่องจราจรตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ถนนทวีวัฒนาและถนนพุทธมณฑล สาย 2 · ดูเพิ่มเติม »

ถนนพุทธมณฑล สาย 3

นนพุทธมณฑล สาย 3 (Thanon Phutthamonthon Sai 3) เป็นถนนสายสำคัญในท้องที่เขตหนองแขม เขตบางแค และเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ถนนเพชรเกษม มุ่งตรงไปทางทิศเหนือโดยช่วงแรกซ้อนทับแนวซอยเพชรเกษม 104 เดิม จากนั้นเป็นถนนตัดใหม่ ข้ามถนนทวีวัฒนา ตัดกับซอยพุทธมณฑล สาย 3 ซอย 13 และซอยพุทธมณฑล สาย 3 ซอย 14, ถนนบางแวก, ถนนทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษก, ซอยทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษก 24 และถนนเลียบคลองบางพรม, ถนนอุทยาน, ถนนบรมราชชนนี และถนนศาลาธรรมสพน์ ไปสิ้นสุดที่คลองบางคูเวียง เดิมถนนพุทธมณฑล สาย 3 เป็นถนน 2 ช่องจราจร ปัจจุบันขยายเป็น 6 ช่องจราจรตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ถนนทวีวัฒนาและถนนพุทธมณฑล สาย 3 · ดูเพิ่มเติม »

ถนนกาญจนาภิเษก

นนกาญจนาภิเษก (Thanon Kanchanaphisek) หรือ ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 เป็นถนนสายสำคัญที่มีเส้นทางเชื่อมต่อกันเป็นวงแหวนล้อมรอบตัวเมืองกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ รวมถึงผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยาด้วย มีระยะทางตลอดทั้งสายรวม 168 กิโลเมตร ถนนสายนี้สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการจราจรที่ติดขัดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีปริมาณการจราจรและการขนส่งเพิ่มขึ้น อันเป็นผลจากความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และเป็นทางเลี่ยงเมืองกรุงเทพมหานครที่เป็นตัวเชื่อมทางสายหลักเข้าไปสู่ทุกภาคของประเทศ เริ่มก่อสร้างครั้งแรกเมื่อปี..

ใหม่!!: ถนนทวีวัฒนาและถนนกาญจนาภิเษก · ดูเพิ่มเติม »

ถนนสีลม

ประติมากรรมเครื่องสีลมที่สร้างขึ้นใหม่ ถนนสีลม (Thanon Si Lom) ถนนสำคัญในเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร เป็นถนนคอนกรีตขนาดกว้าง 6 ช่องทางจราจร มีช่องจอดรถและบาทวิถีทั้งสองข้าง ความยาวประมาณ 2.78 กิโลเมตร เริ่มตั้งแต่ถนนเจริญกรุง (แยกบางรัก) ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตัดกับถนนมเหสักข์-ถนนสุรศักดิ์ (แยกสุรศักดิ์) ถนนประมวญ (แยกประมวญ) ถนนเดโช (แยกเดโช) ถนนนราธิวาสราชนครินทร์ (แยกสีลม-นราธิวาส) และถนนคอนแวนต์ (แยกคอนแวนต์) และไปสิ้นสุดที่ถนนพระรามที่ 4 (แยกศาลาแดง) สีลมเป็นถนนที่มีเกาะกลางและมีต้นไม้ใหญ่ปลูกเรียงรายไปตลอดแนวถนนจำนวน 483 ต้น และเป็นถนนสำคัญสายแรกที่เดินสายไฟฟ้าและสายโทรศัพท์ไว้ใต้ดิน ถนนสีลมสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 พร้อม ๆ กับถนนเจริญกรุง ถนนบำรุงเมือง และถนนเฟื่องนคร เดิมเรียกชื่อว่า "ถนนขวาง" เดิมเป็นคันดินที่เกิดจากการขุดคลองเพื่อเชื่อมคลองบางรักกับคลองถนนตรง คันดินจึงกลายเป็นถนนที่เรียกกันว่าถนนขวาง ชาวต่างประเทศได้นำเครื่อง สีลม ซึ่งใช้สำหรับการวิดน้ำมาติดตั้งที่ถนนขวาง โดยที่บริเวณทั่วไปยังเป็นทุ่งนาโล่ง เครื่องสีลมวิดน้ำจึงดูเด่นและกลายเป็นชื่อเรียกของถนนมาถึงปัจจุบัน ถนนสีลมเมื่อครั้งจัดเป็นถนนคนเดิน ใช้ชื่อว่า โครงการ 7 มหัศจรรย์ที่สีลม (7 Wonders @ Silom Street) ในปี 2544 ปัจจุบันถนนสีลมนับเป็นถนนธุรกิจสายสำคัญสายหนึ่งของกรุงเทพมหานคร มีผู้ขนานนามถนนสีลมว่า "วอลล์สตรีตของกรุงเทพฯ" ถนนสีลมมีสำนักงานใหญ่ธนาคาร โรงแรม อาคารสำนักงาน ตลอดจนศูนย์การค้าขนาดใหญ่เรียงรายอยู่ทั้งสองฟากถนน เป็นถนนท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งซื้อสินค้าและขายของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยวตามบาทวิถีในเวลากลางคืน รวมทั้งใน "ซอยละลายทรัพย์" นอกจากนี้ ยังเคยมีโครงการวัฒนธรรมปิดเป็นถนนคนเดินในวันอาทิตย์ ถนนสีลมยังได้ชื่อว่าเป็นถนนการเมืองยุคใหม่จากการเดินขบวนของนักธุรกิจเพื่อขับไล่พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ และพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตรให้ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ถนนสีลมมีรถไฟฟ้าแล่นผ่านจากถนนพระรามที่ 4 ขึ้นลงที่สถานีศาลาแดงและเลี้ยวออกไปถนนสาทรที่สถานีช่องนนทรี ช่วงสถานี สาธรภาพจากมุมสูง หมวดหมู่:รัชกาลที่ 4 สีลม สีลม หมวดหมู่:ย่านในกรุงเทพมหานคร.

ใหม่!!: ถนนทวีวัฒนาและถนนสีลม · ดูเพิ่มเติม »

ถนนอุทยาน

นนอุทยาน ในปี พ.ศ. 2549 ถนนอุทยาน (Thanon Utthayan) หรือที่นิยมเรียกในชื่อเดิมว่า ถนนอักษะ เป็นถนนเชื่อมระหว่างถนนพุทธมณฑลสาย 3 ในเขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร ถึงถนนพุทธมณฑลสาย 4 ในอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม มีระยะทาง 3.98 กิโลเมตร ความกว้าง 90 เมตร พร้อมด้วยทัศนียภาพที่สวยงาม มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น คือ เสาโคมไฟรูปหงส์เรียงราง 2 ข้างทาง ที่มากถึง 979 ต้น และคูน้ำคั่นกลางความกว้าง 30 เมตร ที่มีน้ำพุเล่นระดับ 3 แห่ง จนได้ชื่อว่าเป็นถนนที่สวยที่สุดในประเทศไทย ถนนอุทยานหรือเดิมชื่อถนนอักษะ เป็นถนนที่สร้างมุ่งไปพุทธมณฑลซึ่งได้เริ่มก่อสร้างใน พ.ศ. 2498 สมัยที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีเพื่อเฉลิมฉลอง 25 พุทธศตวรรษ (พ.ศ. 2500) โดยเริ่มดำเนินการเวนคืนที่ดินของราษฎรเพื่อสร้างถนนตั้งแต่ พ.ศ. 2494 แต่การก่อสร้างพุทธมณฑลและถนนอักษะได้หยุดชะงักไปเมื่อจอมพล ป.พิบูลสงคราม ถูกจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก่อรัฐประหารยึดอำนาจใน พ.ศ. 2500 ต่อมาในสมัยพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เริ่มรื้อฟื้นโครการพุทธมณฑลขึ้นเนื่องจากใกล้การเฉลิมฉลองโอกาสที่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปีใน พ.ศ. 2525 และเสร็จสมบูรณ์ในสมัยที่พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ส่วนถนนอักษะได้รับอนุมัติให้ลงมือก่อสร้างในสมัยที่นายบรรหาร ศิลปอาชา ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โครงการก่อสร้างถนนอักษะเป็นโครงการหนึ่งที่กรุงเทพมหานครดำเนินการเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ใน พ.ศ. 2539 เพื่อเป็นการเสริมสร้างความสง่างามแก่พุทธมณฑลซึ่งเป็นสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นการเสริมสร้างภาพลักษณ์ และอำนวยความสะดวกในพระราชพิธีที่พุทธมณฑล ใช้งบประมาณการก่อสร้าง 1,068,987,571 บาท (ถือเป็นถนนที่ใช้งบประมาณในการสร้างสูงที่สุดในประเทศไทยด้วยกรุงเทพมหานคร, แฟนพันธุ์แท้. เกมโชว์ทางช่อง 5: ศุกร์ที่ 5 เมษายน 2545) และเสร็จสมบูรณ์เปิดให้ประชาชนใช้ได้ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 สำหรับชื่อถนนอักษะซึ่งมาจากภาษาอังกฤษว่า "Axis" แปลว่า "แกนกลาง" นั้นเป็นคำที่ใช้เรียกหมายถึงประเทศฝ่ายอักษะ คือ เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น ซึ่งทำสงครามกับฝ่ายพันธมิตร คือ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส ในสงครามโลกครั้งที่ 2 และรัฐบาลในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ประกาศเข้าร่วมสงครามกับฝ่ายอักษะ เมื่อสร้างถนนเสร็จแล้ว กรุงเทพมหานครได้ประสานงานกับกรมศิลปากรในเรื่องชื่อถนนอักษะ ซึ่งกรมศิลปากรได้แนะนำให้ใช้ชื่อว่า ถนนอักษะ ซึ่งแปลว่าแกนกลาง เนื่องจากเป็นถนนเชื่อมระหว่างถนนพุทธมณฑลสาย 3 กับถนนพุทธมณฑลสาย 4 ต่อมากรุงเทพมหานครได้ประสานงานกับกรมศิลปากรเพื่อขอพระราชทานชื่อถนนจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อถนนว่า "ถนนอุทยาน" ซึ่งเป็นชื่อที่สัมพันธ์กับพุทธมณฑล ในเทศกาลสงกรานต์สมัยปัจจุบัน ถนนอุทยานรวมถึงถนนเลียบคลองทวีวัฒนาที่อยู่ใกล้เคียงกัน นิยมใช้เป็นสถานที่จัดกิจกรรมและเล่นสาดน้ำเช่นเดียวกับถนนข้าวสารในเขตพระนครและถนนสีลมในเขตบางรัก แต่ในปี..

ใหม่!!: ถนนทวีวัฒนาและถนนอุทยาน · ดูเพิ่มเติม »

ถนนทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษก

นนทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษก (Thanon Thawi Watthana - Kanchanaphisek) เป็นเส้นทางการคมนาคมในท้องที่แขวงทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา ทางทิศตะวันตกของกรุงเทพมหานคร แยกจากถนนกาญจนาภิเษก ไปทางทิศตะวันตก ตัดกับถนนพุทธมณฑล สาย 2 ที่ทางแยกสนามกีฬาพาณิชย์ฯ ไปทางทิศเดิม ตัดกับถนนพุทธมณฑล สาย 3 ที่ทางแยกทวีวัฒนา ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จนถึงหน้าโรงเรียนคลองทวีวัฒนา แยกขวาไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ขนานกับแนวคลองทวีวัฒนา จากนั้นแยกซ้ายไปทางทิศตะวันตก (ก่อนถึงสะพานข้ามคลองบางพรม) ข้ามคลองทวีวัฒนาและบรรจบถนนทวีวัฒนาที่ทางแยกสุภาพบุรุษ โดยมีถนนทวีวัฒนา-พุทธมณฑล สาย 4 ตรงต่อเนื่องไปออกถนนพุทธมณฑล สาย 4 ในท้องที่อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐมได้ ถนนทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษกเป็นถนนขนาด 2 ช่องทางจราจร ไม่มีเกาะกลาง เดิมแบ่งออกเป็น 2 ช่วงตามชื่อเรียก ช่วงแรกคือ ถนนสุขาภิบาลบางเชือกหนังกนกวลี ชูชั.

ใหม่!!: ถนนทวีวัฒนาและถนนทวีวัฒนา-กาญจนาภิเษก · ดูเพิ่มเติม »

ถนนข้าวสาร

นนข้าวสาร ถนนข้าวสาร (Thanon Khao San) เป็นถนนในท้องที่แขวงตลาดยอด เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีระยะทางเริ่มตั้งแต่ถนนจักรพงษ์หน้าวัดชนะสงคราม ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ จนถึงถนนตะนาวใกล้สี่แยกคอกวัว.

ใหม่!!: ถนนทวีวัฒนาและถนนข้าวสาร · ดูเพิ่มเติม »

ถนนเพชรเกษม

นนเพชรเกษม (Thanon Phet Kasem) ซึ่งมีระยะทางส่วนใหญ่เป็น ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 สายกรุงเทพมหานคร–จุดผ่านแดนถาวรสะเดา (เขตแดนไทย/มาเลเซีย) เป็นทางหลวงแผ่นดินสายประธานของประเทศไทย ที่มีเส้นทางมุ่งสู่ภาคใต้ของประเทศไทย มีระยะทาง 1277.512 กิโลเมตร นับเป็นทางหลวงหรือถนนสายที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ถนนเพชรเกษมมีเส้นทางเริ่มต้นที่สะพานเนาวจำเนียร (ข้ามคลองบางกอกใหญ่) ตั้งอยู่บนเส้นแบ่งการปกครองระหว่างเขตบางกอกใหญ่กับเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร สิ้นสุดที่จุดผ่านแดนถาวรสะเดา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา บริเวณเขตแดนประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย เชื่อมต่อกับทางด่วนเหนือ–ใต้ สายเหนือ ที่เมืองบูกิตกายูฮีตัม รัฐเกดะห์ ประเทศมาเลเซีย บางช่วงของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 2 และทางหลวงเอเชียสาย 123.

ใหม่!!: ถนนทวีวัฒนาและถนนเพชรเกษม · ดูเพิ่มเติม »

ทางรถไฟสายใต้

ทางรถไฟสายใต้ เป็นทางรถไฟที่เริ่มต้นจากสถานีรถไฟธนบุรี กรุงเทพมหานคร ผ่านจังหวัดนครปฐม, ราชบุรี, เพชรบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, ชุมพร, สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช, พัทลุง, สงขลา, ปัตตานี, ยะลา และไปสุดปลายทางที่สถานีรถไฟสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส และไปบรรจบกับทางรถไฟของประเทศมาเลเซีย ที่สถานีรถไฟรันเตาปันจาง ทางรถไฟสายใต้สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจากสถานีรถไฟธนบุรีถึงสถานีรถไฟเพชรบุรี ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ขยายเส้นทางไปภาคใต้และสร้างทางแยกที่สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะพานพระรามหกไปบรรจบกันที่สถานีรถไฟชุมทางตลิ่งชัน เพื่อเชื่อมทางรถไฟสายใต้กับทางรถไฟสายเหนือ ทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ และสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ความยาวของทางรถไฟสายใต้ นับจากสถานีรถไฟธนบุรี ถึง ชายแดนไทย-มาเลเซีย ที่อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส รวมทั้งสิ้น 1,144.29 กิโลเมตร เป็นทางรถไฟสายที่ยาวที่สุดในประเทศไท.

ใหม่!!: ถนนทวีวัฒนาและทางรถไฟสายใต้ · ดูเพิ่มเติม »

คลองทวีวัฒนา

ลองทวีวัฒนา คลองทวีวัฒนา เป็นคลองที่ขุดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ต่อจากคลองเปรมประชากร เริ่มขุดในปี..

ใหม่!!: ถนนทวีวัฒนาและคลองทวีวัฒนา · ดูเพิ่มเติม »

เขตหนองแขม

ตหนองแขม เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนใต้ สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม สภาพเศรษฐกิจดั้งเดิมขึ้นอยู่กับการเกษตรกรรม แต่ปัจจุบันสภาพพื้นที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากชุมชนเมืองขยายตัวจากพื้นที่ชั้นใน มีผู้ย้ายถิ่นเข้ามาอยู่อาศัยและประกอบอาชีพมากขึ้น พื้นที่การเกษตรจึงเริ่มถูกเปลี่ยนแปลงเป็นสถานที่ราชการ สถานศึกษา โรงพยาบาล สาธารณสุข สถานีโทรทัศน์ โรงงานอุตสาหกรรม อาคารพาณิชย์ และหมู่บ้านจัดสรร.

ใหม่!!: ถนนทวีวัฒนาและเขตหนองแขม · ดูเพิ่มเติม »

เขตทวีวัฒนา

ตทวีวัฒนา เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนเหนือ ปัจจุบันพื้นที่ส่วนใหญ่ของเขตเป็นพื้นที่เกษตรกรรม มีลำคลองหลายสายที่สามารถนำน้ำไปใช้ในการทำสวนผลไม้ อย่างไรก็ตาม พื้นที่เกษตรเหล่านั้นกำลังถูกแทนที่ทีละน้อยด้วยโครงการหมู่บ้านจัดสรรซึ่งเรียงรายอยู่ตามถนนสายหลักในพื้นที.

ใหม่!!: ถนนทวีวัฒนาและเขตทวีวัฒนา · ดูเพิ่มเติม »

เขตตลิ่งชัน

ตตลิ่งชัน เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร เป็นพื้นที่รอบนอกทางตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเรียกว่า "ฝั่งธนบุรี" ปัจจุบันจัดอยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนเหนือ สภาพโดยทั่วไปเป็นเขตอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรมผสมผสานแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย แต่ปัจจุบัน พื้นที่เกษตรกรรมกำลังลดลงไปมากจากการสร้างพื้นที่อยู่อาศัยเพื่อรองรับการขยายตัวของเมืองและการสร้างเส้นทางคมนาคม.

ใหม่!!: ถนนทวีวัฒนาและเขตตลิ่งชัน · ดูเพิ่มเติม »

25 กรกฎาคม

วันที่ 25 กรกฎาคม เป็นวันที่ 206 ของปี (วันที่ 207 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 159 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ถนนทวีวัฒนาและ25 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ถ.ทวีวัฒนาถ.เลียบคลองทวีวัฒนาถนนเลียบคลองทวีวัฒนา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »