โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตุ๊กแกหางใบไม้

ดัชนี ตุ๊กแกหางใบไม้

ตุ๊กแกหางใบไม้ หรือ ตุ๊กแกหางแบน (Leaf-tail gecko, Leaf-tailed gecko, Flat-tailed gecko) เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกตุ๊กแก ที่อยู่ในสกุล Uroplatus โดยที่คำว่า Uroplatus เป็นภาษาละตินมาจากภาษากรีก 2 คำ คือ "ourá" (οὐρά) หมายถึง "หาง" และ "platys" (πλατύς) หมายถึง "แบน" ตุ๊กแกหางใบไม้ เป็นตุ๊กแกที่มีลักษณะเด่น คือ มีร่างกายที่บิดงอและแบนราบ ทำให้มีลักษณะกลมกลืนไปกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างดีเยี่ยม โดยเฉพาะส่วนหางที่แบนราบและมีลักษณะคล้ายกับใบไม้มาก จึงเป็นสัตว์ที่สามารถแฝงตัวตามธรรมชาติได้เป็นอย่างดี เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน มีดวงตากลมโตจึงสามารถมองเห็นในเวลากลางคืนได้เป็นอย่างดี โดยที่ไม่มีเปลือกตา ตุ๊กแกหางใบไม้มีความสามารถในการมองในที่มืดดีกว่ามนุษย์ถึง 350 เท่า และสามารถเห็นสีต่าง ๆ ได้แม้ในแสงจันทร์สลัว ๆ กินแมลงต่าง ๆ รวมถึงสัตว์ไม่มีกระดูกชนิดต่าง ๆ เป็นอาหารเหมือนตุ๊กแกทั่วไป ที่ฝ่าตีนและนิ้วมีปุ่มสุญญากาศใช้ยึดเกาะติดกับผนังได้เป็นอย่างดี โดยพฤติกรรมมักจะอยู่นิ่ง ๆ ทำตัวกลมกลืนไปกับต้นไม้หรือใบไม้ มีขนาดตั้งแต่ 30 เซนติเมตร รวมทั้งส่วนหาง จนถึง 10 เซนติเมตร ซึ่งเป็นขนาดเล็กสุด ตัวเมียวางไข่ครั้งละ 2-4 ฟอง จัดเป็นสัตว์เฉพาะถิ่น ที่พบได้บนเกาะมาดากัสการ์ที่เดียวเท่านั้น อาศัยอยู่ในป่าทั่วไปทั้งป่าดิบ หรือป่าเสื่อมโทรม.

12 ความสัมพันธ์: กิ้งก่าภาษากรีกวงศ์ย่อยจิ้งจกและตุ๊กแกวงศ์จิ้งจกและตุ๊กแกสัตว์สัตว์มีกระดูกสันหลังสัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลื้อยคลานสปีชีส์อันดับกิ้งก่าและงูตุ๊กแกหางใบไม้ซาตานิคใบไม้

กิ้งก่า

กิ้งก่า (Lizard, Iguana, Gecko, Skink; ภาษาไทยถิ่นเหนือ: จั๊กก่า; ภาษาไทยถิ่นอีสาน: กะปอม) เป็นสัตว์เลื้อยคลานในอันดับย่อย Lacertilia หรือ Sauria ในอันดับใหญ่ Squamata หรือ อันดับกิ้งก่าและงู โดยสัตว์ในอันดับนี้รวมถึงงูที่อยู่ในอันดับย่อย Serpentes ด้วย เหตุที่จัดอยู่ในอันดับเดียวกันเพราะมีลักษณะร่วมบางประการมากถึง 70 อย่าง คำว่า "Lacertilia" มาจากภาษาละตินคำว่า "lacerta" ในความหมายเดียวกัน โดยทั่วไปแล้วกิ้งก่ามี 4 ขา มีเกล็ดปกคลุมลำตัว แต่บางสกุลหรือบางชนิดก็ไม่มีขาหรือมีแต่ก็เล็กมากจนสังเกตได้ยาก เช่น จิ้งเหลนด้วง ในวงศ์จิ้งเหลน (Scincidae) หรือในวงศ์ Amphisbaenidae กิ้งก่าโดยมากแล้วเป็นสัตว์กินเนื้อ โดยจะกินแมลงและสัตว์ขาปล้องเป็นหลัก แต่สำหรับในวงศ์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น วงศ์เหี้ย (Varanidae) จะกินสัตว์มีกระดูกสันหลังด้วย แต่ขณะที่บางชนิด เช่น อีกัวน่าเขียว (Iguana iguana) ที่พบในอเมริกากลางและทวีปอเมริกาใต้ กินพืชและผักเป็นอาหารหลัก กิ้งก่าพบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกมุมโลก ยกเว้นในบริเวณอาร์กติก แถบขั้วโลกเหนือและทวีปแอนตาร์กติกา แถบขั้วโลกใต้ มีขนาดแตกต่างกันมากตั้งแต่เพียงไม่กี่เซนติเมตร จนถึงเกือบ 3 เมตร ในมังกรโคโมโด (Varanus komodoensis) ที่หนักได้ถึงเกือบ 100 กิโลกรัม ซึ่งนับเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในอันดับย่อยนี้ ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานไว้แล้วกว่า 19 วงศ์ ประมาณ 555 สกุล รวมทั้งหมดราว 4,184 ชนิด ซึ่งจำนวนนี้ไม่แน่นอน เพราะมีการสำรวจค้นพบชนิดใหม่ ๆ ขึ้นทุกปี โดยวงศ์ที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุด คือ Scincidae ที่มีประมาณ 1,000 ชนิด รองลงไป คือ Gekkonidae หรือ ตุ๊กแกกับจิ้งจก มีประมาณ 900 ชนิด ส่วนในวงศ์ Agamidae ก็มีประมาณเกือบ 500 ชน.

ใหม่!!: ตุ๊กแกหางใบไม้และกิ้งก่า · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ใหม่!!: ตุ๊กแกหางใบไม้และภาษากรีก · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยจิ้งจกและตุ๊กแก

วงศ์ย่อยจิ้งจกและตุ๊กแก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gekkoninae; House gecko, Tokay) เป็นวงศ์ย่อยของวงศ์ Gekkonidae นับเป็นวงศ์ย่อยที่มีความหลากหลายและประสบความสำเร็จสูงสุดในการดำรงชีวิตมากที่สุดของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับย่อยกิ้งก่า (Lacertilia) มีลักษณะโดยทั่วไป คือ มีกระดูกพรีแมคซิลลาและกระดูกพาไรทัลเป็นชิ้นเดี่ยว มีแว่นตาคลุมตา ลำตัวสั้น ขาทั้ง 4 ข้างมีขนาดใหญ่ ลำตัวปกคลุมด้วยผิวหนังที่อ่อนนุ่มและมีเกล็ดปกคลุมลำตัวเรียงตัวต่อเนื่องกัน มีขนาดแตกต่างกันหลากหลายทั้งเพียงไม่กี่เซนติเมตร จนถึงขนาดหนึ่งฟุต ส่วนใหญ่หากินบนต้นไม้และใต้ฝ่าเท้ามีเซต้าหรือขนที่แตกแขนงและมีความเล็กละเอียดมากใช้สำหรับยึดเกาะผนังในแนวตั้งฉากได้เป็นอย่างดีที่สุดในบรรดาวงศ์ย่อยทั้งหมดของวงศ์ Gekkonidae ซึ่งการเรียงตัวและลักษณะของเส้นขนนี้ใช้เป็นตัวในการอนุกรมวิธานแยกประเภท ในหลายสกุลได้ลดรูปแผ่นหนังใต้นิ้วและใช้เป็นโครงสร้างอื่นทดแทนในการอาศัยอยู่บนต้นไม้ เช่น Cnemaspis และ Cyrtodactylus ที่อาศัยบนต้นไม้หรือผนังหินปูนในถ้ำ โดยใช้เล็บในการเกาะเกี่ยวแทน ในบางสกุล เช่น Dixonius และ Gehyra อาศัยอยู่พื้นดินแทน หากินในเวลากลางคืนเป็นส่วนใหญ่ ตามปกติแล้วจะวางไข่เพียงครั้งละ 2 ฟอง โดยเปลือกไข่มีลักษณะแข็งและไม่เปลี่ยนรูป แต่สำหรับบางสกุลที่มีขนาดเล็ก เช่น Coleodactylus วางไข่เพียงฟองเดียว โดยการวางไข่ขึ้นอยู่กับขนาดของลำตัว แต่ก็มีบางชนิดที่สามารถเกิดได้โดยไม่ต้องผ่านการปฏิสนธิ ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานแล้วทั้งสิ้น 80 สกุล ประมาณ 800 ชนิด โดยมีสกุลที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี อาทิ Gekko, Hemidactylus และPtychozoon เป็นต้น พบกระจายพันธุ์ในเขตร้อนและเขตอบอุ่นของยูเรเชีย ในประเทศไทยพบประมาณ 46-50 ชนิด อาทิ ตุ๊กแกบ้าน (Gekko gecko), ตุ๊กแกตาเขียว (G. siamensis), ตุ๊กแกบินหางเฟิน (Ptychozoon lionotum) เป็นต้น.

ใหม่!!: ตุ๊กแกหางใบไม้และวงศ์ย่อยจิ้งจกและตุ๊กแก · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์จิ้งจกและตุ๊กแก

วงศ์จิ้งจกและตุ๊กแก (Gecko) เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับย่อยกิ้งก่า (Lacertilia) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Gekkonidae เป็นวงศ์ที่คุ้นเคยเป็นอย่างดีในชื่อสามัญว่า "จิ้กจก" และ "ตุ๊กแก" มีลักษณะโดยรวม คือ ส่วนมากมีขาเห็นได้ชัดเจน ยกเว้นในวงศ์ย่อยบางวงศ์ในออสเตรเลียที่ไม่มีขา ผิวหนังของลำตัวมีเกล็ดขนาดเล็กปกคลุมและอาจมีตุ่มกระจายอยู่บ้าง ไม่มีกระดูกในชั้นหนังทางด้านหลังของลำตัว แต่บางชนิดอาจจะมีกระดูกในชั้นหนังทางด้านท้องของลำตัว กระดูกหัวไหล่มีกระดูกอินเตอร์คลาวิเคิลเป็นรูปตัวที และกระดูกไหปลาร้าเป็นรูปหักมุม สามารถสะบัดหางให้หลุดจากลำตัวได้เพื่อหลอกศัตรูที่มาคุกคาม โดยตำแหน่งที่ปล่อยหางหลุดนั้นอยู่ทางด้านท้ายของก้านกระดูกทางด้านข้างของกระดูกสันหลังส่วนหางทุกปล้อง พื้นผิวด้านบนมีลิ้นมีตุ่มกลม ฟันที่ขากรรไกรเกาะติดกับร่องที่ขอบด้านในของกระดูกขากรรไกร กระดูกพเทอรีกอยด์ไม่มีฟัน เป็นวงศ์ที่มีขนาดใหญ่ โดยยังแบ่งออกได้เป็นวงศ์ย่อยอีก 4 วงศ์ (ดูในตาราง) มีจำนวนสมาชิกในวงศ์มากมายถึงเกือบ 1,000 ชนิด และ 109 สกุล ซึ่งจำนวนนี้ยังไม่แน่นอน เนื่องจากมีการสำรวจพบเจอชนิดใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นทุกปี ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ มีเพียงไม่สกุลเท่านั้น เช่น Hoplodacatylus ที่ตกลูกเป็นตัว ลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งของวงศ์นี้ที่เป็นที่รับรู้อย่างดีของมนุษย์ คือ เสียงร้อง อันเป็นที่มาของชื่อสามัญและชื่อวิทยาศาสตร์ที่ใช้เรียก สัตว์เลื้อยคลานในวงศ์นี้โดดเด่นมากในการส่งเสียงร้อง โดยมีแผ่นเยื่อกำเนิดเสียงและกล่องเสียงจึงทำให้เกิดเสียงได้ และด้วยความซับซ้อนมากกว่าเสียงที่เกิดจากการผลักดันอากาศออกทางจมูกหรือปาก ในตัวผู้ของหลายชนิดใช้เสียงในการประกาศอาณาเขตตลอดจนใช้ดึงดูดตัวเมีย โดยเป็นเสียงร้องที่สั้นและมักร้องซ้ำ ๆ และติดต่อกันหลายครั้ง แม้ว่าส่วนใหญ่เสียงร้องอาจจะคล้ายคลึงกันแต่ชนิดที่ต่างกันแม้อาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกันก็มีเสียงที่ต่างกัน โดยทั่วไปตัวผู้จะส่งเสียงร้องไปยังทิศทางที่มีตัวผู้ตัวอื่นหรือมีตัวเมียอยู่ตรงนั้น แต่บางครั้งก็อาจส่งเสียงร้องได้โดยไม่มีทิศทาง ในสกุล Ptenopus ที่พบในแอฟริกา เมื่ออกจากโพรงในช่วงใกล้ค่ำและส่งเสียงร้องประสานกันคล้ายกับเสียงร้องของกบ นอกจากนี้แล้วในบางชนิดจะมีเสียงร้องอย่างจำเพาะระหว่างแสดงพฤติกรรมปกป้องอาณาเขต และเป็นเสียงร้องช่วงยาวมากกว่าเสียงร้องที่ใช้ในเวลาทั่วไป ซึ่งเสียงร้องเตือนนี้นอกจากจะใช้ร้องเตือนสัตว์ประเภทเดียวกันที่มาเข้าใกล้ ยังร้องเตือนสัตว์ที่ใหญ่ รวมถึงมนุษย์ได้ด้วย โดยทั้งตัวผู้และตัวเมียจะส่งเสียงร้องได้เท่ากัน โดยเฉพาะเสียงร้องประกาศอาณาเขตนี้ โดยชนิดที่มีเสียงร้องที่ซับซ้อนและหลากหลายที่สุด คือ ตุ๊กแกบ้าน (Gekko gecko) เพราะมีเสียงที่ขึ้นต้นด้วยพยางค์เดียวที่ร้องถี่ ๆ ติดกันหลายครั้งแล้วตามด้วยเสียงร้องที่เป็น 2 พยางค์ นอกจากนี้แล้วลักษณะพิเศษเฉพาะที่สำคัญอีกประการของสัตว์เลื้อยคลานวงศ์นี้ คือ สามารถเกาะติดกับผนังได้เป็นอย่างดี โดยไม่หล่นลงมา ด้วยหลักของสุญญากาศที่บริเวณใต้ฝ่าเท้าทั้ง 4 ด้าน โดยเป็นแผ่นหนังที่เรียงตัวต่อกัน ซึ่งแผ่นหนังแต่ละแผ่นมีเส้นขนจำนวนมากและแต่ละเส้นนั้นยาวประมาณ 60-90 ไมครอน เรียกว่า "เซต้า" ซึ่งส่วนปลายของขนนั้นแตกแขนงและขยายออกเป็นกลุ่ม การเรียงตัวของแผ่นหนังและรายละเอียดของเส้นขนนี้ใช้ในการอนุกรมวิธานแยกประเภท แต่ในหลายสกุลก็ไม่อาจจะเกาะติดกับผนังได้ วงศ์จิ้งจกและตุ๊กแกนี้กระจายไปอยู่ทุกมุมโลก ยกเว้นในเขตขั้วโลก มีทั้งหากินในเวลากลางวันและกลางคืน เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มนุษย์รู้จักเป็นอย่างดี เพราะสามารถพบเห็นได้ทั่วไปแม้กระทั่งในบ้านเรือน.

ใหม่!!: ตุ๊กแกหางใบไม้และวงศ์จิ้งจกและตุ๊กแก · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ตุ๊กแกหางใบไม้และสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีกระดูกสันหลัง

ัตว์มีกระดูกสันหลัง (Vertebrate) สิ่งมีชีวิตประเภทนี้มีกระดูกสันหลังหรือไขสันหลัง สิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังเริ่มมีวิวัฒนาการมาเป็นเวลาประมาณ 505 ล้านปี ในยุคแคมเบรียนกลาง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของช่วงยุคแคมเบรียน โครงกระดูกของไขสันหลัง ถูกเรียกว่ากระดูกสันหลัง Vertebrate เป็นไฟลัมย่อยที่ใหญ่ที่สุดใน Chordates รวมทั้งยังมีสัตว์ที่คนรู้จักมากที่สุดอีกด้วย (ยกเว้นแมลง) ปลา สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (รวมทั้งมนุษย์) เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีกระดูกสันหลังทั้งสิ้น ลักษณะเฉพาะของไฟลัมย่อยนี้คือระบบของกล้ามเนื้อจำนวนมาก เช่นเดียวกับระบบประสาทส่วนกลางที่ถูกวางในกระดูกสันหลังเป็นส่วน ๆ สัตว์มีกระดูกสันหลัง คือกระดูกสันหลังจะอยู่เป็นแนวยาวไปตามด้านหลังของสัตว์ กระดูกสันหลังจะต่อกันเป็นข้อๆ ยืดหยุ่น เคลื่อนไหวได้มีหน้าที่ช่วยพยุงร่างกายให้เป็นรูปร่างทรวดทรงอยู่ได้และยังช่วยป้องกันเส้นประสาทอีกด้วย สัตว์พวกมีกระดูกสันหลัง นักวิทยาศาสตร์ยังแบ่งออกเป็น 5 พวกคือ.

ใหม่!!: ตุ๊กแกหางใบไม้และสัตว์มีกระดูกสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ตุ๊กแกหางใบไม้และสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลื้อยคลาน

ัตว์เลื้อยคลาน (reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิดชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน, สัตววิทยา, บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 364 กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว ในยุคจูแรสซิกที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุด มีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรสซิกจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรสซิก เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน.

ใหม่!!: ตุ๊กแกหางใบไม้และสัตว์เลื้อยคลาน · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: ตุ๊กแกหางใบไม้และสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับกิ้งก่าและงู

อันดับกิ้งก่าและงู (Lizard and Snake) เป็นอันดับของสัตว์เลื้อยคลานที่ยังคงสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันนี้ ใช้ชื่อว่า Squamata (/สะ-ควอ-มา-ตา/) นับเป็นอันดับที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดและพบได้หลากหลายกว้างขวางมากที่สุด โดยอันดับนี้แบ่งได้เป็น 2 อันดับย่อย คือ Lacertilia หรือ อันดับย่อยกิ้งก่า กับ Serpentes หรือ อันดับย่อยงู การที่รวมสัตว์เลื้อยคลานทั้ง 2 ประเภทนี้ไว้ด้วยกัน เหตุเพราะมีโครงสร้างบางอย่างที่ร่วมกันถึง 70 ประการ โดยงูนั้นมีวิวัฒนาการมาจากกิ้งก่าในวงศ์ Amphisbaenidae ที่มีการลดรูปของขา นอกจากนั้นแล้วยังมีกล้ามเนื้อ, กระดูก, กะโหลก, อวัยวะถ่ายอสุจิที่เป็นถุงพีนิสคู่ แต่มีความแตกต่างกันทางด้านสรีระ พฤติกรรม และการทำงานของโครงสร้างอวัยวะ ทั้งกิ้งก่าและงูมีเกล็ดปกคลุมลำตัว โดยมีปริมาณ ลักษณะ และจำนวนที่ปกคลุมอวัยวะแต่ละส่วนแตกต่างกันตามลักษณะทางอนุกรมวิธาน กิ้งก่าบางชนิดมีกระดูกในชั้นหนังซ้อนอยู่ใต้เกล็ดซึ่งไม่มีในงู พื้นผิวลำตัวของกิ้งก่ามีต่อมผิวหนังไม่มากแต่บริเวณด้านหน้าช่องเปิดทวารร่วมและทางด้านในของต้นขาหลังของกิ้งก่าหลายชนิดมีต่อมผิวหนังค่อนข้างมาก ซึ่งสังเคราะห์สารเคมีเพื่อใช้ในการกำหนดอาณาเขตและหน้าที่ประการต่าง ๆ ซึ่งจำนวนต่อมดังกล่าวนี้อีกทั้งตำแหน่งที่ตั้งแตกต่างกันระหว่างเพศ โดยตัวผู้จะมีมากกว่าและใหญ่กว่า ซึ่งต่อมดังกล่าวนี้ยังใช้เป็นลักษณะในการจำแนกประเภทอีกด้วย กิ้งก่าและงูหลายชนิดสามารถปล่อยท่อนหางให้หลุดจากลำตัวเพื่อหนีเอาตัวรอดจากศัตรูได้ เช่น ในวงศ์จิ้งเหลน (Scincidae) บางตัวอาจหลุดได้หลายครั้งในช่วงชีวิต เหตุที่หลุดและงอกใหม่ได้เนื่องจากลักษณะการเรียงตัวของกล้ามเนื้อกับเนื้อเยื่อที่เกี่ยวพันซึ่งอาจมีตำแหน่งเดียวหรือหลายตำแหน่ง เมื่อหางหลุดไปแล้วอาจงอกขึ้นมาใหม่สั้นกว่าเดิมหรือใช้เวลานานกว่าจะเท่าเดิม เพราะมีแกนเป็นแท่งกระดูกอ่อนทดแทนปล้องของกระดูกสันหลังแทน แต่ส่วนของงูแล้วเมื่อหลุดไปแล้วไม่อาจงอกใหม่ได้ กิ้งก่าในหลายวงศ์ ได้ลดรูปของขาลงจนหดเล็กสั้นจนดูเหมือนไม่มีขา รวมทั้งนิ้วด้วย เพื่อเป็นประโยชน์ในการอาศัยอยู่ในโพรงดิน เช่น จิ้งเหลนด้วง เป็นต้น อวัยวะถ่ายอสุจิของตัวผู้ของกิ้งก่าและงูจะมีลักษณะเป็นถุงพีนิสอยู่ทางด้านท้ายของช่องเปิดทวารร่วม พื้นผิวด้นนอกจะเป็นร่องเพื่อใช้เป็นเส้นทางในการลำเลียงตัวอสุจิเข้าสู่ช่องทวารร่วมของตัวเมียขณะผสมพันธุ์ ซึ่งถุงนี้มีลักษณะเป็นหนามและเป็นสันซึ่งอยู่ทางด้านหน้าของถุง ซึ่งลักษณะรูปร่างและหนามของถุงนี้จะแตกต่างกันไปตามวงศ์ เช่น กิ้งก่าในวงศ์เหี้ย (Varanidae) มีแท่งกระดูกอยู่ภายในถุงเพื่อเสริมให้มั่นคงขณะผสมพันธุ์ ขณะเดียวกันในตัวเมียก็มีกระดูกดังกล่าว แต่มีขนาดเล็กมาก ขยายพันธุ์ได้ด้วยการวางไข่และตกลูกเป็นตัว ซึ่งปริมาณและจำนวนที่ออกมาแตกต่างกันไปตามวงศ์, สกุล และชนิด แต่ในส่วนของกิ้งก่าแล้วมีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่ตกลูกเป็นตัว อีกทั้งยังมีบางส่วนที่เกิดได้โดยไม่ผ่านการผสมพันธุ์ด้วย เช่น ในวงศ์เหี้ย, Leiolepidinae หรือ แย้ หรืองูในวงศ์ Typhlopidae.

ใหม่!!: ตุ๊กแกหางใบไม้และอันดับกิ้งก่าและงู · ดูเพิ่มเติม »

ตุ๊กแกหางใบไม้ซาตานิค

ตุ๊กแกหางใบไม้ซาตานิค (Satanic leaf-tailed gecko) สัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง จำพวกตุ๊กแก จัดเป็นตุ๊กแกหางใบไม้ชนิดหนึ่ง ตุ๊กแกหางใบไม้ซาตานิค พบกระจายพันธุ์เฉพาะบนเกาะมาดากัสการ์เท่านั้น เป็นตุ๊กแกที่มีลักษณะพิเศษ คือ สามารถพรางตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างดีเยี่ยม มีร่างกายที่บิดงอ ผิวหนังที่มีเส้นเลือดโปดปูน และส่วนหางที่แบนราบแลดูคล้ายใบไม้แห้งอย่างมาก ทำให้สามารถพรางตัวเป็นใบไม้แห้งได้อย่างแนบเนียน ผิวหนังมีหลายสีด้วยกัน เช่น สีเขียวมะกอก หรือสีน้ำตาลมีจุดดำกระจายอยู่ตามตัว ขนาดโตเต็มที่มีความยาวประมาณ 10-13 นิ้ว มีดวงตากลมใหญ่ไร้เปลือกตา โดยจะมีเพียงเยื่อใส ๆ ห่อหุ้มป้องกันดวงตาเท่านั้น ดวงตาสีน้ำตาลอมชมพู มีจุดสีแดงตรงกลาง ตุ๊กแกหางใบไม้ซาตานิค เป็นสัตว์หากินในเวลากลางคืน โดยพฤติกรรมจะซุ่มอยู่นิ่ง ๆ เกาะอยู่ตามต้นไม้หรือใบไม้หรือมอสในพื้นที่ป่าดิบชื้นทางภาคตะวันออกของเกาะมาดากัสการ์ กินแมลง และแมงหลายชนิดเป็นอาหาร ในตัวที่มีขนาดลำตัวใหญ่อาจกินสัตว์ที่มีขนาดใหญ่เช่น หนู หรือนกขนาดเล็กได้ด้วย ทำตัวกลมกลืนกับธรรมชาติ จำแนกเพศได้โดยการพิจารณาจากสีผิว ตัวเมียจะมีลำตัวสีเทา ขณะที่ตัวผู้จะเป็นสีน้ำตาลแกมเหลือง และมีปุ่มสองปุ่มคล้ายไข่บริเวณโคนหาง ตุ๊กแกหางใบไม้ซาตานิค นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยงสำหรับผู้ที่นิยมเลี้ยงสัตว์เลื้อยคลานหรือสัตว์แปลก โดยทำการเลี้ยงในตู้กระจกและปรับสภาพแวดล้อมเลียนแบบธรรมชาติเช่นเดียวกับสัตว์เลื้อยคลานลักษณะคล้ายกัน จัดเป็นตุ๊กแกที่เลี้ยงง่าย ไม่มีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว ผู้เลี้ยงสามารถป้อนอาหารให้กินด้วยมือได้ และสามารถแพร่ขยายพันธุ์ได้ในที่เลี้ยง โดยไข่ใช้เวลาฟักประมาณ 30 วัน และนานที่สุด คือ 90-120 วัน โดยสถานที่แรกที่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ คือ สวนสัตว์ซานดิเอโก ด้วยความแปลกทางรูปร่างตลอดจนพฤติกรรม ทำให้ตุ๊กแกหางใบไม้ซาตานิคได้กลายเป็นอินเทอร์เน็ตมีม โดยถูกตั้งข้อสังเกตว่ามีลักษณะคล้ายกับมังกร ซึ่งเป็นสัตว์ในจินตนาการไม่มีอยู่จริง และถูกตัดต่อภาพให้มีปีกเหมือนกับมังกร.

ใหม่!!: ตุ๊กแกหางใบไม้และตุ๊กแกหางใบไม้ซาตานิค · ดูเพิ่มเติม »

ใบไม้

ใบไม้ โครงเส้นใบของใบไม้ ใบไม้ (leaf) เป็นส่วนที่สร้างอาหารโดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ใบไม้มีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันหลายแบบแบ่งเป็น 2 แบบใหญ่ๆ ตามลักษณะที่แตกต่างกัน รูปพหูพจน์ของ leaf คือ leaves ส่วน foliage เป็นกลุ่มคำนามที่ใช้อธิบายว่าใบเป็นส่วนประกอบหนึ่งของพื.

ใหม่!!: ตุ๊กแกหางใบไม้และใบไม้ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Uroplatusตุ๊กแกหางแบน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »