โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตั๋งโต๊ะและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ตั๋งโต๊ะและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก

ตั๋งโต๊ะ vs. รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก

ตั๋งโต๊ะ (เสียชีวิต 22 พฤษภาคม ค.ศ. 192) มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า ต่ง จั๋ว ชื่อรองว่า จ้งอิ่ง (仲穎) เป็นข้าราชการชาวจีนสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ซึ่งยึดอำนาจในพระนครลกเอี๋ยง (洛阳 ลั่วหยาง) ใน.. ลในยุคสามก๊ก แสดงรายชื่อของบุคคลในประวัติศาสตร์จีนในยุคสามก๊ก รายชื่อนี้แสดงชื่อไทย อังกฤษ และจีน ของแต่ละคน บุคคลเหล่านี้นำไปสู่วรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เรื่องสามก๊ก เนื่องจากสามก๊กภาษาไทย อ่านชื่อคนด้วยสำเนียงฮกเกี้ยน แต่ภาษาอังกฤษอ่านแบบภาษาจีนกลาง การออกเสียงจึงไม่เหมือนกัน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ตั๋งโต๊ะและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก

ตั๋งโต๊ะและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก มี 27 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กบฏโพกผ้าเหลืองกาเซี่ยงกุยกียุคสามก๊กราชวงศ์ฮั่นลิฉุยลิซกลิโป้สามก๊กสิบขันทีหวนเตียวหองจูเหียบหองจูเปียนอ้วนเสี้ยวอ้องอุ้นฮัวหยงจักรพรรดิฮั่นหลิงจูฮีซัวหยงซุนเกี๋ยนซีเอ๋งโฮจิ๋นโตเกี๋ยมเตียวเสี้ยนเตียวเหยียงเตียวเจ (ฮั่นตะวันออก)เต๊งหงวน

กบฏโพกผ้าเหลือง

กบฏโพกผ้าเหลือง (Yellow Turban Rebellion) เป็นกลุ่มผู้ก่อการกบฏประมาณหลายล้านคนใน..

กบฏโพกผ้าเหลืองและตั๋งโต๊ะ · กบฏโพกผ้าเหลืองและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

กาเซี่ยง

กาเซี่ยง มีชื่อในสำเนียงจีนกลางว่า เจี๋ยสวี่ (Jia Xu) มีชื่อรองว่าเหวินเหอ (ฺWenhe) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก ที่ปรึกษาคนสำคัญของเตียวสิ้ว ได้รับยกย่องว่าเป็นบุคคลที่เสมือนเอาตันแผงและเตียวเหลียงมารวมกัน เป็นที่ปรึกษาที่วางแผนไม่เคยผิดพลาด มีชื่อรองว่า เหวินเหอ เป็นคนมีประสบการณ์สูงและมีสติปัญญาเป็นเลิศ เริ่มแรกเป็นที่ปรึกษาให้แก่ลิฉุยและกุยกี ด้วยสติปัญญาอันสูงส่ง สามารถทำให้ลิฉุย กุยกีอยู่บนอำนาจได้นาน แต่ต่อมาเกิดไม่พอใจลิฉุยและกุยกี จึงไปอยู่กับเตียวสิ้ว กาเซี่ยงมีเพื่อนที่เป็นที่ปรึกษาอยู่เตงเชีย คือ เลียวตู้.

กาเซี่ยงและตั๋งโต๊ะ · กาเซี่ยงและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

กุยกี

กุยกี (Guo Si) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก ขุนพลของตั๋งโต๊ะคู่กับลิฉุย เมื่อตั๋งโต๊ะถูกลิโป้ฆ่า กุยกี พร้อมกับลิฉุย เตียวเจ หวนเตียว จัดตั้งกองทัพบุกยึดอำนาจในเมืองหลวง (เตียงฮัน) มาได้ ทำให้ลิโป้ต้องหนีออกมา และกลายเป็นขุนพลเร่ร่อน ส่วนอ้องอุ้นถูกประหาร ต่อมาได้ทูลขอตำแหน่งในเมืองหลวง จึงได้เป็นแม่ทัพหลัง (ส่วนลิฉุยได้เป็นสมุหนายก) เมื่อมีอำนาจก็กระทำการหยาบช้าไม่ต่างจากสมัยของตั๋งโต๊ะ ต่อมา เอียวปิวได้ทำให้ลิฉุยกับกุยกีผิดใจกัน แต่ก็ให้เกิดความวุ่นวายขึ้น จนทำให้พระเจ้าเหี้ยนเต้ต้องย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ลกเอี๋ยง ต่อมา ลิฉุย กุยกีได้กลับมาร่วมมือกันอีกครั้งหวังปลงพระชนม์ฮ่องเต้ แต่กองทัพของลิฉุย กุยกีก็ถูกโจโฉปราบปรามจนสิ้น ลิฉุย กุยกีหนีรอดมาได้ แต่ก็ถูกตวนอุย งอสิบ ฆ่าตายในเวลาต่อมา รูปกุยกีจากเกม Romance of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI.

กุยกีและตั๋งโต๊ะ · กุยกีและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ยุคสามก๊ก

แผ่นที่แสดงอาณาเขตของแต่ละก๊กในปี พ.ศ. 805 (Wei-วุย) (Wu-ง่อ) (Shu-จ๊ก) สามก๊ก (ค.ศ. 220–280; Three Kingdoms) เป็นไตรภาคีระหว่างรัฐวุย (魏) จ๊ก (蜀) และง่อ (吳) หลังการหมดอำนาจโดยพฤตินัยของราชวงศ์ฮั่นในจีน นำสู่การเริ่มหกราชวงศ์ (六朝) แต่ละรัฐปกครองโดยจักรพรรดิซึ่งอ้างการสืบราชสันตติวงศ์โดยชอบจากราชวงศ์ฮั่น ในความหมายทางวิชาการอย่างเคร่งครัด ยุคสามก๊กหมายถึงช่วงเวลาระหว่างการก่อตั้งรัฐวุยใน..

ตั๋งโต๊ะและยุคสามก๊ก · ยุคสามก๊กและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ฮั่น

มเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเกาจู ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่น เขตแดนของราชวงศ์ฮั่นสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ ราชวงศ์ฮั่น (ภาษาจีน: 漢朝 พ.ศ. 337 - พ.ศ. 763) เป็นราชวงศ์จีนที่ปกครองต่อจากราชวงศ์ฉิน.

ตั๋งโต๊ะและราชวงศ์ฮั่น · ราชวงศ์ฮั่นและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ลิฉุย

ลิฉุย (Li Jue) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก นายทหารของตั๋งโต๊ะ มีความทะเยอทะยานสูงไม่แพ้เจ้านาย เมื่อตั๋งโต๊ะถูกลิโป้ฆ่า ลิฉุยได้ร่วมมือกับกุยกี เตียวเจ หวนเตียว จัดตั้งกองทัพบุกยึดอำนาจในเมืองหลวงมาได้ ทำให้ลิโป้ต้องหนีออกมา และกลายเป็นขุนพลเร่ร่อน ส่วนอ้องอุ้นถูกประหาร เมื่อมีอำนาจก็กระทำการหยาบช้าไม่ต่างจากสมัยของตั๋งโต๊ะ ต่อมา เอียวปิวได้ทำให้ลิฉุยกับกุยกีผิดใจกัน แต่ก็ให้เกิดความวุ่นวายขึ้น จนทำให้พระเจ้าเหี้ยนเต้ต้องย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ลกเอี๋ยง ต่อมา ลิฉุย กุยกีได้กลับมาร่วมมือกันอีกครั้งหวังปลงพระชนม์ฮ่องเต้ แต่กองทัพของลิฉุย กุยกีก็ถูกโจโฉปราบปรามจนสิ้น ลิฉุย กุยกีหนีรอดมาได้ แต่ก็ถูกตวนอุย งอสิบ ฆ่าตายในเวลาต่อมา หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 2 หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก.

ตั๋งโต๊ะและลิฉุย · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและลิฉุย · ดูเพิ่มเติม »

ลิซก

รูปลิซกจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI ลิซก (Li Su) เป็นเสนาธิการคนสำคัญของตั๋งโต๊ะเป็นคนที่มีวาทะศิลป์เป็นเลิศ เมื่อตั๋งโต๊ะคิดปลดหองจูเปียนจากตำแหน่งฮ่องเต้ และตั้งหองจูเหียบขึ้นเป็นกษัตริย์ มีผู้ไม่เห็นด้วยหลายคน โดยเฉพาะเต๊งหงวน เจ้าเมืองเกงจิ๋ว หลายวันต่อมาเต๊งหงวนได้ยกทัพมารบกับตั๋งโต๊ะ เต๊งหงวนมีลิโป้เป็นลูกบุญธรรมและองครักษ์ ลิโป้มีฝีมือเก่งกาจสามารถตีทัพตั๋งโต๊ะจนต้องถอยกลับค่ายไป ตั๋งโต๊ะอยากได้ลิโป้เป็นขุนพลของตน ลิซกซึ่งเป็นคนบ้านเดียวกับลิโป้จึงอาสาไปเกลี้ยกล่อมลิโป้ โดยขอม้าเซ็กเธาว์และสมบัติจากตั๋งโต๊ะ เพื่อไปมัดใจลิโป้ ลิซกเกลี้ยกล่อมลิโป้ได้สำเร็จและยุให้ลิโป้สังหารเต๊งหงวนเสีย เมื่อมีลิโป้อยู่ข้างกาย ตั๋งโต๊ะจึงไม่กลัวใครอีกต่อไป กระทำการปลดหองจูเปียน และตั้งหองจูเหียบขึ้นเป็นพระเจ้าเหี้ยนเต้ ลิซกได้ความชอบใหญ่หลวงในการเกลี้ยกล่อมลิโป้ แต่ไม่ได้บำเหน็จรางวัลอันใดจากตั๋งโต๊ะเลย จึงนึกน้อยใจอยู.

ตั๋งโต๊ะและลิซก · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและลิซก · ดูเพิ่มเติม »

ลิโป้

ลิโป้ (吕布; Lü Bu;ค.ศ.155 — ค.ศ. 198) เป็นยอดนักรบผู้ที่ได้ชื่อว่าแข็งแกร่งที่สุดในยุคสามก๊ก หรือเป็นเทพเจ้าแห่งสงคราม มีร่างที่สูงใหญ่กำยำ มีสำนวนในสามก๊กกล่าวไว้ว่า “ หยืนจงหลี่ปู้ หม่าจงชื่อทู่ ” ความหมายของประโยคนี้คือ ยอดคนต้องลิโป้ ยอดม้าต้องเซ็กเธาว์ ความแข็งแกร่งที่กลายเป็นตำนาน ในฐานะของนักรบที่เก่งที่สุดในแผ่นดินยุคสามก๊ก ทั้งยังได้รับการกล่าวว่าเป็นผู้ชำนาญศึกอย่างยิ่ง แม้แต่ เล่าปรี่, กวนอู้ และเตียวหูย ที่ร่วมมือกันสู้รบกับลิโป้ก็ยังไม่สามารถเอาชนะลิโป้ได้ โดยที่ตราบใดที่เขายังถือทวนกรีดขอบตา และนั่งอยู่บนหลังม้าเซ็กเธาว์ ก็ไม่มีใครล้มเขาลงได้ ในตามตำนาน ลิโป้แม้จะเป็นคนเก่ง แต่เป็นคนที่เลี้ยงไว้ไม่ได้ เป็นคนเห็นแก่ลาภยศ เป็นบุคคลที่เตียวหุยด่าว่าเป็น "ไอ้พ่อสามลูก" จนกลายเป็นสำนวนที่ใช้มาจนทุกวันนี้ เนื่องจากเดิมทีรับราชการอยู่กับเต๊งหงวน และเต๊งหงวนไว้ใจ ถึงกับรับเป็นบุตรบุญธรรม แต่เมื่อตั๋งโต๊ะปรารถนาจะได้ลิโป้มาอยู่กับตน ด้วยการให้เกราะทองกับม้าเซ็กเธาว์ ลิโป้ก็ยอมทรยศเต๊งหงวน มาอยู่กับตั๋งโต๊ะ ครั้นเมื่ออ้องอุ้นใช้แผนสาวงาม (เตียวเสี้ยน) ให้ลิโป้กับตั๋งโต๊ะแตกแยกกัน และลิโป้ก็เป็นผู้สังหารตั๋งโต๊ะด้วยมือตนเอง หลังจากถูกโจโฉจับตัวได้ เพราะทหารฝ่ายลิโป้ทรยศ เมื่อจะโดนประหารได้อ้อนวอนเล่าปี่ ให้บอกโจโฉว่าอย่าประหารตน แต่เล่าปี่ยืนยันให้โจโฉฆ่าลิโป้ ด้วยการยกตัวอย่างของ เต๊งหงวน กับ ตั๋งโต๊ะ ให้โจโฉได้ระลึกและสั่งประหารลิโป้ในที่สุด เป็นอันปิดฉากตำนานเทพเจ้าสงครามอันเลื่องชื่อ.

ตั๋งโต๊ะและลิโป้ · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและลิโป้ · ดูเพิ่มเติม »

สามก๊ก

มก๊ก (Romance of the Three Kingdoms) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก เป็นมรดกทางปัญญาของปราชญ์ชาวตะวันออกที่สุดยอด มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 10 ภาษาการแปลสามก๊กในปัจจุบัน, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ตั๋งโต๊ะและสามก๊ก · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

สิบขันที

ันที หรือ สิบเสียงสี (Ten Attendants) เป็นกลุ่มของขุนนางขันทีที่มีอิทธิพลในราชสำนักของพระเจ้าเลนเต้ (ฮั่นหลิงตี้ ครองราชย์ ค.ศ. 168 - ค.ศ. 189) แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออกของประเทศจีน แม้ว่าจะถูกเรียกว่าเป็นกลุ่มของคน 10 คน แต่จริงๆแล้วกลุ่มสิบขันทีประกอบด้วยขันทีจำนวน 12 คน และทุกคนดำรงตำแหน่งจงฉางชื่อ (中常侍; "ขันทีส่วนกลาง") ในราชสำนักของพระเจ้าเลนเต้ ขันทีทั้ง 12 คนได้แก่ เตียวเหยียง (張讓 จางร่าง), เตียวต๋ง (趙忠 เจ้าจง), เห้หุย (夏惲 เซี่ยยฺหวิน), ก๊กเสง (郭勝 กัวเซิ่ง), ซุนจาง (孫璋), ปี้หลัน (畢嵐), ลี่ซง (栗嵩), ต๋วนกุย (段珪 ตฺวั้นกุย), เกาว่าง (高望), จางกง (張恭), หันคุย (韓悝) และซ่งเตี่ยน (宋典) (張讓者,潁川人;趙忠者,安平人也。... 是時讓、忠及夏惲、郭勝、孫璋、畢嵐、栗嵩、段珪、高望、張恭、韓悝、宋典十二人,皆為中常侍,...) โฮ่วฮันชู เล่มที่ 78.

ตั๋งโต๊ะและสิบขันที · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและสิบขันที · ดูเพิ่มเติม »

หวนเตียว

หวนเตียว (Fan Chou) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นขุนพลคนสนิทคนหนึ่งของตั๋งโต๊ะ หลังจากตั๋งโต๊ะเสียชีวิต หวนเตียวร่วมมือกับลิฉุย กุยกี และเตียวเจ เข้ายึดเมืองเตียงฮันและประหารอ้องอุ้น.

ตั๋งโต๊ะและหวนเตียว · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและหวนเตียว · ดูเพิ่มเติม »

หองจูเหียบ

ักรพรรดิฮั่นเซี่ยน หรือ ฮั่นเซี่ยนตี้ สำเนียงจีนฮกเกี้ยนว่า ฮั่นเหี้ยนเต้ พระนามเดิม เสีย ตามสำเนียงกลาง หรือ เหียบ ตามสำเนียงจีนฮกเกี้ยน หรือมักเรียกกันว่า หวังเช่าเสีย ตามสำเนียงกลาง หรือ หองจูเหียบ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน ("เสียเจ้าชายน้อย") หรือที่รู้จักกันดีในพระนาม พระเจ้าเหี้ยนเต้ (ตามที่ปรากฏในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)) เป็นพระจักรพรรดิหรือฮ่องเต้พระองค์หนึ่งของราชวงศ์ฮั่น และเป็นหนึ่งในตัวละครตามวรรณกรรมสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อปี พ.ศ. 724 เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าเลนเต้ และเป็นพระอนุชาต่างพระมารดาในพระเจ้าเซ่าเต้ ขึ้นครองราชย์จากการที่ ตั๋งโต๊ะ ต้องการสร้างบารมีแก่ตน โดยการเปลี่ยนองค์พระจักรพรรดิ โดยปลดพระเจ้าเซ่าเต้ออกจากพระราชบัลลังก์ แล้วอัญเชิญหองจูเหียบ ซึ่งเห็นว่ามีสติปัญญาดีขึ้นเป็นฮ่องเต้แทน หองจูเหียบจึงได้ขึ้นเป็นพระเจ้าเหี้ยนเต้แห่งต้าฮั่นในปี พ.ศ. 732 ขณะมีพระชนมายุเพียง 8 พรรษา โดยการครองราชย์นั้นในช่วงแรกแทบไม่ได้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจใด ๆ เพราะหลังจากตั๋งโต๊ะตั้งพระองค์เป็นฮ่องเต้ ก็กุมอำนาจเบ็ดเสร็จในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ทำอะไรไม่ปรึกษาใคร เหมือนว่าตั๋งโต๊ะไม่เห็นพระเจ้าเหี้ยนเต้อยู่ในสายตา แม้ว่าตั๋งโต๊ะจะถึงขนาดเผาเมืองหลวง สร้างราชธานีขึ้นใหม่ก็ทรงทำอะไรไม่ได้ จนตั๋งโต๊ะสิ้นชีพไปในปี พ.ศ. 735 ทรงเริ่มปฏิบัติพระราชภารกิจไปบ้างเล็กน้อย แต่การจะให้พระเจ้าเหี้ยนเต้ซึ่งขณะนั้นมีพระชนมายุเพียง 11 พรรษาปกครองประเทศจีน ดูจะยากเกินไป พระเจ้าเหี้ยนเต้เริ่มกลายเป็นเหมือนหุ่นเชิดของเหล่าขุนนางและสิบขันที ดังนั้น ในปี พ.ศ. 739 โจโฉ ก็เข้ามาเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และเริ่มที่จะสร้างอิทธิพลครอบงำราชสำนัก พระองค์ก็มิอาจทำอะไรได้ แม้จะทรงมีหนังสือลับที่เขียนด้วยพระโลหิตของพระองค์เองส่งไปหาเล่าปี่ ซึ่งทรงถือเป็นพระปิตุลา (พระเจ้าอา) ให้กำจัดโจโฉ เพราะทรงเริ่มเห็นถึงความกำเริบของโจโฉ แม้โจโฉบางครั้งอาจจะทำตัวเทียบบารมีพระเจ้าเหี้ยนเต้ แต่ก็ไม่เคยคิดตั้งตนเป็นพระจักรพรรดิเอง และเมื่อพระเจ้าเหี้ยนเต้ทรงบรรลุนิติภาวะ โจโฉก็กลับไปทำหน้าที่เดิมของตน และความสัมพันธ์ระหว่างโจโฉกับพระเจ้าเหี้ยนเต้ก็เริ่มบั่นทอน เพราะโจโฉเริ่มมีการแสวงหาอำนาจ จนกระทั่งขอเป็นอ๋องแห่งแคว้นเว่ย พระเจ้าเหี้ยนเต้ทรงกริ่งพระทัย แต่เมื่อโจโฉได้ยกโจเฮา บุตรีคนหนึ่งให้เป็นพระมเหสี ในปี พ.ศ. 757 พระเจ้าเหี้ยนเต้จึงทรงพระราชทานตำแหน่งอ๋องหรือ ผู้ปกครองแคว้น ให้ แล้วโจโฉก็พอพระทัย ไม่ต้องการอะไรเพิ่ม ครองแคว้นเว่ยไปอย่างสงบ แต่ตลอดเวลาตั้งแต่นั้น พระเจ้าเหี้ยนเต้ก็ทรงเป็นเหมือนหุ่นเชิดของก๊กทั้งสามแคว้น (สามก๊ก) ไป ๆ มา ๆ จนวุยอ๋องโจโฉสิ้นพระชนม์ โจผี พระโอรสในพระเจ้าโจโฉขึ้นเป็นอ๋องครองแคว้นเว่ยต่อจากโจโฉผู้เป็นพระบิดา วุยอ๋องโจผีมีพระทัยที่เหิมเกริมจนขับไล่พระเจ้าเหี้ยนเต้ออกไปจากราชบัลลังก์ในปี พ.ศ. 763 และขึ้นเป็นพระจักรพรรดิแห่งแคว้นเว่ยเสีย แต่ว่าราชวงศ์ฮั่นยังไม่สิ้นสุดเมื่อฮันต๋งอ๋องเล่าปี่ สถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระมหาจักรพรรดิในแดนเสฉวนเพื่อรักษาราชวงศ์ฮั่นและเชื้อสายราชตระกูลเล่า และในปี พ.ศ. 772 ง่ออ๋องซุนกวนก็สถาปนาตนเองขึ้นเป็นมหาจักรพรรดิในแดนกังตั๋งเช่นกัน นับแต่นั้นมาแผ่นดินจีนก็แตกออกเป็นสามอาณาจักรอย่างแท้จริง พระเจ้าเหี้ยนเต้ถูกลดพระอิสริยยศจากพระจักรพรรดิหรือฮ่องเต้ เป็น ชนชั้นสูง และมีชีวิตอย่างสงบสุขเรื่อยมา จนพระเจ้าเหี้ยนเต้เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 777 ขณะมีพระชนมายุ 53 พรรษ.

ตั๋งโต๊ะและหองจูเหียบ · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและหองจูเหียบ · ดูเพิ่มเติม »

หองจูเปียน

อ๋องแห่งหงหนง หรือพระนามเดิมว่า เปี้ยน ตามสำเนียงกลาง หรือ เปียน ตามสำเนียงฮกเกี้ยน หรือมักเรียกกันว่า หวังเช่าเปี้ยน ตามสำเนียงกลาง หรือ หองจูเปียน ตามสำเนียงฮกเกี้ยน ("เปี้ยนเจ้าชายน้อย") เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 25 แห่งราชวงศ์ฮั่น (พระองค์ที่ 13 แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก) เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าเลนเต้และนางโฮเฮา มีพระอนุชาต่างพระมารดาคือ หองจูเหียบ ในปี พ.ศ. 732 พระเจ้าเลนเต้สิ้นพระชนม์ โฮจิ๋นพี่ชายของนางโฮเฮาผู้เป็นแม่ทัพใหญ่ทูลเชิญหองจูเปียนขึ้นสืบราชบัลลังก์ ขณะนั้น หองจูเปียนมีพระชนม์ได้ 14 พรรษา ต่อมา โฮจิ๋นถูกสิบขันทีฆ่า และสิบขันทีถูกกำจัด ตั๋งโต๊ะได้เข้ามามีอำนาจแทน แล้วถอดหองจูเปียนออกจากพระราชบัลลังก์ ลดฐานันดรจากพระมหากษัตริย์เป็นอ๋อง (เจ้าชาย) มีบรรดาศักดิ์ว่า "อ๋องแห่งหงหนง" แล้วให้ตั้งหองจูเหียบเป็นพระมหากษัตริย์พระนามว่า พระเจ้าเหี้ยนเต้ แล้วตั้งตนเองเป็นเจ้าพระยามหาอุปราช (นายกรัฐมนตรี) ต่อมาในพ.ศ. 733 ตั๋งโต๊ะจึงส่งคนสนิทไปประหารหองจูเปียนพร้อมทั้งพระราชชนนีและพระสนม.

ตั๋งโต๊ะและหองจูเปียน · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและหองจูเปียน · ดูเพิ่มเติม »

อ้วนเสี้ยว

อ้วนเสี้ยว (Yuan Shao) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก มีบทบาทในช่วงต้นเรื่อง ด้วยเป็นผู้นำก๊กที่มีกองกำลังใหญ่ที่สุด เข้มแข็งที่สุด แต่ท้ายสุดก็ต้องมาล่มสลายเพราะความไม่เอาไหนของตน อ้วนเสี้ยวเคยเป็นทหารติดตาม ที่มีความศรัทธาในตัวของแม่ทัพโฮจิ๋น ผู้เคยมีอาชีพขายเนื้อในเมือง.

ตั๋งโต๊ะและอ้วนเสี้ยว · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและอ้วนเสี้ยว · ดูเพิ่มเติม »

อ้องอุ้น

หวัง ยฺหวิ่น ตามสำเนียงมาตรฐาน หรือ อ้องอุ้น ตามสำเนียงฮกเกี้ยน (ค.ศ. 137–192) ชื่อรองว่า จื่อชือ (子师) เป็นข้าราชการชาวจีนปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ดำรงตำแหน่งอุปราช (司徒) ในรัชกาลพระเจ้าหลิว เสีย (劉協) หรือหองจูเหียบ เข้าสู่อำนาจโดยวางแผนให้ขุนศึกลฺหวี่ ปู้/ลิโป้ (呂布) สังหารอุปราชต่ง จั๋ว/ตั๋งโต๊ะ (董卓) แต่ในไม่ช้า ผู้ใต้บัญชาของต่ง จั๋ว ก็ก่อการกำเริบ เป็นผลให้หวัง ยฺหวิ่น ถูกประหารพร้อมครอบครัว ในนวนิยายเรื่อง สามก๊ก (三國演義) หวัง ยฺหวิ่น เป็นบิดาบุญธรรมของตัวละครหญิงชื่อ เตียวฉัน/เตียวเสียน (貂蟬) ซึ่งเขาใช้ไปยุแยงให้ลฺหวี่ ปู้ และต่ง จั๋ว บาดหมางกัน จนลฺหวี่ ปู้ สังหารต่ง จั๋ว.

ตั๋งโต๊ะและอ้องอุ้น · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและอ้องอุ้น · ดูเพิ่มเติม »

ฮัวหยง

ัวหยง ในวรรณกรรมจีน อาจหมายถึงตัวละครต่อไปนี้.

ตั๋งโต๊ะและฮัวหยง · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและฮัวหยง · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิฮั่นหลิง

มเด็จพระจักรพรรดิหลิงแห่งราชวงศ์ฮั่น หรือ ฮั่นหลิงตี้ หรือ ฮั่นเลนเต้ (Emperor Ling of Han) ดำรงตำแหน่งเป็นจักรพรรดิในราชวงศ์ฮั่น รัชกาลที่ 24 เสด็จพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. 699 เป็นพระโอรสของเล่าจั้ง เชื้อพระวงศ์ชั้นสูงแห่งราชวงศ์ฮั่น เชื้อสายราชนิกูลเล่า เจ้าเมืองตูตัง เมื่อสิ้นบุญ พระเจ้าฮวนเต้ (漢桓帝) ได้ขอพระองค์นั้นไปชุบเลี้ยงในพระบรมมหาราชวัง ทรงเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นฮวนเต้มาก จึงทรงแต่งตั้งเป็นพระรัชทายาท เนื่องจากพระองค์ไม่มีพระราชโอรส เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นฮวนเต้เสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 711 พระองค์จึงได้เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเจ้าฮวนเต้ในปีเดียวกัน ขณะมีพระชนมายุ 12 พรรษา และได้แต่งตั้งพระราชมารดาของพระองค์ขึ้นเป็น พระพันปีหลวงตังไทเฮา เพราะฉะนั้นเองพระมารดาของพระเจ้าเลนเต้จึงเป็น สมเด็จพระพันปีหลวงไทเฮาเพียงพระองค์เดียวในประวัติศาสตร์จีนที่ไม่ได้เป็นพระมเหสีของฮ่องเต้พระองค์ใด และรัชสมัยของพระองค์นั่นก็เป็นอีกชนวนหนึ่งที่ก่อให้เกิดยุคสามก๊ก เนื่องจากหลังจากทรงครองราชสมบัติไป 10 กว่าปี ก็เริ่มตีตัวออกห่างจากราชการบ้านเมือง หลงมัวเมาในสุรานารี และคำป้อยอของขันที ขันทีก็ได้ใจรีดนาทาเร้นราษฎร ดังนั้นใน พ.ศ. 726 จึงมีกลุ่มชาวนาต่างจังหวัดตั้งกลุ่มกบฏโพกผ้าเหลือง (黃巾之亂) เริ่มยึดครองขยายอำนาจแผ่ไปแว่นแคว้นต่าง ๆ ราชธานีได้ส่งสาส์นไปยังหัวเมืองน้อยใหญ่ให้ช่วยยกทัพมาปราบกบฏโพกผ้าเหลือง และปิดประกาศขอรับสมัครชายผู้ต้องการปกป้องชาติ ซึ่งทำให้ เล่าปี่ (劉備), กวนอู (關羽), เตียวหุย (張飛) ได้มาพบกัน และร่วมมือกัน และเป็นโอกาสให้ตั๋งโต๊ะ (董卓) ได้ขึ้นมาเรืองอำนาจกดขี่ชาวบ้าน ทางวังหลวงก็มีความแตกแยก เพราะมีพระราชโอรส 2 พระองค์ คือ หองจูเปียน พระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเลนเต้กับสมเด็จพระจักรพรรดินีโฮเฮา กับหองจูเหียบ พระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเลนเต้กับพระสนมอองบีหยิน แต่ก็ไม่ได้รับความสนพระทัยจากพระเจ้าเลนเต้มากนัก จนในที่สุด ก็เสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 732.

จักรพรรดิฮั่นหลิงและตั๋งโต๊ะ · จักรพรรดิฮั่นหลิงและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

จูฮี

ูฮี (Zhu Jun) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก เป็นแม่ทัพแห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันตก เป็น 1 ใน 3 แม่ทัพใหญ่ซึ่งมีหน้าที่ในการปราบปรามโจรโพกผ้าเหลือง อันได้แก่ โลติด ฮองฮูสง จูฮี หลังเสร็จศึกปราบโจรโพกผ้าเหลืองก็ได้รับการปูนบำเหน็จให้เป็นเจ้าเมืองโห้หลำ ต่อมาเหล่าสิบขันทีก็เรียกให้จ่ายสินบนแต่จูฮีกลับปฏิเสธ ทำให้เหล่าสิบขันทีได้ปลดจูฮีออกจากตำแหน่ง รูปจูฮีจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI.

จูฮีและตั๋งโต๊ะ · จูฮีและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ซัวหยง

ซัวหยง ยีหลง หรือ ซัวแก (Cai Yong) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ขุนนางผู้ใหญ่สมัยราชวงศ์ฮั่นตอนปลาย เป็นชาวเมืองตันลิว รับราชการในรัชสมัยพระเจ้าฮั่นเลนเต้ มีตำแหน่งที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน มีบุตรสาวชื่อ ไซ่เหวินจี ในรัชสมัยพระเจ้าฮั่นเลนเต้ ขันทีกุมอำนาจการบริหารราชการ ทำให้อาณาประชาราษฎร์ได้รับความเดือดร้อนจากการโกงกินของเหล่าขันที บ้านเมืองในยุคนั้นเกิดอาเพศต่างๆมากมาย ซัวหยงได้เขียนจดหมายลับถวายแด่พระเจ้าเลนเต้มีใจความว่า ที่แผ่นดินเกิดอาเพศเป็นเพราะขันทีทั้งสิบกระทำการอันมิชอบ สิบขันทีจึงหาเหตุใส่ร้ายซัวหยง และยุยงพระเจ้าเลนเต้ให้ปลดซัวหยงออกจากราชการ ออกไปอยู่บ้านนอก ต่อมา ตั๋งโต๊ะได้ขึ้นมามีอำนาจในวังหลวง ตั๋งโต๊ะได้บังคับให้ซัวหยงกลับมารับราชการ มิฉะนั้นจะฆ่าเสีย แล้วตั้งให้เป็นสมุหพระราชวัง เมื่อตั๋งโต๊ะถูกลิโป้สังหาร ซัวหยงเป็นขุนนางเพียงคนเดียวที่ไปร้องไห้หน้าศพของตั๋งโต๊ะ อ้องอุ้นโกรธจึงสั่งให้ทหารนำตัวซัวหยงไปทรมานจนต.

ซัวหยงและตั๋งโต๊ะ · ซัวหยงและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ซุนเกี๋ยน

ระเจ้าซุนเกี๋ยน (Sun Jian) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก แม่ทัพและขุนศึกในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก และยุคสามก๊กช่วงต้น ซุนเกี๋ยนไต่เต้าจากตำแหน่งขุนนางต่ำต้อยจนเป็นเจ้าเมืองเตียงสา เข้าร่วมกับกองทัพ 18 หัวเมืองตะวันออกต้านตั๋งโต๊ะในฐานะลูกน้องของอ้วนสุด สามารถเอาชนะกองทัพของตั๋งโต๊ะจนได้รับฉายาว่า "พยัคฆ์กังตั๋ง" หรือ "พยัคฆ์แดนใต้" และกำลังจะยึดเมืองลกเอี๋ยง แต่อ้วนสุดเกิดอิจฉาริษยาที่ซุนเกี๋ยนได้ชัยชนะและถ้าหากยึดเมืองลกเอี๋ยงได้ ซุนเกี๋ยนก็จะได้รับความดีความชอบไป จึงตัดสินใจแกล้งไม่ส่งเสบียงให้แก่ทัพของซุนเกี๋ยน จนในที่สุดซุนเกี๋ยนรบพ่ายแพ้และไปเอาเรื่องกับอ้วนสุด แต่อ้วนสุดกลับเอาตัวรอดได้ด้วยการโยนความผิดและประหารชีวิตเจ้าหน้าที่ส่งเสบียงไป ต่อมาหลังจากตั๋งโต๊ะเผาเมืองหนีไปยังเตียงฮัน ซุนเกี๋ยนลาดตระเวณทั่วเมืองจนกระทั่งได้พบกับตราหยกแผ่นดินโดยบังเอิญในศพหญิงรับใช้ในวังที่กระโดดบ่อน้ำตาย ลูกน้องและคนของซุนเกี๋ยนจึงสรรเสริญว่า ซุนเกี๋ยนเป็นผู้มีบุญต่อไปจะได้เป็นฮ่องเต้ ทำให้ซุนเกี๋ยนตัดสินใจออกจากกองทัพ 18 หัวเมืองเพื่อไปตั้งตนเป็นใหญ่แต่อ้วนเสี้ยวรู้เข้าจึงบีบให้ส่งตราหยกมา แต่ซุนเกี๋ยนกลับไม่ยอมให้และตีจากไป อ้วนเสี้ยวได้ส่งเล่าเปียวไปชิงตราหยกกลับคืนมาแต่ไม่สำเร็จ หลังจากนั้นซุนเกี๋ยนและเล่าเปียวก็เป็นศัตรูกัน เวลาต่อมาซุนเกี๋ยนได้คิดที่จะสถาปนาเมืองกังตั๋งให้ขึ้นมาเข้มแข็งบ้าง ซึ่งต่อมาถือได้ว่าเป็นพื้นฐานสำคัญให้กับการตั้งตัวของง่อก๊ก โดยซุนเซ็กและซุนกวน บุตรชายทั้ง 2 หลังจากนั้นอ้วนสุดมีคำสั่งให้ซุนเกี๋ยนโจมตีเมืองเกงจิ๋วของเล่าเปียว แต่ซุนเกี๋ยนเสียชีวิตในการรบในระหว่างไล่โจมตีหองจอ ลูกน้องของเล่าเปียว ภายหลังซุนกวนสถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิ แล้วทรงสถาปนาตำแหน่งซุนเกี๋ยนผู้เป็นพระบิดาของพระองค์เป็นจักรพรรดิด้ว.

ซุนเกี๋ยนและตั๋งโต๊ะ · ซุนเกี๋ยนและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ซีเอ๋ง

รูปซีเอ๋งจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI ซีเอ๋ง (Xu Rong) เป็นนายทหารของตั๋งโต๊ะ มีบทบาทในช่วงสั้นๆ ในตอนที่ตั๋งโต๊ะย้ายเมืองหลวง โจโฉได้รวบรวมกองทัพพันธมิตรขึ้นมา เพื่อโค่นอำนาจตั๋งโต๊ะ ตั๋งโต๊ะกลัวจึงย้ายเมืองหลวงจากลกเอี๋ยงไปอยู่ที่เตียงฮัน แต่ลิยูได้คาดการณ์ไว้แล้วว่า กองทัพพันธมิตรต้องตีท้ายทัพ จึงให้ซีเอ๋งนำกองกำลังส่วนหนึ้งไปซุ่มที่ซิงหยาง แล้วก็เป็นดังที่ลิยูคาด โจโฉตีท้ายทัพของตั๋งโต๊ะ ลิโป้จึงยกทัพมาสกัดไว้ ด้วยกำลังที่น้อยกว่าทำให้โจโฉต้องถอยทัพกลับ ระหว่างที่เดินทัพมาถึงซิงหยาง ซีเอ๋งที่ซุ่มอยู่จึงเข้าโจมตีกองทัพของโจโฉทันที โจโฉหนีหัวซุกหัวซุน ซีเอ๋งยิงเกาทัณฑ์ถูกไหล่ของโจโฉ ส่วนม้าก็ถูกทหารของซีเอ๋งใช้หอกแทงล้มลง โจโฉเกือบถูกทหารจับได้ ยังดีที่โจหองมาช่วยไว้ แล้วพาโจโฉหนีไป กองทัพซีเอ๋งจึงยกทัพตามโจโฉและโจหองไปจนเกือบใกล้ถึงตัวทั้งสองแล้ว แต่แฮหัวตุ้นและแฮหัวเอี๋ยนได้นำทัพมาช่วยโจโฉ ซีเอ๋งเข้าประลองทวนกับแฮหัวตุ้น ในที่สุดก็ตายด้วยน้ำมือแฮหัวตุ้น หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ศตวรรษที่ 2 หมวดหมู่:บุคคลในยุคสามก๊ก.

ซีเอ๋งและตั๋งโต๊ะ · ซีเอ๋งและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

โฮจิ๋น

หอ จิ้น หรือสำเนียงแต้จิ๋วว่า โฮจิ๋น (เสียชีวิต 22 กันยายน ค.ศ. 189) มีชื่อรองว่าซุ่ยเกา เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก ขุนนางผู้ใหญ่สมัยราชวงศ์ฮั่นตอนปลาย เป็นบุตรคนโตของนางบูยงกุ๋น เป็นพี่ชายของพระนางโฮเฮา ซึ่งเป็นมเหสีของพระเจ้าเลนเต้ เป็นผู้นำกองทัพปราบโจรโพกผ้าเหลืองตอนปลายรัชสมัยของพระเจ้าเลนเต้ เมื่อพระเจ้าเลนเต้สวรรคต โฮจิ๋นได้ตั้งหองจูเปียนโอรสองค์โตของพระเจ้าเลนเต้และนางโฮเฮาขึ้นเป็นฮ่องเต้แทน และคิดกำจัด 10 ขันที และพวกขันทีรู้ตัวก่อนจึงลวงโฮจิ๋นไปฆ่า รูปโฮจิ๋นจากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI ของค่ายเกม KOEI.

ตั๋งโต๊ะและโฮจิ๋น · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโฮจิ๋น · ดูเพิ่มเติม »

โตเกี๋ยม

ตเกี๋ยม (Tao Qian) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เจ้าเมืองชีจิ๋ว ชื่อรองกงจู่ เป็นคนจิตใจอ่อนโยน เมื่อคราวที่ขบวนของโจโก๋ บิดาของโจโฉผ่านยังเมืองชีจิ๋ว โตเกี๋ยมได้ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี และมอบหมายให้เตียวคีเป็นผู้คุ้มกันขบวนรถอีกด้วย แต่หลังจากเตียวคีนำทหารห้าร้อยนายติดตามขบวนรถของโจโก๋ เตียวคีเกิดความโลภด้วยเห็นว่าโจโก๋มีทรัพย์สมบัติเป็นจำนวนมาก จึงวางแผนฆ่าโจโก๋และปล้นชิงทรัพย์สินและหลบหนีไป เมื่อโจโฉทราบข่าวการเสียชีวิตของบิดา ก็โกรธแค้นโตเกี๋ยมเป็นอย่างยิ่ง เตรียมนำกองกำลังทหารจำนวนมากหมายเข้าตีเมืองชีจิ๋วให้ราบคาบ โตเกี๋ยมจึงปรึกษากับเหล่าขุนนางถึงการนำทัพมาของโจโฉเพื่อหาทางป้องกันเมือง โตเกี๋ยมตั้งใจจะมอบตัวแก่โจโฉเพื่อให้โจโฉฆ่าเสียให้หายโกรธ เนื่องจากตนเองเป็นต้นเหตุให้ราษฏรในเมืองต้องรับความเดือดร้อน แต่บิต๊กได้ไปขอกำลังทหารจากขงหยงและเล่าปี่มาช่วยป้องกันเมืองชีจิ๋ว เล่าปี่เขียนหนังสือให้ม้าใช้นำไปมอบให้แก่โจโฉ พร้อมกับส่งเตียวหุยไปเป็นทูตเพื่อเจรจาของสงบศึก แต่ในขณะเดียวกันลิโป้ก็นำกำลังทหารบุกเข้าโจมตีค่ายทหารของโจโฉที่เมืองกุนจิ๋ว ซึ่งโจโฉมอบหมายให้โจหยินเป็นผู้ดูแลรักษาค่าย ลิโป้ตีค่ายทหารของโจโฉแตก โจหยินที่ดูแลรักษาค่ายทหารกำลังเพลี่ยงพล้ำต่อลิโป้ ทำให้โจโฉต้องนำกำลังทหารกลับยังค่ายเพื่อช่วยเหลือโจหยิน หลังจากเล่าปี่ยื่นมือเข้าช่วยเหลือโตเกี๋ยม ซึ่งเห็นว่าเล่าปี่เป็นผู้มีคุณธรรม มีความสามารถและกล้าหาญ สามารถปกครองเมืองชีจิ๋วต่อจากตนได้ จึงเชิญเล่าปี่ให้เป็นเจ้าเมืองชีจิ๋วแทนตน แต่เล่าปี่กลับปฏิเสธพร้อมกับให้เหตุผล ทำให้โตเกี๋ยมผิดหวังเป็นอย่างยิ่ง จนกระทั่งล้มป่วยอย่างหนัก จึงขอร้องให้เล่าปี่รับเป็นเจ้าเมืองชีจิ๋วแทนตน ก่อนสิ้นใจอย่างสงบด้วยอายุ 62 ปี.

ตั๋งโต๊ะและโตเกี๋ยม · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและโตเกี๋ยม · ดูเพิ่มเติม »

เตียวเสี้ยน

ตียวชาน (Diao Chan) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก บุตรบุญธรรมของอ้องอุ้น ฉายานามว่า "จันทร์หลบโฉมสุดา" (จีน: 闭月 พินอิน: bì yuè) ซึ่งหมายถึง "ความงามที่ทำให้แม้แต่ดวงจันทร์ยังต้องหลบเลี่ยงให้".

ตั๋งโต๊ะและเตียวเสี้ยน · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตียวเสี้ยน · ดูเพิ่มเติม »

เตียวเหยียง

ตียวเหยียง (Zhang Rang) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊ก ขันทีในยุคราชวงศ์ฮั่นตอนปลาย เป็นหัวหน้าของคณะสิบขันที และเป็นขันทีที่พระเจ้าเลนเต้ไว้วางพระทัยมากถึงขนาดที่พระองค์ทรงเรียกเตียวเหยียงว่าเป็นพ่อบุญธรรม.

ตั๋งโต๊ะและเตียวเหยียง · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตียวเหยียง · ดูเพิ่มเติม »

เตียวเจ (ฮั่นตะวันออก)

ตียวเจ (Zhang Ji, ? — ค.ศ. 196) ขุนพลของ ตั๋งโต๊ะ (Dong Zhuo) ในช่วงต้นของ ยุคสามก๊ก เตียวเจภายหลังจากที่ตั๋งโต๊ะถูกสังหารโดย ลิโป้ (Lü Bü) ได้จับมือกับอดีตขุนพลของตั๋งโต๊ะอีก 3 คนคือ ลิฉุย (Li Jue), กุยกี (Guo Si) และ หวนเตียว (Fan Chou) บุกเข้ายึด พระนครฉางอัน (Chang an) สังหาร อ้องอุ้น (Wang Yun) และพยายามสังหารลิโป้แต่ลิโป้รู้ตัวและพา เตียวเสี้ยน (Diao Chan) หนีออกจากฉางอันไปได้ทำให้ขุนพลทั้ง 4 เข้าควบคุม จักรพรรดิฮั่นเซี่ยน (Emperor Han Xian) หรือ พระเจ้าเหี้ยนเต้.

ตั๋งโต๊ะและเตียวเจ (ฮั่นตะวันออก) · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเตียวเจ (ฮั่นตะวันออก) · ดูเพิ่มเติม »

เต๊งหงวน

ต๊งหงวน (Ding Yuan) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก เจ้าเมืองเต๊งจิ๋ว มีลูกเลี้ยงและองครักษ์คนหนึ่งชื่อลิโป้ เต๊งหงวนเป็นเจ้าเมืองคนหนึ่ง ที่โฮจิ๋นเรียกตัวมาเพื่อกำจัด 10 ขันที หลังจากโฮจิ๋นถูก 10 ขันทีสังหาร และ 10 ขันทีถูกกำจัดจนสิ้น ตั๋งโต๊ะ เจ้าเมืองซีหลงได้เข้ามากุมอำนาจในเมืองหลวง และเสนอเหล่าขุนนางให้ปลดพระเจ้าฮั่นเซ่าตี้ และสถาปนาหองจูเหียบขึ้นเป็นพระเจ้าเหี้ยนเต้แทน แต่เหล่าขุนนางส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย เต๊งหงวนเป็นคนหนึ่งที่ลุกขึ้นด่าตั๋งโต๊ะว่าเป็นกบฏ แต่ตั๋งโต๊ะไม่กล้าจัดการกับเต๊งหงวน เพราะมีลิโป้ยืนถือทวนอยู่ข้างหลัง ตั๋งโต๊ะได้ออกอุบายให้ลิโป้มาอยู่ข้างตน โดยให้คนนำทรัพย์สินเงินทองไปซื้อตัวลิโป้ และสั่งให้ลิโป้ไปฆ่าเต๊งหงวน เต๊งหงวนถูกลิโป้สังหารในปี..

ตั๋งโต๊ะและเต๊งหงวน · รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊กและเต๊งหงวน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ตั๋งโต๊ะและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก

ตั๋งโต๊ะ มี 46 ความสัมพันธ์ขณะที่ รายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก มี 382 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 27, ดัชนี Jaccard คือ 6.31% = 27 / (46 + 382)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ตั๋งโต๊ะและรายชื่อบุคคลในยุคสามก๊ก หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »