โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตัวแบบโอเพนซอร์ซและเคดีอี

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ตัวแบบโอเพนซอร์ซและเคดีอี

ตัวแบบโอเพนซอร์ซ vs. เคดีอี

ตัวแบบโอเพนซอร์ซ (open-source model) เป็นตัวแบบการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบกระจายอำนาจที่สนับสนุนให้มีการร่วมมือกันอย่างเสรีLevine, Sheen S., & Prietula, M. J. (2013). KDE หรือชื่อเต็ม K Desktop Environment เป็นสภาพแวดล้อมในการทำงานแบบเดสก์ท็อป (Desktop Environment) ที่เป็นซอฟต์แวร์เสรี พัฒนาบนทูลคิท Qt ของบริษัท Trolltech และทำงานได้บนระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์เกือบทุกรุ่น เช่น ลินุกซ์, BSD, AIX และ Solaris รวมถึงมีรุ่นที่ใช้งานได้บน Mac OS X และไมโครซอฟท์วินโดวส์ KDE มีโครงการพี่น้องที่พัฒนาไปพร้อมกันอย่าง KDevelop ซึ่งเป็นชุดเครื่องมือสำหรับการพัฒนาโปรแกรม และ KOffice ชุดโปรแกรมสำนักงาน ในรุ่น 4.1 ได้แก้ไขในเรื่องบั๊กทั้งหมดและหน้าตาของชุดตกแต่งพลาสมา รวมถึงการตั้งค่า TaskBar ดีมากยิ่งขึ้น และส่วนการติดต่อที่ค่อนข้างจะสมบูรณ์กว่า KDE 4.0.X ปัจจุบันรุ่น 4.8.0.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ตัวแบบโอเพนซอร์ซและเคดีอี

ตัวแบบโอเพนซอร์ซและเคดีอี มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ลินุกซ์สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนูซอฟต์แวร์เสรีเบิร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชัน

ลินุกซ์

ลินุกซ์ (Linux) และรู้จักในชื่อ กะนู/ลินุกซ์ (GNU/Linux) โดยทั่วไปเป็นคำที่ใช้ในความหมายที่หมายถึงระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ โดยใช้ลินุกซ์ เคอร์เนล เป็นศูนย์กลางทำงานร่วมกับไลบรารีและเครื่องมืออื่น ลินุกซ์เป็นตัวอย่างหนึ่งในฐานะซอฟต์แวร์เสรี และซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียง ทุกคนสามารถดูหรือนำโค้ดของลินุกซ์ไปใช้งาน, แก้ไข, และแจกจ่ายได้อย่างเสรี ลินุกซ์นิยมจำหน่ายหรือแจกฟรีในลักษณะเป็นแพคเกจ โดยผู้จัดทำจะรวมซอฟต์แวร์สำหรับใช้งานในด้านอื่นเป็นชุดเข้าด้วยกัน เริ่มแรกของของลินุกซ์พัฒนาและใช้งานในเฉพาะกลุ่มผู้ที่สนใจ ซึ่งในปัจจุบันลินุกซ์ได้รับความนิยมเนื่องมาจากระบบการทำงานที่เป็นอิสระ ปลอดภัย เชื่อถือได้ และราคาต่ำ จึงได้มีการพัฒนาจากองค์กรต่าง ๆ เช่น ไอบีเอ็ม ฮิวเลตต์-แพคการ์ด และโนเวลล์ ใช้สำหรับในระบบเซิร์ฟเวอร์และพีซี เริ่มแรกลินุกซ์พัฒนาสำหรับใช้กับเครื่อง อินเทล 386 ไมโครโพรเซสเซอร์ หลังจากที่ได้รับความนิยมปัจจุบัน ลินุกซ์ได้พัฒนารับรองการใช้งานของระบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ในระบบต่าง ๆ รวมถึงในโทรศัพท์มือถือ และกล้องวิดีโอ ลินุกซ์มีสัญญาอนุญาตแบบ GPL ซึ่งเป็นสัญญาอนุญาตที่กำหนดให้ผู้ที่นำโค้ดไปใช้ต้องใช้สัญญาอนุญาตแบบเดิมต่อคือใช้สัญญาอนุญาต GPL เช่นเดียวกัน ซึ่งลักษณะสัญญาอนุญาตแบบนี้เรียกว่า copyleft.

ตัวแบบโอเพนซอร์ซและลินุกซ์ · ลินุกซ์และเคดีอี · ดูเพิ่มเติม »

สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู

รื่องหมายการค้าของกนู สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู หรือ กนูจีพีแอล หรือ จีพีแอล (GNU General Public License, GNU GPL, GPL) เป็นสัญญาอนุญาตสำหรับซอฟต์แวร์เสรี ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในปัจจุบัน ฉบับแรกสุดเขียนโดย ริชาร์ด สตอลล์แมน เริ่มต้นใช้กับโครงการกนู ในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991).

ตัวแบบโอเพนซอร์ซและสัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู · สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนูและเคดีอี · ดูเพิ่มเติม »

ซอฟต์แวร์เสรี

ปรแกรมจัดการภาพกิมป์ และวีแอลซีมีเดียเพลเยอร์ ซอฟต์แวร์เสรี (free software) หมายถึงซอฟต์แวร์ที่สามารถนำไปใช้ แก้ไข ดัดแปลง พัฒนา และจำหน่ายแจกจ่ายได้โดยเสรี โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์แต่อย่างใด ตามคำนิยามของมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรี (Free Software Foundation) ในบางครั้งซอฟต์แวร์เสรีจะถูกกล่าวถึงในชื่ออื่น ๆ เช่น libre software, FLOSS หรือซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ซอฟต์แวร์เสรีที่เป็นนิยมใช้งานได้แก่ ลินุกซ์ ไฟร์ฟอกซ์ และโอเพ่นออฟฟิศ ในทางปฏิบัติ ซอฟต์แวร์เสรี และ ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส มีลักษณะร่วมที่คล้ายกัน แต่แตกต่างกันโดยแนวความคิดของกลุ่ม โดยซอฟต์แวร์เสรีเน้นในแนวทางสังคมการเมืองที่ต้องการให้มีการใช้ซอฟต์แวร์ได้อย่างอิสระ ไม่ถูกจำกัดด้วยลิขสิทธิ์ ในขณะที่ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมีแนวความคิดในการเปิดกว้างให้แลกเปลี่ยนซอร์สโค้ดได้อิสระซึ่งเป็นแนวคิดทางด้านเทคโนโลยี อย่างไรก็ตามซอฟต์แวร์เสรีทุกตัวถูกจัดให้เป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเสมอ แต่กระนั้นเคยมีกรณีที่มูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีไม่ยอมรับ Apple Public Source License รุ่นแรกให้อยู่อยู่ในรายการโดยเนื้อหาใน Apple Public Source License รุ่นแรกกำหนดให้การปรับปรุงแก้ไขที่เป็นส่วนตัวจะต้องเผยแพร่ patch ออกสู่สาธารณะและรายงานให้ Apple ทราบทุกครั้ง ซึ่งทางมูลนิธิซอฟต์แวร์เสรีมองว่าเป็นการไม่เคารพความเป็นส่วนตัวและจำกัดเสรีภาพในการแก้ไขซอฟต์แวร์ นอกจากนี้มีการสับสนระหว่างฟรีแวร์ที่มีลักษณะนำไปใช้ได้ฟรี โดยไม่รวมถึงการนำไปดัดแปลงแก้ไข กับซอฟต์แวร์เสรีที่สามารถนำไปใช้รวมทั้งดัดแปลงแก้ไขได้อย่างสมบูรณ.

ซอฟต์แวร์เสรีและตัวแบบโอเพนซอร์ซ · ซอฟต์แวร์เสรีและเคดีอี · ดูเพิ่มเติม »

เบิร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชัน

ร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชั่น (Berkeley Software Distribution -BSD; Berkeley Unix) เป็นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ที่พัฒนาและเผยแพร่โดย มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ เริ่มต้นในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 70 ชื่อบีเอสดียังคงมีอยู่ในระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ ๆ ซึ่งสืบทอดมาจากดิสทริบิวชั่นนี้ เช่น FreeBSD, NetBSD, และ OpenBSD เป็นต้น บีเอสดีจัดว่าเป็นยูนิกซ์ที่ใช้กันแพร่หลายสำหรับคอมพิวเตอร์ระดับเวิร์กสเตชันในยุคนั้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะสัญญาอนุญาตใช้งานของบีเอสดีนั้นไม่ซับซ้อน ทำให้บริษัทอื่น ๆ นำเทคโนโลยีไปพัฒนาในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 80 จนสร้างความคุ้นเคยในวงกว้าง ถึงแม้ว่าในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 90 บีเอสดีจะถูกแทนที่ด้วย System V รีลีส 4.x และ OSF/1 แต่ในระยะหลังนี้มีการปรับปรุงและพัฒนาระบบปฏิบัติการโดยใช้ซอร์สโค้ดที่เปิดเผยของบีเอสดีเป็นแกนหลัก.

ตัวแบบโอเพนซอร์ซและเบิร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชัน · เคดีอีและเบิร์กลีย์ซอฟต์แวร์ดิสทริบิวชัน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ตัวแบบโอเพนซอร์ซและเคดีอี

ตัวแบบโอเพนซอร์ซ มี 18 ความสัมพันธ์ขณะที่ เคดีอี มี 14 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 12.50% = 4 / (18 + 14)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแบบโอเพนซอร์ซและเคดีอี หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »