เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ตัวรับรู้สิ่งใกล้เคียงและแม่เหล็ก

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ตัวรับรู้สิ่งใกล้เคียงและแม่เหล็ก

ตัวรับรู้สิ่งใกล้เคียง vs. แม่เหล็ก

ตัวรับรู้สิ่งใกล้เคียง (proximity sensor) คือ ตัวรับรู้ (sensor) ชนิดหนึ่งที่สามารถตรวจหาการปรากฏตัวของวัตถุใกล้เคียงโดยปราศจากการสัมผัสทางกาย ตัวรับรู้สิ่งใกล้เคียงมักจะปล่อยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าหรือลำรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า (เช่นรังสีอินฟราเรด) และมองหาการเปลี่ยนแปลงของสนามหรือสัญญาณที่ส่งกลับมา วัตถุที่กำลังตรวจหามักจะถูกเรียกว่าเป้าหมาย เป้าหมายต่างกันก็ใช้ตัวรับรู้ต่างกัน เช่นถ้าเป้าหมายเป็นพลาสติก ตัวรับรู้ก็จะเป็นแบบเก็บประจุ หรือ photoelectric ถ้าเป้าหมายเป็นโสหะ ตัวรับรู้ก็จะเป็นแบบเหนี่ยวนำ เป็นต้น ระยะห่างสูงสุดที่ตัวรับรู้นี้จะสามารถตรวจพบได้จะถูกกำหนดให้เป็น "ระยะกำหนด" (nominal range) ตัวรับรู้บางตัวสามารถปรับระยะกำหนดได้หรือวิธีการรายงานระยะห่างที่วัดได้อีกด้วย ตัวรับรู้สิ่งใกล้เคียงอาจมีความน่าเชื่อถือที่สูงและอายุการทำงานยืนยาวเพราะว่ามันไม่มีชิ้นส่วนกลไกที่เคลื่อนไหวและไม่มีการสัมผัสทางกายระหว่างตัวรับรู้และเป้าหมาย ตัวรับรู้สิ่งใกล้เคียงถูกใช้ทั่วไปบนโทรศัพท์อัจฉริยะเพื่อตรวจหา (และกระโดดข้าม) การแตะหน้าจอโดยไม่ได้ตั้งใจขณะกำลังถือโทรสัพท์ติดกับหูเวลาพูดสาย พวกมันยังถูกใช้อีกด้วยในการเฝ้าดูการสั่นของเครื่องยนต์เพื่อวัดการแปรเปลี่ยนของระยะทางระหว่างเพลากับแบริ่งที่รองรับมันอยู่ หน้าที่จะพบเห็นทั่วไปในเครื่องกังหันไอน้ำขนาดใหญ่ เครื่องอัดความดันด้วยก๊าซ และมอเตอร์ที่ใช้แบริ่งแบบปลอกแขนเสื้อ International Electrotechnical Commission (IEC) 60947-5-2 เป็นผู้กำหนดรายละเอียดด้านเทคนิคของตัวรับรู้สิ่งใกล้เคียง ตัวรับรู้สิ่งใกล้เคียงที่ถูกปรับให้ทำงานในระยะที่ใกล้มากจะถูกใช้ใน สวิชต์แบบสัมผัส (touch switch). แม่เหล็กรูปเกือกม้า ทำให้แม่เหล็กมีแรงดูดมากขึ้น รูปแสดงเส้นแรงแม่เหล็กจากขั้วเหนือไปขั้วใต้ บริเวณที่แรงนี้ส่งไปถึง เรียกว่าสนามแม่เหล็ก แม่เหล็ก เป็นแร่หรือโลหะที่มีสมบัติดูดเหล็กได้ ในประวัติศาสตร์ พบว่า สาร"Magnesian stone") ("หินแมกแนเซียน") เป็นวัตถุที่ดูดเหล็กได้ แม่เหล็ก (มาจากภาษากรีก λίθος) แม่เหล็กสามารถทำให้เกิดสนาม'''แม่เหล็ก'''ได้ นั่นคือมันสามารถส่งแรงดูดหรือแรงผลัก ออกไปรอบ ๆ ตัวมันได้ แม้ว่าสนามแม่เหล็กจะเป็นสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้แต่มันเป็นเกี่ยวข้องกับคุณสมบัติสำคัญของแม่เหล็กโดยตรง ได้แก่ คุณสมบัติการดูดและการผลักกันระหว่างแท่งแม่เหล็ก เราสามารถสร้างแม่เหล็กขึ้นมาได้ วิธีแรกคือ นำเหล็กมาถูกับแม่เหล็ก วิธีที่สองคือ ป้อนกระแสไฟฟ้าเข้าไปในขดลวดที่พันรอบเหล็ก แรงเหนี่ยวนำในขดลวดทำให้เหล็กนั้นกลายเป็นแม่เหล็กชั่วคราว และทำให้เกิด สนามแม่เหล็กรอบ ๆ เหล็กนั้น เราเรียกแม่เหล็กแบบนี้ว่า แม่เหล็กไฟฟ้า ปัจจุบัน มีสารอื่นที่ทำให้เป็นแม่เหล็กได้ เช่น นิเกิล โคบอล แมงกานีส รูปแสดงการเรียงตัวของผงตะไบเหล็กในสนามแม่เหล็ก.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ตัวรับรู้สิ่งใกล้เคียงและแม่เหล็ก

ตัวรับรู้สิ่งใกล้เคียงและแม่เหล็ก มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ตัวรับรู้สิ่งใกล้เคียงและแม่เหล็ก

ตัวรับรู้สิ่งใกล้เคียง มี 6 ความสัมพันธ์ขณะที่ แม่เหล็ก มี 5 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (6 + 5)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวรับรู้สิ่งใกล้เคียงและแม่เหล็ก หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: