โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตัวทำละลายและไอโซโพรพานอล

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ตัวทำละลายและไอโซโพรพานอล

ตัวทำละลาย vs. ไอโซโพรพานอล

ตัวทำละลาย (solvent) เป็นของเหลวที่สามารถละลาย ตัวถูกละลาย ที่เป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซได้เป็น สารละลาย ตัวทำละลายที่คุ้นเคยมากที่สุดและใช้ในชีวิตประจำวันคือน้ำ สำหรับคำจำกัดความที่อ้างถึง ตัวทำละลายอินทรีย์ (organic solvent) จะหมายถึงตัวทำละลายอีกชนิดที่เป็น สารประกอบอินทรีย์ (organic compound) และมี คาร์บอน อะตอมอยู่ด้วย โดยปกติตัวทำละลายจะมี จุดเดือด ต่ำ และระเหยง่าย หรือสามารถกำจัดโดย การกลั่นได้ โดยทั่วไปแล้วตัวทำละลายไม่ควรทำปฏิกิริยากับตัวถูกละลาย คือ มันจะต้องมีคุณสมบัติ เฉื่อย ทางเคมี ตัวทำละลายสามารถใช้ สกัด (extract) สารประกอบที่ละลายในมันจากของผสมได้ตัวอย่างที่คุ้นเคยได้แก่ การต้ม กาแฟ หรือ ชา ด้วยน้ำร้อน ปกติตัวทำละลายจะเป็นของเหลวใสไม่มีสีและส่วนใหญ่จะมีกลิ่นเฉพาะตัว ความเข้มข้นของสารละลายคือจำนวนสารประกอบที่ละลายในตัวทำละลายในปริมาตรที่กำหนด การละลาย (solubility) คือจำนวนสูงสุดของสารประกอบที่ละลายได้ในตัวทำละลาย ตามปริมาตรที่กำหนดที่ อุณหภูมิ เฉพาะ ตัวทำละลายอินทรีย์ใช้ประโยชน์ทั่วไปดังนี้. อโซโพรพานอล (Isopropanol) หรือ ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ (Isopropyl alcohol) หรือ 2-โพรพานอล (2-Propanol) หรือโพรพาน-2-ออล (Propan-2-ol) เป็นแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่งซึ่งนิยมใช้เป็นสารฆ่าเชื้อในทางการแพทย์ มักใช้ผสมกับอะซีโทนหรือน้ำกลั่นโดยให้แอลกอฮอล์มีปริมาณ 70% โดยปริมาตร เป็นของเหลวใสไม่มีสี กลิ่นรุนแรง และเป็นไอโซเมอร์โครงสร้างกับ1-โพรพานอล จะต่างกันตรงที่มีหมู่ไฮดรอกซิล ต่อที่คาร์บอนตัวที่สองแทนที่จะเป็นปลาย ไอโซโพรพานอลผสมเข้ากับน้ำ อีเทอร์ และคลอโรฟอร์มได้ดี โดยเมื่อผสมกับน้ำแล้วจะเกิดเป็นสารกลั่นแยกไม่ได้ (azeotrope) สารนี้รับประทานไม่ได้ และมีจุดเยือกแข็งต่ำลง (คือ ช่วงอุณหภูมิที่เป็นของเหลวกว้างขึ้น) นอกจากนี้ยังเป็นตัวทำละลายเอทิลเซลลูโลส โพลิไวนิลบิวทิรัล น้ำมัน อัลคาลอยด์ และยางไม้ได้ แต่ไม่ละลายในสารละลายเกลือ จึงทำให้สามารถแยกออกจากสารละลายได้โดยเติมเกลือแกง โซเดียมซัลเฟต หรือเกลืออนินทรีย์อย่างอื่นเพื่อให้แอลกอฮอล์แยกชั้นออกมา ไอโซไพรพานอลมีสภาพดูดกลืน ที่ 205 nm ภายใต้สเปกตรัมรังสีอัลตราไวโอเลต ไอโซโพรพานอลผลิตได้โดยอาศัยปฏิกิริยาเติมน้ำเข้ากับโพรพีน จากกฎของมาร์คอฟนิคอฟซึ่งกล่าวว่า ไฮโดรเจนมีแนวโน้มจะผนวกเข้ากับคาร์บอนที่มีไฮโดรเจนมากกว่าเสมอ จึงทำให้เกิดไอโซโพรพานอล มากกว่าที่จะเป็น 1-โพรพานอล หรืออาจจะใช้ปฏิกิริยาของโพรพีนกับกรดซัลฟิวริก ให้ให้เกิดซัลเฟตเอสเทอร์ ที่เมื่อสลายด้วยน้ำแล้วจะได้ไอโซโฟรพิลแอลกอฮอล์ ในกระบวนการอย่างหลังจะมีไดไอโซโพรพิลอีเทอร์เป็นผลพลอยได้ ซึ่งสามารถนำกลับเข้าสู่กระบวนการอีกครั้ง นอกจากนี้ ไอโซโพรพานอลยังผลิดได้โดยเติมไฮโดรเจนลงในอะซีโทนก็ได้ ไอโซโพรพานอลถูกนำไปใช้งานมากมาย อาทิ เป็นตัวทำละลายประสิทธิภาพสูงและมีพิษน้อยกว่าตัวทำละลายชนิดอื่น ใช้ทำความสะอาดคราบน้ำมัน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และใช้ผสมน้ำ 60 - 75% เพื่อฆ่าเชื้อโรค เช่น รอบบาดแผล หรือล้างมือ หากไม่ผสมน้ำ เยื้อหุ้มเซลล์ของแบคทีเรียจะไม่เปิดออกเพื่อให้แอลกอฮอล์ออกฤทธิ์ได้.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ตัวทำละลายและไอโซโพรพานอล

ตัวทำละลายและไอโซโพรพานอล มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): คลอโรฟอร์มแอซีโทนเบนซีนเอทานอล

คลอโรฟอร์ม

คลอโรฟอร์ม หรือที่รู้จักกันในชื่อ ไตรคลอโรมีเทน (trichloromethane: TCM) เป็นสารประกอบที่มีสูตรเคมี CHCl3 ไม่เกิดการเผาไหม้ในบรรยากาศปกติยกเว้นเมื่อผสมกับสารที่ไวไฟกว่าอื่น ๆ เป็นสารประกอบในกลุ่มไตรฮาโลมีเทน คลอโรฟอร์มมีประโยชน์ใช้งานหลายอย่าง เป็นสารตั้งต้น ตัวทำปฏิกิริยา และเป็นตัวทำละลาย ไตรคลอโรมีเทนเป็นสารควบคุมเพราะเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม หมวดหมู่:สารเคมี.

คลอโรฟอร์มและตัวทำละลาย · คลอโรฟอร์มและไอโซโพรพานอล · ดูเพิ่มเติม »

แอซีโทน

แอซีโทน (acetone) หรือตามระบบตั้งชื่อเรียก โพรพาโนน (propanone) เป็นสารเคมีที่พื้นฐานที่สุดของคีโตน (ketone) แอซีโทน เป็นของเหลวที่ระเหยง่ายไม่มีสีมีจุดหลอมเหลวที่ -95.4 °C และจุดเดือดที่ 56.53 °C มันมี ความหนาแน่นสัมพัทธ์ เท่ากับ 0.819 (ที่ 0 °C) ละลายได้ดีใน น้ำ เอทานอล อีเทอร์ ฯลฯ และเป็นตัวทำละลายที่สำคัญมาก การใช้งานแอซีโทนที่คุ้นเคยกันมากที่สุดคือใช้ในน้ำยาล้างเล็บ แอซีโทน ยังใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรม พลาสติก ไฟเบอร์ ยา และ สารเคมีอื่น.

ตัวทำละลายและแอซีโทน · แอซีโทนและไอโซโพรพานอล · ดูเพิ่มเติม »

เบนซีน

เบนซีน เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่เป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่ง มีสูตรทางเคมีคือ C6H6 บางครั้งอาจเขียนเป็นตัวย่อเป็น Ph–H เบนซีนไม่มีสีแต่ไวไฟและมีกลิ่นหอมหวาน เนื่องจากเป็นสารก่อมะเร็งจึงไม่นิยมใช้เป็นสารเติมแต่งน้ำมันในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามสารนี้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมที่สำคัญและเป็นสารตั้งต้นในการผลิตยา พลาสติก ยางสังเคราะห์และสีย้อม เบนซีนเป็นองค์ประกอบตามธรรมชาติของปิโตรเลียมและสามารถสังเคราะห์ขึ้นได้จากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียอื่นๆ เบนซีนเป็นสารประกอบอะโรมาติกชนิดหนึ่ง หมวดหมู่:สารก่อมะเร็ง หมวดหมู่:สารก่อวิรูป หมวดหมู่:สารเคมี หมวดหมู่:อาชีวอนามัยและความปลอดภัย.

ตัวทำละลายและเบนซีน · เบนซีนและไอโซโพรพานอล · ดูเพิ่มเติม »

เอทานอล

อทานอล (ethanol) หรือ เอทิลแอลกอฮอล์ (ethyl alcohol) (สูตรเคมี C2H5OH) เป็นแอลกอฮอล์ชนิดหนึ่งซึ่งเกิดจากการนำเอาพืชมาหมักเพื่อเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล จากนั้นจึงเปลี่ยนจากน้ำตาลเป็นแอลกอฮอล์ โดยใช้เอนไซม์หรือกรดบางชนิดช่วยย่อย เมื่อทำให้เป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 95% โดยการกลั่น ส่วนใหญ่ผลิตจากพืช สองประเภทคือ พืชประเภทน้ำตาล เช่นอ้อย บีทรูท และพืชจำพวกแป้งเช่น มันสำปะหลัง ข้าว ข้าวโพด เป็นต้น.

ตัวทำละลายและเอทานอล · เอทานอลและไอโซโพรพานอล · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ตัวทำละลายและไอโซโพรพานอล

ตัวทำละลาย มี 29 ความสัมพันธ์ขณะที่ ไอโซโพรพานอล มี 15 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 9.09% = 4 / (29 + 15)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวทำละลายและไอโซโพรพานอล หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »