โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตะโขงอินเดียและสัตว์เลื้อยคลาน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ตะโขงอินเดียและสัตว์เลื้อยคลาน

ตะโขงอินเดีย vs. สัตว์เลื้อยคลาน

ตะโขงอินเดีย หรือ กาเรียล (Gharial, Indian gavial, Gavial; ฮินดี: घऱियाल; มราฐี: सुसर Susar) เป็นสมาชิกเพียงไม่กี่ชนิดที่เหลืออยู่ของวงศ์ตะโขง (Gavialidae) ซึ่งเป็นกลุ่มของจระเข้ที่มีปากแหลมเรียวยาว ตะโขงอินเดียได้รับการจัดเป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกคุกคามอยู่ในขั้นวิกฤตโดย IUCNChoudhury, B.C., Singh, L.A.K., Rao, R.J., Basu, D., Sharma, R.K., Hussain, S.A., Andrews, H.V., Whitaker, N., Whitaker, R., Lenin, J., Maskey, T., Cadi, A., Rashid, S.M.A., Choudhury, A.A., Dahal, B., Win Ko Ko, U., Thorbjarnarson, J & Ross, J.P. (2007) Gavialis gangeticus. In: IUCN 2010. ัตว์เลื้อยคลาน (reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิดชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน, สัตววิทยา, บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 364 กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว ในยุคจูแรสซิกที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุด มีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรสซิกจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรสซิก เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ตะโขงอินเดียและสัตว์เลื้อยคลาน

ตะโขงอินเดียและสัตว์เลื้อยคลาน มี 8 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลื้อยคลานอันดับจระเข้จระเข้น้ำเค็มประเทศอินเดียปลาน้ำ

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ตะโขงอินเดียและสัตว์ · สัตว์และสัตว์เลื้อยคลาน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ตะโขงอินเดียและสัตว์มีแกนสันหลัง · สัตว์มีแกนสันหลังและสัตว์เลื้อยคลาน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลื้อยคลาน

ัตว์เลื้อยคลาน (reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิดชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน, สัตววิทยา, บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 364 กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว ในยุคจูแรสซิกที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุด มีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรสซิกจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรสซิก เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน.

ตะโขงอินเดียและสัตว์เลื้อยคลาน · สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์เลื้อยคลาน · ดูเพิ่มเติม »

อันดับจระเข้

อันดับจระเข้ (Crocodile, Gharial, Alligator, Caiman) เป็นอันดับของสัตว์เลื้อยคลานโบราณที่ยังคงสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Crocodilia หรือ Crocodylia ที่รู้จักกันดีในชื่อของ "จระเข้" โดยอันดับนี้ปรากฏขึ้นมาบนโลกมาตั้งแต่ยุคครีเตเชียส (84 ล้านปีมาแล้ว) จนถึงปัจจุบัน เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ มีแผ่นแข็งและหนาปกคลุมลำตัวคล้ายเกล็ด แผ่นแข็งที่ปกคลุมลำตัวด้านหลังมีกระดูกชิ้นใหญ่อยู่ในชั้นหนังซึ่งในหลายชนิดมีกระดูกในชั้นหนังทางด้านท้องด้วย แผ่นแข็งของวงศ์ Crocodylidae และวงศ์ Gavialidae มีแอ่งทำหน้าที่รับรู้ความรู้สึกสัมผัสได้ ส่วนของปลายหัวยื่นยาวและมีฟันอยู่ในแอ่งของขากรรไกร ตามีแผ่นหนังโปร่งใสคลุมทับขณะดำน้ำ หางมีขนาดใหญ่ ขามีขนาดใหญ่แต่สั้นและแข็งแรงและมีแผ่นหนังเรียกว่าพังผืดยิดติดระหว่างนิ้ว ใช้ในการว่ายน้ำ ในวงศ์ Crocodylidae และวงศ์ Gavialidae มีต่อมขจัดเกลืออยู่บนลิ้น เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำ แบ่งออกได้เป็น 3 วงศ์ (ดูในตาราง) ปัจจุบันพบทั้งหมด 25 ชนิด แต่ในบางข้อมูลอาจจัดให้อยู่ในวงศ์เดียวกันหมด แต่แบ่งออกมาเป็นวงศ์ย่อย โดยเฉพาะความสัมพันธ์กันระห่างสกุล Tomistoma กับ สกุล Gavialis เพราะการวิเคราะห์ทางกายภาคจัดว่า Tomistoma นั้นอยู่ในวงศ์ Crocodylidae แต่การวิเคราะห์ทางโมเลกุล พบว่าใกล้เคียงกับสกุล Gavialis ที่อยู่ในวงศ์ Gavialidae มากกว่า (ในบางข้อมูลอาจจะยังจัดให้อยู่ในวงศ์ Crocodylidae) เป็นสัตว์กินเนื้อ ที่หากินในน้ำเป็นหลัก จึงมีสภาพของร่างกายใช้ชีวิตได้ดีเมื่ออยู่ในน้ำ กล่าวคือ ช่องเปิดจมูกอยู่ทางด้านบนตรงส่วนปลายสุดของส่วนหัวที่ยื่นยาวและช่องเปิดจมูกมีแผ่นลิ้นปิดได้อยู่ใต้น้ำ อุ้งปากมีเพดานปากทุติยภูมิเจริญขึ้นมาจึงแยกปากออกจากโพรงจมูกได้สมบูรณ์ โพรงจมูกทางด้านท้ายสุดของเพดานปากทุติยภูมิมีแผ่นลิ้นปิดเช่นเดียวกัน ซึ่งทำให้สามารถหายใจได้เมื่ออยู่ในน้ำขณะที่คาบอาหารอยู่ นอกจากนี้แล้วยังมีแผ่นเยื่อแบ่งแยกช่องอกออกจากช่องท้องซึ่งแผ่นเยื่อนี้ทำหน้าที่เหมือนกะบังลมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแต่เจริญจากเนื้อเยื่อที่ต่างกัน ปอดจึงมีถุงลมที่เจริญกว่าปอดของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับอื่น การแลกเปลี่ยนก๊าซจึงมีประสิทธิภาพสูงกว่า หัวใจมี 4 ห้องและมีลักษณะโครงสร้างคล้ายคลึงกับหัวใจของสัตว์ปีก ซึ่งเป็นสัตว์ในชั้นที่วิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลานจำพวกไดโนเสาร์เช่นกัน แต่การปะปนกันของเลือดยังคงเกิดขึ้นบ้างทางช่องตรงตำแหน่งที่หลอดเลือดแดงซีสทีมิกซ้ายและหลอดเลือดแดงซิสทีมิกขวาทอดข้ามกัน และสามารถควบคุมการไหลเวียนของเลือดให้ไปเฉพาะสมองได้ขณะดำน้ำ ขณะอยู่บนบกแม้ไม่คล่องเท่าอยู่ในน้ำ แต่ก็เดินหรือวิ่งได้ดี โดยจะใช้ขายกลำตัวขึ้น และมีรายงานว่า จระเข้น้ำจืดออสเตรเลีย (Crocodylus johnsoni) สามารถกระโดดเมื่ออยู่บนบกได้ด้วย ภาพของสัตว์ในอันดับจระเข้ชนิดต่าง ๆ เมื่อเทียบกับมนุษย์ (สีแดง & สีส้ม-สูญพันธุ์ไปแล้ว) ขยายพันธุ์ด้วยการวางไข่ในดินหรือทรายริมตลิ่งที่ปะปนด้วยพืชจำพวกหญ้าหรือวัชพืชต่าง ๆ ปกคลุม หรือในบางพื้นที่อาจวางไข่ในแหล่งน้ำหรือพื้นที่เปิดโล่ง ทั้งตัวผู้และตัวเมียช่วยกันดูแลไข่จนกระทั่งฟักออกมา ซึ่งมีความรักและผูกพันต่อลูกมาก ซึ่งเป็นลักษณะการดูแลลูกของสัตว์ในอันดับอาร์โคซอร์ เช่นเดียวกับสัตว์ปีกและไดโนเสาร์ การกำหนดเพศของตัวอ่อนขึ้นอยู่กับปัจจัยทางอุณหภูมิ อาหารส่วนมากเป็นสัตว์น้ำ แต่ก็อาจจะกินสัตว์อย่างอื่นหรือแม้กระทั่งสัตว์ที่ใหญ่กว่าได้ โดยมีมักหากินในเวลากลางคืน โดยลากลงไปในน้ำและใช้วิธีกดให้เหยื่อจมน้ำตายก่อนแล้วจึงกิน นับเป็นสัตว์กินเนื้อที่มีประสิทธิภาพในการล่าเหยื่อสูงมากจำพวกหนึ่ง พบกระจายพันธุ์ในเขตอบอุ่นและเขตร้อนทั่วโลก และพบได้จนถึงแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำเค็ม เช่น ปากแม่น้ำหรือป่าโกงกาง แม้ส่วนใหญ่จะอาศัยและหากินในน้ำจืดเป็นหลักก็ตาม.

ตะโขงอินเดียและอันดับจระเข้ · สัตว์เลื้อยคลานและอันดับจระเข้ · ดูเพิ่มเติม »

จระเข้น้ำเค็ม

ระเข้น้ำเค็ม หรือ จระเข้น้ำกร่อย หรือ ไอ้เคี่ยม หรือ จระเข้ทองหลาง(Saltwater crocodile, Estuarine crocodile) เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ในอันดับจระเข้ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ Crocodylidae เป็นจระเข้ 1 ใน 3 ชนิดที่พบได้ในประเทศไทย (อีก 2 ชนิด คือ จระเข้น้ำจืดและตะโขง) มีลักษณะทั่วไปคล้ายจระเข้น้ำจืด จุดที่แตกต่างกันคือ ขาคู่หลังมีลักษณะแข็งแรงกว่าขาคู่หน้าและมีเพียง 4 นิ้วมีพังผืดระหว่างนิ้วตีนมากกว่าจระเข้น้ำจืด จะงอยปากยาวและส่วนปลายค่อนข้างแหลม มีฟันประมาณ 60 ซี่ ลักษณะแตกต่างจากจระเข้น้ำจืดคือไม่มีเกล็ด 4 เกล็ดที่ท้ายทอย ปากยาวกว่าจระเข้น้ำจืดอย่างเห็นได้ชัด มีสันเล็ก ๆ ยื่นจากลูกตาไปตามความยาวของส่วนหัวจนถึงตำแหน่งของปุ่มจมูก หรือที่เรียกว่าก้อนขี้หมา สีลำตัวออกเหลืองอ่อนหรือสีขาว และมีการเรียงตัวที่ส่วนหาง ดูคล้ายตาหมากรุก ตัวผู้มีความยาวหางยาวกว่าตัวเมีย แต่ลำตัวของตัวผู้ผอมเพรียวกว่าแต่โดยรวมแล้วขนาดลำตัวของตัวเมียจะเล็กกว่าเมื่อเทียบกันตัวต่อตัว และระยะห่างของโหนกหลังตาจะกว้างกว่าหัวของตัวผู้ดูป้อมสั้น ตัวเมียจะดูหัวยาวเรียว จระเข้น้ำเค็มจัดว่าเป็นสายพันธุ์จระเข้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โตเต็มที่ได้ถึง 4-5 เมตร พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ภูมิภาคเอเชียใต้จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศออสเตรเลียทางตอนเหนือ บริเวณนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี มักอาศัยอยู่ในป่าโกงกางหรือป่าชายเลนในที่ที่เป็นน้ำกร่อยหรือน้ำเค็ม ตัวผู้จะถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุ 16 ปี ตัวเมียอายุ 10 ปี แต่จะให้ไข่ที่สมบูรณ์เมื่ออายุ 12 ปี มีขนาดยาว 2.2 เมตร มีการผสมพันธุ์ในฤดูร้อนและวางไข่ในฤดูฝน ครั้งละ 25-90 ฟอง การวางไข่จะใช้เวลาประมาณ 20-25 นาที ใช้ระยะเวลาในการฟักไข่ประมาณ 80 วัน ขนาดของไข่จระเข้น้ำเค็มจะใหญ่กว่าจระเข้น้ำจืดเล็กน้อย มีน้ำหนักประมาณ 110-120 กรัม จระเข้น้ำเค็มมีอุปนิสัยดุร้ายมาก สามารถโจมตีสัตว์ที่โดยปกติไม่ใช่อาหารได้ เช่น มนุษย์ เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบางถิ่นของออสเตรเลียที่ขึ้นชื่ออย่างยิ่งในเรื่องการโจมตีมนุษย์ของจระเข้น้ำเค็ม อีกทั้งมีการกัดของกรามได้อย่างรุนแรงมากที่สุดในโลก โดยมีแรงมากถึง 1,700 ปอนด์ และสามารถกระโดดงับเหยื่อได้ ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้ในสัตว์เลื้อยคลายขนาดใหญ่เช่นนี้ จนกระทั่งมีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า "Man Eater" ซึ่งในสวนสัตว์บางแห่งได้ใช้ความสามารถพิเศษอันนี้หลอกล่อให้จระเข้กระโดดงับเหยื่อที่แขวนล่อไว้เพื่อแสดงแก่ผู้ที่มาเยี่ยมชม ในทางอุตสาหกรรม หนังของจระเข้น้ำเค็มมีคุณสมบัติเหมาะสมในการทำเครื่องหนังมากกว่าจระเข้น้ำจืด เพราะมีหนังที่เหนียวทนทานกว่า จึงนิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เศรษฐกิจ แต่ทว่าด้วยความที่ต้องใช้ระยะเวลานานในการจระเข้จะโตและให้ผลผลิตที่ดีได้ จึงนิยมผสมข้ามสายพันธุ์กับจระเข้สายพันธุ์อื่นเพื่อให้ได้จระเข้ลูกผสมที่จะให้ผลผลิตที่เร็วกว.

จระเข้น้ำเค็มและตะโขงอินเดีย · จระเข้น้ำเค็มและสัตว์เลื้อยคลาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ตะโขงอินเดียและประเทศอินเดีย · ประเทศอินเดียและสัตว์เลื้อยคลาน · ดูเพิ่มเติม »

ปลา

ปลา (อังกฤษ: Fish) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ เป็นสัตว์เลือดเย็น หายใจด้วยเหงือกและมีกระดูกสันหลัง สามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยครีบและกล้ามเนื้อของลำตัว บางชนิดมีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว บางชนิดไม่มีเกล็ดแต่ปกคลุมด้วยเมือกลื่น ๆ หรือแผ่นกระดูก มีหัวใจสองห้องและมีขากรรไกร สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบางประเภท ถูกเรียกติดปากว่าปลาเช่นเดียวกันเช่น ปลาดาว, โลมา, วาฬและหมึก ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้ก็มีแหล่งอาศัยอยู่ในน้ำด้วยกันทั้งสิ้น แต่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกเดียวกันกับปลา ด้วยลักษณะทางกายวิภาคและสรีรวิทยาที่แตกต่างกันเช่น ปลาดาวเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับปลา มีโครงสร้างที่เป็นหินปูน โลมาและวาฬถูกจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถหายใจได้ทางปอดไม่ใช่ทางเหงือก และปลาหมึกจัดเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ถูกจัดรวมอยู่กับสัตว์ประเภทเดียวกันกับหอ.

ตะโขงอินเดียและปลา · ปลาและสัตว์เลื้อยคลาน · ดูเพิ่มเติม »

น้ำ

น้ำในสองสถานะ: ของเหลว (รวมทั้งก้อนเมฆซึ่งเป็นตัวอย่างของละอองลอย) และของแข็ง (น้ำแข็ง) น้ำเป็นสิ่งที่โปร่งใส ไม่มีรส ไม่มีกลิ่น และเกือบจะไม่มีสี ซึ่งเป็นสารเคมีที่เป็นองค์ประกอบหลักของลำธาร, แม่น้ำ, และมหาสมุทรในโลก เป็นต้น และยังเป็นของเหลวในสิ่งมีชีวิต มีสูตรเคมีคือ H2O โมเลกุลของน้ำประกอบด้วยออกซิเจน 1 อะตอมและไฮโดรเจน 2 อะตอมเชื่อมติดกันด้วยพันธะโควาเลนต์ น้ำเป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน แต่พบบนโลกที่สถานะของแข็ง (น้ำแข็ง) และสถานะแก๊ส (ไอน้ำ) น้ำยังมีในสถานะของผลึกของเหลวที่บริเวณพื้นผิวที่ขอบน้ำ นอกจากนี้ยังสามารถเกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น หิมะ, ธารน้ำแข็ง, และภูเขาน้ำแข็ง, ก้อนเมฆ, หมอก, น้ำค้าง, ชั้นหินอุ้มน้ำ และ ความชื้นในบรรยากาศ น้ำปกคลุม 71% บนพื้นผิวโลก และเป็นปัจจัยสำคัญต่อชีวิต น้ำบนโลก 96.5% พบในมหาสมุทร 1.7% ในน้ำใต้ดิน 1.7% ในธารน้ำแข็งและชั้นน้ำแข็งของทวีปแอนตาร์กติกาและเกาะกรีนแลนด์ ซึ่งเป็นเศษส่วนเล็กน้อยบนผิวน้ำขนาดใหญ่ และ 0.001% พบในอากาศเป็นไอน้ำ ก้อนเมฆ (ก่อตัวขึ้นจากอนุภาคน้ำในสถานะของแข็งและของเหลวแขวนลอยอยู่บนอากาศ) และหยาดน้ำฟ้า น้ำบนโลกเพียง 2.5% เป็นน้ำจืด และ 98.8% ของน้ำจำนวนนั้นพบในน้ำแข็งและน้ำใต้ดิน น้ำจืดน้อยกว่า 0.3% พบในแม่น้ำ ทะเลสาบ และชั้นบรรยากาศ และน้ำจืดบนโลกในปริมาณที่เล็กลงไปอีก (0.003%) พบในร่างกายของสิ่งมีชีวิตและผลิตภัณฑ์ น้ำบนโลกเคลื่อนที่ต่อเนื่องตามวัฏจักรของการระเหยเป็นไอและการคายน้ำ (การคายระเหย) การควบแน่น การตกตะกอน และการไหลผ่าน โดยปกติจะไปถึงทะเล การระเหยและการคายน้ำนำมาซึ่งการตกตะกอนลงสู่พื้นดิน น้ำดื่มสะอาดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ แม้ว่าน้ำจะไม่มีแคลอรีหรือสารอาหารที่เป็นสารประกอบอินทรีย์ใดๆ การเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดได้เปลี่ยนแปลงไปในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมาในเกือบทุกส่วนของโลก แต่ประชากรประมาณ 1 พันล้านคนยังคงขาดแคลนน้ำดื่มสะอาดและกว่า 2.5 พันล้านคนขาดแคลนสุขอนามัยที่เพียงพอ มีความเกี่ยวพันกันเรื่องน้ำสะอาดและค่า GDP ต่อคน อย่างไรก็ดี นักสังเกตบางคนประมาณไว้ว่าภายในปี..

ตะโขงอินเดียและน้ำ · น้ำและสัตว์เลื้อยคลาน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ตะโขงอินเดียและสัตว์เลื้อยคลาน

ตะโขงอินเดีย มี 30 ความสัมพันธ์ขณะที่ สัตว์เลื้อยคลาน มี 108 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 8, ดัชนี Jaccard คือ 5.80% = 8 / (30 + 108)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ตะโขงอินเดียและสัตว์เลื้อยคลาน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »