โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตะพาบยักษ์แยงซีเกียงและวงศ์ตะพาบ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ตะพาบยักษ์แยงซีเกียงและวงศ์ตะพาบ

ตะพาบยักษ์แยงซีเกียง vs. วงศ์ตะพาบ

ตะพาบยักษ์แยงซีเกียง หรือ ตะพาบเซี่ยงไฮ้ (จีน: 斑鳖, พินอิน: Bān Bīe; ตรึงเวียด: Rùa mai mềm Thượng Hải) ตะพาบขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งที่ใกล้จะสูญพันธุ์มาก ๆ แล้วชนิดหนึ่งของโลก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rafetus swinhoei (มีชื่อวิทยาศาสตร์อีกชื่อหนึ่งเป็นชื่อพ้อง โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเวียดนามตั้งให้ว่า Rafetus leloii เพื่อเป็นเกียรติแด่จักรพรรดิเลเลย) พบในแม่น้ำแยงซีเกียง ในประเทศจีน และมณฑลยูนนาน นอกจากนี้ยังพบได้ที่แม่น้ำแดง ในประเทศเวียดนามด้วย เป็นตะพาบที่มีขนาดใหญ่มาก และเป็นหนึ่งในเต่าน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีส่วนหัว ที่มีจมูกและปากคล้ายหมู ขนาดโตเต็มที่สามารถมีน้ำหนักมากถึง 136 กิโลกรัม ถึง 200 กิโลกรัม ยาวถึง 0.9144 เมตร และมีชีวิตอยู่ได้นานกว่า 100 ปี สถานะในธรรมชาติใกล้สูญพันธุ์มาก ๆ แล้ว ในสถานที่เลี้ยงปัจจุบันมีเพียง 5 ตัวใน 2 ที่เท่านั้น คือที่สวนสัตว์ในประเทศจีน 4 ตัว และที่ทะเลสาบคืนดาบที่เมืองฮานอย 1 ตัว ปัจจุบันตะพาบน้ำแยงซีเกียงในทะเลสาบคืนดาบยังมีชีวิตอยู่ แต่น้ำในทะเลสาบกลับมีสภาพที่ย่ำแย่ ทั้งยังมีการปล่อยสิ่งปฏิกูลรวมไปถึงเต่าชนิดอื่นเข้าไปทำลายระบบนิเวศของทะเลสาบ ทำให้ตะพาบเกิดบาดแผลที่หัวและขาของมัน. วงศ์ตะพาบ (Soft-shelled turtle) เป็นวงศ์ของเต่าจำพวกหนึ่ง ที่ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trionychidae ตะพาบ เป็นเต่าที่มีลักษณะเด่นคือ ลำตัวแบน จมูกแหลม กระดองอ่อนนิ่ม มีกระดองหลังค่อนบ้างเรียบแบน กระดองมีลักษณะเป็นหนังที่ค่อนข้างแข็งเฉพาะในส่วนกลางกระดอง แต่บริเวณขอบจะมีลักษณะนิ่มแผ่นกระดองจะปราศจากแผ่นแข็งหรือรอยต่อ ซึ่งแตกต่างจากกระดองของเต่าอย่างสิ้นเชิง ซึ่งขอบที่อ่อนนิ่มนี้เรียกว่า "เชิง" กระดองส่วนท้องหุ้มด้วยผิวหนังเรียบ มีส่วนที่เป็นกระดูกน้อยมาก กระดองจะมีรูปร่างกลมเมื่อ ยังมีขนาดเล็ก และจะรีขึ้นเล็กน้อยเมื่อโตเต็มวัยตั้งแต่คอส่วนบนไปจรดขอบกระดองจะมีตุ่มแข็งเล็ก ๆ ขึ้นอยู่ ส่วนหัวมีขนาดใหญ่ คอเรียวยาวและสามารถเอี้ยวกลับมาด้านข้าง ๆ ได้ มีจมูกค่อนข้างยาวแต่มีขนาดเล็กและส่วนปลายจมูกอ่อน ตามีขนาดเล็กโปนออกมาจากส่วนหัวอย่างเห็นได้ชัด มีฟัน ขากรรไกรแข็งแรงและคม มีหนังหุ้มกระดูกคล้ายริมฝีปาก ขาทั้งสี่แผ่กว้างที่นิ้วจะมีพังพืดเชือมติดต่อกันแบบใบพายอย่างสมบูรณ์ มีเล็บเพียง 3 นิ้ว และมีหางสั้น มักอาศัยอยู่ในน้ำมากกว่าบนบก โดยตะพาบสามารถกบดานอยู่ใต้น้ำได้นานกว่าเต่า แม้จะหายใจด้วยปอด แต่เมื่ออยู่ในน้ำ ตะพาบจะใช้อวัยวะพิเศษช่วยหายใจเหมือนปลา เรียกว่า "Rasculavpharyngcal capacity" ตะพาบจัดเป็นเต่าน้ำที่จะพบได้ในแหล่งน้ำที่เป็นน้ำจืดและน้ำกร่อยในเขตร้อนทุกทวีปทั่วโลก ทั้ง อเมริกาเหนือ, แอฟริกา และเอเชีย ไปจนถึงโอเชียเนีย เมื่อจะวางไข่ ตะพาบจะคลานขึ้นมาวางไข่ในพื้นทรายริมตลิ่งริมน้ำที่อาศัย โดยขุดหลุมแบบเดียวกับเต่าทะเลและเต่าจำพวกอื่นทั่วไป ตะพาบเป็นสัตว์ที่กินสัตว์มากกว่าจะกินพืช โดยหลายชนิดมีอุปนิสัยที่ดุร้ายกว่าเต่า ตะพาบเป็นเต่าที่มนุษย์นิยมนำมาทำเป็นอาหาร โดยเฉพาะซุปในอาหารจีนและอาหารญี่ปุ่น หรืออาหารเกาหลี โดยเชื่อว่าทั้งเนื้อและกระดองเป็นเครื่องบำรุงกำลังและเสริมสมรรถนะทางเพศ โดยตะพาบชนิดที่นิยมใช้เพื่อการบริโภคนี้คือ ตะพาบไต้หวัน (Pelodiscus sinensis) ซึ่งในหลายประเทศได้มีการเพาะเลี้ยงตะพาบไต้หวันเป็นสัตว์เศรษฐกิจรวมทั้งประเทศไทยด้วย สำหรับตะพาบชนิดที่หายากที่สุดในโลก หลายข้อมูลระบุว่าคือ ตะพาบยักษ์แยงซีเกียง (Rafetus swinhoei) ซึ่งเป็นตะพาบขนาดใหญ่ เป็นสัตว์พื้นเมืองที่พบได้เฉพาะในประเทศจีนและเวียดนามเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันพบเพียง 5 ตัวใน 2 ที่เท่านั้น คือที่สวนสัตว์ในประเทศจีน 4 ตัว และที่ทะเลสาบคืนดาบที่เมืองฮานอย 1 ตัว แต่ในทัศนะของ กิตติพงษ์ จารุธาณินทร์ นักสำรวจธรรมชาติและผู้เชี่ยวชาญเรื่องสัตว์น้ำและปลาน้ำจืดชาวไทย ที่มีผลงานค้นพบปลาน้ำจืดชนิดใหม่ของโลกหลายชนิด เห็นว่า ตะพาบชนิดที่หายากที่สุดในโลกน่าจะเป็น "กริวดาว" หรือ "ตะพาบหัวกบลายจุด" ซึ่งเป็นตะพาบที่เคยจัดให้เป็นชนิดเดียวกับตะพาบหัวกบ (Pelochelys cantorii) ซึ่งเป็นตะพาบขนาดใหญ่อีกชนิดหนึ่ง ที่พบได้ในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย แต่ทว่า กริวดาว นั้น มีความแตกต่างจากตะพาบหัวกบ คือ มีจุดสีเหลืองอ่อนเป็นวงกระจายอยู่บริเวณขอบกระดอง โดยที่ไม่แปรเปลี่ยนไปตามวัย เหมือนตะพาบหัวกบ ซึ่งถึงแม้จะเป็นตะพาบขนาดใหญ่แล้ว แต่ลายจุดนี้ยังคงเห็นได้ชัดเจน ซึ่งกิตติพงษ์ได้ระบุไว้ว่า ตะพาบแบบนี้ไม่ได้พบเห็นมานานตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991 หรือ..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ตะพาบยักษ์แยงซีเกียงและวงศ์ตะพาบ

ตะพาบยักษ์แยงซีเกียงและวงศ์ตะพาบ มี 12 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): การตั้งชื่อทวินามสวนสัตว์สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลื้อยคลานอันดับย่อยเต่าฮานอยทะเลสาบฮหว่านเกี๊ยมตะพาบไบคอลโลไซต์ประเทศจีนประเทศเวียดนามเต่า

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

การตั้งชื่อทวินามและตะพาบยักษ์แยงซีเกียง · การตั้งชื่อทวินามและวงศ์ตะพาบ · ดูเพิ่มเติม »

สวนสัตว์

แพนด้ายักษ์ในสวนสัตว์เชียงใหม่ สวนสัตว์ (Zoo, Zoological park) คือ สถานที่จัดแสดงสัตว์ป่านอกถิ่นอาศัย โดยมีวัตถุประสงคในการรวบรวมสัตวนานาชนิดไวเพื่อประโยชน์ในการศึกษา และอํานวยบริการแก่ประชาชน รวมทั้งสงเสริมและจัดใหมีการบำรุงและผสมพันธุสัตวตางๆ ไวเพื่อมิใหสูญพันธุ โดยมีหน้าที่สำคัญคือ 1.

ตะพาบยักษ์แยงซีเกียงและสวนสัตว์ · วงศ์ตะพาบและสวนสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ตะพาบยักษ์แยงซีเกียงและสัตว์ · วงศ์ตะพาบและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ตะพาบยักษ์แยงซีเกียงและสัตว์มีแกนสันหลัง · วงศ์ตะพาบและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลื้อยคลาน

ัตว์เลื้อยคลาน (reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิดชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน, สัตววิทยา, บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 364 กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว ในยุคจูแรสซิกที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุด มีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรสซิกจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรสซิก เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน.

ตะพาบยักษ์แยงซีเกียงและสัตว์เลื้อยคลาน · วงศ์ตะพาบและสัตว์เลื้อยคลาน · ดูเพิ่มเติม »

อันดับย่อยเต่า

อันดับย่อยเต่า (Turtle, Tortoise, Soft-shell turtle) เป็นอันดับย่อยของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับเต่า (Testudines) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cryptodira ลักษณะร่วมของเต่าในอันดับย่อยนี้ คือ สามารถยืดหรือหดหัวหรือส่วนคอเข้าไปในกระดองได้ แต่สามารถกระทำได้ในแนวดิ่งขึ้นลงหรือซ้อนทางด้านบนได้เท่านั้น ซึ่งเป็นลักษณะของเต่าส่วนใหญ่ แต่ก็มีบางวงศ์ที่ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ เนื่องจากมีส่วนหัวที่ใหญ่ ได้แก.

ตะพาบยักษ์แยงซีเกียงและอันดับย่อยเต่า · วงศ์ตะพาบและอันดับย่อยเต่า · ดูเพิ่มเติม »

ฮานอย

นอย (Hanoi; Hà Nội ห่าโหน่ย) เป็นเมืองหลวงของประเทศเวียดนาม มีประชากร 6,472,200 คน (พ.ศ. 2552) ในอดีตเคยเป็นเมืองหลวงของเวียดนามเหนือระหว่าง พ.ศ. 2497 ถึง พ.ศ. 2519 และก่อนหน้านั้นเคยเป็นเมืองหลวงของพื้นที่เวียดนามในปัจจุบันเป็นครั้งคราวตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 11 จนถึง..

ตะพาบยักษ์แยงซีเกียงและฮานอย · วงศ์ตะพาบและฮานอย · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลสาบฮหว่านเกี๊ยม

ทะเลสาบฮหว่านเกี๊ยม ทะเลสาบฮหว่านเกี๊ยม หรือ ทะเลสาบคืนดาบ (Hồ Hoàn Kiếm; Lake of the Returned Sword, Lake of the Restored Sword, Hoan Kiem Lake) เป็นทะเลสาบน้ำจืดและสวนสาธารณะขนาดใหญ่ที่มีชื่อเสียงใจกลางกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม น้ำในทะเลสาบฮหว่านเกี๊ยมโดยปกติจะเป็นสีเขียว จึงได้อีกชื่อหนึ่งว่า "ทะเลสาบหลุกถวี" (Lục Thủy) หรือ "ทะเลสาบน้ำเขียว" ทะเลสาบฮหว่านเกี๊ยม ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เป็นเขตเมืองเก่า มีตำนานเล่าขานกันถึงสถานที่แห่งนี้เป็นตำนานการสร้างชาติเวียดนามว่า ในศตวรรษที่ 15 จักรพรรดิเล เหล่ย แห่งราชวงศ์เล ได้ใช้ดาบศักดิ์สิทธิ์ในการขับไล่ชาวจีนแห่งราชวงศ์หมิงที่รุกราน ให้ออกไปจากเวียดนาม ในขณะที่พระองค์ประทับบนเรือ ณ ทะเลสาบแห่งนี้ ก็มีตะพาบยักษ์ตัวหนึ่งโผล่ขึ้นมาจากผิวน้ำและบอกให้พระองค์ส่งดาบนั้นกลับคืนแด่จ้าวมังกร ดาบนั้นก็ได้พุ่งออกจากฝักดาบเข้าไปในปากของตะพาบก่อนที่จะหายกลับลงไปสู่ใต้ผิวน้ำ อันเป็นที่มาของชื่อทะเลสาบคืนดาบ ซึ่งตะพาบยักษ์ชนิดนี้ก็คือ ตะพาบยักษ์แยงซีเกียง (Rafetus swinhoei) ซึ่งเป็นตะพาบขนาดใหญ่และใกล้สูญพันธุ์มากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก ที่อาศัยอยู่ ณ ทะเลสาบแห่งนี้ ซึ่งปัจจุบัน ใน "วัดหง็อกเซิน" (Ngọc Sơn) หรือ "วัดเนินหยก" ที่ตั้งอยู่ตอนเหนือของทะเลสาบ ก็มีตัวอย่างสตั๊ฟฟ์ของตะพาบชนิดนี้ให้ชมกันด้วย โดยการเดินทางไปวัดหง็อกเซิน จะมีสะพานไม้ ชื่อ "สะพานเทฮุก" (Thê Húc) หรือ "สะพานแสงอาทิตย์" มีสีแดงสดใสถือเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของฮานอย ข้ามจากฝั่งแผ่นดินใหญ่ไปยังวัดซึ่งตั้งอยู่บนเกาะเล็ก ๆ ทางตอนเหนือของทะเลสาบ และยังมีหอคอยโบราณโผล่ขึ้นพ้นน้ำ สร้างขึ้นในสมัยศตวรรษที่ 18 มีชื่อเรียกว่า "ท้าปสั่ว" (Tháp Rùa) ซึ่งหมายถึง "หอคอยเต่า" หรือ "หอคอยตะพาบ" และในปัจจุบันยังมีหลายคนได้เห็นตะพาบยักษ์โผล่ขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำหลายต่อหลายครั้ง โดยเฉพาะในช่วงเปลี่ยนถ่ายฤดูกาล ซึ่งเชื่อกันว่ามีอยู่ 3-4 ตัว ในสถานที่เลี้ยงในโลกเท่านั้น ปัจจุบัน ทะเลสาบฮหว่านเกี๊ยมกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแบบพักผ่อนหย่อนใจของชาวฮานอย โดยมีการสร้างเป็นสวนสาธารณะล้อมรอบ และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวมีชื่อเสียงอีกแห่งของฮานอย ในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมและถ่ายรูปเป็นจำนวนมาก.

ตะพาบยักษ์แยงซีเกียงและทะเลสาบฮหว่านเกี๊ยม · ทะเลสาบฮหว่านเกี๊ยมและวงศ์ตะพาบ · ดูเพิ่มเติม »

ตะพาบไบคอลโลไซต์

ตะพาบไบคอลโลไซต์ (Bicallosite softshell turtles) เป็นสกุลของตะพาบในสกุล Rafetus (/รา-เฟ-ตุส/) เป็นตะพาบที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ในทวีปเอเชีย เป็นตะพาบขนาดใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่งของโลก เมื่อโตเต็มที่น้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม มีความยาวกว่า 0.9144 เมตร และมีอายุยืนยาวได้มากกว่า 100 ปี ปัจจุบัน ได้ถูกจำแนกออกเป็น 2 ชนิด โดยอีกชนิดหนึ่งนั้น คือ ตะพาบฮหว่านเกี๊ยม (Rafetus leloii, ชื่อพ้อง R. vietnamensis) มีตัวอย่างที่มีชีวิตที่รับรู้กันในปัจจุบันเพียงตัวเดียวเท่านั้น คือ ที่ทะเลสาบฮหว่านเกี๊ยม ในประเทศเวียดนาม โดยถือเป็นชื่อพ้องรองของ ตะพาบยักษ์แยงซีเกียง (Rafetus swinhoei) โดยนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ.

ตะพาบยักษ์แยงซีเกียงและตะพาบไบคอลโลไซต์ · ตะพาบไบคอลโลไซต์และวงศ์ตะพาบ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ตะพาบยักษ์แยงซีเกียงและประเทศจีน · ประเทศจีนและวงศ์ตะพาบ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวียดนาม

วียดนาม (Việt Nam เหฺวียดนาม) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Cộng hòa xã hội chủ nghĩa Việt Nam, ก่ง ฮหว่า สา โห่ย จู๋ เหงีย เหวียต นาม) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกและใต้ หรือในภาษาเวียดนามเรียกเฉพาะทะเลทางทิศตะวันออกว่า ทะเลตะวันออก (Biển Đông, เบี๋ยน ดง) เวียดนามมีประชากรมากกว่า 89 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 13 ของโลก.

ตะพาบยักษ์แยงซีเกียงและประเทศเวียดนาม · ประเทศเวียดนามและวงศ์ตะพาบ · ดูเพิ่มเติม »

เต่า

ต่า คือ สัตว์จำพวกหนึ่งในอันดับ Testudines จัดอยู่ในจำพวกสัตว์เลือดเย็น ในชั้นสัตว์เลื้อยคลาน เป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการมาแล้วกว่า 200 ล้านปี ซึ่งเต่านั้นถือเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนมากที่สุดชนิดหนึ่ง โดยเต่าจะมีกระดูกที่แข็งคลุมบริเวณหลังที่เรียกว่า "กระดอง" ซึ่งประกอบด้วยแคลเซียมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะสามารถหดหัว ขา และหางเข้าในกระดองเพื่อป้องกันตัวได้ แต่เต่าบางชนิดก็ไม่อาจจะทำได้ เต่าเป็นสัตว์ที่ไม่มีฟัน แต่มีริมฝีปากที่แข็งแรงและคม ใช้ขบกัดอาหารแทนฟัน โดยมากแล้ว เต่า เป็นสัตว์ที่เคลื่อนไหวและเคลื่อนที่ได้ช้า อาศัยและใช้ช่วงชีวิตหนึ่งอยู่ในน้ำ ซึ่งมีอาศัยทั้งน้ำจืด และทะเล แต่เต่าบางจำพวกก็ไม่ต้องอาศัยน้ำเลย เรียกว่า "เต่าบก" (Testudinidae) ซึ่งเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เต่ายักษ์กาลาปากอส (Geochelone nigra) ที่อาศัยอยู่ตามเกาะต่าง ๆ ในหมู่เกาะกาลาปากอส ในเอกวาดอร์ (มีทั้งหมด 15 ชนิดย่อย) ในขณะที่เต่าน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เต่าอัลลิเกเตอร์ (Macrochelys temminckii) อาศัยอยู่ตามหนองน้ำในทวีปอเมริกาเหนือ.

ตะพาบยักษ์แยงซีเกียงและเต่า · วงศ์ตะพาบและเต่า · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ตะพาบยักษ์แยงซีเกียงและวงศ์ตะพาบ

ตะพาบยักษ์แยงซีเกียง มี 29 ความสัมพันธ์ขณะที่ วงศ์ตะพาบ มี 72 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 12, ดัชนี Jaccard คือ 11.88% = 12 / (29 + 72)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ตะพาบยักษ์แยงซีเกียงและวงศ์ตะพาบ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »