โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตะกวดและเหี้ย

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ตะกวดและเหี้ย

ตะกวด vs. เหี้ย

ตะกวด, จะกวด หรือ จังกวด (อีสาน, ลาว, ใต้, เหนือ: แลน; เขมร: ตฺรอกวต) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลังชั้นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายเหี้ย (V. salvator) ซึ่งเป็นสัตว์ที่อยู่ในสกุลและวงศ์เดียวกัน โดยมักจำสับสนกับเหี้ยหรือเรียกสลับกัน แต่ตะกวดมีขนาดเล็กกว่าเหี้ยมาก และตำแหน่งของโพรงจมูก โดยโพรงจมูกของตะกวดจะอยู่ไม่ใกล้กับปลายปากเหมือนกับเหี้ย รวมถึงมีปลายปากที่มนทู่กว่า อีกทั้งสีสันของตะกวดจะมีสีน้ำตาลหรือสีดำ ซึ่งแตกต่างจากเหี้ยที่มีสีเหลืองผสมอยู่เป็นลาย อีกทั้งอุปนิสัยมักจะไม่ค่อยอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำหรือชอบว่ายน้ำหรือหากินในน้ำเหมือนเหี้ย และไม่ดุร้ายเท่า ตะกวดมักอาศัยบนต้นไม้ ปีนต้นไม้เก่ง ชอบนอนผึ่งแดดตามกิ่งไม้ แต่หากินตามพื้นดิน มักอาศัยอยู่ตามป่าโปร่งมากกว่าป่าทึบ ในนิทานชาดก พระพุทธเจ้าเคยเสวยพระชาติเป็นตะกวดเช่นกัน. หี้ย เป็นสัตว์เลื้อยคลานในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ประเทศบังกลาเทศ ศรีลังกา และอินเดีย จนถึงอินโดจีน และเกาะต่าง ๆ ของอินโดนีเซีย (แบ่งออกเป็นชนิดย่อยต่าง ๆ ได้ 5 ชนิด ดูในตาราง) โดยอาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำ.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ตะกวดและเหี้ย

ตะกวดและเหี้ย มี 8 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ชนิดย่อยกิ้งก่ากิ้งก่ามอนิเตอร์วงศ์เหี้ยสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลื้อยคลานอันดับกิ้งก่าและงู

ชนิดย่อย

นิดย่อย หรือ พันธุ์ย่อย หรือ สปีชีส์ย่อย (subspecies) หมายถึง สิ่งมีชีวิตในสกุล (genus) เดียวกัน และจัดอยู่ในชนิด (species) เดียวกัน แต่มีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยซึ่งไม่สามารถแยกแยะออกเป็นชนิดใหม่ได้ จึงจัดเป็นชนิดย่อย โดยใช้ชื่อไตรนาม เช่น เต่าปูลู (Platysternon megacephalum pequense) เต่าปูลูเหนือ (Platysternon megacephalum megacephalum) เต่าปูลูใต้ (Platysternon megacephalum vogeli) เป็นต้น ความแตกต่างของชนิดย่อยมักอยู่ที่ลวดลาย สีสัน หรือขนาดลำตัว อันเนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่อยู่ที่แตกต่างกัน ปกติชนิดย่อยของสัตว์นิยมเรียกว่า subspecies ส่วนพืชเรียกว่า variety.

ชนิดย่อยและตะกวด · ชนิดย่อยและเหี้ย · ดูเพิ่มเติม »

กิ้งก่า

กิ้งก่า (Lizard, Iguana, Gecko, Skink; ภาษาไทยถิ่นเหนือ: จั๊กก่า; ภาษาไทยถิ่นอีสาน: กะปอม) เป็นสัตว์เลื้อยคลานในอันดับย่อย Lacertilia หรือ Sauria ในอันดับใหญ่ Squamata หรือ อันดับกิ้งก่าและงู โดยสัตว์ในอันดับนี้รวมถึงงูที่อยู่ในอันดับย่อย Serpentes ด้วย เหตุที่จัดอยู่ในอันดับเดียวกันเพราะมีลักษณะร่วมบางประการมากถึง 70 อย่าง คำว่า "Lacertilia" มาจากภาษาละตินคำว่า "lacerta" ในความหมายเดียวกัน โดยทั่วไปแล้วกิ้งก่ามี 4 ขา มีเกล็ดปกคลุมลำตัว แต่บางสกุลหรือบางชนิดก็ไม่มีขาหรือมีแต่ก็เล็กมากจนสังเกตได้ยาก เช่น จิ้งเหลนด้วง ในวงศ์จิ้งเหลน (Scincidae) หรือในวงศ์ Amphisbaenidae กิ้งก่าโดยมากแล้วเป็นสัตว์กินเนื้อ โดยจะกินแมลงและสัตว์ขาปล้องเป็นหลัก แต่สำหรับในวงศ์ที่มีขนาดใหญ่ เช่น วงศ์เหี้ย (Varanidae) จะกินสัตว์มีกระดูกสันหลังด้วย แต่ขณะที่บางชนิด เช่น อีกัวน่าเขียว (Iguana iguana) ที่พบในอเมริกากลางและทวีปอเมริกาใต้ กินพืชและผักเป็นอาหารหลัก กิ้งก่าพบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วทุกมุมโลก ยกเว้นในบริเวณอาร์กติก แถบขั้วโลกเหนือและทวีปแอนตาร์กติกา แถบขั้วโลกใต้ มีขนาดแตกต่างกันมากตั้งแต่เพียงไม่กี่เซนติเมตร จนถึงเกือบ 3 เมตร ในมังกรโคโมโด (Varanus komodoensis) ที่หนักได้ถึงเกือบ 100 กิโลกรัม ซึ่งนับเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในอันดับย่อยนี้ ปัจจุบันมีการอนุกรมวิธานไว้แล้วกว่า 19 วงศ์ ประมาณ 555 สกุล รวมทั้งหมดราว 4,184 ชนิด ซึ่งจำนวนนี้ไม่แน่นอน เพราะมีการสำรวจค้นพบชนิดใหม่ ๆ ขึ้นทุกปี โดยวงศ์ที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุด คือ Scincidae ที่มีประมาณ 1,000 ชนิด รองลงไป คือ Gekkonidae หรือ ตุ๊กแกกับจิ้งจก มีประมาณ 900 ชนิด ส่วนในวงศ์ Agamidae ก็มีประมาณเกือบ 500 ชน.

กิ้งก่าและตะกวด · กิ้งก่าและเหี้ย · ดูเพิ่มเติม »

กิ้งก่ามอนิเตอร์

กิ้งก่ามอนิเตอร์ (Monitor lizard) เป็นสกุลของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับกิ้งก่าและงู (Squamata) สกุลหนึ่ง ในวงศ์เหี้ย (Varanidae) ในวงศ์ย่อย Varaninae โดยใช้ชื่อสกุลว่า Varanus (/วา-รา-นัส/) ซึ่งคำ ๆ นี้มีที่มาจากภาษาอาหรับคำว่า "วารัล" (ورل) ซึ่งแปลงเป็นภาษาอังกฤษได้หมายถึง "เหี้ย" หรือ "ตะกวด" จัดเป็นเพียงสกุลเดียวในวงศ์นี้ที่ยังสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากสกุลอื่น ๆ ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้ว โดยกำเนิดมาตั้งแต่ยุคครีเตเชียสมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสัตว์เลื้อยคลานยุคก่อนประวัติศาสตร์ขนาดใหญ่อย่างโมซาซอร์และงู มีลักษณะโดยรวมคือ กระดูกพอเทอรีกอยด์ไม่มีฟัน มีกระดูกอยู่ในถุงอัณฑะ และมีตาที่สาม มีขนาดความยาวแตกต่างหลากหลายกันไป ตั้งแต่มีความยาวเพียง 12 เซนติเมตร คือ ตะกวดหางสั้น (V. brevicauda) ที่พบในพื้นที่ทะเลทรายของประเทศออสเตรเลีย และใหญ่ที่สุด คือ มังกรโคโมโด (V. komodoensis) ที่พบได้เฉพาะหมู่เกาะโคโมโด ในประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น ที่มีความยาวได้ถึง 3.1 เมตร และจัดเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดของวงศ์นี้และอันดับกิ้งก่าและงู โดยชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ เมกะลาเนีย (V. priscus) ที่มีความยาวถึง 6 เมตร แต่ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว ปัจจุบันพบได้เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่ออสเตรเลีย มีส่วนหัวเรียวยาว คอยาว ลำตัวยาวและหางเรียวยาว ส่วนใหญ่อาศัยบนพื้นดิน แต่มีบางชนิดมีพฤติกรรมที่อาศัยอยู่บนต้นไม้มากกว่า หลายชนิดดำรงชีวิตแบบสะเทินน้ำสะเทินบกและมีหางแบนข้างมากสำหรับใช้ในการว่ายน้ำ ส่วนมากเป็นสัตว์หากินในเวลากลางวัน เป็นสัตว์กินเนื้อที่ล่าเหยื่อด้วยฟันที่ยาวโค้งแหลมคมและมีขากรรไกรแข็งแรง กินอาหารได้หลากหลายทั้งสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและสัตว์มีกระดูกสันหลัง รวมถึงซากสัตว์ด้วย โดยในทางชีววิทยาจัดเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเนื่องเป็นผู้สิ่งปฏิกูล กำจัดซากสิ่งแวดล้อม ทุกชนิดสืบพันธุ์ด้วยการวางไข่ พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน ทั้งซับสะฮารา, จีน, เอเชีย และคาบสมุทรอินโดออสเตรเลียนไปจนถึงออสเตรเลี.

กิ้งก่ามอนิเตอร์และตะกวด · กิ้งก่ามอนิเตอร์และเหี้ย · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์เหี้ย

วงศ์เหี้ย (Monitor lizard, Goanna) เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับ Squamata ใช้ชื่อวงศ์ว่า Varanidae (/วา-รา-นิ-ดี้/).

ตะกวดและวงศ์เหี้ย · วงศ์เหี้ยและเหี้ย · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ตะกวดและสัตว์ · สัตว์และเหี้ย · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ตะกวดและสัตว์มีแกนสันหลัง · สัตว์มีแกนสันหลังและเหี้ย · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลื้อยคลาน

ัตว์เลื้อยคลาน (reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิดชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน, สัตววิทยา, บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 364 กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว ในยุคจูแรสซิกที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุด มีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรสซิกจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรสซิก เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน.

ตะกวดและสัตว์เลื้อยคลาน · สัตว์เลื้อยคลานและเหี้ย · ดูเพิ่มเติม »

อันดับกิ้งก่าและงู

อันดับกิ้งก่าและงู (Lizard and Snake) เป็นอันดับของสัตว์เลื้อยคลานที่ยังคงสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันนี้ ใช้ชื่อว่า Squamata (/สะ-ควอ-มา-ตา/) นับเป็นอันดับที่มีจำนวนสมาชิกมากที่สุดและพบได้หลากหลายกว้างขวางมากที่สุด โดยอันดับนี้แบ่งได้เป็น 2 อันดับย่อย คือ Lacertilia หรือ อันดับย่อยกิ้งก่า กับ Serpentes หรือ อันดับย่อยงู การที่รวมสัตว์เลื้อยคลานทั้ง 2 ประเภทนี้ไว้ด้วยกัน เหตุเพราะมีโครงสร้างบางอย่างที่ร่วมกันถึง 70 ประการ โดยงูนั้นมีวิวัฒนาการมาจากกิ้งก่าในวงศ์ Amphisbaenidae ที่มีการลดรูปของขา นอกจากนั้นแล้วยังมีกล้ามเนื้อ, กระดูก, กะโหลก, อวัยวะถ่ายอสุจิที่เป็นถุงพีนิสคู่ แต่มีความแตกต่างกันทางด้านสรีระ พฤติกรรม และการทำงานของโครงสร้างอวัยวะ ทั้งกิ้งก่าและงูมีเกล็ดปกคลุมลำตัว โดยมีปริมาณ ลักษณะ และจำนวนที่ปกคลุมอวัยวะแต่ละส่วนแตกต่างกันตามลักษณะทางอนุกรมวิธาน กิ้งก่าบางชนิดมีกระดูกในชั้นหนังซ้อนอยู่ใต้เกล็ดซึ่งไม่มีในงู พื้นผิวลำตัวของกิ้งก่ามีต่อมผิวหนังไม่มากแต่บริเวณด้านหน้าช่องเปิดทวารร่วมและทางด้านในของต้นขาหลังของกิ้งก่าหลายชนิดมีต่อมผิวหนังค่อนข้างมาก ซึ่งสังเคราะห์สารเคมีเพื่อใช้ในการกำหนดอาณาเขตและหน้าที่ประการต่าง ๆ ซึ่งจำนวนต่อมดังกล่าวนี้อีกทั้งตำแหน่งที่ตั้งแตกต่างกันระหว่างเพศ โดยตัวผู้จะมีมากกว่าและใหญ่กว่า ซึ่งต่อมดังกล่าวนี้ยังใช้เป็นลักษณะในการจำแนกประเภทอีกด้วย กิ้งก่าและงูหลายชนิดสามารถปล่อยท่อนหางให้หลุดจากลำตัวเพื่อหนีเอาตัวรอดจากศัตรูได้ เช่น ในวงศ์จิ้งเหลน (Scincidae) บางตัวอาจหลุดได้หลายครั้งในช่วงชีวิต เหตุที่หลุดและงอกใหม่ได้เนื่องจากลักษณะการเรียงตัวของกล้ามเนื้อกับเนื้อเยื่อที่เกี่ยวพันซึ่งอาจมีตำแหน่งเดียวหรือหลายตำแหน่ง เมื่อหางหลุดไปแล้วอาจงอกขึ้นมาใหม่สั้นกว่าเดิมหรือใช้เวลานานกว่าจะเท่าเดิม เพราะมีแกนเป็นแท่งกระดูกอ่อนทดแทนปล้องของกระดูกสันหลังแทน แต่ส่วนของงูแล้วเมื่อหลุดไปแล้วไม่อาจงอกใหม่ได้ กิ้งก่าในหลายวงศ์ ได้ลดรูปของขาลงจนหดเล็กสั้นจนดูเหมือนไม่มีขา รวมทั้งนิ้วด้วย เพื่อเป็นประโยชน์ในการอาศัยอยู่ในโพรงดิน เช่น จิ้งเหลนด้วง เป็นต้น อวัยวะถ่ายอสุจิของตัวผู้ของกิ้งก่าและงูจะมีลักษณะเป็นถุงพีนิสอยู่ทางด้านท้ายของช่องเปิดทวารร่วม พื้นผิวด้นนอกจะเป็นร่องเพื่อใช้เป็นเส้นทางในการลำเลียงตัวอสุจิเข้าสู่ช่องทวารร่วมของตัวเมียขณะผสมพันธุ์ ซึ่งถุงนี้มีลักษณะเป็นหนามและเป็นสันซึ่งอยู่ทางด้านหน้าของถุง ซึ่งลักษณะรูปร่างและหนามของถุงนี้จะแตกต่างกันไปตามวงศ์ เช่น กิ้งก่าในวงศ์เหี้ย (Varanidae) มีแท่งกระดูกอยู่ภายในถุงเพื่อเสริมให้มั่นคงขณะผสมพันธุ์ ขณะเดียวกันในตัวเมียก็มีกระดูกดังกล่าว แต่มีขนาดเล็กมาก ขยายพันธุ์ได้ด้วยการวางไข่และตกลูกเป็นตัว ซึ่งปริมาณและจำนวนที่ออกมาแตกต่างกันไปตามวงศ์, สกุล และชนิด แต่ในส่วนของกิ้งก่าแล้วมีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่ตกลูกเป็นตัว อีกทั้งยังมีบางส่วนที่เกิดได้โดยไม่ผ่านการผสมพันธุ์ด้วย เช่น ในวงศ์เหี้ย, Leiolepidinae หรือ แย้ หรืองูในวงศ์ Typhlopidae.

ตะกวดและอันดับกิ้งก่าและงู · อันดับกิ้งก่าและงูและเหี้ย · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ตะกวดและเหี้ย

ตะกวด มี 24 ความสัมพันธ์ขณะที่ เหี้ย มี 61 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 8, ดัชนี Jaccard คือ 9.41% = 8 / (24 + 61)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ตะกวดและเหี้ย หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »