โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตราแผ่นดินของอาร์มีเนีย

ดัชนี ตราแผ่นดินของอาร์มีเนีย

ตราแผ่นดินของอาร์มีเนีย (Coat of arms of Armenia) เป็นตราอาร์มของประเทศอาร์มีเนียที่ได้รับการอนุมัติให้เป็นตราประจำชาติในปี ค.ศ. 1992 ตราประกอบด้วยอินทรีและสิงโตประคองโล่ ซึ่งเป็นการรวมระหว่างสัญลักษณ์ใหม่และเก่าเข้าด้วยกัน อินทรีและสิงโตเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้มาตั้งแต่ราชอาณาจักรอาร์มีเนียในยุคแรกก่อนการประสูติของพระเยซู ตราอาร์มปัจจุบันได้รับการอนุมัติให้เริ่มใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1992 โดยมติของสภาศาลสูงสุดแห่งอาร์มีเนีย เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 2006 กฎหมายว่าด้วยตราแผ่นดินแห่งอาร์มีเนียก็ได้รับอนุมัติโดยรัฐสภาอาร์มีเนี.

22 ความสัมพันธ์: ชาวอาร์มีเนียพ.ศ. 2535พ.ศ. 2549การแบ่งโล่ (มุทราศาสตร์)ภูเขาอารารัตมุทราศาสตร์ราชวงศ์เซลจุคราชอาณาจักรซิลิเชียสมัยกลางสิงโตในมุทราศาสตร์อินทรีสองหัวจักรวรรดิออตโตมันจักรวรรดิไบแซนไทน์ธงชาติอาร์มีเนียตราอาร์มประคองข้าง (มุทราศาสตร์)ประเทศอาร์มีเนียนิยามของตราโล่ (มุทราศาสตร์)เรือโนอาห์15 มิถุนายน19 เมษายน

ชาวอาร์มีเนีย

วอาร์มีเนีย (Armenians; հայեր) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นประชากรหลักในประเทศอาร์มีเนีย และยังมีชุมชนชาวอาร์มีเนียในประเทศเพื่อนบ้านของอาร์มีเนีย เช่น จอร์เจีย อิหร่าน รัสเซีย ยูเครน ฯลฯ เหตูการณ์การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาร์มีเนียทำให้ชาวอาร์มีเนียอพยพไปยังหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก เช่น ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา ฯลฯ ชาวอาร์มีเนียเป็นชนชาติแรก ๆ ในโลกที่นับถือคริสต์ศาสนา ทำให้อาร์มีเนียเป็นประเทศแรกในโลกที่นับถือศาสนาคริสต์เป็นศาสนาประจำชาติ โดยที่ศาสนจักรของอาร์มีเนียไม่ได้ขึ้นตรงหรือมีความเกี่ยวข้องกับศาสนจักรโรมันคาทอลิกแต่อย่างใ.

ใหม่!!: ตราแผ่นดินของอาร์มีเนียและชาวอาร์มีเนีย · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2535

ทธศักราช 2535 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1992 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ตราแผ่นดินของอาร์มีเนียและพ.ศ. 2535 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2549

ทธศักราช 2549 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2006 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ตราแผ่นดินของอาร์มีเนียและพ.ศ. 2549 · ดูเพิ่มเติม »

การแบ่งโล่ (มุทราศาสตร์)

การแบ่งโล่ หรือ แบ่งโล่ (Division of the field) เป็นศัพท์ที่ใช้ในมุทราศาสตร์ที่หมายถึงทรงการแบ่งโล่บนตราอาร์มออกเป็นส่วนหรือช่องต่างๆ พื้นตราของโล่อาจจะแบ่งออกเป็นบริเวณที่มากกว่าสองบริเวณที่แต่ละบริเวณอาจจะมีผิวตราที่ต่างกัน ที่มักจะดำเนินตามลักษณะของเรขลักษณ์ การแบ่งแต่ละวิธีก็จะมี นิยามต่างกันไปที่ใช้ศัพท์คล้ายคลึงกับศัพท์ที่ใช้ในเรขลักษณ์ เช่นโล่ที่แบ่งตามเรขลักษณ์ทรงจั่วบ้านก็จะได้รับนิยามว่า “per chevron” หรือ “แบ่งจั่ว” ตามลักษณะแถบจั่วที่ใช้ในเรขลักษณ์ จุดประสงค์ของการแบ่งตราก็มีหลายประการๆ หนึ่งอาจจะเพื่อสร้างความแตกต่างระหว่างตราที่คล้ายคลึงกัน หรือเพื่อ “การรวมตรา” (marshalling) ที่หมายถึงการรวมตราอาร์มมากกว่าสองตราขึ้นไปเป็นตราเดียว หรือ เพียงเพื่อเป็นสร้างความสวยงามให้กับตรา “เส้นแบ่ง” (Line) ที่ใช้ก็ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเส้นตรง และเส้นที่ใช้แต่ละแบบก็จะมีนิยามที่เฉพาะเจาะจงที่ใช้โครงสร้างของศัพท์เช่นเดียวกับเรขลักษณ์ นอกจากนั้นการแบ่งก็ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเส้นตรงเสมอไป แต่อาจจะเป็นลายหยักต่างๆ คล้ายกับที่ใช้ในเรขลักษณ.

ใหม่!!: ตราแผ่นดินของอาร์มีเนียและการแบ่งโล่ (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

ภูเขาอารารัต

right ภูเขาอารารัต (Mount Ararat) ตั้งอยู่ทางตะวันออกของประเทศตุรกีใก้ลกับพรมแดนประเทศอิหร่าน ลักษณะเป็นภูเขาไฟที่มียอดแหลมบนยอดปกคลุมไปด้วยหิมะ มีความสูง 5,137 เมตร เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศตุรกี หมวดหมู่:ภูเขาในประเทศตุรกี.

ใหม่!!: ตราแผ่นดินของอาร์มีเนียและภูเขาอารารัต · ดูเพิ่มเติม »

มุทราศาสตร์

รื่องยอด มุทราศาสตร์ (heraldry) เป็นอาชีพ, สาขาวิชา หรือศิลปะของการออกแบบ การมอบ และการให้นิยามของตราอาร์ม และ การวางกฎที่เกี่ยวกับศักดิ์หรือข้อกำหนดของพิธีการใช้ที่ควบคุมโดยเจ้าหน้าที่ตราอาร์ม (officer of arms) คำว่า “heraldry” มาจากภาษาแองโกล-นอร์มันว่า “herald” ที่มีรากมาจากคำสมาทของภาษาเจอร์มานิค “*harja-waldaz” ที่แปลว่า “ผู้นำทัพ”Appendix I. koro-.

ใหม่!!: ตราแผ่นดินของอาร์มีเนียและมุทราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์เซลจุค

จักรวรรดิเซลจุค ใน ค.ศ. 1092 เมื่อมาลิค ชาห์ที่ 1เสียชีวิต ราชวงศ์เซลจุค หรือ เซลจุคตุรกี (Seljuq dynasty หรือ Seljuq Turks) “เซลจุค” (หรือ “Seldjuks” “Seldjuqs” “Seljuks” Selçuklular, سلجوقيان Ṣaljūqīyān; سلجوق ''Saljūq'' หรือ السلاجقة ''al-Salājiqa''.) เป็นราชวงศ์เทอร์โค-เปอร์เชีย ซุนนีมุสลิมผู้ปกครองบางส่วนของทวีปเอเชียกลางและตะวันออกกลางระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 11 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ราชวงศ์เซลจุคก่อตั้งจักรวรรดิเซลจุคซึ่งในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดมีดินแดนตั้งแต่อานาโตเลียไปจนถึงเปอร์เชียและเป็นฝ่ายปฏิปักษ์ในสงครามครูเสดครั้งที่ 1 ราชวงศ์มีที่มาจากกลุ่มสมาพันธ์ของชนเทอร์โคมันของทางตอนกลางของเอเชีย ซึ่งเป็นการเริ่มการขยายอำนาจของเทอร์กิคในตะวันออกกลาง เมื่อเปอร์เชียขยายตัวเข้ามาเซลจุคก็รับวัฒนธรรม และภาษาเข้ามาเป็นของตนเอง และมีบทบาทสำคัญในการวิวัฒนาการของวัฒนธรรมเทอร์โค-เปอร์เชีย ใน “วัฒนธรรมเปอร์เชียที่รับโดยประมุขของเทอร์กิค” ในปัจจุบันเซลจุคเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นผู้อุปถัมภ์อันยิ่งใหญ่ของวัฒนธรรม, ศิลปะ, วรรณคดี และ ภาษาเปอร์เชียO.Özgündenli, "Persian Manuscripts in Ottoman and Modern Turkish Libraries", Encyclopaedia Iranica, Online Edition,Encyclopaedia Britannica, "Seljuq", Online Edition,: "...

ใหม่!!: ตราแผ่นดินของอาร์มีเนียและราชวงศ์เซลจุค · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรซิลิเชีย

ราชอาณาจักรอาร์มีเนียแห่งซิลิเชีย (Armenian Kingdom of Cilicia) หรือ ราชอาณาจักรซิลิเชีย (Cilician Kingdom) หรือ นิวอาร์มีเนีย เป็นคนละราชอาณาจักรกับราชอาณาจักรอาร์มีเนียของสมัยโบราณ เป็นอาณาจักรที่ก่อตั้งขึ้นในยุคกลางโดยผู้ลี้ภัยชาวอาร์มีเนียที่หนีการรุกรานอาร์มีเนียของชนเซลจุคตุรกี (Seljuk Turks)Poghosyan, S.; Katvalyan, M.; Grigoryan, G. et al.

ใหม่!!: ตราแผ่นดินของอาร์มีเนียและราชอาณาจักรซิลิเชีย · ดูเพิ่มเติม »

สมัยกลาง

แบบจำลองของหมวกหุ้มเกราะซึ่งถูกพบที่ซัททันฮู ในหลุมศพของผู้นำชาวแองโกล-แซกซัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ราวปี ค.ศ. 620 ในช่วงต้นสมัยกลางNees ''Early Medieval Art'' pp. 109–112 สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ตะวันตกคือ สมัยคลาสสิก สมัยกลาง และสมัยใหม่ นอกจากนี้สมัยกลางยังถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages), สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) และปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages) ในยุคกลางตอนต้น การลดลงของประชากร, การหดตัวของเมือง และการรุกรานจากอนารยชน เริ่มต้นขึ้นในยุคโบราณตอนปลายและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหล่าอนารยชนผู้บุกรุกเข้าตั้งอาณาจักรของตนในส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้กลายไปเป็นจักรวรรดิอิสลามหลังจากถูกยึดครองโดยผู้สืบทอดของนบีมุฮัมมัด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองมากมาย แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณคลาสสิคอย่างสิ้นเชิง จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่รอดและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้ นอกจากนี้แล้วอาณาจักรเกิดใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวพันอยู่กับสถาบันที่หลงเหลืออยู่ของชาวโรมัน ในขณะที่วัดวาอารามของคริสต์ศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้นซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกมีนามว่า จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งยืนยงไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงจากแรงงกดดันของการรุกรานจากภายนอก เช่น ชาวไวกิงจากทางเหนือ ชาวแมกยาร์จากทางตะวันออก และชาวซาราเซนจากทางใต้ ช่วงต้นสมัยกลางซึ่งเริ่มขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 10 ประชากรของยุโรปขยายตัวอย่างมากจากการที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางการเกษตรทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองและการทำเรือกสวนไร่นาขยายตัว ระบบมาเนอร์ - องค์กรของชาวนาตามหมู่บ้านที่ติดค้างค่าเช่าที่ดินและหน้าที่ด้านแรงงานแก่ขุนนาง และระบบเจ้าขุนมูลนาย - โครงสร้างทางการเมืองที่ซึ่งอัศวินและขุนนางศักดิ์ต่ำกว่าติดค้างหน้าที่ด้านการทหารแก่เจ้านายผู้มีศักดิ์สูงกว่าของพวกเขาแลกกับสิทธิ์ในการเก็บค่าเช่าที่ดินและชาวนาใต้ปกครอง สองระบบนี้คือระเบียบของสังคมที่ใช้กันในยุคกลางตอนกลาง ต่อมาอาณาจักรเริ่มรวมศูนย์อำนาจมากขึ้นภายหลังการล่มสลายลงของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียง สงครามครูเสดซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: ตราแผ่นดินของอาร์มีเนียและสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

สิงโตในมุทราศาสตร์

งโต (Lion) เป็นสัตว์ที่นิยมใช้เป็นเครื่องหมายกันในตราอาร์มกันมากที่สุดเครื่องหมายหนึ่ง เพราะเป็นสัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์ของความกล้าหาญ การรักษาเกียรติยศ ความแข็งแกร่ง และ ความเป็นสัตว์ที่ถือกันว่าสูงศักดิ์ ที่เดิมถือกันว่าเป็นราชาแห่งสัตว์ทั้งปวง.

ใหม่!!: ตราแผ่นดินของอาร์มีเนียและสิงโตในมุทราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

อินทรีสองหัว

ลูกโลกในอุ้งมือเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจทางศาสนาและทางฆราวาส (ภาพนูนจากตึกที่ทำการทางศาสนาในคอนสแตนติโนเปิล) อินทรีสองหัว (Double-headed eagle) เป็นสัญลักษณ์ที่นิยมใช้ในการสร้างตราอาร์มและธง ที่มักจะเกี่ยวข้องกับ “อินทรีสองหัว” ที่เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ปรากฏบนตราอาร์มของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์, จักรวรรดิไบแซนไทน์ และ จักรวรรดิวิชัยนคร ในตราของจักรวรรดิไบแซนไทน์หัวอินทรีสองหัวเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจของจักรพรรดิทั้งในทางทางศาสนาและทางฆราวาส และอำนาจของจักรวรรดิที่เหนือทั้งจักรวรรดิตะวันออกและตะวันตก ประเทศหลายประเทศในยุโรปตะวันออกนำอินทรีสองหัวมาใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติจนกระทั่งทุกวันนี้ ที่เด่นที่สุดคือรัสเซีย แต่อินทรีสองหัวเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้กันมานาก่อนที่จักรวรรดิไบแซนไทน์จะนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำจักรวรรดิ เช่นที่ใช้เป็นสัญลักษณ์ของอาร์เมเนียในยุคกลางและโดยราชวงศ์จาลุกยะ ในตำนานเทพของฮินดูอินทรีสองหัวเรียกว่า “คัณฑเบรุณฑา" (Gandaberunda”).

ใหม่!!: ตราแผ่นดินของอาร์มีเนียและอินทรีสองหัว · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิออตโตมัน

ักรวรรดิออตโตมัน (Ottoman Empire, Osmanlı İmparatorluğu, โอสมานลือ อิมพาราโทรลู) ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) หลังการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งมีคอนสแตนติโนเปิล (อิสตันบูล) เป็นเมืองหลวง สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 เป็นผู้นำในการทำสงคราม ตอนแรกที่ยึดคอนสแตนติโนเปิลได้ พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนชื่อเมืองคอนสแตนติโนเปิลใหม่เป็น อิสตันบูล และเปลี่ยนโบสถ์ฮาเจีย โซเฟีย ที่เป็นโบสถ์ในศาสนาคริสต์ เป็นมัสยิดในศาสนาอิสลาม จักรวรรดิออตโตมันมีอาณาเขตที่ครอบคลุมถึง 3 ทวีป ได้แก่ เอเชีย แอฟริกา และยุโรป ซึ่งขยายไปไกลสุดถึงช่องแคบยิบรอลตาร์ทางตะวันตก นครเวียนนาทางทิศเหนือ ทะเลดำทางทิศตะวันออก และอียิปต์ทางทิศใต้ จักรวรรดิออตโตมันล่มสลายในปี พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) มีจักรพรรดิเมห์เหม็ดที่ 6 เป็นจักรพรรดิองค์สุดท้าย และมีสาธารณรัฐตุรกี ขึ้นมาแทนที่ และมีมุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก เป็นประธานาธิบดีคนแรก.

ใหม่!!: ตราแผ่นดินของอาร์มีเนียและจักรวรรดิออตโตมัน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิไบแซนไทน์

ักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire) หรือ จักรวรรดิไบแซนทิอุม (Βασιλεία των Ρωμαίων) เป็นจักรววรรดิที่สืบทอดโดยตรงจากจักรวรรดิโรมันในปลายสมัยโบราณ และยุคกลาง มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ในบริบทสมัยโบราณตอนปลาย จักรวรรดิยังถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จักรวรรดิโรมันตะวันออก ขณะที่ยังมีจักรวรรดิโรมันตะวันตกอยู่ ทั้งคำว่า "จักรวรรดิไบแซนไทน์" และ "จักรวรรดิโรมันตะวันออก" เป็นคำทางภูมิประวัติศาสตร์ที่สร้างขึ้นและใช้กันในหลายศตวรรษต่อมา ขณะที่พลเมืองยังเรียกจักรวรรดิของตนว่า "จักรวรรดิโรมัน" หรือ "โรมาเนีย" เรื่อยมากระทั่งล่มสลายไป ขณะที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายไปในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ส่วนตะวันออกยังดำเนินต่อมาอีกพันปีก่อนจะเสียแก่เติร์กออตโตมันใน..

ใหม่!!: ตราแผ่นดินของอาร์มีเนียและจักรวรรดิไบแซนไทน์ · ดูเพิ่มเติม »

ธงชาติอาร์มีเนีย

งชาติอาร์มีเนีย หรือ ธงไตรรงค์อาร์มีเนีย (եռագույն, Erraguyn) เป็นธงสามสีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน ภายในแบ่งเป็นแถบ 3 แถบ ตามแนวนอน ความกว้างเท่ากัน ประกอบด้วย สีแดง สีน้ำเงิน และสีส้ม ตามลำดับจากบนลงล่าง สภาโซเวียตสูงสุดแห่งอาร์มีเนียได้รับรองเป็นธงชาติเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2533 ส่วนกฎหมายว่าด้วยธงชาติฉบับปัจจุบัน ได้ผ่านการรับรองจากสภาแห่งชาติอาร์มีเนียเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ตามประวัติศาสตร์อาร์มีเนีย ได้มีการใช้ธงต่างๆ เป็นสัญลักษณ์ของอาร์มีเนียจำนวนมาก ดังเช่นในสมัยโบราณ ราชวงศ์ของอาร์มีเนียได้ใช้ธงรูปสัตว์ต่างๆ เป็นสัญลักษณ์ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 อาร์มีเนียอยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต ธงของสหภาพโซเวียตก็ได้มีการนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของประเทศอาร์มีเนียอยู่หลายแบบด้ว.

ใหม่!!: ตราแผ่นดินของอาร์มีเนียและธงชาติอาร์มีเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ตราอาร์ม

ตราแผ่นดินของหลายประเทศมีลักษณะเป็นตราอาร์ม ดังเช่นภาพตราแผ่นดินของประเทศในสหภาพยุโรป ตราอาร์ม (Coat of arms, เรียกอย่างเฉพาะเจาะจงว่า armorial achievement หรือ armorial bearings, เรียกอย่างย่อว่า arms) ในธรรมเนียมของทวีปยุโรป เป็นสัญลักษณ์ซึ่งออกแบบขึ้นสำหรับบุคคลหรือคณะบุคคล อันมีการดัดแปลงใช้ในหลายลักษณะ พัฒนามาจากตราประจำตัวของอัศวินในยุโรปสมัยโบราณเพื่อจำแนกพวกของตนออกจากพวกของศัตรู สามัญชนในยุโรปภาคพื้นทวีปอาจใช้ตราอาร์มเป็นสัญลักษณ์ได้เช่นกัน แต่เรียกชื่อชนิดตราต่างออกไปว่า Burgher arms ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ของประเทศไทย ได้ให้นิยามของคำว่า "อาร์ม" ไว้ดังนี้ ตราอาร์มนั้นต่างจากตราประทับ (seal) และตราสัญลักษณ์ (emblem) ตรงที่มีการให้คำอธิบายอย่างเป็นทางการโดยมีศัพท์เฉพาะของตนเอง ซึ่งเรียกโดยรวมในภาษาอังกฤษว่า Blazon หรือเทียบเป็นภาษาไทยว่า นิยามของตรา ในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 21 ตราอาร์มได้มีการนำไปใช้กับสถาบันต่างๆ เช่นมหาวิทยาลัย ตราของแต่ละแห่งจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายและปกป้องสิทธิการใช้งาน การใช้ตราดังว่ามานี้ยังรวมถึงการใช้เป็นเครื่องหมายราชการประจำชาติหลายประเทศ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือใช้เป็น "ตราแผ่นดิน" นั่นเอง ศิลปะในการออกแบบ การแสดงให้ปรากฏ การอธิบาย และการบันทึกตราอาร์ม เรียกว่า heraldry อันอาจแปลเป็นภาษาไทยตามสำนวนของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้ว่า "มุทราศาสตร์".

ใหม่!!: ตราแผ่นดินของอาร์มีเนียและตราอาร์ม · ดูเพิ่มเติม »

ประคองข้าง (มุทราศาสตร์)

ประคองข้าง (Supporters) ในมุทราศาสตร์ “ประคองข้าง” เป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งที่ปรากฏบนตราอาร์มที่เป็นมักจะตั้งอยู่สองข้างของโล่ (Escutcheon) ในท่าประคอง รูปที่ใช้อาจจะเป็นสิ่งที่มีจริงหรือสิ่งจากจินตนาการที่รวมทั้งมนุษย์, สัตว์, พันธุ์ไม้ หรือองค์ประกอบของสถาปัตยกรรม และอื่นๆ สิ่งที่ใช้มักจะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อเจ้าของตรา เช่นชาวประมงและคนทำเหมืองของตราของแคว้นคอร์นวอลล์ หรือมีความเกี่ยวข้องทางประวัติศาสตร์ เช่นสิงโตของอังกฤษและยูนิคอร์นของสกอตแลนด์ในตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักร หรือตราของริโอกรานเดเดอนอร์เตในบราซิลที่มีต้นมะพร้าวและปาล์มเป็นประคองข้าง “ประคองข้าง” ที่เป็นมนุษย์อาจจะเป็นอุปมานิทัศน์หรือนักบุญ โดยทั่วไปแล้วประคองข้างมักจะตั้งอยู่สองข้างของโล่แต่ก็มีบางตราที่มีประคองข้างเพียงข้างเดียวเช่นตราของสาธารณรัฐคองโก หรือของเมืองเพิร์ธในสกอตแลนด์ ถ้าเป็นสัตว์ก็มักจะเป็นท่า “ยืนผงาด” (rampant) ซึ่งเป็นท่ายืนบนเท้าหลัง สองขาหน้ายกขึ้นประคองตร.

ใหม่!!: ตราแผ่นดินของอาร์มีเนียและประคองข้าง (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอาร์มีเนีย

อาร์มีเนีย หรือ อาร์เมเนีย (Armenia,; Հայաստան ฮายาสตาน) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอาร์มีเนีย (Republic of Armenia; Հայաստանի Հանրապետություն) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส มีอาณาเขตติดต่อกับตุรกีทางทิศตะวันตก ติดต่อกับจอร์เจียทางทิศเหนือ ติดต่อกับอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันออก และทางทิศใต้ติดต่อกับอิหร่านและรัฐปกครองตนเองนาคีเชวาน (เป็นดินแดนส่วนแยกของอาเซอร์ไบจาน) อาร์มีเนียเป็นรัฐสมาชิกของสภายุโรปและเครือรัฐเอกราช อาร์มีเนียเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต.

ใหม่!!: ตราแผ่นดินของอาร์มีเนียและประเทศอาร์มีเนีย · ดูเพิ่มเติม »

นิยามของตรา

นิยามของตรา (Blazon) ในด้านการศึกษาทางด้านมุทราศาสตร์ และ ธัชวิทยา “Blazon” หรือ “นิยามของตรา” คือคำบรรยายอย่างเป็นทางการของลักษณะของตรา ที่ส่วนใหญ่เป็นการบรรยายตราอาร์ม หรือ ธง ที่สามารถทำให้ผู้สร้างสามารถสร้างตรา, ธง หรือ เครื่องหมายได้ตามความต้องการอย่างถูกต้อง ฉะนั้นรูปลักษณะและองค์ประกอบของตราอาร์ม หรือ ธงตามหลักแล้วไม่ใช่เป็นการบรรยายโดยการใช้รูป แต่จะเป็นการบรรยายโดยตัวอักษร (แต่ในสมัยปัจจุบัน จะมีการให้นิยามเพิ่มเติมและบรรยายอย่างเจาะจงกว่าที่เป็นมาด้วยรายละเอียดทางเรขาคณิต) “นิยามของตรา” ใช้ภาษาเฉพาะทางในการเขียนนิยามตั้งแต่หลักการวางตำแหน่งของคำบรรยาย การใช้คำกิริยา ไปจนถึงหลัก และลำดับการเขียนคำบรรยายของแต่ละส่วนที่ย่อยออกไป เช่นคำแรกที่พบในการบรรยายตราคือชื่อผิวตรา ที่หมายถึงสีหรือผิวของพื้นตรา เช่น “Azure...” ซึ่งหมายความว่า “ (พื้นตรา) น้ำเงิน” ผู้อ่านที่เข้าใจหลักไวยากรณ์ของการเขียนคำนิยามจะทราบว่า “Azure...” เป็นสีของพื้นตราโดยไม่ต้องมีคำว่า “Field” ที่แปลว่าพื้นตรานำหน้าคำว่า “Azure...” เพราะตำแหน่งการวางคำเป็นไปตามหลักไวยากรณ์ของการเขียนคำนิยาม นอกจากโครงสร้างการวางลำดับการบรรยายและการใช้ไวยากรณ์แล้ว นิยามของตราในมุทราศาสตร์ก็ยังใช้คำศัพท์ที่เป็นศัพท์เฉพาะกิจเช่นคำว่า “Charge” ที่หมายถึง “เครื่องหมาย” บน “พื้นตรา” (Field) หรือคำว่า “Attitude” ที่หมายถึง “ลักษณะการวางท่า” ของมนุษย์หรือสัตว์ที่ปรากฏบนตรา นอกจากตราอาร์ม หรือ ธง แล้ว “นิยามของตรา” ก็อาจจะใช้ในการบรรยายลักษณะของสิ่งอื่นๆ ด้วยเช่น ตรายศ (badge), แถบคำขวัญ (banner) และ ตราประทั.

ใหม่!!: ตราแผ่นดินของอาร์มีเนียและนิยามของตรา · ดูเพิ่มเติม »

โล่ (มุทราศาสตร์)

ล่ หรือ โล่ภายในตรา (Escutcheon หรือ scutcheon) ในมุทราศาสตร์ “โล่” เป็นองค์ประกอบที่ปรากฏบนตราอาร์มที่เป็น บางครั้งก็จะมีการใช้คำว่า “Crest” (“เครื่องยอด”) แทน “Escutcheon” หรือ “โล่กลางตรา” ซึ่งเป็นการใช้ที่ไม่ถูกต้อง รูปทรงของ “โล่กลางตรา” มาจากรูปทรงของโล่ที่ใช้โดยอัศวินในการต่อสู้ในยุคกลาง รูปทรงที่ใช้ก็แตกต่างกันออกไปตามแต่ท้องถิ่นและยุคสมัย เพราะโล่เป็นเครื่องหมายของสงครามจึงเป็นเครื่องหมายที่ใช้สำหรับบุรุษเท่านั้น สตรีชาวอังกฤษตามธรรมเนียมแล้วจะใช้โล่ทรงข้าวหลามตัด (Lozenge) ขณะที่สตรีและนักบวชบนแผ่นดินใหญ่ยุโรปใช้ทรงทรงคาร์ทูช (Cartouche) หรือทรงรูปไข่ ทรงอื่นที่ใช้กันก็มีทรงกลม (roundel) ที่มักจะใช้โดยตราสำหรับชนพื้นเมืองแคนาดา (Aboriginal Canadians) ที่มอบให้โดยสำนักงานมุทราศาสตร์แห่งแคนาดา (Canadian Heraldic Authority) คำว่า “Escutcheon” มาจากภาษาอังกฤษกลาง “escochon” ที่มาจากที่มาจากแองโกล-นอร์มัน “escuchon” ที่มาจากที่มาจากแองโกล-นอร์มัน “Escochon” ที่มาจากภาษาลาตินพื้นบ้าน (Vulgar Latin) “scūtiōn-” จากภาษาลาติน “scūtum” ที่แปลว่า “โล่” จากความหมายนี้ในมุทราศาสตร์ คำว่า “Escutcheon” สามารถหมายถึงสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของตระกูลและเกียรติยศของตระกูล คำว่า “inescutcheon” หรือ “โล่ใน” เป็นโล่ที่มีขนาดเล็กกว่าโล่หลักที่ตั้งอยู่ในบริเวณโล่หลัก ที่อาจจะใช้สำหรับ “pretense” หรือการวางโล่เหนือโล่อีกโล่หนึ่งของตนเอง ซึ่งคือการวางโล่เหนือโล่หรือสัญลักษณ์ของดินแดนในปกครอง หรือ เพียงเพื่อเป็นเครื่องหมายตกแต่งโดยไม่มีความหมายลึกไปกว่านั้น.

ใหม่!!: ตราแผ่นดินของอาร์มีเนียและโล่ (มุทราศาสตร์) · ดูเพิ่มเติม »

เรือโนอาห์

รือโนอาห์ (Noah's Ark) ถูกกล่าวถึงในพระธรรมปฐมกาลบทที่ 6 ก่อนที่พระเจ้าจะทรงทำลายมนุษย์ด้วยการทำให้น้ำท่วมโลก พระองค์ทรงเห็นว่าโนอาห์เป็นคนชอบธรรม ดีพร้อมในสมัยนั้น และดำเนินกับพระเจ้า สัตว์ต่างๆ ชนิดละคู่พากันมาขึ้นเรือ การก่อสร้างเรือโนอาห.

ใหม่!!: ตราแผ่นดินของอาร์มีเนียและเรือโนอาห์ · ดูเพิ่มเติม »

15 มิถุนายน

วันที่ 15 มิถุนายน เป็นวันที่ 166 ของปี (วันที่ 167 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 199 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ตราแผ่นดินของอาร์มีเนียและ15 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

19 เมษายน

วันที่ 19 เมษายน เป็นวันที่ 109 ของปี (วันที่ 110 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 256 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ตราแผ่นดินของอาร์มีเนียและ19 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Coat of arms of Armeniaตราแผ่นดินของอาร์เมเนีย

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »