โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตราสารทางการเงินและตลาดหลักทรัพย์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ตราสารทางการเงินและตลาดหลักทรัพย์

ตราสารทางการเงิน vs. ตลาดหลักทรัพย์

ตราสารทางการเงิน (financial instrument) คือ เอกสารทางการเงินที่ผู้ออกหลักทรัพย์นำออกมาจำหน่ายเพื่อระดมเงินจากผู้ลงทุน อาจนำมาจดทะเบียนเพื่อให้มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ ตราสารทางการเงินอาจแบ่งออกได้เป็นตราสารแห่งหนี้ ตราสารแห่งทุน ตราสารอนุพันธ์ และ ตราสารที่มีลักษณะผสม (เช่น กึ่งหนี้กึ่งทุน) ตัวอย่างตราสารทางการเงินได้แก. ตลาดหลักทรัพย์ หรือ ตลาดหุ้น เป็นสถานที่สำหรับซื้อขายแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ระยะยาว ของ บริษัทมหาชนจำกัด ซึ่งถือว่าเป็นตลาดรอง (Secondary Market) ทั้งนี้เนื่องจากจะทำการซื้อขายเฉพาะหลักทรัพย์ที่ได้ออกจำหน่ายให้แก่ประชาชนโดยทั่วไปแล้วเท่านั้น หลักทรัพย์ระยะยาว จะประกอบไปด้วยตราสารหนี้ และตราสารทุนซึ่งประกอบไปด้วย หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ ใบสำคัญแสดงสิทธิแบบต่าง ๆ ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ หุ้นกู้ และ หน่วยลงทุน เป็นต้น โดยเรียกว่าเป็นประเภทของตราสารเพื่อการลงทุนตลาดหลักทรัพย์มีอยู่แทบทุกประเทศทั่วโลก.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ตราสารทางการเงินและตลาดหลักทรัพย์

ตราสารทางการเงินและตลาดหลักทรัพย์ มี 6 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): หุ้นบุริมสิทธิหุ้นกู้หุ้นสามัญตราสารหนี้ตราสารทุนใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์

หุ้นบุริมสิทธิ

หุ้นบุริมสิทธิ (preferred stock) เป็นตราสารประเภทหุ้นทุน คล้ายกับหุ้นสามัญ เพียงแต่ว่าไม่มีสิทธิออกเสียงในการบริหาร มีข้อแตกต่างจากหุ้นสามัญคือ ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะได้รับสิทธิในการชำระคืนเงินทุนก่อนผู้ถือหุ้นสามัญในกรณีที่บริษัทเลิกกิจการ รายละเอียดของบุริมสิทธิที่พึงจะมีจะต้องดูในเอกสารของบริษัทนั้นๆ อีกครั้งหนึ่ง หุ้นประเภทนี้มีไม่มากนักในตลาดหลักทรัพย์ มีการซื้อขายกันน้อย หรือภาษาเทคนิคเรียกว่ามีสภาพคล่องต่ำ หุ้นบุริมสิทธิบนกระดานหุ้นสังเกตได้จากสัญลักษณ์ + หรือ P ท้ายอักษรย่อ ของหุ้นสามัญ หมวดหมู่:หุ้น หมวดหมู่:ตราสารทางการเงิน.

ตราสารทางการเงินและหุ้นบุริมสิทธิ · ตลาดหลักทรัพย์และหุ้นบุริมสิทธิ · ดูเพิ่มเติม »

หุ้นกู้

หุ้นกู้ (corporate bond หรือ debenture) คือ ตราสารหนี้ระยะยาว ที่ออกโดยบริษัทจดทะเบียน หรือ บริษัท มหาชน จำกัด ตามกฎหมายไม่ได้กำหนดอายุของหุ้นกู้ไว้ แต่โดยทั่วไป บริษัทผู้ออก มักจะกำหนดอายุของหุ้นกู้ประมาณ 2 - 20 ปี.

ตราสารทางการเงินและหุ้นกู้ · ตลาดหลักทรัพย์และหุ้นกู้ · ดูเพิ่มเติม »

หุ้นสามัญ

หุ้นสามัญ เป็นตราสารทุนที่บ่งชี้ถึงการมีส่วนในการเป็นเจ้าของกิจการนั้นๆ การถือหุ้นสามัญเป็นการมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของบริษัท มีสิทธิในการออกเสียงในที่ประชุม มีสิทธิในการได้รับเงินปันผล หรือประโยชน์ในรูปแบบอื่นๆ ตามที่ประชุมของผู้ถือหุ้นอนุมัติ อย่างไรก็ตามในทางทฤษฏี ผู้ถือหุ้นสามัญจะเป็นผู้มีสิทธิ์ในลำดับสุดท้าย ในการได้รับส่วนที่เหลือจากการลงทุน หากบริษัทล้มละลายหรือเลิกกิจการ ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หุ้นสามัญที่จดทะเบียนจะมีชื่อย่อ เช่น ธนาคารกรุงเทพ ชื่อย่อคือ BBL หุ้นประเภทอื่นที่มีการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะมีเครื่องหมาย -(ขีด) ต่อจากชื่อย่อ แล้วตามด้วยประเภทของตราสารทุน เช่น.

ตราสารทางการเงินและหุ้นสามัญ · ตลาดหลักทรัพย์และหุ้นสามัญ · ดูเพิ่มเติม »

ตราสารหนี้

ตราสารหนี้ หรือ ตราสารแห่งหนี้(bond) คือ ตราสารทางการเงินที่ผู้ออกตราสาร ซึ่งเรียกว่า ผู้กู้ หรือ ลูกหนี้ มีข้อผูกพันทางกฎหมายว่าจะจ่ายผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยเป็นงวด ๆ และเงินต้น หรือ ผลประโยชน์อื่นๆ ตามกำหนดในตราสารให้แก่ผู้ซื้อ ซึ่งเรืยกว่า เจ้าหนี้ หรือ ผู้ให้กู้ เมื่อครบกำหนดที่ตกลงกันไว้ โดยทั่วไปตราสารหนี้ในตลาดทุนมักจะหมายถึง ตราสารหนี้ที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป.

ตราสารทางการเงินและตราสารหนี้ · ตราสารหนี้และตลาดหลักทรัพย์ · ดูเพิ่มเติม »

ตราสารทุน

ตราสารทุน หรือ ตราสารแห่งทุน (equity instrument) เป็นตราสารทางการเงินที่แสดงถึงการจัดแหล่งเงินทุนจากการเป็นเจ้าของ ซึ่งจะมีความผูกพันในฐานะเจ้าของหุ้นส่วนกิจการ.

ตราสารทางการเงินและตราสารทุน · ตราสารทุนและตลาดหลักทรัพย์ · ดูเพิ่มเติม »

ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์

ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ (Derivative Warrants; ตัวย่อ: DW) เป็นตราสารชนิดหนึ่งที่ออกโดยสถาบันการเงิน เพื่อใช้สิทธิในการซื้อหุ้นสามัญในราคาและระยะเวลาที่กำหนดไว้ในใบสำคัญนั้นๆ ซึ่งเป็นสินค้าทางด้านการเงินซื้อขายกันได้ โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ สิทธิในการซื้อ (Call) และสิทธิในการขาย (Put) บริษัทผู้ออกใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่นิยมคือ บริษัทหลักทรัพย์เอเซีย พลัส จำกัด โดยรู้จักกันในนาม DW08 ในประเทศไทย บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ เป็นรายแรกที่เสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ ชื่อว่า PTT13CA เพื่อใช้สิทธิ์ซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ปตท.

ตราสารทางการเงินและใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ · ตลาดหลักทรัพย์และใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ตราสารทางการเงินและตลาดหลักทรัพย์

ตราสารทางการเงิน มี 9 ความสัมพันธ์ขณะที่ ตลาดหลักทรัพย์ มี 30 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 6, ดัชนี Jaccard คือ 15.38% = 6 / (9 + 30)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ตราสารทางการเงินและตลาดหลักทรัพย์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »