เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษาไทใหญ่

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษาไทใหญ่

ตระกูลภาษาไท-กะได vs. ภาษาไทใหญ่

ตระกูลภาษาไท-กะได (Tai–Kadai languages) หรือรู้จักกันในนาม กะได (Kadai), ขร้าไท (Kradai) หรือ ขร้า-ไท (Kra–Dai) เป็นตระกูลภาษาของภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตอนใต้ของประเทศจีน ในช่วงแรก ตระกูลภาษาไท-กะไดเคยถูกกำหนดให้เป็นอยู่ในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต แต่ปัจจุบันได้แยกมาเป็นอีกตระกูลภาษาหนึ่ง และยังมีผู้เห็นว่าตระกูลภาษาไท-กะไดนี้มีความสัมพันธ์กับตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน โดยอยู่ในกลุ่มภาษาที่เรียกว่า "ออสโตร-ไท" หรือจัดเป็นตระกูลภาษาใหญ่ออสตริก รอเจอร์ เบลนช์ (Roger Blench) ได้กล่าวว่า ถ้าข้อจำกัดของความเชื่อมต่อของตระกูลภาษาออสโตร-ไทมีความสำคัญมาก แสดงว่าความสัมพันธ์ทั้งสองตระกูลอาจไม่ใช่ภาษาที่เป็นพี่น้องกัน กลุ่มภาษากะไดอาจเป็นสาขาของภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนที่อพยพจากฟิลิปปินส์ไปสู่เกาะไหหลำ แล้วแพร่สู่จีนแผ่นดินใหญ่ ในขณะที่สาขาไดของภาษากลุ่มกะไดมีการปรับโครงสร้างใหม่โดยได้รับอิทธิพลจากกลุ่มภาษาม้ง-เมี่ยนและภาษาจีน โลร็อง ซาการ์ (Laurent Sagart) ได้เสนอว่า ภาษาไท-กะไดดั้งเดิมได้เกิดขึ้นในยุคต้นของตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนที่อาจจะอพยพกลับจากทางตะวันตกเฉียงเหนือของไต้หวันไปยังชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของจีน หรือจากจีนไปไต้หวันและเกิดการพัฒนาของภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนบนเกาะนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนและไท-กะไดอาจจะอธิบายได้จากคำศัพท์ที่ใกล้เคียงกัน คำยืมในยุคก่อนประวัติศาสตร์และอื่น ๆ ที่ยังไม่รู้ นอกจากนั้นภาษาตระกูลออสโตรนีเซียนอาจจะมีความสัมพันธ์กับตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ซึ่งมีจุดเริ่มต้นในบริเวณชายฝั่งของจีนภาคเหนือและภาคตะวันออก ความหลากหลายของตระกูลภาษาไท-กะไดในทางตอนใต้ของประเทศจีนบ่งบอกถึงมีความสัมพันธ์กับถิ่นกำเนิดของภาษา ผู้พูดภาษาสาขาไทอพยพจากตอนใต้ของจีนลงทางใต้เข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แต่ครั้งโบราณ เข้าสู่ดินแดนที่เป็นประเทศไทยและลาวบริเวณนี้เป็นบริเวณที่พบผู้พูดภาษาในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก ชื่อ "ไท-กะได" มาจากการจัดแบ่งตระกูลภาษาออกเป็นสองสาขาคือ "ไท" และ "กะได" ซึ่งเลิกใช้แล้ว เนื่องจากกะไดจะเป็นกลุ่มภาษาที่เป็นไปได้ก็ต่อเมื่อมีกลุ่มภาษาไทรวมอยู่ด้วย ในบางบริบทคำว่ากะไดจึงใช้เรียกตระกูลภาษาไท-กะไดทั้งตระกูล แต่บางบริบทก็จำกัดการใช้คำนี้ให้แคบลง โดยหมายถึงกลุ่มภาษาขร้าที่เป็นส่วนหนึ่งของตระกูลภาษานี้. ษาไทใหญ่ หรือ ภาษาฉาน (ไทใหญ่:, ความไท, /kwáːm.táj/; Shan language) เป็นภาษาตระกูลไท-กะได ใช้พูดในภาคเหนือของประเทศพม่า ประเทศไทย และทางตอนใต้ของประเทศจีน มีเสียงวรรณยุกต์ 5 เสียง ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนผู้พูดที่แน่นอน เนื่องจากสงครามระหว่างพม่ากับไทใหญ่ ทำให้การเข้าไปศึกษาเกี่ยวกับชาวไทใหญ่ทำได้ยาก คาดว่ามีผู้พูดราว 4-30 ล้านคน มีอักษรเป็นของตนเอง 2 ชนิดคือ อักษรไทใหญ่ ใช้ในพม่า และอักษรไทใต้คง ใช้ในจีน แม้ว่าจะมีคำกล่าวว่า "อย่ากิ๋นอย่างม่าน อย่าตานอย่างไต" ซึ่งเปรียบเทียบวิถีชีวิตของชาวพม่าที่ให้ความสำคัญกับการกินอยู่ ซึ่งแตกต่างจากชาวไทใหญ่ที่ให้ความสำคัญแก่การทำบุญ ถึงกระนั้นไทใหญ่ก็รับวัฒนธรรม ศาสนา ตลอดจนถึงคำในภาษาพม่าเข้ามามาก จนคำไทใหญ่หลายถิ่นเป็นกวามไตลอแล คือไทใหญ่พูดคำพม่าปนไปหมด เช่นที่เมืองสีป้อและเมืองยางเป็นต้น.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษาไทใหญ่

ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษาไทใหญ่ มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กลุ่มภาษาไทภาษาไทใหญ่ประเทศจีนประเทศไทยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

กลุ่มภาษาไท

กลุ่มภาษาไท หรือ᩵ กลุ่มภาษาไต (Tai languages; 台語支, พินอิน: tái yǔ zhī) เป็นกลุ่มภาษาย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได ประกอบด้วยภาษาไทยในประเทศไทย ภาษาลาวในประเทศลาว ภาษาไทใหญ่ในรัฐฉานของประเทศพม่า และภาษาจ้วง หนึ่งในภาษาหลักของประเทศจีนตอนใต้.

กลุ่มภาษาไทและตระกูลภาษาไท-กะได · กลุ่มภาษาไทและภาษาไทใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทใหญ่

ษาไทใหญ่ หรือ ภาษาฉาน (ไทใหญ่:, ความไท, /kwáːm.táj/; Shan language) เป็นภาษาตระกูลไท-กะได ใช้พูดในภาคเหนือของประเทศพม่า ประเทศไทย และทางตอนใต้ของประเทศจีน มีเสียงวรรณยุกต์ 5 เสียง ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนผู้พูดที่แน่นอน เนื่องจากสงครามระหว่างพม่ากับไทใหญ่ ทำให้การเข้าไปศึกษาเกี่ยวกับชาวไทใหญ่ทำได้ยาก คาดว่ามีผู้พูดราว 4-30 ล้านคน มีอักษรเป็นของตนเอง 2 ชนิดคือ อักษรไทใหญ่ ใช้ในพม่า และอักษรไทใต้คง ใช้ในจีน แม้ว่าจะมีคำกล่าวว่า "อย่ากิ๋นอย่างม่าน อย่าตานอย่างไต" ซึ่งเปรียบเทียบวิถีชีวิตของชาวพม่าที่ให้ความสำคัญกับการกินอยู่ ซึ่งแตกต่างจากชาวไทใหญ่ที่ให้ความสำคัญแก่การทำบุญ ถึงกระนั้นไทใหญ่ก็รับวัฒนธรรม ศาสนา ตลอดจนถึงคำในภาษาพม่าเข้ามามาก จนคำไทใหญ่หลายถิ่นเป็นกวามไตลอแล คือไทใหญ่พูดคำพม่าปนไปหมด เช่นที่เมืองสีป้อและเมืองยางเป็นต้น.

ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษาไทใหญ่ · ภาษาไทใหญ่และภาษาไทใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ตระกูลภาษาไท-กะไดและประเทศจีน · ประเทศจีนและภาษาไทใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ตระกูลภาษาไท-กะไดและประเทศไทย · ประเทศไทยและภาษาไทใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อเชียตะวันออกเฉียงใต้, อุษาคเนย์ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ซึ่งทิศเหนือติดจีน ทิศตะวันตกติดอินเดีย ทิศตะวันออกติดปาปัวนิวกินี และทิศใต้ติดออสเตรเลีย ภูมิภาคดังกล่าวตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีปหลายแผ่นที่ยังมีการไหวสะเทือนรุนแรงและการปะทุของภูเขาไฟอยู่ต่อเนื่อง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งได้ภาคภูมิศาสตร์ได้สองภาค ได้แก่ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แผ่นดินใหญ่หรืออินโดจีน ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และมาเลเซียตะวันตก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภาคพื้นสมุทร ประกอบด้วยบรูไน มาเลเซียตะวันออก ติมอร์-เลสเต อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร.

ตระกูลภาษาไท-กะไดและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · ภาษาไทใหญ่และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษาไทใหญ่

ตระกูลภาษาไท-กะได มี 55 ความสัมพันธ์ขณะที่ ภาษาไทใหญ่ มี 17 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 6.94% = 5 / (55 + 17)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ตระกูลภาษาไท-กะไดและภาษาไทใหญ่ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: