โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตงฟางปุ๊ป้ายและหลิว เสวี่ยหัว

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ตงฟางปุ๊ป้ายและหลิว เสวี่ยหัว

ตงฟางปุ๊ป้าย vs. หลิว เสวี่ยหัว

ตงฟางปุ๊ป้าย หรือสำเนียงฮกเกี้ยนว่า ตังฮึงปุ๊กป้าย (จีนตัวเต็ม: 東方不敗; จีนตัวย่อ: 东方不败; พินอิน: Dōngfāng Bùbài) เป็นตัวละครสำคัญตัวหนึ่งในนิยายกำลังภายในเรื่อง กระบี่เย้ยยุทธจักร หรือ เดชคัมภีร์เทวดา เป็นประมุขพรรคสุริยันจันทรา แห่งผาไม้ดำ บรรลุยอดวิชาทานตะวันถึงขั้นไร้เทียมทาน วิชานี้ฝึกได้เฉพาะผู้ชายเท่านั้น และผู้ฝึกต้องตอนตัวเองเสียก่อนมิเช่นนั่นจะถูกธาตุไฟเข้าแทรก ทำให้ผู้ฝึกวิชานี้กลายเป็นครึ่งหญิงครึ่งชาย ตงฟางรวบรวมชนเผ่าชาวเขาได้เป็นจำนวนมาก หวังล้มล้างราชสำนักและตั้งตัวเป็นใหญ่แทน โดยคำว่า "ตงฟางปุ๊ป้าย" นั้นแปลว่า บูรพาไม่แพ้ เป็นผู้มีวรยุทธสูงส่งพิสดาร เคลื่อนที่ได้รวดเร็วในพริบตา สามารถใช้เข็มแทนกระบี่เป็นอาวุธเล่นงานศัตรู ตงฟางปุ๊ป้ายจับ เย่นหวอสิง อดีตประมุขไปขังไว้ใต้ทะเลสาบนับสิบปี แล้วตั้งตนเป็นประมุขแทน ต่อมา เล่งฮู้ชง มาช่วยเหลือไว้ ตงฟางปุ๊ป้ายรักและเทิดทูน ธิดาเทพอิ๋งอิ๋ง ลูกสาวของเย่นหวอสิงมาก เพราะอิจฉาในความงามของอิ๊งอิ๋ง แต่ไม่เคยริษยา ตงฟางปู้ไป้มีคนรักเป็นผู้หญิงชื่อซือซือซึ่งเป็นคนรักตั้งแต่สมัยตงฟางปุ๊ป้ายยังคงเป็นชายอยู่ หลังจากตงฟางปุ๊ป้ายตอนตนเองเพื่อฝึกวิชาก็ได้มีลักษณะร่างกายและจิตใจเปลี่ยนเป็นหญิงไปเรื่อย ๆ แต่ซือซือก็ยังคงซื่อสัตย์รักใคร่และอยู่เคียงข้างตงฟางปุ๊ป้ายอยู่ตลอดเวลาและพร้อมจะทำทุกอย่างตามที่ตงฟางปุ๊ป้ายบัญชา ปรกติตงฟางปู๋ไปอาศัยอยู่กระท่อมในอุทยานใช้ชีวิตเรียบง่าย และโปรดการปักผ้าเป็นที่สุด ต่อมาเย่นหวอสิง เล่งหูชง และพรรคพวก เข้ามาจู่โจมที่ผาไม้ดำ ซึ่งในขณะนั้นเล่งหูชงไม่รู้ว่านางที่หลับนอนกับตนนั้นมิใช่ตงฟางปุ๊ป้าย แต่จริง ๆ แล้วคือ ซือซือ ซึ่งเป็นหญิงคนรักของตงฟางนั่นเอง ขณะสู้กับเล่งหูชงตงฟางปุ๊ป้ายเสียสมาธิ ทำให้พลาดท่าถูกทำร้ายจนสาหัส อันที่จริงแล้ว ตงฟางปุ๊ป้ายนั้นปรากฏอยู่ในกระบี่เย้ยยุทธจักรเพียงแค่ไม่กี่หน้า และเป็นกะเทยที่ไม่มีเค้าความสวยงามเลย แต่ทว่าเมื่อได้มีการดัดแปลงมาเป็นละครโทรทัศน์หรือภาพยนตร์หลายต่อหลายเรื่องแล้ว มักกำหนดให้ตัวละครตัวนี้กลายเป็นคนสวย หรือให้นักแสดงหญิงที่สวยมารับบทนี้อยู่เสมอ ๆ เช่น หลิน ชิงเสีย ในฉบับภาพยนตร์ในปี.. หลิว เสวี่ยหัว (Leanne Liu, Liu Hsueh-hua; จีนตัวเต็ม: 劉雪華; จีนตัวย่อ: 刘雪华; พินอิน: Liú Xuěhuá; เกิด: 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1959 ที่กรุงปักกิ่ง (ประเทศจีน) ดารานักแสดงหญิงชาวจีน มีผลงานโด่งดังเป็นที่รู้จักหลายเรื่องทั้งละครโทรทัศน์และภาพยนตร์ โดยเฉพาะในยุคทศวรรษที่ 80 และ 90 การศึกษา หลิว เสวี่ยหัวจบโรงเรียนการแสดงจากฮ่องกง หลิว เสวี่ยหัว เริ่มต้นการเป็นนักแสดงในสังกัดชอว์บราเดอส์ของฮ่องกง ในช่วงปลายยุคทศวรรษที่ 70 ตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 20 ปี จนกระทั่งปี ค.ศ. 1980 จึงได้ย้ายไปไต้วหวันและรับงานโดยเฉพาะละครโทรทัศน์เป็นพิเศษ มีผลงานหลายเรื่องที่ประสบความสำเร็จ ทั้ง บทซูสีไทเฮา จากละครโทรทัศน์เรื่องเดียวกัน ในปี ค.ศ. 1984, เปาบุ้นจิ้น ในตอน ประหารราชบุตรเขย, ชิวเหนียง สะใภ้ยอดกตัญญู และแม่ทัพแดนเถื่อน ในปี ค.ศ. 1993, บทตงฟางปุ๊ป้าย จาก กระบี่เย้ยยุทธจักร ในปี ค.ศ. 1999 และเซี่ยวกงเหรินไทเฮา ใน เจินหวน จอมนางคู่แผ่นดิน ในปี ค.ศ. 2012 เป็นต้น ชีวิตครอบครัว หลิว เสวี่ยหัวสมรสกับเติ้ง อวี้คุน สามีซึ่งเป็นนักเขียนบทภาพยนตร์และผู้อำนวยการสร้าง ซึ่งทั้งคู่เคยร่วมงานกันมาจากละครโทรทัศน์ชุดเปาบุ้นจิ้น ในปี ค.ศ. 1999 แต่ในกลางปี ค.ศ. 2011 เติ้ง อวี้คุน ประสบอุบัติเหตุจากอาคารที่พักอาศัยจนกระทั่งถึงแก่ชีวิต.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ตงฟางปุ๊ป้ายและหลิว เสวี่ยหัว

ตงฟางปุ๊ป้ายและหลิว เสวี่ยหัว มี 4 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พินอินกระบี่เย้ยยุทธจักรอักษรจีนตัวย่ออักษรจีนตัวเต็ม

พินอิน

นอิน หรือ ฮั่นยฺหวี่พินอิน (แปลว่า สะกดเสียงภาษาจีน) คือระบบในการถอดเสียงภาษาจีนมาตรฐาน ด้วยตัวอักษรละติน ความหมายของพินอินคือ "การรวมเสียงเข้าด้วยกัน" (โดยนัยก็คือ การเขียนแบบสัทศาสตร์ การสะกด การถอดเสียง หรือการทับศัพท์) พินอินเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2501 และเริ่มใช้กันในปี พ.ศ. 2522 โดย รัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยใช้แทนที่ระบบการถอดเสียงแบบเก่า เช่น ระบบเวดและไจลส์ และระบบจู้อิน นอกจากนี้ ยังมีการออกแบบระบบอื่น ๆ สำหรับนำไปใช้กับภาษาพูดของจีนในถิ่นต่าง ๆ และภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช้ภาษาฮั่น ในสาธารณรัฐประชาชนจีนด้วย นับแต่นั้นมา พินอินก็เป็นที่ยอมรับจากสถาบันนานาชาติหลายแห่ง รวมทั้งรัฐบาลสิงคโปร์ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน และสมาคมหอสมุดอเมริกัน โดยถือว่าเป็นระบบการถอดเสียงที่เหมาะสมสำหรับภาษาจีนกลาง ครั้นปี พ.ศ. 2522 องค์การมาตรฐานนานาชาติ (ISO) ก็ได้รับเอาพินอินเป็นระบบมาตรฐาน (ISO 7098) ในการถ่ายทอดเสียงภาษาจีนปัจจุบันด้วยอักษรโรมัน (the standard romanization for modern Chinese) สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้ก็คือ พินอินนั้น เป็นการทับศัพท์ด้วยอักษรโรมัน (Romanization) มิใช่การถอดเสียงแบบภาษาอังกฤษ (Anglicization) นั่นคือ การกำหนดให้ใช้ตัวอักษรตัวหนึ่ง สำหรับแทนเสียงหนึ่ง ๆ ในภาษาจีนไว้อย่างตายตัว เช่น b และ d ในระบบพินอิน เป็นเสียง "ป" และ "ต" ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างจากระบบการออกเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าอังกฤษ ฝรั่งเศส หรือภาษาอื่นในยุโรป ขณะที่อักษร j หรือ q นั้นมีเสียงไม่ตรงกับในภาษาอังกฤษเลย กล่าวสั้น ๆ ก็คือ พินอินมุ่งที่จะใช้อักษรโรมัน เพื่อแทนเสียงใดเสียงหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อความสะดวกในการเขียน มิได้ยืมเสียงจากระบบของอักษรโรมันมาใช้ การใช้ระบบนี้นอกจากทำให้ชาวต่างชาติเขียนอ่านภาษาจีนได้สะดวกแล้ว ยังสามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ได้สะดวกอย่างยิ่งด้วย ต่อไปนี้เป็นการถอดเสียงภาษาจีน (ที่เขียนด้วยอักษรโรมันในระบบพินอิน) ด้วยอักษรไทย โปรดสังเกตว่า บางหน่วยเสียงในภาษาจีนไม่มีหน่วยเสียงที่ตรงกันในภาษาไทย จึงต้องอนุโลมใช้อักษรที่ใกล้เคียง ในที่นี้จึงมีอักษรไทยบางตัว ที่ต้องใช้แทนหน่วยเสียงในภาษาจีนมากกว่าหนึ่งหน่วยเสียง ทั้งนี้เพื่อเป็น "เกณฑ์อย่างคร่าว ๆ" สำหรับการเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีน.

ตงฟางปุ๊ป้ายและพินอิน · พินอินและหลิว เสวี่ยหัว · ดูเพิ่มเติม »

กระบี่เย้ยยุทธจักร

กระบี่เย้ยยุทธจักร เฉี่ยเหงากังโอ๊ว หรือ เซี่ยวเอ้าเจียงหู ผลงานของกิมย้ง (金庸) เรื่องนี้ น.นพรัตน์ แปลครั้งแรกชื่อเรื่อง ผู้กล้าหาญคะนอง ในปี..

กระบี่เย้ยยุทธจักรและตงฟางปุ๊ป้าย · กระบี่เย้ยยุทธจักรและหลิว เสวี่ยหัว · ดูเพิ่มเติม »

อักษรจีนตัวย่อ

Hànzì ฮั่นจื้อ แปลว่า ภาษาฮั่น หรือ ภาษาจีนกลาง เขียนด้วยอักษรจีนตัวย่อ แผนภาพออยเลอร์แสดงกลุ่มของการเปลี่ยนแปลงอักษรจีนตัวเต็มไปเป็นอักษรจีนตัวย่อ อักษรจีนตัวย่อ (เจี่ยนถี่จื้อ/เจี่ยนฮั่วจื้อ) เป็นหนึ่งในสองรูปแบบอักษรจีนมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบัน อักษรจีนตัวย่อประดิษฐ์และเริ่มใช้โดยรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) ใน พ.ศ. 2492 เหตุที่ต้องเรียกว่าอักษรจีนตัวย่อ หรือ Simplified Chinese character ก็เพื่อให้แตกต่างจากอักษรจีนมาตรฐานอีกรูปแบบหนึ่งที่ในปัจจุบัน นั่นคือ อักษรจีนตัวเต็ม หรือ Traditional Chinese Character (อักษรจีนดั้งเดิม) อักษรจีนตัวเต็มได้ใช้ใน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนก่อนการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย ส่วนอักษรจีนตัวย่อ ใช้กันใน สาธารณรัฐประชาชนจีน สิงคโปร์ และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนหลังการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนมากยังคงใช้อักษรจีนตัวเต็มเป็นหลัก แต่สำหรับการสอนภาษาจีนตามสถานศึกษาในประเทศไทยส่วนมากจะใช้อักษรจีนตัวย่อ เพื่อให้เป็นแบบแผนเดียวกันกับสาธารณรัฐประชาชนจีน.

ตงฟางปุ๊ป้ายและอักษรจีนตัวย่อ · หลิว เสวี่ยหัวและอักษรจีนตัวย่อ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรจีนตัวเต็ม

Hànzì ฮั่นจื้อ แปลว่า ตัวอักษรจีน เขียนด้วยอักษรจีนตัวเต็ม อักษรจีนตัวเต็ม เป็นหนึ่งในสองรูปแบบอักษรจีนมาตรฐานที่ใช้กันทั่วโลกในปัจจุบัน ปรากฏครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฮั่น (พ.ศ. 337 - 763) และได้ใช้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ในสมัยราชวงศ์เหนือใต้ ที่ต้องเรียกว่าอักษรจีนตัวเต็ม หรืออักษรจีนดั้งเดิม ก็เพื่อให้แตกต่างจากอักษรจีนมาตรฐานอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้ในปัจจุบัน นั่นคือ อักษรจีนตัวย่อ ซึ่งประดิษฐ์และเริ่มใช้โดยรัฐบาลของ สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) ใน พ.ศ. 2492 อักษรจีนตัวเต็มได้ใช้ใน ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนก่อนการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย ส่วนอักษรจีนตัวย่อ ใช้กันใน สาธารณรัฐประชาชนจีน สิงคโปร์ และชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลบางชุมชนที่เริ่มตั้งชุมชนหลังการใช้อักษรจีนตัวย่ออย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ชาวไทยเชื้อสายจีนส่วนมากยังคงใช้อักษรจีนตัวเต็มเป็นหลัก แต่สำหรับการสอนภาษาจีนตามสถานศึกษาในประเทศไทยส่วนมากจะใช้อักษรจีนตัวย่อ เพื่อให้เป็นแบบแผนเดียวกันกับสาธารณรัฐประชาชนจีน.

ตงฟางปุ๊ป้ายและอักษรจีนตัวเต็ม · หลิว เสวี่ยหัวและอักษรจีนตัวเต็ม · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ตงฟางปุ๊ป้ายและหลิว เสวี่ยหัว

ตงฟางปุ๊ป้าย มี 9 ความสัมพันธ์ขณะที่ หลิว เสวี่ยหัว มี 12 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 4, ดัชนี Jaccard คือ 19.05% = 4 / (9 + 12)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ตงฟางปุ๊ป้ายและหลิว เสวี่ยหัว หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »