โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ด้วงงวงมะพร้าว

ดัชนี ด้วงงวงมะพร้าว

้วงงวงมะพร้าว หรือ ด้วงสาคู หรือ ด้วงลาน หรือ แมงหวัง ในภาษาใต้ (Red palm weevil, Red-stripes palm weevil, Asian palm weevil, Sago palm weevil) เป็นด้วงงวงชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rhynchophorus ferrugineus จัดว่าเป็นด้วงงวงขนาดกลาง ตัวเต็มวัย ปีกมีสีน้ำตาลดำ อกมีสีน้ำตาลและมีจุดสีดำ มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 25-28 มิลลิเมตร ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีขนาดและลักษณะภายนอกคล้ายคลึงกัน ต่างกันที่ตัวผู้มีขนที่ด้านบนของงวงใกล้ส่วนปลาย ตัวหนอนมีสีเหลืองปนน้ำตาล ดักแด้เป็นปลอกทำด้วยเศษชิ้นส่วนจากพืชที่กินเป็นอาหาร โดยด้วงงวงชนิดนี้นับเป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง โดยเฉพาะพืชจำพวกปาล์ม เช่น มะพร้าวหรือสาคู หรือลาน ในประเทศไทยพบมากที่ภาคใต้ ตัวหนอนจะอาศัยและกัดกินบริเวณยอดอ่อน ตัวเต็มวัยจะเกาะกินเนื้อเยื่อด้านในของลำต้นลึกจนเป็นโพรง ซึ่งอาจทำให้ต้นตายได้ โดยจะบินออกหากินในเวลากลางวัน สามารถบินได้ไกลถึง 900 เมตร และอาจซ้ำกินซ้ำเติมจากที่ด้วงแรดมะพร้าว (Oryctes rhinoceros) ซึ่งเป็นด้วงกว่างกินแล้วด้วย ตัวเมียใช้เวลาวางไข่นาน 5-8 สัปดาห์ ในปริมาณเฉลี่ย 400 ฟอง กระจายพันธุ์อยู่ตั้งแต่อินเดียจนถึงซามัว แต่ปัจจุบันได้แพร่กระจายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นไปในทวีปต่าง ๆ ของโลก ตัวหนอนในชามที่รอการบริโภค แต่ในปัจจุบัน ตัวหนอนของด้วงงวงชนิดนี้กำลังเป็นที่นิยมของการเพาะเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจ โดยนิยมบริโภคกัน มีราคาซื้อขายที่สูงถึงกิโลกรัมละ 200-300 บาท โดยระยะจากไข่-หนอน-ดักแด้ใช้เวลา 60 วัน ตัวเต็มวัยมีอายุ 2-3 เดือน.

38 ความสัมพันธ์: บาทชนิดพันธุ์ต่างถิ่นพ.ศ. 2333พืชกลางวันการกินการตั้งชื่อทวินามกิโลกรัมภาษาไทยถิ่นใต้ภาคใต้ (ประเทศไทย)มะพร้าวมิลลิเมตรลานสัตว์สัตว์ขาปล้องสาคูสีดำสีน้ำตาลสีเหลืองสปีชีส์หนอนอัปโหลดและดาวน์โหลดอันดับด้วงจุดทวีปดักแด้ด้วงกว่างด้วงงวงด้วงแรดมะพร้าวความตายประเทศอินเดียประเทศซามัวประเทศไทยปาล์ม (แก้ความกำกวม)แมลงโอเคเนชั่นเพศชายเมตร

บาท

ท อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ด้วงงวงมะพร้าวและบาท · ดูเพิ่มเติม »

ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น

อกบัวตอง language.

ใหม่!!: ด้วงงวงมะพร้าวและชนิดพันธุ์ต่างถิ่น · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2333

ทธศักราช 2333 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ด้วงงวงมะพร้าวและพ.ศ. 2333 · ดูเพิ่มเติม »

พืช

ืช เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหญ่ประเภทหนึ่ง (มีประมาณ 350,000 สปีชีส์ ถูกระบุแล้ว 287,655 สปีชีส์ เป็นพืชดอก 258,650 ชนิด และพืชไม่มีท่อลำเลียง 18,000 ชนิด) อยู่ในอาณาจักรพืช (Kingdom Plantea) ประกอบด้วย ไม้ยืนต้น ไม้ดอก พืชล้มลุก และเฟิร์น พบได้ทั้งบนบกและในน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตที่เนื้อเยื่อส่วนใหญ่ประกอบด้วยหลายเซลล์ นิวเคลียสมีผนังเซลล์ ห่อหุ้ม เคลื่อนที่ไม่ได้ ได้แค่เอียงตัว จะสามารถเห็นได้ชัดเจน.เมื่อมีแดดส่อง พืชจะเอียงตัวไปที่แดด ไม่มีอวัยวะเกี่ยวกับความรู้สึก มีคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นสารสีเขียว ช่วยในการสังเคราะห์และเจริญเติบโต.

ใหม่!!: ด้วงงวงมะพร้าวและพืช · ดูเพิ่มเติม »

กลางวัน

วลา 13:00 UTC ของวันที่ 2 เมษายน กลางวันคือพื้นที่สว่างในภาพ กลางวัน (Daytime) โดยทั่วไปหมายถึงช่วงเวลาที่แสงอาทิตย์ได้ฉายลงบนพื้นผิวโลก หรือเท่ากับช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ขึ้นไปจนถึงดวงอาทิตย์ตก เมื่อโลกหมุนไปตำแหน่งของกลางวันก็จะเปลี่ยนไป ความยาวนานของกลางวันขึ้นอยู่กับตำแหน่งบนโลกและความเอียงของแกนโลกที่หันเข้าหาดวงอาทิตย์ ส่วนด้านที่แสงอาทิตย์ไม่ได้ฉายลงบนโลกเรียกว่ากลางคืน ทำนองเดียวกับดาวเคราะห์อื่นๆ กลางวันคือช่วงเวลาที่พื้นผิวของดาวเคราะห์นั้นได้รับแสงสว่างจากดาวฤกษ์ในระบบสุริยะของตนเอง.

ใหม่!!: ด้วงงวงมะพร้าวและกลางวัน · ดูเพิ่มเติม »

การกิน

การรับทานอาหารมักเป็นกิจกรรมทางสังคม การกิน หรือ การบริโภค เป็นการนำอาหารเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตและมีพลังงาน หมวดหมู่:อาหารและเครื่องดื่ม หมวดหมู่:สรีรวิทยา หมวดหมู่:กิจวัตรของมนุษย์.

ใหม่!!: ด้วงงวงมะพร้าวและการกิน · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

ใหม่!!: ด้วงงวงมะพร้าวและการตั้งชื่อทวินาม · ดูเพิ่มเติม »

กิโลกรัม

กิโลกรัม อักษรย่อ กก. (kilogram: kg) เป็นหน่วยฐานเอสไอของมวล นิยามไว้เท่ากับมวลของมวลต้นแบบระหว่างชาติของกิโลกรัม โดยสร้างจากโลหะเจือแพลตินัม-อิริเดียม.

ใหม่!!: ด้วงงวงมะพร้าวและกิโลกรัม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทยถิ่นใต้

ษาไทยถิ่นใต้ หรือ ภาษาตามโพร (Dambro) เป็นภาษาถิ่น ที่ใช้ในภาคใต้ของประเทศไทย นับแต่จังหวัดชุมพรลงไปถึงชายแดนประเทศมาเลเซียรวม 14 จังหวัด และตอนล่างของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อีกทั้งบางหมู่บ้าน ในรัฐกลันตัน, รัฐปะลิส, รัฐเกอดะฮ์ (ไทรบุรี), รัฐเประก์ และรัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย รวมถึงบางหมู่บ้าน ในเขตตะนาวศรี ทางตอนใต้ของประเทศพม่าด้วย ภาษาไทยถิ่นใต้ มีเพียงภาษาพูดเท่านั้น ไม่มีตัวอักษรเขียนเฉ.

ใหม่!!: ด้วงงวงมะพร้าวและภาษาไทยถิ่นใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ภาคใต้ (ประเทศไทย)

ใต้ เป็นภูมิภาคหนึ่งของไทย ตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายู ขนาบด้วยอ่าวไทยทางฝั่งตะวันออก และทะเลอันดามันทางฝั่งตะวันตก มีเนื้อที่รวม 70,715.2 ตารางกิโลเมตร ความยาวจากเหนือจรดใต้ประมาณ 750 กิโลเมตร ทุกจังหวัดของภาคมีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเล ยกเว้นจังหวัดยะลาและจังหวัดพัทลุง.

ใหม่!!: ด้วงงวงมะพร้าวและภาคใต้ (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

มะพร้าว

มะพร้าว เป็นพืชยืนต้นชนิดหนึ่ง อยู่ในตระกูลปาล์ม มะพร้าว เป็นพืชซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้ในหลายทาง เช่น น้ำและเนื้อมะพร้าวอ่อนใช้รับประทาน เนื้อในผลแก่นำไปขูดและคั้นทำกะทิ กะลานำไปประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ เช่น กระบวย โคมไฟ ฯลฯ นอกจากนี้มะพร้าวจัดเป็นพรรณไม้มงคลชนิดหนึ่ง ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง ได้กำหนดให้ปลูกมะพร้าวไว้ทางทิศตะวันออกของบ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคล.

ใหม่!!: ด้วงงวงมะพร้าวและมะพร้าว · ดูเพิ่มเติม »

มิลลิเมตร

มิลลิเมตร อักษรย่อ มม. (Millimetre: mm) เป็นหน่วยวัดความยาว มีขนาดเท่ากับ 1 x 10-3 เมตร.

ใหม่!!: ด้วงงวงมะพร้าวและมิลลิเมตร · ดูเพิ่มเติม »

ลาน

ลาน เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ปาล์ม ใบเดี่ยว ใบใหญ่คล้ายพัด ช่อดอกขนาดใหญ่ทรงกรวย ดอกสีเหลืองอ่อน ผลแก่เต็มที่สีเหลืองกลมรี มีเปลือกหุ้ม สีเขียว เนื้อในสีขาว รสหวาน ผลแก่ เปลือกแข็ง สีดำ ตรงกลางผลกลวง มีน้ำอยู่ข้างใน ออกผลครั้งเดียวในชีวิต จากนั้นจะตาย ใบลานใช้ทำเครื่องจักสาน มุงหลังคา ลำต้นทำครก ผลกินสดหรือเชื่อม ในทางยา เปลือกลานใช้เป็นยาระบาย ใบลานเผาไฟใช้เป็นยาดับพิษ แก้อักเสบ รากใช้ฝนแก้ร้อน ขับเหงื่อ.

ใหม่!!: ด้วงงวงมะพร้าวและลาน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ด้วงงวงมะพร้าวและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ขาปล้อง

ัตว์ขาปล้อง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Arthropoda อาร์โธรโพดา) หรือที่รู้จักกันดีและนิยมเรียกว่า อาร์โธพอด เป็นไฟลัมหลักของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ที่มีขนาดของลำตัวแบ่งเป็นส่วน ๆ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนอกและส่วนท้อง ซึ่งสัตว์ขาปล้องบางจำพวกอาจจะมีส่วนหัวและส่วนอกที่เชื่อต่อกันเป็นส่วนเดียวกันด้วยก็ได้ จะมีเปลือกแข็งหุ้มบริเวณลำตัวสำหรับทำหน้าที่ป้องกันและช่วยพยุงร่างกายที่อ่อนนิ่มที่ซ่อนอยู่ภายใต้เปลือกแข็ง ชั้นคิวติเคิลเปลี่ยนไปตามรายละเอียดของรูปร่าง ประกอบด้วยสามชั้นคือ ชั้นผิวนอก (epicuticle) เป็นชั้นนอกที่บาง มีขี้ผึ้งเคลือบเพื่อป้องกันความชื้น ชั้นนอก (exocuticle) ประกอบด้วยไคติน และโปรตีนที่ทำให้แข็ง และชั้นใน (endocuticle) ที่ประกอบด้วยไคตินและโปรตีนที่ไม่ทำให้แข็ง ชั้นนอกและชั้นในเรียกรวมกันว่า procuticle และที่สำคัญคือช่วยพยุงให้ร่างกายของพวกสัตว์ขาปล้องมีรูปร่างที่แน่นอน.

ใหม่!!: ด้วงงวงมะพร้าวและสัตว์ขาปล้อง · ดูเพิ่มเติม »

สาคู

ู อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ด้วงงวงมะพร้าวและสาคู · ดูเพิ่มเติม »

สีดำ

ีดำ เป็นสีของวัตถุที่ไม่สะท้อนแสงที่สเปกตรัมสะท้อนออกมา วัตถุสีดำจะดูดกลืนทุกสีในสเปกตรัม จึงไม่สะท้อนสีใด ๆ ออกมาเลย หลายคนคิดว่าสีดำคือ "การผสมทุกสีเข้าด้วยกัน" แต่ความเป็นจริงแล้ว สีที่สามารถสะท้อนแสงคืนได้หมดทุกสีคือ สีขาว บางครั้งสีดำบ่งบอกถึงความว่างเปล่า และไม่มีสีสัน แต่สีดำเป็นสีสีหนึ่ง สามารถบ่งบอกคุณลักษณ์ต่างๆ ของวัตถุ เช่น แมวสีดำ หรือภาพศิลป์สีดำ.

ใหม่!!: ด้วงงวงมะพร้าวและสีดำ · ดูเพิ่มเติม »

สีน้ำตาล

ีน้ำตาล (Brown) เป็นสีชนิดหนึ่งที่คล้ายกับสีของลำต้นของต้นไม้ ออกสีส้มแก่ๆ ผสมกับสีเขียวไปด้วย พบเห็นได้ทั่วไป เช่น กิ่งและลำต้นของต้นไม้ เป็นต้น เป็นสีที่ไม่ค่อยจะสะท้อนแสงเท่าไรนัก จัดอยู่ในกลุ่มจำพวกสีเย็น.

ใหม่!!: ด้วงงวงมะพร้าวและสีน้ำตาล · ดูเพิ่มเติม »

สีเหลือง

ีเหลือง เป็น 1 ใน 3 แม่สี ร่วมกับสีแดง และสีน้ำเงิน โดยปกติสีจะมีอยู่สองโทน คือ สีโทนร้อน และ สีโทนเย็น แต่สีเหลืองเป็นสีที่อยู่ตรงกลางระหว่าง สีโทนร้อน และ สีโทนเย็น จึงสามารถเลือกใช้สีเหลืองเข้าไปผสมผสานได้กับสีทั้งสองโทน ซึ่งนอกจากสีเหลืองแล้วยังมีสีม่วงอีกสีหนึ่งที่มีลักษณะดังกล่าว.

ใหม่!!: ด้วงงวงมะพร้าวและสีเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: ด้วงงวงมะพร้าวและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

หนอน

องหนอน Proserpinus proserpina หนอน (larva) เป็นคำที่ใช้เรียกชื่อตัวอ่อนของแมลงที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและการเจริญเติบโตแบบ Holometabola โดยมี 4 ระยะการเจริญเติบโต คือ ไข่ หนอน ดักแด้ และ ตัวเต็มวัย ตามลำดับ ลักษณะของตัวหนอนจะไม่มีตารวม มีปีกที่เจริญอยู่ภายใน ตัวหนอนมีการเจริญเติบโตขึ้นไปได้หลายระยะ โดยการลอกคราบจนถึงระยะสุดท้ายจะลอกคราบกลายเป็นดักแด้ พบได้ในแมลงจำพวก แมลงช้าง แมลงปีกใส ด้วง หนอนปลอกน้ำ ผีเสื้อ แมลงวัน หมัด ผึ้ง ต่อ แตน และ มด คำว่า หนอน อาจใช้เรียกสิ่งมีชีวิตจำพวก หนอนพยาธิ (worm) เช่น หนอนตัวกลม หนอนตัวแบน รวมทั้งไส้เดือนและหนอนทะเลด้ว.

ใหม่!!: ด้วงงวงมะพร้าวและหนอน · ดูเพิ่มเติม »

อัปโหลดและดาวน์โหลด

ในทางคอมพิวเตอร์ อัปโหลด (upload; ศัพท์บัญญัติว่า บรรจุขึ้น) และ ดาวน์โหลด (download, ศัพท์บัญญัติว่า บรรจุลง) เป็นการส่งผ่านข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างคอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง การส่งข้อมูล แฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรม จากคอมพิวเตอร์ที่เราใช้อยู่ หมายถึงการอัปโหลด ขณะเดียวกัน การรับข้อมูล แฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรมเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้อยู่ หมายถึงการดาวน์โหลด ตัวอย่างเช่นว่าคัดลอกจากคอมพิวเตอร์แม่ข่ายเข้ามาเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ของเราเอง สำหรับทาง ไอเอสพี กำหนดการส่งข้อมูลจากลูกค้า เรียกว่าการอัปโหลด และการรับข้อมูลถือเป็นการดาวน์โหลด โดยทั่วไปที่เข้าใจกัน คำว่าดาวน์โหลดหมายถึงการรับไฟล์ และอัปโหลดหมายถึงการส่งไฟล์ การดาวน์โหลดต่างๆ ได้ทั้งเรื่องการศึกษา ความบันเทิง เช่น ในกรณีดาวน์โหลด ลงเครื่องคอมพิวเตอร์ก็สามารถทำได้ เช่น ดาวน์โหลดเพลง MP3 ดาวน์โหลดโปรแกรมต่างๆ เป็นต้น หรือในกรณีดาวน์โหลดลงโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็ทำได้ เช่น ดาวน์โหลดริงโทน ดาวน์โหลดวอลล์เปเปอร์ ต่างๆ หรือจะเป็น ดาวน์โหลดSMS เป็นต้น หมวดหมู่:การส่งผ่านข้อมูล หมวดหมู่:คำศัพท์ de:Herunterladen es:Descargar (archivos) ru:Скачивание.

ใหม่!!: ด้วงงวงมะพร้าวและอัปโหลดและดาวน์โหลด · ดูเพิ่มเติม »

อันดับด้วง

้วง หรือ แมลงปีกแข็ง (Beetle) จัดเป็นแมลงในอันดับ Coleoptera ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นอันดับย่อยอีก 4 อันดับ (ดูในตาราง) จัดเป็นแมลงที่มีวงจรชีวิตสมบูรณ์ คือ เป็น ไข่, หนอน, ดักแด้ และตัวเต็มวัย ด้วง หรือ แมลงปีกแข็งนั้น นับเป็นแมลงที่มีจำนวนมากที่สุดในโลก กล่าวคือ มีประมาณร้อยละ 40 ของแมลงที่มีอยู่ทั้งหมด (ประมาณ 400,000 ชนิด) มีลักษณะเด่นโดยรวม คือ ในวัยเต็มตัวจะมีปีก 2 คู่ โดยปีกคู่หน้าเป็นปีกที่มีความแข็งเท่ากันหรือเกือบเท่ากันตลอดทั้งแผ่น เรียกว่า Elytra ซึ่งมาจากภาษากรีก (ἔλυτρον) ซึ่งหมายถึง แผ่น หรือ ปีก ส่วนปีกคู่หลังเป็นแผ่นปีกใหญ่ค่อนข้างโปร่งแสง เมื่อเวลาเกาะอยู่ปีกคู่หลังจะพับซ้อนกันอย่างมีระเบียบและซ่อนอยู่ภายใต้ปีกคู่หน้าอย่างมิดชิด และเมื่อต้องการบิน ปีกคู่หลังนี้จะกางออก โดยการเปิดกางออกของปีกคู่หน้าขึ้นก่อนที่จะเหยียดกางปีกคู่หลังนี้ออกมาบินอย่างรวดเร็ว เมื่อเวลาที่จะเกาะหรือคลาน จะหุบปีกโดยปีกคู่หน้าจะประกบกันสนิทเป็นเส้นตรงอยู่ตรงกลางลำตัว ปีกคู่หน้าจึงทำหน้าที่เสมือนเกราะป้องกันตัวและปีกคู่หลัง ในขณะที่บินปีกคู่หน้านี้จะไม่ช่วยในการบินแต่จะช่วยในการทรงตัว อย่างไรก็ตาม จะมีด้วงบางชนิดที่ปีกคู่หน้าเชื่อมติดกัน จึงไม่สามารถบินได้ และบางชนิดก็มีปีกคู่หน้าเล็กหรือสั้นกว่าลำตัวมากจนไม่สามารถปิดส่วนท้องได้สนิท.

ใหม่!!: ด้วงงวงมะพร้าวและอันดับด้วง · ดูเพิ่มเติม »

จุด

อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ด้วงงวงมะพร้าวและจุด · ดูเพิ่มเติม »

ทวีป

ทวีป หมายถึง แผ่นดินขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันบนพื้นโลก การแบ่งทวีปในโลกไม่มีมาตรฐานที่แน่นอน โดยทั่วไปทวีป ต้องเป็นพื้นกว้างใหญ่ ไม่รวมพื้นที่ที่จมอยู่ใต้น้ำ และมีเขตแดนเด่นชัดทางภูมิศาสตร.

ใหม่!!: ด้วงงวงมะพร้าวและทวีป · ดูเพิ่มเติม »

ดักแด้

ักแด้ของแมงอีนูน ดักแด้ เป็นช่วงชีวิตการเจริญเติบโตช่วงหนึ่งของแมลงหลายชนิด พัฒนามาจากหนอน หนอนที่เติบโตเต็มที่จะสร้างเส้นใยขึ้นเพื่อห่อหุ้มตนเอง แล้วอยู่นิ่งในถุงเส้นใยเพื่อพัฒนาร่างกายระยะหนึ่ง หลังจากที่ดักแด้พัฒนาแล้วก็จะออกจากถุงกลายเป็นตัวเต็มวัย ส่วนมากถุงดักแด้จะมีสีเหลือง สีน้ำตาล หรือสีดำ.

ใหม่!!: ด้วงงวงมะพร้าวและดักแด้ · ดูเพิ่มเติม »

ด้วงกว่าง

้วงกว่าง หรือ กว่าง หรือ แมงกว่าง หรือ แมงกวาง หรือ แมงคาม เป็นแมลงในวงศ์ย่อย Dynastinae จัดอยู่ในวงศ์ใหญ่ Scarabaeidae ในอันดับแมลงปีกแข็ง (Coleoptera).

ใหม่!!: ด้วงงวงมะพร้าวและด้วงกว่าง · ดูเพิ่มเติม »

ด้วงงวง

หมวดหมู่:ด้วง หมวดหมู่:ด้วงงวง.

ใหม่!!: ด้วงงวงมะพร้าวและด้วงงวง · ดูเพิ่มเติม »

ด้วงแรดมะพร้าว

ระวังสับสนกับด้วงงวงมะพร้าวหรือด้วงสาคู ดู ด้วงงวงมะพร้าว ด้วงแรดมะพร้าว หรือ ด้วงมะพร้าว (Coconut rhinoceros beetle, Indian rhinoceros beetle, Asian rhinoceros beetle) เป็นด้วงกว่างชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oryctes rhinoceros มีลำตัวสีน้ำตาลแดงเกือบดำ มีขนสีน้ำตาลอ่อนที่ด้านข้างของส่วนหัว อก ขา และด้านล่างของลำตัว ตัวผู้มีเขาคล้ายนอแรดที่ส่วนหัวค่อนข้างยาว ตัวเมียมีลักษณะคล้ายตัวผู้แต่มีเขาสั้นกว่า และที่ส่วนปลายของท้องด้านล่างมีขนเยอะกว่าตัวผู้ และมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ไม่มาก มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 37-45 มิลลิเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในอนุทวีปอินเดียและเอเชียอาคเนย์ โดยด้วงกว่างชนิดนี้ถือเป็นแมลงศัตรูพืชที่สำคัญมากของพืชจำพวกปาล์มและมะพร้าวในทวีปเอเชีย โดยตัวเต็มวัยจะเจาะกินยอดอ่อนในเวลากลางคืนทำให้ยอดอ่อนแตกออกมาเห็นใบหักเสียหาย ส่วนทางมะพร้าวหรือปาล์มที่ตัดทิ้งไว้บนดินภายในสวน ก็เป็นแหล่งเพาะอาศัยของตัวอ่อน โดยหลังจากวางไข่แล้วฟักเป็นตัวหนอนก็จะเจริญเติบโตกัดกินอยู่ด้านล่างหรืออยู่ในดิน ไข่มีทรงกลมมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3-4 มิลลิเมตร ฟักเป็นตัวในระยะเวลา 7-8 วัน หนอนมีสีขาวนวลมีอายุ 3-4 วัน มีส่วนหัวเป็นสีเหลืองปนน้ำตาล เป็นดักแด้ประมาณ 1 เดือน ตัวเต็มวัยมีอายุประมาณ 2-3 เดือน นับว่าเป็นด้วงกว่างที่มีระยะเวลาเจริญเติบโตเร็วมาก.

ใหม่!!: ด้วงงวงมะพร้าวและด้วงแรดมะพร้าว · ดูเพิ่มเติม »

ความตาย

กะโหลกศีรษะมนุษย์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความตาย ความตาย หรือ การเสียชีวิต เป็นการสิ้นสุดการทำหน้าที่ทางชีวภาพอันคงไว้ซึ่งสิ่งมีชีวิต ปรากฏการณ์สามัญที่นำมาซึ่งความตาย ได้แก่ โรคชรา การถูกล่า ทุพโภชนาการ โรคภัย อัตวินิบาตกรรม (การฆ่าตัวตาย) ฆาตกรรม ความอดอยาก การขาดน้ำ และอุบัติเหตุ หรือการบาดเจ็บภายในร่างกาย ร่างกายหรือศพของสิ่งมีชีวิตจะเริ่มเน่าสลายไม่นานหลังเสียชีวิต ความตายถือว่าเป็นโอกาสที่เศร้าหรือไม่น่ายินดีโอกาสหนึ่ง สาเหตุมาจากความผูกพันหรือความรักที่มีต่อบุคคลผู้เสียชีวิตนั้น หรือการกลัวความตาย โรคกลัวศพ ความกังวลใจ ความเศร้าโศก ความเจ็บปวดทางจิต ภาวะซึมเศร้า ความเห็นอกเห็นใจ ความสงสาร หรือความโดดเดี่ยว สาเหตุการตายที่พบบ่อยที่สุดคือโรคหัวใจ ตามมาด้วยโรคหลอดเลือดสมอง และโรคเกี่ยวกับเส้นเลือดในสมอง และลำดับที่สามคือภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจตอนล่าง.

ใหม่!!: ด้วงงวงมะพร้าวและความตาย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: ด้วงงวงมะพร้าวและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศซามัว

รัฐเอกราชซามัว (ซามัว: Malo Sa‘oloto Tuto'atasi o Sāmoa; Independent State of Samoa) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ซามัว (ซามัว: Sāmoa; Samoa) เป็นประเทศที่ประกอบด้วยหมู่เกาะอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ ชื่อในอดีตคือ เยอรมันซามัว ระหว่างปี พ.ศ. 2443 ถึง พ.ศ. 2457 และ ซามัวตะวันตก ระหว่างปี พ.ศ. 2457 ถึง พ.ศ. 2540.

ใหม่!!: ด้วงงวงมะพร้าวและประเทศซามัว · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: ด้วงงวงมะพร้าวและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปาล์ม (แก้ความกำกวม)

ปาล์ม อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ด้วงงวงมะพร้าวและปาล์ม (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

แมลง

แมลง (Insect) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทรโพดา จำแนกออกเป็นไฟลัมต่าง ๆ ได้ 13 กลุ่ม มีลักษณะสำคัญคือมีลำตัวเป็นปล้องคล้อง ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 หรือ 3 ส่วน สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ลำตัวทั้งสองด้านซ้ายขวามีความเหมือนและมีขนาดเท่ากัน มีเปลือกห่อหุ้มลำตัวด้วยสารไคติน (Chitinous Exoskeleton) ไม่มีขน หายใจแบบใช้เหงือกหรือใช้รูหายใจ มีวัฎจักรวงจรชีวิตในการเจริญเติบโตแบบไข่ มีการลอกคราบเป็นบางครั้งแล้วสร้างผนังหรือเปลือกห่อหุ้มลำตัวใหม่ มีรยางค์เป็นคู่และเป็นปล้อง ส่วนใหญ่นักกีฏวิทยามักใช้รยางค์ในการแบ่งเพศผู้เพศเมียของแมลง มีอวัยวะภายในที่มีท่อทางเดินอาหารเป็นท่อยาวตลอดจากปากไปถึงทวารหนัก ระบบเลือดเป็นแบบเปิดและมีท่อเลือดอยู่ทางด้านสันหลังเหนือระบบทางเดินอาหาร มีระบบประสาทที่ประกอบไปด้วยสมองอยู่เหนือท่ออาหาร มีเส้นประสาทขนาดใหญ่หนึ่งคู่เชื่อมต่อจากสมอง มีการรวมตัวเป็นระยะก่อเกิดเป็นปมประสาท เส้นประสาทขนาดใหญ่ของแมลง จะอยู่ทางด้านล่างของลำตัวใต้ท่ออาหาร มีกล้ามเนื้อแบบเรียบอยู่ตามลำตัวบทปฏิบัติการกีฎวิทยาเบื้องต้น, ภาควิชากีฎวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ร. ดร.สาวิตรี มาไลยพันธุ์, สำนักพิมพ์รั้วเขียว,..

ใหม่!!: ด้วงงวงมะพร้าวและแมลง · ดูเพิ่มเติม »

โอเคเนชั่น

ลโก้เว็บไซต์โอเคเนชั่น โอเคเนชั่น เป็นบริการฟรีบล็อก แห่งหนึ่งในประเทศไทย ของเครือเนชั่น เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2550 โดยผู้เขียนบล็อกมีทั้งบรรณาธิการ คอลัมนิสต์ ผู้สื่อข่าวจากสื่อในเครือเนชั่น และสมาชิกที่ลงทะเบียนร่วมกันผลิตเนื้อหา โดยมีเนื้อหาหลากหลาย ทั้งนี้ รูปแบบการนำเสนอเป็นไปในลักษณะที่เรียกว่า Citizen Reporter โดยให้สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการผลิตเนื้อหา โอเคเนชั่นเป็นเว็บไซต์ที่มีผู้เข้าชมจากประเทศไทยมากเป็นอันดับที่ 89 (19 กันยายน 2557) จากการจัดอันดับโดยอะเล็กซ.

ใหม่!!: ด้วงงวงมะพร้าวและโอเคเนชั่น · ดูเพิ่มเติม »

เพศชาย

ัญลักษณ์เพศชาย เพศชาย (♂) หรือเพศผู้ คือเพศหนึ่งของสิ่งมีชีวิต ที่ผลิตเซลล์สืบพันธุ์ขนาดเล็กที่เรียกว่า อสุจิ โดยตัวอสุจิสามารถรวมกับเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิงที่เรียกว่า เซลล์ไข่ เกิดขั้นตอนที่เรียกว่า การผสมพันธุ์ เพศชายไม่สามารถสืบพันธุ์ได้โดยปราศจากการเข้าถึงเซลล์ไข่ของเพศหญิงอย่างน้อย 1 เซลล์ แต่สิ่งมีชีวิตบางอย่างสามารถสืบพันธุ์ได้โดยอาศัยการสืบพันธุ์หรือไม่อาศัยการสืบพันธุ์ แต่ละสปีชีส์ไม่ได้มีระบบทางเพศที่เหมือนกัน ในมนุษย์และในสัตว์ส่วนใหญ่ การสืบพันธุ์ถือเป็นกลไกทางพันธุกรรมแต่ในบางสปีชีส์แล้วสามารถเกิดในจากทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและปัจจัยอื่น.

ใหม่!!: ด้วงงวงมะพร้าวและเพศชาย · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: ด้วงงวงมะพร้าวและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Rhynchophorus ferrugineusด้วงลานด้วงสาคูแมงหวัง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »