เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ด้วงกว่างเฮอร์คิวลีสและมหาสมุทรแอตแลนติก

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ด้วงกว่างเฮอร์คิวลีสและมหาสมุทรแอตแลนติก

ด้วงกว่างเฮอร์คิวลีส vs. มหาสมุทรแอตแลนติก

้วงกว่างเฮอร์คิวลีส เป็นด้วงกว่างที่มีความยาวและความใหญ่ที่สุดในโลก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dynastes hercules อยู่ในวงศ์ Scarabaeidae พบกระจายพันธุ์ในป่าดิบชื้นตั้งแต่ภูมิภาคอเมริกากลางและทวีปอเมริกาใต้ นับเป็นด้วงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสกุล Dynastes ที่มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 6 ชนิด เป็นด้วงที่มีความแตกต่างระหว่างตัวผู้กับตัวเมียมาก ตัวผู้มีเขายาว และมีความยาวตั้งแต่ปลายเขาจรดลำตัว 45-178 มิลลิเมตร ขณะที่ตัวเมียไม่มีเขา และมีความยาวเพียงครึ่งหนึ่งของตัวผู้ คือ 50-80 มิลลิเมตร ด้วงกว่างเฮอร์คิวลีส มีชนิดย่อยทั้งหมด 13 ชนิด โดยชนิดที่มีความยาวที่สุด คือ D. h. hercules พบในเฟรนซ์ กัวดาลูเป้และดอมินีกา ที่ตัวผู้ยาวได้ถึง 178 มิลลิเมตร และมีบันทึกไว้ว่ายาวที่สุดคือ 190 มิลลิเมตร ตัวหนอนกินซากผุของต้นไม้เป็นอาหาร และมีระยะการเป็นตัวหนอนยาวนานถึง 16 เดือน ด้วงกว่างเฮอร์คิวลีสนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงในต่างประเทศมาอย่างยาวนาน เช่นที่ ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ได้รับความนิยมโดยเฉพาะในหมู่เด็ก ๆ สำหรับในประเทศไทย ผู้ที่จะเลี้ยงยังต้องนำสั่งเข้ามาจากต่างประเทศแต่ในกลางเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 สามารถเพาะขยายพันธุ์เป็นผลสำเร็จครั้งแรกที่สวนแมลงสยาม ที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม. มหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ชื่อของมหาสมุทรมาจากนิยายปรัมปรากรีก หมายถึง "ทะเลของแอตลาส" มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นแอ่งที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอส (S) ติดกับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ทางตะวันตก ส่วนทางตะวันออกติดกับ ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ปัจจุบันมีการแบ่งมหาสมุทรแอตแลนติกเป็น 2 ส่วน คือ แอตแลนติกเหนือและแอตแลนติกใต้ โดยใช้บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนทิศของกระแสน้ำที่ละติจูด 8° เหนือเป็นแนวแบ่ง มหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางมหาสมุทรอาร์กติกซึ่งอยู่ทางเหนือ ส่วนทางใต้เชื่อมทางช่องแคบเดรก จุดเชื่อมต่ออีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ คือ คลองปานามา เส้นแบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรอินเดีย คือ เส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรอาร์กติกด้วยเส้นที่ลากจากกรีนแลนด์ ผ่านตอนใต้สุดของสฟาลบาร์ (Svalbard) ไปยังตอนเหนือของนอร์เวย์ มหาสมุทรแอตแลนติกมีพื้นน้ำประมาณ 106,460,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรของมหาสมุทรเมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกันมีค่า 310,410,900 ลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,646 เมตร จุดที่ลึกที่สุดคือปวยร์โตรีโกเทรนช์มีความลึก 8,486 เมตร (27,840 ฟุต).

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ด้วงกว่างเฮอร์คิวลีสและมหาสมุทรแอตแลนติก

ด้วงกว่างเฮอร์คิวลีสและมหาสมุทรแอตแลนติก มี 1 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ทวีปอเมริกาใต้

ทวีปอเมริกาใต้

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาใต้ แผนที่ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปอเมริกาใต้ เป็นทวีปที่เส้นศูนย์สูตรโลกพาดผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในซีกโลกใต้ ขนาบข้างด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก ในทางภูมิศาสตร์ ทวีปอเมริกาใต้เพิ่งจะเคลื่อนมาบรรจบกับทวีปอเมริกาเหนือเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้เกิดคอคอดปานามา เทือกเขาแอนดีสที่มีอายุน้อยและไม่หยุดนิ่งพาดผ่านเขตด้านตะวันตกของทวีป ดินแดนทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส คือ แอ่งแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขตป่าดิบชื้น ทวีปอเมริกาใต้มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 4 รองจากเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือตามลำดับ ส่วนจำนวนประชากรเป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ.

ด้วงกว่างเฮอร์คิวลีสและทวีปอเมริกาใต้ · ทวีปอเมริกาใต้และมหาสมุทรแอตแลนติก · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ด้วงกว่างเฮอร์คิวลีสและมหาสมุทรแอตแลนติก

ด้วงกว่างเฮอร์คิวลีส มี 55 ความสัมพันธ์ขณะที่ มหาสมุทรแอตแลนติก มี 26 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 1, ดัชนี Jaccard คือ 1.23% = 1 / (55 + 26)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ด้วงกว่างเฮอร์คิวลีสและมหาสมุทรแอตแลนติก หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: