โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์และวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์และวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา

ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ vs. วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา

วต์ เดวิด ไอก์ ไอเซนฮาวร์ (Dwight David "Ike" Eisenhower; 14 ตุลาคม ค.ศ. 1890 - 28 มีนาคม ค.ศ. 1969) เป็นทหารและนักการเมืองชาวอเมริกัน ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 34 ของสหรัฐอเมริกา (ค.ศ. 1953 - ค.ศ. 1961) และเป็นผู้บัญชาการสูงสุดของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง มียศทางการทหารเป็นนายพลห้าดาวซึ่งเทียบได้กับยศจอมพลในบางประเทศ ดไวต์ ดี. ประธานาธิบดีเคนเนดี พบปะกับเอกอัครราชทูตโซเวียต อังเดร โกรมิโก ที่ทำเนียบขาว เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ก่อนเกิดการเผชิญหน้า แผนที่แสดงรัศมีของการใช้ขีปนาวุธที่คิวบา วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา (Cuban Missle Crisis) คือการเผชิญหน้าทางทหารระหว่างสหรัฐอเมริกาฝ่ายหนึ่ง กับสหภาพโซเวียตและประเทศคิวบาอีกฝ่ายหนึ่ง ในช่วงเวลาที่สงครามเย็นอยู่ในช่วงความตึงเครียดจนเกือบจะกลายไปเป็นสงครามปรมาณู ชาวรัสเซียเรียกเหตุการณ์นี้ว่าวิกฤตการณ์แคริบเบียน ส่วนชาวคิวบาเรียกมันว่าวิกฤตการณ์เดือนตุลาคม เหตุการณ์ครั้งนี้ถือเป็นหนึ่งในการเผชิญหน้าครั้งสำคัญในสงครามเย็นนอกจากการปิดล้อมเบอร์ลิน การเผชิญหน้าเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 1962 เมื่อภาพถ่ายจากเครื่องบินสังเกตการณ์ ยู-2 ของสหรัฐอเมริกา เผยให้เห็นฐานปล่อยขีปนาวุธ กำลังถูกสร้างขึ้นในคิวบา ภายใต้การปกครองของฟีเดล กัสโตร เพื่อตอบโต้การสร้างฐานขีปนาวุธของสหรัฐอเมริกา ณ บริเวณพรมแดนของตุรกีและสหภาพโซเวียต ทางสหรัฐอเมริกาได้กำหนดมาตรการกักกัน ส่งเรือรบเข้าปิดล้อมคิวบา ห้ามเรือบรรทุกสินค้าทุกลำผ่านเข้ามาในน่านน้ำทะเลแคริบเบียน เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์และวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา

ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์และวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พ.ศ. 2504สงครามโลกครั้งที่สองจอห์น เอฟ. เคนเนดีประธานาธิบดีสหรัฐ14 ตุลาคม

พ.ศ. 2504

ทธศักราช 2504 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1961 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์และพ.ศ. 2504 · พ.ศ. 2504และวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์และสงครามโลกครั้งที่สอง · วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบาและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น เอฟ. เคนเนดี

รือเอก จอห์น ฟิตซ์เจอรัลด์ เคนเนดี (John Fitzgerald Kennedy) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า เจเอฟเค (JFK ย่อจากชื่อภาษาอังกฤษ) (29 พฤษภาคม ค.ศ. 1917 — 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1963) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 35 ของสหรัฐอเมริกา เจ้าของวาทะเปี่ยมไปด้วยจิตสำนึกหน้าที่ความรับผิดชอบของพลเมือง: "จงอย่าถามว่าประเทศชาติจะให้อะไรแก่ท่าน แต่จงถามตัวท่านเองว่าท่านจะทำอะไรให้ประเทศชาติ" เกิดเมื่อ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1917 ที่เมืองบรู๊คลาย รัฐแมสซาชูเซตส์ อยู่ที่นั่นถึง 10 ขวบ ครอบครัวก็ย้ายเข้านิวยอร์ก เป็นคริสต์ศาสนิกชนนิกายโรมันคาทอลิก ลูกคนที่ 2 ในจำนวน 9 คนของโจเซฟ แพทริก เคนเนดี คหบดีใหญ่อดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำสหราชอาณาจักร จากโรงเรียนมัธยมในรัฐคอนเนตทิคัต เรียนต่อมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เข้าหน่วยกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา เป็นผู้บังคับการเรือ ตอร์ปิโด Patrol Torpedo boat 59 รับเหรียญกล้าหาญจากวีรกรรมช่วยเพื่อนทหารให้รอดชีวิตจากเหตุเรืออับปางด้วยข้าศึกโจมตี เขาว่ายน้ำพยุงร่างเพื่อนที่ได้รับบาดเจ็บไปโดยไม่ทอดทิ้ง ลงสนามการเมืองได้เป็นวุฒิสมาชิกรัฐบ้านเกิด จากนั้นเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี ค.ศ. 1960 สหรัฐอเมริกาได้ประธานาธิบดีที่หนุ่มที่สุดเพียง 43 ปี และเป็นคริสต์คนแรกที่ดำรงตำแหน่งยิ่งใหญ่นี้ เจเอฟเคบริหารประเทศด้วยพลังหนุ่ม (เป็นคำหนึ่งที่เขาชอบมาก) และมองโลกในแง่ดี เคเนดี้เป็นผู้จัดตั้ง องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา หรือยูเสด เพื่อให้การสนับสนุนประเทศประชาธิปไตยในการป้องกันลัทธิคอมมิวนิสต์ วันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 1961 เขาแถลงต่อสภาคองเกรสว่าอเมริกากำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายที่ไม่ธรรมดา ให้สภาอนุมัติงบประมาณเพื่อจุดมุ่งหมายของชาติคือ การส่งมนุษย์ไปลงบนดวงจันทร์ และเดินทางกลับอย่างปลอดภัย ด้านการต่างประเทศ เคนเนดียุติวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ทางการเมืองด้วยการยื่นคำขาดให้สหภาพโซเวียตถอนฐานยิงขีปนาวุธในประเทศคิวบา ความสำเร็จอีกประการหนึ่งคือ สนธิสัญญาระหว่างประเทศในการห้ามทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ อย่างไรก็ตามนโยบายที่ผิดพลาดก็มีเช่นกัน การให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่เวียดนามใต้ เป็นจุดเริ่มต้นสงครามเวียดนามที่โหดร้ายรุนแรง แรกทีเดียวประธานาธิบดีเชื่อข้อมูลฝ่ายทหารและนักค้าอาวุธสงคราม ว่าสหรัฐจะสามารถชนะกองกำลังคอมมิวนิสต์ในเวียดนามได้ไม่ยาก เพราะแสนยานุภาพทางทหารเหนือกว่า เฉพาะอย่างยิ่งกองกำลังทางอากาศที่ใช้เฮลิคอปเตอร์เป็นหลัก แต่นั่นไม่จริง สงครามเวียดนามยืดเยื้อ ทหารอเมริกันเข้าสมรภูมิเป็นจำนวนมหาศาล ความสูญเสียเกินบรรยาย ช่วงเวลาที่จะหมดวาระ เตรียมชิงเก้าอี้ผู้นำสมัยที่ 2 เขาตัดสินใจใช้การเจรจาทางการทูตยุติสงคราม แต่จากนั้นไม่นานเคนเนดีก็ถูกยิงเสียชีวิตที่เมืองแดลลัส รัฐเทกซัส ในเหตุการณ์การลอบสังหารฯ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1963 ประวัติศาสตร์บันทึกถึงประธานาธิบดีผู้มีอายุน้อยที่สุดของสหรัฐอเมริกา ผู้มีผลงานโดดเด่นมากมายท่ามกลางวิกฤตการณ์หลังสงครามโลกครั้งที่สอง รอยต่อของยุคก้าวสู่สงครามเย็น เพื่อเป็นการให้เกียรติของท่าน รัฐบาลจึงนำชื่อของท่านมาตั้งเป็น ท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดีในนครนิวยอร์ก ของ สหรัฐอเมริกา อีกด้ว.

จอห์น เอฟ. เคนเนดีและดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ · จอห์น เอฟ. เคนเนดีและวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา · ดูเพิ่มเติม »

ประธานาธิบดีสหรัฐ

ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา (President of the United States; ย่อ: POTUS) เป็นประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาลแห่งสหรัฐ เป็นผู้นำสูงสุดของฝ่ายบริหาร และเป็นจอมทัพสหรัฐ รัฐธรรมนูญ มาตรา 2 บัญญัติว่า ประธานาธิบดีมีอำนาจหน้าที่บังคับใช้กฎหมายส่วนกลาง รับผิดชอบแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายบริหาร ข้าราชการทูต ข้าราชการประจำ และข้าราชการตุลาการในส่วนกลาง ทั้งมีอำนาจทำสนธิสัญญาเมื่อได้รับคำแนะนำและยินยอมของวุฒิสภา นอกจากนี้ ประธานาธิบดีมีอำนาจอภัยโทษ ลดโทษ เปลี่ยนโทษ เรียกและเลื่อนประชุมสมัยวิสามัญแห่งสภาทั้งสองของรัฐสภา นับแต่สถาปนาประเทศเป็นต้นมา ประธานาธิบดีและรัฐบาลกลางมีอำนาจเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และแม้ปัจจุบันไม่มีอำนาจนิติบัญญัติอย่างเป็นทางการนอกเหนือไปจากการลงนามและยับยั้งร่างกฎหมายที่รัฐสภาอนุมัติ แต่ประธานาธิบดีก็แบกรับความรับผิดชอบขนานใหญ่ในการกำหนดวาระประชุมพรรค รวมถึงกำหนดนโยบายการต่างประเทศและการในประเทศด้วย ประธานาธิบดีสหรัฐนั้นมาจากการเลือกตั้งโดยอ้อมผ่านทางคณะผู้เลือกตั้ง (electoral college) มีวาระในการดำรงตำแหน่ง 4 ปีและสามารถอยู่ในดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระซึ่งบัญญัติไว้ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 22 ที่ได้รับการอนุมัติในปี..

ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์และประธานาธิบดีสหรัฐ · ประธานาธิบดีสหรัฐและวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา · ดูเพิ่มเติม »

14 ตุลาคม

วันที่ 14 ตุลาคม เป็นวันที่ 287 ของปี (วันที่ 288 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 78 วันในปีนั้น.

14 ตุลาคมและดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ · 14 ตุลาคมและวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์และวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา

ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ มี 31 ความสัมพันธ์ขณะที่ วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา มี 48 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 6.33% = 5 / (31 + 48)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์และวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »