โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดิเรก ชัยนาม

ดัชนี ดิเรก ชัยนาม

นายดิเรก ชัยนาม ศาสตราจารย์ ดิเรก ชัยนาม (18 มกราคม พ.ศ. 2447 - 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2510) อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงโตเกียว กรุงลอนดอน และกรุงบอนน์ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมและคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เคยได้รับการเสนอชื่อจากนายปรีดี พนมยงค์ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่ได้ปฏิเสธที่จะรับตำแหน่ง และเคยได้รับการเสนอชื่อจากรัฐบาลไทย ต่อองค์การยูเนสโกให้ประกาศเกียรติคุณเป็นบุคคลสำคัญแห่งโลก แต่ไม่ได้รับพิจารณาเนื่องจากข้อเสนอของรัฐบาลไทยไม่เข้าข่ายที่จะได้รับการพิจารณ.

60 ความสัมพันธ์: บอนน์พ.ศ. 2447พ.ศ. 2483พ.ศ. 2484พ.ศ. 2485พ.ศ. 2487พ.ศ. 2488พ.ศ. 2492พ.ศ. 2495พ.ศ. 2510พระพุทธชินราชกระทรวงการคลัง (ประเทศไทย)กระทรวงการต่างประเทศ (ประเทศไทย)กระทรวงยุติธรรม (ประเทศไทย)กรุงเทพมหานครฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สองฝ่ายอักษะมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มะโรงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมของไทยรายนามรองนายกรัฐมนตรีไทยลอนดอนศาสตราจารย์สหภาพโซเวียตสหรัฐสหประชาชาติสงครามโลกครั้งที่สองในประเทศไทยอินโดจีนอดุล อดุลเดชจรัสองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติจักรวรรดิญี่ปุ่นจังหวัดพิษณุโลกคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ประเทศฝรั่งเศสประเทศอังกฤษประเทศอิตาลีประเทศไทยปรีดี พนมยงค์นาซีเยอรมนีแปลก พิบูลสงครามโรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์โรงเรียนกฎหมายโรงเรียนราชวิทยาลัยโรงเรียนอัสสัมชัญโตเกียวเสรีไทยเหรียญรัตนาภรณ์เหรียญดุษฎีมาลา...เอกอัครราชทูตเนติบัณฑิต1 พฤษภาคม18 มกราคม19 มิถุนายน19 ธันวาคม25 มกราคม27 กันยายน7 ธันวาคม8 ธันวาคม ขยายดัชนี (10 มากกว่า) »

บอนน์

อนน์ (Bonn) เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 19 ของประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่ห่างออกไปประมาณ 25 กิโลเมตร ทางใต้ของโคโลญ บนแม่น้ำไรน์ในรัฐนอร์ทไรน์-เวสต์ฟาเลีย บอนน์เคยเป็นเมืองหลวงของอดีตประเทศเยอรมนีตะวันตก ในช่วง ค.ศ. 1949 ถึง ค.ศ. 1990 และเป็นที่ตั้งอย่างเป็นทางการของรัฐบาลจนถึง ค.ศ. 1990 เริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1998 องค์กรรัฐบาลแห่งชาติหลายแห่งได้ย้ายจากบอนน์ไปเบอร์ลิน สภาทั้งสองแห่งของรัฐสภาแห่งชาติเยอรมัน คือ บุนเดสทาก (Bundestag - สภาล่าง) และ บุนเดสราท (Bundesrat - สภาสูง) ได้ย้ายไป พร้อมกับสำนักนายกรัฐมนตรี (Chancellery) และบ้านพักประธานาธิบดี อย่างไรก็ตาม บอนน์ยังคงเป็นศูนย์กลางการเมืองและการปกครองแห่งหนึ่งอยู่ ประมาณครึ่งหนึ่งของตำแหน่งงานในรัฐบาลไม่ได้ย้ายไปไหน เนื่องจากหน่วยงานรัฐบาลหลายแห่งยังคงอยู่ที่บอนน์และหน่วยงานระดับเล็กกว่ากระทรวงจำนวนมากได้ย้ายมาจากเบอร์ลินและส่วนอื่น ๆ ของเยอรมนีเพื่อเป็นการแสดงความสำคัญ เมืองหลวงเก่าแห่งนี้จึงได้ชื่อว่า นครสหพันธ์ ("Bundesstadt").

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและบอนน์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2447

ทธศักราช 2447 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1904 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและพ.ศ. 2447 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2483

ทธศักราช 2483 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1940 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและพ.ศ. 2483 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2484

ทธศักราช 2484 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1941 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและพ.ศ. 2484 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2485

ทธศักราช 2485 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1942 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและพ.ศ. 2485 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2487

ทธศักราช 2487 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1944 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและพ.ศ. 2487 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2488

ทธศักราช 2488 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1945 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและพ.ศ. 2488 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2492

ทธศักราช 2492 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1949.

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและพ.ศ. 2492 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2495

ทธศักราช 2495 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1952.

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและพ.ศ. 2495 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2510

ทธศักราช 2510 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1967 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและพ.ศ. 2510 · ดูเพิ่มเติม »

พระพุทธชินราช

ระพุทธชินราช ประดิษฐานอยู่ ณ วิหารด้านตะวันตกในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดพิษณุโลก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในปี..

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและพระพุทธชินราช · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงการคลัง (ประเทศไทย)

กระทรวงการคลัง (Ministry of Finance) เป็นหน่วยงานราชการไทยประเภทกระทรวง ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเงินของแผ่นดิน การภาษีอากร การรัษฎากร กิจการเกี่ยวกับที่ดินราชพัสดุ กิจการอันกฎหมายบัญญัติให้เป็นการผูกขาดของรัฐ กิจการหารายได้ซึ่งรัฐมีอำนาจดำเนินการได้แต่เพียงผู้ เดียวตามกฎหมายและไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรมอื่น และกิจการซึ่งจะเป็นสัญญาผูกพันต่อเมื่อรัฐบาลได้ให้อำนาจหรือสัตยาบัน รวมทั้งการค้ำประกันหนี้ของส่วนราชการและองค์การรัฐ สถาบันการเงินและรัฐวิสาหก.

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและกระทรวงการคลัง (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงการต่างประเทศ (ประเทศไทย)

กระทรวงการต่างประเทศ (Ministry of Foreign Affairs) เป็นหน่วยงานราชการไทยประเภทกระทรวง มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการต่างประเทศและราชการอื่น ตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงการต่างประเท.

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและกระทรวงการต่างประเทศ (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงยุติธรรม (ประเทศไทย)

กระทรวงยุติธรรม (Ministry of Justice) เป็นกระทรวงหนึ่งในประเทศไทยก่อตั้งเมื่อ 25 มีนาคม พ.ศ. 2434 เดิมใช้ชื่อว่ากระทรวงยุตติธรรมและมีการเปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงยุติธรรมในวันที่ 12 มีนาคม..

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและกระทรวงยุติธรรม (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง

"สามผู้ยิ่งใหญ่": (ซ้าย) โจเซฟ สตาลิน แห่งโซเวียต(กลาง) แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ แห่งสหรัฐ(ขวา) วินสตัน เชอร์ชิล แห่งสหราชอาณาจักรในการประชุมเตหะราน เมื่อ ค.ศ. 1943 ฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นกลุ่มประเทศที่ต่อสู้กับฝ่ายอักษะช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายสัมพันธมิตรเข้ามาพัวพันในสงครามโลกครั้งที่สองเพราะประเทศเหล่านี้ถูกรุกรานก่อน ถูกคุกคามโดยตรงจากการรุกรานของฝ่ายอักษะหรือเพราะประเทศเหล่านี้กังวลว่าฝ่ายอักษะจะควบคุมโลกอย่างใดอย่างหนึ่ง แนวร่วมต่อสู้เยอรมนีช่วงสงครามเริ่มต้น (1 กันยายน ค.ศ. 1939) ประกอบด้วยฝรั่งเศส โปแลนด์ สหราชอาณาจักร ชาติเครือจักรภพอังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหภาพแอฟริกาใต้ (กำลังสหภาพแอฟริกาใต้ส่วนใหญ่สู้รบภายใต้การบัญชาของเครือจักรภพแม้จะเป็นชาติอธิปไตยนับแต่ ค.ศ. 1931) หลัง..

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

ฝ่ายอักษะ

ฝ่ายอักษะ (Axis Powers; Achsenmächte; Potenze dell'Asse; Suujikukoku.) หรือชื่อ อักษะ โรม-เบอร์ลิน-โตเกียว (Rome-Berlin-Tokyo Axis) เป็นกลุ่มประเทศมหาอำนาจทางการทหารซึ่งสู้รบกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง ประกอบด้วยสามประเทศหลัก คือ นาซีเยอรมนี อิตาลีและจักรวรรดิญี่ปุ่น ซึ่งทั้งสามร่วมลงนามกติกาสัญญาไตรภาคี เมื่อเดือนกันยายน..

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและฝ่ายอักษะ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Thammasat University) หรือเรียกโดยย่อว่า ม. (TU) เป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่สองของประเทศไทย ก่อตั้งในชื่อ "มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง" หรือ "ม..ก." (The University of Moral and Political Sciences หรือ UMPS) เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน..

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

มะโรง

right มะโรง เป็นชื่อปีที่ 5 ของรอบปีนักษัตร มีสัญลักษณ์เป็นงูใหญ่ พุทธศักราชที่ตรงกับปีมะโรง เช่น พ.ศ. 2507 พ.ศ. 2519 พ.ศ. 2531 พ.ศ. 2543 พ.ศ. 2555 พ.ศ. 2567 พ.ศ. 2579 และ พ.ศ. 2591 เป็นต้น โดยวันที่เริ่มต้นและสิ้นสุดรอบปีนักษัตรไม่แน่นอนเมื่อเทียบกับปฏิทินสากล และนับต่างกันระหว่างแบบจีนกับแบบไทย มีสีประจำปีคือสีแดงและสีม่วง เป็นปีธาตุไม้ และมีทิศประจำปีคือทิศตะวันออกกับทิศตะวันออกเฉียงใต้ หมวดหมู่:ปีนักษัตร หมวดหมู่:ปฏิทิน.

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและมะโรง · ดูเพิ่มเติม »

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทย

รายนามเสนาบดีว่าการกรมพระคลังมหาสมบัติ, เสนาบดีว่าการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไท.

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทย · ดูเพิ่มเติม »

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย

รายนามเสนาบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไท.

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย · ดูเพิ่มเติม »

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมของไทย

รายพระนาม รายนามเสนาบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม.

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมของไทย · ดูเพิ่มเติม »

รายนามรองนายกรัฐมนตรีไทย

รองนายกรัฐมนตรี หมวดหมู่:รายนามบุคคล.

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและรายนามรองนายกรัฐมนตรีไทย · ดูเพิ่มเติม »

ลอนดอน

ลอนดอน (London, ลันเดิน) เป็นเมืองหลวงของประเทศอังกฤษ และสหราชอาณาจักร และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป เป็นเมืองที่มีศูนย์กลางทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลอนดอนเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสำคัญทางธุรกิจ การเมือง วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของโลก เป็นผู้นำด้านการเงิน การเมือง การสื่อสาร การบันเทิง แฟชั่น และศิลปะ ในอดีตเป็นเมืองหลวงของโลก เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นเมืองที่มีอิทธิพลไปทั่วโลก ถือกันว่าเป็นเมืองสากลหลักของโลก จีดีพีของลอนดอน คิดเป็นร้อยละ 19.5 ของสหราชอาณาจักร ลอนดอนมีประชากรประมาณ 7.5 ล้านคน (ข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2549) และประมาณ 12 - 14 ล้านคนถ้ารวมนครหลวงลอนดอนและปริมณฑล ลอนดอนเป็นเมืองที่ประกอบด้วยหลายชนชาติอย่างมาก ประชากรมีความหลากหลายทั้งด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม ศาสนา และภาษา ซึ่งประมาณว่ามีมากกว่า 300 ภาษา เราเรียกชาวลอนดอนว่า ลอนดอนเนอร์ (Londoner) ลอนดอนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมในระดับนานาชาติ และเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญของทวีปยุโรป โดยสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในลอนดอน คือ ท่าอากาศยานนานาชาติฮีทโธรว.

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

ศาสตราจารย์

ตราจารย์ (อักษรย่อ ศ.) คือผู้มีความเชี่ยวชาญในศิลปะวิทยาการเฉพาะด้าน หรือผู้สอนผู้มีความชำนาญระดับสูง ศาสตราจารย์อาจได้รับการคัดเลือกแล้วแต่งตั้งตามตำแหน่งทางวิชาการ หรือมีคุณวุฒิในระดับที่ควรแก่การยกย่อง มีคนในวงการอ้างถึงและยกผลงานให้เป็นทฤษฎี หรือมีผลงานวิจัยที่ส่งผลกระทบโดยกว้าง ความหมายของ ศาสตราจารย์ (professor) แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ สำหรับประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษในกลุ่มเครือจักรภพ (ยกเว้นแคนาดาและไอร์แลนด์) คำนี้หมายถึง อาจารย์อาวุโสที่ดำรงตำแหน่งระดับภาควิชา โดยเฉพาะหัวหน้าภาควิชา หรือหมายถึงตำแหน่งที่ได้รับเป็นการเฉพาะบุคคล สำหรับแคนาดาและสหรัฐอเมริกา ศาสตราจารย์เป็นตำแหน่งสำหรับอาจารย์อาวุโสในสถาบันอุดมศึกษาทั่วไป ตำแหน่งศาสตราจารย์ในอเมริกาและแคนาดาเปิดกว้างสำหรับอาจารย์จำนวนมากกว่าตำแหน่งในกลุ่มเครือจักรภพ หลายประเทศในทวีปยุโรป อาทิ เยอรมนี ฝรั่งเศส สเปน อิตาลี และกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย คำว่า ศาสตราจารย์ ใช้เป็นคำนำหน้าชื่อตามกฎหมาย ซึ่งมีจำนวนจำกัด เช่นเดียวกับกลุ่มประเทศในเครือจักรภพ สำหรับประเทศไทยคำว่า ศาสตราจารย์ สามารถใช้นำหน้าชื่อได้ตามที่บุคคลนั้นต้องการ ประเทศที่พูดภาษาสเปนในลาตินอเมริกา คำว่า ศาสตราจารย์ (profesor) ใช้แก่ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในโรงเรียน สถาบัน โรงเรียนเทคนิค โรงเรียนอาชีวศึกษา วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย โดยไม่คำนึงถึงระดับของเนื้อหาวิชา หรือระดับชั้นหรืออายุของนักเรียนนักศึกษา ซึ่งรวมไปถึงระดับอนุบาล ประถม มัธยมด้วยเป็นต้น ถึงเช่นนั้นก็ตาม ศาสตราจารย์ที่สอนอยู่ในมหาวิทยาลัยจะระบุว่าเป็น ศาสตราจารย์มหาวิทยาลั.

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและศาสตราจารย์ · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพโซเวียต

หภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик - CCCP; Union of Soviet Socialist Republics - USSR) หรือย่อเป็น สหภาพโซเวียต (Soviet Union) เป็นประเทศอภิมหาอำนาจในอดีตบนทวีปยูเรเชีย ระหว่างปี..

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สหประชาชาติ

หประชาชาติ (United Nations; ตัวย่อ: UN) หรือ องค์การสหประชาชาติ เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งมีความมุ่งหมายที่แถลงไว้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ความร่วมมือในกฎหมายระหว่างประเทศ ความมั่นคงระหว่างประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจ กระบวนการทางสังคม สิทธิมนุษยชน และการบรรลุสันติภาพโลก สหประชาชาติก่อตั้งขึ้นใน..

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สองในประเทศไทย

อาณาเขตของประเทศไทยระหว่างสงคราม สงครามโลกครั้งที่สองในประเทศไท.

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและสงครามโลกครั้งที่สองในประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

อินโดจีน

มุทรอินโดจีน เมื่อปี ค.ศ. 1886 '''อินโดจีน''': สีเขียวเข้ม: นับรวมเสมอ, สีเขียวอ่อน: นับรวมเป็นส่วนใหญ่, สีแดง: นับรวมเป็นบางครั้ง'''ภูมิภาคอินโดจีน''' (ชีววิทยา): สีเขียวเข้มและอ่อน อินโดจีน (Indochina) หรือ คาบสมุทรอินโดจีน (Indochinese Peninsula) เป็นคาบสมุทรที่ยื่นออกมาจากแผ่นดินใหญ่ของทวีปเอเชีย และเป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มาของชื่อว่าอินโดจีนนั้น ก็เพราะว่าคาบสมุทรนี้ตั้งอยู่ทางใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน และทางตะวันออกของประเทศอินเดีย คำว่า "Indochina" มีที่มาจากคำว่า Indochine ในภาษาฝรั่งเศส และถูกใช้ในระหว่างยุคล่าอาณานิคม ในทางประวัติศาสตร์แล้ว ประเทศในอินโดจีนส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดียและจีน ซึ่งแต่ละประเทศต่างก็รับเอาวัฒนธรรมจากทั้งสองชาตินี้เข้ามาระดับที่แตกต่างกัน อย่างเช่น ไทยและลาวได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอินเดียเป็นส่วนใหญ่ ส่วนเวียดนามได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากจีนเป็นส่วนใหญ่ ต่อมาในยุคล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก ชาติส่วนใหญ่ในอินโดจีนก็รับเอาวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาเช่นกัน.

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและอินโดจีน · ดูเพิ่มเติม »

อดุล อดุลเดชจรัส

ลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก พลตำรวจเอก อดุล อดุลเดชจรัส หรือ หลวงอดุลเดชจรัส (28 มิถุนายน พ.ศ. 2437 - 17 ธันวาคม พ.ศ. 2512) นามเดิม บัตร พึ่งพระคุณ อดีตองคมนตรี รองนายกรัฐมนตรี อธิบดีกรมตำรวจ ผู้บัญชาการทหารบก มีสมญานามว่า "นายพลตาดุ" เป็นหนึ่งในคณะราษฎร ผู้มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 โดยขณะนั้นหลวงอดุลเดชจรัส มียศเป็น ร้อยโท (ร.ท.) ประจำกรมทหารปืนใหญ่ นครราชสีมา และได้หนีราชการมาพระนครด้วยรถไฟเพื่อร่วมในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จนถูกหมายจับจากทางต้นสังกัด ซึ่งตัวของหลวงอดุลเดชจรัสก็ได้อาศัยบ้านของพรรคพวกหลบซ่อนสลับกันไป โดยเฉพาะบ้านของหลวงพิบูลสงคราม ซึ่งเป็นเพื่อนสนิท หรือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในเวลาต่อมา เป็นรองนายกรัฐมนตรีและผู้สั่งราชการแทนนายกรัฐมนตรี จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นรองหัวหน้าขบวนการเสรีไทยในประเทศไทย ในช่วงปลายสงคราม หลังจากมีการผลัดเปลี่ยนรัฐบาล ซึ่งมีส่วนอย่างมากที่ทำให้การดำเนินงานเสรีไทยเป็นไปโดยราบรื่น ทั้งที่เป็นอธิบดีกรมตำรวจภายใต้รัฐบาลที่เป็นพันธมิตรกับกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น และเป็นหนึ่งในอภิรัฐมนตรีทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และองคมนตรี หลังจากสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองแล้ว หลวงอดุลเดชจรัส ยังได้ร่วมกับนักการเมืองกลุ่มหนึ่ง ก่อตั้งพรรคสหชีพขึ้น โดยมีแนวทางสนับสนุนนายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และหัวหน้าขบวนการเสรีไทย โดยหลวงอดุลเดชจรัส เป็นหัวหน้าพรรค และ นายเดือน บุนนาค เป็นเลขาธิการพรร.

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและอดุล อดุลเดชจรัส · ดูเพิ่มเติม »

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ

งของยูเนสโก องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) หรือ ยูเนสโก (UNESCO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ก่อตั้งโดยได้มีการลงนามในธรรมนูญขององค์การ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิญี่ปุ่น

ักรวรรดิญี่ปุ่น หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ มหาจักรวรรดิญี่ปุ่น เป็นจักรวรรดิที่อยู่ทางตะวันออกที่สุดและเป็นหนึ่งในมหาอำนาจของโลก ในคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 สถาปนาขึ้นภายหลังจากการปฏิรูปเมจิ เมื่อวันที่ 3 มกราคม..

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและจักรวรรดิญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดพิษณุโลก

ังหวัดพิษณุโลก เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางตอนบนของประเทศไทย มีประชากรในปี..

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและจังหวัดพิษณุโลก · ดูเพิ่มเติม »

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (Faculty of Political Science, Thammasat University) เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ จัดเป็น 1 ใน 4 คณะวิชาก่อตั้งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเป็นคณะวิชาลำดับที่ 3 ของมหาวิทยาลั.

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิตาลี

อิตาลี (Italy; Italia อิตาเลีย) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic; Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8 มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลน.

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและประเทศอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปรีดี พนมยงค์

ตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ หรือ อำมาตย์ตรี หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (11 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 – 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526) เป็นรัฐบุรุษอาวุโส ผู้นำคณะราษฎรสายพลเรือน ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของสยามจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน..

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและปรีดี พนมยงค์ · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและนาซีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

แปลก พิบูลสงคราม

งครามอินโดจีน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งผนวชทรงรับบาตรจากจอมพล ป. นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ แปลก พิบูลสงคราม (14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 – 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "จอมพล ป.พิบูลสงคราม" เป็นนายกรัฐมนตรีไทยที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุด คือ 14 ปี 11 เดือน 18 วัน รวม 8 สมัย และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีนโยบายที่สำคัญคือ การมุ่งมั่นพัฒนาประเทศไทย ให้มีความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมนานาอารยประเทศ มีการปลุกระดมให้คนไทยรู้สึกรักชาติ โดยออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย "รัฐนิยม" หลายอย่าง ซึ่งบางอย่างได้ประกาศเป็นกฎหมายในภายหลัง หลายอย่างกลายเป็นวัฒนธรรมของชาติ เช่น การรำวง, ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย เป็นผู้เปลี่ยนชื่อ "ประเทศสยาม" เป็น "ประเทศไทย" และเป็นผู้เปลี่ยน "เพลงชาติไทย" มาเป็นเพลงที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คำขวัญที่รู้จักกันดีของนายกรัฐมนตรีผู้นี้คือ "เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย" หรือ "ท่านผู้นำไปไหนฉันไปด้วย" และ "ไทยอยู่คู่ฟ้า" ในสายตานักวิชาการประวัติศาสตร์การเมืองไทยส่วนหนึ่งเห็นว่า จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นเผด็จการทางทหารที่มีบทบาททางการเมืองสูง และให้ความสนใจกับความคิดที่ส่อไปในทางเชื้อชาตินิยม จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507 ในเวลาประมาณ 20.30 น. ณ บ้านพักส่วนตัว ชานกรุงโตเกียว สิริอายุได้ 67 ปี.

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและแปลก พิบูลสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์

รงเรียน.ป.ร.ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นโรงเรียนประจำชายล้วน เดิมคือโรงเรียนราชวิทยาลัย พระราชทานกำเนิดโดย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ก่อนจะถูกยุบรวมเป็นวชิราวุธวิทยาลัย ในสมัยรัชกาลที่ 7 และถูกฟื้นฟูใหม่อีกครั้งโดยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระมหากรุณารับโรงเรียนไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ กับได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้อัญเชิญอักษรพระปรม.ป.ร. ประกอบกับในนามโรงเรียน และเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ประกอบพิธีเปิดโรงเรียน.ป.ร.ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อวันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน..

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและโรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนกฎหมาย

ระรูปพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ผู้ทรงสถาปนาโรงเรียนกฎหมาย ประดิษฐาน ณ อาคารสำนักงานศาลยุติธรรม โรงเรียนกฎหมาย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2440 โดยพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม (ฐานันดรศักดิ์และตำแหน่งขณะนั้น) เพื่อให้การศึกษาอบรมด้านนิติศาสตร์โดยเฉพาะ ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน อย่างไรก็ดี โดยเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ทรงให้การศึกษาด้วยพระองค์เอง เมื่อทรงเสร็จสิ้นการเสวยพระกระยาหารกลางวันแล้ว ครั้นมีนักเรียนเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ จึงย้ายไปทำการเรียนการสอน ยังตึกสัสดีหลังกลาง กระทรวงยุติธรรม ต่อมาในปี พ.ศ. 2453 กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ฯ ทรงพ้นจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม หลังจากนั้น โรงเรียนกฎหมายก็ทรุดโทรมตามลำดับ และต้องไปเปิดการเรียนการสอน เป็นการชั่วคราวที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร และที่เรือนไม้หลังเล็กๆ ระหว่างตึกศาลแพ่งกับตึกเก๋งจีน ซึ่งบัดนี้ทำลายลงแล้ว และปี พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับโรงเรียนแห่งนี้ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยให้สังกัดอยู่กับกระทรวงยุติธรรม และให้เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบโรงเรียน โดยย้ายสถานที่เรียนมายังอาคารห้างแบดแมนเดิม บริเวณเชิงสะพานผ่านพิภพลีลา (ปัจจุบันเป็นที่จอดรถข้างสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล) จากนั้นเมื่อปี พ.ศ. 2476 รัฐบาลจัดตั้งคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ขึ้น ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วให้โอนโรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม ไปสมทบกับคณะดังกล่าว เมื่อวันที่ 25 เมษายน ปีนั้นเอง ครั้งนั้นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดให้การเรียนการสอน ของโรงเรียนกฎหมาย เป็นแผนกวิชาหนึ่งของคณะนี้ อนึ่ง การเรียนการสอนยังคงจัดอยู่ที่อาคาร เชิงสะพานผ่านพิภพลีลาเช่นเดิม ซึ่งคำสั่งให้โอนโรงเรียนกฎหมาย ไปสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนี้ สร้างความไม่พอใจแก่นักเรียนของโรงเรียนกฎหมาย ที่ต้องการให้ยกสถานะโรงเรียนของตนเป็นมหาวิทยาลัย แต่รัฐบาลกลับทำให้เสมือนยุบหายไป กลุ่มนักเรียนกฎหมายดังกล่าว จึงเคลื่อนไหวหนุนให้มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยขึ้น ทั้งนี้ เมื่อมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองจัดตั้งขึ้น ตามพระราชบัญญัติฯ ให้โอนทรัพย์สิน ตลอดจนคณาจารย์ ของโรงเรียนกฎหมายเดิม เข้าสังกัดมหาวิทยาลัยแห่งใหม่นี้ด้วย, ราชกิจจานุเบกษ.

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและโรงเรียนกฎหมาย · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนราชวิทยาลัย

รงเรียนราชวิทยาลัย (ปัจจุบันคือโรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์) เป็นโรงเรียนหลวงที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริที่จะจัดตั้งเพื่อผลิตบุคลากรรองรับการปฏิรูปการปกครองประเทศในด้านต่างๆ โดยเฉพาะในด้านการใช้ภาษาอังกฤษและด้านกฎหมาย มีการฝึกและอบรมให้คุ้นเคยกับการเรียนและวัฒนธรรมแบบตะวันตกอันเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อต่างประเทศ และเข้ารับราชการในกระทรวงต่างๆ โรงเรียนราชวิทยาลัย มีการโยกย้ายที่ตั้งสถานศึกษาถึง 4 สมั.

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและโรงเรียนราชวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

โรงเรียนอัสสัมชัญ

รงเรียนอัสสัมชัญ (บ้างเรียก อัสสัมชัญบางรัก หรือ อัสสัมชัญกรุงเทพ, ย่อ: อสช, AC) เป็นโรงเรียนเอกชนชายล้วนขนาดใหญ่ในกลุ่มจตุรมิตร ซึ่งประกอบด้วยโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย, โรงเรียนเทพศิรินทร์, โรงเรียนอัสสัมชัญ และโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย โรงเรียนแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ แผนกประถม ซึ่งตั้งอยู่ในซอยเซนต์หลุยส์ 3 ถนนสาทรใต้ และแผนกมัธยม ซึ่งตั้งอยู่ในซอยเจริญกรุง 40 ถนนเจริญกรุง เขตบางรัก โรงเรียนอัสสัมชัญ ได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการขึ้นโดยบาทหลวงเอมิล ออกัสต์ กอลมเบต์ เมื่อวันที่ 16 กุมภาพัน..

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและโรงเรียนอัสสัมชัญ · ดูเพิ่มเติม »

โตเกียว

ตเกียว หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่ามหานครโตเกียว (Tokyo Metropolis) หรือเรียกเอะโดะหรือเอโดะ เป็นเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น มีระบบการปกครองแบบพิเศษซึ่งรวมการปกครองในรูปแบบจังหวัดและเมืองไว้ด้วยกัน ทั้งนี้ เขตอภิมหานครโตเกียวจัดว่าเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยรวมเขตปริมณฑลแล้วมีประชากรอาศัยอยู่ราว 35,237,000 คน) เฉพาะในตัวเมืองโตเกียว 23 แขวงการปกครองพิเศษ มีประชากรในเขตเมืองประมาณ 12 ล้านคน ถือเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในโลกเมืองหนึ่ง ประชากรทั้งหมดของโตเกียวมีทั้งหมดกว่า 35 ล้านคน โตเกียวตั้งอยู่บริเวณภูมิภาคคันโตของญี่ปุ่น คำว่า "โตเกียว" หมายถึง "นครหลวงตะวันออก" ในโตเกียวยังเป็นที่ตั้งของพระราชวังหลวงของสมเด็จพระจักรพรรดิ กรุงโตเกียวเคยเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 1964 และจะเป็นเจ้าภาพครั้งที่ 2 ในปี 2020 ระหว่างวันที่ 24 กรกฎาคม – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2563.

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

เสรีไทย

รีไทย (Free Thai Movement) เป็นขบวนการใต้ดินที่ดำเนินการระหว่างสงครามมหาเอเชียบูรพา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สอง ในช่วง พ.ศ. 2484 - 2488 มีวัตถุประสงค์เพื่อต่อต้านการรุกรานของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น รักษาเอกราชและอธิปไตยของชาติไทย ขบวนการเสรีไทยกำเนิดขึ้นในวันที่ 8 ธันวาคม..

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและเสรีไทย · ดูเพิ่มเติม »

เหรียญรัตนาภรณ์

หรียญรัตนาภรณ์ เป็นเหรียญราชอิสริยาภรณ์อันเป็นบำเน็จในพระองค์พระมหากษัตริย์ สถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2412 โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สำหรับพระราชทานผู้ที่ทำความดีความชอบทั้งฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ทั้งส่วนราชการและส่วนพระองค์ เดิมชื่อ เหรียญรจนาภรณ์ และเปลี่ยนชื่อเป็นเหรียญรัตนาภรณ์ ในปี พ.ศ. 2416 เหรียญรัตนาภรณ์ มีลำดับชั้นทั้งหมด 5ชั้น มีหลักเกณฑ์ในการรับพระราชทานดังนี้ ชั้นที่ 1และ 2 มักจะพระราชทานให้ พระราชวงศ์, ขุนนางข้าราชการชั้นสูงที่ถวายงานใกล้ชิดและทรงสนิทสนมเป็นพิเศษ, นายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรี, ประธานองคมนตรี, องคมนตรี ฯลฯ ชั้นที่ 3 และ 4 พระราชทานให้ ขุนนางช้าราชการชั้นสูงที่ถวายงานใกล้ชิด, ข้าราชบริพารที่ทรงสนิทสนม, พระอนุวงศ์และราชนิกุล ฯลฯ ชั้นที่ 5 พระราชทานให้ ผู้ที่ทำความดีความชอบทั้งส่วนราชการหรือส่วนพระองค์, ผู้ที่สร้างชื่อเสียงคุณงามความดีให้กับประเทศ ฯลฯ แต่ทั้งนี้การพระราชทานขึ้นอยู่กับพระราชอัธยาศัยส่วนพระองค์ บุคคลที่มียศตำแหน่งตามที่ระบุอาจได้รับพระราชทานชั้นที่สูงหรือต่ำกว่านี้ ก็สุดแท้แต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ.

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและเหรียญรัตนาภรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

เหรียญดุษฎีมาลา

หรียญดุษฎีมาลา เป็นเหรียญราชอิสริยาภรณ์สำหรับพระราชทานเป็นที่ระลึก เรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า เหรียญแพรแถบ เป็นเหรียญบำเหน็จความชอบในราชการ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างขึ้นในปี..

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและเหรียญดุษฎีมาลา · ดูเพิ่มเติม »

เอกอัครราชทูต

เอกอัครราชทูต (ambassador) เป็นนักการทูตตำแหน่งสูงสุด ซึ่งจัดการแทนประเทศหนึ่ง ๆ และปรกติมักได้รับการส่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง ไปยังรัฐบาลต่างด้าว หรือไปยังองค์การระหว่างประเทศ ในความหมายธรรมดา คำ "ทูต" (ambassador) หมายถึง บุคคลซึ่งรัฐบาลประเทศหนึ่งส่งไปประจำอีกประเทศหนึ่งเพื่อให้จัดการแทนตน และไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีตำแหน่งใด โดยรัฐผู้รับ (host state) จะให้ทูตมีเขตอำนาจอยู่ใน สถานทูต (embassy) ซึ่งตั้งอยู่ในดินแดนของรัฐผู้รับ และรัฐผู้รับจะให้ความคุ้มกัน (immunity) แก่พัทธสีมา ที่ดิน ทรัพย์สิน บุคคล ฯลฯ ของสถานทูต บางประเทศอาจแต่งตั้งบุคคลผู้เป็นที่เลื่อมใสกว้างขวางให้เป็นเอกอัครราชทูตประจำกระทรวง (ambassador-at-large) เพื่อให้จัดการเพียงบางอย่างโดยเฉพาะ หรือรับผิดชอบท้องที่อันจำกัด ขณะที่เอกอัครราชทูตมักมีอำนาจจัดการทั่วไป สำหรับประเทศในเครือจักรภพ มักเรียกเอกอัครราชทูตว่า ข้าหลวงใหญ่ (high commissioner) และคณะผู้แทนทางทูตจะเรียก คณะข้าหลวงใหญ่ (high commission) แทน ส่วนเอกอัครราชทูตของอาณาจักรอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy See) นั้นเรียก เอกอัครสมณทูต (nuncio) หมวดหมู่:นักการทูต.

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและเอกอัครราชทูต · ดูเพิ่มเติม »

เนติบัณฑิต

ียนเนติบัณฑิตชาวอังกฤษในศตวรรษที่ 19 เนติบัณฑิต (barrister, barrister-at-law, หรือ bar-at-law) เป็นนักกฎหมาย (lawyer) ประเภทหนึ่งในเขตอำนาจคอมมอนลอว์ ซึ่งส่วนใหญ่เชี่ยวชาญการว่าความและดำเนินคดีในโรงศาล ปฏิบัติงานเป็นต้นว่า ฟ้องและอุทธรณ์คดี ร่างเอกสารทางกฎหมาย วิจัยทางนิติศาสตร์ นิติปรัชญา หรือนิติประวัติศาสตร์ และให้ความเห็นทางกฎหมาย อนึ่ง ยังมักถือเป็นนักนิติศาสตร์ (jurist) ด้วย ในเขตอำนาจคอมมอนลอว์ เนติบัณฑิตต่างจากทนายความที่ปรึกษา (solicitor) ซึ่งเข้าถึงลูกความได้โดยตรงกว่า และมักดำเนินงานประเภทธุรกรรมทางกฎหมาย ขณะที่เนติบัณฑิตมักได้รับแต่งตั้งเป็นตุลาการ และน้อยครั้งที่จะรับว่าจ้างจากลูกความโดยตรง ในระบบกฎหมายบางอย่าง เช่น ของสกอตแลนด์ อเมริกาใต้ สแกนดิเนเวีย ปากีสถาน อินเดีย บังกลาเทศ เจอร์ซีย์ เกิร์นซีย์ และไอล์ออฟแมน ยังใช้คำว่า เนติบัณฑิต เป็นคำนำหน้าชื่อด้วย ในบางเขตอำนาจ มีการห้ามเนติบัณฑิตดำเนินคดี และกำหนดให้ต้องปฏิบัติงานตามคำสั่งของทนายที่ปรึกษาอาวุโสเท่านั้น โดยทนายความที่ปรึกษาจะรับหน้าที่ประสานระหว่างคู่ความและศาล รวมถึงจัดทำเอกสารทางศาล ส่วนในอังกฤษและเวลส์ เนติบัณฑิตอาจได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการมาตรฐานเนติบัณฑิตยสภา (Bar Standards Board) ให้ดำเนินคดีได้ การอนุญาตเช่นนี้ทำให้เนติบัณฑิตมีบทบาทซ้อนสอง คือ เป็นทั้งเนติบัณฑิตและทนายความ ในบางประเทศที่ใช้ระบบคอมมอนลอว์ เช่น นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย นักกฎหมายสามารถเป็นได้เนติบัณฑิตและทนายความ แต่คุณสมบัติสำหรับเนติบัณฑิตจะแยกต่างจากสำหรับทนายความ.

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและเนติบัณฑิต · ดูเพิ่มเติม »

1 พฤษภาคม

วันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันที่ 121 ของปี (วันที่ 122 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 244 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและ1 พฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

18 มกราคม

วันที่ 18 มกราคม เป็นวันที่ 18 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 347 วันในปีนั้น (348 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและ18 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

19 มิถุนายน

วันที่ 19 มิถุนายน เป็นวันที่ 170 ของปี (วันที่ 171 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 195 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและ19 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

19 ธันวาคม

วันที่ จันทร์ 19 ธันวาคม เป็นวันที่ 353 ของปี (วันที่ 354 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและ19 ธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

25 มกราคม

วันที่ 25 มกราคม เป็นวันที่ 25 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 340 วันในปีนั้น (341 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและ25 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

27 กันยายน

วันที่ 27 กันยายน เป็นวันที่ 270 ของปี (วันที่ 271 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 95 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและ27 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

7 ธันวาคม

วันที่ 7 ธันวาคม เป็นวันที่ 341 ของปี (วันที่ 342 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 24 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและ7 ธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

8 ธันวาคม

วันที่ 8 ธันวาคม เป็นวันที่ 342 ของปี (วันที่ 343 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 23 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: ดิเรก ชัยนามและ8 ธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »