โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดิมีเทอร์

ดัชนี ดิมีเทอร์

ในศาสนาและตำนานกรีกโบราณ ดิมีเทอร์ (Demeter, /dɨˈmiːtɚ/; Δημήτηρ) เป็นเทพเจ้าแห่งการเก็บเกี่ยว ผู้ดูแลธัญพืชและความอุดมสมบูรณ์ของปฐพี ชื่อลัทธิบูชาของพระนางรวมถึงซิโต (Σιτώ) "สตรีแห่งธัญพืช" ในฐานะผู้ประทานอาหารหรือธัญพืช และเธสมอฟอรอส (θεσμός "thesmos": ระเบียบสวรรค์, กฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร; "phoros": ผู้ให้, ผู้ถือ) "ผู้ประทานกฎหมาย" โดยเป็นเครื่องหมายการดำรงอยู่ของสังคมเกษตรกรรมอารยะThemis was an ancient Greek goddess, embodiment of divine order, law.

16 ความสัมพันธ์: กรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์ยอดเขาโอลิมปัสฮีราทีมิสขนมปังข้าวสาลีคบเพลิงซูสโพไซดอนโอซีอานัสโฮเมอร์โครนัสเพอร์เซฟะนีเรียเฮสเตียเฮดีส

กรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์

“กรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์” กรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์ (Cornucopia หรือ Horn of plenty; Cornu Copiae) เป็นสัญลักษณ์ของอาหารและความอุดมสมบูรณ์ที่ใช้กันมาราวห้าร้อยปีก่อนคริสต์ศักราชบางครั้งก็เรียกว่า “กรวยแห่งอมาลเธีย” (Horn of Amalthea) หรือ “กรวยแห่งการเก็บเกี่ยว” (Harvest cone) “กรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์” พบบ่อยในงานศิลปะทุกแขนงมาตั้งแต่สมัยกรีกโรมันในการใช้เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์และการให้กำเนิด ในตำนานเทพเจ้ากรีกเทพีอมาลเธีย (Amalthea) เป็นแพะผู้เลี้ยงดูซูสด้วยน้ำนมของตนเอง เมื่อเขาของอมาลเธียหักด้วยอุบัติเหตุโดยซูสขณะที่กำลังเล่นกันซึ่งทำให้อมาลเธียกลายเป็นยูนิคอร์น เทพซูสผู้รู้สึกผิดก็คืนเขาให้ เขานั้นจึงมีอำนาจเหนือธรรมชาติที่จุสิ่งใดก็ได้ที่ผู้เป็นเจ้าของต้องการ ภาพดั้งเดิมเป็นภาพเขาแพะที่เต็มไปด้วยผลไม้และดอกไม้ เทพเช่นเทพีฟอร์ชูนา (Fortuna) บางภาพจะถือกรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์ นอกจากจะเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ กรวยก็ยังเป็นสัญลักษณ์ของการให้กำเนิด อีกทฤษฎีหนึ่งก็ว่าเทพีอมาลเธียอาจจะเป็นนิมฟ์ที่ถูกขอให้มาเลี้ยงซูสเมื่อถูกซ่อนตัวจากโครเนิส อมาลเธียก็นำซูสไปซ่อนไว้ที่เขาไอไกออน (Mount Aigaion) ที่แปลว่าภูเขาแพะ ซึ่งอาจจะหมายความว่าอมาลเธียเป็นนิมฟ์ที่เป็นแพะหรือเป็นนิมฟ์ที่ดูและแพะก็ได้ ฉะนั้นเขาที่หักอาจจะเป็นเขาของอมาลเธียหรือเขาของแพะของอมาลเธียที่หักขณะที่เล่นกับซูสก็ได้ เพื่อเป็นการตอบแทนเทพซูสจึงสร้าง “กรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์” อีกทฤษฎีหนึ่งก็ว่าอมาลเธียเป็นชื่ออีกชื่อหนึ่งของกลุ่มดาวแพะทะเล การสร้างงานศิลปะในสมัยใหม่ของ “กรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์” มักจะเป็นกรวยที่สานด้วยหวายที่มีรูปร่างเหมือนเขาแพะที่บรรจุด้วยสิ่งต่างสำหรับฉลองเช่นผลไม้และผัก ในทวีปอเมริกาเหนือ “กรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์” กลายมามีความสัมพันธ์กับเทศกาลวันขอบคุณพระเจ้าและการเก็บเกี่ยว ในรัฐบริติชโคลัมเบีย “Cornucopia” เป็นชื่อของเทศกาลไวน์และอาหารประจำปีที่ฉลองกันที่วิสเลอร์ นอกจากนั้นสัญลักษณ์นี้ก็ยังปรากฏในธงและตราของรัฐไอดาโฮ, รัฐนอร์ทแคโรไลนา และรัฐนิวเจอร์ซีย์ และในตราของประเทศโคลอมเบีย, ประเทศเปรู และประเทศเวเนซุเอลา “กรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์” ใช้ในเครื่องประดับที่เป็นสัญลักษณ์ของการมีบุตร, โชค และความอุดมสมบูรณ์ ผู้นับถือคริสต์ศาสนาบางกลุ่มก็กล่าวเตือนไม่ให้ใช้สัญลักษณ์ที่ว่านี้เพราะถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของความโชคร้าย และเปรียบเทียบกับ “เขา” ที่บรรยายในพระคัมภีร์ที่หมายถึงพระเยซูเท็จ (Antichrist).

ใหม่!!: ดิมีเทอร์และกรวยแห่งความอุดมสมบูรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ยอดเขาโอลิมปัส

อดเขาโอลิมปัส ยอดเขาโอลิมปัส (Mount Olympus, Όλυμπος โอลิมโปส) เป็นยอดเขาที่สุงที่สุดในประเทศกรีซ มีความสูง 2,917 เมตร อยู่บริเวณตอนเหนือของประเทศ โฮเมอร์บรรยายในมหากาพย์ โอดีสซี ว่าภูเขานี้ปลอดพายุ และ อากาศสดใส ซึ่งก็เป็นจริงในบางครั้งบริเวณยอดเขา แต่ส่วนล่างลงมาล้อมรอบไปด้วยเม.

ใหม่!!: ดิมีเทอร์และยอดเขาโอลิมปัส · ดูเพิ่มเติม »

ฮีรา

ีร่า หรือ เฮร่า (Hera; Ήρα, Ήρη) เป็นมเหสีและเชษฐภคินี (พี่สาว) ของซูสในพระเจ้าโอลิมปัสของเทพปกรณัมและศาสนากรีก เป็นธิดาของโครนัสและเรีย หน้าที่หลักของพระนางคือเป็นเทพเจ้าแห่งสตรีและการสมรส ภาคโรมัน คือ จูโน พิจารณาว่าวัว สิงโตและนกยูงเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ประจำพระองค์ ฮีร่าเป็นที่รู้จักจากธรรมชาติอิจฉาและพยาบาทของพระนาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อชายาองค์อื่น ๆ ของซูส และบุตรที่เกิดจากชายาเหล่านั้น ไม่ว่าพวกนางเป็นเทพเจ้าหรือมนุษย์ก็ตาม ตัวอย่างของผู้ที่ถูกฮีร่าปองร้ายมีมากมาย เช่น ลีโต มารดาของเทพอพอลโลและเทพีอาร์ทิมิส เฮราคลีส ไอโอ ลามิอา เกรานา ซิมิลี มารดาของเทพไดอะไนซัส ยูโรปา เป็นต้น ก็จะเจอจุดจบแบบไม่สวยงาม ในมหากาพย์อีเลียด ของ โฮเมอร์ ได้กล่าวถึงพระนางว่า เทพีตาวัว (ox-eyed goddess) ซึ่งแสดงถึงสัตว์ประจำตัวของฮีรานั่นเอง.

ใหม่!!: ดิมีเทอร์และฮีรา · ดูเพิ่มเติม »

ทีมิส

ทีมิส ทีมิส (Themis) เป็นเทพีในกลุ่มไททันตามเทพปกรณัมกรีกซึ่งได้รับการพรรณนาว่าสามารถ "ให้คำปรึกษาที่ดี" และเป็นบุคคลาธิษฐานของความสงบเรียบร้อย กฎหมาย และจารีตประเพณี คำว่า "Themis" แปลว่า "กฎสวรรค์" (divine law) ตรงกันข้ามกับกฎที่มนุษย์สร้างขึ้น และมีความหมายตามตัวว่า "อันซึ่งประดิษฐานไว้" (that which is put in place) มาจากคำกิริยา "τίθημι" แปลว่า "วาง" หรือ "ตั้ง" (to put) ตามความเชื่อของกรีก ทีมิสเป็นผู้จัดระบบ "กิจการสังคมของมนุษย์โดยเฉพาะการมาชุมนุมกัน" ผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาคลาสสิกโมเสส ไอ. ฟินลีย์ (Moses I. Finley) ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับคำว่า "Themis" ซึ่งเป็นคำที่ใช้โดยโฮเมอร์ในศตวรรษที่ 8 ว่าเป็นคำที่ทำให้เกิดความมีระเบียบของสังคมในยุคมืดกรีก (Greek Dark Ages) ในศตวรรษที่ 10 และ 9 ก่อนคริสต์ศักราช: "ทีมิส" เป็นคำที่แปลไม่ได้ คือสิ่งที่ได้รับการประทานจากพระเจ้าและเป็นสัญลักษณ์ของความมีวัฒนธรรม บางครั้งหมายถึงวัฒนธรรมอันถูกต้อง, กระบวนการอันเหมาะสม, ความมีระบบของสังคม และบางครั้งก็เพียงพระประสงค์ของพระเจ้าเท่านั้น (เช่นที่เห็นได้จากนิมิตร้าย (omen) เป็นต้น) ที่แทบจะไม่มีส่วนใดที่เกี่ยวข้องกับความถูกต้อง ฟินลีย์กล่าวต่อไปว่า "ทีมิส" ปรากฏในประเพณี ธรรมเนียมพื้นบ้าน หรือ "mores" ที่ไม่ว่าจะใช้คำใดก็ตามต่างก็หมายถึงพลังอันยิ่งใหญ่ของสิ่งที่กระทำหรือไม่กระทำ โลกของโอดีสซุซเป็นโลกที่มีความเชื่อที่วิวัฒนาการมาแล้วอย่างลึกซึ้งถึงสิ่งใดที่เหมาะและที่ควร".

ใหม่!!: ดิมีเทอร์และทีมิส · ดูเพิ่มเติม »

ขนมปัง

นมปัง ขนมปัง หรือ ปัง เป็นอาหารที่ทำจากแป้งสาลีที่ผสมกับน้ำและยีสต์ หรือผงฟู นอกจากนี้ยังมีการใช้ส่วนผสมอื่น ๆ เพื่อแต่งสี รสชาติและกลิ่น แตกต่างกันไปตามแต่ละประเภทของขนมปัง และ แต่ละประเทศที่ทำ โดยนำส่วนผสมมาตีให้เข้ากันและนำไปอบ ขนมปังมีหลายประเภท เช่น ขนมปังฝรั่งเศส ขนมปังไรย์ หรือแม้กระทั่งเพรตเซิล ของขึ้นชื่อประเทศเยอรมนี เป็นต้น ชาวสวิสที่อาศัยอยู่ตามทะเลสาบในยุคหินเป็นผู้ริเริ่มนำเมล็ดข้าวสาลีมาบดโดยใช้ครกหยาบ ๆ ตำ แล้วนำไปผสมน้ำ แล้วนำไปเทลงบนหินร้อนๆเพื่อให้สุก ผลที่ได้คือขนมปังที่ขึ้นฟูโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งค้นพบมากว่า 3,000 ปี ก่อนคริสตกาล ประวัติที่ยอมรับสืบเนื่องกันมาก็คือพวกทาสในสมัยราชวงศ์อียีปต์ ได้ผสมก้อนแป้งที่ลืมทิ้งไว้ลงไปในแป้งที่ผสมเสร็จใหม่ๆ ผลที่ได้คือแป้งที่เบาและรสชาติดี.

ใหม่!!: ดิมีเทอร์และขนมปัง · ดูเพิ่มเติม »

ข้าวสาลี

้าวสาลี (Triticum spp.) Belderok, Bob & Hans Mesdag & Dingena A. Donner.

ใหม่!!: ดิมีเทอร์และข้าวสาลี · ดูเพิ่มเติม »

คบเพลิง

คบเพลิงติดไฟที่วางอยู่บนพื้น คบเพลิง หรือ คบไฟ (torch) เป็นอุปกรณ์ให้แสงสว่างชนิดหนึ่ง แบบดั้งเดิมจะทำจากท่อนไม้ที่ปลายด้านหนึ่งพันด้วยผ้าชุบน้ำมันดินหรือสารติดไฟอื่นๆ เมื่อนำมาให้แสงสว่างในอาคาร เช่น ปราสาท หรือสุสาน จะติดตั้งไว้บนเชิงแขวนผนัง ปัจจุบันคบเพลิงไม่ได้ใช้ในการให้แสงสว่างเพียงอย่างเดียว แต่จะใช้เป็นสัญลักษณ์ในงานพิธี (เช่น งานกีฬา) หรือเป็นส่วนหนึ่งของการละเล่นต่างๆ ด้วย หมวดหมู่:ไฟ.

ใหม่!!: ดิมีเทอร์และคบเพลิง · ดูเพิ่มเติม »

ซูส

ซุส หรือ ซีอุส (Zeus; Ζεύς, Zeús ซฺเดอุส) ทรงเป็น "พระบิดาแห่งพระเจ้าและมนุษย์" (πατὴρ ἀνδρῶν τε θεῶν τε, patḕr andrōn te theōn te) ผู้ปกครองเทพโอลิมปัสแห่งยอดเขาโอลิมปัสดังบิดาปกครองครอบครัวตามศาสนากรีกโบราณ พระองค์ทรงเป็นเทพแห่งท้องฟ้าและสายฟ้าในเทพปกรณัมกรีก ซูสกับพระเจ้าจูปิเตอร์ของโรมันมาจากรากศัพท์เดียวกัน และกลายมามีความใกล้ชิดกันภายใต้อิทธิพลเฮเลนิสติก ซูสเป็นบุตรของโครนัสและรีอา และมีพระชนมายุน้อยที่สุด ในตำนานกล่าวว่า พระองค์สมรสกับฮีรา ทว่าที่ผู้พยาการณ์ที่ดอโดนา คู่สมรสของพระองค์คือ ไดโอนี ตามที่ระบุในอีเลียด พระองค์ทรงเป็นพระบิดาของแอโฟรไดที โดยไดโอนีเป็นพระมารดา พระองค์ทรงเป็นที่รู้จักในเรื่องกาม ซึ่งส่งผลให้พระองค์มีพระโอรสธิดาที่เป็นพระเจ้าและวีรบุรุษมากมาย รวมทั้งอะธีนา อะพอลโลและอาร์ทิมิส เฮอร์มีส เพอร์เซฟะนี ไดอะไนซัส เพอร์ซิอัส เฮราคลีส เฮเลนแห่งทรอย มิวส์ แอรีส ฮีบีและฮิฟีสตัส วอลเตอร์ เบอร์เกิร์ตบรรยายไว้ในหนังสือ ความเชื่อกรีกโบราณ ว่า "ซูสเป็นเทพบิดรของบรรดาเทวดาทั้งหลาย ทวยเทพทั้งหมดกำเนิดขึ้นเพราะมีพระองค์" ชาวกรีกเชื่อว่า พระองค์คือ เทพเจ้าสูงสุด, ผู้ครอบครองจักรวาล อ้างอิงโดย พอซาเนียส (นักภูมิศาสตร์) "ที่ซูสเป็นกษัตริย์ในสวรรค์เป็นคำที่มนุษย์ทุกคนทราบ" เฮซิออด กวี ธีโอโกนี ซูสได้จัดสรรมอบอำนาจให้เหล่าเทพ กวีโฮเมอริค พระองค์มีอำนาจปกครองสูงสุดในเหล่าเทพ สัญลักษณ์ของซูสคือ อัสนีบาตสายฟ้า, เหยี่ยว, กระทิง และต้นโอ๊ก นอกเหนือจากตำนานอินโด-ยูโรเปียน ฉายาตามตำนาน "ผู้รวบรวมเมฆ" (กรีก: Νεφεληγερέτα, Nephelēgereta) ได้รับมาจากสัญลักษณ์ตามวัฒนธรรมตะวันออกใกล้โบราณ ตัวอย่างเช่น คทาของกษัตริย์ ศิลปินชาวกรีกมักจะนำเสนอรูปปั้นเทพซูสใน ท่ายืนหรือท่วงท่าการก้าวไปข้างหน้า มีอัสนีบาตประดับในพระหัตถ์ขวา หรือประทับอยู่บนพระราชบัลลังก.

ใหม่!!: ดิมีเทอร์และซูส · ดูเพิ่มเติม »

โพไซดอน

ซดอน (Poseidon,; Ποσειδών) เป็นหนึ่งในสิบสองเทพเจ้าโอลิมปัสในเทพปกรณัมกรีก พระราชอาณาเขตหลักคือมหาสมุทร และพระองค์ทรงได้รับขนานพระนามว่า "สมุทรเทพ" นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงได้รับขนานพระนามว่า "ผู้เขย่าโลก" (Earth-Shaker) เนื่องจากบทบาทของพระองค์ในการก่อแผ่นดินไหว และ "ผู้กำราบม้า" (tamer of horses) พระองค์มักทรงถูกพรรณาเป็นบุรุษสูงวัย มีพระเกษาหยิกและพระมัสสุ (หนวด) แผ่นจารึกอักษรไลเนียร์บีแสดงว่า ที่ไพลอสและธีบส์กรีซยุคสำริดก่อนมีเทพเจ้าโอลิมปัสมีการบูชาโพไซดอนเป็นพระเจ้าหลัก แต่ภายหลังมีการรวมพระองค์เข้าเป็นพระเจ้าโอลิมปัสเป็นพระอนุชาของเฮดีสและพระเชษฐาของซูส ตำนานพื้นบ้านบางตำนานเล่าว่า เรีย พระมารดาของพระองค์ ช่วยพระองค์ไว้โดยซ่อนพระองค์ไว้กับฝูงแกะแล้วแสร้งทำเป็นว่าให้กำเนิดลูกลาออกมา เพื่อมิให้ถูกโครนัสกลืนกินIn the 2nd century AD, a well with the name of Arne, the "lamb's well", in the neighbourhood of Mantineia in Arcadia, where old traditions lingered, was shown to Pausanias.

ใหม่!!: ดิมีเทอร์และโพไซดอน · ดูเพิ่มเติม »

โอซีอานัส

โอซีอานัส โอซีอานัส (Oceanus, /oʊˈsiənəs/; Ωκεανός, Okeanos) เป็นระบบที่เชื่อมต่อกันของแหล่งน้ำ เขตน่านน้ำ และมหาสมุทรของโลก (world-ocean) ในยุคสมัยคลาสสิกโบราณซึ่งชาวโรมันและชาวกรีกโบราณคิดว่ามันคือแม่น้ำขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบโลกอยู่ ตามตำนานเทพปกรณัมกรีก มีไททันตนหนึ่งใช้เป็นบุคลาธิษฐานแทนแหล่งน้ำนี้ ไททันตนนี้เป็นพระโอรสของไททันยูเรนัส (Uranus) และเทพีไกอา (Gaia) ผลงานศิลปแบบโมเสคของเฮเลนนิสต์และโรมันมักออกแบบไททันตนนี้ให้มีช่วงบนของร่างเป็นชายร่างบึกบึน มีหนวดเครายาวรุงรัง และเขา ส่วนช่วงล่างจะเป็นร่างของงูเซอร์เพนท์ (serpent) ในภาพวาดบนชิ้นส่วนจากเครื่องปั้นในช่วงประมาณ 580 ปีก่อนคริสตกาล ในกลุ่มเทพที่เข้าร่วมงานวิวาห์ของกษัตริย์เพเลอุซ (Peleus) และนิมฟ์ทะเลเธทิส (Thetis) ไททันโอเซียเนิสมีหางเป็นปลา ในมือขวาถือ "terd" และมือซ้ายถืองูเซอร์เพนท์ ซึ่งสองสิ่งนี้เป็นของขวัญแห่งความมั่งคั่งและคำทำนาย ในผลงานโมเสคโรมัน ก็มีภาพไททันโอซีอานัสถือไม้พายและอุ้มเรือด้วยเช่นกัน หมวดหมู่:เทพไททัน.

ใหม่!!: ดิมีเทอร์และโอซีอานัส · ดูเพิ่มเติม »

โฮเมอร์

รูปปั้นของโฮเมอร์ โฮเมอร์ (กรีกโบราณ: Ὅμηρος Hómēros โฮแมโรส; Homer) เป็นนักแต่งกลอนในตำนานชาวกรีก ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นผู้แต่งมหากาพย์เรื่อง อีเลียด และ โอดิสซีย์ ชาวกรีกโบราณเชื่อกันว่าโฮเมอร์เป็นนักประวัติศาสตร์ แต่นักวิชาการในปัจจุบันกลับมองโฮเมอร์ด้วยความรู้สึกสงสัย เพราะเป็นข้อมูลชีวประวัติที่สืบต่อกันมายาวนานมาก อีกทั้งตัวกาพย์เอง ก็ถูกเล่าแบบปากต่อปากมานานนับศตวรรษ และถูกแก้ไขใหม่จนกลายมาเป็นกวี มาติน เวสต์ เชื่อว่า "โฮเมอร์" ไม่ใช่นามของกวีในประวัติศาสตร์ แต่เป็นเพียงชื่อที่ถูกสร้างขึ้นมา ช่วงเวลาที่โฮเมอร์มีชีวิตนั้นเองก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่มาแต่โบราณและจนถึงทุกวันนี้ โดยเฮโรโดตุสอ้างว่าโฮเมอร์เกิดก่อนเขาประมาณ 400 ปี ซึ่งน่าจะเป็นช่วงประมาณ 850 ปีก่อนคริสตกาล แต่ทว่าแหล่งอ้างอิงโบราณอื่น ๆ กลับให้ข้อมูลที่ซึ่งใกล้เคียงกับเวลาที่น่าจะเกิดสงครามเมืองทรอยมากกว่า ซึ่งช่วงเวลาที่อาจจะเกิดสงครามเมืองทรอยนั้น เอราทอสเทนีส กล่าวว่าเกิดในช่วง 1194–1184 ปีก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: ดิมีเทอร์และโฮเมอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โครนัส

เทพโครนัส โครนัส หรือ โครนอส (Cronus หรือ Kronus, /kroʊnəs/; ภาษากรีกโบราณ: Κρόνος, Krónos) เป็นผู้นำเหล่ายักษ์ไททัน (Titan) รุ่นแรกที่มีอายุน้อยที่สุด ซึ่งเป็นทายาทของเทพีไกอา (Gaia) พระแม่ธรณี และเทพบิดายูเรนัส (Uranus) เทพแห่งท้องฟ้า เทพโครนัสได้โค่นบัลลังก์ของพระบิดา (เทพยูเรนัส) และขึ้นครองบัลลังก์ในช่วงยุคทอง จนกระทั่งถูกโค่นบัลลังก์โดยพระโอรสของตน คือ เทพซูส (Zeus) เทพโครนัสมิได้ถูกจองจำในยมโลกทาร์ทารัส (Tartarus) เหมือนเช่นไททันตนอื่น ๆ แต่เขากลับหลบหนีไปได้ ด้วยเหตุที่ว่าเทพโครนัสมีความเกี่ยวเนื่องกับยุคทองของเขาจึงได้รับการสักการะในฐานะเทพแห่งฤดูเก็บเกี่ยว ซึ่งรวมไปถึงการเก็บเกี่ยวพืชผลเช่น ข้าว ธรรมชาติ ผลผลิตทางการเกษตร และการเดินไปข้างหน้าของกาลเวลาที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ภาพของเทพโครนัสมักถือเคียวไว้ในมือ ซึ่งพระองค์ใช้ในการเก็บเกี่ยวพืชผล และเป็นอาวุธที่พระองค์ใช้โค่นบัลลังก์เทพยูเรนัส ในกรุงเอเธนส์ (Athens) วันที่ 12 ของทุกๆ เดือน ถูกเรียกว่าวันฮีคาทอมบาเอียน (Hekatombaion) ซึ่งจะมีงานเทศกาลชื่อว่า เทศกาลโครเนีย (Kronia) จะจัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่เทพโครนัสสำหรับฤดูเก็บเกี่ยว พระนามของเทพโครนัสในตำนานเทพปกรณัมโรมันคือ เทพแซเทิร์น (Saturn) หมวดหมู่:เทพไททัน.

ใหม่!!: ดิมีเทอร์และโครนัส · ดูเพิ่มเติม »

เพอร์เซฟะนี

ในเทพปกรณัมกรีก เพอร์เซฟะนี (Persephone /pərˈsɛfəniː/; Περσεφόνη) หรือเรียก คอรี (Kore /ˈkɔəriː/; "หญิงโสด") เป็นพระธิดาของซูส และเทพเจ้าแห่งการเก็บเกี่ยว ดีมิเทอร์ และราชินีแห่งโลกบาดาล โฮเมอร์อธิบายว่าพระองค์เป็นราชินีแห่งโลกบาดาลผู้น่าเกรงขามและน่าเคารพนับถือ ผู้บันดาลให้คำสาปของมนุษย์บังเกิดผลต่อวิญญาณของผู้วายชนม์ เพอร์เซฟะนีถูกเฮดีส ราชาแห่งโลกบาดาล ลักพาตัวMartin Nilsson (1967).

ใหม่!!: ดิมีเทอร์และเพอร์เซฟะนี · ดูเพิ่มเติม »

เรีย

รีย เรีย หรือ เรอา (Rhea) เป็นเทพีไททัน ซึ่งเป็นธิดาของเทพยูเรนัสกับเทพีไกอา พระนางแต่งงานกับโครนัส เทพไททันผู้เป็นพี่ชาย และได้รับการขนานนามว่า "เทพมารดา" รูปเคารพของเทพีเรียมักอยู่คู่กับสิงโตอยู่เสมอ พระนางเป็นมารดาของเทพโอลิมเปียทั้ง 6 องค์จาก 12 อง.

ใหม่!!: ดิมีเทอร์และเรีย · ดูเพิ่มเติม »

เฮสเตีย

ในศาสนากรีกโบราณ เฮสเตีย (Hestia; Ἑστία, "เตาอิฐ" หรือ "บริเวณข้างเตาไฟ") ทรงเป็นเทพเจ้าพรหมจรรย์แห่งเตาอิฐ สถาปัตยกรรมกรีกโบราณ และการจัดระเบียบกิจกรรมในบ้าน ครอบครัวและรัฐที่ถูกต้อง ในเทพปกรณัมกรีก พระนางเป็นธิดาของโครนัสและเรีย เฮสเตียทรงได้รับของบูชาที่ทุกการบวงสรวงในครัวเรือน ในที่สาธารณะ เตาอิฐของพริทเนียม (prytaneum) เป็นเสมือนสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อย่างเป็นทางการของพระนาง เมื่อมีการก่อตั้งอาณานิคมใหม่ เพลิงจากเตาอิฐสาธารณะของเฮสเตียในนครแม่จะถูกนำไปยังนิคมใหม่ด้วย พระนางประทับนั่งบนบัลลังก์ไม้เรียบ ๆ โดยมีเบาะขนแกะสีขาว และไม่ทรงเลือกสัญลักษณ์ประจำพระองค์ ภาคโรมันของพระนาง คือ เวสตาLarousse Desk Reference Encyclopedia, The Book People, Haydock, 1995, p. 215.

ใหม่!!: ดิมีเทอร์และเฮสเตีย · ดูเพิ่มเติม »

เฮดีส

(Hades,; Ἅιδης/ᾍδης, Hāidēs) เป็นพระเจ้าแห่งโลกบาดาลของกรีกโบราณ สุดท้าย พระนามฮาเดสได้กลายมาเป็นชื่อเรียกถิ่นของผู้ตาย ในเทพปกรณัมกรีก ฮาเดสเป็นพระโอรสองค์โตของโครนัสและเรีย หากพิจารณาจากลำดับที่ประสูติจากพระชนนี หรือองค์เล็กหากพิจารณาเมื่อพระชนกขย้อนออกมา มุมมองอย่างหลังนี้มีรับรองในสุนทรพจน์ของโพไซดอนในอีเลียด ตามตำนาน พระองค์กับพระอนุชา ซุสและโพไซดอน พิชิตเทพไททันและอ้างการปกครองจักรวาล แบ่งกันปกครองโลกบาดาล อากาศและทะเลตามลำดับ ปฐพีซึ่งเป็นอาณาเขตแห่งไกอามาแต่ช้านาน เป็นของทั้งสามพร้อมกัน ต่อมา ชาวกรีกเริ่มเรียกฮาเดสว่า พลูตอน ซึ่งชาวโรมันแผลงเป็นละตินว่า พลูโต ชาวโรมันโยงเฮดีส/พลูโตเข้ากับพระเจ้าคะเธาะนิคของพวกตน ดิสปาเตอร์ (Dis Pater) และออร์คัส พระเจ้าอีทรัสคันที่สอดคล้อง คือ ไอตา (Aita) มักวาดภาพพระองค์กับหมาสามหัว เซอร์เบอรัส ในประเพณีปรัมปราวิทยาสมัยหลัง แม้ไม่ใช่สมัยโบราณ พระองค์สัมผัสกับหมวกเกราะแห่งความมืดและสองง่าม คำว่า เฮดีส ในเทววิทยาคริสต์ (และพันธสัญญาใหม่ภาษากรีก) เปรียบได้กับชีโอ (sheol, שאול) ในภาษาฮีบรู ซึ่งหมายถึง ถิ่นพำนักของผู้ตาย มโนทัศน์นรกของศาสนาคริสต์คล้ายและได้รับมาจากมโนทัศน์ทาร์ทารัสของกรีก ซึ่งเป็นส่วนที่ลึกและมืดมิดซึ่งเฮดิสใช้เป็นคุกลงทัณฑ์และทรมาน.

ใหม่!!: ดิมีเทอร์และเฮดีส · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ดิมิเทอร์ดีมิเทอร์ดีมิเตอร์เทพีดีมีเทอร์เดเมเทอร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »