โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดาราจักรและดาวแปรแสงชนิดเซเฟอิด

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ดาราจักรและดาวแปรแสงชนิดเซเฟอิด

ดาราจักร vs. ดาวแปรแสงชนิดเซเฟอิด

ราจักร '''NGC 4414''' ซึ่งเป็นดาราจักรชนิดก้นหอย มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 56,000 ปีแสง และอยู่ห่างจากโลกประมาณ 60 ล้านปีแสง ดาราจักร หรือ กาแล็กซี (galaxy) เป็นกลุ่มของดาวฤกษ์นับล้านดวง กับสสารระหว่างดาวอันประกอบด้วยแก๊ส ฝุ่น และสสารมืด รวมอยู่ด้วยกันด้วยแรงโน้มถ่วง คำนี้มีที่มาจากภาษากรีกว่า galaxias หมายถึง "น้ำนม" ซึ่งสื่อโดยตรงถึงดาราจักรทางช้างเผือก (Milky Way) ดาราจักรโดยทั่วไปมีขนาดน้อยใหญ่ต่างกัน นับแต่ดาราจักรแคระที่มีดาวฤกษ์ประมาณสิบล้านดวง ไปจนถึงดาราจักรขนาดยักษ์ที่มีดาวฤกษ์นับถึงล้านล้านดวง. วแปรแสงชนิดเซเฟอิด (Cepheid variable; ออกเสียงว่า เซ-เฟ-อิด หรือ เซ-ฟีด) เป็นดาวแปรแสงชนิดหนึ่งที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง เพราะมีความเกี่ยวพันอย่างแน่นแฟ้นระหว่างช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงกับค่าความส่องสว่างสัมบูรณ์ ดาวต้นแบบที่มีชื่อเดียวกันและมีลักษณะการแปรแสงเช่นนี้ด้วยคือดาวเดลต้าเซเฟอัส (Delta Cephei) ซึ่งจอห์น กู้ดริค เป็นผู้ค้นพบคุณลักษณะการแปรแสงเมื่อปี พ.ศ. 2327 ผลจากคุณลักษณะของดาว (ซึ่งเฮนเรียตตา สวอน เลียวิตต์ ค้นพบและระบุได้ใน พ.ศ. 2451 ต่อมาคิดค้นสมการคณิตศาสตร์ที่คำนวณได้อย่างแน่นอนในปี พ.ศ. 2455) ทำให้เราสามารถใช้ดาวแปรแสงเซเฟอิดเป็นดุจเทียนมาตรฐานที่ใช้ประเมินระยะห่างของดาราจักรหรือกระจุกดาวที่มันสังกัดอยู่ได้ ความสัมพันธ์ระหว่างช่วงเวลากับความส่องสว่างสามารถคำนวณโดยละเอียดได้โดยอาศัยดาวเซเฟอิดที่อยู่ใกล้เคียง ทำให้การคำนวณระยะห่างด้วยวิธีนี้เป็นหนึ่งในวิธีที่แม่นยำที่สุดเท่าที่สามารถทำได้.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ดาราจักรและดาวแปรแสงชนิดเซเฟอิด

ดาราจักรและดาวแปรแสงชนิดเซเฟอิด มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กฎของฮับเบิลกระจุกดาว

กฎของฮับเบิล

กฎของฮับเบิล เป็นสมการในวิชาฟิสิกส์จักรวาลวิทยาที่อธิบายปรากฏการณ์การเคลื่อนไปทางแดงของแสงที่ได้รับจากดาราจักรอันห่างไกลซึ่งมีค่าแปรผันไปตามระยะห่าง กฎนี้คิดค้นขึ้นครั้งแรกโดย เอ็ดวิน ฮับเบิล ในปี ค.ศ. 1929 หลังจากเขาได้เฝ้าสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์มานับสิบปี นับได้ว่าการเฝ้าสังเกตการณ์ของฮับเบิลเป็นหลักฐานชิ้นแรกของแนวคิดการขยายตัวของจักรวาล ซึ่งเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญของแนวคิดบิกแบง ข้อมูลในการคำนวณล่าสุดใช้ข้อมูลในปี 2003 ซึ่งได้จากดาวเทียม WMAP ร่วมกับข้อมูลทางดาราศาสตร์อื่นๆ ได้ค่าคงที่ของฮับเบิลเท่ากับ 70.1 ± 1.3 (กม./วินาที)/เมกะพาร์เซก ซึ่งสอดคล้องกับค่าที่คำนวณได้จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลเมื่อปี 2001 คือ 72 ± 8 (กม./วินาที)/เมกะพาร์เซก.

กฎของฮับเบิลและดาราจักร · กฎของฮับเบิลและดาวแปรแสงชนิดเซเฟอิด · ดูเพิ่มเติม »

กระจุกดาว

กระจุกดาว M80 เป็นกระจุกดาวทรงกลม กระจุกดาวไฮยาดีสในกลุ่มดาววัว เป็นกระจุกดาวเปิด กระจุกดาว (Star Cluster) คือกลุ่มของดาวฤกษ์ที่อยู่ด้วยกันด้วยแรงดึงดูดจากความโน้มถ่วง สามารถแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือ กระจุกดาวทรงกลม เป็นกลุ่มของดาวฤกษ์อายุมากนับแสนดวงที่อยู่ด้วยกันด้วยแรงดึงดูดค่อนข้างมาก กับ กระจุกดาวเปิด ที่มีดาวฤกษ์น้อยกว่า เพียงไม่กี่ร้อยดวงในกลุ่ม เป็นดาวฤกษ์อายุน้อย และมีแรงดึงดูดต่อกันเพียงหลวม ๆ กระจุกดาวเปิดอาจเกิดการรบกวนจากแรงโน้มถ่วงของเมฆโมเลกุลขนาดยักษ์ในยามที่มันเคลื่อนผ่านไปในกาแล็กซี แต่ดาวสมาชิกในกระจุกดาวยังคงเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกันได้แม้จะไม่มีแรงโน้มถ่วงดึงดูดระหว่างกันแล้ว ในกรณีนี้จะเรียกมันว่า ชุมนุมดาว (stellar association) หรือบางครั้งอาจเรียกว่า กลุ่มเคลื่อนที่ (moving group).

กระจุกดาวและดาราจักร · กระจุกดาวและดาวแปรแสงชนิดเซเฟอิด · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ดาราจักรและดาวแปรแสงชนิดเซเฟอิด

ดาราจักร มี 133 ความสัมพันธ์ขณะที่ ดาวแปรแสงชนิดเซเฟอิด มี 7 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 1.43% = 2 / (133 + 7)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ดาราจักรและดาวแปรแสงชนิดเซเฟอิด หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »