เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ดาวเวกาและโอมูอามูอา

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ดาวเวกาและโอมูอามูอา

ดาวเวกา vs. โอมูอามูอา

วเวกา (Vega) หรือแอลฟาพิณ (Alpha Lyrae) เป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวพิณ ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดเป็นอันดับห้าในท้องฟ้าราตรี และดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดเป็นอันดับสองในซีกฟ้าเหนือ รองจากดาวอาร์คตุรุส ดาวเวกาอยู่ค่อนข้างใกล้โลก ระยะห่างจากโลก 25 ปีแสง และดาวเวกา กับดาวอาร์คตุรุสและดาวซิริอุส เป็นหนึ่งในกลุ่มดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในย่านดวงอาทิตย์ นักดาราศาสตร์ศึกษาดาวเวกาอย่างละเอียด ทำให้ได้ชื่อว่า "อาจเป็นดาวฤกษ์ที่สำคัญที่สุดในท้องฟ้ารองจากดวงอาทิตย์" ดาวเวกาเคยเป็นดาวเหนือเมื่อราว 12,000 ปีก่อน.. อมูอามูอา (ʻOumuamua; ชื่ออย่างเป็นทางการ 1I/2017 U1) เป็นวัตถุระหว่างดาวฤกษ์วัตถุแรกที่ทราบที่ผ่านเข้าระบบสุริยะ รอเบิร์ต เวริก (Robert Weryk) ค้นพบบนแนววิถีไฮเปอร์บอลิกที่เยื้องศูนย์กลางมากเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2560 หลังผ่านจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด 40 วัน มีการสังเกตครั้งแรกโดยกล้องโทรทรรศน์ แพนสตาส์ (Pan-STARRS) เมื่อวัตถุมีระยะห่างจากโลกประมาณ 85 เท่าของระยะทางโลก–ดวงจันทร์ โดยมุ่งออกจากดวงอาทิตย์ เดิมคาดว่าเป็นดาวหาง แต่หนึ่งสัปดาห์ถัดมามีการจำแนกใหม่เป็นดาวเคราะห์น้อย ซึ่งขณะนั้นเป็นวัตถุระหว่างดาวฤกษ์กลุ่มใหม่วัตถุแรก เนื่องจากแนววิถีไฮเปอร์บอลิกมากของมัน สุดท้ายมันจะออกจากระบบสุริยะและกลับสู่อวกาศระหว่างดาวฤกษ์อีกครั้ง เวลาที่วัตถุนี้เดินทางท่ามกลางดาวฤกษ์ในจานดาราจักรนั้นไม่ทราบ โอมูอามูอาเป็นวัตถุขนาดเล็ก ขนาดประมาณ 800 × 100 ฟุต มีสีดำออกแดง คล้ายวัตถุในระบบสุริยะชั้นนอก วันที่ 27 มิถุนายน..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ดาวเวกาและโอมูอามูอา

ดาวเวกาและโอมูอามูอา มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ชั่วโมงระบบสุริยะ

ชั่วโมง

ั่วโมง อักษรย่อ ชม. (Hour: h หรือ hr) เป็นหน่วยของเวล.

ชั่วโมงและดาวเวกา · ชั่วโมงและโอมูอามูอา · ดูเพิ่มเติม »

ระบบสุริยะ

ระบบสุริยะ (Solar System) ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่น ๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง ได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 166 ดวง ดาวเคราะห์แคระ 5 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 4 ดวง กับวัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ อีกนับล้านชิ้น ซึ่งรวมถึง ดาวเคราะห์น้อย วัตถุในแถบไคเปอร์ ดาวหาง สะเก็ดดาว และฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์ โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งย่านต่าง ๆ ของระบบสุริยะ นับจากดวงอาทิตย์ออกมาดังนี้คือ ดาวเคราะห์ชั้นในจำนวน 4 ดวง แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่รอบนอกจำนวน 4 ดวง และแถบไคเปอร์ซึ่งประกอบด้วยวัตถุที่เย็นจัดเป็นน้ำแข็ง พ้นจากแถบไคเปอร์ออกไปเป็นเขตแถบจานกระจาย ขอบเขตเฮลิโอพอส (เขตแดนตามทฤษฎีที่ซึ่งลมสุริยะสิ้นกำลังลงเนื่องจากมวลสารระหว่างดวงดาว) และพ้นไปจากนั้นคือย่านของเมฆออร์ต กระแสพลาสมาที่ไหลออกจากดวงอาทิตย์ (หรือลมสุริยะ) จะแผ่ตัวไปทั่วระบบสุริยะ สร้างโพรงขนาดใหญ่ขึ้นในสสารระหว่างดาวเรียกกันว่า เฮลิโอสเฟียร์ ซึ่งขยายออกไปจากใจกลางของแถบจานกระจาย ดาวเคราะห์ชั้นเอกทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะ เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดออกไป มีดังนี้คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน นับถึงกลางปี ค.ศ. 2008 วัตถุขนาดย่อมกว่าดาวเคราะห์จำนวน 5 ดวง ได้รับการจัดระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ ได้แก่ ซีรีสในแถบดาวเคราะห์น้อย กับวัตถุอีก 4 ดวงที่โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ในย่านพ้นดาวเนปจูน คือ ดาวพลูโต (ซึ่งเดิมเคยถูกจัดระดับไว้เป็นดาวเคราะห์) เฮาเมอา มาคีมาคี และ อีรีส มีดาวเคราะห์ 6 ดวงและดาวเคราะห์แคระ 3 ดวงที่มีดาวบริวารโคจรอยู่รอบ ๆ เราเรียกดาวบริวารเหล่านี้ว่า "ดวงจันทร์" ตามอย่างดวงจันทร์ของโลก นอกจากนี้ดาวเคราะห์ชั้นนอกยังมีวงแหวนดาวเคราะห์อยู่รอบตัวอันประกอบด้วยเศษฝุ่นและอนุภาคขนาดเล็ก สำหรับคำว่า ระบบดาวเคราะห์ ใช้เมื่อกล่าวถึงระบบดาวโดยทั่วไปที่มีวัตถุต่าง ๆ โคจรรอบดาวฤกษ์ คำว่า "ระบบสุริยะ" ควรใช้เฉพาะกับระบบดาวเคราะห์ที่มีโลกเป็นสมาชิก และไม่ควรเรียกว่า "ระบบสุริยจักรวาล" อย่างที่เรียกกันติดปาก เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับคำว่า "จักรวาล" ตามนัยที่ใช้ในปัจจุบัน.

ดาวเวกาและระบบสุริยะ · ระบบสุริยะและโอมูอามูอา · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ดาวเวกาและโอมูอามูอา

ดาวเวกา มี 15 ความสัมพันธ์ขณะที่ โอมูอามูอา มี 11 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 7.69% = 2 / (15 + 11)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ดาวเวกาและโอมูอามูอา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: