ดาวเคราะห์น้อยและดาวเคราะห์น้อยประเภท M
ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง
ความแตกต่างระหว่าง ดาวเคราะห์น้อยและดาวเคราะห์น้อยประเภท M
ดาวเคราะห์น้อย vs. ดาวเคราะห์น้อยประเภท M
วเคราะห์น้อย 253 แมธิลด์ เป็นดาวเคราะห์น้อยแบบ C-Type ดาวเคราะห์น้อย (Asteroid หรือบางครั้งเรียกว่า Minor Planet / Planetoid) คือวัตถุทางดาราศาสตร์ขนาดเล็กกว่าดาวเคราะห์ แต่ใหญ่กว่าสะเก็ดดาว (ซึ่งโดยปกติมักมีขนาดราว 10 เมตรหรือน้อยกว่า) และไม่ใช่ดาวหาง การแบ่งแยกประเภทเช่นนี้กำหนดจากภาพปรากฏเมื่อแรกค้นพบ กล่าวคือ ดาวหางจะต้องมีส่วนของโคม่าที่สังเกตเห็นได้ชัด และมีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อของดาวหางเอง ดาวเคราะห์น้อยมีลักษณะปรากฏคล้ายดวงดาว (คำว่า asteroid มาจากคำภาษากรีกว่า αστεροειδής หรือ asteroeidēs ซึ่งหมายถึง "เหมือนดวงดาว" มาจากคำภาษากรีกโบราณว่า Aστήρ หรือ astēr ซึ่งแปลว่า ดวงดาว) และมีการกำหนดเรียกชื่ออย่างคร่าวๆ ตามชื่อปีที่ค้นพบ จากนั้นจึงมีการตั้งชื่อตามระบบ (เป็นหมายเลขเรียงตามลำดับ) และชื่อ ถ้ามีการพิสูจน์ถึงการมีอยู่และรอบการโคจรเรียบร้อยแล้ว สำหรับลักษณะทางกายภาพของดาวเคราะห์น้อยโดยส่วนใหญ่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ดาวเคราะห์น้อยดวงแรกที่มีการตั้งชื่อคือ ซีรีส ค้นพบในปี พ.ศ. 2344 โดย จูเซปเป ปิอาซซี ซึ่งในช่วงแรกคิดว่าได้ค้นพบดาวเคราะห์ดวงใหม่ และกำหนดประเภทให้มันว่าเป็นดาวเคราะห์แคระ ซีรีสนับเป็นดาวเคราะห์น้อยดวงใหญ่ที่สุดเท่าที่เป็นที่รู้จักกันในปัจจุบัน และจัดอยู่ในประเภทดาวเคราะห์แคระ ส่วนดาวเคราะห์น้อยดวงอื่นๆ จัดเป็นวัตถุในระบบสุริยะขนาดเล็ก เซอร์วิลเลียม เฮอร์เชล (พ.ศ. 2281 - 2365 ผู้ค้นพบดาวยูเรนัส เมื่อ พ.ศ. 2324) เป็นผู้ประดิษฐ์คำศัพท์ "asteroid" ให้แก่วัตถุอวกาศชุดแรก ๆ ที่ค้นพบในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งทั้งหมดมีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี โดยส่วนใหญ่วงโคจรมักบิดเบี้ยวไม่เป็นวงรี แต่หลังจากนั้นมีการค้นพบดาวเคราะห์น้อยอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวเคราะห์ต่างๆ นับตั้งแต่ดาวพุธไปจนถึงดาวเนปจูน และอีกหลายร้อยดวงอยู่พ้นจากดาวเนปจูนออกไป ดาวเคราะห์น้อยส่วนมากพบอยู่ในแถบดาวเคราะห์น้อย ซึ่งมีวงโคจรเป็นวงรีอยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี เชื่อว่าดาวเคราะห์น้อยส่วนใหญ่เป็นซากที่หลงเหลือในจานดาวเคราะห์ก่อนเกิด ซึ่งไม่สามารถรวมตัวกันเป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ได้ระหว่างการก่อกำเนิดระบบสุริยะเนื่องจากแรงโน้มถ่วงรบกวนจากดาวพฤหัสบดี ดาวเคราะห์น้อยบางดวงมีดาวบริวาร หรือโคจรระหว่างกันเองเป็นคู่ เรียกว่า ระบบดาวเคราะห์น้อยคู. วเคราะห์น้อยประเภท M เป็นดาวเคราะห์น้อยที่ไม่ทราบองค์ประกอบแน่ชัด มีความสว่างปานกลาง (ค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนแสง ประมาณ 0.1-0.2) บางดวงมีส่วนประกอบของนิกเกิล-เหล็ก ซึ่งมีทั้งแบบบริสุทธิ์และแบบผสมกับองค์ประกอบที่เป็นหิน เชื่อว่าเป็นชิ้นส่วนจากแกนกลางโลหะของดาวเคราะห์น้อยอื่นๆ ที่แตกออกจากการปะทะ และน่าจะเป็นต้นกำเนิดของอุกกาบาตโลหะที่พบบนโลก ดาวเคราะห์น้อย 16 ไซคี เป็นดาวเคราะห์น้อยประเภท M ที่ใหญ่ที่สุด และดูจะมีองค์ประกอบเป็นโลหะแท้ ส่วนดาวเคราะห์น้อยประเภท M ดวงแรกที่มีการถ่ายภาพจากยานอวกาศ จะเป็น 21 ลูทิเชีย ซึ่งยานสำรวจโรเซตตาจะเดินทางผ่านในวันที่ 10 กรกฎาคม..
ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ดาวเคราะห์น้อยและดาวเคราะห์น้อยประเภท M
ดาวเคราะห์น้อยและดาวเคราะห์น้อยประเภท M มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ ดาวเคราะห์น้อยและดาวเคราะห์น้อยประเภท M มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง ดาวเคราะห์น้อยและดาวเคราะห์น้อยประเภท M
การเปรียบเทียบระหว่าง ดาวเคราะห์น้อยและดาวเคราะห์น้อยประเภท M
ดาวเคราะห์น้อย มี 24 ความสัมพันธ์ขณะที่ ดาวเคราะห์น้อยประเภท M มี 7 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (24 + 7)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ดาวเคราะห์น้อยและดาวเคราะห์น้อยประเภท M หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: