เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ดาวอังคาร

ดัชนี ดาวอังคาร

วอังคาร (Mars) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สี่จากดวงอาทิตย์ เป็นดาวเคราะห์เล็กที่สุดอันดับที่สองในระบบสุริยะรองจากดาวพุธ ในภาษาอังกฤษได้ชื่อตามเทพเจ้าแห่งสงครามของโรมัน มักได้รับขนานนาม "ดาวแดง" เพราะมีออกไซด์ของเหล็กดาษดื่นบนพื้นผิวทำให้มีสีออกแดงเรื่อ ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์หินที่มีบรรยากาศเบาบาง มีลักษณะพื้นผิวคล้ายคลึงกับทั้งหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์ และภูเขาไฟ หุบเขา ทะเลทราย ตลอดจนพิดน้ำแข็งขั้วดาวที่ปรากฏบนโลก คาบการหมุนรอบตัวเองและวัฏจักรฤดูกาลของดาวอังคารก็มีความคล้ายคลึงกับโลกซึ่งความเอียงก่อให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ ดาวอังคารเป็นที่ตั้งของโอลิมปัสมอนส์ ภูเขาไฟใหญ่ที่สุดบนดาวอังคารและสูงสุดอันดับสองในระบบสุริยะเท่าที่มีการค้นพบ และเป็นที่ตั้งของเวลส์มาริเนริส แคนยอนขนาดใหญ่อันดับต้น ๆ ในระบบสุริยะ แอ่งบอเรียลิสที่ราบเรียบในซีกเหนือของดาวปกคลุมกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมดและอาจเป็นลักษณะการถูกอุกกาบาตชนครั้งใหญ่ ดาวอังคารมีดาวบริวารสองดวง คือ โฟบอสและดีมอสซึ่งต่างก็มีขนาดเล็กและมีรูปร่างบิดเบี้ยว ทั้งคู่อาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ถูกจับไว้ คล้ายกับทรอยของดาวอังคาร เช่น 5261 ยูเรกา ก่อนหน้าการบินผ่านดาวอังคารที่สำเร็จครั้งแรกของ มาริเนอร์ 4 เมื่อปี 1965 หลายคนคาดว่ามีน้ำในรูปของเหลวบนพื้นผิวดาวอังคาร แนวคิดนี้อาศัยผลต่างเป็นคาบที่สังเกตได้ของรอยมืดและรอยสว่าง โดยเฉพาะในละติจูดขั้วดาวซึ่งดูเป็นทะเลและทวีป บางคนแปลความรอยมืดริ้วลายขนานเป็นร่องทดน้ำสำหรับน้ำในรูปของเหลว ภายหลัง มีการอธิบายว่าภูมิประเทศเส้นตรงเหล่านั้นเป็นภาพลวงตา แม้ว่าหลักฐานทางธรณีวิทยาที่ภารกิจไร้คนบังคับรวบรวมชี้ว่า ครั้งหนึ่งดาวอังคารเคยมีน้ำปริมาณมากปกคลุมบนพื้นผิว ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะต้น ๆ ของอายุ ในปี 2005 เรดาร์เผยว่ามีน้ำแข็งน้ำ (water ice) ปริมาณมากขั้วทั้งสองของดาว และที่ละติจูดกลาง ยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคารสปิริต พบตัวอย่างสารประกอบเคมีที่มีโมเลกุลน้ำเมื่อเดือนมีนาคม 2007 ส่วนลงจอดฟีนิกซ์ พบตัวอย่างน้ำแข็งน้ำโดยตรงในดินส่วนตื้นของดาวอังคารเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2008 มียานอวกาศที่กำลังปฏิบัติงานอยู่เจ็ดลำ ห้าลำอยู่ในวงโคจร ได้แก่ 2001 มาร์สโอดิสซี มาร์สเอ็กซ์เพรส มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ เมเว็น และมาร์สออร์บิเตอร์มิชชัน และสองลำบนพื้นผิว ได้แก่ ยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคารออปพอร์ทูนิตี และยานมาร์สไซแอนซ์แลบอราทอรีคิวริออซิตี การสังเกตโดย มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ เปิดเผยว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีน้ำไหลในช่วงเดือนที่ร้อนที่สุดบนดาวอังคาร ในปี 2013 ยานคิวริออซิตี ของนาซาค้นพบว่าดินของดาวอังคารมีน้ำเป็นองค์ประกอบระหว่างร้อยละ 1.5 ถึง 3 โดยมวล แม้ว่าน้ำนั้นจะติดอยู่กับสารประกอบอื่น ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงได้โดยอิสระ กำลังมีการสืบค้นเพื่อประเมินศักยภาพความสามารถอยู่อาศัยได้ในอดีตของดาวอังคาร ตลอดจนความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตหลงเหลืออยู่ มีการสืบค้นบริเวณนั้นโดยส่วนลงจอด ''ไวกิง'' โรเวอร์ สปิริต และออปพอร์ทูนิตี ส่วนลงจอดฟีนิกซ์ และโรเวอร์ คิวริออซิตี มีการวางแผนภารกิจทางชีวดาราศาสตร์ไว้แล้ว ซึ่งรวม มาร์ส 2020 และเอ็กโซมาร์สโรเวอร์ ดาวอังคารสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากโลกโดยง่ายซึ่งจะปรากฏให้เห็นเป็นสีออกแดง มีความส่องสว่างปรากฏได้ถึง −2.91 ซึ่งเป็นรองเพียงดาวพฤหัสบดี ดาวศุกร์ ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ กล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินโดยทั่วไปมีขีดจำกัดการมองเห็นรายละเอียดของภูมิประเทศขนาดประมาณ 300 กิโลเมตรเมื่อโลกและดาวอังคารเข้าใกล้กันมากที่สุดอันเป็นผลจากบรรยากาศของโลก.

สารบัญ

  1. 218 ความสัมพันธ์: บรรยากาศบรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษบัตเตอร์สกอตช์บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์บารัก โอบามาบาร์ (หน่วยวัด)ฟอร์มาลดีไฮด์ฟีนิกซ์ (ยานอวกาศ)พารัลแลกซ์พีเอช (เคมี)กรีนิชกล้องโทรทรรศน์กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลการระดมชนหนักครั้งหลังการระเหิดการถ่ายเทความร้อนการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคการไหลตามฤดูกาลของน้ำบนดาวอังคารการเดินทางของกัลลิเวอร์การเคลื่อนผ่านทางดาราศาสตร์กาลิเลโอ กาลิเลอีกำมะถันกำเนิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะกิโลกรัมกิโลเมตรกึ่งแกนเอกภาพยนตร์การ์ตูนภาพลวงตาภาษากรีกภูเขาไฟมวลมวลสารพอกมหาสมุทรอาร์กติกมาริเนอร์ 9มาร์วิน มาร์เชียนมาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์มาส์มิลานมีเทนยอดเขาเอเวอเรสต์ยานอวกาศยิปซัมระบบสุริยะระดับน้ำทะเลรัฐวิสาหกิจรอสคอสมอสรัฐแอริโซนารัฐเท็กซัสรังสีอัลตราไวโอเลตลมสุริยะลองจิจูด... ขยายดัชนี (168 มากกว่า) »

  2. ดาวเคราะห์คล้ายโลก
  3. ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ

บรรยากาศ

มุมมองของชั้นบรรยากาศที่ตื่นตัวของดาวพฤหัสบดี รวมทั้งจุดแดงใหญ่ (Great Red Spot) บรรยากาศ หมายถึงชั้นแก๊สชนิดต่าง ๆ ที่ปกคลุมอยู่ทั่วดาวเคราะห์หรือวัตถุท้องฟ้านั้น ๆ ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละดาว บางดาวไม่มีชั้นบรรยากาศ สำหรับบรรยากาศของโลกนั้นเป็นอากาศที่ห้อหุ้มโลก ประกอบไปด้วยไนโตรเจน, ออกซิเจน และแก๊สอื่น ๆ มีขอบเขตนับจากระดับน้ำทะเลขึ้นไปประมาณ 1000 กิโลเมตรโดยเฉลี่ย ดาวเคราะห์ชั้นในมีส่วนประกอบเป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นหลัก ส่วนดาวเคราะห์ชั้นนอกมีไฮโดรเจน, ฮีเลียม และแก๊สอื่นๆ เป็นหลัก.

ดู ดาวอังคารและบรรยากาศ

บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ

ริษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษราชบัณฑิตยสถาน.

ดู ดาวอังคารและบรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ

บัตเตอร์สกอตช์

ัตเตอร์สกอตช์ (butterscotch) เป็นขนมหวานที่มีส่วนผสมหลักคือน้ำตาลแดงและเนย บางครั้งอาจผสมน้ำเชื่อมข้าวโพด, ครีม, วานิลลาและเกลือ สูตรแรก ๆ ที่พบในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ใช้กากน้ำตาลแทนน้ำตาล บัตเตอร์สกอตช์คล้ายกับทอฟฟี แต่ต่างกันที่ระดับความเดือดของน้ำตาล โดยบัตเตอร์สกอตช์จะเป็นระดับ soft crack ส่วนทอฟฟีจะเป็นระดับ hard crack บัตเตอร์สกอตช์ใช้เป็นส่วนผสมในลูกกวาดและพุดดิง ใส่ในคุกกี้แบบเดียวกับช็อกโกแลตชิป หรือแต่งรสชาติของเหล้าหวาน ซอสบัตเตอร์สกอตช์ใช้เป็นซอสของหวาน โดยเตรียมได้จากการเคี่ยวน้ำตาลแดงที่อุณหภูมิ 116 °C กับเนยและครีม.

ดู ดาวอังคารและบัตเตอร์สกอตช์

บันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์

ันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์ หรือ ไซไฟเป็นนิยายที่เสนอมุมมองเกี่ยวกับผลกระทบต่อบุคคลหรือสังคม จากวิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยีในจินตนาการ.

ดู ดาวอังคารและบันเทิงคดีแนววิทยาศาสตร์

บารัก โอบามา

รัก ฮูเซน โอบามา ที่ 2 (Barack Hussein Obama II; เกิด 4 สิงหาคม ค.ศ. 1961) เป็นนักการเมืองชาวอเมริกัน ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 44 ตั้งแต..

ดู ดาวอังคารและบารัก โอบามา

บาร์ (หน่วยวัด)

ร์ (bar) คือหน่วยวัดความดัน ถึงไม่ใช่หน่วยเอสไอ แต่สถาบันมาตรฐานและเทคโนโลยีแห่งชาติ (NIST) ก็ได้ยอมรับการใช้งานกับหน่วยเอสไออื่น ๆ หน่วยบาร์เป็นที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในการอธิบายความดัน เพราะว่ามีค่าเหมือนกันกับความดันบรรยากาศ สามารถใช้หน่วยนี้ได้อย่างถูกกฎหมายในกลุ่มสหภาพยุโรป British Standard BS 350:2004 Conversion Factors for Units.

ดู ดาวอังคารและบาร์ (หน่วยวัด)

ฟอร์มาลดีไฮด์

ฟอร์มาลดีไฮด์ เป็นสารประกอบอินทรีย์ มีสูตรเคมี CH2O หรือ HCHO มันเป็นอัลดีไฮด์รูปง่ายที่สุด และรู้จักในชื่อเป็นระบบว่า เมทานาล ชื่อสามัญของสารนี้ เช่น ฟอร์มาลิน ฟอร์มาลดีไฮด์เป็นแก๊สที่อุณหภูมิห้อง ไร้สี และมีกลิ่นฉุนระคายเคืองเป็นลักษณะเฉพาะตัว มันเป็นสารตั้งต้นที่สำคัญของสารและสารประกอบเคมีหลายชนิด ในปี 2539 ขีดความสามารถที่ติดตั้งของการผลิตฟอร์มาลดีไฮด์ประเมินไว้ที่ 8.7 ล้านตันต่อปีGünther Reuss, Walter Disteldorf, Armin Otto Gamer, Albrecht Hilt “Formaldehyde” in Ullmann's Encyclopedia of Industrial Chemistry, 2002, Wiley-VCH, Weinheim.

ดู ดาวอังคารและฟอร์มาลดีไฮด์

ฟีนิกซ์ (ยานอวกาศ)

ัญญาลักษณ์โครงการฟีนิกซ์ ยานฟีนิกซ์ (Phoenix Spacecraft) เป็นยานสำรวจดาวอังคารของโครงการสำรวจดาวอังคาร ยานลำนี้มีภารกิจหลักในการสำรวจสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับชืวิตขนาดเล็กและเพื่อสำรวจประวัติศาสตร์ของน้ำบนดาว เพื่อเป็นข้อมูลว่าดาวอังคารเคยมีแหล่งน้ำบนดาวมาก่อนหรือไม่อย่างไร ยานฟีนิกซ์ถูกปล่อยในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ.

ดู ดาวอังคารและฟีนิกซ์ (ยานอวกาศ)

พารัลแลกซ์

ำลองอย่างง่ายของการเกิดพารัลแลกซ์ของวัตถุกับฉากหลังที่อยู่ห่างออกไปเมื่อเปลี่ยนตำแหน่งของผู้สังเกต เมื่อมองจาก "มุมมอง A" วัตถุจะอยู่หน้าฉากหลังสีน้ำเงิน แต่เมื่อเปลี่ยนไปเป็น "มุมมอง B" วัตถุจะไปปรากฏอยู่ข้างหน้าฉากหลังสีแดงแทน ภาพเคลื่อนไหวแสดงตัวอย่างของพารัลแลกซ์ เมื่อผู้สังเกตเคลื่อนจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง วัตถุที่อยู่ไกลกว่าจะดูเหมือนเคลื่อนที่ช้ากว่าวัตถุที่อยู่ใกล้ๆ พารัลแลกซ์ (Parallax) คือลักษณะการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งปรากฏ หรือความแตกต่างของตำแหน่งของวัตถุเมื่อมองผ่านมุมมองที่แตกต่างกัน สามารถวัดได้จากมุมของความเอียงระหว่างเส้นสังเกตทั้งสองเส้น คำนี้มีที่มาจากภาษากรีก παράλλαξις (parallaxis) หมายถึง "การเปลี่ยนแปลง" วัตถุที่อยู่ใกล้ผู้สังเกตจะมีพารัลแลกซ์มากกว่าวัตถุที่อยู่ไกล พารัลแลกซ์จึงสามารถใช้ในการประเมินระยะห่างได้ด้วย ในทางดาราศาสตร์ พารัลแลกซ์เป็นกระบวนการทางตรงทางเดียวที่สามารถใช้ในการประเมินระยะห่างของวัตถุ (คือดาวฤกษ์) ที่อยู่พ้นออกไปจากระบบสุริยะได้ ดาวเทียมฮิปปาร์คอสได้ใช้เทคนิคนี้ในการสังเกตการณ์ดาวฤกษ์ใกล้เคียงแล้วกว่า 100,000 ดวง นี่เป็นวิธีพื้นฐานในการตรวจวัดวัตถุห่างไกลในทางดาราศาสตร์ด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า บันไดระยะห่างของจักรวาล ปรากฏการณ์พารัลแลกซ์ทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อเครื่องมือสังเกตการณ์เชิงแสงหลายชนิด เช่น กล้องส่องทางไกล กล้องจุลทรรศน์ และกล้องแบบสะท้อนสองเลนส์ที่มองวัตถุจากมุมมองที่แตกต่างกันเล็กน้อย สัตว์หลายชนิดรวมถึงมนุษย์ มีตา 2 ตาที่เหลื่อมมุมสังเกตการณ์กันเล็กน้อย เพื่อให้สามารถใช้ปรากฏการณ์พารัลแลกซ์ในการประเมินความลึกของภาพได้ กระบวนการเช่นนี้เรียกชื่อว่า stereopsis.

ดู ดาวอังคารและพารัลแลกซ์

พีเอช (เคมี)

ีเอช (pH ย่อมาจาก Potential of Hydrogen ion) เป็นค่าที่แสดงความเป็นกรดเป็นเบสของสารเคมีจากปฏิกิริยาของไฮโดรเจนไอออน (H+) สามารถทดสอบได้หลายวิธี โดยวิธีที่นิยมและง่ายสุดคือทดสอบด้วยกระดาษลิตมัสจากการเปลี่ยนสี สำหรับตัวเลขที่แสดงค่าพีเอช ถ้าพิจารณาอย่างง่ายที่อุณหภูมิห้อง ค่าเท่ากับ 7 แสดงว่าสารนั้นเป็นกลางไม่มีฤทธิ์เป็นกรดหรือเบส เช่น น้ำบริสุทธิ์ ถ้ามีค่าน้อยกว่า 7 แสดงว่าเป็นกรด และถ้ามากกว่า 7 แสดงว่าเป็น.

ดู ดาวอังคารและพีเอช (เคมี)

กรีนิช

หอดูดาวหลวงกรีนิช กรีนิช (Greenwich) เป็นเขตการปกครองของลอนดอน สหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ เป็นที่ตั้งของหอดูดาวหลวงกรีนิชระหว่างปี..

ดู ดาวอังคารและกรีนิช

กล้องโทรทรรศน์

กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง กล้องโทรทรรศน์ คืออุปกรณ์ที่ใช้ขยายวัตถุท้องฟ้าโดยอาศัยหลักการรวมแสง เพื่อให้สามารถมองเห็นวัตถุท้องฟ้าที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือทำให้มองเห็นได้ชัดขึ้น และมีขนาดใหญ่ขึ้น กล้องโทรทรรศน์ได้ถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.

ดู ดาวอังคารและกล้องโทรทรรศน์

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble Space Telescope) คือ กล้องโทรทรรศน์ในวงโคจรของโลกที่กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรีนำส่งขึ้นสู่วงโคจรเมื่อเดือนเมษายน..

ดู ดาวอังคารและกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล

การระดมชนหนักครั้งหลัง

การระดมชนหนักครั้งหลัง (Late Heavy Bombardment, ย่อ: LHB) หรือวินาศภัยดวงจันทร์ (lunar cataclysm) เป็นเหตุการณ์ซึ่งคาดว่าเกิดเมื่อประมาณ 4.1 ถึง 3.8 พันล้านปีก่อน ตรงกับบรมยุคเฮเดียนและมหายุคอีโออาร์เคียนบนโลก มีทฤษฎีว่าในช่วงนี้ดาวเคราะห์น้อยจำนวนมากผิดปกติพุ่งชนดาวเคราะห์คล้ายโลกยุคต้นในระบบสุริยะชั้นใน ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลกและดาวอังคาร การระดมชนหนักครั้งหลักเกิดหลังโลกและดาวเคราะห์หินอื่นก่อรูปขึ้นและรวบรวม (accrete) มวลส่วนใหญ่ของดาวนั้น ๆ แล้ว แต่ยังถือเป็นช่วงต้นในประวัติศาสตร์ของโลก หลักฐานของการระดมชนหนักครั้งหลังมาจากตัวอย่างดวงจันทร์ที่นักบินอวกาศโครงการอะพอลโลนำกลับมาด้วย การหาอายุด้วยไอโซโทปของหินดวงจันทร์บ่งว่า เศษหลอมละลายจากการพุ่งชน (impact melt) ส่วนใหญ่เกิดในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ มีหลายสมมติฐานพยายามอธิบายการเพิ่มขึ้นเฉียบพลันของสิ่งพุ่งชน (ทั้งดาวเคราะห์น้อยและดาวหาง) ในระบบสุริยะชั้นใน แต่ยังไม่มีมติ แบบจำลองไนซ์ ซึ่งได้รับความนิยมในหมู่นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ ตั้งสมมติฐานว่าดาวเคราะห์ยักษ์กำลังมีการย้ายวงโคจร และระหว่างนั้นเองก็ทำให้วัตถุในแถบดาวเคราะห์น้อย และ/หรือ แถบไคเปอร์กระจัดกระจายเป็นวงโคจรเยื้องศูนย์กลาง และเข้าสู่วิถีของดาวเคราะห์คล้ายโลก นักวิจัยบางส่วนแย้งว่าข้อมูลตัวอย่างดวงจันทร์ไม่จำเป็นว่าเหตุการณ์พุ่งชนจะต้องเกิดในช่วง 3.9 พันล้านปีก่อน และการกระจุกของเศษหลอมละลายจากการพุ่งชนที่มีอายุใกล้เคียงช่วงนี้เป็นผลจากการสุ่มตัวอย่างวัสดุที่เก็บมาจากแอ่งพุ่งชนขนาดใหญ่แห่งเดียว พวกเขายังสังเกตว่าอัตราการเกิดแอ่งพุ่งชนอาจแตกต่างกันได้มากระหว่างระบบสุริยะชั้นนอกและใน.

ดู ดาวอังคารและการระดมชนหนักครั้งหลัง

การระเหิด

น้ำแข็งแห้งกำลังระเหิด การระเหิด (sublimation หรือ primary drying) คือปรากฏการณ์ที่สสารเปลี่ยนสถานะจากของแข็งกลายเป็นไอหรือก๊าซ ที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดหลอมเหลว โดยไม่ผ่านสถานะของเหลว.

ดู ดาวอังคารและการระเหิด

การถ่ายเทความร้อน

http://www.roasterproject.com/2010/01/heat-transfer-the-basics/การถ่ายเทความร้อนจะมี3รูปแบบดังที่เห็นในรูปซึ่งทั้ง3แบบจะมีความสัมพันธ์กัน การถ่ายเทความร้อน (heat transfer) คือการถ่ายเทของพลังงานความร้อน.

ดู ดาวอังคารและการถ่ายเทความร้อน

การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค

แผนที่แสดงแผ่นเปลือกโลก แผ่นเปลือกโลก การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค (plate tectonics; มาจากภาษากรีก: τέκτων, "tektōn" แปลว่า "ผู้สร้าง") เป็นทฤษฎีเชิงธรณีวิทยาที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่ออธิบายถึงหลักฐานจากการสังเกตการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ โดยทฤษฎีนี้ได้พัฒนาต่อยอดจากทฤษฎีการเลื่อนไหลของทวีปเดิมที่ถูกเสนอขึ้นมาระหว่าง พ.ศ.

ดู ดาวอังคารและการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค

การไหลตามฤดูกาลของน้ำบนดาวอังคาร

การไหลในฤดูร้อนบนเนินดาวอังคารในปล่องภูเขาไฟนิวตัน การสังเกตจากมาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ขององค์การนาซาได้เปิดเผยว่า อาจมีการไหลของน้ำในช่วงเดือนที่อบอุ่นที่สุดบนดาวอังคาร การวิจัยเสนอว่า ในอดีตอาจเคยมีน้ำในสถานะของเหลวไหลอยู่บนพื้นผิวของดาว ปกคลุมเป็นบริเวณกว้างคล้ายกับมหาสมุทรบนโลก อย่างไรก็ตาม คำถามยังคงมีอยู่ว่าน้ำหายไปไหนหมด ในแถลงการณ์ที่ออกโดยนาซาเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม..

ดู ดาวอังคารและการไหลตามฤดูกาลของน้ำบนดาวอังคาร

การเดินทางของกัลลิเวอร์

กัลลิเวอร์ถูกมนุษย์ตัวเล็กของอาณาจักรลิลลิพุตจับเป็นเชลย ภาพโดย Ferdinand-Philippe d'Orléans (1810-1842) การเดินทางของกัลลิเวอร์ (Gulliver's Travels) เป็นนวนิยายโดยโจนาทาน สวิฟต์ นักเขียนและนักบวชชาวไอริช ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี..

ดู ดาวอังคารและการเดินทางของกัลลิเวอร์

การเคลื่อนผ่านทางดาราศาสตร์

วงจันทร์เคลื่อนผ่านหน้าดวงอาทิตย์ จับภาพได้ขณะทำการปรับแต่งกล้องถ่ายภาพอัลตราไวโอเลตของยานอวกาศ STEREO ภาพของดวงจันทร์ดูเล็กกว่าที่เห็นบนโลกมาก เพราะระยะห่างระหว่างยานกับดวงจันทร์ไกลกว่าระยะห่างระหว่างโลกกับดวงจันทร์มาก การเคลื่อนผ่าน หรือ การเคลื่อนผ่านทางดาราศาสตร์ มีความหมายในทางดาราศาสตร์อยู่ 3 แบบ คือ.

ดู ดาวอังคารและการเคลื่อนผ่านทางดาราศาสตร์

กาลิเลโอ กาลิเลอี

กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei; 15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564 - 8 มกราคม ค.ศ. 1642) เป็นชาวทัสกันหรือชาวอิตาลี ซึ่งมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ ผลงานของกาลิเลโอมีมากมาย งานที่โดดเด่นเช่นการพัฒนาเทคนิคของกล้องโทรทรรศน์และผลสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ที่สำคัญจากกล้องโทรทรรศน์ที่พัฒนามากขึ้น งานของเขาช่วยสนับสนุนแนวคิดของโคเปอร์นิคัสอย่างชัดเจนที่สุด กาลิเลโอได้รับขนานนามว่าเป็น "บิดาแห่งดาราศาสตร์สมัยใหม่" "บิดาแห่งฟิสิกส์สมัยใหม่"Weidhorn, Manfred (2005).

ดู ดาวอังคารและกาลิเลโอ กาลิเลอี

กำมะถัน

กำมะถัน(สุพรรณถัน) หรือ ซัลเฟอร์ (Sulfur หรือ Sulphur) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ S และเลขอะตอม 16 เป็นอโลหะที่มีอยู่ทั่วไป ไม่มีรสหรือกลิ่น และมีวาเลนซ์ได้มากมาย กำมะถันในรูปแบบปกติเป็นของแข็งสีเหลืองที่เป็นผลึก ในธรรมชาติ สามารถพบได้ในรูปธาตุเอง หรือแร่ซัลไฟด์และซัลเฟต เป็นธาตุจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต และพบในกรดอะมิโนหลายชนิด การใช้ในเชิงพาณิชย์ที่เป็นหลัก คือ ในปุ๋ย แต่นอกจากนี้ยังใช้ในดินปืน ไม้ขีดไฟ ยาฆ่าแมลง และยาฆ่าร.

ดู ดาวอังคารและกำมะถัน

กำเนิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะ

วาดโดยศิลปิน แสดงจานดาวเคราะห์ก่อนเกิดในจินตนาการ กำเนิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะดำเนินมาตั้งแต่ประมาณ 4,600 ล้านปีก่อน โดยเริ่มจากการแตกสลายด้วยแรงโน้มถ่วงภายในของเมฆโมเลกุลขนาดยักษ์ มวลส่วนมากในการแตกสลายครั้งนั้นได้กระจุกรวมกันอยู่บริเวณศูนย์กลาง และกลายมาเป็นดวงอาทิตย์ มวลส่วนที่เหลือวนเวียนโดยรอบมีรูปร่างแบนลง กลายเป็นจานดาวเคราะห์ก่อนเกิด ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของดาวเคราะห์ ดาวบริวาร ดาวเคราะห์น้อย และวัตถุขนาดเล็กอื่นๆ ในระบบสุริยะ แบบจำลองดังกล่าวมานี้ถือเป็นแบบที่ได้รับการยอมรับทั่วไป เรียกชื่อว่า สมมติฐานเนบิวลา มีการพัฒนาแบบจำลองนี้ขึ้นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 18 โดยเอมมานูเอล สวีเดนบอร์ก อิมมานูเอล คานท์ และปีแยร์-ซีมง ลาปลัส การวิวัฒนาการในลำดับถัดมาเกี่ยวข้องกับศาสตร์หลายแขนง เช่น ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ ธรณีวิทยา วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ นับแต่ยุคเริ่มต้นของการสำรวจอวกาศในคริสต์ทศวรรษ 1950 และการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบในคริสต์ทศวรรษ 1990 แบบจำลองนี้ได้ถูกท้าทายและผ่านการปรับแต่งมาอีกหลายครั้งเพื่อให้สอดคล้องกับการค้นพบใหม่ๆ ระบบสุริยะได้เริ่มวิวัฒนาการอย่างมากนับตั้งแต่มันเริ่มกำเนิดขึ้น ดาวบริวารหลายดวงกำเนิดขึ้นจากจานของแก๊สและฝุ่นรอบๆดาวเคราะห์แม่ของมัน ขณะที่มีดาวบริวารบางดวงที่เกิดในบริเวณอื่น แล้วถูกดึงดูดให้กลายเป็นดาวบริวารในภายหลัง นอกจากนั้น เช่น ดวงจันทร์ ซึ่งอาจจะกำเนิดหลังจากการปะทะครั้งใหญ่ การปะทะระหว่างวัตถุสองวัตถุ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และเคยเป็นหัวใจสำคัญของการวิวัฒนาการของระบบสุริยะ ตำแหน่งของดาวเคราะห์มักจะเลื่อนจากตำแหน่งเดิม เนื่องด้วยแรงโน้มถ่วง การย้ายตำแหน่งของดาวเคราะห์นี้คาดว่าจะเกิดขึ้นมากขณะในช่วงต้นของการวิวัฒนาการ ในช่วงประมาณ 5 พันล้านปีข้างหน้า ดวงอาทิตย์จะเย็นลง และผิวนอกจะขยายตัวออกไปหลายเท่าจากเส้นผ่านศูนย์กลางเดิม (กลายเป็นดาวยักษ์แดง) หลังจากนั้นดาวยักษ์แดงก็จะสลายผิวนอกกลายเป็นเนบิวลาดาวเคราะห์ และเหลือแกนกลางไว้ ซึ่งรู้จักกันว่าเป็น ดาวแคระขาว ในอนาคตอันไกลโพ้น ความโน้มถ่วงระหว่างดาวฤกษ์จะลดลง ดาวเคราะห์บางดวงอาจจะถูกทำลาย บางส่วนอาจจะหลุดออกไปสู่อวกาศระหว่างดวงดาว ยิ่งไปกว่านั้น ในช่วงประมาณหมื่นล้านปีข้างหน้า ดวงอาทิตย์จะกลายเป็นดาวฤกษ์ที่ไม่มีวัตถุใดโคจรรอบๆเล.

ดู ดาวอังคารและกำเนิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะ

กิโลกรัม

กิโลกรัม อักษรย่อ กก. (kilogram: kg) เป็นหน่วยฐานเอสไอของมวล นิยามไว้เท่ากับมวลของมวลต้นแบบระหว่างชาติของกิโลกรัม โดยสร้างจากโลหะเจือแพลตินัม-อิริเดียม.

ดู ดาวอังคารและกิโลกรัม

กิโลเมตร

กิโลเมตร อักษรย่อ กม. (mètre, km) เป็นหน่วยวัดความยาว มีขนาดเท่ากับ 1 × 103 เมตร.

ดู ดาวอังคารและกิโลเมตร

กึ่งแกนเอก

กึ่งแกนเอกของวงรี ระยะกึ่งแกนเอก (Semi-major axis) ในทางเรขาคณิต หมายถึงความยาวครึ่งหนึ่งของแกนเอก ซึ่งใช้แสดงถึงมิติของวงรีหรือไฮเพอร์โบลา หมวดหมู่:ภาคตัดกรวย.

ดู ดาวอังคารและกึ่งแกนเอก

ภาพยนตร์การ์ตูน

การ์ตูนม้าเคลื่อนไหว เกิดจากการซ้อนภาพหลายภาพต่อเนื่องกัน ภาพยนตร์การ์ตูน เป็นทัศนศิลป์รูปแบบหนึ่ง มีรูปแบบเป็นภาพเคลื่อนไหวที่สร้างด้วยการฉายภาพวาด ต่อเนื่องกันด้วยความเร็วสูง ผิดกับภาพยนตร์ซึ่งสร้างโดยใช้กล้องบันทึกภาพของวัตถุเคลื่อนไหวด้วยความเร็วสูง.

ดู ดาวอังคารและภาพยนตร์การ์ตูน

ภาพลวงตา

ลวงตา (Optical illusion) หมายถึง ภาพที่หลอกตาให้มองเห็นและรับรู้ผิดพลาดไปจากความเป็นจริง ส่วนใหญ่สายตาจะรับรู้ผิดพลาดเกี่ยวกับรูปทรง ขนาด และสี ในบางครั้งตาของคนเราก็ไม่ได้เห็นสิ่งที่เป็นอยู่จริงเสมอไปและสามารถถูกหลอกได้ง่าย ตาและสมองของคนเราจะทำงานประสานกันอย่างใกล้ชิดมาก โดยตาทำหน้าที่รับภาพเข้ามา ส่วนสมองทำหน้าที่ประมวลผลและวิเคราะห์ว่าภาพที่รับเข้ามาเป็นภาพอะไร มีสีอะไร เป็นภาพเคลื่อนไหวหรือภาพนิ่ง เมื่อแสงจากวัตถุกระทบกับเลนส์ตาจะเกิดการหักเหและเกิดเป็นภาพจริงบริเวณจอตา(retina) และจอตาก็จะดูดซับและแปลงภาพให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งต่อไปยังสมอง.

ดู ดาวอังคารและภาพลวงตา

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ดู ดาวอังคารและภาษากรีก

ภูเขาไฟ

ูเขาไฟโบรโมและภูเขาไฟสิเมรุบนเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ภูเขาไฟ เป็นธรณีสัณฐานที่หินหนืดปะทุผ่านขึ้นมายังพื้นผิวของดาวเคราะห์ ภูเขาไฟมักเกิดขึ้นใกล้กับแนวรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก อย่างไรก็ตาม ยังมีภูเขาไฟที่เป็นข้อยกเว้น เรียกว่า จุดร้อนภูเขาไฟ (Volcanic Hotspot) วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับภูเขาไฟ เรียกว่า วิทยาภูเขาไฟ (vulcanology หรือ volcanology).

ดู ดาวอังคารและภูเขาไฟ

มวล

มวล เป็นคุณสมบัติหนึ่งของวัตถุ ที่บ่งบอกปริมาณ ของสสารที่วัตถุนั้นมี มวลเป็นแนวคิดหลักอันเป็นหัวใจของกลศาสตร์แบบดั้งเดิม รวมไปถึงแขนงวิชาที่เกี่ยวข้อง หากแจกแจงกันโดยละเอียดแล้ว จะมีปริมาณอยู่ 3 ประเภทที่ถูกนิยามว่า มวล ได้แก.

ดู ดาวอังคารและมวล

มวลสารพอก

มวลสารพอก ตามชายหาด มวลสารพอก คือมวลวัตถุ หรือแร่ที่จับตัวกันแน่นและแข็ง เป็นรูปทรงกลม แต่ที่พบทั่วไปมักเป็นรูปกลมรี รูปกลมแบน หรือรูปร่างไม่แน่นอน เกิดจากการจับตัวกันของสารเหลว หรือการตกผลึกของสารละลายรอบๆจุด หรืออนุภาค เช่น ใบไม้ กระดูก เปลือกหอย หรือซากดึกดำบรรพ์ จนเกิดเป็นก้อนแข็งๆ ภายในรูหรือโพรงของชั้นหิน หรือภายในเศษชิ้นส่วนภูเขาไฟ โดยทั่วไปส่วนประกอบของซิลิกา (เชิร์ต) แคลไซต์ โดโลไมต์ เหล็กออกไซด์ ไพไรต์ ยิปซัม มีขนาดตั้งแต่ เม็ดกรวดเล็กๆ ไปจนถึงรูปทรงกลมที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 เมตร ส่วนมากเกิดในช่วงที่หินมีการก่อตัวใหม่ (Diagenesis) แต่ที่เกิดทันทีหลังจากตกตะกอน (โดยเฉพาะในหินปูน และหินดินดาน) ก็มีมากเช่นกัน.

ดู ดาวอังคารและมวลสารพอก

มหาสมุทรอาร์กติก

มหาสมุทรอาร์กติก (Arctic Ocean) ตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือ และส่วนใหญ่อยู่ในเขตขั้วโลกเหนืออาร์กติก เป็นมหาสมุทรขนาดเล็กที่สุดและตื้นเขินที่สุดในห้ามหาสมุทรตามการแบ่งมหาสมุทรหลักของโลก องค์กรอุทกศาสตร์โลก (IHO) ยอมรับว่ามหาสมุทรอาร์กติกเป็นมหาสมุทร แม้นักอุทกศาสตร์บางคนจะเรียกบริเวณนี้ว่า ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอาร์กติก หรือเรียกง่าย ๆ ว่า ทะเลอาร์กติก โดยจัดว่าบริเวณนี้เป็นหนึ่งในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของมหาสมุทรแอตแลนติก หรืออาจมองว่า เป็นส่วนเหนือสุดของมหาสมุทรโลกที่ล้อมรอบทั้งหมด มหาสมุทรอาร์กติกมีรูปร่างคล้ายวงกลม ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ เกือบเท่ากับขนาดของทวีปแอนตาร์กติกา แนวชายฝั่งยาว ล้อมรอบด้วยทวีปยุโรป, ทวีปเอเชีย, ทวีปอเมริกาเหนือ และกรีนแลนด์ รวมทั้งเกาะต่างๆ และทะเลแบเร็นตส์, ทะเลโบฟอร์ต, ทะเลชุกชี, ทะเลคารา, ทะเลลัปเตฟ, ทะเลไซบีเรียตะวันออก, ทะเลลิงคอล์น, ทะเลแวนเดล, ทะเลกรีนแลนด์ และทะเลนอร์เวย์ เชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกที่ช่องแคบเบริง และเชื่อมกับมหาสมุทรแอตแลนติกที่ทะเลกรีนแลนด์ มหาสมุทรอาร์กติกบางส่วนปกคลุมด้วยทะเลน้ำแข็งตลอดทั้งปีและเกือบทั้งมหาสมุทรในฤดูหนาว อุณหภูมิและความเค็มของมหาสมุทรอาร์กติกแตกต่างกันไปตามฤดูกาล เมื่อน้ำแข็งหลอมเหลวและแข็งตัว ความเค็มของมหาสมุทรมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดในมหาสมุทรหลักทั้งห้า เนื่องจากการระเหยที่ต่ำ กระแสไหลเข้าอย่างหนักของน้ำจืดจากแม่น้ำและลำธาร การเชื่อมโยงที่จำกัดและการไหลออกไปยังมหาสมุทรโดยรอบที่มีความเค็มสูงกว่า การหดตัวของน้ำแข็งในฤดูร้อนมีบันทึกว่าลดลงถึง 50% ศูนย์ข้อมูลหิมะและน้ำแข็งแห่งชาติสหรัฐ (NSIDC) ใช้ข้อมูลดาวเทียมเพื่อหาบันทึกประจำวันของน้ำแข็งที่ปกคลุมมหาสมุทรอาร์กติก และอัตราการหลอมเหลวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเฉลี่ยและปีที่ผ่านมา สันลอมอนอซอฟ (Lomonosov ridge) ซึ่งเป็นสันมหาสมุทรที่อยู่ใต้ทะเล แบ่งมหาสมุทรอาร์กติกออกเป็น 2 ส่วน คือ แอ่งยูเรเชีย (เรียกบริเวณนี้ว่าแนนสัน - Nansen) มีความลึก 4,000-4,500 เมตร และแอ่งอเมริกาเหนือ (เรียกบริเวณนี้ว่าไฮเพอร์โบเรียน - Hyperborean) มีความลึกประมาณ 4,000 เมตร ความลึกเฉลี่ยของมหาสมุทรอาร์กติก คือ 1,038 เมตร (3,407 ฟุต).

ดู ดาวอังคารและมหาสมุทรอาร์กติก

มาริเนอร์ 9

มาริเนอร์ 9 (Mariner 9 / Mariner Mars '71 / Mariner-I) เป็นยานสำรวจอวกาศขององค์การนาซาในโครงการมาริเนอร์ที่ช่วยในภารกิจการสำรวจดาวอังคาร ยานออกเดินทางสู่ดาวอังคารเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ.

ดู ดาวอังคารและมาริเนอร์ 9

มาร์วิน มาร์เชียน

มาร์วิน มาร์เชียน (Marvin the Martian) เป็นตัวการ์ตูนในลูนนี่ตูนอีกตัว ในรูปแบบมนุษย์ต่างดาว แต่จะแต่งตัวคล้ายนักรบโรมัน เป็นคนที่ออกจะขี้โมโห เชี่ยวชาญอาวุธจำพวกปืนอวกาศ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยจะเจอกับบัคส์ บันนี่ จะเจอกันก็ต่อเมื่อบัคส์ไปท่องอวกาศ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 2-3 ตอน หมวดหมู่:ตัวละครการ์ตูน หมวดหมู่:ตัวละครในลูนีทูนส์.

ดู ดาวอังคารและมาร์วิน มาร์เชียน

มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์

วาดยานในวงโคจรรอบดาวอังคาร มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ (Mars Reconnaissance Orbiter) หรือเอ็มอาร์โอ (MRO) เป็นยานอวกาศขององค์การนาซาที่ส่งขึ้นจากพื้นโลกเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.

ดู ดาวอังคารและมาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์

มาส์

มาส์ เทพมาส์ (Mars) เป็นเทพในตำนานเทพปกรณัมโรมันที่เทียบเท่ากับเทพแอรีสในตำนานเทพปกรณัมกรีก เทพมาร์สเป็นเทพแห่งสงคราม เป็นลูกของเทพีจูโนและเทพจูปิเตอร์ เป็นสามีของเทพีเบลโลนาและคนรักของเทพีวีนัส มาส์เป็นเทพทางการทหารที่เป็นที่สักการะของกองทหารโรมัน นักรบโรมันถือว่ามาส์เป็นเทพที่มีความสำคัญเป็นลำดับสองรองจากเทพจูปิเตอร์ เดือนที่ฉลองคือเดือนมีนาคมซึ่งเป็นชื่อเดือนที่ตั้งตามชื่อของเทพและเดือนตุลาคม คำว่า “Mars” ไม่มีรากจากคำในตระกูลภาษาโปรโต-อินโด-ยูโรเปียนซึ่งทำให้สันนิษฐานกันว่ามาจากเทพแห่งการเกษตรกรรมของอีทรัสคันชื่อเทพมาริส เดิมเทพมาส์เป็นเทพแห่งความอุดมสมบูรณ์และพืชพันธุ์และเป็นผู้พิทักษ์วัว ทุ่งการเกษตรกรรม พืชผัก และเกษตรกร ในคริสต์ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราช รัฐบุรุษโรมันคาโตผู้อาวุโส ได้ทำอะไรสักอย่างหนึ่งก็ไม่ทราบแน่ชัด หรือมีความเกี่ยวข้องอย่างใดอย่างหนึ่งที่ไม่ทราบแน่ชัดกับเทพมาส์ ต่อมาเทพมาส์ก็มาเกี่ยวข้องกับการศึกสงครามที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งขึ้นเมื่อจักรวรรดิโรมันเริ่มขยายตัว เทพมาส์ไม่เหมือนเทพแอรีสของตำนานเทพปกรณัมกรีกเพราะเป็นเทพที่เป็นที่นับถือและมีความสำคัญพอ ๆ กับเทพจูปิเตอร์ และถือกันว่าเป็นเทพในนามของกรุงโรม และยังถือกันว่าเป็นพ่อของรอมิวลุส ฉะนั้นชาวโรมจึงสืบเชื้อสายมาจากเทพม.

ดู ดาวอังคารและมาส์

มิลาน

มิลาน (Milan) หรือ มีลาโน (Milano) เป็นเมืองหลักของแคว้นลอมบาร์เดียและเป็นเมืองสำคัญในภาคเหนือของประเทศอิตาลี ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลอมบาร์ดี (Lombardy) เมืองมิลานมีประชากรประมาณ 1,308,500 คน (ข้อมูลปี พ.ศ.

ดู ดาวอังคารและมิลาน

มีเทน

มีเทน (Methane) เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนพวกแอลเคน สูตรเคมี คือ CH4 เป็นแก๊สไม่มีสี ติดไฟได้ เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของแก๊สธรรมชาติ แก๊สมีเทนอาจได้มาจากการหมักมูลสัตว์และนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงราคาถูก ก๊าซมีเทนอาจพบได้ในชั้นถ่านหิน (Coal Bed Methane) โดยจากกระบวนการเกิดถ่านหินทำให้ก๊าซสะสมตัวและกักเก็บอยู่ในช่องว่างในเนื้อถ่านหิน.

ดู ดาวอังคารและมีเทน

ยอดเขาเอเวอเรสต์

อดเขาเอเวอเรสต์ (Mount Everest) เป็นยอดเขาหนึ่งในเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลกยูเรเซียนและแผ่นเปลือกโลกอินเดีย ในทางภูมิรัฐศาสตร์ ยอดเขาเอเวอเรสต์ถือเป็นจุดแบ่งพรมแดนระหว่างประเทศเนปาลและทิเบต โดยชาวเนปาลเรียกยอดเขาเอเวอเรสต์ว่า สครมาตา (ภาษาสันสกฤต: सगरमाथा หมายถึง มารดาแห่งท้องสมุทร) ส่วนชาวทิเบตขนานนามยอดเขาแห่งนี้ว่า โชโมลังมา (จากภาษาทิเบต: จูมู่หลั่งหม่า (珠穆朗玛) หมายถึง มารดาแห่งสวรรค์) ชื่อยอดเขาเอเวอเรสต์นั้น ตั้งโดย เซอร์แอนดรูว์ วอ นักสำรวจประเทศอินเดียชาวอังกฤษ เพื่อเป็นเกียรติแก่ เซอร์จอร์จ อีฟเรสต์ นักสำรวจประเทศอินเดียรุ่นก่อนหน้า (คำว่า Everest นี้ คนส่วนมากอ่านออกเสียงเป็น เอเวอเรสต์ ขณะที่เซอร์จอร์จอ่านออกเสียงชื่อสกุลของตัวเองว่า อีฟเรสต์) ซึ่งก่อนหน้านั้นนักสำรวจเรียกยอดเขาแห่งนี้เพียงว่า ยอดที่สิบห้า (Peak XV) คนทั่วไปจดจำชื่อเอเวอเรสต์ได้ในฐานะยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก แต่สำหรับชาวเชอร์ปา (Sherpa) และนักปีนเขา (climber) บางคนแล้ว ยอดเขาเอเวอเรสต์ไม่ได้เป็นเพียงแค่จุดที่สูงที่สุดบนพื้นโลกเท่านั้น หากยังเป็นจุดหมายสูงสุดในชีวิตพวกเขาด้วย การไปให้ถึงยอดเขาเอเวอเรสต์เป็นเรื่องที่ยากลำบาก แต่เมื่อยอดเขาเอเวอเรสต์ถูกพิชิตได้ นั่นหมายความว่าขีดจำกัดของมนุษยชาติได้เพิ่มขึ้นอีกขั้นหนึ่งแล้ว.

ดู ดาวอังคารและยอดเขาเอเวอเรสต์

ยานอวกาศ

นอวกาศที่มีคนขับ Soyuz ของรัสเซีย(รุ่นที่แสดงเป็นรุ่น TMA)ได้บินมาแล้วมากกว่า 100 ครั้งตั้งแต่ปี 1967, แต่เดิมถูกใช้สำหรับโครงการดวงจันทร์ที่มีคนขับของโซเวียต, แต่ปัจจุบันให้การสนับสนุนสถานีอวกาศนานาชาติ Spacelab), สถานีอวกาศเมียร์และสถานีอวกาศนานาชาติ (ภาพแสดงการยิงขึ้นสู่อวกาศครั้งแรกของยาน"โคลัมเบีย") ยานอวกาศ คือยานพาหนะ, ยานหรือเครื่องยนต์ที่ออกแบบมาเ'''พื่'''อบินไปในอวกาศ ยานอวกาศถูกนำมาใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย, รวมถึงการสื่อสารโทรคมนาคม, การสังเกตโลก, การอุตุนิยมวิทยา, การนำทาง, การสำรวจดาวเคราะห์และการขนส่งมนุษย์และสินค้า ในการบินในอวกาศแบบวงโคจรย่อย) ยานอวกาศเข้าสู่อวกาศด้านนอก จากนั้นก็กลับมายังพื้นผิวโลกโดยไม่ได้ขึ้นไปสู่วงโคจรหลัก.

ดู ดาวอังคารและยานอวกาศ

ยิปซัม

ปซัม (Gypsum) (CaSO4·2H2O) หรือเรียกว่าเกลือจืด เป็นแร่อโลหะที่มีความเปราะมากมีสีขาว ไม่มีสีหรือสีเทา มักมีสีเหลือง แดง หรือน้ำตาล เป็นมลทินปนอยู่ มีความวาวคล้ายแก้ว มุก หรือไหม ความแข็ง 2 ความถ่วงจำเพาะ 2.7 เนื้อแร่โปร่งใสจนกระทั่งโปร่งแสง อาจเรียกชื่อต่างกันออกไปตามลักษณะของเนื้อแร่ คือ ชนิดซาตินสปาร์ (satinspar) เป็นแร่ยิปซัมลักษณะที่เป็นเนื้อเสี้ยน มีความวาวคล้ายไหม ชนิดอะลาบาสเทอร์ (alabaster) มีเนื้อเป็นมวลเม็ดอัดกันแน่น และชนิดซีลีไนต์ (selenite) ใสไม่มีสี เนื้อแร่เป็นแผ่นบางโปร่งใส เกิดจากแร่ที่ตกตะกอนในแอ่งที่มีการระเหยของน้ำสูงมากและต่อเนื่อง ทำให้น้ำส่วนที่เหลือมีความเข้มข้นสูงขึ้น ถึงจุดที่แร่กลุ่มที่เรียกว่า “อีแวพอไรต์ (evaporites) ” จะสามารถตกตะกอนออกมาตามลำดับความสามารถในการละลาย (solubility) ซึ่งโดยทั่วไปเริ่มจากพวกคาร์บอเนต (carbonates) ซัลเฟต (sulphates) และเฮไลด์ (halides) การกำเนิด แร่ยิปซัมของไทยมีเนื้อเป็นเกล็ดเล็กๆ สมานแน่น เรียกว่า “อะลาบาสเตอร์ (alabaster) ” ซึ่งมิได้เกิดจากการตกตะกอนทับถมกันในสภาพการณ์ปฐมภูมิจากการระเหยของน้ำ แต่เกิดจากการเติมน้ำ (rehydration) ให้กับช่วงบนสุดของมวลแอนไฮไดรต์ จนเกิดการเปลี่ยนแปลง ชนิดแร่ ยิปซัมในประเทศไทยมีประวัติที่ค่อนข้างซับซ้อน และการศึกษาธรณีวิทยาแหล่งแร่พบว่า เคยผ่านการเปลี่ยนแปลงชนิดแร่ไปมา ระหว่างยิปซัมกับแอนไฮไดรต์ (CaSO4) หลายครั้ง (Utha-aroon and Ratanajarurak, 1996) ก่อนจะมีสภาพเช่นในปัจจุบัน.

ดู ดาวอังคารและยิปซัม

ระบบสุริยะ

ระบบสุริยะ (Solar System) ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่น ๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง ได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 166 ดวง ดาวเคราะห์แคระ 5 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 4 ดวง กับวัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ อีกนับล้านชิ้น ซึ่งรวมถึง ดาวเคราะห์น้อย วัตถุในแถบไคเปอร์ ดาวหาง สะเก็ดดาว และฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์ โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งย่านต่าง ๆ ของระบบสุริยะ นับจากดวงอาทิตย์ออกมาดังนี้คือ ดาวเคราะห์ชั้นในจำนวน 4 ดวง แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่รอบนอกจำนวน 4 ดวง และแถบไคเปอร์ซึ่งประกอบด้วยวัตถุที่เย็นจัดเป็นน้ำแข็ง พ้นจากแถบไคเปอร์ออกไปเป็นเขตแถบจานกระจาย ขอบเขตเฮลิโอพอส (เขตแดนตามทฤษฎีที่ซึ่งลมสุริยะสิ้นกำลังลงเนื่องจากมวลสารระหว่างดวงดาว) และพ้นไปจากนั้นคือย่านของเมฆออร์ต กระแสพลาสมาที่ไหลออกจากดวงอาทิตย์ (หรือลมสุริยะ) จะแผ่ตัวไปทั่วระบบสุริยะ สร้างโพรงขนาดใหญ่ขึ้นในสสารระหว่างดาวเรียกกันว่า เฮลิโอสเฟียร์ ซึ่งขยายออกไปจากใจกลางของแถบจานกระจาย ดาวเคราะห์ชั้นเอกทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะ เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดออกไป มีดังนี้คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน นับถึงกลางปี ค.ศ.

ดู ดาวอังคารและระบบสุริยะ

ระดับน้ำทะเล

กราฟระดับน้ำทะเลที่วัดได้จากบริเวณที่มีความเสถียรทางธรณีวิทยา แสดงถึงระดับน้ำทะเลซึ่งสูงขึ้นถึง 24 เซนติเมตรในรอบ 120 ปี (2 มิลลิเมตร/ปี) ระดับทะเลปานกลาง* (Mean Sea-Level) หรือ ร.ท.ก.

ดู ดาวอังคารและระดับน้ำทะเล

รัฐวิสาหกิจรอสคอสมอส

องค์การอวกาศสหพันธรัฐรัสเซีย (Федеральное космическое агентство России Federal'noye kosmicheskoye agentstvo Rossii; Russian Federal Space Agency) หรือชื่อเรียกโดยทั่วไปว่า รอสคอสมอส (Роскосмос Roskosmos; Roscosmos) ตัวย่อว่า FKA (ФКА) และ RKA (РКА) เป็นองค์การของรัฐบาลที่รับผิดชอบกิจการด้านโครงการวิทยาศาสตร์และอวกาศของรัสเซีย รวมถึงการวิจัยด้านอวกาศยานโดยทั่วไป เดิมมีชื่อว่า Russian Aviation and Space Agency (Российское авиационно-космическое агентство Rossiyskoe aviatsionno-kosmicheskoe agentsvo, รู้จักโดยทั่วไปว่า "Rosaviakosmos") สำนักงานใหญ่ของรอสคอสมอสตั้งอยู่ในมอสโคว์ ศูนย์ควบคุมภารกิจการบินในอวกาศหลักตั้งอยู่ที่เมืองใกล้เคียงคือ โคโรเลฟ ศูนย์ฝึกอบรมนักบินอวกาศ (Cosmonauts Training Centre หรือ GCTC) อยู่ที่เมืองสตาร์ ฐานปล่อยใช้ Baikonur Cosmodrome ซึ่งอยู่ในคาซัคสถาน (การส่งยานทั้งแบบมีมนุษย์และไม่มีมนุษย์ควบคุมส่วนมากจะปล่อยจากที่นี่) และ Plesetsk Cosmodrome ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของรัสเซียใช้สำหรับภารกิจที่ไม่มีมนุษย์ควบคุม โดยมากในการระบุตำแหน่งที่ตั้งทางทหาร.

ดู ดาวอังคารและรัฐวิสาหกิจรอสคอสมอส

รัฐแอริโซนา

รัฐแอริโซนา (Arizona) เป็นรัฐขนาดใหญ่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา ติดกับประเทศเม็กซิโกทางทิศใต้ เป็นหนึ่งในสี่รัฐมุมซึ่งมุมทางตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐชนกับอีก 3 รัฐพอดี เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของรัฐคือ ฟีนิกซ์ เมืองสำคัญอื่นๆ ได้แก่ ทูซอน และเมซา ภูมิประเทศส่วนใหญ่ในรัฐมีลักษณะเป็นทะเลทราย มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในรัฐได้แก่ มหาวิทยาลัยแอริโซนาสเตต และ มหาวิทยาลัยแอริโซนา สถานท่องเที่ยวที่สำคัญของรัฐคือ แกรนด์แคนยอน และ แอนเทโลปแคนยอน ทีมกีฬาที่มีชื่อเสียงในรัฐได้แก่ แอริโซนา คาร์ดินาลส์ และ ฟีนิกซ์ ซันส์แกรนด์แคนยอน ในปี 2551 แอริโซนามีประชากรประมาณ 6,338,755 คน.

ดู ดาวอังคารและรัฐแอริโซนา

รัฐเท็กซัส

ท็กซัส (Texas) เป็นรัฐที่อยู่ทางใต้และตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา มีพื้นที่ทั้งหมด 695,622 ตารางกิโลเมตร และมีประชากร 22.8 ล้านคน เท็กซัสเป็นรัฐที่ใหญ่เป็นอันดับสองทั้งพื้นที่และประชากร รวมเข้ากับสหรัฐอเมริกาเป็นลำดับที่ 28 ในปี พ.ศ.

ดู ดาวอังคารและรัฐเท็กซัส

รังสีอัลตราไวโอเลต

แสงออโรราจากดาวพฤหัสบดีในช่วงรังสีอัลตราไวโอเลต ถ่ายโดยองค์การนาซา รังสีอัลตราไวโอเลต หรือ รังสียูวี (ultraviolet) หรือในชื่อภาษาไทยว่า รังสีเหนือม่วง เป็นช่วงหนึ่งของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่าแสงที่มองเห็น แต่ยาวกว่ารังสีเอกซ์อย่างอ่อน มีความยาวคลื่นในช่วง 400-10 นาโนเมตร และมีพลังงานในช่วง 3-124 eV มันได้ชื่อดังกล่าวเนื่องจากสเปกตรัมของมันประกอบด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูงกว่าคลื่นที่มนุษย์มองเห็นเป็นสีม่วง.

ดู ดาวอังคารและรังสีอัลตราไวโอเลต

ลมสุริยะ

ลมสุริยะ (solar wind) คือ กระแสของอนุภาคประจุไฟฟ้าที่ถูกปล่อยออกมาจากชั้นบรรยากาศชั้นนอกของดวงอาทิตย์สู่อวกาศ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยอิเล็กตรอนและโปรตอน ซึ่งมีพลังงานเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 10-100 eV กระแสอนุภาคเหล่านี้มีอุณหภูมิและความเร็วที่แตกต่างกันออกไปตามช่วงเวลา กระแสอนุภาคจะหลุดออกพ้นจากแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์ได้เนื่องจากมีพลังงานจลน์และอุณหภูมิโคโรนาที่สูงมาก ลมสุริยะทำให้เกิดเฮลิโอสเฟียร์ คือฟองอากาศขนาดใหญ่ในมวลสารระหว่างดาวที่ครอบคลุมระบบสุริยะเอาไว้ ลมสุริยะยังทำให้เกิดปรากฏการณ์อื่นที่เกี่ยวข้องได้แก่ พายุแม่เหล็กโลก (geomagnetic storm) ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้ไฟฟ้าบนโลกใช้การไม่ได้บางครั้งบางคราว, ออโรรา (หรือปรากฏการณ์แสงเหนือ-แสงใต้) และหางพลาสมาของดาวหางที่จะชี้ออกไปจากดวงอาทิตย์เสมอ.

ดู ดาวอังคารและลมสุริยะ

ลองจิจูด

ลองติจูด (longitude) หรือเดิมเรียกว่า เส้นแวง แทนด้วยอักษรกรีก λ เป็นพิกัดที่ใช้บอกตำแหน่งบนพื้นโลก โดยวัดไปทางตะวันออกหรือตะวันตกจากเส้นสมมติในแนวเหนือ-ใต้ที่เรียกว่าเส้นเมริเดียนแรก พิกัดที่ใช้คู่กัน คือ ละติจูด ลองติจูดมีหน่วยเป็นองศา นับจาก 0 องศาที่เส้นเมริเดียนแรกไปทางตะวันออก +180 องศา และไปทางตะวันตก −180 องศา ลองติจูดต่างจากละติจูด ตรงที่ละติจูดมีเส้นศูนย์สูตรเป็นเส้นอ้างอิงตามธรรมชาติ ลองติจูดจึงต้องกำหนดเส้นสมมติขึ้นมาหนึ่งเส้นสำหรับอ้างอิง ใน ค.ศ.

ดู ดาวอังคารและลองจิจูด

ละติจูด

ละติจูด (latitude) หรือเดิมเรียกว่า เส้นรุ้ง แทนด้วยอักษรกรีก φ เป็นพิกัดที่ใช้บอกตำแหน่งบนพื้นโลกและแบ่งเขตสภาวะอากาศโดยวัดจากเส้นศูนย์สูตร พิกัดที่ใช้คู่กัน คือ ลองจิจูด พื้นที่ที่มีพิกัดละติจูดต่างกัน จะมีภูมิอากาศ (climate) และสภาพอากาศ (weather) ต่างกัน ละติจูดมีค่าตั้งแต่ 0 องศาที่เส้นศูนย์สูตร ไปจนถึง 90 องศาที่บริเวณขั้วโลก (นับเป็น 90 องศาเหนือหรือใต้) เนื่องจากเป็นการวัดมุมจากจุดสมมติที่เส้นศูนย์สูตรไปยังจุดขั้วโลกที่ 90 อง.

ดู ดาวอังคารและละติจูด

ลักษณะแอลบีโด

ลักษณะแอลบีโด หมายถึง พื้นที่ขนาดใหญ่บนพื้นผิวของดาวเคราะห์ (หรือวัตถุในระบบสุริยะอื่นๆ) ซึ่งมีความสว่างหรือความมืดตัดกับบริเวณรอบข้างอย่างชัดเจน ตามประวัติศาสตร์ ลักษณะแอลบีโดเป็นลักษณะแรกของดาวอังคารและดาวพุธที่ถูกค้นพบและตั้งชื่อ แผนที่ฉบับแรกๆ (เช่น แผนที่ของจิโอวานนี่ สเคียปาเรลลี และยูจีน แอนโตเนียดี) ก็แสดงเพียงแค่ลักษณะแอลบีโดเท่านั้น จนกระทั่งมีการพัฒนายานสำรวจอวกาศขึ้น ลักษณะพื้นผิวอื่นๆเช่น หลุมอุกกาบาต จึงถูกค้นพบ ลักษณะนี้บางครั้งก็ถูกเรียกว่า เรจิโอ บนที่อื่นๆนอกเหนือไปจากบนดาวอังคารและดาวพุธ เราไม่สามารถมองเห็นลักษณะแอลบีโดที่โดดเด่นผ่านทางกล้องโทรทรรศน์ได้บนวัตถุที่ถูกปกคลุมไปด้วยชั้นบรรยากาศที่หนามาก เช่น บนดาวศุกร์หรือดวงจันทร์ไททัน เนื่องจากพื้นผิวจะถูกกลุ่มเมฆและปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศต่างๆบดบังอยู่ตลอดเวลา ลักษณะแอลบีโดที่ถูกค้นพบเป็นลักษณะแรกบนดาวเคราะห์ดวงอื่นคือ ซีร์ทิส เมเจอร์ บนดาวอังคารเมื่อศตวรรษที่ 17.

ดู ดาวอังคารและลักษณะแอลบีโด

ลิปดา

ลิปดา (minute of arc, arcminute หรือ MOA) เป็นหน่วยหนึ่งในการวัดมุม มีค่าเท่ากับ ของหนึ่งองศา เนื่องจากหนึ่งองศาเท่ากับ ของวงกลม ดังนั้น 1 ลิปดาจึงเท่ากับ ของวงกลม หน่วยวัดขนาดเล็กเช่นนี้มักใช้ในการวัดค่าที่ละเอียดมากๆ เช่นในวิชาดาราศาสตร์หรือการกำหนดพิกัดการยิงอาวุธ ส่วน พิลิปดา (second of arc, arcsecond) (บ้างก็เขียนว่า วิลิปดา) เป็นหน่วยที่มีขนาดเป็น ของหนึ่งลิปดาอีกต่อหนึ่ง หรือเท่ากับ องศา หรือเท่ากับ ของวงกลม ลิปดาและพิลิปดาเป็นคำไทย การเขียน "ฟิลิปดา" ไม่ถูกต้องและมาจากความเข้าใจที่ผิดว่าคำนี้มาจากภาษาต่างประเทศ ตารางแสดงสัดส่วนและความสัมพันธ์ระหว่าง องศา ลิปดา พิลิปดา และมิลลิพิลิปดา แสดงได้ดังนี้.

ดู ดาวอังคารและลิปดา

ลูกบาศก์เมตร

ลูกบาศก์เซนติเมตร เท่ากับ 1มิลลิลิตร ลูกบาศก์เมตร คือ หน่วยอนุพันธ์ของหน่วยพื้นฐานในระบบ หน่วยเอสไอ คือ หน่วยความยาวมาคูณกัน ใช้สำหรับวัดปริมาตร เทียบได้กับลูกบาศก์ที่มีความกว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตร สูง 1 เมตร ตัวย่อของหน่วยวัดคือ ม³ (m³) หรือ ล.ม.

ดู ดาวอังคารและลูกบาศก์เมตร

วอร์เนอร์บราเธอส์

วอร์เนอร์บราเธอส์ (Warner Bros.) เป็นบริษัทในธุรกิจภาพยนตร์และรายการโทรทัศน์ขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกา สำนักงานใหญ่อยู่ที่ เบอร์แบงก์ รัฐแคลิฟอร์เนีย บริษัทประกอบด้วยบริษัทย่อยหลายบริษัทได้แก.

ดู ดาวอังคารและวอร์เนอร์บราเธอส์

วัน

วัน คือหน่วยของเวลาที่เท่ากับ 24 ชั่วโมง ถึงแม้หน่วยนี้จะไม่ใช่หน่วยเอสไอ แต่ก็มีการยอมรับเพื่อใช้ประกอบกับหน่วยเอสไออื่น ซึ่งหน่วยเวลาที่เป็นหน่วยเอสไอคือ วินาที คำว่า วัน มาจากภาษาไทยเดิม (ลาว: ວັນ วัน, ไทใหญ่:ဝၼ်း วั้น) คำว่า day ในภาษาอังกฤษมาจากคำในภาษาอังกฤษเก่า dæg ซึ่งสะกดคล้ายกับภาษาอื่น ๆ ในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ตัวอย่างเช่น dies ในภาษาละตินและ dive ในภาษาสันสกฤต ซึ่งกลายเป็น ทิวา ในภาษาไท.

ดู ดาวอังคารและวัน

วิลเลียม ทอมสัน บารอนเคลวินที่ 1

วิลเลียม ธอมสัน บารอนเคลวิน ที่หนึ่ง (William Thomson, 1st Baron Kelvin; (26 มิถุนายน ค.ศ. 1824 - 17 ธันวาคม ค.ศ. 1907) เป็นนักฟิสิกส์คณิตศาสตร์และวิศวกร ที่มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ มีผลงานสำคัญคือการคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่พิสูจน์ผลทางด้านไฟฟ้าและอุณหพลศาสตร์ ชื่อของเขาเป็นที่รู้จักในฐานะผู้พัฒนามาตรฐานการวัดอุณหภูมิสัมบูรณ์ คือระบบเคลวิน (Kelvin) เขาได้รับบรรดาศักดิ์เป็น บารอนเคลวิน ในปี ค.ศ.

ดู ดาวอังคารและวิลเลียม ทอมสัน บารอนเคลวินที่ 1

วิทยาศาสตร์เทียม

วิทยาศาสตร์เทียม (pseudoscience) เป็นการกล่าวอ้าง, ความเชื่อ หรือการปฏิบัติ ที่แสดงตนเป็นวิทยาศาสตร์ แต่มิได้ยึดแบบแผนกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ขาดการสนับสนุนด้วยหลักฐาน หรือ หลักความเป็นไปได้ ไม่สามารถทำการตรวจสอบ หรือขาดฐานความเป็นวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์เทียมมักมีลักษณะการอ้างที่ แผลง ขัดแย้ง เกินจริง หรือไม่สามารถพิสูจน์ได้ หรือมีแต่แนวทางการพิสูจน์ว่าเป็นจริงโดยไม่มีแนวทางพิสูจน์แบบนิเสธ มักไม่ยินยอมรับการตรวจสอบจากผู้ชำนาญการอื่น ๆ และมักจะขาดกระบวนทรรศน์ในการสร้างทฤษฏีอย่างสมเหตุผล สาขา แนวปฏิบัติ หรือองค์ความรู้ใด สามารถจัดเป็นวิทยาศาสตร์เทียมได้ เมื่อมันถูกนำเสนอให้สอดคล้องกับบรรทัดฐานทั้งหลายแห่งการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ แต่พิสูจน์ได้ว่ามันไม่ผ่านบรรทัดฐานตามที่กล่าวอ้างCover JA, Curd M (Eds, 1998) Philosophy of Science: The Central Issues, 1-82.

ดู ดาวอังคารและวิทยาศาสตร์เทียม

สภาพด่าง

งผิวน้ำทะเล สภาพด่าง หรือ อัลคาไลนิตี้ หรือ ค่าอัลคาไลน์ (Alkalinity; AT) เป็นการวัดความสามารถของสารละลายในการเปลี่ยนสภาพกรดให้เข้าสู่จุดสะเทินของคาร์บอเนตหรือไบคาร์บอเนต สภาพด่างเท่ากับผลรวมของปริมาณสัมพันธ์ของเบสในสารละลายนั้น ในสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ สภาพด่างคาร์บอเนตมีผลกระทบต่อสภาพด่างรวมมากที่สุดเนื่องจากการพบได้ทั่วไปและการสลายตัวของหินคาร์บอเนตและการมีอยู่ของคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศ สารประกอบทางธรรมชาติอื่นที่สามารถมีผลต่อสภาพด่างได้ คือ บอเรต ไฮดรอกไซด์ ฟอสเฟต ซิลิเกต ไนเตรด แอมโมเนียละลาย คู่ของเบสที่จับกับกรดอินทรีย์บางชนิดและซัลเฟต ค่าสภาพด่างมักระบุในหน่วย mEq/L (มิลลิอิควิวาเลนท์ต่อลิตร) ในทางพาณิชย์ อย่างเช่นในอุตสาหกรรมสระน้ำ สภาพด่างอาจระบุในหน่วยส่วนต่อล้านส่วน (ppm) ได้ด้ว.

ดู ดาวอังคารและสภาพด่าง

สะเก็ดดาว

ก็ดดาว (meteoroid) คือ เศษวัตถุขนาดเล็กในระบบสุริยะ มีขนาดตั้งแต่ก้อนหินขนาดใหญ่ลงไปถึงผงฝุ่น เมื่อสะเก็ดดาวเคลื่อนที่เข้าสู่บรรยากาศของโลก (หรือของดาวเคราะห์อื่น) ทำให้เกิดความร้อนและแสงสว่างมองเห็นเป็นดาวตก คนทั่วไปมักเข้าใจว่าแสงสว่างนี้เกิดจากความเสียดทานระหว่างสะเก็ดดาวกับบรรยากาศ แต่ในความเป็นจริง กระบวนการหลักของการเกิดดาวตก คือ การแตกตัวเป็นไอออน (ionization) ของอนุภาคในบรรยากาศ หากสะเก็ดดาวมีขนาดใหญ่ วัตถุที่ตกลงถึงพื้นดิน เรียกว่า อุกกาบาต (meteorite) สะเก็ดดาวที่ลุกไหม้จนหมดในชั้นบรรยากาศของโลกเรียกว่า ดาวตก หรือ ผีพุ่งไต้ (meteor) ดาวตกที่สว่างมาก ๆ คือสว่างกว่าดาวศุกร์ อาจเรียกว่าลูกไฟ (fireball) สะเก็ดดาวจำนวนมากเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในฝนดาวตก.

ดู ดาวอังคารและสะเก็ดดาว

สัญกรณ์ส่วนในหลายส่วน

หนึ่งส่วนในล้านล้านส่วน (1 ppt) เป็นสัดส่วนที่เทียบเท่ากับ ปริมาณหนึ่งในยี่สิบของหยดน้ำ ที่เจืออยู่ในสระว่ายน้ำขนาดโอลิมปิก ในทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ สัญกรณ์ส่วนในหลายส่วน (parts-per notation) คือกลุ่มของหน่วยเทียมที่สร้างขึ้นเพื่ออธิบายค่าเล็กน้อยในปริมาณไร้มิติ อาทิ เศษส่วนโมล (mole fraction) หรือเศษส่วนมวล (mass fraction) เนื่องจากเศษส่วนเหล่านี้เป็นการวัดอัตราส่วนปริมาณต่อปริมาณ มันจึงเป็นจำนวนแท้จริงที่ไม่มีระบบการวัดมาเกี่ยวข้อง ตัวอย่างหน่วยที่ใช้โดยปกติเช่น ส่วนในล้านส่วน (ppm: พีพีเอ็ม), ส่วนในพันล้านส่วน (ppb: พีพีบี), ส่วนในล้านล้านส่วน (ppt: พีพีที), ส่วนในพันล้านล้านส่วน (ppq: พีพีคิว) เป็นต้น.

ดู ดาวอังคารและสัญกรณ์ส่วนในหลายส่วน

สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา

ื้นที่สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา (Bermuda Triangle) หรืออาจรู้จักกันในชื่อ สามเหลี่ยมปีศาจ (Devil's Triangle) เป็นพื้นที่สมมุติทางตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ซึ่งมีการอ้างว่าอากาศยานและเรือผิวน้ำจำนวนหนึ่งหายสาบสูญไปโดยหาสาเหตุมิได้ในบริเวณดังกล่าว วัฒนธรรมสมัยนิยมได้ให้เหตุผลของการหายสาบสูญว่าเป็นเรื่องของปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติหรือฐานทัพของสิ่งมีชีวิตนอกโลก หลักฐานซึ่งบันทึกไว้ได้ระบุว่า เหตุการณ์การหายสาบสูญของอากาศยานและเรือผิวน้ำส่วนใหญ่ได้รับรายงานอย่างไม่ถูกต้องหรือถูกเสริมแต่งโดยนักประพันธ์ในช่วงหลัง และหน่วยงานของรัฐหลายแห่งได้กล่าวว่า จำนวนและธรรมชาติของการหายสาบสูญไปในพื้นที่ดังกล่าวก็มีลักษณะเช่นเดียวกับการหายสาบสูญไปในมหาสมุทรส่วนอื่น ๆ ของโลก.

ดู ดาวอังคารและสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา

สารละลาย

รละลายเกลือแกงในน้ำ ในทางเคมี สารละลาย (solution) คือสารผสมที่เป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งมีสสารหนึ่งชนิดหรือมากกว่าเป็นตัวละลาย ละลายอยู่ในสารอีกชนิดหนึ่งซึ่งเป็นตัวทำละลาย ตัวอย่างเช่น ไม่เพียงแต่ของแข็งที่สามารถละลายในของเหลว เหมือนเกลือหรือน้ำตาลที่ละลายในน้ำ (หรือแม้แต่ทองคำที่ละลายในปรอทแล้วเกิดเป็นอะมัลกัม (amalgam)) แต่ก๊าซก็สามารถละลายในของเหลวได้ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์หรือออกซิเจนสามารถละลายในน้ำได้.

ดู ดาวอังคารและสารละลาย

สารประกอบ

น้ำ ถือเป็นสารประกอบทางเคมีอย่างหนึ่ง สารประกอบ เป็นสารเคมีที่เกิดจากธาตุเคมีตั้งแต่สองตัวขึ้นไปมารวมตัวกันโดย พันธะเคมีด้วยอัตราส่วนของส่วนประกอบที่แน่นอน ตัวอย่าง เช่น ไดไฮโรเจนโมน็อกไซด์ หรือ น้ำ มีสูตรเคมีคือ H2Oซึ่งเป็นสารที่ประกอบด้วย ไฮโดรเจน 2 อะตอม และ ออกซิเจน 1 อะตอม ในสารประกอบอัตราส่วนของส่วนประกอบจะต้องคงที่และตัวชี้วัดความเป็นสารประกอบที่สำคัญคือ คุณสมบัติทางกายภาพ ซึ่งจะแตกต่างจาก ของผสม (mixture) หรือ อัลลอย (alloy) เช่น ทองเหลือง (brass) ซูเปอร์คอนดักเตอร์ YBCO, สารกึ่งตัวนำ อะลูมิเนียม แกลเลียม อาร์เซไนด์ (aluminium gallium arsenide) หรือ ช็อคโกแลต (chocolate) เพราะเราสามารถกำหนดอัตราส่วนของ ของผสมได้ ตัวกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของสารประกอบที่สำคัญคือ สูตรเคมี (chemical formula) ซึ่งจะแสดงอัตราส่วนของอะตอมในสารประกอบนั้น ๆ และจำนวนอะตอมในโมเลกุลเดียว เช่น สูตรเคมีของ อีทีน (ethene) จะเป็นC2H4 ไม่ใช่ CH2) สูตรไม่ได้ระบุว่าสารประกอบประกอบด้วยโมเลกุล เช่น โซเดียมคลอไรด์ (เกลือแกง, NaCl) เป็น สารประกอบไอออนิก (ionic compound).

ดู ดาวอังคารและสารประกอบ

สิ่งมีชีวิต

งมีชีวิต จะมีคุณลักษณะ (properties) ที่ไม่พบในสิ่งไม่มีชีวิต อันได้แก่ความสามารถในการใช้สสารและพลังงานเป็นสำคัญ ซึ่งได้รับถ่ายทอดจากบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตแรกเริ่ม อย่างไรก็ตามสิ่งมีชีวิตเริ่มแรกหรือบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตซึ่งถือกำเนิดมาบนโลกกว่า 4 พันล้านปี เมื่อผ่านการวิวัฒนาการและการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมในแต่ละช่วงเวลา ก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตเป็นจำนวนมากดังที่ปรากฏในปัจจุบัน.

ดู ดาวอังคารและสิ่งมีชีวิต

สิ่งมีชีวิตนอกโลก

นหุ่นยนต์รถสำรวจคิวริออซิตี้โรเวอร์) มนุษย์ต่างดาวในจินตนาการของคนส่วนใหญ่ มนุษย์ต่างดาว (alien) เป็นสิ่งที่เชื่อว่าอาจมีอยู่จริงแต่ยังไม่มีข้อพิสูจน์ ลักษณะเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่นอกโลก ซึ่งในความคิดของคนส่วนใหญ่ มักจะวาดภาพ มนุษย์ต่างดาว ลักษณะคล้ายคนแต่ ตัวเขียว หัวโต ตาโต เคยมาเยือนโลกโดยมากับ จานบิน สิ่งมีชีวิตนอกโลก (extraterrestrial life) (จากคำภาษาละติน: extra และ terrestris) ถูกกำหนดให้เป็นชีวิตที่ไม่ได้เกิดจากโลก มันมักจะหมายถึง สิ่งมีชีวิตนอกโลก หรือเรียกเพียงว่า มนุษย์ต่างดาว (หรือมนุษย์ต่างดาวในอวกาศเพื่อให้แตกต่างจากคำจำกัดความอื่น ๆ ของมนุษย์ต่างภิภพหรือมนุษย์ต่างดาว) รูปแบบชีวิตเหล่านี้ตามสมมติฐานของชีวิตช่วงระยะเริ่มจากสิ่งมีชีวิตจำพวกแบคทีเรียขั้นพื้นฐานเหมือนสิ่งมีชีวิตที่เรียบง่ายไปไกลจนถึงขั้นที่มีความซับซ้อนมากขึ้นเกินกว่าสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า มนุษย์ ความเป็นไปได้ว่ายังอาจจะมีไวรัส (viruses) ที่มีการดำรงชีวิตอยู่แบบสิ่งมีชีวิตนอกโลก (extraterrestrially) ได้รับการเสนอขึ้น การพัฒนาและการทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับชีวิตต่างดาวที่เป็นที่รู้จักกันในนามของวิชาที่เรียกว่า "ชีววิทยานอกโลก" หรือ "ชีวดาราศาสตร์" ("exobiology" or "astrobiology") แม้ว่าวิชาชีวดาราศาสตร์จะยังคงพิจารณาถึงชีวิตที่เกิดขึ้นที่เป็นขั้นพื้นฐานบนโลกที่ใช้ในบริบททางดาราศาสตร์อยู่ก็ตาม นักวิทยาศาสตร์หลายคนคิดว่าชีวิตนอกโลกเป็นสิ่งที่มีความเป็นไปได้ แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานโดยตรงในการดำรงอยู่ของมัน นับตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 ได้มีการค้นหาอย่างต่อเนื่องสำหรับสัญญาณของชีวิตนอกโลก, จากวิทยุที่ใช้ในการตรวจจับสัญญาณต่างดาวที่มีความเป็นไปได้, ไปจนถึงกล้องโทรทรรศน์ที่ใช้ในการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบที่มีศักยภาพเพียงพอสำหรับเป็นสถานที่เอื้ออาศัยสำหรับสภาพชีวิตที่อาจสามารถทำให้เกิดขึ้นได้ นอกจากนี้มันก็ยังมีบทบาทที่สำคัญต่องานเขียนทางด้านเกี่ยวกับนิยายวิทยาศาสตร์ (science fiction) อีกด้วย ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา, ผลงานทางด้านนิยายวิทยาศาสตร์, โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีส่วนร่วมของฮอลลีวู้ด, ได้ช่วยเพิ่มทวีความสนใจให้มากขึ้นของประชาชนในความเป็นไปได้เกี่ยวกับชีวิตนอกโลก บางส่วนสนับสนุนให้ใช้วิธีการเชิงรุกสำหรับในความพยายามและได้รับการติดต่อกับสิ่งมีชีวิตจากห้วงอวกาศ, ในขณะที่อีกบางส่วน ยืนยันว่ามันก็อาจจะเป็นอันตรายต่อมนุษย์เราชาวโลกเราได้สำหรับในการที่จะกระตือรือร้นเรียกร้องความสนใจจากมนุษย์ต่างดาว ในอดีตที่ผ่านมา, ความขัดแย้งกันระหว่างวัฒนธรรมที่เจริญและคนพื้นเมืองนั้นก็ยังไม่ได้เป็นไปด้วยดี.

ดู ดาวอังคารและสิ่งมีชีวิตนอกโลก

สุริยวิถี

ริยวิถี (Ecliptic) คือ ระนาบทางเรขาคณิตที่เป็นระนาบวงโคจรของโลก ดาวเคราะห์ส่วนใหญ่ในระบบสุริยะมีระนาบวงโคจรใกล้เคียงกับระนาบนี้ เมื่อมองจากโลก สุริยวิถีเป็นวงกลมใหญ่บนทรงกลมฟ้าที่แทนเส้นทางการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์ตลอดทั้งปีท่ามกลางดาวฤกษ์ที่เป็นฉากหลัง ระนาบนี้ทำมุมเอียงกับเส้นศูนย์สูตรฟ้าเป็นมุมประมาณ 23.5° ซึ่งเป็นผลจากความเอียงของแกนหมุนของโลก ระนาบวงโคจรของดวงจันทร์เอียงกับระนาบสุริยวิถีเป็นมุมประมาณ 5° เนื่องจากดวงอาทิตย์ปรากฏเคลื่อนที่ไปตามสุริยวิถีเป็นมุม 360 องศา ในระยะเวลาประมาณ 365.25 วัน หรือ 1 ปี ดวงอาทิตย์จึงเคลื่อนที่ไปด้วยอัตราประมาณ 1° ต่อวัน โดยมีทิศทางจากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก ตรงข้ามกับการหมุนของทรงกลมฟ้า สุริยวิถีกับเส้นศูนย์สูตรฟ้าตัดกันที่จุด 2 จุด ซึ่งอยู่ตรงข้ามกัน คือ จุดวสันตวิษุวัตและจุดศารทวิษุวัต เมื่อดวงอาทิตย์เคลื่อนมาถึง 2 ตำแหน่งนี้ กลางวันกับกลางคืนจะยาวนานเท่ากันสำหรับผู้สังเกตบนผิวโลก (อย่างน้อยก็ในทางทฤษฎี เพราะมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อความยาวนานของกลางวัน-กลางคืน เช่น บรรยากาศโลก) จุดที่สุริยวิถีอยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรฟ้ามากที่สุดขึ้นไปทางเหนือ เรียกว่า จุดครีษมายัน และลงไปทางใต้เรียกว่า จุดเหมายัน หากดวงจันทร์ผ่านแนวสุริยวิถีขณะจันทร์เพ็ญหรือจันทร์ดับ จะมีโอกาสเกิดอุปราคาขึ้นได้.

ดู ดาวอังคารและสุริยวิถี

สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์

ันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology, ตัวย่อ เอ็มไอที, เรียกโดยชุมชน MIT ว่า "the Institute แปลว่า สถาบัน") เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา ที่มีชื่อเสียงมานานในเรื่องงานวิจัยและการศึกษาในสาขาเคมี ฟิสิกส์ และวิศวกรรมศาสตร์สาขาต่าง ๆ แล้วเริ่มมีชื่อเสียงมากขึ้นต่อ ๆ มาในสาขาชีววิทยา เศรษฐศาสตร์ ภาษาศาสตร์ และการจัดการ MIT ตั้งขึ้นในปี..

ดู ดาวอังคารและสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์

สถานีอวกาศนานาชาติ

นีอวกาศนานาชาติ (International Space Station, ISS, Междунаро́дная косми́ческая ста́нция, МКС, Station spatiale internationale, SSI) เป็นห้องทดลองและสถานอำนวยความสะดวกสำหรับงานค้นคว้าวิจัยในระดับนานาชาติซึ่งถูกประกอบขึ้นในวงโคจรต่ำของโลก การก่อสร้างเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี..

ดู ดาวอังคารและสถานีอวกาศนานาชาติ

สปิริตโรเวอร์

นสปิริต (ภาพ 3มิติ) สปิริตโรเวอร์ เป็นยานสำรวจดาวอังคาร ออกแบบมาให้เหมือนกับยานออปพอร์ทูนิตี มีลักษณะคล้ายรถขนาดเล็ก 6 ล้อ สามารถถ่ายภาพพื้นผิวดาวอังคารส่งมายังโลกได้.

ดู ดาวอังคารและสปิริตโรเวอร์

สนามแม่เหล็ก

กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเส้นลวดทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก (M) รอบๆ บริเวณเส้นลวด ทิศทางของสนามแม่เล็กที่เกิดขึ้นนี้เป็นไปตามกฎมือขวา กฎมือขวา Hans Christian Ørsted, ''Der Geist in der Natur'', 1854 สนามแม่เหล็ก นั้นอาจเกิดขึ้นได้จากการเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้า หรือในทางกลศาสตร์ควอนตัมนั้น การสปิน(การหมุนรอบตัวเอง) ของอนุภาคต่างๆ ก็ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กเช่นกัน ซึ่งสนามแม่เหล็กที่เกิดจากการ สปิน เป็นที่มาของสนามแม่เหล็กของแม่เหล็กถาวรต่างๆ สนามแม่เหล็กคือปริมาณที่บ่งบอกแรงกระทำบนประจุที่กำลังเคลื่อนที่ สนามแม่เหล็กเป็นสนามเวกเตอร์และทิศของสนามแม่เหล็ก ณ ตำแหน่งใดๆ คือทิศที่เข็มของเข็มทิศวางตัวอย่างสมดุล เรามักจะเขียนแทนสนามแม่เหล็กด้วยสัญลักษณ์ \mathbf\ เดิมทีแล้ว สัญลักษณ์ \mathbf \ นั้นถูกเรียกว่าความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็กหรือความเหนี่ยวนำแม่เหล็ก ในขณะที่ \mathbf.

ดู ดาวอังคารและสนามแม่เหล็ก

สนิม

ราบสนิม สนิม เกิดจากการทำปฏิกิริยากันระหว่าง ออกซิเจนและธาตุเหล็ก เกิดเป็นรอยของการเกิดการผุกร่อน เป็น Corrosion ประเภทหนึ่งซึ่งมักเกิดกับโลหะจำพวกเหล็ก.

ดู ดาวอังคารและสนิม

หิมะภาค

มุมสูงของหิมะภาค จาก http://maps.grida.no/go/graphic/cryosphere UN Environment Programme Global Outlook for Ice and Snow IPCC แสดงขอบเขตของบริเวณที่ได้รับผลจากองค์ประกอบของหิมะภาคทั่วโลก เหนือพื้นดิน ชั้นดินเยือกแข็งคงตัวต่อเนื่องแสดงด้วยสีชมพูเข้ม ขณะที่ชั้นดินเยือกแข็งคงตัวไม่ต่อเนื่องแสดงด้วยสีชมพูที่อ่อนกว่า สีขาวกึ่งโปร่งใสเหนือพื้นที่ดินกว้างใหญ่ของซีกโลกเหนือแสดงบริเวณซึ่งมีหิมะตกอย่างน้อยหนึ่งวันระหว่างปี 2543-2555 เส้นสีเขียวสว่างตามขอบทิศใต้ของบริเวฯนี้แสดงขอบเขตหิมะสูงสุด ขณะที่เส้นสีดำตามทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรปและเอเชียแสดงเส้นขอบเขตหิมะ 50% ธารน้ำแข็งแสดงเป็นจุดสีทองเล็ก ๆ ในพื้นที่ภูเขาและในละติจูดเหนือและใต้จัด เหนือพื้นน้ำ หิ้งน้ำแข็งแสดงรอบทวีปแอนตาร์กติกาตามน้ำแข็งทะเลรอบหิ้งน้ำแข็ง น้ำแข็งทะเลยังแสดงที่ขั้วโลกเหนือ สำหรับทั้งสองขั้ว ขอบเขตน้ำแข็งทะเลเฉลี่ย 30 ปีแสดงโดยขอบสีเหลือง นอกากนี้ จะเห็นแผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์และแอนตาร์กติกาได้ชัดเจน หิมะภาค (Cryosphere) เป็นส่วนหนึ่งของผิวโลกซึ่งประกอบด้วยน้ำในรูปของแข็ง รวมถึงทะเลที่เป็นน้ำแข็ง ทะเลสาบน้ำแข็ง แม่น้ำที่เป็นน้ำแข็ง ธารน้ำแข็ง แผ่นน้ำแข็ง และพื้นดินซึ่งเยือกแข็ง พื้นที่ส่วนใหญ่ของหิมะภาคมักจะซ้อนอยู่บนพื้นที่ของอุทกภาค หิมะภาคนั้นเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกหลายประการ โดยมักมีอิทธิพลต่อเมฆ ปริมาณหยาดน้ำฟ้า อุทกวิทยา และการไหลเวียนของอากาศและกระแสน้ำ.

ดู ดาวอังคารและหิมะภาค

หิน

หินทราย หิน เป็นของแข็งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นสารผสมที่เกิดจากการเกาะตัวกันแน่นของแร่ตั้งแต่ 1 ชนิดขึ้นไป หรือ เป็นสารผสมของแร่กับแก้วภูเขาไฟ หรือ แร่กับซากดึกดำบรรพ์ หรือของแข็งอื่น ๆ หินมีหลายลักษณะ รูปร่างที่แตกต่างกันออกไป มีสีสันที่ต่างกันออกไป ตามถิ่นที่อยู่ เราสามารถจำแนกหินที่อยู่บนเปลือกโลกทางธรณีวิทยาออกได้เป็น 3 พวกใหญ่ ๆ คือ.

ดู ดาวอังคารและหิน

หินบะซอลต์

หินบะซอลต์ บะซอลต์ (basalt) เป็นหินอัคนีพุที่พบได้โดยทั่วไป มักพบมีสีเทาถึงสีดำ มีเนื้อละเอียดเนื่องจากเกิดจากการเย็นตัวของลาวาอย่างรวดเร็วบนพื้นผิวโลก อาจพบมีเนื้อสองขนาดที่มีผลึกขนาดโตกว่าอยู่ในพื้นเนื้อละเอียด หรือมีเนื้อเป็นโพรงข่าย หรือมีเนื้อเป็นตะกรันภูเขาไฟ (สคอเรีย) เนื้อหินบะซอลต์สดๆจะมีสีดำหรือสีเทา ปรกติหินบะซอลต์จะถูกนำไปใช้เป็นวัสดุก่อสร้างถนน เทพื้นรองหมอนและรางรถไฟ และทำเป็นแผ่นปูพื้นหรือผนัง และยังใช้เป็นส่วนผสมที่สำคัญในการผลิตแอสฟัลต์ ในโลกของเรานี้หินหนืด (แมกมา) เป็นวัตถุต้นกำเนิดของหินบะซอลต์ เกิดจากการพองตัวของวัตถุหลอมในชั้นเนื้อโลก หินบะซอลต์ก็เกิดได้บนดวงจันทร์ของโลกเรา รวมถึงบนดาวอังคาร ดาวศุกร์ และแม้แต่ดาวเคราะห์น้อย 4 เวสต้า หินต้นกำเนิดเพื่อการกึ่งหลอมละลายอาจจะเป็นทั้งเพริโดไทต์และไพรอกซีไนต์ (เช่น Sobolev et al., 2007) เปลือกโลกส่วนของมหาสมุทรโดยส่วนใหญ่แล้วจะประกอบไปด้วยหินบะซอลต์ที่เกิดจากการปะทุขึ้นมาจากชั้นเนื้อโลกที่อยู่ด้านล่างตรงบริเวณเทือกเขากลางสมุทร คำว่าบะซอลต์บางครั้งก็ถูกใช้เรียกหินอัคนีแทรกซอนในระดับตื้นๆที่มีองค์ประกอบเป็นแบบหินบะซอลต์ แต่หินที่มีองค์ประกอบดังกล่าวที่มีเนื้อหยาบโดยทั่วไปจะเรียกว่าโดเลอไรต์ (อาจเรียกเป็นไดอะเบสหรือแกบโบร) หินบะซอลต์ที่มีแนวแตกเสาเหลี่ยมที่ชีฟอีสเตอร์ในเยลโลสโตน หินบะซอลต์มีเนื้อเป็นโพรงข่ายที่ซันเซ็ตเครเตอร์ อะริโซนา สหรัฐอเมริกา ใช้เหรียญ 25 เซนต์เทียบเป็นมาตราส่วน.

ดู ดาวอังคารและหินบะซอลต์

หินหลอมเหลว

หินหลอมเหลวหรือลาวาที่พุ่งจากพื้นโลกสูงนับ 10 เมตร หินหลอมเหลว หรือ ลาวา (อังกฤษ: lava) คือหินหนืด (magma) ที่เคลื่อนที่เข้าออกบนพื้นผิวโลก และหากหินหนืดเหล่านี้มีการเย็นตัวและตกผลึกบนผิวโลกหรือใกล้ผิวโลก เรียกว่า หินอัคนีภูเขาไฟ (extrusive rocks หรือ volcanic rocks).

ดู ดาวอังคารและหินหลอมเหลว

หน่วยดาราศาสตร์

หน่วยดาราศาสตร์ (Astronomical Unit; ย่อในภาษาอังกฤษว่า AU หรือ au หรือ a.u. หรือ ua) คือ หน่วยของระยะทาง มีค่า (โดยประมาณ) เท่ากับระยะห่างเฉลี่ยระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ค่าที่ยอมรับในปัจจุบัน เท่ากับ 149,597,870,691±30 เมตร (ประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร หรือ 93 ล้านไมล์) สัญลักษณ์ "ua" ได้รับการเสนอจากสำนัก Bureau International des Poids et Mesures แห่งฝรั่งเศส แต่ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ที่ใช้ภาษาอังกฤษจะใช้อักษรตัวใหญ่มากกว่า ส่วนสหภาพดาราศาสตร์สากล (International Astronomical Union) เสนอให้ใช้ "au" ส่วนมาตรฐานนานาชาติ ISO 31-1 นั้นใช้ "AU".

ดู ดาวอังคารและหน่วยดาราศาสตร์

ออกซิเจน

ออกซิเจน (Oxygen) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ O และเลขอะตอม 8 ธาตุนี้พบมาก ทั้งบนโลกและทั่วทั้งจักรวาล โมเลกุลออกซิเจน (O2 หรือที่มักเรียกว่า free oxygen) บนโลกมีความไม่เสถียรทางเทอร์โมไดนามิกส์จึงเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันกับธาตุอื่น ๆ ได้ง่าย ออกซิเจนเกิดขึ้นครั้งแรกในโลกจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของแบคทีเรียและพื.

ดู ดาวอังคารและออกซิเจน

ออร์สัน เวลส์

อร์จ ออร์สัน เวลส์ (George Orson Welles) (6 พฤษภาคม, ค.ศ. 1915 - 10 ตุลาคม, ค.ศ. 1985) เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอเมริกัน เคยได้รับรางวัลอเคเดมีอวอร์ด,นักเขียนบท,ผู้กำกับละคร,โปรดิวซ์เซอร์ภาพยนตร์ และนักแสดงหนัง,ละครและวิท.

ดู ดาวอังคารและออร์สัน เวลส์

ออโรรา (ดาราศาสตร์)

แสงออโรราบนท้องฟ้า ออโรรา เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่มีแสงเรืองบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน โดยมักจะขึ้นในบริเวณแถบขั้วโลก โดยบางครั้งจะเรียกว่า แสงเหนือ หรือ แสงใต้ ขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิด ปรากฏการออโรราเป็นตัวอย่างปรากฏการณ์ทางฟิสิกส์ที่น่าทึงที่สุดที่เกิดขึ้นในอวกาศที่ใกล้พื้นโลก มันอาจปรากฏจากสิ่งจางๆ เป็นวงนิ่ง แล้วระเบิดออกมาเป็นสีต่าง ๆ พุ่งกระจายภายในเวลาไม่กี่วินาที บางครั้งจะปรากฏเหมือนมันจะแตะกับพื้น หรือในเวลาอื่นอาจเห็นมันพุ่งสูงขึ้นสู่ท้องฟ้า แต่ความจริงแล้ว แสงออโรรานั้นเกิดขึ้นที่ความสูงจากพื้นโลก (altitudes) ประมาณ 100 ถึง 300 กิโลเมตร บริเวณที่อยู่บริเวณบรรยากาศชั้นบนที่อยู่ใกล้กับอวก.

ดู ดาวอังคารและออโรรา (ดาราศาสตร์)

อะลูมิเนียม

มื่อวัดในทั้งปริมาณและมูลค่า การใช้อะลูมิเนียมมีมากกว่าโลหะอื่น ๆ ยกเว้นเหล็ก และมีความสำคัญในเศรษฐกิจโลกทุกด้าน อะลูมิเนียมบริสุทธิ์มีแรงต้านการดึงต่ำ แต่สามารถนำไปผสมกับธาตุต่าง ๆ ได้ง่าย เช่น ทองแดง สังกะสี แมกนีเซียม แมงกานีส และซิลิกอน (เช่น duralumin) ในปัจจุบันวัสดุเกือบทั้งหมดที่เรียกว่าอะลูมิเนียมเป็นโลหะผสมของอะลูมิเนียม อะลูมิเนียมบริสุทธิ์พบเฉพาะเมื่อต้องการความทนต่อการกัดกร่อนมากกว่าความแข็งแรงและความแข็ง เมื่อรวมกับกระบวนการทางความร้อนและกลการ (thermo-mechanical processing) โลหะผสมของอะลูมิเนียมมีคุณสมบัติทางกลศาสตร์ที่ดีขึ้น โลหะผสมอะลูมิเนียมเป็นส่วนสำคัญของเครื่องบินและจรวดเนื่องจากมีอัตราความแข็งแรงต่อน้ำหนักสูง อะลูมิเนียมสามารถสะท้อนแสงที่มองเห็นได้ดีเยี่ยม (~99%) และสามารถสะท้อนแสงอินฟราเรดได้ดี (~95%) อะลูมิเนียมชั้นบาง ๆ สามารถสร้างบนพื้นผิวเรียบด้วยวิธีการควบแน่นของไอสารเคมี (chemical vapor deposition) หรือวิธีการทางเคมี เพื่อสร้างผิวเคลือบออปติคัล (optical coating) และกระจกเงา ผิวเคลือบเหล่านี้จะเกิดชั้นอะลูมิเนียมออกไซด์ที่บางยิ่งกว่า ที่ไม่สึกกร่อนเหมือนผิวเคลือบเงิน กระจกเงาเกือบทั้งหมดสร้างโดยใช้อะลูมิเนียมชั้นบางบนผิวหลังของแผ่นกระจกลอย (float glass).

ดู ดาวอังคารและอะลูมิเนียม

อะเล็กซานเดรีย

อะเล็กซานเดรีย หรือในภาษาอาหรับเรียก อัลอัสกันดะริย์ยะ (Alexandria; الإسكندرية; Αλεξάνδρεια; คอปติก: Ⲣⲁⲕⲟⲧⲉ) เป็นเมืองใหญ่อันดับสองในประเทศอียิปต์ รองจากกรุงไคโร มีประชากรประมาณ 3-5 ล้านคน และเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศอียิปต.

ดู ดาวอังคารและอะเล็กซานเดรีย

อาริสโตเติล

อาริสโตเติล หรือ แอริสตอเติล (Αριστοτέλης; Aristotle) (384 ปีก่อนคริสตกาล – 7 มีนาคม 322 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักปรัชญากรีกโบราณ เป็นลูกศิษย์ของเพลโต และเป็นอาจารย์ของอเล็กซานเดอร์มหาราช ท่านและเพลโตได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักปรัชญาที่มีอิทธิพลสูงที่สุดท่านหนึ่ง ในโลกตะวันตก ด้วยผลงานเขียนหนังสือเกี่ยวกับฟิสิกส์ กวีนิพนธ์ สัตววิทยา การเมือง การปกครอง จริยศาสตร์ และชีววิทยา นักปรัชญากรีกโบราณที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคืออาริสโตเติล เพลโต (อาจารย์ของอาริสโตเติล) และโสกราตีส (ที่แนวคิดของเขานั้นมีอิทธิพลอย่างสูงกับเพลโต) พวกเขาได้เปลี่ยนโฉมหน้าของปรัชญากรีก สมัยก่อนโสกราตีส จนกลายเป็นรากฐานสำคัญของปรัชญาตะวันตกในลักษณะปัจจุบัน โสกราตีสนั้นไม่ได้เขียนอะไรทิ้งไว้เลย ทั้งนี้เนื่องจากผลของแนวคิดปรากฏในบทสนทนาของเพลโตชื่อ เฟดรัส เราได้ศึกษาแนวคิดของเขาผ่านทางงานเขียนของเพลโตและนักเขียนคนอื่นๆ ผลงานของเพลโตและอริสโตเติลเป็นแก่นของปรัชญาโบราณ อริสโตเติลเป็นหนึ่งในไม่กี่บุคคลในประวัติศาสตร์ที่ได้ศึกษาแทบทุกสาขาวิชาที่มีในช่วงเวลาของเขา ในสาขาวิทยาศาสตร์ อริสโตเติลได้ศึกษา กายวิภาคศาสตร์, ดาราศาสตร์, วิทยาเอ็มบริโอ, ภูมิศาสตร์, ธรณีวิทยา, อุตุนิยมวิทยา, ฟิสิกส์,และ สัตววิทยา ในด้านปรัชญา อริสโตเติลเขียนเกี่ยวกับ สุนทรียศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, จริยศาสตร์, การปกครอง, อภิปรัชญา, การเมือง, จิตวิทยา, วาทศิลป์ และ เทววิทยา เขายังสนใจเกี่ยวกับ ศึกษาศาสตร์, ประเพณีต่างถิ่น, วรรณกรรม และ กวีนิพนธ์ ผลงานของเขาเมื่อรวบรวมเข้าด้วยกันแล้ว สามารถจัดว่าเป็นสารานุกรมของความรู้สมัยกรีก.

ดู ดาวอังคารและอาริสโตเติล

อาร์กอน

อาร์กอน (Argon) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ Ar และเลขอะตอม 18 เป็นก๊าซมีตระกูล ตัวที่ 3 อยู่ในกลุ่ม 18 ก๊าซอาร์กอนประกอบเป็น 1% ของบรรยากาศของโลก ชื่ออาร์กอน มาจากภาษากรีกจากคำว่า αργον แปลว่า ไม่ว่องไว (inactive) ในขณะที่มีการอ้างอิงถึงความจริงที่ว่าองค์ประกอบเกือบจะไม่มีปฏิกิริยาทางเคมี ออคเต็ต สมบูรณ์ (ครบ8อิเล็กตรอน) ในเปลือกนอกทำให้อะตอมอาร์กอนที่มีความเสถียรภาพและความทนทานต่อพันธะกับองค์ประกอบอื่นๆที่อุณหภูมิสามจุดเท่ากับ 83.8058K เป็นจุดคงที่ที่กำหนดในอุณหภูมิระดับนานาชาติปี1990 อาร์กอนที่ผลิตโดยอุตสาหกรรมการกลั่นลำดับส่วนของอากาศและของเหลว อาร์กอนส่วนใหญ่จะใช้เป็นก๊าซเฉื่อยในการเชื่อมและกระบวนการทางอุตสาหกรรมที่อุณหภูมิสูงมีสารอื่นๆที่ปกติจะไม่ทำปฏิกิริยากลายเป็นทำปฏิกิริยา ตัวอย่างเช่น ชั้นบรรยากาศอาร์กอนนอกจากนี้ยังมีการปลดปล่อยก๊าซหลอด อาร์กอนทำให้ก๊าซสีเขียว-สีฟ้า โดเด่นด้วยแสงเลเซอร์ นอกจากนั่นอาร์กอนยังใช้ในการริเริ่มการเรืองแสงอีกด้ว.

ดู ดาวอังคารและอาร์กอน

อิกซ์ตรีโมไฟล์

อิกซ์ตรีโมไฟล์ (extremophile) มาจากภาษาละติน extremus หมายถึง "สุดขั้ว" และภาษากรีก philiā (φιλία) หมายถึง "รัก" เป็นสิ่งมีชีวิตที่เติบโตได้ดีในภาวะสุดขั้วทางกายภาพหรือธรณีเคมีซึ่งเป็นโทษต่อสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่บนโลก ในทางตรงข้าม สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สบายกว่าอาจเรียก เมโซไฟล์ (mesophile) หรือนิวโทรไฟล์ (neutrophile).

ดู ดาวอังคารและอิกซ์ตรีโมไฟล์

อินฟราเรด

มนุษย์ในย่าน mid-infrared เป็นภาพที่เกิดจากรังสีความร้อนที่แผ่ออกมาจากคน รังสีอินฟราเรด (Infrared (IR)) มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า รังสีใต้แดง หรือรังสีความร้อน เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นอยู่ระหว่างคลื่นวิทยุและแสงมีความถี่ในช่วง 1011 – 1014 เฮิร์ตซ์หรือความยาวคลื่นตั้งแต่ 1-1000 ไมโครเมตร มีความถี่ในช่วงเดียวกับไมโครเวฟ มีความยาวคลื่นอยู่ระหว่างแสงสีแดงกับคลื่นวิทยุสสารทุกชนิดที่มีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง -200 องศาเซลเซียสถึง 4,000 องศาเซลเซียส จะปล่อยรังสีอินฟราเรดออกมา คุณสมบัติเฉพาะตัวของรังสีอินฟราเรด เช่น ไม่เบี่ยงเบนในสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ที่แตกต่างกันก็คือ คุณสมบัติที่ขึ้นอยู่กับความถี่ คือยิ่งความถี่สูงมากขึ้น พลังงานก็สูงขึ้นด้วย  ถูกค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ คือ Sir William Herschel ซึ่งได้ค้นพบ รังสีอินฟราเรดสเปกตรัมในปี.. 1800จากการทดลองโดยทดสอบว่าในเลนส์แต่ละสี จะเปลี่ยนค่าแสดงความร้อนของดวงอาทิตย์หรือไม่ จึงประดิษฐ์อุปกรณ์การทดลองเพื่อหาคำตอบใช้ปริซึมแยกแสง แล้วให้แสงต่างๆมาตกที่เทอร์โมมิเตอร์ก็ตั้งเทอร์โมมิเตอร์ตัวหนึ่งนอกเหนือจากแสงสีต่าง ๆ นั้น เพื่อเป็นตัวควบคุมการทดลอง ปรากฏว่า แสงสีต่าง มีอุณหภูมิสูงกว่าแสงสีขาว และอุณหภูมิสูงขึ้นจาก สีม่วง ไปหาสีแดง ปรากฏว่า เทอร์โมมิเตอร์ ตัวที่อยู่นอกเหนือจากแสงสีแดงนั้น กลับวัดได้อุณหภูมิสูงกว่าทุกตัว พบว่า ส่วนของแสงที่มองไม่เห็นแต่ร้อนกว่าสีแดงนี้ มีคุณสมบัติทางกายภาพเช่นเดียวกับคลื่นแสงที่มองเห็นได้ทุกประการ เช่น การหักเห ดูดซับ ส่องผ่านหรือไม่ผ่านตัวกลาง รังสีที่ถูกค้นพบใหม่นี้ตั้งชื่อว่า " รังสีอินฟราเรด " (ขอบเขตที่ต่ำกว่าแถบสีแดงหรือรังสีใต้แดง)  ในการใช้ประโยชน์ ใช้ในการควบคุมเครื่องใช้ระบบไกล (remote control) สร้างกล้องอินฟราเรดที่สามารถมองเห็นวัตถุในความมืดได้ เช่น อเมริกาสามารถใช้กล้องอินฟราเรดมองเห็นเวียตกงได้ตั้งแต่สมัยสงครามเวียดนาม และสัตว์หลายชนิดมีนัยน์ตารับรู้รังสีชนิดนี้ได้ ทำให้มองเห็นหรือล่าเหยื่อได้ในเวลากลางคืน เรามองไม่เห็นรังสีอินฟราเรด แต่เราก็รู้สึกถึงความร้อนได้ สัตว์บางชนิด เช่น งู มีประสาทสัมผัสรังสีอินฟราเรด มันสามารถทราบตำแหน่งของเหยื่อได้ โดยการสัมผัสรังสีอินฟราเรดซึ่งแผ่ออกมาจากร่างกายของเหยื่อ รังสีที่มีความยาวคลื่นน้อยกว่าแสงสีม่วงเรียกว่า “รังสีอุลตราไวโอเล็ต” โลกและสิ่งชีวิตแผ่รังสีอินฟราเรดออกมา เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ และไอน้ำ ในบรรยากาศดูดซับรังสีนี้ไว้ ทำให้โลกมีความอบอุ่น เหมาะกับการดำรงชีวิต .

ดู ดาวอังคารและอินฟราเรด

อุกกาบาต

อุกกาบาตที่ถูกพบในสหรัฐอเมริกา อุกกาบาต คือ วัตถุในอวกาศ ที่ผ่านชั้นบรรยากาศลงมาสู่โลก ตอนอยู่ในอวกาศจะเรียกว่า สะเก็ดดาวตก พอเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก จะเรียกว่า ดาวตก เราสามารถพบหรือเจออุกกาบาตได้บนดาวเคราะห์ดวงอื่น เช่น ดาวอังคาร เป็นต้น อุกกาบาตเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงประมาณ 40-70 กิโลเมตร/วินาที และเกิดการ compression กับอากาศในชั้นบรรยากาศโลก ทำให้อากาศรอบๆอุกกาบาตมีความดันสูงขึ้นจึงเกิดความร้อนสูงจนลุกไหม้ สะเก็ดอุกกาบาตเล็กจะถูกเผาไหม้จนหมดแต่สำหรับก้อนที่มีขนาดใหญ่นั้นจะไม่ถูกเผาไหม้จนหมดทำให้ตกมายันบนพื้นโลก และเกิดหลุมอุกกาบาต ชนิดของอุกกาบาต ชนิดของอุกกาบาต มีดังนี้.

ดู ดาวอังคารและอุกกาบาต

อุลกมณี

ตัวอย่างก้อนอุลกมณีที่พบบนพื้นผิวโลก อุลกมณี มีหลายชื่อที่เรียกหากัน อุกกามณี แก้วข้าว สะเก็ดดาว เหล็กไหลต่างดาว คดปลวก พลอยจันทรคราส หยดน้ำฟ้า(ตามรูปร่างที่ปรากฏ) สะเก็ดดาว หรืออุลกมณี ตรงกับคำว่า "tektite" ในภาษาอังกฤษ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า Tektos ในภาษากรีก แปลว่า หลอมละลาย อุลกมณีที่พบจะมีเนื้อแก้ว ส่วนใหญ่สีดำทึบคล้ายนิล บางชิ้นมีเนื้อในสีน้ำตาลใส บางชิ้นก็มีเนื้อโปร่งแสงสีเขียว ผิวของอุลกมณีจะเป็นหลุมเล็ก ๆ โดยรอบ รูปลักษณ์สัณฐานของอุลกมณีไม่แน่นอน อาจเป็นก้อนกลม ยาวแบน แท่งกลมยาว คนไทยบางท่านเชื่อว่าสามารถแบ่งอุลกมณี เป็นชนิดต่างๆตามรูปร่าง เช่น ตัวผู้(รูปทรงเป็นแท่งคล้ายลึงค์) หรือตัวเมีย(รูปทรงกลม) มนุษย์เรารู้จักอุลกมณีมานานแล้ว โดยเชื่อกันว่าเป็นสะเก็ดดาวจากนอกโลก ที่ตกเข้ามายังพื้นผิวโลก แต่ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาและทราบว่าแท้จริงแล้ว อุลกมณี หรือ tektite เป็นทรายที่เกิดบนโลกที่เกิดการหลอมละลายจากความร้อนจากการพุ่งชนของอุกกาบาต ขณะที่ทรายหลอมละลายจะกระเซ็นขึ้นไปบนท้องฟ้า แล้วเกิดการเย็นและแข็งตัวกลางอากาศ ก่อนจะตกกลับคืนสู่พื้นดิน จึงทำให้เกิดรูปร่างหลากหลายแบบ สีของ อุลกมณีจะมีความแตกต่างกันจากการเกิด ว่าเมื่อเกิด มีแร่ธาตุอะไรเข้าไปผสมอยู่ด้ว.

ดู ดาวอังคารและอุลกมณี

อีลอน มัสก์

อีลอน รีฟ มัสก์ (Elon Reeve Musk) เป็นนักธุรกิจและนักลงทุนชาวอเมริกัน และยังเป็นวิศวกรและนักประดิษฐ์อีกด้วย เป็นผู้ก่อตั้งและผู้บริหารของบริษัทสเปซเอ็กซ์ และยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง, ผู้บริหารและสถาปนิกผลิตภัณฑ์ของเทสลามอเตอร์ส และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งและประธานบริษัทของเพย์แพลตลอดจนบริษัทอื่นๆอีกมากมาย นอกจากนี้เขายังเป็นผู้จุดประกายความคิดระบบขนส่งความเร็วสูงที่เรียกว่าไฮเปอร์ลูปและเครื่องบินใบพัดขับเคลื่อนไฟฟ้าเหนือเสียงแบบขึ้นลงทางดิ่ง เขาได้รับการจัดอันดับจากนิตสารฟอบส์ให้เป็นบุคคลที่รวยที่สุดเป็นอันดับ 56 ของโลกเมื่อเดือนมิถุนายน 2018.

ดู ดาวอังคารและอีลอน มัสก์

องศา (มุม)

องศา (degree) หรือในชื่อเต็มคือ ดีกรีของส่วนโค้ง (degree of arc, arcdegree) คือหน่วยวัดมุมชนิดหนึ่งบนระนาบสองมิติ หนึ่งองศา แทนการกวาดมุมรอบจุดศูนย์กลางของวงกลมไปได้ 1 ส่วนใน 360 ส่วน และเมื่อมุมนั้นอ้างอิงกับเส้นเมอริเดียน องศาจะแสดงให้เห็นถึงตำแหน่งต่างๆ บนวงกลมใหญ่ของทรงกลม อย่างที่มีการใช้อ้างอิงตำแหน่งบนโลก ดาวอังคาร หรือทรงกลมท้องฟ้า เป็นต้น สัญลักษณ์วงกลมเล็ก ° ใช้แทนหน่วยองศาในการเขียน และเป็นหน่วยเดียวที่ไม่ต้องเว้นวรรคระหว่างตัวเลขกับสัญลักษณ์ เช่น 15° แทนมุมขนาด 15 อง.

ดู ดาวอังคารและองศา (มุม)

องศาเซลเซียส

องศาเซลเซียส (สัญลักษณ์ °C) หรือที่เคยเรียกว่า องศาเซนติเกรด (degree centigrade) เป็นหน่วยวัดอุณหภูมิหน่วยหนึ่งในระบบเอสไอ กำหนดให้จุดเยือกแข็งของน้ำคือ 0 °C และจุดเดือดคือ 100 °C โดยตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่แอนเดอร์ เซลเซียส ผู้ซึ่งสร้างระบบใกล้เคียงกับปัจจุบัน ในปัจจุบันองศาเซลเซียสใช้กับแพร่หลายทั่วโลกในชีวิตประจำวัน จะยกเว้นก็มีสหรัฐอเมริกาและประเทศจาไมกาเท่านั้นที่นิยมใช้หน่วยองศาฟาเรนไฮต์ แต่ในประเทศดังกล่าว องศาเซลเซียสและเคลวินก็ใช้มากในด้านวิทยาศาสตร.

ดู ดาวอังคารและองศาเซลเซียส

องค์การอวกาศยุโรป

องค์การอวกาศยุโรป หรือ อีเอสเอ (European Space Agency, ESA; Agence spatiale européenne, ASE) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1975 โดยเป็นองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศในยุโรป มีเป้าหมายเพื่อการสำรวจอวกาศ ปัจจุบันมีสมาชิก 20 ประเทศ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส มีจำนวนพนักงานเกือบ 2,000 คน และมีงบประมาณประจำปีราว 2.9 พันล้านยูโรในปี..

ดู ดาวอังคารและองค์การอวกาศยุโรป

จานดาวเคราะห์ก่อนเกิด

นดาวเคราะห์ก่อนเกิด ในเนบิวลานายพราน จานดาวเคราะห์ก่อนเกิด (Protoplanetary disk) คือแผ่นจานสสารระหว่างดาวอัดแน่นไปด้วยแก๊สที่หมุนวนไปรอบๆ ดาวฤกษ์ที่กำลังก่อตัวขึ้นใหม่ ซึ่งเรียกว่า ดาวฤกษ์ชนิด T Tauri หรือดาวเฮอร์บิก (Herbig) จานดาวเคราะห์ก่อนเกิดอาจเป็นจานพอกพูนมวลชนิดหนึ่ง เพราะสสารแก๊สอาจจะตกจากขอบจานด้านในเข้าไปบนพื้นผิวของดาวฤกษ์ได้ แต่กระบวนการทั้งสองนี้แตกต่างกันและไม่ควรนำมาใช้สับสนปนเปกัน จานดาวเคราะห์ก่อนเกิดที่อยู่รอบดาวฤกษ์ T Tauri แตกต่างจากแผ่นจานที่อยู่รอบวัตถุโบราณชนิดอื่นในระบบดาวคู่ เนื่องจากความแตกต่างด้านขนาดและอุณหภูมิ จานดาวเคราะห์ก่อนเกิดมีรัศมีราว 1000 หน่วยดาราศาสตร์ และค่อนข้างเย็น มีเพียงเฉพาะส่วนในของแผ่นจานเท่านั้นจะมีอุณหภูมิสูงถึง 1000 เคลวิน โดยทั่วไป ดาวฤกษ์ก่อนเกิดจะก่อตัวในเมฆโมเลกุลซึ่งมีโมเลกุลไฮโดรเจนดั้งเดิมอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อบางส่วนของเมฆโมเลกุลดำเนินไปถึงจุดวิกฤตของขนาด มวล หรือความหนาแน่น มันจะแตกสลายลงด้วยแรงโน้มถ่วงภายในของมันเอง เมฆที่แตกสลายลงนี้เรียกว่า เนบิวลาสุริยะ ซึ่งเป็นกลุ่มเมฆที่มีความหนาแน่นมากยิ่งขึ้น แก๊สที่เคยเคลื่อนที่แบบสะเปะสะปะจะเริ่มเคลื่อนไปตามทิศทางของโมเมนตัมเชิงมุมของเนบิวลานั้น การพยายามรักษาโมเมนตัมเชิงมุมไว้ทำให้มีการหมุนวนเพิ่มมากขึ้น และเนบิวลามีขนาดเล็กลง แต่อัดแน่นมากขึ้น กลายเป็นกลุ่มเมฆที่แบนลงคล้ายกับแผ่นพิซซา แล้วจึงกลายเป็นแผ่นจาน การแตกสลายครั้งแรกกินเวลาราว 100,000 ปี หลังจากนั้นอุณหภูมิพื้นผิวของดาวฤกษ์จึงเพิ่มขึ้นจนถึงระดับของดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลัก เรียกดาวฤกษ์ในระดับนี้ว่า ดาวฤกษ์ T Tauri แก๊สจะพอกพูนไปบนดาวฤกษ์มากขึ้นเรื่อยๆ ไปตลอด 10 ล้านปีถัดไป ก่อนที่แผ่นจานจะสลายตัวหายไปหมด ซึ่งอาจเป็นผลจากแรงดันของลมสุริยะขับไล่มันไป แผ่นจานดาวเคราะห์ก่อนเกิดที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่ค้นพบมีอายุ 25 ล้านปี.

ดู ดาวอังคารและจานดาวเคราะห์ก่อนเกิด

จาโรไซต์

รไซต์เป็นแร่ซัลเฟตชนิดหนึ่งที่พบได้ในรูปของสินแร.

ดู ดาวอังคารและจาโรไซต์

จุลินทรีย์

จุลินทรีย์ ''E coli'' ขนาด 10,000 เท่า จุลินทรีย์, จุลชีพ, จุลชีวัน หรือ จุลชีวิน (microorganism) เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจึงจำเป็นต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ ได้แก่ แบคทีเรีย อาร์เคีย รา และ ยีสต์ เป็นต้น เราสามารถพบจุลินทรีย์ได้ทุกสภาวะแวดล้อม แม้แต่ในสภาวะแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตอื่นอยู่ไม่ได้ แต่จุลินทรีย์บางชนิดสามารถปรับตัวอาศัยอยู่ได้ เช่น ในน้ำพุร้อนบริเวณภูเขาไฟใต้ทะเลลึก หรือภูเขาไฟธรรมดา ใต้มหาสมุทรที่มีความกดดันของน้ำสูงๆ ในน้ำแข็งที่มีอุณหภูมิเย็นจัด บริเวณที่มีสภาพความเป็นกรดด่างสูง หรือแม้กระทั่งในบริเวณที่ไม่มีออกซิเจนส่วนใหญ่หมายถึงสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว หรือหลายๆเซลล์ (เช่น เชื้อรา) หมวดหมู่:ชีววิทยา.

ดู ดาวอังคารและจุลินทรีย์

จุดมืดดวงอาทิตย์

มืดดวงอาทิตย์เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 แผนภาพจำนวนของจุดมืดในรอบ 400 ปี จุดมืดดวงอาทิตย์ หรือ จุดดับบนดวงอาทิตย์ (Sunspot) คือ พื้นที่ส่วนหนึ่งบนชั้นโฟโตสเฟียร์ของดวงอาทิตย์ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่าบริเวณโดยรอบ และมีสนามแม่เหล็กที่มีปั่นป่วนสูงมาก ซึ่งได้ทำให้เกิดการขัดขวางกระบวนการพาความร้อนบนพื้นผิวดวงอาทิตย์ เกิดเป็นพื้นที่ที่มีความเข้มของแสงต่ำกว่าบริเวณโดยรอบ อย่างไรก็ตาม มันยังคงมีอุณหภูมิสูงถึง 3700-4000 เคลวิน เทียบกับบริเวณปกติโดยรอบที่มีอุณหภูมิประมาณ 5800 เคลวิน ถ้าเรานำจุดมืดออกมาจากดวงอาทิตย์มันจะสามารถเปล่งแสงสว่างได้มากกว่าแสงจากการเชื่อมเหล็ก เสียอีก จุดมืดยังเป็นสาเหตุของการเกิดปรากฏการณ์บนดวงอาทิตย์อีกมาก เช่น บ่วงโคโรนา (Coronal loop) และ การเชื่อมกันของสนามแม่เหล็ก (Magnetic reconnection) นอกจากนี้การระเบิดใหญ่บนดวงอาทิตย์ (Solar flare) และ การพ่นมวลโคโรนา (Coronal Mass Ejection) ก็ยังเกิดขึ้นในบริเวณสนามแม่เหล็กรอบๆ จุดมืดอีกด้ว.

ดู ดาวอังคารและจุดมืดดวงอาทิตย์

จุดปลายระยะทางวงโคจร

ปลายระยะทางวงโคจร ในทางดาราศาสตร์ จุดปลายระยะทางวงโคจร (apsis) หมายถึง จุดในวงโคจรของวัตถุที่อยู่ใกล้ที่สุดหรือไกลที่สุดจากจุดศูนย์กลางมวลที่มันโคจรรอบ จุดที่เคลื่อนเข้าไปใกล้จุดศูนย์กลางมวลมากที่สุด เรียกว่า จุดใกล้ที่สุด (periapsis หรือ pericentre) จุดที่เคลื่อนออกไปไกลที่สุดเรียกว่า จุดไกลที่สุด (apoapsis, apocentre หรือ apapsis) เส้นตรงที่ลากจากจุดใกล้ที่สุดไปยังจุดไกลที่สุด เรียกว่า line of apsides ซึ่งก็คือแกนเอกของวงรี หรือเส้นที่ยาวที่สุดภายในวงรีนั่นเอง นอกจากนี้มีคำศัพท์เฉพาะอื่นๆ ที่ใช้เรียกจุดใกล้ที่สุดหรือจุดไกลที่สุดในการโคจรรอบเทหวัตถุบางชนิด จุดใกล้ที่สุดและจุดไกลที่สุดในการโคจรรอบโลก เรียกว่า perigee และ apogee ตามลำดับ จุดใกล้ที่สุดและจุดไกลที่สุดในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ เรียกว่า perihelion และ aphelion ตามลำดั.

ดู ดาวอังคารและจุดปลายระยะทางวงโคจร

จีออยด์

ีออยด์ (geoid) คือ ผิวสมศักย์ ซึ่งโดยประมาณแล้วเป็นผิวที่ทับกันสนิทกับผิวเฉลี่ยของมหาสมุทร และมักจะใช้ในการแทนสัณฐานของโลก เกาส์ ได้กล่าวว่า จีออยด์นี้คือ "รูปทรงทางคณิตศาสตร์ของโลก" ซึ่งจริงๆ แล้วก็คือรูปทรงของสนามแรงดึงดูดของโลกนั่นเอง ผิวสมศักย์นี้ โดยเฉลี่ยแล้วจะทับกันสนิทได้กับระดับน้ำทะเลปานกลาง ผิวจีออยด์ โดยปกติแล้วจะมีรูปร่างที่ ไม่สม่ำเสมอเท่ากับ รูปทรงรีโดยทั่วไปที่ใช้ประมาณรูปทรงของโลก แต่จะมีความสม่ำเสมอมากกว่าผิวจริงๆ ของโลก ในขณะที่ผิวจริงๆ ของโลกนั้นมีความเบี่ยงเบนอยู่ระหว่าง +8,000 เมตร (ยอดเขาเอเวอเรสต์) และ −11,000 เมตร (ท้องใต้ทะเลมารีอานา) ผิวจีออยด์จะเบี่ยงเบนจากผิวทรงรีอ้างอิงเพียง ±100 เมตร เนื่องจากแนวแรงโน้มถ่วงของโลก ตั้งฉากกับผิวจีออยด์ (ซึ่งเป็นผิวสมศักย์) ทุกๆ ที่ ดังนั้นผิวน้ำทะเลตามธรรมชาติจะมีผิวหน้าเป็นไปตามจีออยด์ หากไม่ถูกปิดกั้น หรือล้อมด้วยพื้นดิน ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในความเป็นจริง อย่างไรก็ตามนักวิชาการทางสัณฐานของโลก ได้ใช้เทคนิคในปรับระดับผิวหน้าให้ตรง สร้างผิวในจินตนาการเพื่อใช้ในการหาระดับความสูงของพื้นผิวทวีป ในการเดินทางทางทะเล เราจะไม่สังเกตเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงระดับของจีออยด์ ซึ่งในบริเวณเฉพาะที่นั้นจะขนานกับแนวขอบฟ้า และ ตั้งฉากกับแนวดิ่งเสมอ แต่ระดับความสูงที่แสดงในตัวรับ GPS จะแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงความสูง โดยเทียบกับทรงรีอ้างอิง ที่มีจุดศูนย์กลางวงโคจรของดาวเทียม GPS เป็นจุดศูนย์กลาง ซึ่งก็คือจุดเดียวกับจุดศูนย์กลางมวลของโลก.

ดู ดาวอังคารและจีออยด์

จดหมายเหตุจากชาวอังคาร

หมายเหตุจากชาวอังคาร (The Martian Chronicles).

ดู ดาวอังคารและจดหมายเหตุจากชาวอังคาร

ธรณีสัณฐานวิทยา

รณีสัณฐาน. ธรณีสัณฐานวิทยา (Geomorphology) คือศึกษาทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับต้นกำเนิดและวิวัฒนาการของภูมิประเทศชนิดต่าง ๆ ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาตามกระบวนการทางกายภาพหรือทางเคมี เช่น ภูมิประเทศที่เกิดจากการกัดเซาะ การพัดพา การเคลื่อนไหวของเปลือกโลกนักธรณีวิทยาพยายามที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับภูมิทัศน์ว่าทำไมแต่ละที่จึงมีลักษณะต่างกันจึงพยายามศึกษาประวัติและพลศาสตร์ของธรณีสัณฐานเพื่อรวบรวมการเปลี่ยนแปลงผ่านการสังเกตภาคสนาม การทดลองทางกายภาพและการสร้างแบบจำลองเชิงตัวเลข ธรณีสัณฐานวิทยาเป็นส่วนหนึ่งในสาขาของภูมิศาสตร์กายภาพ ธรณีวิทยา จีออเดซี วิศวกรรมธรณี โบราณคดีและวิศวกรรมธรณีเทคนิคซึ่งแต่ละสาขาวิชาจะทำให้เกิดรูปแบบและผลงานวิจัยที่แตกก่างกันไป.

ดู ดาวอังคารและธรณีสัณฐานวิทยา

ธาร์ซิส

ร์ซิส (Tharsis) เป็นชื่อเรียกของที่ราบสูงขนาดใหญ่ใกล้เส้นศูนย์สูตรในซีกดาวเคราะห์ฝั่งทิศตะวันตกของดาวอังคาร เป็นที่ตั้งของภูเขาไฟขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยจักรวาลของเรานามว่า โอลิมปัส และยังมีภูเขาไฟรูปโล่ อีก 3 ลูกทอดเรียงตัวกัน คือ อาร์เซีย, แอสคาเออุส และ พาโวนิส ชื่อธาร์ซิสมาจากการถอดเสียงแบบกรีก–ละติน จากคำว่าทาร์ชิชซึ่งปรากฎในคัมภีร์ฮีบรู.

ดู ดาวอังคารและธาร์ซิส

ถ้ำ

้ำ Lechuguilla นิวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา ถ้ำ ถ้ำ คือโพรงที่ลึกเข้าไปในภูเขา หรือเป็นช่องที่เป็นโพรงลึกเข้าไปในพื้นดินหรือภูเขา มีขนาดใหญ่พอที่มนุษย์สามารถเข้าไปได้ เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยทั่วไปถ้ำเกิดในหินปูนที่มีน้ำใต้ดินไหลผ่านกัดเซาะ ซึ่งมักพบตามภูเขาหินปูนหรือ ภูเขาชายฝั่งทะเล นอกจากนี้ยังมีถ้ำที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์อีกด้ว.

ดู ดาวอังคารและถ้ำ

ทรงรี

ทรงรี วาดในซอฟต์แวร์นิวพลอต ทรงรี คือผิวกำลังสองชนิดหนึ่ง ในสามมิติ เทียบได้กับวงรีในสองมิติ รูปสมการมาตรฐานของทรงรี บนแกน x-y-z ในระบบพิกัดคาร์ทีเซียน คือ ++.

ดู ดาวอังคารและทรงรี

ทอเลมี

ลาดิออส โตเลเมออส (Κλαύδιος Πτολεμαῖος) รู้จักในชื่อภาษาอังกฤษว่า ทอเลมี (Ptolemy) เป็นนักภูมิศาสตร์ นักดาราศาสตร์ และนักโหราศาสตร์ชาวกรีกโบราณ คาดว่ามีชีวิตและทำงานอยู่ในเมืองอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ ทอเลมีเป็นผู้แต่งตำราที่สำคัญหลายเล่ม ที่ถือว่าเป็นคัมภีร์ทางวิชาการ ในจำนวนนี้ มีสองเล่มที่ได้ใช้สืบต่อไปในวิทยาการของอาหรับและยุโรป เล่มแรกคือคัมภีร์ดาราศาสตร์ในชื่อว่า The Mathematical Compilation (Μαθηματική Σύνταξις ซึ่งภายหลังถูกเปลี่ยนชื่อเป็น The Greatest Compilation (Η Μεγάλη Σύνταξις ชาวอาหรับได้แปลหนังสือเล่มนี้ และให้ชื่อใหม่เป็นภาษาอารบิกว่า "al-majisti" ซึ่งภายหลังจากนั้นถูกแปลเป็นภาษาละตินว่า อัลมาเจสต์ (Almagest) อัลมาเจสต์เป็นหนังสือเกี่ยวกับเรื่องการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ ด้วยหลักการทางคณิตศาสตร์ว่า: โลกมีลักษณะเป็นทรงกลม เป็นศูนย์กลางของจักรวาล และหยุดนิ่งไม่มีการเคลื่อนไหว; โดยทฤษฎีนี้ได้รับการยอมรับยาวนานถึง 1,400 กว่าปี จนกระทั่งสมัยของ นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส ตำราอีกเล่มหนึ่งคือ "ภูมิศาสตร์" ซึ่งเกี่ยวกับความรู้ด้านภูมิศาสตร์ในโลกยุคกรีก-โรมัน อย่างละเอี.

ดู ดาวอังคารและทอเลมี

ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟ

ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟ (Crater lake) เป็นทะเลสาบที่เกิดขึ้นภายในปล่องภูเขาไฟ อย่างเช่น Maar หรือแคลดีรา บางครั้งอาจเรียกว่า ทะเลสาบแคลดีรา แต่โดยทั่วไปแล้วมักจะไม่เรียกเช่นนั้น ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟที่อยู่ในปล่องของภูเขาไฟมีพลังอาจเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า Volcanic lakes และน้ำในทะเลสาบลักษณะนี้มักจะมีสภาพเป็นกรด เต็มไปด้วยแก๊สภูเขาไฟ และมีสีเขียวเข้ม ขณะที่ทะเลสาบที่ตั้งอยู่ในปล่องภูเขาไฟสงบหรือภูเขาไฟดับสนิทมักจะมีน้ำที่ใส และจะยิ่งใสมากเป็นพิเศษถ้าไม่มีธารน้ำและตะกอนไหลเข้ามา ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟเกิดขึ้นเมื่อหยาดน้ำฟ้าตกลงมาในแอ่ง ความลึกจะเพิ่มมากขึ้นจนกระทั่งเกิดสมดุลระหว่างอัตราของน้ำที่เข้ามาและอัตราของน้ำที่เสียไปซึ่งอาจเกิดจากการระเหย การซึมลงใต้ดิน และอาจรวมถึงการไหลออกบนผิวดินหากระดับน้ำในทะเลสาบสูงถึงจุดที่ต่ำที่สุดของขอบแอ่ง ซึ่งการไหลออกบนผิวดินนี้อาจกัดเซาะสิ่งทับถมที่กั้นทะเลสาบไว้ และถ้าสิ่งทับถมนี้ถูกกัดเซาะอย่างรวดเร็ว ก็จะทำให้เกิด Lake breakout ขึ้นได้ ตัวอย่างของทะเลสาบปล่องภูเขาไฟที่มีชื่อเสียงคือ Crater Lake ซึ่งมีชื่อเดียวกับศัพท์ทางธรณีวิทยา ตั้งอยู่ในแคลดีราของ Mount Mazama (ดังนั้นชื่อ "Crater Lake" จึงเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นอย่างไม่ถูกต้อง) ในรัฐออริกอน สหรัฐอเมริกา จัดเป็นทะเลสาบที่ลึกที่สุดในสหรัฐอเมริกา โดยมีความลึก 594 เมตร น้ำใน Crater Lake มาจากฝนและหิมะเท่านั้น โดยไม่มีการไหลเข้าและออกที่ระดับผิวดิน ดังนั้นจึงเป็นทะเลสาบที่มีความใสมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ภูเขาไฟที่สูงที่สุดในโลกคือ Ojos del Salado ซึ่งมีความสูง 6,893 เมตร มีทะเลสาบปล่องภูเขาไฟขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 100 เมตร อยู่ที่ระดับความสูง 6,390 เมตรทางด้านตะวันออกของภูเขาไฟ อาจถือได้ว่าเป็นทะเลสาบที่อยู่ที่ระดับความสูงมากที่สุดในโลก ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟบางแห่งจะคงตัวอยู่เป็นพักๆเท่านั้นเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่ผันแปร ขณะที่ทะเลสาบแคลดีราสามารถคงตัวอยู่ได้นานมาก ตัวอย่างเช่น ทะเลสาบโทบาที่เกิดขึ้นเมื่อหลังจากภูเขาไฟระเบิดเมื่อประมาณ 70,000 ปีก่อน และมีพื้นที่มากกว่า 1,000 ตารางกิโลเมตร ทะเลสาบปล่องภูเขาไฟหลายแห่งอาจมีความงดงามดั่งวาด แต่ก็มีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้เช่นกัน ตัวอย่างเช่นแก๊สที่ปล่อยออกจาก Lake Nyos ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจราว 800 คนเมื่อ..

ดู ดาวอังคารและทะเลสาบปล่องภูเขาไฟ

ทีโค บรา

ทีโค บรา (Tycho Brahe) เป็นนักดาราศาสตร์ผู้หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการแสดงว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ เป็นอาจารย์ของโยฮันเนส เคปเลอร์ ผู้ซึ่งสร้าง กฎของเคปเลอร์ และได้จดบันทึกข้อมูลสำคัญๆ ทางดาราศาสตร์เอาไว้มากมายเช่น ซุปเปอร์โนวา ตำแหน่งดาวเคราะห์เป็นต้น ซึ่งข้อมูลส่วนหนึ่งนั้นเองที่เป็นรากฐานสำคัญให้ โยฮันเนส เคปเลอร์ สร้าง กฎของเคปเลอร์ต่อไป.

ดู ดาวอังคารและทีโค บรา

ขั้วโลกเหนือ

ั้วโลกเหนือภูมิศาสตร์ ขั้วโลกเหนือ (North Pole) เป็นจุดที่ถือว่าอยู่ทางเหนือที่สุดของโลก.

ดู ดาวอังคารและขั้วโลกเหนือ

ขนาดเชิงมุม

้นผ่านศูนย์กลางเชิงมุม การกำหนดเส้นผ่านศูนย์กลางเชิงมุม เส้นผ่านศูนย์กลางเชิงมุม หรือ ขนาดเชิงมุม หรือ ขนาดปรากฏ ของวัตถุที่เห็นจากตำแหน่งที่ให้มาเป็น "เส้นผ่านศูนย์กลางที่มองเห็นได้" ของวัตถุที่วัดเป็นมุม ในทางทัศนวิทยา มันถูกเรียกว่า มุมการมอง เส้นผ่านศูนย์กลางที่มองเห็นได้เป็นเส้นผ่านศูนย์กลางของโปรเจ็กชั่นแบบเปอร์สเปคตีฟของวัตถุบนระนาบผ่านศูนย์กลางของมันที่ตั้งฉากกับทิศทางการมอง เนื่องจากมีลักษณะเป็นภาพลึกบนผนังแบนเรียบ มันจึงค่อนข้างแตกต่างจากเส้นผ่านศูนย์กลางจริงทางฟิสิกส์ของวัตถุที่มองเห็นภายใต้มุม สำหรับวัตถุทรงจานในระยะไกล เส้นผ่านศูนย์กลางที่มองเห็นได้กับเส้นผ่านศูนย์กลางจริงเป็นอย่างเดียวกัน.

ดู ดาวอังคารและขนาดเชิงมุม

ดวงอาทิตย์

วงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ ณ ใจกลางระบบสุริยะ เป็นพลาสมาร้อนทรงเกือบกลมสมบูรณ์ โดยมีการเคลื่อนท่พาซึ่งผลิตสนามแม่เหล็กผ่านกระบวนการไดนาโม ปัจจุบันเป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตบนโลก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.39 ล้านกิโลเมตร ใหญ่กว่าโลก 109 เท่า และมีมวลประมาณ 330,000 เท่าของโลก คิดเป็นประมาณ 99.86% ของมวลทั้งหมดของระบบสุริยะ มวลประมาณสามในสี่ของดวงอาทิตย์เป็นไฮโดรเจน ส่วนที่เหลือเป็นฮีเลียมเป็นหลัก โดยมีปริมาณธาตุหนักกว่าเล็กน้อย รวมทั้งออกซิเจน คาร์บอน นีออนและเหล็ก ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ลำดับหลักระดับจี (G2V) ตามการจัดประเภทดาวฤกษ์ ซึ่งเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "ดาวแคระเหลือง" ดวงอาทิตย์เกิดเมื่อประมาณ 4.6 พันล้านปีก่อนจากการยุบทางความโน้มถ่วงของสสารภายในบริเวณเมฆโมเลกุลขนาดใหญ่ สสารนี้ส่วนใหญ่รวมอยู่ที่ใจกลาง ส่วนที่เหลือแบนลงเป็นแผ่นโคจรซึ่งกลายเป็นระบบสุริยะ มวลใจกลางร้อนและหนาแน่นมากจนเริ่มเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ณ แก่น ซึ่งเชื่อว่าเป็นกระบวนการเกิดดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ ดวงอาทิตย์มีอายุประมาณครึ่งอายุขัย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักเป็นเวลากว่า 4 พันล้านปีมาแล้วและจะค่อนข้างเสถียรไปอีก 5 พันล้านปี หลังฟิวชันไฮโดรเจนในแก่นของมันลดลงถึงจุดที่ไม่อยู่ในดุลยภาพอุทกสถิตต่อไป แก่นของดวงอาทิตย์จะมีความหนาแน่นและอุณหภูมิเพิ่มขึ้นส่วนชั้นนอกของดวงอาทิตย์จะขยายออกจนสุดท้ายเป็นดาวยักษ์แดง มีการคำนวณว่าดวงอาทิตย์จะใหญ่พอกลืนวงโคจรปัจจุบันของดาวพุทธและดาวศุกร์ และทำให้โลกอาศัยอยู่ไม่ได้ มนุษย์ทราบความสำคัญของดวงอาทิตย์ที่มีโลกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และบางวัฒนธรรมถือดวงอาทิตย์เป็นเทวดา การหมุนของโลกและวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกเป็นรากฐานของปฏิทินสุริยคติ ซึ่งเป็นปฏิทินที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน.

ดู ดาวอังคารและดวงอาทิตย์

ดวงจันทร์

วงจันทร์เป็นวัตถุดาราศาสตร์ที่โคจรรอบโลก เป็นดาวบริวารถาวรดวงเดียวของโลก เป็นดาวบริวารใหญ่ที่สุดอันดับที่ 5 ในระบบสุริยะ และเป็นดาวบริวารขนาดใหญ่สุดเมื่อเทียบกับกขนาดของดาวเคราะห์ที่โคจร ดวงจันทร์เป็นดาวบริวารที่มีความหนาแน่นที่สุดเป็นอันดับที่ 2 รองจากไอโอของดาวพฤหัสบดี ซึ่งบางส่วนไม่ทราบความหนาแน่น คาดว่าดวงจันทร์ก่อกำเนิดประมาณ 4.51 พันล้านปีก่อน ไม่นานหลังจากโลก คำอธิบายที่ได้รับการยอมรับกว้างขวางที่สุดคือดวงจันทร์ก่อกำเนิดจากเศษที่เหลือจากการชนขนาดยักษ์ระหว่างโลกกับเทห์ขนาดประมาณดาวอังคารชื่อเธียอา ดวงจันทร์หมุนรอบโลกแบบประสานเวลา จะหันด้านเดียวเข้าหาโลกเสมอคือด้านใกล้ที่มีลักษณะเป็นทะเลภูเขาไฟมืด ๆ ซึ่งเติมที่ว่างระหว่างที่สูงเปลือกโบราณสว่างและหลุมอุกกาบาตที่เห็นได้ชัดเจน เมื่อสังเกตจากโลก เป็นเทห์ฟ้าที่เห็นได้เป็นประจำสว่างที่สุดอันดับสองในท้องฟ้าของโลกรองจากดวงอาทิตย์ พื้นผิวแท้จริงแล้วมืด แม้เทียบกับท้องฟ้าราตรีแล้วจะดูสว่างมาก โดยมีการสะท้อนสูงกว่าแอสฟอลต์เสื่อมเล็กน้อย อิทธิพลความโน้มถ่วงของดวงจันทร์ทำให้เกิดน้ำขึ้นลงมหาสมุทร และทำให้หนึ่งวันยาวขึ้นเล็กน้อย มีระยะห่างจากโลกเฉลี่ยนับจากศูนย์กลางถึงศูนย์กลางประมาณ 384,403 กิโลเมตร เทียบเท่ากับ 30 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของโลก จุดศูนย์กลางมวลร่วมของระบบตั้งอยู่ที่ตำแหน่ง 1700 กิโลเมตรใต้ผิวโลก หรือประมาณ 1 ใน 4 ของรัศมีของโลก ดวงจันทร์โคจรรอบโลกในเวลาประมาณ 27.3 วันตัวเลขอย่างละเอียดคือ คาบโคจรแท้จริงเฉลี่ยของดวงจันทร์ (sideral orbit) คือ 27.321661 วัน (27 วัน 7 ชั่วโมง 43 นาที 11.5วินาที) และคาบโคจรเฉลี่ยแบบทรอปิคัล (tropical orbit) อยู่ที่ 27.321582 วัน (27 วัน 7 ชั่วโมง 43 นาที 4.7 วินาที) (Explanatory Supplement to the Astronomical Ephemeris, 1961, at p.107).

ดู ดาวอังคารและดวงจันทร์

ดาราศาสตร์

ราจักรทางช้างเผือก ดาราศาสตร์ คือวิชาวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวัตถุท้องฟ้า (อาทิ ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวหาง และดาราจักร) รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากนอกชั้นบรรยากาศของโลก โดยศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี ทางอุตุนิยมวิทยา และการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้า ตลอดจนถึงการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ ดาราศาสตร์เป็นหนึ่งในสาขาของวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด นักดาราศาสตร์ในวัฒนธรรมโบราณสังเกตการณ์ดวงดาวบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน และวัตถุทางดาราศาสตร์หลายอย่างก็ได้ถูกค้นพบเรื่อยมาตามยุคสมัย อย่างไรก็ตาม กล้องโทรทรรศน์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่จำเป็นก่อนที่จะมีการพัฒนามาเป็นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ตั้งแต่อดีตกาล ดาราศาสตร์ประกอบไปด้วยสาขาที่หลากหลายเช่น การวัดตำแหน่งดาว การเดินเรือดาราศาสตร์ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ การสร้างปฏิทิน และรวมทั้งโหราศาสตร์ แต่ดาราศาสตร์ทุกวันนี้ถูกจัดว่ามีความหมายเหมือนกับฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ดาราศาสตร์ได้แบ่งออกเป็นสองสาขาได้แก่ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงทฤษฎี ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์จะให้ความสำคัญไปที่การเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการใช้ความรู้ทางกายภาพเบื้องต้นเป็นหลัก ส่วนดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีให้ความสำคัญไปที่การพัฒนาคอมพิวเตอร์หรือแบบจำลองเชิงวิเคราะห์ เพื่ออธิบายวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทั้งสองสาขานี้เป็นองค์ประกอบซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีใช้อธิบายผลจากการสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ใช้ในการรับรองผลจากทางทฤษฎี การค้นพบสิ่งต่าง ๆ ในเรื่องของดาราศาสตร์ที่เผยแพร่โดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่นนั้นมีความสำคัญมาก และดาราศาสตร์ก็เป็นหนึ่งในวิทยาศาสตร์จำนวนน้อยสาขาที่นักดาราศาสตร์สมัครเล่นยังคงมีบทบาท โดยเฉพาะการค้นพบหรือการสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว ไม่ควรสับสนระหว่างดาราศาสตร์โบราณกับโหราศาสตร์ ซึ่งเป็นความเชื่อที่นำเอาเหตุการณ์และพฤติกรรมของมนุษย์ไปเกี่ยวโยงกับตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า แม้ว่าทั้งดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เกิดมาจากจุดร่วมเดียวกัน และมีส่วนหนึ่งของวิธีการศึกษาที่เหมือนกัน เช่นการบันทึกตำแหน่งดาว (ephemeris) แต่ทั้งสองอย่างก็แตกต่างกัน ในปี ค.ศ.

ดู ดาวอังคารและดาราศาสตร์

ดาวพลูโต

วพลูโต (Pluto; ดัชนีดาวเคราะห์น้อย: 134340 พลูโต) เป็นดาวเคราะห์แคระในแถบไคเปอร์ วงแหวนของวัตถุพ้นดาวเนปจูน โดยเป็นวัตถุแถบไคเปอร์ชิ้นแรกที่ถูกค้นพบ มันมีขนาดใหญ่ที่สุดและมีมวลมากที่สุดเป็นอันดับสองในบรรดาดาวเคราะห์แคระที่รู้จักในระบบสุริยะ และยังเป็นวัตถุที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 9 และมวลมากเป็นอันดับที่ 10 ในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวพลูโตเป็นวัตถุแถบไคเปอร์ที่ใหญ่ที่สุดโดยปริมาตร แต่มีมวลน้อยกว่าอีริส ซึ่งเป็นวัตถุในแถบหินกระจาย ดาวพลูโตมีลักษณะเหมือนกับวัตถุอื่น ๆ ในบริเวณเดียวกัน กล่าวคือ ประกอบไปด้วยหินและน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ มีมวลและปริมาตรประมาณ 1 ใน 6 และ 1 ใน 3 ของดวงจันทร์ตามลำดับ วงโคจรของดาวพลูโตมีความเยื้องศูนย์กลางมาก อยู่ที่ 30 ถึง 49 หน่วยดาราศาสตร์ (4.4 – 7.4 พันล้านกิโลเมตร) จากดวงอาทิตย์ หมายความว่าเมื่อดาวพลูโตอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด มันจะอยู่ใกล้กว่าวงโคจรของดาวเนปจูนเสียอีก แต่เนื่องด้วยการสั่นพ้องของวงโคจร ทำให้ดาวเคราะห์ทั้งสองดวงไม่สามารถโคจรมาชนกันได้ ในปี..

ดู ดาวอังคารและดาวพลูโต

ดาวพุธ

วพุธเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด และเป็นดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุดในระบบสุริยะ ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 87.969 วัน ดาวพุธมักปรากฏใกล้ หรืออยู่ภายใต้แสงจ้าของดวงอาทิตย์ทำให้สังเกตเห็นได้ยาก ดาวพุธไม่มีดาวบริวาร ยานอวกาศเพียงลำเดียวที่เคยสำรวจดาวพุธในระยะใกล้คือยานมาริเนอร์ 10เมื่อปี พ.ศ.

ดู ดาวอังคารและดาวพุธ

ดาวศุกร์

วศุกร์ (Venus) เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 2 ดาวศุกร์มีเส้นผ่านศูนย์กลางเป็น 3 เท่าของดวงจันทร์ และ มีขนาดใหญ่กว่าดาวพุธและดาวอังคาร 2 เท่าตัว ชื่อละตินของดาวศุกร์ (Venus) มาจากเทพีแห่งความรักของโรมัน ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์หิน มีขนาดใกล้เคียงกับโลก บางครั้งเรียกว่า "น้องสาว" ของโลก แม้ว่าวงโคจรของดาวเคราะห์ทุกดวงจะเป็นวงรี วงโคจรของดาวศุกร์จัดว่าเกือบเป็นวงกลม มีความเยื้องศูนย์กลาง (ความรี) น้อยที่สุด สำหรับวัตถุในธรรมชาติ ดาวศุกร์เป็นวัตถุท้องฟ้าที่สว่างที่สุดเป็นลำดับที่ 3 รองจากดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ เนื่องจากดาวศุกร์มีวงโคจรใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก จึงมีมุมห่างจากดวงอาทิตย์ไม่เกิน 47.8° มองเห็นได้เฉพาะในเวลาเช้ามืดหรือหัวค่ำเท่านั้น ขณะปรากฏในท้องฟ้าเวลาหัวค่ำทางทิศตะวันตก เรียกว่า "ดาวประจำเมือง" และเมื่อปรากฏในท้องฟ้าเวลาเช้ามืดทางทิศตะวันออก เรียกว่า "ดาวประกายพรึก" หรือ "ดาวรุ่ง" ชาวบาบิโลนโบราณรู้จักดาวศุกร์มาตั้งแต่ราว 1,600 ปีก่อนคริสตกาล แต่เชื่อว่าด้วยความสว่างสุกใสของดาวศุกร์ น่าจะเป็นที่รู้จักมาก่อนหน้านั้นนานแล้วนับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ สัญลักษณ์แทนดาวศุกร์ คือ ♀.

ดู ดาวอังคารและดาวศุกร์

ดาวหาง

ดาวหางเฮล-บอปป์ ดาวหางเวสต์ ดาวหาง คือ วัตถุชนิดหนึ่งในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ มีส่วนที่ระเหิดเป็นแก๊สเมื่อเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ ทำให้เกิดชั้นฝุ่นและแก๊สที่ฝ้ามัวล้อมรอบ และทอดเหยียดออกไปภายนอกจนดูเหมือนหาง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์จากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ไปบนนิวเคลียสของดาวหาง นิวเคลียสหรือใจกลางดาวหางเป็น "ก้อนหิมะสกปรก" ประกอบด้วยน้ำแข็ง คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน แอมโมเนีย และมีฝุ่นกับหินแข็งปะปนอยู่ด้วยกัน มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ไม่กี่กิโลเมตรไปจนถึงหลายสิบกิโลเมตร คาบการโคจรของดาวหางมีความยาวนานแตกต่างกันได้หลายแบบ ตั้งแต่คาบโคจรเพียงไม่กี่ปี คาบโคจร 50-100 ปี จนถึงหลายร้อยหรือหลายพันปี เชื่อว่าดาวหางบางดวงเคยผ่านเข้ามาในใจกลางระบบสุริยะเพียงครั้งเดียว แล้วเหวี่ยงตัวเองออกไปสู่อวกาศระหว่างดาว ดาวหางที่มีคาบการโคจรสั้นนั้นเชื่อว่าแต่เดิมเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในแถบไคเปอร์ที่อยู่เลยวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป ส่วนดาวหางที่มีคาบการโคจรยาวอาจมาจากแหล่งอื่น ๆ ที่ไกลจากดวงอาทิตย์ของเรามาก เช่นในกลุ่มเมฆออร์ตซึ่งประกอบด้วยเศษซากที่หลงเหลืออยู่จากการบีบอัดตัวของเนบิวลา ดาวหางเหล่านี้ได้รับแรงโน้มถ่วงรบกวนจากดาวเคราะห์รอบนอก (กรณีของวัตถุในแถบไคเปอร์) จากดวงดาวอื่นใกล้เคียง (กรณีของวัตถุในกลุ่มเมฆออร์ต) หรือจากการชนกัน ทำให้มันเคลื่อนเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์น้อยมีกำเนิดจากกระบวนการที่ต่างไปจากนี้ อย่างไรก็ดี ดาวหางที่มีอายุเก่าแก่มากจนกระทั่งส่วนที่สามารถระเหิดเป็นแก๊สได้สูญสลายไปจนหมดก็อาจมีสภาพคล้ายคลึงกับดาวเคราะห์น้อยก็ได้ เชื่อว่าดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกหลายดวงเคยเป็นดาวหางมาก่อน นับถึงเดือนพฤษภาคม..

ดู ดาวอังคารและดาวหาง

ดาวอังคาร

วอังคาร (Mars) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สี่จากดวงอาทิตย์ เป็นดาวเคราะห์เล็กที่สุดอันดับที่สองในระบบสุริยะรองจากดาวพุธ ในภาษาอังกฤษได้ชื่อตามเทพเจ้าแห่งสงครามของโรมัน มักได้รับขนานนาม "ดาวแดง" เพราะมีออกไซด์ของเหล็กดาษดื่นบนพื้นผิวทำให้มีสีออกแดงเรื่อ ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์หินที่มีบรรยากาศเบาบาง มีลักษณะพื้นผิวคล้ายคลึงกับทั้งหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์ และภูเขาไฟ หุบเขา ทะเลทราย ตลอดจนพิดน้ำแข็งขั้วดาวที่ปรากฏบนโลก คาบการหมุนรอบตัวเองและวัฏจักรฤดูกาลของดาวอังคารก็มีความคล้ายคลึงกับโลกซึ่งความเอียงก่อให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ ดาวอังคารเป็นที่ตั้งของโอลิมปัสมอนส์ ภูเขาไฟใหญ่ที่สุดบนดาวอังคารและสูงสุดอันดับสองในระบบสุริยะเท่าที่มีการค้นพบ และเป็นที่ตั้งของเวลส์มาริเนริส แคนยอนขนาดใหญ่อันดับต้น ๆ ในระบบสุริยะ แอ่งบอเรียลิสที่ราบเรียบในซีกเหนือของดาวปกคลุมกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมดและอาจเป็นลักษณะการถูกอุกกาบาตชนครั้งใหญ่ ดาวอังคารมีดาวบริวารสองดวง คือ โฟบอสและดีมอสซึ่งต่างก็มีขนาดเล็กและมีรูปร่างบิดเบี้ยว ทั้งคู่อาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ถูกจับไว้ คล้ายกับทรอยของดาวอังคาร เช่น 5261 ยูเรกา ก่อนหน้าการบินผ่านดาวอังคารที่สำเร็จครั้งแรกของ มาริเนอร์ 4 เมื่อปี 1965 หลายคนคาดว่ามีน้ำในรูปของเหลวบนพื้นผิวดาวอังคาร แนวคิดนี้อาศัยผลต่างเป็นคาบที่สังเกตได้ของรอยมืดและรอยสว่าง โดยเฉพาะในละติจูดขั้วดาวซึ่งดูเป็นทะเลและทวีป บางคนแปลความรอยมืดริ้วลายขนานเป็นร่องทดน้ำสำหรับน้ำในรูปของเหลว ภายหลัง มีการอธิบายว่าภูมิประเทศเส้นตรงเหล่านั้นเป็นภาพลวงตา แม้ว่าหลักฐานทางธรณีวิทยาที่ภารกิจไร้คนบังคับรวบรวมชี้ว่า ครั้งหนึ่งดาวอังคารเคยมีน้ำปริมาณมากปกคลุมบนพื้นผิว ณ ช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะต้น ๆ ของอายุ ในปี 2005 เรดาร์เผยว่ามีน้ำแข็งน้ำ (water ice) ปริมาณมากขั้วทั้งสองของดาว และที่ละติจูดกลาง ยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคารสปิริต พบตัวอย่างสารประกอบเคมีที่มีโมเลกุลน้ำเมื่อเดือนมีนาคม 2007 ส่วนลงจอดฟีนิกซ์ พบตัวอย่างน้ำแข็งน้ำโดยตรงในดินส่วนตื้นของดาวอังคารเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2008 มียานอวกาศที่กำลังปฏิบัติงานอยู่เจ็ดลำ ห้าลำอยู่ในวงโคจร ได้แก่ 2001 มาร์สโอดิสซี มาร์สเอ็กซ์เพรส มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ เมเว็น และมาร์สออร์บิเตอร์มิชชัน และสองลำบนพื้นผิว ได้แก่ ยานสำรวจภาคพื้นดาวอังคารออปพอร์ทูนิตี และยานมาร์สไซแอนซ์แลบอราทอรีคิวริออซิตี การสังเกตโดย มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ เปิดเผยว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีน้ำไหลในช่วงเดือนที่ร้อนที่สุดบนดาวอังคาร ในปี 2013 ยานคิวริออซิตี ของนาซาค้นพบว่าดินของดาวอังคารมีน้ำเป็นองค์ประกอบระหว่างร้อยละ 1.5 ถึง 3 โดยมวล แม้ว่าน้ำนั้นจะติดอยู่กับสารประกอบอื่น ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงได้โดยอิสระ กำลังมีการสืบค้นเพื่อประเมินศักยภาพความสามารถอยู่อาศัยได้ในอดีตของดาวอังคาร ตลอดจนความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตหลงเหลืออยู่ มีการสืบค้นบริเวณนั้นโดยส่วนลงจอด ''ไวกิง'' โรเวอร์ สปิริต และออปพอร์ทูนิตี ส่วนลงจอดฟีนิกซ์ และโรเวอร์ คิวริออซิตี มีการวางแผนภารกิจทางชีวดาราศาสตร์ไว้แล้ว ซึ่งรวม มาร์ส 2020 และเอ็กโซมาร์สโรเวอร์ ดาวอังคารสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากโลกโดยง่ายซึ่งจะปรากฏให้เห็นเป็นสีออกแดง มีความส่องสว่างปรากฏได้ถึง −2.91 ซึ่งเป็นรองเพียงดาวพฤหัสบดี ดาวศุกร์ ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ กล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินโดยทั่วไปมีขีดจำกัดการมองเห็นรายละเอียดของภูมิประเทศขนาดประมาณ 300 กิโลเมตรเมื่อโลกและดาวอังคารเข้าใกล้กันมากที่สุดอันเป็นผลจากบรรยากาศของโลก.

ดู ดาวอังคารและดาวอังคาร

ดาวเสาร์

วเสาร์ (Saturn) เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 6 จากดวงอาทิตย์ ถัดจากดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์เป็นดาวแก๊สยักษ์ที่มีรัศมีเฉลี่ยมากกว่าโลกประมาณเก้าเท่า แม้ว่าจะมีความหนาแน่นเป็นหนึ่งในแปดของโลก แต่มวลของมันมีมากกว่าโลกถึง 95 เท่า ดาวเสาร์ตั้งชื่อตามเทพโรมันแห่งการเกษตร สัญลักษณ์ทางดาราศาสตร์ของดาวเสาร์ (♄) แทนเคียวของเทพเจ้า ดาวเสาร์มีรูปร่างป่องออกตามแนวเส้นศูนย์สูตร ที่เรียกว่าทรงกลมแป้น (oblate spheroid) เส้นผ่านศูนย์กลางตามแนวขั้วสั้นกว่าตามแนวเส้นศูนย์สูตรเกือบ 10% เป็นผลจากการหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็ว ดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ก็มีลักษณะเป็นทรงกลมแป้นเช่นกัน แต่ไม่มากเท่าดาวเสาร์ ดาวเสาร์เป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะ ที่มีความหนาแน่นเฉลี่ยน้อยกว่าน้ำ (0.70 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร) อย่างไรก็ตาม บรรยากาศชั้นบนของดาวเสาร์มีความหนาแน่นน้อยกว่านี้ ขณะที่ที่แกนมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ วงแหวนของดาวเสาร์ประกอบไปด้วย เศษหินและน้ำแข็งขนาดเล็ก เรียงตัวอยู่ในระนาบเดียวกัน และวงแหวนของดาวเสาร์ก็ประกอบไปด้วย วงแหวนย่อยๆมากมาย ความจริงแล้ววงแหวนดาวเสาร์นั้นบางมาก โดยมีความหนาเฉลี่ยเพียง 500 กิโลเมตรเท่านั้น แต่เศษวัตถุในวงแหวนมีความสามารถในการสะท้อนแสงดี และกว้างกว่า 80,000 กิโลเมตร จึงสามารถสังเกตได้จากโลกของเร.

ดู ดาวอังคารและดาวเสาร์

ดาวเคราะห์

วเคราะห์ (πλανήτης; planet หรือ "ผู้พเนจร") คือวัตถุขนาดใหญ่ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ ก่อนคริสต์ทศวรรษ 1990 มีดาวเคราะห์ที่เรารู้จักเพียง 8 ดวง (ทั้งหมดอยู่ในระบบสุริยะ) ปัจจุบันเรารู้จักดาวเคราะห์ใหม่อีกมากกว่า 100 ดวง ซึ่งเป็นดาวเคราะห์นอกระบบ คือ โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่นที่ไม่ใช่ดวงอาทิตย์ ในปี..

ดู ดาวอังคารและดาวเคราะห์

ดาวเคราะห์คล้ายโลก

วเคราะห์ชั้นในของระบบสุริยะ ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร ขนาดเปรียบเทียบตามจริง ดาวเคราะห์คล้ายโลก (terrestrial planet) หรือบางครั้งเรียกว่า ดาวเคราะห์หิน (rocky planet) หรือ ดาวเคราะห์ชั้นใน (inner planet) หมายถึงดาวเคราะห์ที่มีองค์ประกอบพื้นฐานเป็นหินซิลิเกต ในระบบสุริยะจะหมายถึงดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มาก และดาวเคราะห์ที่มีลักษณะภายนอก "คล้ายกับโลก"มาก ดาวเคราะห์คล้ายโลกจะมีองค์ประกอบพื้นฐานที่แตกต่างจากดาวเคราะห์แก๊สยักษ์อย่างเด่นชัด โดยที่ดาวเคราะห์แก๊สยักษ์จะไม่มีพื้นผิวเป็นของแข็งที่ชัดเจน และมีองค์ประกอบพื้นฐานส่วนมากเป็นไฮโดรเจน ฮีเลียม และน้ำ ในสถานะต่าง.

ดู ดาวอังคารและดาวเคราะห์คล้ายโลก

ดาวเคราะห์น้อย

วเคราะห์น้อย 253 แมธิลด์ เป็นดาวเคราะห์น้อยแบบ C-Type ดาวเคราะห์น้อย (Asteroid หรือบางครั้งเรียกว่า Minor Planet / Planetoid) คือวัตถุทางดาราศาสตร์ขนาดเล็กกว่าดาวเคราะห์ แต่ใหญ่กว่าสะเก็ดดาว (ซึ่งโดยปกติมักมีขนาดราว 10 เมตรหรือน้อยกว่า) และไม่ใช่ดาวหาง การแบ่งแยกประเภทเช่นนี้กำหนดจากภาพปรากฏเมื่อแรกค้นพบ กล่าวคือ ดาวหางจะต้องมีส่วนของโคม่าที่สังเกตเห็นได้ชัด และมีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อของดาวหางเอง ดาวเคราะห์น้อยมีลักษณะปรากฏคล้ายดวงดาว (คำว่า asteroid มาจากคำภาษากรีกว่า αστεροειδής หรือ asteroeidēs ซึ่งหมายถึง "เหมือนดวงดาว" มาจากคำภาษากรีกโบราณว่า Aστήρ หรือ astēr ซึ่งแปลว่า ดวงดาว) และมีการกำหนดเรียกชื่ออย่างคร่าวๆ ตามชื่อปีที่ค้นพบ จากนั้นจึงมีการตั้งชื่อตามระบบ (เป็นหมายเลขเรียงตามลำดับ) และชื่อ ถ้ามีการพิสูจน์ถึงการมีอยู่และรอบการโคจรเรียบร้อยแล้ว สำหรับลักษณะทางกายภาพของดาวเคราะห์น้อยโดยส่วนใหญ่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด ดาวเคราะห์น้อยดวงแรกที่มีการตั้งชื่อคือ ซีรีส ค้นพบในปี พ.ศ.

ดู ดาวอังคารและดาวเคราะห์น้อย

ดิวเทอเรียม

วเทอเรียม (Deuterium) สัญญลักษณ์ 2H ถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าไฮโดรเจนหนัก เป็นหนึ่งในสองของไอโซโทปของไฮโดรเจนที่เสถียร โดยที่นิวเคลียสของอะตอมมีโปรตอน 1 ตัวและนิวตรอน 1 ตัว ในขณะที่ไอโซโทปของไฮโดรเจนที่รู้จักกันทั่วไปมากกว่าที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โปรเทียม (protium) มีเพียงโปรตอนเดียวเท่านั้น ไม่มีนิวตรอน ดิวเทอเรียมมี'ความอุดมในธรรมชาติ' โดยพบในมหาสมุทรทั่วไปประมาณหนึ่งอะตอมใน 6420 อะตอมของไฮโดรเจน ทำให้ดิวเทอเรียมมีสัดส่วนที่ประมาณ 0.0156% (หรือ 0.0312% ถ้าคิดตามมวล) ของไฮโดรเจนที่เกิดในธรรมชาติทั้งหมดในมหาสมุทร ในขณะที่โปรเทียมมีสัดส่วนมากกว่า 99.98% ความอุดมของดิวเทอเรียมเปลี่ยนแปงเล็กน้อยตามชนิดของน้ำตามธรรมชาติ (ดู ค่าเฉลี่ยของน้ำในมหาสมุทรตามมาตรฐานเวียนนา) นิวเคลียสของดิวเทอเรียมเรียกว่าดิวเทอรอน เราใช้สัญลักษณ์ 2H แทนดิวเทอเรียม อย่างไรก็ตาม บ่อยครั้งที่เราใช้ D แทนดิวเทอเรียม เช่นเมื่อเราต้องการจะเขียนสัญลักษณ์แทนโมเลกุลก๊าซดิวเทอเรียม จะสามารถเขียนแทนได้ว่า 2H2 หรือ D2 ก็ได้ หากแทนที่ดิวเทอเรียมในโมเลกุลของน้ำ จะทำให้เกิดสารดิวเทอเรียมออกไซด์หรือที่เรียกว่าน้ำมวลหนักขึ้น ถึงแม้น้ำชนิดหนักจะไม่เป็นสารพิษที่ร้ายแรงมากนัก แต่ก็ไม่เคยถูกนำมาใช้ในการอุปโภคบริโภค การมีอยู่ของดิวเทอเรียมในดาวฤกษ์เป็นข้อมูลสำคัญในวิชาจักรวาลวิทยา โดยปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันในดาวฤกษ์จะทำลายดิวเทอเรียม ยังไม่พบกระบวนการในธรรมชาติใดๆที่ทำให้เกิดดิวเทอเรียมนอกจากปรากฏการณ์บิ๊กแบง ดิวเทอเรียมไม่มีอะไรต่างจากไฮโดรเจนมากนักในเชิงเคมีฟิสิกส์ นอกเสียจากว่ามีมวลที่หนักกว่า ซึ่งมวลที่หนักกว่านี้เองที่ทำให้ดิวเทอเรียมเปรียบเสมือนกับไฮโดรเจนที่เชื่องช้า เนื่องจากการที่มีมวลมากกว่า จะทำให้มีอัตราการเกิดปฏิกิริยาน้อยกว.

ดู ดาวอังคารและดิวเทอเรียม

ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ

right right right ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ (river delta) จะเกิดเฉพาะกับแม่น้ำที่พัดพาเอาตะกอนขนาดเล็ก ๆ จำพวกทรายละเอียดและโคลนมากับลำน้ำเป็นปริมาณมาก แล้วมาตกตะกอนทับถมกันบริเวณปากแม่น้ำ เมื่อแม่น้ำไหลลงสู่ทะเลหรือทะเลสาบ ความเร็วของน้ำในแม่น้ำจะลดลงและตะกอนที่แม่น้ำพัดมาจะค่อย ๆ สะสมตัวบริเวณดังกล่าว ในบางแห่งขณะน้ำขึ้นน้ำลง กระแสน้ำจะพัดพาเอาทรายและโคลนออกไปสู่ทะเลไกลออกไปจึงไม่มีดินดอนปากแม่น้ำเกิดขึ้น ถ้าในกรณีที่กระแสน้ำขึ้นลงไม่ส่งอิทธิพลรุนแรง แม่น้ำก็จะพัดพาเอาตะกอนมาสะสมอยู่เรื่อย ๆ โดยทรายหยาบจะตกตะกอนลงเป็นพวกแรกและนาน ๆ เข้าก็จะปรากฏเป็นสันทรายบริเวณปากแม่น้ำ ในที่สุดแม่น้ำก็จะแตกแขนงออกเป็นสองสาขาในเวลาต่อมา ในเวลาต่อมาแม่น้ำทั้งสองสาขาก็จะถูกปิดกั้นด้วยสันทราย ทำให้สาขาแม่น้ำแตกออกเป็นสาขาลำน้ำย่อยลงไปอีก ดินดอนโดยทั่วไปมักมีสาขาของลำน้ำที่แตกแขนงจากแม่น้ำใหญ่ โคลนเนื้อละเอียดจะถูกพัดพาไปไกลจากสันทรายและตกตะกอนสะสมตัวกันแผ่คลุมท้องทะเลหรือทะเลสาบในบริเวณที่กว้างขวางเป็นรูปคล้ายพัดหรืองอกตัวลงทะเลตลอดเวลา โดยธรรมดาแล้วแม่น้ำทุกสายที่ไหลลงทะเลหรือทะเลสาบจะมีดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเกิดขึ้นเสมอ ที่เราเรียกกันว่า "เดลต้า" (delta) เพราะว่าบริเวณดังกล่าวมีรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยม ซึ่งถึงแม้ว่าดินดอนจะไม่เป็นรูปสามเหลี่ยมนักภูมิศาสตร์โดยทั่วไปก็เรียกว่า "เดลต้า" แม่น้ำสายใหญ่ ๆ เช่นในเอเชีย เช่น แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีสในอิรัก ซึ่งเดิมเมืองโบราณชื่ออัวร์ถูกสร้างขึ้นเมื่อประมาณ 6,000 ปีที่แล้วอยู่ติดทะเล แต่ปัจจุบันเมืองดังกล่าวอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน 240 กิโลเมตร แม่น้ำพรหมบุตรใน.

ดู ดาวอังคารและดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ

ดีมอส

ีมอส ดาวบริวารของดาวอังคาร ดีมอส หรือ ไดมอส (Deimos) เป็น 1 ใน 2 ดาวบริวารของดาวอังคาร โดยเป็นดาวบริวารที่เล็กกว่าและอยู่ไกลจากดาวอังคารมากกว่า ดีมอสตั้งชื่อตามดีมอสในเทพปกรณัมกรีกและโรมัน ดีมอสและดาวบริวารอีกดวงคือโฟบอสได้รับการค้นพบโดยแอซัฟ ฮอลล์ (Asaph Hall) นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ.

ดู ดาวอังคารและดีมอส

คริสตียาน เฮยเคินส์

ริสตียาน เฮยเคินส์ คริสตียาน เฮยเคินส์ (Christiaan Huygens,; 14 เมษายน พ.ศ. 2172-8 กรกฎาคม พ.ศ. 2238) เป็นนักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ นักฟิสิกส์ และนักประดิษฐ์นาฬิกาชาวดัตช์ เกิดที่เดอะเฮกในเนเธอร์แลนด์ เป็นลูกชายของโกนสตันไตน์ เฮยเคินส์ ชื่อของเขาเป็นที่มาของยานกัสซีนี-เฮยเคินส์ที่ใช้สำรวจดวงจันทร์ไททัน.

ดู ดาวอังคารและคริสตียาน เฮยเคินส์

คริปทอน

ริปทอน(Krypton) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 36 และสัญลักษณ์คือ Kr คริปทอนอยู่ในตารางธาตุหมู่ 8 คริปทอนเป็นก๊าซเฉื่อยไม่มีสีมีเล็กน้อยในธรรมชาติ สามารถแยกออกจากอากาศได้โดยอัดอากาศให้เป็นของเหลว ใช้บรรจุในหลอดฟลูโอเรสเซนต์ คริปทอนเป็นก๊าซมีตระกูลแต่ก็สามารถทำปฏิกิริยากับฟลูออรีนได้.

ดู ดาวอังคารและคริปทอน

คลอรีน

ลอรีน (Chlorine) (จากภาษากรีกว่า Chloros แปลว่าสี "เขียวอ่อน") เป็นธาตุเคมีที่มีเลขอะตอม 17 และสัญลักษณ์ Cl เป็นแฮโลเจน พบในตารางธาตุ ในกลุ่ม 17 เป็นส่วนของเกลือทะเลและสารประกอบอื่น ๆ ปรากฏมากในธรรมชาติ และจำเป็นต่อสิ่งมีชวิตส่วนใหญ่ รวมถึงมนุษย์ด้วย ในรูปของก๊าซ คลอรีนมีสีเขียวอมเหลือง มีน้ำหนักมากกว่าอากาศ 2.5 เท่า มีกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรง และเป็นพิษอย่างร้ายแรง เป็นตัวออกซิไดซ์ ฟอกขาว และฆ่าเชื้อได้เป็นอย่างดี.

ดู ดาวอังคารและคลอรีน

ความกดอากาศ

'ความดันบรรยากาศความกดอากาศ, ความดันอากาศหรือเป็น ความกดดันอยู่จุดใดหนึ่งของชั้นบรรยากาศของโลก โดยทั่วไปความกดอากาศจะประมาณเท่ากับความกดดันที่เกิดขึ้นย้อนน้ำหนักของอากาศอยู่บนจุดนั้น ๆ ซึ่งหมายความว่า จุดที่มีความกดอากาศต่ำจะมีอากาศที่มีมวลสารต่ำกว่าจะอยู่ข้างบนนั้น ด้วยเหตุผลแบบเดียวกัน ความกดอากาศจะต่ำลงเมื่อระดับความสูงเพิ่มขึ้น ความกดอากาศที่ความสูงระดับน้ำทะเล จะเท่ากับ 1 atm (หนึ่งหน่วยบรรยากาศ) นั่นก็คือ 760 mmHg (มิลลิเมตรปรอท)นั่นเอง.

ดู ดาวอังคารและความกดอากาศ

ความสามารถอยู่อาศัยได้ของดาวเคราะห์

ปัจจุบัน มีเพียงโลกเท่านั้นที่เป็นดาวเคราะห์ที่มีปัจจัยเกื้อหนุนต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ความสามารถอยู่อาศัยได้ของดาวเคราะห์ คือการตรวจวัดศักยภาพของดาวเคราะห์หรือดาวบริวารของดาวเคราะห์ว่าสามารถรองรับการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตได้หรือไม่ ชีวิตดังกล่าวนี้อาจมีวิวัฒนาการขึ้นบนดาวเคราะห์หรือดาวบริวารนั้นเอง หรืออพยพมาจากแหล่งอื่นก็ได้ ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีความแน่ชัดใดๆ เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตนอกโลก ดังนั้นการศึกษาเรื่องความสามารถอยู่อาศัยได้ของดาวเคราะห์จึงใช้เงื่อนไขสภาวะแวดล้อมของโลก และคุณลักษณะของดวงอาทิตย์และระบบสุริยะเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นปัจจัยให้สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงอยู่ได้บนโลก การศึกษาวิจัยในสาขานี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์และเป็นสาขาเกิดใหม่ในทางชีวดาราศาสตร์ สิ่งจำเป็นพื้นฐานที่สุดสำหรับชีวิต คือ แหล่งกำเนิดพลังงาน ความสามารถอยู่อาศัยได้ของดาวเคราะห์มีความหมายพื้นฐานถึงลักษณะขอบเขตทางฟิสิกส์ธรณีวิทยา เคมีธรณีวิทยา และฟิสิกส์ดาราศาสตร์ที่พอเหมาะพอดีในการเอื้อหนุนต่อสิ่งมีชีวิต องค์การนาซ่าได้นิยามขอบเขตพื้นฐานของความสามารถอยู่อาศัยได้ ว่า "ต้องมีน้ำในสถานะของเหลว เงื่อนไขที่ช่วยให้เกิดโมเลกุลอินทรีย์ที่ซับซ้อน และมีแหล่งพลังงานพอสำหรับสร้างเมแทบอลิซึม".

ดู ดาวอังคารและความสามารถอยู่อาศัยได้ของดาวเคราะห์

ความส่องสว่าง (ดาราศาสตร์)

วามส่องสว่าง (Magnitude) คือค่าแสดงอันดับความสว่างของดาวในทางดาราศาสตร์ ซึ่งเป็นการวัดค่าแบบลอกการิทึม โดยตรวจวัดได้จากความยาวคลื่นเฉพาะ โดยมากมักตรวจวัดในความยาวคลื่นที่ตามองเห็นหรือคลื่นใกล้อินฟราเรด การระบุค่าความส่องสว่างทำได้สองวิธีคือ.

ดู ดาวอังคารและความส่องสว่าง (ดาราศาสตร์)

ความส่องสว่างปรากฏ

วามส่องสว่างปรากฏ (apparent magnitude, m) เป็นหน่วยวัดความสว่างของดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ หรือวัตถุท้องฟ้าอื่นในจักรวาล กล่าวอีกนัยหนึ่งคือปริมาณแสดงที่ได้รับจากวัตถุนั้น นิยามให้ความส่องสว่างปรากฏมีค่าเพิ่มขึ้น 5 หน่วยเมื่อความสว่างลดลงเหลือ 1 ใน 100 (นั่นคือเมื่อวัตถุเดียวกันแต่อยู่ไกลขึ้นเป็น 10 เท่า) หรือค่าความส่องสว่างปรากฏเพิ่มขึ้น 1 หน่วยเมื่อความสว่างลดลง 2.512 เท่า โดยที่ 2.512 คือรากที่ห้าของ 100 (1000.2) ปริมาณแสงที่รับได้ จริง ๆ แล้วจะขึ้นอยู่กับความหนาของชั้นบรรยากาศในทิศทางการมองวัตถุ ดังนั้นความส่องสว่างปรากฏจึงปรับค่าให้ได้ความสว่างเมื่อผู้สังเกตอยู่นอกชั้นบรรยากาศ ยิ่งวัตถุมีแสงจางเท่าไหร่ค่าความส่องสว่างปรากฏก็ยิ่งมีค่ามากเท่านั้น.

ดู ดาวอังคารและความส่องสว่างปรากฏ

ความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจร

ตัวอย่างค่าความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจร ในทางฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจร (Orbital eccentricity) เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของวงโคจร มีความหมายถึงความเบี่ยงเบนไปจากวงกลมของวงโคจรของวัตถุนั้น คำนวณโดยลักษณะเดียวกับความเยื้องศูนย์กลางของภาคตัดกรวย โดยวงโคจรของวัตถุจะมีค่าความเยื้องศูนย์กลาง(e\,\!) ดังนี้.

ดู ดาวอังคารและความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจร

ความเร่ง

วามเร่ง คือ อัตราการเปลี่ยนแปลงความเร็วของวัตถุในช่วงเวลาหนึ่ง ที่จุดใดๆบนกราฟ v-t ความเร่งจะเท่ากับความชันของเส้นสัมผัสจุดนั้น ในฟิสิกส์ ความเร่ง (acceleration, สัญลักษณ์: a) คือ อัตราการเปลี่ยนแปลง (หรืออนุพันธ์เวลา) ของความเร็ว เป็นปริมาณเวกเตอร์ที่มีหน่วยเป็น ความยาว/เวลา² ในหน่วยเอสไอกำหนดให้หน่วยเป็น เมตร/วินาที² เมื่อวัตถุมีความเร่งในช่วงเวลาหนึ่ง ความเร็วของมันจะเปลี่ยนแปลงไป ความเร่งอาจมีค่าเป็นบวกหรือลบก็ได้ ซึ่งเรามักว่าเรียกความเร่ง กับ ความหน่วง ตามลำดับ ความเร่งมีนิยามว่า "อัตราการเปลี่ยนแปลงความเร็วของวัตถุในช่วงเวลาหนึ่ง" และกำหนดโดยสมการนี้ \mathbf.

ดู ดาวอังคารและความเร่ง

ความเอียงของแกน

วามเอียงของแกนโลก แสดงความสัมพันธ์ระหว่างแกนหมุน กับระนาบโคจร ความเอียงของแกน (axial tilt) คือองศาการเอียงของแกนหมุนของดาวเคราะห์เทียบกับระนาบการโคจรของมัน บางครั้งก็เรียกว่า axial inclination หรือ obliquity สามารถระบุได้เป็นหน่วยองศาระหว่างแกนของดาวเคราะห์กับเส้นตรงที่ลากผ่านจุดศูนย์กลางของดาวเคราะห์และตั้งฉากกับระนาบโคจร.

ดู ดาวอังคารและความเอียงของแกน

คาบการหมุนรอบตัวเอง

คาบการหมุนรอบตัวเอง คือ ระยะเวลาที่ดาวดวงหนึ่งหมุนรอบตัวเองจนครบ 1 รอบ เช่น โลกของเรามีคาบการหมุนรอบตัวเองประมาณ 24 ชั่วโมง เป็นต้น หมวดหมู่:กลศาสตร์ท้องฟ้า.

ดู ดาวอังคารและคาบการหมุนรอบตัวเอง

คาบดาราคติ

ในทางดาราศาสตร์ คาบดาราคติ (orbital period) คือระยะเวลาที่วัตถุหนึ่งใช้ในการโคจรรอบวัตถุอื่นที่ใช้ในทางดาราศาสตร์ ซึ่งคาบดาราคตินั้นมีประโยชน์อย่างมากสำหรับนักดาราศาสตร์ ที่จะต้องใช้คาบดาราคติในการคำนวณระยะเวลาของดาวดวงหนึ่งโคจรรอบดาวอีกดวงหนึ่ง คาบดาราคติยังแบ่งออกได้เป็นหลายแบบ ดังนี้.

ดู ดาวอังคารและคาบดาราคติ

คาร์บอน

ร์บอน (Carbon) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ C และเลขอะตอม 6 เป็นธาตุอโลหะที่มีอยู่มาก มีวาเลนซ์ 4 และมีหลายอัญรูป.

ดู ดาวอังคารและคาร์บอน

คาร์บอนมอนอกไซด์

คาร์บอนมอนอกไซด์ มีสูตรทางเคมี "CO" เป็นก๊าซที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส แต่มีความเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงต่อระบบลำเลียงเลือด โมเลกุลประกอบไปด้วยคาร์บอนหนึ่งอะตอมและออกซิเจนหนึ่งอะตอมเชื่อมกันด้วยพันธะโควาเลนต์ อาจจัดได้ว่าเป็นสารประกอบแอนไฮไดรด์อย่างหนึ่งของกรดฟอร์มิก ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของสารประกอบคาร์บอน โดยเฉพาะเครื่องยนต์สันดาปภายใน คาร์บอนมอนออกไซด์จะเกิดได้มากเมื่อออกซิเจนไม่เพียงพอในการสันดาป คาร์บอนมอนอกไซด์สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ เผาไหม้ในอากาศจะเกิดเปลวเพลิงสีน้ำเงินและให้คาร์บอนไดออกไซด์ออกมา แม้ว่าจะมีความเป็นพิษอย่างร้ายแรงคาร์บอนมอนออกไซด์ก็มีประโยชน์ในโลกปัจจุบันอย่างมากเพราะเป็นสารตั้งต้นในการผลิตผลิตภัณฑ์อย่างอื่นนานาชนิด หมวดหมู่:พิษวิทยา หมวดหมู่:สารเคมี.

ดู ดาวอังคารและคาร์บอนมอนอกไซด์

คาร์บอนไดออกไซด์

ร์บอนไดออกไซด์ (carbon dioxide) หรือ CO2 เป็นก๊าซไม่มีสี ซึ่งหากหายใจเอาก๊าซนี้เข้าไปในปริมาณมากๆ จะรู้สึกเปรี้ยวที่ปาก เกิดการระคายเคืองที่จมูกและคอ และหาจยใจไม่ออกเนื่องจากอาจเกิดการละลายของแก๊สนี้ในเมือกในอวัยวะ ก่อให้เกิดกรดคาร์บอนิกอย่างอ่อน คาร์บอนไดออกไซด์มีความหนาแน่น 1.98 kg/m3 ซึ่งเป็นประมาณ 1.5 เท่าของอากาศ โมเลกุลประกอบด้วยพันธะคู่ 2 พันธะ (O.

ดู ดาวอังคารและคาร์บอนไดออกไซด์

คาร์ล เซแกน

ร์ล เซแกน (Carl Sagan) นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน (ค.ศ. 1934 - 1996) เป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับบรรยากาศของดาวเคราะห์ต่าง ๆ เซแกนได้ศึกษาว่าสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นและมีวิวัฒนาการบนโลกอย่างไร สนใจถึงความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตอยู่บนดาวอื่นเป็นพิเศษ เซแกนเป็นคนริเริ่มความคิดที่จะติดตั้งแผ่นป้ายบนยานสำรวจอวกาศไพโอเนียร์ 10 ที่เป็นเหมือนจดหมายจากโลก ยานไพโอเนียร์ 10 ผ่านเข้าใกล้ดาวพฤหัสบดีใน ค.ศ.

ดู ดาวอังคารและคาร์ล เซแกน

ตะกอนน้ำพารูปพัด

ตะกอนน้ำพารูปพัด ตะกอนน้ำพารูปพัด (alluvial fan) เกิดจากทางน้ำที่ไหลจากหุบเขาชันลงสู่พื้นราบ เมื่อความเร็วของกระแสน้ำลดลงจนไม่สามารถนำพาตะกอนบางส่วนต่อไปได้ ตะกอนดังกล่าวจึงตกสะสมบริเวณใกล้กับเนินเขาในลักษณะที่กระจายออกไปรอบข้างเป็นรูปพัด ตะกอนประกอบด้วยชั้นทรายสลับกับชั้นกรวดและดินเคลย์ มีการคัดขนาดปานกลาง มีสีน้ำตาลและน้ำตาลปนเทา มักแสดงลักษณะโครงสร้างชั้นตะกอนแบบเรียงขนาดจากเล็กขึ้นไปใหญ่ (coarsening upward sequence) ตะกอนหน่วยนี้ไม่หนามากนัก ประมาณ 5-20 เมตร และครอบคลุมพื้นที่ไม่กว้างขวาง.

ดู ดาวอังคารและตะกอนน้ำพารูปพัด

ซิลิกอนไดออกไซด์

ทราย หนึ่งในอัญรูปของซิลิกา ซิลิกอนไดออกไซด์ (silicon dioxide) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า ซิลิกา (จากภาษาละตินคำว่า silex) คือสารประกอบระหว่างออกไซด์และซิลิกอนรวมตัวกันเป็นสูตรทางเคมีคือ SiO2 และเป็นที่รู้กันตั้งแต่สมัยโบราณถึงความแข็งแกร่งของมัน ซิลิกามักพบได้ทั่วไปในธรรมชาติอาจในรูปของทรายหรือควอตซ์ และในผนังเซลล์ของไดอะตอม ซิลิกาเป็นสารประกอบที่มีจำนวนมากโดยทั่วไปบนเปลือกโลก ซิลิกาได้นำมาใช้เป็นวัสดุในการผลิตที่หลากหลาย อาทิ แก้ว, คริสตัล, เจล, แอโรเจล, ซิลิการมควัน และคอลลอยดอลซิลิกา ยิ่งไปกว่านั้น ซิลิกานาโนสปริงก็ผลิตขึ้นจากวิธีความดันไอ-ของเหลว-ของแข็ง ในอุณหภูมิที่ใกล้เคียงกับอุณหภูมิห้อง ซิลิกาใช้เป็นวัสดุเบื้องต้นในการผลิตกระจก, แก้วน้ำและขวดแก้ว สายใยแก้วที่ใช้ในการโทรคมนาคมก็เป็นผลิตผลจากซิลิกาเช่นเดียวกัน และยังใช้เป็นวัสถุดิบแรกเริ่มในผลิตภัณฑ์จำพวกเซรามิกเช่น เครื่องปั้นดินเผา, เครื่องหิน, เครื่องลายคราม และการผลิตพาร์ตแลนด์ซีเมนต.

ดู ดาวอังคารและซิลิกอนไดออกไซด์

ซิลิคอน

ซิลิคอน (Silicon) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุ ที่มีสัญลักษณ์ Si และเลขอะตอม 14 เป็นธาตุกึ่งโลหะแบบเตตระวาเลนต์ (คือมีวาเลนซ์เป็น 4) ซิลิคอนทำปฏิกิริยาน้อยกว่าธาตุที่คล้ายกันคือคาร์บอน เป็นธาตุที่มีมากที่สุดในเปลือกโลกเป็นอันดับ 2 มีปริมาตร 25.7% โดยน้ำหนัก ปรากฏในดินเหนียว เฟลด์สปาร์ (feldspar) หินแกรนิต ควอตซ์ และทราย ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของซิลิคอน ไดออกไซด์ (หรือซิลิกา) และซิลิเกต (สารประกอบที่ประกอบจากซิลิคอน ออกซิเจน และ โลหะ) ซิลิคอน เป็นส่วนประกอบหลักของแก้ว ซีเมนต์ เซรามิก, อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ ส่วนใหญ่ และซิลิโคน (สารพลาสติกที่มักจะสับสนกับซิลิคอน) ซิลิคอนใช้เป็นสารกึ่งตัวนำอย่างแพร่หลาย เนื่องจาก สารกึ่งตัวนำเจอร์เมเนียมมีปัญหาเกี่ยวกับการไหลของกระแสไหลย้อนกลับ (reverse leakage current).

ดู ดาวอังคารและซิลิคอน

ซี. เอส. ลิวอิส

ลฟ์ สเตเปิลส์ ลิวอิส (Clive Staples Lewis; 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 — 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506) หรือรู้จักในนาม ซี.เอ.

ดู ดาวอังคารและซี. เอส. ลิวอิส

ซีนอน

|- | Critical pressure || 5.84 MPa |- | Critical temperature || 289.8 K (16.6 °C) ซีนอน (Xenon) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 54 และสัญลักษณ์คือ Xe ซีนอนเป็นธาตุที่มีลักษณะเป็นก๊าซมีตระกูล (Noble gases) ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น น้ำหนักมาก พบเพียงเล็กน้อยในบรรยากาศโลก -มีน้ำหนักอะตอมเท่ากับ 131.30 amu -จุดหลอมเหลวเท่ากับ -111.9 องศา -จุดเดือน(โดยประมาณ)อยู่ที่ -108.12 +/-.01 องศา -ความหนาที่(stp) 5.8971 g/l เลขออกซิเดชันสามัญ +2,+4,+6,+8 1.

ดู ดาวอังคารและซีนอน

ซีเอ็นเอ็น

ล นิวส์ เน็ตเวิร์ก (Cable News Network) หรือรู้จักกันในชื่อ ซีเอ็นเอ็น (CNN) เป็นเครือข่ายโทรทัศน์เคเบิล ที่เสนอข่าวสารตลอด 24 ชั่วโมง ก่อตั้งโดย เท็ด เทอร์เนอร์ เริ่มต้นออกอากาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.

ดู ดาวอังคารและซีเอ็นเอ็น

ปฏิทินจูเลียน

ปฏิทินจูเลียน (Julian calendar; คำว่า จูเลียน แปลว่า แห่งจูเลียส) เป็นปฏิทินที่สร้างขึ้นโดยกงสุลจูเลียส ซีซาร์ แห่งโรมัน โดยปฏิรูปจากปฏิทินโรมัน เมื่อ 46 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีผลบังคับใช้ในปีถัดไปคือ 45 ปีก่อนคริสต์ศักราช รอบปีหนึ่งของปฏิทินจูเลียนมี 12 เดือน มีจำนวนวันรวม 365 วัน นอกจากนี้เดือนกุมภาพันธ์จะเพิ่มอธิกวารทุก ๆ สี่ปี ดังนั้นรอบปีโดยเฉลี่ยต่อสี่ปีของปฏิทินจูเลียนเท่ากับ 365.25 วัน แรกเริ่มนั้นวันวสันตวิษุวัตตรงกับวันที่ 1 Martius (มีนาคม) จึงถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ ต่อมาในปี 153 ก่อน..

ดู ดาวอังคารและปฏิทินจูเลียน

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ดู ดาวอังคารและประเทศอินเดีย

ปาสกาล (หน่วยวัด)

ปาสคาล หรือ พาสคาล (pascal สัญลักษณ์ Pa) เป็นหน่วยอนุพันธ์เอสไอ ใช้วัดความดัน ความดันภายใน ความเค้น ค่ามอดูลัสของยัง และความทนแรงดึงสูงสุด นิยามค่าเท่ากับหนึ่งนิวตันต่อตารางเมตร ชื่อหน่วยตั้งตามผู้รู้รอบด้านชาวฝรั่งเศส แบลซ ปัสกาล พหุคูณของหน่วยปาสคาลที่พบทั่วไปคือ เฮกโตปาสคาล (1 hPa ≡ 100 Pa) เท่ากับ 1 มิลลิบาร์ กิโลปาสคาล (1 kPa ≡ 1000 Pa) เมกะปาสคาล (1 MPa ≡ 1,000,000 Pa) และจิกะปาสคาล (1 GPa ≡ 1,000,000,000 Pa) หน่วยวัดที่เป็นบรรยากาศมาตรฐาน (atm) นิยามไว้ที่ 101.325 กิโลปาสคาล และประมาณเท่ากับความดันเฉลี่ยที่ระดับน้ำทะเลที่ 45 องศาเหนือ รายงานอุตุนิยมวิทยาหลายรายงานกล่าวถึงความกดอากาศในหน่วยเฮกโตปาสคาล.

ดู ดาวอังคารและปาสกาล (หน่วยวัด)

นาซา

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (National Aeronautics and Space Administration) หรือ นาซา (NASA) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ.

ดู ดาวอังคารและนาซา

นิกเกิล

นิกเกิล (Nickel) คือธาตุที่มีหมายเลขอะตอม 28 และสัญลักษณ์คือ Ni อยู่ในตารางธาตุหมู่ 28 นิกเกิลเป็นโลหะที่มีความมันวาวสีขาวเงิน อยู่กลุ่มเดียวกับเหล็ก มีความแข็งแต่ตีเป็นแผ่นได้ ในธรรมชาติจะทำปฏิกิริยาเคมีกับกำมะถันเกิดเป็นแร่มิลเลอร์ไรต์ (millerite) ถ้าทำปฏิกิริยาเคมีกับสารหนู (arsenic) จะเกิดเป็นแร่นิกกอไลต์ (niccolite) แต่ถ้าทำปฏิกิริยาเคมีกับทั้งสารหนูและกำมะถันจะเป็นก้อนนิกเกิลกลานซ (nickel glance) ประเทศที่บริโภคนิเกิลมากที่สุดคือญี่ปุ่น ซึ่งใช้ 169,600 ตันต่อปี (ข้อมูลปี 2005).

ดู ดาวอังคารและนิกเกิล

นิส

นิส (Nice) เป็นเมืองในแคว้นพรอว็องซาลป์โกตดาซูร์ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส ริมชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ระหว่างเมืองมาร์แซย์ของฝรั่งเศสกับเมืองเจนัวของอิตาลี มีประชากรอยู่ 347,060 คนโดยประมาณ ตามข้อมูลปี 2006 ถือเป็นเมืองการท่องเที่ยวและถือเป็นเมืองชั้นนำของรีสอร์ตแถบเฟรนช์ริเวียรา หมวดหมู่:เมืองในจังหวัดอาลป์-มารีตีม หมวดหมู่:เฟรนช์ริวีเอรา.

ดู ดาวอังคารและนิส

นิโคลา เทสลา

นิโคลา เทสลา (Никола Тесла, Nikola Tesla) เกิดเมื่อ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2399 - ถึงแก่กรรม 7 มกราคม พ.ศ. 2486 (86 ปี) เป็น นักประดิษฐ์, นักฟิสิกส์, วิศวกรเครื่องกล, วิศวกรไฟฟ้า และ นักทำนายอนาคต เขาเกิดที่ Smiljan ในอดีตออสเตรีย - ฮังการี ซึ่งปัจจุบันคือสาธารณรัฐโครเอเชีย ภายหลังเขาได้รับสัญชาติเป็นพลเมืองอเมริกัน เทสลามีปัญหาทางประสาทในวัยเด็ก ที่เขาต้องทุกข์ทรมาน จาก โรคย้ำคิดย้ำทำ เขาได้งานแรกในบูดาเปสต์โดยทำงานที่บริษัทโทรศัพท์ เทสล่าได้ประดิษฐ์ลำโพงสำหรับโทรศัพท์ระหว่างที่ทำงานอยู่ที่นี่ ก่อนที่จะเดินทางเร่ร่อนไปอเมริกาในปี 2427 เพื่อที่จะไปทำงานกับ โทมัส เอดิสัน แต่ในไม่นาน เขาก็เริ่มก่อตั้ง ห้องปฏิบัติการ/บริษัท พัฒนาอุปกรณ์ไฟฟ้า ของตัวเองโดยมีผู้สนับสนุนด้านการเงินให้ สิทธิบัตรมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับแบบเหนี่ยวนำ และ หม้อแปลงไฟฟ้า ได้รับการจดทะเบียนโดย จอร์จ เวสติงเฮ้าส์ ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างให้เทสลาเป็นที่ปรึกษาและพัฒนาระบบไฟฟ้ากระแสสลับด้วย ผลงานของเทสลาที่ทำให้เขาเป็นที่สนใจในสมัยนั้นอาทิเช่น การทดลองเกี่ยวกับ คลื่นความถี่สูงและแรงดันไฟฟ้าแรงสูง ใน นิวยอร์ก และ โคโลราโด สปริงซ์, สิทธิบัตรของอุปกรณ์และทฤษฎีที่ใช้ในการสร้างวิทยุสื่อสาร, การทดลอง X-ray ของเขา, เขายังเป็นผู้คิดค้นตัวกำเนิดสัญญาณ (oscillator) หลากหลายรูปแบบอีกด้วย และ โครงการ Wardenclyffe Tower ซึ่งเป็นความพยายามในการส่งสัญญาณไร้สายข้ามทวีปแต่โชคร้ายที่โครงการนี้ไม่ประสบความสำเร็จ แม้เทสลาจะเป็นผู้คิดค้นสัญญาณวิทยุ การค้นพบหลักการสนามแม่เหล็กไฟฟ้า แต่ผลงานที่ทำให้เขาเป็นที่รู้จักกันดีคือ การค้นคว้าพัฒนาไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งในขณะนั้นมีการแข่งขันกับไฟฟ้ากระแสตรงที่ถูกพัฒนาขึ้นมา โทมัส เอดิสัน แต่ในที่สุดไฟฟ้ากระแสสลับก็ได้รับความนิยมมากกว่า เพราะเกิดการสูญเสียน้อยกว่าในการส่งกระแสไฟฟ้าในระยะทางไกล เทสลาประสบความสำเร็จเป็นที่รู้จักและทำให้ผู้คนเห็นถึงความสามารถของจากโชว์สิ่งประดิษฐ์ที่ดูน่าอัศจรรย์ทั้งหลาย ถึงแม้ว่าเขาจะได้เงินจากสิทธิบัตรต่าง ๆ แต่เขาก็ได้ทำการทดลองอย่างมากมายด้วยเช่นกัน ทำให้ในช่วงบั้นปลายชีวิตของเขาต้องเป็นหนี้ และ มีปัญหาด้านการเงิน ต้องอาศัยอยู่อย่างโดษเดี่ยวในห้องพักหมายเลข 3327 ที่โรงแรม New Yorker ด้วยลักษณะและธรรมชาติในการทำงานของเทสลาทำให้เขาถูกขนานนามว่าเป็น "นักวิทยาศาสตร์เพี้ยน" เทสลาถูกพบว่าเสียชีวิตในห้องพักหมายเลข 3327 ที่โรงแรม New Yorker เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2486 หลังจากการตายของเขางานของเทสล่าก็ได้เงียบหายไป แต่ในปี 2533 เขาก็เริ่มกลับมาเป็นที่รู้จักอีกครั้ง ในปี 2548 เขาถูกเสนอชื่อให้เป็นตัวแทน 1 ใน 100 คนในรายการโทรทัศน์ "The Greatest American" โดยการสำรวจนิยมโดย AOL กับ ช่อง Discovery การทำงานและสิ่งประดิษฐ์ที่มีชื่อเสียงของเขายังเป็นจุดกำเนิดของทฤษฎีสมคบคิดจำนวนมาก และ ยังได้นำไปใช้สนับสนุนวิทยาศาสตร์เทียม, ทฤษฎียูเอฟโอ และ ไสยศาสตร์ยุคใหม่ อีกด้วย ในปี 2503 หน่วยสำหรับวัดความ ความหนาแน่นของเส้นแรงแม่เหล็ก หรือ การเหนี่ยวนำด้วยพลังแม่เหล็ก (ที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็นสนามแม่เหล็ก B \), ถูกตั้งชื่อว่า เทสลา เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา นอกจากนี้ เทสลายังถือเป็นวิศวกรที่สร้างนวัตกรรมล้ำยุคที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สิทธิบัตรของเทสลาและผลงานเชิงทฤษฎีของเขากลายเป็นพื้นฐานของระบบไฟฟ้ากระแสสลับ ได้แก่ ระบบจ่ายกำลังหลายเฟส และมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งเขามีส่วนผลักดันเป็นอย่างมากในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สอง.

ดู ดาวอังคารและนิโคลา เทสลา

นีออน

นีออน (Neon) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ Ne และเลขอะตอม 10 นีออนเป็นก๊าซเฉื่อย เป็นสมาชิกหมู่ที่ 8 ของตารางธาตุ เป็นแก๊สอะตอมเดี่ยวที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่นและเกือบจะไม่เกิดปฏิกิริยาเคมีใดๆ และเกิดแสงเรืองสีแดงเมื่อใช้ในหลอดสุญญากาศ (vacuum discharge tube) กับไฟนีออน และพบในปริมาณเล็กน้อยในอากาศ (หนึ่งส่วนใน 55,000ส่วน) ได้จากการนำอากาศเหลวมากลั่นลำดับส่วนและเกือบจะไม่เกิดปฏิกิริยาเคมีใดๆ เลย จึงทำให้ไม่มีสารประกอบนีออนที่เรารู้จักเลย ซึ่งนีออนจะไม่เป็นอันตรายต่อคนโดยตรง.

ดู ดาวอังคารและนีออน

น้ำบนดาวอังคาร

น้ำบนดาวอังคารในปัจจุบันมีอยู่แทบทั้งหมดเป็นน้ำแข็ง แม้ยังมีไอน้ำปริมาณเล็กน้อยในบรรยากาศด้วย และบางครั้งเป็นน้ำเกลือ (brine) รูปของเหลวปริมาตรต่ำในดินดาวอังคารตื้น ๆ ที่เดียวที่เห็นน้ำแข็งน้ำ (water ice) ได้จากพื้นผิว คือ ที่พืดน้ำแข็งขั้วดาวเหนือ ยังมีน้ำแข็งน้ำปริมาณมากอยู่ใต้พืดน้ำแข็งคาร์บอนไดออกไซด์ถาวรที่ขั้วใต้ของดาวอังคาร และใต้ดินตื้น ๆ ที่ละติจูดอบอุ่นกว่า มีการระบุน้ำแข็งกว่า 5 ล้านลูกบาศก์กิโลเมตรที่หรือใกล้พื้นผิวของดาวอังคารสมัยใหม่ เพียงพอที่จะปกคลุมดาวเคราะห์ทั้งดวงที่ความลึก 35 เมตร และอาจมีน้ำแข็งปริมาณมากกว่านี้ถูกกักอยู่ใต้ดินชั้นลึก น้ำในรูปของเหลวอาจเกิดขึ้นชั่วคราวบ้างบนพื้นผิวดาวอังคารปัจจุบัน แต่เฉพาะในบางภาวะ ไม่มีแหล่งน้ำในรูปของเหลวขนาดใหญ่ถาวรเพราะความดันบรรยากาศที่พื้นผิวโดยเฉลี่ยมีเพียง 600 ปาสกาล (0.087 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) หรือประมาณ 0.6% ของความดันระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ยของโลก และอุณหภูมิเฉลี่ยของดาวต่ำเกินไปมาก (210 K, −63 °C) ทำให้น้ำระเหิดหรือเยือกแข็งอย่างรวดเร็ว ก่อนประมาณ 3.8 พันล้านปีก่อน ดาวอังคารอาจมีบรรยากาศหนาแน่นและมีอุณหภูมิพื้นผิวสูงกว่านี้ ทำให้มีน้ำในรูปของเหลวบนพื้นผิวปริมาณมาก เป็นไปได้ว่ามีมหาสมุทรขนาดใหญ่ซึ่งอาจปกคลุมหนึ่งในสามของดาว ยังพบว่าน้ำไหลอยู่ใต้พื้นผิวเป็นระยะสั้น ๆ หลายช่วงในประวัติศาสตร์สมัยหลัง ๆ ของดาวอังคาร วันที่ 9 ธันวาคม 2556 นาซารายงานว่า อาศัยหลักฐานจากโรเวอร์ คิวริออสซิตี ที่กำลังศึกษาอีโอลิสปาลัส (Aeolis Palus) แอ่งเกลมีทะเลสาบน้ำจืดโบราณซึ่งสามารถเป็นสิ่งแวดล้อมที่จุลินทรีย์อาศัยอยู่ได้ หลักฐานหลายสายชี้ว่ามีน้ำจำนวนมากบนดาวอังคารและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ธรณีวิทยาของดาว ปริมาณน้ำบนดาวอังคารในปัจจุบันประเมินได้จากภาพถ่ายยานอวกาศ เทคนิคการรับรู้ระยะไกล (การวัดสเปกโตรสโคบ เรดาร์ ฯลฯ) และการสืบค้นพื้นผิวจากส่วนลงจอดและโรเวอร์ หลักฐานน้ำในอดีตทางธรณีวิทยามีทั้งช่องระบายขนาดมหึมาที่เกิดจากการกัดเซาะของน้ำท่วม เครือข่ายหุบแม่น้ำโบราณ ดินดอนสามเหลี่ยมและก้นทะเลสาบ และการตรวจจับหินและแร่ธาตุบนพื้นผิวซึ่งก่อขึ้นได้เฉพาะในน้ำในรูปของเหลว ลักษณะธรณีสัณฐานจำนวนมากเสนอว่ามีน้ำแข็งพื้นดิน (ชั้นดินเยือกแข็งคงตัว) และการเคลื่อนไหวของน้ำแข็งในธารน้ำแข็ง ทั้งในอดีตอันใกล้และปัจจุบัน ร่องธาร (gully) และที่ลาดเอียงเส้นตรง (slope lineae) ตามหน้าผาและผนังแอ่งแนะว่าน้ำที่กำลังไหลยังก่อรูปทรงพื้นผิวของดาวอังคาร แม้ว่ามีขนาดน้อยกว่าในอดีตโบราณมาก แม้ว่าพื้นผิวดาวอังคารเปียกเป็นบางช่วงและจุลินทรีย์อาจอาศัยอยู่ได้เมื่อหลายพันล้านปีก่อน แต่สิ่งแวดล้อมปัจจุบันที่พื้นผิวแห้งและอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง เป็นไปได้ว่าเป็นอุปสรรคที่ไม่อาจเอาชนะสำหรับสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ ดาวอังคารไม่มีบรรยากาศหนา ชั้นโอโซนและสนามแม่เหล็ก ทำให้รังสีดวงอาทิตย์และรังสีคอสมิกถึงพื้นผิวได้โดยตรง ฤทธิ์ทำลายของรังสีไอออนต่อโครงสร้างเซลล์เป็นปัจจัยจำกัดสำคัญอีกปัจจัยหนึ่งต่อการรอดชีวิตบนพื้นผิว ฉะนั้น ที่ตั้งที่มีโอกาสดีที่สุดในการค้นพบสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคารอาจเป็นในสิ่งแวดล้อมใต้พื้นผิว การเข้าใจน้ำบนดาวอังคารสำคัญต่อการประเมินศักยภาพของดาวในการรองรับสิ่งมีชีวิตและให้ทรัพยากรที่ใช้ได้สำหรับการสำรวจของมนุษย์ในอนาคต ด้วยเหตุนี้ "ตามน้ำ" จึงเป็นแก่นวิทยาศาสตร์ของโครงการสำรวจดาวอังคารของนาซาในทศวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 21 การค้นพบโดย 2001 มาร์สโอดิสซีย์ (2001 Mars Odyssey) มาร์สเอ็กซ์พลอเรชันโรเวอร์ส (Mars Exploration Rovers) มาร์รีคอนนิเซินออร์บิเตอร์ (Mars Reconnaissance Orbiter) และมาร์สฟีนิกซ์แลนเดอร์ (Mars Phoenix Lander) มีส่วนสำคัญในการตอบคำถามสำคัญเกี่ยวกับปริมาณและการกระจายของน้ำบนดาวอังคาร ส่วนโคจรมาร์สเอ็กซ์เพรส (Mars Express) ขององค์การอวกาศยุโรปยังให้ข้อมูลที่สำคัญในภารกิจนี้ มาร์สโอดิสซีย์ มาร์สเอ็กซ์เพรส โรเวอร์ออพพอร์ทูนิตี (Opportunity) มาร์รีคอนนิเซินออร์บิเตอร์ และโรเวอร์ คิวริออสซิตี (Curiosity) ยังส่งข้อมูลกลับจากดาวอังคาร และยังมีการค้นพบอยู่เรื่อ.

ดู ดาวอังคารและน้ำบนดาวอังคาร

น้ำแข็งแห้ง

น้ำแข็งแห้ง (dry ice บ้างใช้ว่า cardice) เป็นคาร์บอนไดออกไซด์รูปของแข็ง ใช้เป็นสารหล่อเย็นเป็นหลัก ประโยชน์มีทั้งอุณหภูมิต่ำกว่าน้ำแข็งธรรมดาและไม่เหลือสิ่งตกค้าง (นอกเหนือจากน้ำค้างแข็งเล็กน้อยจากความชื้นในบรรยากาศ) มีประโยชน์ในการรักษาอาหารแช่แข็งในที่ซึ่งไม่มีการทำความเย็น น้ำแข็งระเหิดที่ 194.65 K (−78.5 °C; −109.3 °F) ณ ความดันบรรยากาศที่ผิวโลก ความเย็นมากนี้ทำให้น้ำแข็งแห้งมีอันตรายในการจัดการหากไม่มีการป้องกันจากโรคความเย็นกัด แม้โดยทั่วไปไม่มีพิษ แต่การสูดแก๊สนี้เข้าไปสามารถก่อให้เกิดภาวะเลือดมีคาร์บอนไดออกไซด์มากเนื่องจากการสะสมในที่อับได้ หมวดหมู่:คาร์บอนไดออกไซด์ หมวดหมู่:ตัวทำให้เย็น หมวดหมู่:สารทำความเย็น หมวดหมู่:น้ำแข็ง.

ดู ดาวอังคารและน้ำแข็งแห้ง

แกรนด์แคนยอน

แกรนด์แคนยอน มุมมองจากไบรต์เอนเจลเทรล แกรนด์แคนยอน (Grand Canyon;Hopi: Ongtupqa; Yavapai: Wi:kaʼi:la, Navajo: Tsékooh Hatsoh, Spanish: Gran Cañón)) เป็นดินแดนหินผาและหุบเหว ซึ่งหน้าผามีความสูงถึง 1,600 เมตร และหุบเหวยาวถึง 450 กิโลเมตร อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของรัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา ชาวยุโรปผู้เข้าสำรวจกลุ่มแรกคือพันตรี จอห์น เวสลีย์ พาวเวลล์ และคณะเมื่อปี ค.ศ.

ดู ดาวอังคารและแกรนด์แคนยอน

แก้ว

ตัวหมากรุกที่ทำจากแก้ว แก้ว หมายถึง วัสดุแข็งที่มีรูปลักษณะอยู่ตัว และเป็นเนื้อเดียว โดยปกติแล้วเกิดจากการเย็นตัวลงอย่างฉับพลันของวัสดุหลอมหนืด ซึ่งทำให้การแข็งตัวนั้นไม่ก่อผลึก ตัวอย่างเช่น น้ำตาลซึ่งหลอมละลายและถูกทำให้แข็งตัวอย่างรวดเร็ว อาจด้วยการหยดลงบนผิวเย็น น้ำตาลที่แข็งตัวนี้จะมีลักษณะเป็นเนื้อเดียว ไม่แสดงให้เห็นถึงลักษณะที่เป็นผลึก ซึ่งสามารถสังเกตได้จากรอยแตกหักซึ่งมีลักษณะละเอียด (conchoidal fracture) แก้วสามารถที่จะเกิดได้หลากหลายวิธี โดยการที่จะเลือกวัตถุดิบใน จะต้องมีการคำนวณเพื่อหาปริมาณสารที่ต้องการใช้ใน Batch เนื่องจากสารที่ต้องการใช้ใน Batch จะได้มาจากปฏิกิริยา ของวัตถุดิบ โดยในระหว่างการหลอมวัตถุดิบ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี และโครงสร้าง โดยจะทำให้เกิดฟองอากาศ ที่ต้องกำจัดออกไป โดยในผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ที่ต้องการการขึ้นรูปทรงที่เฉพาะ จะทำโดยมีการใช้กระบวนการทางความร้อนเข้าช่วย เพื่อกำจัด Stress ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว และการปรับปรุงให้แก้วมีความแข็งแกร่งขึ้นโดยการอบเทมเปอร์ (Temper) แก้วที่จะกล่าวถึงในบทความนี้ จะหมายถึง เฉพาะแก้วที่ทำจาก ซิลิกา (silica) เนื้อแก้วบริสุทธิ์นั้น จะโปร่งใส ผิวค่อนข้างแข็ง ยากแก่การกัดกร่อน เฉื่อยต่อปฏิกิริยาทางเคมี และชีวภาพ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ทำให้แก้วนั้นมีประโยชน์ใช้งานอย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตามแก้วนั้นถึงแม้จะแข็ง แต่ก็เปราะแตกหักง่าย และมีรอยแตกที่ละเอียดคม คุณสมบัติของแก้วนี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ง่ายด้วยการผสมสารอื่นลงในเนื้อแก้ว หรือการปรับสภาพด้วยการใช้ความร้อน แก้วโดยทั่วไปนั้นทำจาก ซิลิคอนไดออกไซด์ (SiO2-silicon dioxide) ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสารประกอบทางเคมีใน แร่ควอตซ์ (quartz) หรือในรูป polycrystalline ของทราย ซิลิกาบริสุทธิ์ มีจุดหลอมเหลวที่ 2000 °C (3632 °F) เพื่อความสะดวกในกระบวนการผลิต จะมีการผสมสาร 2 ชนิดลงไปด้วย ชนิดแรกคือ โซดาแอช (Soda Ash) ซึ่งมีองค์ประกอบหลักคือ โซเดียมคาร์บอเนต (sodium carbonate-Na2CO3) หรือสารประกอบโปตัสเซียม เช่น โปตัสเซียมคาร์บอเนต เพื่อช่วยให้อุณหภูมิในการหลอมเหลวนั้นต่ำลงอยู่ที่ประมาณ 1000~1500 °C แต่อย่างไรก็ตามสารนี้จะส่งผลข้างเคียงทำให้แก้วนั้นละลายน้ำได้ จึงต้องมีการเติมสารอีกชนิด คือ หินปูน ซึ่งมีองค์ประกอบหลักคือ แคลเซียมคาร์บอเนต (calcium carbonate-CaCO3) (เมื่ออยู่ในเนื้อแก้ว จะกลายเป็นแคลเซียมออกไซด์;calcium oxide-CaO) เพื่อทำให้แก้วนั้นไม่ละลายน้ำ องค์ประกอบของแก้วที่ใช้ทำภาชนะใช้งานโดยทั่วไป เช่น แก้วน้ำ หรือกระจกใส จะมีองค์ประกอบแต่ละตัวโดยประมาณดังนี้ SiO2 70% Na2O 15% CaO 8% และองค์ประกอบอื่น ๆ อีกเล็กน้อย เช่น MgO, Al2O3, K2O เป็นต้น อาจมีแก้วพิเศษชนิดอื่น ซึ่งเกิดจากการเติมวัตถุดิบอื่น ๆ ลงไป เพื่อช่วยปรับคุณสมบัติของแก้ว เช่น.

ดู ดาวอังคารและแก้ว

แมกนีเซียม

แมกนีเซียม (Magnesium) เป็นธาตุในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ Mg และเลขอะตอม 12 แมกนีเซียมเป็นธาตุที่มีอยู่มากเป็นอันดับ 8 และเป็นส่วนประกอบของเปลือกโลกประมาณ 2% และเป็นธาตุที่ละลายในน้ำทะเลมากเป็นอันดับ 3 โลหะอัลคาไลเอิร์ธตัวนี้ส่วนมากใช้เป็นตัวผสมโลหะเพื่อทำโลหะผสมอะลูมิเนียม-แมกนีเซียม.

ดู ดาวอังคารและแมกนีเซียม

แม็กนีโตสเฟียร์

วาดแสดงแม็กนีโตสเฟียร์ที่ช่วยป้องกันลมสุริยะ แม็กนีโตสเฟียร์ (Magnetosphere) คือย่านที่มีแม่เหล็กกำลังสูงรอบๆ วัตถุทางดาราศาสตร์ โลกมีแม็กนีโตสเฟียร์ครอบอยู่รอบๆ เช่นเดียวกันกับดาวที่มีสนามแม่เหล็กอื่นๆ ได้แก่ ดาวพุธ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และ ดาวเนปจูน ดวงจันทร์แกนีมีดของดาวพฤหัสบดีก็มีสนามแม่เหล็กเช่นกัน แต่เป็นสนามที่มีกำลังอ่อนจนไม่สามารถป้องกันพลาสมาจากลมสุริยะได้ ส่วนดาวอังคารเป็นดาวที่มีสนามแม่เหล็กแบบเว้าแหว่งไม่ต่อเนื่อง คำว่า "แม็กนีโตสเฟียร์" นี้ยังสามารถใช้อธิบายถึงย่านรอบๆ วัตถุท้องฟ้าอื่นที่มีสนามแม่เหล็กรอบๆ ด้วย เช่น แม็กนีโตสเฟียร์ของพัลซาร์ เป็นต้น.

ดู ดาวอังคารและแม็กนีโตสเฟียร์

แรงไทดัล

นามแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์ (หรือดวงอาทิตย์) ที่ไม่เท่ากันบนพื้นผิวของโลก เรียกว่าแรงไทดัล หรือแรงที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง เป็นกลไกพื้นฐานที่ทำให้เกิดเหตุการณ์น้ำขึ้นน้ำลงวันละ 2 ครั้ง ในภาพนี้ดวงจันทร์อาจอยู่ทางด้านซ้ายหรือด้านขวาของโลก แรงไทดัล (Tidal force) เป็นผลกระทบทุติยภูมิที่เกิดจากแรงโน้มถ่วง และเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง แรงนี้เกิดขึ้นจากแรงโน้มถ่วงของวัตถุหนึ่งที่กระทำต่ออีกวัตถุหนึ่งอย่างไม่สม่ำเสมอกันตลอดแนวเส้นผ่านศูนย์กลาง ด้านที่อยู่ใกล้กับวัตถุที่สองมากกว่าจึงได้รับแรงดึงดูดที่มากกว่า ขณะที่ด้านตรงกันข้ามจะถูกแรงดึงดูดน้อยกว่า เมื่อวัตถุหนึ่ง (วัตถุ ก) ถูกกระทำโดยแรงโน้มถ่วงจากวัตถุอีกชิ้นหนึ่ง (วัตถุ ข) สนามแรงโน้มถ่วงจะมีความแปรปรวนอย่างมีนัยสำคัญบนวัตถุ ก ระหว่างด้านที่วัตถุประจันหน้ากับวัตถุ ข กับอีกด้านหนึ่งที่อยู่ไกลออกไป แผนภาพด้านข้างนี้แสดงให้เห็นแรงกระทำจากแรงโน้มถ่วงที่แตกต่างกันที่เกิดขึ้นบนวัตถุทรงกลม ก อันเกิดจากแรงของวัตถุ ข ซึ่งทำให้เกิดแรงดึงระหว่างวัตถุทั้งสอง หากแรงมีขนาดสูงมากอาจทำให้วัตถุมีรูปร่างบิดเบี้ยวไป หรือกรณีสุดโต่งคือวัตถุอาจฉีกขาดออกจากกันได้ ขีดจำกัดโรเช คือระยะห่างระหว่างดาวเคราะห์ที่ปรากฏการณ์ไทดัลสามารถทำให้วัตถุฉีกขาดออกเป็นเสี่ยงๆ เนื่องจากความแตกต่างอย่างมากของสนามแรงโน้มถ่วงจากดาวเคราะห์จนสามารถเอาชนะแรงดึงดูดระหว่างชิ้นส่วนของวัตถุ แรงดึงชนิดนี้จะไม่เกิดขึ้นถ้าสนามแรงโน้มถ่วงมีลักษณะสม่ำเสมอ เพราะสนามที่สม่ำเสมอนี้จะทำให้วัตถุทั้งชิ้นเคลื่อนที่ไปในทิศทางและในอัตราความเร็วเท่าๆ กัน.

ดู ดาวอังคารและแรงไทดัล

แร่

ผลึกแร่ชนิดต่าง ๆ แร่ (Mineral) เป็นธาตุหรือสารประกอบทางเคมีที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ด้วยกระบวนการทางอนินทรีย์ ส่วนใหญ่เป็นของแข็ง มีโครงสร้างภายในที่เป็นระเบียบ มีสูตรเคมีและสมบัติอื่น ๆ ที่แน่นอนคงที่หรืออาจเปลี่ยนแปลงได้ในวงจำกั.

ดู ดาวอังคารและแร่

แอมโมเนีย

แอมโมเนีย เป็น สารประกอบเคมี ที่ประกอบด้วยธาตุ ไนโตรเจน และ ไฮโดรเจน โดยมี สูตรเคมี ดังนี้ NH3.

ดู ดาวอังคารและแอมโมเนีย

แอรีส

แอรีส (Ares; Ἄρης อาแรส) ทรงเป็นเทพแห่งสงครามของกรีก ทรงเป็นหนึ่งในสิบสองพระเจ้าโอลิมปัส และพระโอรสของซูสและฮีรา ในวรรณกรรมกรีก เป็นสัญลักษณ์ของแง่มุมกายภาพหรือความรุนแรงและไม่สงบของสงคราม ขัดกับอะธีนา ผู้เป็นเทพเจ้าแห่งปัญญา รวมทั้งยุทธศาสตร์การทหารและตำแหน่งอำนาจแม่ทัพ ชาวกรีกมีความรู้สึกไม่ชัดเจนต่อแอรีส เนื่องจากเทพแอรีสเป็นสัญลักษณะของความพ่ายแพ้เช่นเดียวกับความสามารถในสงครามแม้พระองค์จะทรงมีความกล้าทางกายซึ่งจำเป็นต่อความสำเร็จในสงคราม แต่เป็นพลังที่อันตราย "ท่วมท้น ละโมบในการยุทธ์ ทำลายล้างและฆ่าคน"Burkert, Greek Religion, p.

ดู ดาวอังคารและแอรีส

แถบดาวเคราะห์น้อย

กราฟิกแสดงอาณาเขตของแถบดาวเคราะห์น้อย แถบดาวเคราะห์น้อย (Asteroid belt) เป็นบริเวณในระบบสุริยะที่อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี ประกอบไปด้วยวัตถุรูปร่างไม่แน่นอนจำนวนมาก เรียกว่าดาวเคราะห์น้อย (asteroid หรือ minor planet) บางครั้งก็เรียกแถบดาวเคราะห์น้อยว่า "แถบหลัก" เพื่อแยกแยะมันออกจากดาวเคราะห์น้อยกลุ่มอื่น ๆ ที่มีอยู่ในระบบสุริยะ เช่น แถบไคเปอร์ มวลกว่าครึ่งหนึ่งของแถบดาวเคราะห์น้อยอยู่ในดาวเคราะห์น้อยที่มีขนาดใหญ่ที่สุด 4 ดวง ได้แก่ ซีรีส, เวสตา, พัลลัส และไฮเจีย ทั้งสี่ดวงนี้มีเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยมากกว่า 400 กิโลเมตร สำหรับซีรีสซึ่งถือเป็นดาวเคราะห์แคระเพียงดวงเดียวในแถบดาวเคราะห์น้อย มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 950 กิโลเมตรKrasinsky, G.

ดู ดาวอังคารและแถบดาวเคราะห์น้อย

แคลเซียม

แคลเซียม (Calcium) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุซึ่งมีสัญลักษณ์เป็น Ca มีเลขอะตอมเป็น 20 แคลเซียมเป็นธาตุโลหะหนักประเภทอะคาไลที่มีสีเทาอ่อน มันถูกใช้เป็นสารรีดิวซิ่งเอเยนต์ในการสกัดธาตุ ทอเรียมเซอร์โคเนียม และยูเรเนียม แคลเซียมอยู่ในกลุ่ม 50 ธาตุที่มีมากที่สุดบนเปลือกโลก มันมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะในระบบสรีระวิทยาของเซลล์และการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ แคลเซียมมีพื้นดินเป็นแหล่งรองรับจะถูกพืชดูดไปใช้เป็นประโยชน์และสัตว์กินพืชก็ได้รับสารประกอบแคลเซียมเข้าไปด้วย เมื่อสีตว์และพืชตาย แคลเซียมก็จะกลับลงสู่ดินอีก.

ดู ดาวอังคารและแคลเซียม

แคลเซียมซัลเฟต

แคลเซียมซัลเฟต (calcium sulfate) เป็นสารเคมีที่ใช้ในห้องทดลองและงานอุตสาหกรรม ในรูปแอนไฮดรัสเป็นของแข็งใช้เป็นตัวดูดความชื้น (desiccant) ในห้องทดลอง โดยมีชื่อเรียกว่า ดรายเออไรต์® เฮมิไฮเดรต รู้จักกันดีในชื่อของ ปลาสเตอร์ออฟปารีส, ขณะที่ ไดไฮเดรต เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติมีชื่อว่ายิปซัม.

ดู ดาวอังคารและแคลเซียมซัลเฟต

ใบหน้าบนดาวอังคาร

ใบหน้าบนดาวอังคาร ถ่ายโดยยานไวกิ้ง ใบหน้าบนดาวอังคาร (Face on Mars) เป็นรูปร่างของพื้นผิวขนาดยาวประมาณ 3 ก.ม.และกว้างประมาณ 1.5 ก.ม.

ดู ดาวอังคารและใบหน้าบนดาวอังคาร

โฟบอส

วงจันทร์โฟบอส โฟบอส (Phobos) เป็น 1 ใน 2 ดาวบริวารของดาวอังคาร โดยเป็นดาวบริวารที่ใหญ่กว่าและอยู่ใกล้กับดาวอังคารมากกว่า โฟบอสตั้งชื่อตามโฟบอส ลูกชายของเทพเจ้าแอรีสหรือมาร์สของกรีกและโรมันตามลำดับ วงโคจรของโฟบอสนับว่าใกล้กับดาวเคราะห์มากที่สุดในบรรดาดาวบริวารทั้งหมดของระบบสุริยะ โฟบอสได้รับการค้นพบโดยแอซัฟ ฮอลล์ (Asaph Hall) นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม ค.ศ.

ดู ดาวอังคารและโฟบอส

โฟบอส (เทพปกรณัมกรีก)

รูปวาดโฟบอสบนแจกันโบราณ บนรถม้าคู่กับแอรีส โฟบอส (Phobos,; Φόβος แปลว่า "ความกลัว") เทพเจ้าในเทพปกรณัมกรีก เป็นบริวารหนึ่งในสองของเทพแอรีส เทพแห่งสงคราม บางตำนานกล่าวว่า เป็นบุตรชายฝาแฝดของเทพแอรีสกับเทพีแอโฟรไดที คู่กับดีมอส (Deimos) ซึ่งทั้งคู่จะติดตามอาเรสไปในที่ต่าง ๆ เมื่ออาเรสเสด็จ โฟบอส เป็นเทพเป็นความกลัว ซึ่งต่อมาเป็นรากศัพท์ของคำว่าความกลัวอย่างรุนแรงในทางจิตวิทยาที่เรียกว่า โฟเบีย (Phobia) ซึ่งมีระดับความรุนแรงมากกว่า ความกลัวธรรมดา (Fear) ในทางดาราศาสตร์ โฟบอสถูกตั้งเป็นชื่อดวงจันทร์บริวารของดาวอังคารคู่กับดีมอส เชื่อกันว่า เมื่ออเล็กซานเดอร์มหาราช คืนก่อนที่จะออกรบกับกษัตริย์กษัตริย์ดาไรอุสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย ที่สมรภูมิกอกามีลา (ปัจจุบันเป็นที่ราบกว้างขวางใกล้กับประเทศอิรัก) พระองค์ได้สักการะถึงโฟบอสด้วย เพื่อระงับความกลัว.

ดู ดาวอังคารและโฟบอส (เทพปกรณัมกรีก)

โพแทสเซียม

แทสเซียม (Potassium) ธาตุเคมีในกลุ่มโลหะ มีเลขอะตอม 19 สัญลักษณ์ K สัญลักษณ์ของโพแทสเซียม มาจากภาษาเยอรมันว่า Kalium ส่วนชื่อโพแทสเซียม มาจากคำว่า โพแทส ซึ่งเป็นชื่อเรียกแร่ชนิดหนึ่งที่สกัดธาตุโพแทสเซียมได้ โพแทสเซียมเป็นโลหะอัลคาไล เป็นผงสีขาว-เงินอ่อนๆ ในธรรมชาติมักเป็นสารประกอบร่วมกับธาตุอื่นเพราะไวต่อปฏิกิริยาเคมีมาก สามารถออกซิไดซ์ได้อย่างรวดเร็วในอากาศ มีสมบัติทางเคมีใกล้เคียงกับโซเดียม.

ดู ดาวอังคารและโพแทสเซียม

โยชน์

น์ เป็นหน่วยวัดความยาวของไทย มีระยะเท่ากับ 400 เส้น แต่เนื่องจาก 1 เส้นถูกกำหนดให้เท่ากับ 40 เมตรโดย พระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พระพุทธศักราช ๒๔๖๖ ดังนั้นความยาว 1 โยชน์จึงมีระยะเทียบเท่ากับ 16,000 เมตร หรือ 16 กิโลเมตร 1 โยชน์ มีค่าเท่ากั.

ดู ดาวอังคารและโยชน์

โยฮันเนส เคปเลอร์

ันเนส เคปเลอร์ (Johannes Kepler; 27 ธันวาคม ค.ศ. 1571 - 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1630) นักดาราศาสตร์ นักโหราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน ผู้มีส่วนสำคัญในการปฏิวัติวงการวิทยาศาสตร์ เขาค้นพบกฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ในงาน Astronomia nova, Harmonice Mundi ของเขา และได้แต่งหนังสือชื่อ Epitome of Copernican Astronomy โยฮันเนส เคปเลอร์ ประกอบอาชีพเป็นครูสอนคณิตศาสตร์ที่โรงเรียน Graz (ภายหลังเปลี่ยนเป็น มหาวิทยาลัย Graz) และเป็นผู้ช่วยของ ไทโค บราเฮ นักคณิตศาสตร์ในความอุปถัมภ์ของจักรพรรดิรูดอร์ฟที่ 2 ผู้ซึ่งรวบรวมรวมข้อมูลของดาวเคราะห์มาตลอดชีวิต และปูทางให้เคปเลอร์ค้นพบกฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ในเวลาต่อมา เขาทำงานด้านทัศนศาสตร์ และช่วยสนับสนุนการค้นพบกล้องโทรทรรศน์ของกาลิเลโอ กาลิเลอี เขาถูกยกย่องว่าเป็น "นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ทฤษฎีคนแรก" แต่คาร์ล ซาแกน ยกย่องเขาในฐานะ "นักโหราศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์คนสุดท้าย".

ดู ดาวอังคารและโยฮันเนส เคปเลอร์

โรมโบราณ

ตามตำนานโรมก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 753 ก่อนคริสต์ศักราชโดยรอมิวลุส และรีมุสที่ถูกเลี้ยงด้วยแม่หมาป่า โรมโบราณ (Ancient Rome) คือวัฒนธรรมที่วิวัฒนาการขึ้นมาจากชุมชนเกษตรกรบน คาบสมุทรอิตาลีที่เริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 10 ก่อนคริสต์ศักราช ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลเมดิเตอเรเนียนโรมโบราณกลายมาเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โบราณ ในช่วงเวลาที่โรมโบราณเจริญรุ่งเรืองอยู่วัฒนธรรมโรมันเปลี่ยนจากการปกครองตั้งแต่เป็นแบบราชาธิปไตยไปเป็นระบอบสาธารณรัฐคณาธิปไตย และในที่สุดก็ไปเป็นระบบจักรวรรดิแบบอัตตาธิปไตย อารยธรรมโรมันมามีอำนาจอันมีอิทธิพลต่อทวีปยุโรปตะวันตกเฉียงใต้ ทวีปยุโรปตะวันออกเฉียงใต้/คาบสมุทรบอลข่าน และในบริเวณทะเลเมดิเตอเรเนียนโดยการพิชิตและการการผสมกลมกลืนทางวัฒนธรรมกับท้องถิ่นที่เข้าไปปกครอง จักรวรรดิโรมันทางด้านตะวันตกเสื่อมโทรมลงและสลายตัวไปในคริสต์ศตวรรษที่ 5 การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งภายในและการถูกโจมตีโดยชนกลุ่มต่างๆ ในสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน จักรวรรดิโรมันตะวันตกที่รวมทั้งฮิสปาเนีย กอล บริทาเนีย และอิตาลี ได้แบ่งแยกออกเป็นอาณาจักรอิสระในคริสต์ศตวรรษที่ 5 จักรวรรดิโรมันตะวันออก หรือที่เรียกว่าจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่คอนสแตนติโนเปิล ประกอบด้วยกรีซ ส่วนที่พิชิตโดยจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 อานาโตเลีย ซีเรีย และอียิปต์รอดจากวิกฤติการณ์ที่จักรวรรดิทางด้านตะวันตกประสบ และแม้ว่าจะเสียซีเรียและอียิปต์แก่จักรวรรดิอิสลามของอาหรับจักรวรรดิก็รุ่งเรืองต่อมาอีกหนึ่งสหัสวรรษ จนกระทั่งมาเสียเมือง ให้กับจักรวรรดิออตโตมันของตุรกี นักประวัติศาสตร์มักจะเรียกจักรวรรดิโรมันตะวันออกมักจะเรียกว่าเป็น จักรวรรดิไบแซนไทน์ วัฒนธรรมโรมันมักจะจัดอยู่ใน “ยุคโบราณ” (classical antiquity) ร่วมกับกรีกโบราณซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่เป็นต้นตอและแรงบันดาลใจให้แก่วัฒนธรรมโรมโบราณ โรมโบราณมีบทบาทอย่างใหญ่หลวงในการวิวัฒนการทางด้านกฎหมาย การสงคราม ศิลปะ วรรณคดี สถาปัตยกรรม เทคโนโลยี และภาษาของโลกตะวันตก และประวัติศาสตร์โรมก็ยังคงเป็นประวัติที่ยังคงมีอิทธิพลต่อโลกจนทุกวันนี้.

ดู ดาวอังคารและโรมโบราณ

โรเบิร์ต เอ. ไฮน์ไลน์

รเบิร์ต เอ.

ดู ดาวอังคารและโรเบิร์ต เอ. ไฮน์ไลน์

โลก (ดาวเคราะห์)

ลก (Earth) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สามจากดวงอาทิตย์ และเป็นวัตถุทางดาราศาสตร์เพียงหนึ่งเดียวที่ทราบว่ามีสิ่งมีชีวิต จากการวัดอายุด้วยกัมมันตรังสีและแหล่งหลักฐานอื่นได้ความว่าโลกกำเนิดเมื่อประมาณ 4,500 ล้านปีก่อน โลกมีอันตรกิริยะเชิงโน้มถ่วงกับวัตถุอื่นในอวกาศโดยเฉพาะดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ ซึ่งเป็นดาวบริวารถาวรหนึ่งเดียวของโลก โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 365.26 วัน เรียกว่า ปี ซึ่งระหว่างนั้นโลกโคจรรอบแกนตัวเองประมาณ 366.26 รอบ แกนหมุนของโลกเอียงทำให้เกิดฤดูกาลต่าง ๆ บนผิวโลก อันตรกิริยาความโน้มถ่วงระหว่างโลกกับดวงจันทร์ก่อให้เกิดน้ำขึ้นลงมหาสมุทร ทำให้การหมุนบนแกนของโลกมีเสถียรภาพ และค่อย ๆ ชะลอการหมุนของโลก โลกเป็นดาวเคราะห์ที่มีความหนาแน่นสูงสุดในระบบสุริยะและใหญ่สุดในดาวเคราะห์คล้ายโลก 4 ดวง ธรณีภาคของโลกแบ่งออกได้เป็นหลาย ๆ ส่วน เรียกว่าแผ่นธรณีภาค ซึ่งย้ายที่ตัดผ่านพื้นผิวตลอดเวลาหลายล้านปี ร้อยละ 71 ของพื้นผิวโลกปกคลุมด้วยน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาสมุทร อีกร้อยละ 29 ที่เหลือเป็นแผ่นดินประกอบด้วยทวีปและเกาะซึ่งมีะเลสาบ แม่น้ำและแลห่งน้ำอื่นจำนวนมากกอปรเป็นอุทกภาค บริเวณขั้วโลกทั้งสองปกคลุมด้วยน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่แผ่นน้ำแข็งแอนตาร์กติก และน้ำแข็งทะเลของแพน้ำแข็งขั้วโลก บริเวณภายในของโลกยังคงมีความเคลื่อนไหวโดยมีแก่นชั้นในซึ่งเป็นเหล็กในสถานะของแข็ง มีแก่นเหลวชั้นนอกซึ่งกำเนิดสนามแม่เหล็ก และชั้นแมนเทิลพาความร้อนที่ขับเคลื่อนการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค ภายในพันล้านปีแรก สิ่งมีชีวิตปรากฏขึ้นในมหาสมุทรและเริ่มส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศและผิวดาว เกื้อหนุนให้เกิดการแพร่ขยายของสิ่งมีชีวิตที่ใช้ออกซิเจนเช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช้ออกซิเจน หลักฐานธรณีวิทยาบางส่วนชี้ว่าชีวิตอาจกำเนิดขึ้นเร็วสุด 4.1 พันล้านปีก่อน นับแต่นั้นตำแหน่งของโลกในระบบสุริยะ คุณสมบัติทางกายภาพของโลก และประวัติศาสตร์ธรณีวิทยาของโลกประกอบกันทำให้สิ่งมีชีวิตวิวัฒนาการและแพร่พันธุ์ได้ Early edition, published online before print.

ดู ดาวอังคารและโลก (ดาวเคราะห์)

โลหะ

ลหะ คือ วัสดุที่ประกอบด้วยธาตุโลหะที่มีอิเล็กตรอนอิสระอยู่มากมาย นั่นคืออิเล็กตรอนเหล่านี้ไม่ได้เป็นของอะตอมใดอะตอมหนึ่งโดยเฉพาะ ทำให้มีคุณสมบัติพิเศษหลายประการ เช่น.

ดู ดาวอังคารและโลหะ

โอลิมปัส (ภูเขาไฟ)

ูเขาไฟโอลิมปัส (Olympus Mons) เป็นภูเขาไฟรูปโล่ขนาดใหญ่บนดาวอังคาร จัดว่าเป็นภูเขาไฟที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยจักรวาลของเราด้วยความสูงกว่า 25 กิโลเมตร สูงกว่ายอดเขาเอเวอเรสต์ของโลกถึง 3 เท่า และยังเป็นภูเขาไฟขนาดใหญ่บนดาวอังคารที่มีอายุน้อยที่สุด นักดาราศาสตร์มีการค้นพบมันตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 และเรียกมันว่า นิกซ์โอลิมปิกา ซึ่งพวกเขาคิดว่ามันเป็นภูเขาธรรมดาเท่านั้น จนเมื่อยาน มาริเนอร์ 9 ถูกส่งไปโคจรรอบดาวอังคารในปี..

ดู ดาวอังคารและโอลิมปัส (ภูเขาไฟ)

โอลิวีน

'''Descripyion:''''''Mineral:''' Forsterite: Mg2SiO4 Olivine: (Mg,Fe) 2SiO4 '''Location:''' Skardu, Nooristan, Pakistan. '''Scale:''' 2.5 x 2.7 cm. '''Description:''' olivine from San Carlos Indian Reservation, Arizona-3 '''Credit:''' R.Weller/Cochise College '''Crystal structure of olivine.''''''Description:''' The dominant slip system in olivine changes with temperature from the 110 plane in the 001 direction at low temperature to 010 plane in the 100 direction at high temperature.

ดู ดาวอังคารและโอลิวีน

โอโซน

อโซน (Ozone หรือ O3) เป็นโมเลกุลที่ประกอบจากออกซิเจน 3 อะตอม ปรากฏอยู่ในชั้นบรรยากาศของโลก และมีการใช้งานในทางอุตสาหกรรมและเครื่องใช้ตามบ้านทั่วไป โอโซนถูกค้นพบครั้งแรกโดย คริสเตียน ฟรีดริช เชินไบน์ (Christian Friedrich Schönbein) นักเคมีชาวเยอรมัน ในปี ค.ศ.

ดู ดาวอังคารและโอโซน

โจวันนี โดเมนีโก กัสซีนี

วันนี โดเมนีโก กัสซีนี (Giovanni Domenico Cassini; 8 มิถุนายน ค.ศ. 1625 - 14 กันยายน ค.ศ. 1712) เป็นนักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ วิศวกร และโหราจารย์ชาวอิตาลี บ้างก็เรียกว่า จันโดเมนีโก กัสซีนี (Giandomenico Cassini) เขาเป็นผู้ค้นพบจุดแดงใหญ่ของดาวพฤหัสบดี ร่วมกับโรเบิร์ต ฮุค และยังเป็นผู้แรกที่ค้นพบดวงจันทร์ของดาวเสาร.

ดู ดาวอังคารและโจวันนี โดเมนีโก กัสซีนี

โจนาธาน สวิฟท์

นาธาน สวิฟท์ (Jonathan Swift) (30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1667 - (19 ตุลาคม ค.ศ. 1745) โจนาธาน สวิฟท์เป็นนักเขียนคนสำคัญชาวไอร์แลนด์และชาวอังกฤษ นอกจากจะเป็นนักเขียนและสวิฟท์ก็ยังเป็นนักเสียดสี นักเขียนปกิณกะ และ นักเขียนการเมืองโดยเริ่มเขียนให้กับพรรควิก และต่อมาให้กับพรรคทอรี กวี และนักบวชผู้ต่อมามีตำแหน่งเป็นอธิการของมหาวิหารเซนต์แพ็ททริคในดับลิน สวิฟท์มีงานเขียนหลายชิ้นที่มีชื่อเสียงที่รวมทั้ง Gulliver's Travels (การเดินทางของกัลลิเวอร์), A Modest Proposal, A Journal to Stella, Drapier's Letters, The Battle of the Books, An Argument Against Abolishing Christianity และ A Tale of a Tub สวิฟท์อาจจะถือว่าเป็นผู้นำของนักเขียนประเภทเสียสีคนสำคัญของวรรณกรรมภาษาอังกฤษ และไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันเท่าใดนักในงานเขียนทางด้านโคลงกลอน เดิมสวิฟท์ใช้นามปากกาในการเขียนงานเช่น เลมูเอล กัลลิเวอร์ (Lemuel Gulliver), ไอแซ็ค บิคเคอร์สตาฟฟ์ (Isaac Bickerstaff) หรือบางครั้งก็ไม่ลงนาม งานเสียดสีของสวิฟท์มีสองลักษณะแบบโฮราซ (Horace) และ แบบจูเวนาล (Juvenal).

ดู ดาวอังคารและโจนาธาน สวิฟท์

โทรจัน (ดาราศาสตร์)

วเคราะห์น้อยทรอยของดาวพฤหัสบดี (สีเขียวในภาพ) ทั้งที่โคจรอยู่ก่อนและหลังในแนวโคจรของดาว ในภาพยังแสดงดาวเคราะห์น้อยในแถบหลักระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี (สีขาว) และดาวเคราะห์น้อยตระกูลฮิลดา (สีน้ำตาล ในทางดาราศาสตร์ คำคุณศัพท์ของทรอย (Trojan) มักใช้ในการอ้างถึงดาวเคราะห์ขนาดเล็กหรือดาวบริวาร (ดวงจันทร์) ที่มีวงโคจรร่วมกันกับดาวเคราะห์หรือดวงจันทร์ที่ใหญ่กว่า แต่ไม่ได้รวมเข้ากับดาวแม่เพราะมีการโคจรรอบจุดสมดุลลากร็องจ์ (Lagrangian point of stability) จุดใดจุดหนึ่งในสองจุด (L4 และ L5) ซึ่งอยู่ในตำแหน่ง 60° ล่วงหน้าหรือรั้งท้ายวัตถุใหญ่นั้นๆ คำว่าโทรจัน นี้ แต่เดิมเป็นคำที่ใช้อ้างถึงโทรจันของดาวพฤหัสบดี ซึ่งเป็นดาวเคราะห์น้อยโทรจันที่โคจรอยู่รอบๆ จุดลากร็องจ์ของดาวพฤหัสบดี อันเป็นประเภทของโทรจันที่พบมากที่สุดในระบบสุริยะ ต่อมาจึงพบวัตถุที่มีลักษณะเดียวกันโคจรอยู่รอบจุดลากร็องจ์ของดาวเนปจูนและดาวอังคาร นอกจากนี้ยังมีดวงจันทร์ทรอย ที่โคจรรอบจุดลากร็องจ์ของดวงจันทร์ขนาดกลาง 2 ดวงของดาวเสาร.

ดู ดาวอังคารและโทรจัน (ดาราศาสตร์)

โซเดียม

ซเดียม (Sodium) เป็นธาตุในตารางธาตุซึ่งมีสัญลักษณ์ Na (จากคำว่า Natrium ในภาษาละติน) และหมายเลขอะตอม 11 โซเดียมเป็นโลหะอ่อน มีลักษณะเป็นไข มีสีเงิน และอยู่ในกลุ่มโลหะแอลคาไล โซเดียมมีมากในสารประกอบทางธรรมชาติ (โดยเฉพาะแฮไลต์) โซเดียมทำปฏิกิริยาได้ว่องไวมาก ให้เปลวไฟสีเหลือง ออกซิไดส์ในอากาศและทำปฏิกิริยาอย่างรุนแรงกับน้ำมากจนเกิดเปลวไฟได้ จึงจำเป็นต้องเก็บอยู่ในน้ำมัน.

ดู ดาวอังคารและโซเดียม

โนอาห์

"การถวายเครื่องบูชาของโนอาห์" โดยดาเนียล แมคลิส โนอาห์ (Noah; נח) เป็นบุตรชายของลาเมค เกิดในปีที่ 1,056 หลังจากพระเจ้าสร้างอาดัม บิดาของเขากล่าวว่า “คน​นี้​จะ​ชู‍ใจ​เรา​ใน​การ‍งาน​ของ​เรา การ​ตราก‌ตรำ​ของ​มือ​เรา และ​จาก​แผ่น‍ดิน​ซึ่งพระยาห์เวห์ทรง​แช่ง‍สาปไว้” เรื่องราวของโนอาห์บันทึกไว้ในหนังสือปฐมกาล บทที่ 5 ถึงบทที่ 10 โน‌อาห์​เป็น​คน​ชอบ‍ธรรม ​ดี​พร้อม​ใน​สมัย​ของ​เขา โน‌อาห์​เชื่อฟังปฏิบัติตามพระ‍เจ้า และเป็น​ที่​โปรด‍ปราน​ใน​สาย‍พระ‍เนตร​ของ​พระ‍ยาห์‌เวห์ ท่ามกลางยุคสมัยที่พระ‍ยาห์‌เวห์​ทรง​เห็น​ว่า​ความ​ชั่ว‍ร้าย​ของ​มนุษย์​มี​มาก​บน​แผ่น‍ดิน.

ดู ดาวอังคารและโนอาห์

ไกเซอร์ (ธรณีวิทยา)

กเซอร์ในไอซ์แลนด์ การปะทุของไกเซอร์ในรูปของไอน้ำ ทำให้สามารถมองเห็นรุ้งกินน้ำได้ ที่ Castle Geyser in Yellowstone National Park ไกเซอร์ (Geyser) คือลักษณะของน้ำพุร้อนปล่อยกระแสน้ำร่วมกับไอน้ำออกมาเป็นระยะๆ ไม่สม่ำเสมอ การเกิดของไกเซอร์ขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะทางอุธกธรณีวิทยา ซึ่งสามารถพบได้เพียงไม่กี่แห่งในโลก จึงจัดได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมมชาติที่หาดูได้ยากชนิดหนึ่ง ไกเซอร์มักจะตั้งอยู่ใกล้กับบริเวณภูเขาไฟที่ยังสามารถระเบิดได้อยู่และได้รับผลจากแม็กมาในบริเวณใกล้เคียงอีกด้วย โดยทั่วไปแล้วที่ความลึกประมาณ 2.2 กิโลเมตร (6,600 ฟุต) จะเป็นบริเวณที่ผิวน้ำพบกับหินร้อน และด้วยเหตุนี้เองทำให้น้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้น ภายใต้ความดันใต้พื้นผิวโลกจนทำให้เกิดปรากฏการณ์ไกเซอร์ที่ปลดปล่อยกระแสน้ำรุนแรง ร่วมกับไอน้ำออกมาได้.

ดู ดาวอังคารและไกเซอร์ (ธรณีวิทยา)

ไลเคน

ลเคนแบบฟรูทิโคสที่เติบโตบนต้นไม้ ไลเคน (lichen) เป็นสิ่งมีชีวิต 2 ชนิด ซึ่งได้แก่ เห็ดราและสาหร่าย โดยมีการอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยกัน เห็ดราจะได้ความชื้นและก๊าซออกซิเจนจากสาหร่าย และสาหร่ายก็จะได้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงจากเห็ดรา นอกจากนี้ไลเคนยังสามารถใช้เป็นดัชนีวัดมลพิษทางอากาศได้ ไลเคนมีรูปแบบที่สำคัญ 4 รูปแบบ ได้แก.

ดู ดาวอังคารและไลเคน

ไอน้ำ

กราฟแสดงความสัมพันธ์ของเอนโทรปีและอุณหภูมิ ของไอน้ำ ไอน้ำ มักจะหมายถึงน้ำที่ระเหย ซึ่งมีลักษณะบริสุทธิ์และไม่มีสีซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับหมอก ที่ความดันปกติ น้ำจะกลายเป็นไอน้ำ ที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส และมีปริมาตรขยายเพิ่มประมาณ 1,600 เท่าของปริมาตรน้ำ ไอน้ำสามารถมีอุณหภูมิได้สูงมาก (มากกว่า 100 องศาเซลเซียส) ซึ่งจะถูกเรียกว่า ไอน้ำซูเปอร์ฮีต (superheated steam) เมื่อน้ำในสภาวะของเหลวได้มีการสัมผัสกับวัตถุที่มีความร้อนสูง เช่นโลหะร้อน หรือลาวา น้ำสามารถกลายเป็นไอทันที หมวดหมู่:แก๊สเรือนกระจก หมวดหมู่:ธรรมชาติ หมวดหมู่:รูปแบบของน้ำ.

ดู ดาวอังคารและไอน้ำ

ไอโอโนสเฟียร์

ไอโอโนสฟียร์ (ionosphere) เป็นชั้นบรรยากาศของโลกที่กลายเป็นไออนเนื่องจากการแผ่รังสีสุริยะ อยู่ภายในชั้นเทอร์โมสเฟียร์ชั้นไอโอโนสเฟียร์เป็นชั้นที่ปกป้องรังสีจากดวงอาทิตย์ไม่ให้เข้ามามากและป้องกันคลื่นรังสีจากขั้วโลกทั้ง สองไม่ให้เข้ามารบกวนคลื่นในโลกเรา ชั้นนี้เป็นชั้นที่ติดต่อกันกับชั้นขอบอวกาศนอกโลก หมวดหมู่:บรรยากาศ.

ดู ดาวอังคารและไอโอโนสเฟียร์

ไฮโดรเจน

รเจน (Hydrogen; hydrogenium ไฮโดรเจเนียม) เป็นธาตุเคมีที่มีเลขอะตอม 1 สัญลักษณ์ธาตุคือ H มีน้ำหนักอะตอมเฉลี่ย 1.00794 u (1.007825 u สำหรับไฮโดรเจน-1) ไฮโดรเจนเป็นธาตุที่เบาที่สุดและพบมากที่สุดในเอกภพ ซึ่งคิดเป็นมวลธาตุเคมีประมาณร้อยละ 75 ของเอกภพ ดาวฤกษ์ในลำดับหลักส่วนใหญ่ประกอบด้วยไฮโดรเจนในสถานะพลาสมา ธาตุไฮโดรเจนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหาได้ค่อนข้างยากบนโลก ไอโซโทปที่พบมากที่สุดของไฮโดรเจน คือ โปรเทียม (ชื่อพบใช้น้อย สัญลักษณ์ 1H) ซึ่งมีโปรตอนหนึ่งตัวแต่ไม่มีนิวตรอน ในสารประกอบไอออนิก โปรเทียมสามารถรับประจุลบ (แอนไอออนซึ่งมีชื่อว่า ไฮไดรด์ และเขียนสัญลักษณ์ได้เป็น H-) หรือกลายเป็นสปีซีประจุบวก H+ ก็ได้ แคตไอออนหลังนี้เสมือนว่ามีเพียงโปรตอนหนึ่งตัวเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง แคตไอออนไฮโดรเจนในสารประกอบไอออนิกเกิดขึ้นเป็นสปีซีที่ซับซ้อนกว่าเสมอ ไฮโดรเจนเกิดเป็นสารประกอบกับธาตุส่วนใหญ่และพบในน้ำและสารประกอบอินทรีย์ส่วนมาก ไฮโดรเจนเป็นส่วนสำคัญในการศึกษาเคมีกรด-เบส โดยมีหลายปฏิกิริยาแลกเปลี่ยนโปรตอนระหว่างโมเลกุลละลายได้ เพราะเป็นอะตอมที่เรียบง่ายที่สุดเท่าที่ทราบ อะตอมไฮโดรเจนจึงได้ใช้ในทางทฤษฎี ตัวอย่างเช่น เนื่องจากเป็นอะตอมที่เป็นกลางทางไฟฟ้าเพียงชนิดเดียวที่มีผลเฉลยเชิงวิเคราะห์ของสมการชเรอดิงเงอร์ การศึกษาการพลังงานและพันธะของอะตอมไฮโดรเจนได้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม มีการสังเคราะห์แก๊สไฮโดรเจนขึ้นเป็นครั้งแรกในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยการผสมโลหะกับกรดแก่ ระหว่าง..

ดู ดาวอังคารและไฮโดรเจน

ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์

รเจนเพอร์ออกไซด์ (hydrogen peroxide) มีสูตรทางเคมีว่า H2O2 เป็นสารประกอบเพอร์ออกไซด์ (สารที่ประกอบด้วยออกซิเจนสองตัวและเชื่อมกันด้วยพันธะเดี่ยว) รูปแบบที่ง่ายที่สุด มีสภาพเป็นของเหลวใส หนืดกว่าน้ำเล็กน้อย มีรสขม ไม่อยู่ตัว ซึ่งสามารถสลายตัวเป็นออกซิเจนกับน้ำ เมื่อเจือจางจะเป็นสารละลายไม่มีสี เนื่องจากไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์สามารถสลายตัวเป็นน้ำได้เมื่อถูกแสงและความร้อน จึงควรเก็บรักษาสารชนิดนี้ไว้ในภาชนะทึบแสง, ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล.

ดู ดาวอังคารและไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์

ไนตริกออกไซด์

นตริกออกไซด์ (Nitric oxide; NO) หรือไนโตรเจนออกไซด์ หรือไนโตรเจนมอนอกไซด์ เป็น โมเลกุล ที่มีสูตรทางเคมีเป็นNO เป็นอนุมูลอิสระ ที่อยู่ในรูปของก๊าซ สามารถเคลื่อนที่ได้ดีในเซลล์ ทั้งบริเวณที่ชอบน้ำและไม่ชอบน้ำ และมีความสำคัญในทางอุตสาหกรรมไนตริกออกไซด์เป็นผลพลอยได้ของการเผาไหม้สารอินทรีย์ในที่ที่มีอากาศ เช่นเครื่องยนต์ โรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล และเกิดขึ้นตามธรรมชาติระหว่างการเกิดฟ้าผ่า พืชสามารถสังเคราะห์ NO ขึ้นได้โดยวิถีกระบวนการสร้างและสลายที่ใช้ Arginine หรือไนไตรต์ เอนไซม์ที่เกี่ยวข้องที่สำคัญในพืช ได้แก่ nitrate reductase (NR) ซึ่งเปลี่ยนไนไตร์ลเป็น NO โดยมีโมลิบดินัมเป็นโคแฟกเตอร์ เอนไซม์อีกตัวหนึ่งที่เกี่ยวข้องคือ xanthine oxidoreductase ซึ่งมีโมลิบดินัมและโคบอลต์เป็นองค์ประกอบด้วย Arasimowicz, M., and Floryszak-Wieczorek, J.

ดู ดาวอังคารและไนตริกออกไซด์

ไนโตรเจน

นโตรเจน (Nitrogen) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุที่มีสัญลักษณ์ N และเลขอะตอม 7 เป็นอโลหะที่มีสถานะเป็นแก๊สที่มีอยู่ทั่วไป โดยปกติไม่มีสี กลิ่น หรือรส แต่ละโมเลกุลมี 2 อะตอม ไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบของบรรยากาศ ของโลกถึง 78 เปอร์เซ็นต์ และเป็นส่วนประกอบของเนื้อเยื่อในสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ไนโตรเจนยังเป็นส่วนประกอบในสารประกอบที่สำคัญหลายชนิด เช่น กรดอะมิโน แอมโมเนีย กรดไนตริก และสารจำพวกไซยาไน.

ดู ดาวอังคารและไนโตรเจน

ไนเตรต

นเตรต ในทางอนินทรีย์เคมีเป็นเกลือของกรดไนตริก ไนเตรตไอออน เป็น พอลิอะตอมิกไอออน (polyatomic ion) ซึ่งมีสูตรเอมไพริกัล ดังนี้ NO3− และมีน้ำหนักโมเลกุลเท่ากับ 62.01 ดัลตัน (daltons) มันเป็นด่างร่วม (conjugate) ของกรดไนตริก ไนเตรตไอออนมีโครงสร้างเป็นสามเหลี่ยมแบนราบ (trigonal planar-โดยแต่ละออร์บิทัลทำมุมกัน 120 องศา) และสามารถแทนด้วยลูกผสม (hybrid) ดังรูปข้างล่างนี้ 300px เกลือไนเตรตเกิดเมื่อไอออนประจุไฟฟ้าบวกเข้าเชื่อมต่อกับอะตอมของออกซิเจน ประจุไฟฟ้าลบตัวหนึ่งของไนเตรตไอออน.

ดู ดาวอังคารและไนเตรต

เบส (เคมี)

ตามคำจำกัดความของอาร์รีเนียส (Svante Arrhenius) คือ สารประกอบเคมีที่ดูดไฮโดรเนียมไอออน เมื่อละลายในน้ำ (ผู้รับโปรตอน) เบสที่ละลายในน้ำเรียกว่า อัลคาไล ในที่ที่สิ่งแวดล้อมเป็นน้ำ ไฮดรอกไซด์ไอออนจะถูกให้ เบสและกรดถูกมองว่าอยู่ตรงข้ามกันเพราะว่าผลของกรดคือการเพิ่มความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออน (H3O+) ในน้ำ, ในขณะที่เบสลดความเข้มข้น เบส อาร์รีเนียสเมื่อละลายน้ำสารละลายของมันจะมี pH มากกว่า 7 เสมอ กรดเมื่อผสมกับเบสจะสะเทิน มี คำจำกัดความ กรด-เบส ทั่วไปและซับซ้อนอีกมากม.

ดู ดาวอังคารและเบส (เคมี)

เฟลด์สปาร์

ฟลด์สปาร์ หรือ แร่ฟันม้า (feldspar) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในเนื้อเซรามิก (ร้อยละ 15.35) และในน้ำยาเคลือบผิว (Glaze 30-50%) เฟลด์สปาร์เป็นแร่ที่มีปริมาณธาตุอัลคาไลด์สูง ทำให้หลอมตัวที่อุณหภูมิต่ำจึงทำหน้าที่เป็นฟลักซ์ทำให้เกิดเนื้อแก้วยึดเหนี่ยวเนื้อ ทำให้เกิดความแกร่งและความโปร่งใสของชิ้นงาน นอกจากนี้ ยังหาได้ง่ายในธรรมชาติ มีธาตุเหล็กต่ำ จึงเป็นที่นิยมใช้ แร่เฟลด์สปาร์ที่เกิดในธรรมชาติมีอยู่ 3 ชนิด คือ.

ดู ดาวอังคารและเฟลด์สปาร์

เกลือ (เคมี)

ผลึกเกลือ เมื่อส่องขยาย (เฮไลต์/เกลือแกง) ในทางเคมี เกลือ เป็นสารประกอบไอออนิก ประกอบด้วยแคตไอออนและแอนไอออน ทำให้ผลผลิตที่ได้เป็นกลาง (ประจุสุทธิเป็นศูนย์) ไอออนเหล่านี้อาจเป็นอนินทรีย์ (Cl−) กับอินทรีย์ (CH3COO−) หรือไอออนอะตอมเดี่ยว (F−) กับไอออนหลายอะตอม (SO42−) ก็ได้ เกลือจะเกิดขึ้นได้เมื่อกรดและเบสทำปฏิกิริยากัน.

ดู ดาวอังคารและเกลือ (เคมี)

เกอไทต์

กอไทต์ (Goethite) เป็นแร่เหล็กออกไซต์ ซึ่งถูกตั้งชื่อโดยผู้รู้รอบด้านชาวเยอรมัน โยฮันน์ โวล์ฟกัง ฟอน เกอเท.

ดู ดาวอังคารและเกอไทต์

เมทานอล

มทานอล (methanol) หรือ เมทิลแอลกอฮอล์ (methyl alcohol) มีสูตรโครงสร้างแบบย่อ CH3OH เป็นของเหลวใส ระเหยง่าย เป็นพิษ นิยมใช้เป็นตัวทำละลาย และใช้เป็นเชื้อเพลิง ในธรรมชาติ เมทานอลเป็นผลิตภัณฑ์จากการสลายสารอาหารแบบไม่ใช้ออกซิเจนของแบคทีเรียหลายชนิด (ดูการผลิตเมทานอลจากของเสียเพื่อทำเป็นก๊าซชีวภาพ) ซึ่งเมทานอลจะระเหยออกสู่อากาศภายนอก แล้วสลายตัวได้คาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ หากเราเผาเมทานอลกับอากาศ จะได้คาร์บอนไดออกไซด์กับน้ำ ดังสมการด้านล่างนี้ ซึ่งเปลวไฟที่ได้จากการเผาเกือบจะมองไม่เห็นเลย ดังนั้นจึงควรระมัดระวังหากมีการใช้เมทานอลเป็นเชื้อเพลิง นอกจากนี้เมทานอลยังใช้ผสมเอทานอล เพื่อมิให้สามารถรับประทานได้ (denatured alcohol) ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในทางภาษีอากร.

ดู ดาวอังคารและเมทานอล

เมทาโนเจน

มทาโนเจน (Methanogen) เป็นอาร์เคียกลุ่มที่สร้างก๊าซมีเทน อยู่ในสภาพไร้ออกซิเจน เช่นในน้ำลึก ในโคลนและในดินก้นบ่อ และอยู่ในทางเดินอาหารของสัตว์รวมทั้งมนุษย์ เป็นกลุ่มที่ไวต่อออกซิเจนที่สุด หากได้รับออกซิเจนจะตาย แบ่งเป็นกลุ่มย่อยตามสารตั้งต้นที่ใช้ผลิตมีเทนได้เป็น กลุ่มที่ใช้ CO2 เช่น สกุล Methanobacterium กลุ่มที่ใช้สารที่มีหมู่เมทิล เช่น เมทานอล เมทิลามีน (Methylamine) ตัวอย่างเช่น สกุล Methanolobus และกลุ่มที่ใช้ ไพรูเวต หรือแอซิเตต (Acetate) เช่น สกุล Methanosaeta.

ดู ดาวอังคารและเมทาโนเจน

เมฆ

มฆชนิดคิวมูลัส เมฆ เกิดจากการรวมตัวหรือเกาะกลุ่มของไอน้ำในที่สุดก็จะเกิดการควบแน่นและตกลงมาเป็นฝน ละอองน้ำและเกล็ดน้ำแข็งที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนลอยตัวอยู่ในชั้นบรรยากาศ ที่เราสามารถมองเห็นได้ ไอน้ำที่ควบแน่น เป็นละอองน้ำ (โดยปกติแล้วจะมีขนาด 0.01 มม) หรือ เป็นเกล็ดน้ำแข็ง ซึ่งเมื่อเกาะตัวกันเป็นกลุ่มจะเห็นเป็นก้อนเมฆ ก้อนเมฆนี้สะท้อนคลื่นแสงในแต่ละความยาวคลื่นในช่วงที่ตามองเห็นได้ ในระดับที่เท่า ๆ กัน จึงทำให้เรามองเห็นก้อนเมฆนั้นเป็นสีขาว แต่ก็สามารถมองเห็นเป็นสีเทาหรือสีดำ ถ้าหากเมฆนั้นมีความหนาแน่นสูงมากจนแสงผ่านไม่ได้ เมฆบนดาวดวงอื่นนั้นประกอบด้วยสารอื่นนอกจากน้ำ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพบรรยากาศของดาวนั้น.

ดู ดาวอังคารและเมฆ

เมเว็น

นสำรวจอวกาศเมเว็น (MAVEN) ย่อจาก Mars Atmosphere and Volatile Evolution (ชั้นบรรยากาศและวิวัฒนาการของสารระเหยได้ของดาวอังคาร) เป็นยานสำรวจอวกาศที่ปฏิบัติภารกิจสำรวจชั้นบรรยากาศของดาวอังคาร ดำเนินโดยองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (นาซา) ภารกิจนี้เป็นโครงการหนึ่งในแผนงานมาร์ส-สเค้าท์ (Mars Scout Program) ยานเมเว็นถูกปล่อยขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน..

ดู ดาวอังคารและเมเว็น

เวลาสากลเชิงพิกัด

แผนที่โลกแสดงเขตเวลาในปัจจุบัน เวลาสากลเชิงพิกัด (Coordinated Universal Time; ตัวย่อ: UTC) คือ หน่วยเวลาที่ใช้ในการอ้างอิงการหมุนของโลก โดยใช้เครื่องหมายบวก (+) หรือลบ (-) เทียบจากหน่วยเวลาสากลซึ่งเป็นระบบอ้างอิงจากเวลามาตรฐานกรีนิช (GMT) จุดอ้างอิงของเวลาสากลเชิงพิกัดคือที่ลองจิจูด ที่ 0° ที่ตัดผ่านหอดูดาวหลวงกรีนิชในกรีนิช ลอนดอน สหราชอาณาจักร (และเป็นสาเหตุหลักที่เวลามาตรฐานกรีนิชยังคงมีใช้อยู่ในปัจจุบัน).

ดู ดาวอังคารและเวลาสากลเชิงพิกัด

เส้นศูนย์สูตร

้นศูนย์สูตรบนแผนที่โลก ในทางภูมิศาสตร์ เส้นศูนย์สูตร (Equator) คือ เส้นที่ลากผ่านศูนย์กลางวงกลมในแนวทิศตะวันตก-ตะวันออก และตั้งฉากกับแกนหมุนของโลก เป็นเส้นสมมุติที่ลากผ่านเส้นศูนย์กลางวงกลม แบ่งโลกออกเป็นสองซีกเท่า ๆ กัน ผู้สังเกตที่อยู่บนเส้นศูนย์สูตร มีระยะเวลาของกลางวันกับกลางคืนยาวนานเกือบเท่ากันตลอดทั้งปี และเห็นดวงอาทิตย์ผ่านจุดเหนือศีรษะในเวลาเที่ยงของวันวิษุวัต เส้นศูนย์สูตรของโลกมีความยาวประมาณ 40,075 กิโลเมตร ลากผ่าน 13 ประเทศ และเป็นหนึ่งในละติจูด 5 เส้นสำคัญของโลก เป็นละติจูดที่เรียกว่า "Great Circle" ที่ลากแบ่งครึ่งโลกเป็นวงกลมขนาดใหญ่ที่มีจุดศูนย์กลางและมีรัศมีเท่า ๆ กัน เมื่อขยายเส้นศูนย์สูตรโลกเป็นระนาบศูนย์สูตร (Equatorial Plane) ออกไปตัดทรงกลมฟ้า เกิดเป็นวงกลมใหญ่ เรียกว่า เส้นศูนย์สูตรท้องฟ้า (Celestial Equator).

ดู ดาวอังคารและเส้นศูนย์สูตร

เส้นเมริเดียนแรก

แนวเส้นเมริเดียนแรกที่ลากผ่านเมืองกรีนิช เส้นเมริเดียนแรก (prime meridian) เป็นเส้นเมริเดียน (เส้นของลองติจูด) ที่ถูกกำหนดให้เป็น 0° การประชุมสากลทั่วโลกกำหนดให้เส้นเมริเดียนแรกในปัจจุบันลากผ่านเมืองกรีนิช ลอนดอน สหราชอาณาจักร เป็นที่รู้จักกันว่า เส้นเมริเดียนสากล หรือ เส้นเมริเดียนกรีนิช ในเมืองกรีนิชมีการตีเส้นถาวรที่ 0° เป็นแนวโลหะยาวตลอดทั้งเมือง ส่วนในอดีตเส้นเมริเดียนแรกเคยถูกกำหนดในตำแหน่งอื่น ๆ นอกจากกรีนิชมาแล้วไม่ต่ำกว่า 20 แห่ง เส้นเมริเดียนแรกเริ่มต้นจากขั้วโลกเหนือมุ่งหน้าไปทางใต้ ผ่านสหราชอาณาจักรที่เมืองกรีนิช ไปยังประเทศฝรั่งเศส ประเทศสเปน ประเทศอัลจีเรีย ประเทศมาลี ประเทศโตโก ประเทศกานา และผ่านอีกหลายจุดจนถึงขั้วโลกใต้เป็นเส้นตรงเดียวกัน.

ดู ดาวอังคารและเส้นเมริเดียนแรก

เหล็ก

หล็ก (Iron ออกเสียงว่า ไอเอิร์น /ˈaɪ.ərn/) เป็นธาตุเคมีในตารางธาตุ มีสัญลักษณ์ธาตุ Fe และหมายเลขอะตอม 26 เหล็กเป็นธาตุโลหะทรานซิชันหมู่ 8 และคาบ 4 สัญลักษณ์ Fe ย่อมาจาก ferrum ในภาษาละติน.

ดู ดาวอังคารและเหล็ก

เอช. จี. เวลส์

อร์เบิร์ต จอร์จ เวลส์ หรือ เอ.

ดู ดาวอังคารและเอช. จี. เวลส์

เอแอลเอช 84001

อุกกาบาต ALH84001 จากดาวอังคารที่พบในแถบขั้วโลกใต้ ALH 84001 (ชื่อเต็ม Allan Hills 84001) คือ อุกกาบาต ที่ค้นพบที่แอลลันฮิลล์ทวีปแอนตาร์กติกเมื่อ พ.ศ.

ดู ดาวอังคารและเอแอลเอช 84001

เอ็มเอสเอ็น

อ็มเอสเอ็น (MSN) หรือ ไมโครซอฟท์ เน็ตเวิร์ก (Microsoft Network) เป็นบริการทางอินเทอร์เน็ตโดยบริษัทไมโครซอฟท์ เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.

ดู ดาวอังคารและเอ็มเอสเอ็น

เอเชียตะวันออก

แผนที่เอเชียตะวันออก เอเชียตะวันออกเป็นอนุภูมิภาคของทวีปเอเชีย มีพื้นที่ประมาณ 6,640,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 15% ของพื้นที่ทั้งหมดของทวีปเอเชีย ประเทศซึ่งมีพื้นที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก มีดังต่อไปนี้.

ดู ดาวอังคารและเอเชียตะวันออก

เทพปกรณัมกรีก

รูปปั้นครึ่งตัวของซูส, ที่เมือง Otricoli พิพิธภัณฑ์ Pio-Clementino วาติกัน) เทพปกรณัมกรีก (ΜΥΘΟΛΟΓΊΑ ΕΛΛΗΝΙΚΉ) เป็นเรื่องปรัมปราและตำนานที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้า, วีรบุรุษ, ธรรมชาติของโลก รวมถึงจุดกำเนิดและความสำคัญของขนบ คติและจารีตพิธีในทางศาสนาของชาวกรีกโบราณ เทพปกรณัมกรีกเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาในกรีซโบราณ นักวิชาการสมัยใหม่มักอ้างถึงและศึกษาเรื่องปรัมปราเหล่านี้ เพื่อที่จะทราบเกี่ยวกับสถาบันทางศาสนา, สถาบันทางการเมืองในกรีซโบราณ, อารยธรรมของชาวกรีก และเพื่อเพิ่มความเข้าใจในธรรมชาติของการสร้างตำนานเทพปกรณัมขึ้น เทพปกรณัมกรีกได้ถูกรวบรวมขึ้นจากเรื่องเล่าและศิลปะที่แสดงออกในวัฒนธรรมกรีก เช่น การระบายสีแจกันและของแก้บน ตำนานกรีกอธิบายถึงการถือกำเนิดของโลก และรายละเอียดของเรื่องราวในชีวิต และการผจญภัยของบรรดาเทพเจ้า เทพธิดา วีรบุรุษ วีรสตรี และสิ่งมีชีวิตในตำนานอื่น ๆ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ในตอนแรกเป็นเพียงการสืบทอดผ่านบทกวีตามประเพณีมุขปาฐะเท่านั้น ซึ่งอาจสืบย้อนหลังไปได้ถึงสมัยไมนอส และสมัยไมซีนี ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ก่อน..

ดู ดาวอังคารและเทพปกรณัมกรีก

เทวดานพเคราะห์

ราะห์ (ภาษาสันสกฤต: ग्रह, gráha คระ-หะ ซึ่งหมายความว่า ฉกฉวย, จับ, คว้า, ยึด) คือสิ่งที่มีอำนาจในจักรวาลของพระภูมิเทวี (โลก) นพเคราะห์ (ภาษาสันสกฤต: नवग्रह, gráha นะ-พะ-คระ-หะ) หมายความว่า ๙ ภูมิ, ๙ ขอบเขต, ๙ โลก, ๙ ดาวเคราะห.

ดู ดาวอังคารและเทวดานพเคราะห์

เขตอาศัยได้

ตัวอย่างของระบบตาม ความสว่างของดาวฤกษ์ เพื่อคาดการณ์ที่ตั้งของโซนอาศัยอยู่รอบ ๆหลายประเภทของดาวฤกษ์,ขนาดดาวเคราะห์,ขนาดดาวฤกษ์,ระยะโคจร และขนาดโซนอาศัยไม่ได้ระดับ เขตอาศัยได้ (habitable zone) ในทางดาราศาสตร์ หมายถึง ย่านหนึ่งในอวกาศที่ซึ่งดาวเคราะห์คล้ายโลกสามารถดำรงน้ำในสถานะของเหลวได้บนพื้นผิว และสามารถมีสิ่งมีชีวิตคล้ายกับสิ่งมีชีวิตบนโลก เขตอาศัยได้เป็นจุดตัดกันระหว่างสองเขตที่ต่างก็เอื้อต่อการให้กำเนิดชีวิต คือหนึ่ง ภายในระบบดาวเคราะห์ และสอง คือภายในดาราจักร ดาวเคราะห์และดวงจันทร์บริวารของมันที่อยู่ในเขตนี้มีโอกาสมากที่จะเป็นแหล่งอยู่อาศัยของมนุษย์ได้ จึงมีความเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตต่างดาวลักษณะคล้ายคลึงกับเราอยู่ที่นั่น จะต้องไม่สับสนปนเประหว่าง เขตอาศัยได้ กับ ดาวเคราะห์ที่อยู่อาศัยได้ (planetary habitability) ซึ่งในข้อหลังนี้จะคำนึงถึงเงื่อนไขต่างๆ ของดาวเคราะห์ที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตที่มีคาร์บอนเป็นพื้นฐาน (carbon-based life) ขณะที่ เขตอาศัยได้ คำนึงถึงเงื่อนไขเกี่ยวกับดาวฤกษ์ซึ่งส่งอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตที่มีคาร์บอนเป็นพื้นฐาน.

ดู ดาวอังคารและเขตอาศัยได้

เดอะวอร์ออฟเดอะเวิลด์ส

กนวนิยายฉบับตีพิมพ์ ค.ศ. 1906 ในภาษาฝรั่งเศส เดอะวอร์ออฟเดอะเวิลด์ส เป็นนิยายวิทยาศาสตร์ที่เขียนโดย เอช.จี. เวลส์ นักเขียนชาวอังกฤษ ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.

ดู ดาวอังคารและเดอะวอร์ออฟเดอะเวิลด์ส

เดอะนิวยอร์กไทมส์

อะนิวยอร์กไทมส์ (The New York Times) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันที่ตีพิมพ์ในนครนิวยอร์กและจัดจำหน่ายไปทั่วโลก จัดการโดยบริษัทเดอะนิวยอร์กไทมส์ซึ่งตีพิมพ์หนังสือพิมพ์อื่นๆอีก 15 ฉบับ รวมถึง International Herald Tribune และ The Boston Globe ด้วย เดอะนิวยอร์กไทมส์เป็นหนังสือพิมพ์มหานครที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา มีฉายาว่า "Gray Lady" (สุภาพสตรีสีเทา) ก็เพราะหน้าตาและสำนวนที่ขรึมขลัง ถูกเรียกว่าเป็นหนังสือพิมพ์ที่บันทึกแห่งการณ์ต่างๆของชาติ เพราะมันมักถูกใช้เป็นแหล่งอ้างอิงที่เป็นทางการและได้รับความเชื่อถือ ก่อตั้งเมื่อ..

ดู ดาวอังคารและเดอะนิวยอร์กไทมส์

เคลวิน

ลวิน (kelvin, สัญลักษณ์: K) เป็นหน่วยวัดอุณหภูมิหนึ่ง และเป็นหน่วยพื้นฐานหนึ่งในเจ็ดของระบบเอสไอ นิยามให้เท่ากับ 1/273.16 เท่าของอุณหภูมิเทอร์โมไดนามิกของจุดสามสถานะของน้ำ เคลวินตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแต่นักฟิสิกส์และวิศวกรชาวอังกฤษ วิลเลียม ทอมสัน บารอนที่หนึ่งแห่ง เคลวิน (William Thomson, 1st Baron Kelvin) ซึ่งชื่อบรรดาศักดิ์นี้ตั้งตามชื่อ แม่น้ำเคลวิน อีกทีหนึ่ง แม่น้ำสายนี้ตัดผ่านมหาวิทยาลัยกลาสโกว์ สกอตแลนด์ เคลวิน เป็นหน่วยของหน่วยวัดอุณหภูมิหนึ่ง ที่ลอร์เควิน ได้พัฒนาคิดสเกลขึ้นใหม่ โดยหาความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิและความเร็วของอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่รอบนิวเคลียส โดยสังเกตว่าถ้าให้ความร้อนกับสสารมากขึ้น อิเล็กตรอนจะมีพลังงานมากขึ้น ทำให้เคลื่อนที่มีความเร็วมากขึ้น ในทางกลับกันถ้าลดความร้อนให้กับสสาร อิเล็กตรอนก็จะมีพลังงานน้อยลง ทำให้การเคลื่อนที่ลดลง และถ้าสามารถลดอุณหภูมิลงจนถึงจุดที่อิเล็กตรอนหยุดการเคลื่อนที่ ณ จุดนั้น จะไม่มีอุณหภูมิหรือพลังงานในสสารเลย และจะไม่มีการแผ่รังสีความร้อนจากวัตถุ จึงเรียกอุณหภูมิ ณ จุดนี้ว่า ศูนย์สัมบูรณ์ (0 K) หมวดหมู่:หน่วยฐานเอสไอ หมวดหมู่:หน่วยวัดอุณหภูมิ.

ดู ดาวอังคารและเคลวิน

เซเลสเทีย

วเสาร์จากหน้าจอโปรแกรม Celestia เซเลสเทีย (Celestia) เป็นซอฟต์แวร์เสรี ด้านดาราศาสตร์ ใช้ได้ทั้งบนระบบไมโครซอฟท์ วินโดวส์ แมคโอเอส และ ลินุกซ์ ภายใต้เงื่อนไขโครงการกนู โปรแกรมนี้ออกแบบโดย Chris Laurel โดยใช้ฐานข้อมูลดวงดาวจากรายชื่อวัตถุท้องฟ้าของฮิปปาร์คอส (Hipparcos Catalogue) ผู้ใช้โปรแกรมสามารถมองภาพดาวเทียม ดาว จนถึงกลุ่มดาว เคลื่อนที่ได้อย่างอิสระด้วย OpenGL นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถจำลองภาพการเดินทางไปในอวกาศได้เหมือนจริง และสามารถดาวโหลดโปรแกรม add-on เพิ่มเติมได้ องค์การอวกาศยุโรป (ESA) และ องค์การนาซา ก็ใช้โปรแกรมเซเลสเทียภายในหน่วยงาน จุดเด่นของโปรแกรมเซเลสเทียคือ ผู้ใช้สามารถสร้างวัตถุขึ้นมาได้ด้วยตัวเอง เป็นฟอร์แมท 3ds (3D Studio Max) กำหนดพื้นผิวของวัตถุได้เอง และกำหนดรูปแบบการเคลื่อนที่ของวัตถุได้ จึงมีผู้ใช้จำนวนมากเขียน add-on ขึ้นมาเอง เพื่อแสดงภาพยานอวกาศในจินตนาการ เช่น ยานอวกาศจากภาพยนตร์สตาร์ วอร์ส, 2001 จอมจักรวาล หรือแม้แต่จรวดสำรวจดวงจันทร์ในหนังสือการ์ตูน ตินตินผจญภัย ซึ่งสามารถดาวโหลดได้จากเว็บไซต.

ดู ดาวอังคารและเซเลสเทีย

เปลวสุริยะ

ต่อเนื่อง 2 ภาพของปรากฏการณ์เปลวสุริยะที่เกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์ โดยตัดแผ่นจานดวงอาทิตย์ออกไปจากภาพเพื่อให้เห็นเปลวได้ชัดเจนขึ้น เปลวสุริยะ (Solar flare) คือการระเบิดใหญ่ในชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ ที่ปลดปล่อยพลังงานออกมาถึง 6 × 1025 จูล (ประมาณ 1 ใน 6 ของพลังงานที่ปลดปล่อยจากดวงอาทิตย์ทุกวินาที) คำนี้สามารถใช้เรียกปรากฏการณ์ลักษณะเดียวกันที่เกิดขึ้นบนดาวฤกษ์อื่นๆ โดยจะเรียกว่า เปลวดาวฤกษ์ (stellar flare) เปลวสุริยะส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ทั้งหมด (โฟโตสเฟียร์, โครโมสเฟียร์, และโคโรนา) ทำให้พลาสมามีความร้อนถึงหลายสิบล้านเคลวิน และเร่งอนุภาคอิเล็กตรอน โปรตอน และไอออนหนักจนเข้าใกล้ความเร็วแสง เกิดการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านข้ามสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้าที่ทุกช่วงความยาวคลื่น นับตั้งแต่คลื่นวิทยุไปจนถึงรังสีแกมมา เปลวสุริยะส่วนมากจะเกิดขึ้นในย่านแอ็กทีฟเช่น บริเวณจุดมืดดวงอาทิตย์ ซึ่งมีสนามแม่เหล็กกำลังแรง รังสีเอ็กซ์และการแผ่รังสีอุลตราไวโอเล็ตที่แผ่ออกมาโดยเปลวสุริยะสามารถส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศของโลก และทำลายการสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุช่วงยาว การปะทะของคลื่นโดยตรงที่ความยาวคลื่นขนาดเดซิเมตรอาจรบกวนการทำงานของเรดาร์และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ทำงานในช่วงความถี่ดังกล่าว.

ดู ดาวอังคารและเปลวสุริยะ

เปอร์ซิวัล โลเวลล์

เปอร์ซิวัล โลเวลล์ กำลังสังเกตการณ์ดาวอังคารที่หอดูดาวของเขาเอง เปอร์ซิวัล โลเวลล์ เปอร์ซิวัล โลเวลล์ (Percival Lowell; ค.ศ.

ดู ดาวอังคารและเปอร์ซิวัล โลเวลล์

ดูเพิ่มเติม

ดาวเคราะห์คล้ายโลก

ดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Marsดวงจันทร์ของดาวอังคาร

ละติจูดลักษณะแอลบีโดลิปดาลูกบาศก์เมตรวอร์เนอร์บราเธอส์วันวิลเลียม ทอมสัน บารอนเคลวินที่ 1วิทยาศาสตร์เทียมสภาพด่างสะเก็ดดาวสัญกรณ์ส่วนในหลายส่วนสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาสารละลายสารประกอบสิ่งมีชีวิตสิ่งมีชีวิตนอกโลกสุริยวิถีสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์สถานีอวกาศนานาชาติสปิริตโรเวอร์สนามแม่เหล็กสนิมหิมะภาคหินหินบะซอลต์หินหลอมเหลวหน่วยดาราศาสตร์ออกซิเจนออร์สัน เวลส์ออโรรา (ดาราศาสตร์)อะลูมิเนียมอะเล็กซานเดรียอาริสโตเติลอาร์กอนอิกซ์ตรีโมไฟล์อินฟราเรดอุกกาบาตอุลกมณีอีลอน มัสก์องศา (มุม)องศาเซลเซียสองค์การอวกาศยุโรปจานดาวเคราะห์ก่อนเกิดจาโรไซต์จุลินทรีย์จุดมืดดวงอาทิตย์จุดปลายระยะทางวงโคจรจีออยด์จดหมายเหตุจากชาวอังคารธรณีสัณฐานวิทยาธาร์ซิสถ้ำทรงรีทอเลมีทะเลสาบปล่องภูเขาไฟทีโค บราขั้วโลกเหนือขนาดเชิงมุมดวงอาทิตย์ดวงจันทร์ดาราศาสตร์ดาวพลูโตดาวพุธดาวศุกร์ดาวหางดาวอังคารดาวเสาร์ดาวเคราะห์ดาวเคราะห์คล้ายโลกดาวเคราะห์น้อยดิวเทอเรียมดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำดีมอสคริสตียาน เฮยเคินส์คริปทอนคลอรีนความกดอากาศความสามารถอยู่อาศัยได้ของดาวเคราะห์ความส่องสว่าง (ดาราศาสตร์)ความส่องสว่างปรากฏความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรความเร่งความเอียงของแกนคาบการหมุนรอบตัวเองคาบดาราคติคาร์บอนคาร์บอนมอนอกไซด์คาร์บอนไดออกไซด์คาร์ล เซแกนตะกอนน้ำพารูปพัดซิลิกอนไดออกไซด์ซิลิคอนซี. เอส. ลิวอิสซีนอนซีเอ็นเอ็นปฏิทินจูเลียนประเทศอินเดียปาสกาล (หน่วยวัด)นาซานิกเกิลนิสนิโคลา เทสลานีออนน้ำบนดาวอังคารน้ำแข็งแห้งแกรนด์แคนยอนแก้วแมกนีเซียมแม็กนีโตสเฟียร์แรงไทดัลแร่แอมโมเนียแอรีสแถบดาวเคราะห์น้อยแคลเซียมแคลเซียมซัลเฟตใบหน้าบนดาวอังคารโฟบอสโฟบอส (เทพปกรณัมกรีก)โพแทสเซียมโยชน์โยฮันเนส เคปเลอร์โรมโบราณโรเบิร์ต เอ. ไฮน์ไลน์โลก (ดาวเคราะห์)โลหะโอลิมปัส (ภูเขาไฟ)โอลิวีนโอโซนโจวันนี โดเมนีโก กัสซีนีโจนาธาน สวิฟท์โทรจัน (ดาราศาสตร์)โซเดียมโนอาห์ไกเซอร์ (ธรณีวิทยา)ไลเคนไอน้ำไอโอโนสเฟียร์ไฮโดรเจนไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ไนตริกออกไซด์ไนโตรเจนไนเตรตเบส (เคมี)เฟลด์สปาร์เกลือ (เคมี)เกอไทต์เมทานอลเมทาโนเจนเมฆเมเว็นเวลาสากลเชิงพิกัดเส้นศูนย์สูตรเส้นเมริเดียนแรกเหล็กเอช. จี. เวลส์เอแอลเอช 84001เอ็มเอสเอ็นเอเชียตะวันออกเทพปกรณัมกรีกเทวดานพเคราะห์เขตอาศัยได้เดอะวอร์ออฟเดอะเวิลด์สเดอะนิวยอร์กไทมส์เคลวินเซเลสเทียเปลวสุริยะเปอร์ซิวัล โลเวลล์